วันที่ 3 กรกฎาคม 2566 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ส่งเสริมและผลักดันนโยบายการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor) ในประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง ชื่นชมการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล และได้ให้ความสำคัญกับการผลิตกำลังคน Semiconductor ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่า เมื่อไทยมีความพร้อมด้านกำลังคนมากขึ้น จะผลักดันให้เกิดการลงทุนอุตสาหกรรม Semiconductor ในไทย ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะส่งผลในการพัฒนาประเทศอย่างก้าวกระโดด
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เซมิคอนดักเตอร์ หรือ ชิป เป็นส่วนประกอบสำคัญที่มีความต้องการในตลาด เพื่อใช้ในอุปกรณ์เทคโนโลยีหลากหลายประเภท โดยประเทศไทยมีศักยภาพในการเป็นฐานการผลิต เนื่องจากความพร้อมทางด้านทรัพยากร การจัดตั้งภาคอุตสาหกรรม รวมถึงความสัมพันธ์อันดีกับประเทศอื่นๆ จึงเป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับการลงทุนในอุตสาหกรรมประเภทนี้เป็นอย่างมาก โดยภาคอุตสาหกรรมไทยเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานโลก และเป็นฐานการผลิตสินค้าขั้นสุดท้ายที่ใช้ส่วนประกอบจากอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ เหมาะแก่การเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานและการพัฒนาเพื่อใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทยไปสู่อุตสาหกรรมการผลิตที่มีความซับซ้อนและใช้เทคโนโลยีขั้นสูงให้ได้โดยเร็ว อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์เป็นโอกาสสำคัญสำหรับการลงทุนของผู้ประกอบการในประเทศไทย โดยการลงทุนด้านชิปในไทยยังอยู่ในส่วนการประกอบและทดสอบ (assembly and testing) และเริ่มมีการลงทุนในส่วนของการออกแบบ (IC Design) แต่ยังขาดในส่วนของภาคการผลิต (Foundry) จึงเกิดเป็นความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากร ระหว่างหน่วยงานของไทยและไต้หวัน เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมชิป
สำหรับมหาวิทยาลัยไทย 9 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.เกษตรศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ม.ขอนแก่น ม.สงขลานครินทร์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ ม.เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยไต้หวัน 6 แห่ง และบริษัท Taiwan Semiconductor Manufacturing Company(TSMC) ซึ่งเป็นบริษัทผลิตชิปที่ใหญ่ที่สุดในโลก ร่วมมือวิจัยและผลิตบุคลากร โดยจัดทำหลักสูตรในระดับปริญญาตรี-โท ด้านเซมิคอนดักเตอร์ ตั้งเป้าให้มีนิสิตนักศึกษาที่มีศักยภาพสูงในโครงการไม่น้อยกว่า 200 คน/ปี ในสาขาที่เกี่ยวเนื่อง เช่น ด้านเครื่องมือ ด้านวัสดุ ด้านการออกแบบวงจรรวม (IC) ด้านกระบวนการผลิต ด้านการทดสอบและpacking เป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปีต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ทางมหาวิทยาลัยไต้หวันบางแห่งจะจัดฝึกอบรมระยะสั้นให้แก่ บุคลากรและนิสิตนักศึกษาของมหาวิทยาลัยไทย เพิ่มพูนทักษะ ส่งเสริมให้นิสิตนักศึกษาไทยได้ฝึกปฏิบัติงานในบริษัทเซมิคอนดักเตอร์ชั้นนำที่ไต้หวัน เพื่อสร้างความพร้อมให้กับประเทศไทยในการดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ส่งเสริมการตั้งฐานการผลิตอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศไทย
ทั้งนี้ จากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) พบว่า ไทยมีโอกาสที่จะถูกเลือกเป็นประเทศปลายทางในการตั้งฐานการผลิต โดยหลายบริษัทมีแนวโน้มที่จะย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศคู่ขัดแย้งในการแข่งขันทางเทคโนโลยี เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่จะเกิดกับกิจการ ไทยมีศักยภาพที่จะดึงดูดการลงทุนจากบริษัทเหล่านี้ได้ โดยในปัจจัยด้านห่วงโซ่อุปทานของไทย ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศอื่นไทยยังสามารถแข่งขันได้ เนื่องจากคู่แข่งยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีความไม่ซับซ้อนคล้ายคลึงกับไทย รวมถึงภาครัฐของไทยได้เร่งส่งเสริมให้เกิดพันธมิตรทางการค้าใหม่ ๆ เพื่อขยายตลาดให้กับสินค้าและบริการของไทยอย่างต่อเนื่อง ทำให้ไทยมีข้อได้เปรียบและได้อานิสงส์ที่จะถูกเลือกเป็นประเทศปลายทางในการเคลื่อนย้ายฐานการผลิต
“นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นในความร่วมมือด้านการศึกษา พัฒนาคนเพื่อพัฒนาประเทศ เห็นถึงศักยภาพ และโอกาสการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศ เชื่อว่ากลไกการส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรตามความต้องการในอุตสาหกรรมเป้าหมาย จะเป็นการพัฒนาคนได้ตามความต้องการ สามารถรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมประเภทนี้ได้ครอบคลุม โดยภาครัฐได้เร่งส่งเสริมให้เกิดพันธมิตรทางการค้าใหม่ๆ เพื่อขยายตลาดภาคอุตสาหกรรม เชื่อมั่นว่าไทยมีศักยภาพการเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมศักยภาพสูง และเซมิคอนดักเตอร์ ด้วยความพร้อมของไทยที่รัฐบาลให้ความสำคัญ และพัฒนามาโดยตลอด” นายอนุชาฯ กล่าว
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เซมิคอนดักเตอร์ หรือ ชิป เป็นส่วนประกอบสำคัญที่มีความต้องการในตลาด เพื่อใช้ในอุปกรณ์เทคโนโลยีหลากหลายประเภท โดยประเทศไทยมีศักยภาพในการเป็นฐานการผลิต เนื่องจากความพร้อมทางด้านทรัพยากร การจัดตั้งภาคอุตสาหกรรม รวมถึงความสัมพันธ์อันดีกับประเทศอื่นๆ จึงเป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับการลงทุนในอุตสาหกรรมประเภทนี้เป็นอย่างมาก โดยภาคอุตสาหกรรมไทยเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานโลก และเป็นฐานการผลิตสินค้าขั้นสุดท้ายที่ใช้ส่วนประกอบจากอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ เหมาะแก่การเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานและการพัฒนาเพื่อใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทยไปสู่อุตสาหกรรมการผลิตที่มีความซับซ้อนและใช้เทคโนโลยีขั้นสูงให้ได้โดยเร็ว อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์เป็นโอกาสสำคัญสำหรับการลงทุนของผู้ประกอบการในประเทศไทย โดยการลงทุนด้านชิปในไทยยังอยู่ในส่วนการประกอบและทดสอบ (assembly and testing) และเริ่มมีการลงทุนในส่วนของการออกแบบ (IC Design) แต่ยังขาดในส่วนของภาคการผลิต (Foundry) จึงเกิดเป็นความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากร ระหว่างหน่วยงานของไทยและไต้หวัน เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมชิป
สำหรับมหาวิทยาลัยไทย 9 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.เกษตรศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ม.ขอนแก่น ม.สงขลานครินทร์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ ม.เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยไต้หวัน 6 แห่ง และบริษัท Taiwan Semiconductor Manufacturing Company(TSMC) ซึ่งเป็นบริษัทผลิตชิปที่ใหญ่ที่สุดในโลก ร่วมมือวิจัยและผลิตบุคลากร โดยจัดทำหลักสูตรในระดับปริญญาตรี-โท ด้านเซมิคอนดักเตอร์ ตั้งเป้าให้มีนิสิตนักศึกษาที่มีศักยภาพสูงในโครงการไม่น้อยกว่า 200 คน/ปี ในสาขาที่เกี่ยวเนื่อง เช่น ด้านเครื่องมือ ด้านวัสดุ ด้านการออกแบบวงจรรวม (IC) ด้านกระบวนการผลิต ด้านการทดสอบและpacking เป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปีต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ทางมหาวิทยาลัยไต้หวันบางแห่งจะจัดฝึกอบรมระยะสั้นให้แก่ บุคลากรและนิสิตนักศึกษาของมหาวิทยาลัยไทย เพิ่มพูนทักษะ ส่งเสริมให้นิสิตนักศึกษาไทยได้ฝึกปฏิบัติงานในบริษัทเซมิคอนดักเตอร์ชั้นนำที่ไต้หวัน เพื่อสร้างความพร้อมให้กับประเทศไทยในการดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ส่งเสริมการตั้งฐานการผลิตอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศไทย
ทั้งนี้ จากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) พบว่า ไทยมีโอกาสที่จะถูกเลือกเป็นประเทศปลายทางในการตั้งฐานการผลิต โดยหลายบริษัทมีแนวโน้มที่จะย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศคู่ขัดแย้งในการแข่งขันทางเทคโนโลยี เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่จะเกิดกับกิจการ ไทยมีศักยภาพที่จะดึงดูดการลงทุนจากบริษัทเหล่านี้ได้ โดยในปัจจัยด้านห่วงโซ่อุปทานของไทย ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศอื่นไทยยังสามารถแข่งขันได้ เนื่องจากคู่แข่งยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีความไม่ซับซ้อนคล้ายคลึงกับไทย รวมถึงภาครัฐของไทยได้เร่งส่งเสริมให้เกิดพันธมิตรทางการค้าใหม่ ๆ เพื่อขยายตลาดให้กับสินค้าและบริการของไทยอย่างต่อเนื่อง ทำให้ไทยมีข้อได้เปรียบและได้อานิสงส์ที่จะถูกเลือกเป็นประเทศปลายทางในการเคลื่อนย้ายฐานการผลิต
“นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นในความร่วมมือด้านการศึกษา พัฒนาคนเพื่อพัฒนาประเทศ เห็นถึงศักยภาพ และโอกาสการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศ เชื่อว่ากลไกการส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรตามความต้องการในอุตสาหกรรมเป้าหมาย จะเป็นการพัฒนาคนได้ตามความต้องการ สามารถรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมประเภทนี้ได้ครอบคลุม โดยภาครัฐได้เร่งส่งเสริมให้เกิดพันธมิตรทางการค้าใหม่ๆ เพื่อขยายตลาดภาคอุตสาหกรรม เชื่อมั่นว่าไทยมีศักยภาพการเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมศักยภาพสูง และเซมิคอนดักเตอร์ ด้วยความพร้อมของไทยที่รัฐบาลให้ความสำคัญ และพัฒนามาโดยตลอด” นายอนุชาฯ กล่าว
เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์