Categories
ECONOMY

ไทย-ซาอุดีฯ ผลักดันความร่วมมือทวิภาคี ลงทุนอยู่ที่ 3.23 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 38%

 

เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2566 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผลักดันความร่วมมือทวิภาคีกับซาอุดีอาระเบียให้อย่างเป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง ภายหลังการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน ครอบคลุมทั้งด้านการทูต แรงงาน เศรษฐกิจ พลังงาน และการท่องเที่ยว 

 

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า นับตั้งแต่การฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างไทยและซาอุดีอาระเบีย ความสัมพันธ์ระว่างทั้งสองประเทศมีพลวัตอย่างต่อเนื่อง โดยมูลค่าการลงทุนระหว่างกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.64 มาอยู่ที่ 3.23 แสนล้านบาท สำหรับด้านการท่องเที่ยว ในปี 2565 นักท่องเที่ยวชาวซาอุดีฯ มาไทย จำนวน 96,389 คน สร้างรายได้ 8 พันล้านบาท คาดการณ์ว่าในปี 2566 จะมีนักท่องเที่ยวชาวซาอุดีฯ เพิ่มขึ้น 150,000 คน สร้างรายได้ 12,000 ล้านบาทรวมถึงมีการเพิ่มเที่ยวบินจาก 9 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ เป็น 42 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ทั้งนี้ ผลความสำเร็จดังกล่าว สืบเนื่องมาจากการที่รัฐบาลผลักดันความร่วมมือทวิภาคีในด้านต่าง  ผ่านมติเห็นชอบกรอบความร่วมมือต่าง  จากคณะรัฐมนตรีแล้ว ดังนี้ 

 

1) ด้านการทูตและการต่างประเทศ มติ ครม. 8 พฤศจิกายน 2565 เห็นชอบการจัดทำแผนการขับเคลื่อนเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีปี 2565 – 2567 รวมทั้งจัดตั้งสภาความร่วมมือไทยซาอุดีฯ ซึ่งจะประสานความร่วมมือทั้งด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม นอกจากนี้ มติ ครม. 15 พฤศจิกายน 2565 ยังได้เห็นชอบการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูต และหนังสือเดินทางราชการ รวมไม่เกิน 90 วัน เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกัน

 

2) ด้านแรงงาน มติ ครม. 1 มีนาคม 2565 เห็นชอบข้อตกลงด้านแรงงาน เพื่อจัดหาแรงงานไปทำงานในซาอุดีฯ อย่างถูกกฎหมาย และปกป้องสิทธิของนายจ้างและแรงงาน รวมถึงการบังคับใช้กฎระเบียบสัญญาจ้างระหว่างกัน

 

3) ด้านการค้าและการลงทุน มติ ครม. 8 พฤศจิกายน 2565 ได้เห็นชอบการส่งเสริมการลงทุนโดยตรงระหว่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแลกเปลี่ยนข้อมูลสถิติเกี่ยวกับการลงทุนโดยตรงและโอกาสทางธุรกิจ กฎหมายและกฎระเบียบเกี่ยวกับโอกาสในการลงทุนโดยตรง และการเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุนของทั้งสองประเทศจาก

 

4) ด้านพลังงาน มติ ครม. 15 พฤศจิกายน 2565 เห็นชอบความร่วมมือทวิภาคีด้านพลังงาน อาทิ ปิโตรเลียม ก๊าซไฟฟ้า พลังงานหมุนเวียน และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน และเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ เพื่อลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

5) ด้านการท่องเที่ยว มติ ครม. 15 พฤศจิกายน 2565 เห็นชอบบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างกัน เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในด้านการท่องเที่ยวไทยซาอุดีฯ รวมถึงแลกเปลี่ยนข้อมูลสถิติการท่องเที่ยว จัดโปรแกรมการศึกษาและการวิจัย การประชุม สัมมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ

 

นอกจากนี้ ระหว่างวันที่ 6 – 10 มิถุนายน 2566 นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มีกำหนดการเดินทางเยือนซาอุดีฯ ตามคำเชิญของนายคอลิด บิน อับดุลอะซีซ อัลฟาลิห์ (Khalid bin Abdulaziz Al-Falih) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการลงทุนซาอุดีฯ โดยนำคณะผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนร่วมเดินทางด้วย เพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือทวิภาคี และส่งเสริมการเจรจาการค้าและการลงทุนระหว่างภาคเอกชนของทั้งสองประเทศ โดยภาคเอกชนชั้นนำของไทยยังได้พบหารือภาคเอกชนซาอุดีฯ เพื่อสร้างเครือข่ายและจับคู่ธุรกิจที่มีศักยภาพร่วมกัน

 

นายกรัฐมนตรียังคงผลักดันความร่วมมือทวิภาคีไทยและซาอุดีฯ อย่างต่อเนื่อง ผ่านมติเห็นชอบกรอบความร่วมมือต่าง  จากคณะรัฐมนตรี และการเดินทางเยือนซาอุดีฯ ของหน่วยงานรัฐบาล เพื่อติดตามความร่วมมือและกระชับความสัมพันธ์ พร้อมทั้งกำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยให้กำกับและติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความร่วมมือ เพื่อให้เกิดผลประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม และยกระดับความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างกัน ให้ครอบคลุมทั้งด้านการทูต แรงงาน เศรษฐกิจ พลังงาน และการท่องเที่ยว” นายอนุชาฯ กล่าว

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักนายกรัฐมนตรี

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
ECONOMY

ข้าวไทยใน THAIFEX-ANUGA ASIA 2023 ซื้อขายมูลค่าเกือบ 100 ล้านบาท

วันที่ 8 มิถุนายน 2566 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีกับตัวเลขการซื้อขายข้าว และความสนใจต่อข้าวไทย ในงานแสดงสินค้าอาหาร 2566 (THAIFEX-ANUGA ASIA 2023) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23–27 พฤษภาคม 2566 จากกลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการค้าข้าวคุณภาพดี 15 จังหวัดของประเทศไทย ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ซื้อ และผู้นำเข้าจากต่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยมีการเจรจาซื้อขายข้าวทันทีภายในงานมูลค่าเกือบ 100 ล้านบาท และคาดการณ์ว่าจะซื้อเพิ่มอีกประมาณ 300 ล้านบาท ตอกย้ำถึงภาพลักษณ์ และคุณภาพของข้าวไทย ทั้งในด้านรสชาติ คุณภาพ มาตรฐาน 

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ได้นำกลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการค้าข้าวคุณภาพดีจาก 15 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดสุรินทร์ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ยโสธร อำนาจเจริญ ชัยภูมิ นครพนม ขอนแก่น สกลนคร พะเยา เชียงราย และพัทลุง ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวหอมมะลิ และข้าวคุณลักษณะพิเศษที่สำคัญของไทย ที่ได้รับการรับรองจากจังหวัด และเครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทยจากกรมการค้าต่างประเทศ หรือได้รับเครื่องหมายรับรองคุณภาพมาตรฐานข้าวในระดับสากล เข้าร่วมงานแสดงสินค้าอาหาร 2566 (THAIFEX-ANUGA ASIA 2023) 

ในการนี้ ข้าวไทยได้รับความสนใจจากผู้ซื้อ และผู้นำเข้าจากประเทศต่าง ๆ เป็นอย่างมาก เกิดการเจรจาซื้อขายข้าวทันทีภายในงานปริมาณ 2,750 ตัน มูลค่ารวม 96 ล้านบาท และคาดการณ์คำสั่งซื้อภายในเวลา 1 ปี ปริมาณ 8,600 ตัน หรือมีมูลค่ามากกว่า 300 ล้านบาท รวมมูลค่าประมาณ 396 ล้านบาท ถือเป็นการส่งเสริมและขยายโอกาสในการส่งออกข้าวไทยให้เพิ่มขึ้น และเพิ่มโอกาสในการประชาสัมพันธ์ข้าวไทย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นเเละตอกย้ำศักยภาพ คุณภาพ และมาตรฐานข้าวไทย ในฐานะผู้ผลิตและผู้ส่งออกข้าวคุณภาพของโลก 

“นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นในคุณภาพ มาตรฐานของข้าวไทย ที่ต่างประเทศให้การยอมรับ ซึ่งผลการเจรจาการค้าดังกล่าวถือเป็นความสำเร็จในการดำเนินนโยบายของรัฐบาล กระตุ้นการซื้อขายข้าวไทยได้เพิ่มมากขึ้น นายกรัฐมนตรีชื่นชมการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่นำข้าวไทยมาประชาสัมพันธ์ เพื่อแสวงหาโอกาสทางการค้า และช่องทางการส่งออกข้าวไทยให้เพิ่มมากขึ้น” นายอนุชาฯ กล่าว

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
ECONOMY

อุตสาหกรรมไทยรับแนวคิด BCG สร้างมูลค่าเพิ่มจากปลาทูน่า ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

อุตสาหกรรมไทยรับแนวคิด BCG สร้างมูลค่าเพิ่มจากปลาทูน่า ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2566 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบความคืบหน้าและพัฒนาการของภาคอุตสาหกรรมอาหารไทย ทั้งนี้ สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย (Thai Tuna Industry Association : TTIA) และสมาคมการค้าอาหารสัตว์เลี้ยงไทย (Thai Pet food Trade Association : TPFA) ได้นำสินค้าไปจัดแสดงในงาน THAIFEX – ANUGA ASIA 2023 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-27 พฤษภาคม 2566 ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี ยืนยันความเป็นผู้นำอันดับ 1 ของโลกด้านอุตสาหกรรมปลาทูน่าของไทยที่มีคุณภาพ มาตรฐานระดับสากล ทั้งนี้ ในงานต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มจากส่วนสูญเสียและขยะอาหาร (Food loss food waste) ที่ได้จากปลาทูน่า นำไปผลิตเป็นสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยงเกรดพรีเมี่ยมเพื่อส่งออกเป็นอาหารสัตว์เลี้ยงสำหรับสุนัขและแมว โดยใช้แนวคิด BCG ควบคู่การผลิต เพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าได้ในหลายประเภท

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทยเข้าร่วมงาน THAIFEX – ANUGA ASIA เป็นประจำทุกปี เพื่อนำเสนอศักยภาพของประเทศไทยในเป็นผู้นำการผลิตและส่งออกสินค้าทูน่าให้แก่นักธุรกิจและประชาชนที่เข้าร่วมงาน ซึ่งในปี 2566 นี้ เน้นการนำแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ – เศรษฐกิจหมุนเวียน – เศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) มาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมปลาทูน่าและอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยงเพื่อให้เกิดผลผลิตที่คุ้มค่ามากที่สุด ด้วยการใช้ประโยชน์สูงสุดจากปลาทูน่าทั้งตัว ซึ่งมีตัวอย่างการประยุกต์ใช้ดังนี้
– ด้านเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) นำส่วนสูญเสียไปสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นสินค้าอื่น ๆ เช่น น้ำนึ่งปลาทูน่า นำมาสกัดเข้มข้นใช้เป็นส่วนผสมเพิ่มโปรตีนและความน่ากินในสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยง
– ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) นำส่วนของเนื้อปลาทูน่าไปผลิตเป็นอาหารสัตว์เลี้ยงได้โดยตรง หรือนำส่วนของเครื่องใน เช่น ซากกระดูก ก้างของปลาทูน่า ไปเป็นวัตถุดิบผสมในอาหารสัตว์เลี้ยง รวมไปถึงการสกัดน้ำมันปลาทูน่า
– ด้านเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) มีการลงทุนในกลุ่มพลังงานทดแทน พลังงานสะอาด และเทคโนโลยีเพื่อการประหยัดพลังงาน เช่น ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ (Solar roof top) การเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังความร้อนใช้ในระบบทำความเย็นและไอน้ำ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Recycled) และการใช้ผลิตภัณฑ์รีไซเคิล เช่น กล่องกระดาษ รวมถึงการศึกษาและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไบโอพลาสติกด้วย

ซึ่งจากข้อมูลกระทรวงพาณิชย์ ภาพรวมปี 2565 ที่ผ่านมา (เดือนมกราคม – ธันวาคม 2565) ไทยส่งออกปลาทูน่าไปจำนวน 514,071 ตัน สร้างมูลค่าได้กว่า 79,409 ล้านบาท ขณะที่อาหารสัตว์เลี้ยงสำหรับสุนัขและแมว (TPFA Wet petfood) ส่งออกไปจำนวน 336,309 ตัน สร้างมูลค่าได้กว่า 52,024 ล้านบาท 

นอกจากนี้ ในงานมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ในด้านกฎหมาย กฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม หลักการและแนวคิด BCG แนวทางการลดคาร์บอนในอุตสาหกรรมและห่วงโซ่การผลิต การศึกษางานวิจัยปัญหาโลกร้อนที่จะส่งผลกระทบต่อวัตถุดิบในอุตสาหกรรมทูน่าและอาหารสัตว์เลี้ยง เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกและปรับตัวเพื่อรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ  

“นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นในศักยภาพของอุตสาหกรรมอาหารของไทย ซึ่งปลาทูน่าเป็นอีกผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ โดยการนำแนวคิด BCG ที่รัฐบาลให้ความสำคัญมาประยุกต์ใช้จะเป็นอีกโอกาสของการพัฒนา ในการใช้ทรัพยากรหรือวัตถุดิบที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ครอบคลุมทุกกระบวนการการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ รวมทั้งยังสามารถใช้องค์ความรู้ทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Creation) ให้กับสินค้ามีจุดขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ” นายอนุชาฯ กล่าว

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักนายกรัฐมนตรี

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
ECONOMY

ผู้ประกอบการภาคเหนือตอนบน 2 เตรียมงาน East-Northern Thailand & GMS Expo

ผู้ประกอบการภาคเหนือตอนบน 2 เตรียมงาน East-Northern Thailand & GMS Expo

Facebook
Twitter
Email
Print
เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566 ที่ห้องยูโทเปีย โรงแรมเลอเมอริเดียนเชียงราย รีสอร์ท อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย นางณัฐพร มหาไพบูลย์ พาณิชย์จังหวัดเชียงราย ในฐานะพาณิชย์จังหวัดกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ระดมผู้ประกอบการจากกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ได้แก่ จังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ และจังหวัดน่าน เพื่อประชุมเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการ 
 
โดยมี นายสมหวัง บุญระยอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานพิธีเปิดการประชุมเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ภายใต้โครงการบูรณาการการค้าการลงทุน ปีงบประมาณ 2566 เตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมงานแสดงและจำหน่ายสินค้าจากกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (East-Northern Thailand & GMS Expo) โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน – 3 กรกฎาคม 2566 นี้ ที่ลาน The Road ณ UD TOWN EXPO จังหวัดอุดรธานี กิจกรรมภายในงานจัดให้มีการแสดงศิลปวัฒนธรรม การสาธิตความบันเทิง กิจกรรมส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าตลอดการจัดงาน อาทิ กิจกรรมเจรจาธุรกิจ กิจกรรมการจัดนิทรรศการ East-Northern Thailand Pavilion และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย
 
นางณัฐพร มหาไพบูลย์ พาณิชย์จังหวัดเชียงราย กล่าวว่า กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 มีศักยภาพด้านที่ตั้งสามารถเชื่อมโยงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกับกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS) และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่มีศิลปวัฒนธรรม ประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มล้านนาตะวันออก ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าหัตถกรรม อุตสาหกรรม สินค้าชุมชน เป็นฐานการผลิตสินค้าการเกษตร โดยมีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพารา ชา กาแฟ และผลไม้ (ลำไย ลิ้นจี่) ประกอบกับนโยบายของกระทรวงพาณิชย์ ที่มีแผนในการส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานราก (Local Economic) 
 
โดยมีเป้าหมายในการผลักดันสินค้า (Local Plus) จำนวน 3 กลุ่มสินค้า ได้แก่ 1. กลุ่ม BCG ที่มุ่งเน้นการรักษาทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม สุขภาพ สินค้าออแกนิค 
2. กลุ่มสินค้าอัตลักษณ์ ที่ต้องการรักษาภูมิปัญญาเฉพาะถิ่น คุณค่าทางวัฒนธรรม และ 
3. กลุ่มสินค้านวัตกรรม ที่ต้องรักษาความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าชุมชน
 
ในการนี้ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย ในฐานะผู้แทนสำนักงานพาณิชย์จังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 จึงได้ร่วมกันจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาการค้าและการค้าชายแดนมุ่งสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ภายใต้โครงการบูรณาการการค้าการลงทุน เพื่อเพิ่มช่องทางการค้า สร้างเครือข่าย เพิ่มขีดความสามารถทางการค้าการลงทุน ให้กับกลุ่มผู้ประกอบการภาคเหนือตอนบน 2 โดยมี ผู้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตำบล 2 จำนวนกว่า 160 คน เข้าร่วมกิจกรรม

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
ECONOMY

มติ ครม. ประกันรายได้ชาวสวน พร้อมดันส่งออกน้ำมันปาล์มลดผลผลิตส่วนเกิน

มติ ครม. ประกันรายได้ชาวสวน พร้อมดันส่งออกน้ำมันปาล์มลดผลผลิตส่วนเกิน

Facebook
Twitter
Email
Print

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงมติคณะรัฐมนตรี (30 พฤษภาคม 2566)  รับทราบสรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2566 โดยมีพล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ  เป็น ประธานในการประชุม  ได้ทบทวนและพิจารณา และมีมติเห็นชอบดำเนินโครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี 2566 และโครงการประกันรายได้ เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 2565-2566   จากการคาดการณ์ว่า ปริมาณน้ำมันดิบที่ผลิตอาจได้มากกว่าความต้องการใช้ในแต่ละเดือน เนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศยังไม่กลับสู่สภาวะปกติ อาจส่งผลต่อเสถียรภาพของราคาและกระทบต่อรายได้   สรุปรายละเอียด ดังนี้
 
1. โครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี 2566 
 
(1) วัตถุประสงค์  :  เพื่อลดปริมาณน้ำมันปาล์มส่วนเกินในประเทศให้เข้าสู่ระดับสมดุล และยกระดับราคาปาล์มทะลายที่เกษตรกรขายให้สูงขึ้น
(2) การดำเนินโครงการ  สนับสนุนค่าบริหารจัดการการส่งออกเฉพาะปาล์มน้ำมันดิบ 150,000 ตัน เช่น ค่าขนส่ง ค่าคลังจัดเก็บ และค่าปรับปรุง โดยมีเงื่อนไขการสนับสนุนค่าบริหารจัดการส่งออก เมื่อระดับสต็อก น้ำมันปาล์มดิบในประเทศสูงกว่า 300,000 ตัน และราคาน้ำมันปาล์มดิบในประเทศสูงกว่าราคาตลาดโลก ทั้งนี้ เพื่อให้การบริหาร จัดการมีความยืดหยุ่นและทันต่อเหตุการณ์ เห็นควรกำหนดให้ เงื่อนไขระดับสต็อกน้ำมันปาล์มดิบขั้นต่ำไว้ที่ 250,000 ตัน และให้คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) เป็นผู้มีอำนาจในการพิจารณา
(3) งบประมาณและแหล่งงบประมาณ  : 309 ล้านบาท (งบกลางฯ) แบ่งเป็น ค่าบริหารจัดการให้แก่ผู้ส่งออกตามโครงการ ปริมาณ 150,000 ตัน อัตรากิโลกรัมละ 2 บาท รวมเป็น 300 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของส่วนราชการ 9 ล้านบาท (ไม่เกินร้อยละ 3 ของวงเงินดำเนินการ)
(4) ระยะเวลาดำเนินการ   ระยะเวลาส่งออก ตั้งแต่ได้รับการอนุมัติ-กันยายน 2566 โดยระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่ได้รับการอนุมัติ-ธันวาคม 2566
 
2. โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 2565-2566
 
(1) วัตถุประสงค์ เพื่อช่วยเหลือด้านรายได้ของเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน และบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรจากปัญหาผลผลิตล้นตลาด และราคาผลผลิตตกต่ำ
(2) การดำเนินโครงการ   ช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในกรณีที่ราคาขายปาล์มน้ำมัน ในประเทศตกต่ำผ่านการประกันราคาปาล์มน้ำมัน (ผลปาล์มทะลาย อัตราน้ำมันร้อยละ18) ราคา กก. ละ 4 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ไร่ และต้องเป็นพื้นที่ปลูกต้นปาล์มที่ให้ผลผลิตแล้ว โดยจะจ่ายเงินชดเชย ส่วนต่างระหว่างราคาเป้าหมายกับราคาตลาดอ้างอิงให้แก่เกษตรกร ทุก 30 วัน
(3) งบประมาณและแหล่งงบประมาณ  : 3,133.17  ล้านบาท (ธ.ก.ส. สำรองจ่ายจากแหล่งเงินทุนของ ธ.ก.ส. และขอรับจัดสรรงบฯ ประจำปี เพื่อให้รัฐบาลชำระคืนตามที่เกิดขึ้นจริง) แบ่งเป็น วงเงินชดเชยส่วนต่างรายได้ 3,075.00 ล้านบาท และวงเงินบริหารจัดการของ ธ.ก.ส.  58.17 ล้านบาท
(4) ระยะเวลาดำเนินการ   ระยะเวลาการจ่ายเงิน เดือน กันยายน  2565 – สิงหาคม 2566 โดยระยะเวลาโครงการ เดือน กันยายน 2565 -ธ.ก.ส. ได้รับการชดเชยงบฯ ตามที่ทดรองจ่าย
 
ทั้งนี้  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินโครงการฯ ให้เป็นไปตามระเบียบ กกต. ว่าด้วยการใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐเพื่อกระทำการใดซึ่งจะมีผลต่อการเลือกตั้ง พ.ศ. 2563  รวมถึงพิจารณากรอบวงเงินงบฯ ตามความจำเป็นและเหมาะสม ตาม ม. 28  แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ด้วย
 
นอกจากนี้  ที่ประชุม กปน.  ยังหารือถึงแนวทางการจัดทำโครงสร้างราคาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม  เพราะเดิมราคาปาล์มน้ำมัน ซึ่งยังไม่มีการกำหนดโครงสร้างราคาที่แน่นอน ใช้อ้างอิงจากราคาของความต้องการในตลาด (Demand-Supply) ซึ่งมีความผันผวนไม่แน่นอน ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพ ของราคาน้ำมันปาล์มและรายได้ของเกษตรกร  จึงมอบหมายให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวตกรรม  และ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) สนับสนุนทุนเพื่อศึกษาสมการโครงสร้างราคาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มทั้ง พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน รวมทั้งให้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ยกร่างคำสั่งแต่งตั้ง คณะทำงานร่วมภาครัฐ เอกชน และเกษตรกรในจำนวนที่เท่าเทียมกัน เสนอประธานคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติพิจารณา

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักนายกรัฐมนตรี

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
ECONOMY

เฝ้าระวังโควิด–19 เพิ่มเติม กำหนดมาตรการเฝ้าระวังในโรงเรียน

เฝ้าระวังโควิด–19 เพิ่มเติม กำหนดมาตรการเฝ้าระวังในโรงเรียน

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2566  นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ติดตามสถานการณ์โควิด–19 ซึ่งยังพบการแพร่ระบาดต่อเนื่อง โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังเพิ่มเติมอย่างใกล้ชิด เน้นย้ำคำแนะนำกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง 608 (กลุ่มอายุ 60 ปี, กลุ่ม 7 โรคเรื้อรัง และกลุ่มหญิงตั้งครรภ์) เร่งฉีดวัคซีน ทั้งผู้ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีน หรือการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อป้องกันอาการป่วยหนักหรือเสียชีวิต 

โดยข้อมูลจากกรมควบคุมโรค ระบุว่า ปัจจุบันผู้เสียชีวิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดย 7 วัน ระหว่างวันที่ 14 – 20 พฤษภาคม 2566 พบจำนวนผู้เสียชีวิต 64 ราย เฉลี่ยวันละ 9 ราย ส่วนใหญ่อายุมาก 70 ปีขึ้นไป และไม่ยอมรับวัคซีน กลุ่มผู้ป่วยอาการรุนแรงเป็นผู้ป่วยปอดอักเสบ 401 ราย ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ 226 ราย ซึ่งมักไม่ได้รับวัคซีนและยังพบการระบาดลักษณะเป็นกลุ่มก้อนในกลุ่มวัยทำงาน นักเรียน และในครอบครัวเพิ่มมากขึ้น มีการกระจายของผู้ป่วยในหลายจังหวัด ส่วนกลุ่มผู้ป่วยอาการรุนแรง พบว่า เป็นผู้สูงอายุมากกว่า 70 ปี และส่วนใหญ่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนหรือบางรายพบฉีดวัคซีนเพียง 2 เข็ม แต่ยังไม่ได้รับเข็มกระตุ้น ทำให้ระดับภูมิคุ้มกันหมู่ในประชากรลดลงมาก สายพันธุ์ที่พบการระบาดเป็นสายพันธุ์ใหม่/สายพันธุ์ย่อยอื่นจากต่างประเทศ มีการระบาดเพิ่มทั้งในเมืองและชนบท ตามมาด้วยจำนวนผู้ป่วยอาการหนักที่เพิ่มมากขึ้น 

ซึ่งในช่วงนี้ รัฐบาลยังได้เพิ่มมาตรการเฝ้าระวังป้องกันโรคในโรงเรียน ภายหลังการเปิดภาคเรียนของสถานศึกษาทั่วประเทศ โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของโควิด–19 ในกลุ่มเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา โดยขอความร่วมมือให้ครูประจำสถานศึกษาเข้มงวดมาตรการเฝ้าระวังฯ ในโรงเรียนตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด และหากพบเด็กนักเรียนป่วยจำนวนมาก อาจให้มีการหยุดเรียนเป็นรายห้องเรียน หรือชั้นเรียน โดยไม่จำเป็นต้องปิดโรงเรียน และแจ้งสำนักงานสาธารณสุขในพื้นที่ หรือศูนย์บริการสาธารณสุข ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อดำเนินการสอบสวนควบคุมโรคโดยเร่งด่วน

ทั้งนี้ กรมควบคุมโรค ยังแนะนำให้ฉีดวัคซีนโควิด–19 ในลักษณะเป็นเข็มกระตุ้นประจำปี ในทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยให้ห่างจากเข็มสุดท้ายหรือประวัติการติดเชื้อ อย่างน้อย 3 เดือน โดยมีการจัดเตรียมวัคซีนโควิด-19 ให้กับทุกกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป และได้มีการจัดหาวัคซีนรุ่นใหม่สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่อายุ 12 ปีขึ้นไปด้วย โดยประชาชนสามารถเข้ารับบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ที่หน่วยบริการตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ หรือสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422

“นายกรัฐมนตรีห่วงใยประชาชนต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด – 19 ที่ยังคงมีต่อเนื่อง โดยกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประเมินสถานการณ์ พิจารณา ปรับมาตรการ และเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด พร้อมขอความร่วมมือประชาชนไม่ประมาท และปฏิบัติตามมาตรการทางสาธารณสุข ติดตามประกาศของกรมควบคุมโรคอยู่เสมอ” นายอนุชาฯ กล่าว

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักนายกรัฐมนตรี

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
ECONOMY

นายกฯ ยินดีนักท่องเที่ยวจีน มาไทยฟื้นตัวต่อเนื่อง

นายกฯ ยินดีนักท่องเที่ยวจีน มาไทยฟื้นตัวต่อเนื่อง

Facebook
Twitter
Email
Print

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบรายงานสถานการณ์การท่องเที่ยวไทยของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ยินดียอดนักท่องเที่ยวต่างชาติเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีน ซึ่งเดินทางมาท่องเที่ยวยังประเทศไทยมากถึง 1,003,893 คน (1 มกราคม – 18 พฤษภาคม 2566) และมียอดเที่ยวบินเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 98 สะท้อนความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีต่อประเทศไทย ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีกำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลอำนวยความสะดวกด้านความปลอดภัย พร้อมส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและดึงดูดนักท่องเที่ยว

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ล่าสุด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เดินหน้าจัดกิจกรรม Trusted Thailand, You Taiguo Yue Wan Yue Kaixin หรือ เที่ยวเมืองไทยยิ่งไปยิ่งสนุก โดยเชิญชาวจีนผู้ที่มีอิทธิพลทางความคิด (Key Opinion Leaders: KOLs) จำนวน 60 คน สื่อมวลชน สายการบิน และพันธมิตร เข้าร่วม เพื่อนำเสนอข้อมูลการบริการ การอำนวยความสะดวก ตลอดจนมาตรการในการดูแลรักษาความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาอำนวยความสะดวกในการสื่อสารกับนักท่องเที่ยวผ่านรูปแบบรถโมบายล์ ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 1155 และแอปพลิเคชัน Police I lert u ซึ่งรองรับหลายภาษา เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถขอความช่วยเหลือจากตำรวจได้ ทั้งนี้ ททท. คาดการณ์ว่า นักท่องเที่ยวจีนเที่ยวไทยปี 2566 จะเป็นไปตามเป้าหมายที่ 5 ล้านคน และสร้างรายได้ 446,000 ล้านบาท

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า จากรายงานของบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) ระบุว่า ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – เมษายน 2566 มีเที่ยวบินระหว่างไทย – จีน รวมทั้งหมด 12,805 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 ร้อยละ 98 ซึ่งจากการที่ทางการจีนมีนโยบายเปิดประเทศตั้งแต่ช่วงต้นปี 2566 ทำให้สายการบินจากจีนต้องการเปิดทำการบินและเพิ่มความถี่ในการบินมากขึ้น โดย บวท. คาดการณ์ว่า ในปีงบประมาณ 2566 (ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – กันยายน 2566) จะมีเที่ยวบินจากจีนรวมกว่า 46,175 เที่ยวบิน ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมการบิน และส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ 

“นายกรัฐมนตรีชื่นชมความสำเร็จจากการร่วมมือกันทุกภาคส่วนที่ทำให้ ไทยคงได้รับความเชื่อมั่นและเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยวต่างชาติ พร้อมทั้งขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่บูรณาการการทำงานร่วมกันตามแนวนโยบายของรัฐบาล สนับสนุนการฟื้นตัวอย่างสมดุลของภาคการท่องเที่ยว และภาคส่วนที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นและความประทับใจให้แก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ทำให้อยากกลับมาท่องเที่ยวยังประเทศไทยอีก ในครั้งต่อไป” นายอนุชาฯ กล่าว

Facebook
Twitter
Email
Print

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักนายกรัฐมนตรี

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
ECONOMY

ไทยดึงบริษัทเกาหลีใต้มาลงทุนในไทยได้เพิ่มเติม

ไทยดึงบริษัทเกาหลีใต้ลงทุนในไทยได้เพิ่มเติม

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีที่ต่างชาติให้ความสนใจลงทุนในประเทศไทย โดย 4 เดือนแรกของปี 2566 มีการลงทุนกว่า 38,702 ล้านบาท พร้อมชื่นชม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ที่สามารถดึงดูดบริษัทกลุ่มเป้าหมายจากเกาหลีใต้มาลงทุนในประเทศไทยได้เพิ่มเติม

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้เปิดเผยว่า ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2566 (มกราคม-เมษายน) มีต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยกว่า 38,702 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 6 หรือคิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้น 2,321 ล้านบาท เกิดการจ้างงานคนไทย 2,419 คน โดยชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุน 5 อันดับแรก ได้แก่ 

1) ญี่ปุ่น 55 ราย (ร้อยละ 25) เงินลงทุน 14,024 ล้านบาท 

2) สิงคโปร์ 35 ราย (ร้อยละ 16) เงินลงทุน 4,854 ล้านบาท 

3) สหรัฐอเมริกา 34 ราย (ร้อยละ 15) เงินลงทุน 1,725 ล้านบาท 

4) จีน 14 ราย (ร้อยละ 6) เงินลงทุน 11,230 ล้านบาท และ 

5) สมาพันธรัฐสวิส 11 ราย (ร้อยละ 5) เงินลงทุน 1,692 ล้านบาท ส่วนชาติอื่น ๆ มี 68 ราย (ร้อยละ 33) เงินลงทุน 5,177 ล้านบาท


นอกจากนี้ จากการเดินทางไปจัดกิจกรรมส่งเสริมการลงทุนที่ประเทศเกาหลีใต้ และพบปะหารือกับบริษัทกลุ่มเป้าหมาย ระหว่างวันที่ 15–18 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) สามารถดึงดูดนักลงทุน 4 ราย ที่สนใจลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม ประกอบด้วย 

1) นักลงทุนจากกลุ่มผู้ประกอบกิจการผลิตรถตุ๊ก ๆ ไฟฟ้า รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 

2) นักลงทุนจากกลุ่มผู้ประกอบกิจการผลิตที่เคลือบกระจกรถยนต์แบบพิเศษกันฝ้า 

3) นักลงทุนจากกลุ่มผู้ประกอบกิจการเกี่ยวกับเครื่องมือทางการแพทย์ และเทคโนโลยีที่ใช้ เกี่ยวกับอุปกรณ์การแพทย์ และ 

4) นักลงทุนจากกลุ่มผู้ประกอบกิจการผลิตอะไหล่ยานยนต์ 


ซึ่งข้อมูลของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) พบว่า นักลงทุนทั้ง 4 ราย สนใจจะเช่าพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และบริเวณใกล้เคียง ด้วยเงินลงทุนจำนวนกว่า 2,000 ล้านบาท และยังมีนักลงทุนอีก 1 ราย ที่สนใจลงทุนกับ กนอ. โดยจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม และพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพลังงานทางเลือก มูลค่าการลงทุนประมาณ 5,000 ล้านบาทอีกด้วย

“นายกรัฐมนตรี สั่งการให้อำนวยความสะดวก ส่งเสริมการค้า และการลงทุนจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งภาคเอกชนจากต่างชาติมองเห็นถึงศักยภาพ และความพร้อมของนิคมอุตสาหกรรมในไทย โดยการเข้ามาลงทุนเหล่านี้ จะนำไปสู่การถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีเฉพาะด้านโดยตรงจากประเทศผู้เข้ามาลงทุนให้แก่คนไทยอีกด้วย นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่าต่างชาติจะยังคงเชื่อมั่นขยายการลงทุนในไทย ด้วยโครงสร้างการพัฒนา ข้อได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ และปัจจัยสนับสนุนอื่น ๆ” นายอนุชาฯ กล่าว

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
ECONOMY

ต่างชาติเที่ยวไทยใกล้แตะ 10 ล้านคน รัฐหนุนทุกหน่วยงานรับตลาดโต

ต่างชาติเที่ยวไทยใกล้แตะ 10 ล้านคน รัฐหนุนทุกหน่วยงานรับตลาดโต

Facebook
Twitter
Email
Print
 

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้ภาคการท่องเที่ยวของไทยขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ต้นปีถึงวันที่ 15 พ.ค. มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยทุกช่องทางรวมแล้ว 9.47 ล้านคน  สร้างรายได้จากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวแล้ว 3.91 แสนล้านบาท ซึ่งกลุ่มนักท่องเที่ยวหลักยังคงมาจากประเทศในเอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และอาเซียน

รัฐบาลได้สนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ปรับปรุงการดำเนินงานด้านต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ภาคท่องเที่ยว รักษาแรงส่งการเติบโตให้เป็นไปตามเป้าหมาย โดยเฉพาะในตลาดหลักอย่างนักท่องเที่ยวจีน ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ประเมินว่าปี 66 น่าจะเดินทางมาไทยได้ 5.3 ล้านคน หรือหากมีปัจจัยเสริมอื่นๆ ก็อาจจะถึง 7 ล้านคน

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ข้อมูลของ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.)  ระบุว่า 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 66 (ต.ค.65-เม.ย.66) มีเที่ยวบินจากจีนเข้ามาไทยแล้ว 12,805 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้นร้อยละ 98 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งมาจากที่จีนมีนโยบายให้บริษัททัวร์นำนักท่องเที่ยวแบบกรุ๊ปทัวร์ออกนอกประทศได้ตั้งแต่ 6 ก.พ. 66 เป็นต้นมา

ในช่วงที่เหลือของปีงบประมาณ บวท. คาดว่าเที่ยวบินจากประเทศจีนจะยังเพิ่มขึ้นอีก โดยคาดว่าเดือนพ.ค. จะมีเที่ยวบินจีน 5,330 เที่ยวบิน, มิ.ย. 6,090 เที่ยวบิน, ก.ค. 7,150 เที่ยวบิน, ส.ค. 7,460 เที่ยวบิน และก.ย.  7,340 เที่ยวบิน ส่งผลให้ตลอดปีงบประมาณ 66 (ต.ค.65-ก.ย. 66) มีเที่ยวบินจากจีนมายังประเทศไทย 46,175 เที่ยวบิน 

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า แม้ปริมาณเที่ยวจีนที่คาดการณ์ไว้นี้ยังคงน้อยกว่าช่วงเวลาเดียวกันในปี 62 ซึ่งเป็นช่วงก่อนเกิดโควิด19 อยู่ร้อยละ 66 แต่หน่วยงานเกี่ยวข้องก็ได้เตรียมการเพื่อรองรับ เพื่อให้ไม่เกิดความติดขัดต่อเที่ยวบินที่จะเพิ่มขึ้น ทั้งส่วนของการพิจารณาจัดสรรตารางการบินให้สอดคล้องกับความสามารถในการรองรับเที่ยวบิน การบริหารจัดการความคล่องตัวการจราจรทางอากาศ มีความร่วมมือกับหน่วยงานผู้ให้บริการการเดินอากาศของจีน เป็นต้น

ทางด้านกระทรวงคมนาคมก็ได้ติดตามการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนผู้ให้บริการภาคพื้นชั่วคราว ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การบริการภาคพื้นเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สามารถรองรับจำนวนผู้โดยสารที่กำลังเพิ่มขึ้น ในขณะที่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) อยู่ระหว่างดำเนินการคัดเลือกผู้ได้รับสิทธิให้ประกอบการให้บริการภาคพื้นในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รายที่ 3 ให้เป็นไปตามแผนงาน จากปัจจุบันที่มีผู้ให้บริการภาคพื้นอยู่ 2 ราย เพื่อลดปัญหาการขนถ่ายกระเป๋าสัมภาระล่าช้าต่อไป  

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักนายกรัฐมนตรี

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
ECONOMY NEWS NEWS UPDATE

ไทยส่งออกข้าว 4 เดือนแรกกว่า 2.79 ล้านตัน มูลค่ารวม 5 หมื่นล้านบาท

ไทยส่งออกข้าว 4 เดือนแรก กว่า 2.79 ล้านตัน มูลค่ารวม 5 หมื่นล้านบาท

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบรายงานสถานการณ์การส่งออกข้าวไทย และยินดีที่เห็นตัวเลขข้าวไทยเป็นที่ต้องการในตลาดต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2566 (มกราคม – เมษายน) ไทยส่งออกข้าวสูงถึง 2.79 ล้านตัน มูลค่ารวมกว่า 1,514 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 51,281 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ในช่วงเวลาเดียวกัน ปริมาณเพิ่มร้อยละ 23.61 และมูลค่าเพิ่มร้อยละ 28.03 ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีสั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งทำงานเชิงรุก หาแนวทางส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตและผลักดันราคาข้าวอย่างยั่งยืน เพื่อการเติบโตของการส่งออกข้าวไทย และเพิ่มรายได้แก่เกษตรกร

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากข้อมูลของกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ปริมาณการส่งออกข้าวไทยในตลาดโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากความต้องการนำเข้าข้าวไทยปริมาณมากในหลายประเทศ ซึ่งในปัจจุบัน ไทยถือเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับที่ 2 ของโลก รองจากอินเดีย โดยในเดือนเมษายน 2566 ราคาเฉลี่ยข้าวไทยทุกชนิดปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากค่าเงินบาทมีเสถียรภาพ ทำให้ราคาส่งออกสามารถแข่งขันได้ และส่งผลให้ราคาข้าวในประเทศเกือบทุกชนิดสูงเกินราคาประกันรายได้ นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์คาดการณ์ว่า ในปี 2566 ไทยจะสามารถส่งออกข้าวได้เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 7.5 ล้านตัน และมีแนวโน้มสูงกว่าการส่งออกข้าวโดยรวมในปี 2565 ซึ่งมีปริมาณรวมอยู่ที่ 7.69 ล้านตัน โดยปริมาณการส่งออกข้าวไทยล่าสุด จนถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2566 มีปริมาณรวมแล้วกว่า 3.05 ล้านตัน ซึ่งน่ายินดีที่คงมีความต้องการในตลาดต่างประเทศเข้ามาอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ตลาดส่งออกข้าวที่สำคัญของไทย ได้แก่ อิรัก อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา แอฟริกาใต้ เซเนกัล บังกลาเทศ จีน ญี่ปุ่น แคเมอรูน และโมซัมบิก โดยไทยส่งออกข้าวขาวมากเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาได้แก่ ข้าวหอมมะลิไทย ข้าวนึ่ง ข้าวหอมไทย ข้าวเหนียว และข้าวกล้อง ตามลำดับ 

“นายกรัฐมนตรีขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ที่บูรณาการการทำงานร่วมกัน ตามยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต ร่วมกันพัฒนาข้าวไทยให้มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาด ส่งผลให้ข้าวไทยเป็นที่ต้องการในตลาดต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นในศักยภาพของข้าวไทย พร้อมขอให้ดูแลมาตรฐานและคุณภาพ ระมัดระวังพันธุ์ข้าว ไม่ให้เกิดการปลอมปนข้าว ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพข้าวและชื่อเสียงคุณภาพสินค้าไทย” นายอนุชาฯ กล่าว

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงพาณิชย์

 
Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE