Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

คณะอาจารย์ และนักศึกษา ม.แม่ฟ้าหลวง จัดกิจกรรมศึกษา สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง

คณะอาจารย์ และนักศึกษา ม.แม่ฟ้าหลวง จัดกิจกรรมศึกษา สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2566  เวลา 09.30 น. ร.ต.วชิรศักดิ์ ตันชัยสิริมณีกุล หน.ชป.บ้านห้วยหยวกป่าโซ พร้อมด้วยกำลังพลร่วมกับเจ้าหน้าที่เกษตรในพระองค์ และเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ให้การต้อนรับคณะอาจารย์ และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย เข้ามาในพื้นที่โครงการฯ เพื่อจัดกิจกรรมศึกษาโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ณ สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง บ.ห้วยหยวกป่าโซ ต.แม่สลองใน อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

พช.เมืองเชียงราย ร่วมบุญผ้าป่าสามัคคี จัดซื้อที่ดินโคกหนองนาพัฒนาชุมชน

พช.เมืองเชียงราย ร่วมบุญผ้าป่าสามัคคี จัดซื้อที่ดินโคกหนองนาพัฒนาชุมชน

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม 2566 เวลา 10.00 น. คณะศรัทธาวัดพุทธอุทยาน(ดอยอินทรีย์) นำโดยพระอาจารย์ ดร.มหาน้อย พระธรรมทูตอินเดีย เนปาล และอาจารย์สมพงษ์ และคณะศรัทธาดอยอินทรีย์และชุมชนอารยะเกษตร ได้ร่วมกันทอดผ้าป่าสามัคคีซื้อที่ดินโคกหนองนา 15 ไร่ (โฉนด 18 ไร่) เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ อันหาที่สุดมิได้ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ เพื่อให้เป็นศูนย์เรียนรู้พัฒนาคุณภาพชีวิตคนทุกช่วงวัย เผยแผ่ให้ความรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ อันเป็นวิชาพลิกฟื้น ดิน น้ำ ป่า สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ คุณภาพชีวิต แนวทางสันติภาพของโลก ร่วมกับ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย โดยวันนี้มี พัฒนาการอำเภอเมืองเชียงราย และพัฒนากรตำบลดอยฮาง มาร่วมบุญ และเป็นสักขีพยาน พระจารย์วิบูลย์ ธัมมเตโช กล่าวว่า ผ้าป่ากองแรกในการเซ็นสัญญา และจะมีการทอดผ้าป่าในครั้งต่อๆไป ใช้เวลาไม่เกิน 3 ปี ก็จะจ่ายหมด จึงขออนุโมทนากับทุกคนมา ณ โอกาสนี้

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สพอ.เมืองเชียงราย

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

พช.เชียงราย เพิ่มทักษะ​โคกหนองนา โครงการ​เกษตรประณีตทฤษฎีใหม่อย่างยั่งยืน

พช.เชียงราย เพิ่มทักษะโคกหนองนา โครงการเกษตรประณีตทฤษฎีใหม่อย่างยั่งยืน

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม 2566 นายวิทยา ชุมภูคำ พัฒนาการจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้นายปรีชา ปวงคำ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน ติดตามให้กำลังครัวเรือนต้นแบบโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดเชียงราย ที่เข้าร่วมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการเกษตรประณีตทฤษฎีใหม่อย่างยั่งยืน ณ อาคารฝึกอบรม เกษตรทฤษฎีใหม่ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงราย

โดยมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาเกษตรกร ผู้ว่างงาน ผู้ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้มีความรู้ด้านการผลิตพืช สัตว์ และกระบวนการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร การเพิ่มมูลค่าผลผลิต ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการประกอบอาชีพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้
 
ในวันนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ ผ่านการสาธิตและฝึกปฏิบัติ ในหัวข้อ กิจกรรมโปรตีนในครัวเรือน “ไก่ไข่อารมณ์ดี” และ การขยายพันธุ์พืชเพื่อการค้า โดยการทำน้ำพริกนรกจากปลานิล และการแปรรูปเห็ดสวรรค์ ซึ่งผู้ผ่านการฝึกอบรมตามเกณฑ์ที่กำหนดจะได้รับสนับสนุนปัจจัยการผลิต รายละ 1,300 บาท
 
ในการนี้ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย ได้สนับสนุนให้เครือข่ายโคกหนองนาพัฒนาชุมชน เข้าร่วมการฝึกอบรมตามโครงการดังกล่าว จำนวน 68 ราย เพื่อนำองค์ความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิต และพัฒนาศูนย์เรียนรู้การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล” ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ถ่ายทอดองค์ความรู้แก่คนในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
 
ทั้งนี้ โครงการเกษตรประณีตทฤษฎีใหม่อย่างยั่งยืน เป็นหนึ่งในกิจกรรมความร่วมมือตามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการประสานความร่วมมือโครงการสร้างและพัฒนาเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่”โคก หนอง นา โมเดล” ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดเชียงราย ระหว่าง สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคเหนือ นายกสมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงราย ประธานเครือข่ายโคเนื้อล้านนาจังหวัดเชียงราย ประธานเครือข่าย โคก หนอง นา จังหวัดเชียงราย

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : Cddchiangrai

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

มทบ.37 ติดตั้งอุปกรณ์ผลิตกระแสไฟฟ้า สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง ต.แม่เงิน อ.เชียงแสน

มทบ.37 ติดตั้งอุปกรณ์ผลิตกระแสไฟฟ้า สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง  ต.แม่เงิน อ.เชียงแสน

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 66 เวลา 0800 – 1600 ร.ต.ไพบูลย์ สายหงษ์ หัวหน้าชุดประสานงานและคุ้มครองป้องกันชุมชน สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง ตามพระราชดำริ บ.ธารทอง อ.เชียงแสน จว.ช.ร. จัดกำลังพลสนับสนุน นายเกียรติศักดิ์ นันตา ตำแหน่ง นักวิชาการพลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ทำการขนย้ายอุปกรณ์ผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อไปติดตั้ง ณ อาคารโรงผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง ตามพระราชดำริ บ.ธารทอง ต.แม่เงิน อ.เชียงแสน จว.ช.ร.

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

ขับเคลื่อนแผนงานตำบล มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน กอ.รมน. เชียงราย อ.เชียงแสน

ขับเคลื่อนแผนงานตำบล มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน กอ.รมน. เชียงราย อ.เชียงแสน

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 66 เวลา 09.00 น. โดย พ.อ.พักตร์พงษ์ เงสันเที๊ยะ หน.กลุ่มงานนโยบายแผนและการข่าวฯ เป็นประธาน การประชุมขับเคลื่อนแผนงานตำบล มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ของ กอ.รมน.จังหวัด เชียงราย ประจำปีงบประมาณ 2566 ร่วมกับส่วนราชการ และผู้นำชุมชนในพื้นที่ อบต.ศรีดอนมูล อ.เชียงแสน จังหวัดเชียงราย  โดยการ บูรณาการ ประสานงาน แผนงาน/โครงการ ของส่วนราชการในพื้นที่  เพื่อเชื่อมโยงไปสู่พื้นที่เป้าหมายเดียวกันในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง โดยได้เชิญ ฝ่ายปกครองอำเภอเชียงแสน, นายก อบต.ศรีดอนมูล, หน.ส่วนราชการ และผู้นำชุมชนในพื้นที่ ร่วมประชุม ณ ห้องประชุม อบต.ศรีดอนมูล อ.เชียงแสน จังหวัดเชียงราย

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
NEWS TOP STORIES

ชาวบ้านร้อง! พระเรี่ยไรเงินบริจาค อ้างวัดดังย่านริมกกทำโครงการปลูกป่า

ชาวบ้านร้อง! พระเรี่ยไรเงินบริจาค อ้างวัดดังย่านริมกกทำโครงการปลูกป่า

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2566 สำนักข่าวออนไลน์นครเชียงรายนิวส์ ได้รับแจ้งจากชาวบ้านในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ถึงกรณีที่มีพระสงฆ์รูปหนึ่ง จากวัดชื่อดัง ในตำบลริมกก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงรายได้เชิญชวนชาวบ้านและญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญ เนื่องในวันวิสาขบูชา ใน “โครงการพระภัทรพลปลูกป่ารักน้ำ” ซึ่งมีการอ้างว่าได้ดำเนินการมาสองสามปี แต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ โดยที่จะทำการเพาะปลูกต้นไม้ ณ สถานที่ เขตอุทยานแห่งชาติดอยพระพุทธบาท บ้านปูไข่ ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เขต
ติดต่อกัน 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลนางแล ตำบลท่าสุด ตำบลป่าตึง ตำบลแม่ยาว ตำบลบ้านดู่ รวม 5 ตำบล และอีก 2 อำเภอ จังหวัดเชียงราย

จากกรณีดังกล่าวนี้ทำให้ชาวบ้านเกิดความสงสัย ทางทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์จึงได้ทำการติดต่อสอบถามไปยังศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดเชียงราย สายด่วน 1567 โดยทางศูนย์ได้ชี้แจงว่า ไม่มีนโยบายการร่วมกับหน่วยงานอื่นเพื่อไปเรี่ยไรเงิน หรือทำโครงการเพื่อไปเก็บเงินชาวบ้าน

ด้านเจ้าอาวาสวัดดังย่านต.ริมกก อ.เมือง จ.เชียงรายกล่าวว่า ทางวัดไม่มีโครงการดังกล่าว และพระสงฆ์รูปที่กระทำการดังกล่าวนี้ ล่าสุดเจ้าคณะอำเภอสั่งให้ออกนอกพื้นที่แล้วและเคยกระทำผิดเช่นนี้มาก่อน โดยอ้างชื่อวัดอื่นเพื่อเรี่ยไรเงินจากชาวบ้าน โดยทางวัดได้มีการว่ากล่าวตักเตือนพระสงฆ์รูปนี้มาแล้วกว่า 3 ครั้ง และถึงแม้ว่าขณะนี้ทางวัดได้มีมติให้ออกจากวัดแล้วแต่พระสงฆ์รูปนี้ก็ยังมีการออกไปเรี่ยไรเงินจากชาวบ้านอยู่ 

ทางเจ้าอาวาสได้ย้ำมากับทางนครเชียงรายนิวส์ว่าทางวัดไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเรี่ยไรเงินในครั้งนี้ ขอชาวเชียงรายที่พบพระสงฆ์เดินเรี่ยไรซองผ้าป่าอย่าหลงเชื่อโอนเงินใน“โครงการพระภัทรพลปลูกป่ารักน้ำ” และสังเกตุตราประทับของวัดในจดหมายที่ได้รับ


โดยคำสั่งมหาเถรสมาคม พ.ศ.2539 เรื่อง ควบคุมการเรื่ยไร ระบุว่า อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15 ตรี แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 มหาเถรสมาคมจึงออกคำสั่งไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 คำสั่งมหาเถระสมาคมนี้ เรียกว่า “คำสั่งมหาเถรสมาคม เรื่อง ควบคุมการเรี่ยไร พ.ศ.2539”

ข้อ 2 คำสั่งมหาเถรสมาคมนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในแถลงการณ์คณะสงฆ์ เป็นต้นไป

ข้อ 3 ตั้งแต่วันใช้คำสั่งมหาเถรสมาคมนี้ ให้ยกเลิกคำสั่งมหาเถรสมาคม เรื่องควบคุมการเรี่ยไร พ.ศ.2527

ข้อ 4 ในคำสั่งนี้ การเรี่ยไร หมายถึง การขอรวมตลอดถึงการซื้อขายแลกเปลี่ยน ชดใช้ หรือบริการ ซึ่งมีการแสดงโดยตรงหรือโดยอ้อม ว่ามิใช่เป็นการซื้อขายแลกเปลี่ยน ชดใช้ หรือบริการ ตามธรรมดา และให้มีความหมายถึง การออกเรี่ยไร การแจกของฎีกา การบอกบุญบนรถโดยสาร การกั้นรถโดยสาร การใช้ยานพาหนะบรรทุกลูกนิมิต พระพุทธรูป ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ การตั้งองค์กฐินผ้าป่าตามสถานที่ต่าง ๆ การบอกบุญโดยใช้บาตรจำลอง กระบอกไม้ไผ่ กระป๋องผ้าป่า การโฆษณาบอกบุญทางสถานีวิทยุกระจายเสียง ทางสถานีโทรทัศน์ หรือทางสื่อมวลชนอื่น ๆ เพื่อรวบรวมทรัพย์สินที่ได้มาทั้งหมดหรือบางส่วนไปใช้ในกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง

ข้อ 5 ห้ามมิให้วัดหรือพระภิกษุสามเณรทำการเรี่ยไร หรือมอบหมายหรือยินยอมให้ผู้อื่นทำการเรี่ยไร ทั้งโดยทางตรงและโดยทางอ้อม เพื่อประโยชน์แก่วัดหรือพระศาสนา หรือเพื่อประโยชน์อย่างอื่นใด แก่ตนหรือผู้อื่น เว้นแต่ในกรณีที่กำหนดไว้ในคำสั่งมหาเถรสมาคมนี้

ข้อ 6 ในกรณีที่มีการบำเพ็ญกุศลในวัด ซึ่งเป็นงานประจำปี หรืองานพิเศษ ถ้าจะมีการเรี่ยไร การโฆษณาเรี่ยไร และการรับเงิน หรือทรัพย์สินจากการเรี่ยไร ให้กระทำได้เฉพาะภายในบริเวณวัด ห้ามมิให้กระทำนอกบริเวณวัด

ข้อ 7 ให้มีคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไร 2 คณะ

(1) คณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรส่วนกลาง ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้งตามมติมหาเถรสมาคม มีจำนวนไม่ต่ำกว่า 5 ไม่เกิน 9 มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

(1.1) อนุมัติและควบคุมการเรี่ยไรทั่วประเทศ

(1.2) อนุมัติและควบคุมการเรี่ยไร ทางสถานีวิทยุ ทางโทรทัศน์ และทางสื่อมวลชนอื่น ๆ

(1.3) เพิกถอนการเรี่ยไรทุกประเภทที่ผิดวัตถุประสงค์ หรือไม่เหมาะสม

(1.4) ปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวกับการเรี่ยไรตามที่มหาเถรสมคมมอบหมาย

(2) คณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรส่วนจังหวัด ซึ่งเจ้าคณะจังหวัดเจ้าสังกัดแต่งตั้ง มีจำนวนไม่ต่ำกว่า 5 ไม่เกิน 9 โดยมีเจ้าคณะจังหวัดเป็นประธาน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

(2.1) อนุมัติและควบคุมการเรี่ยไรภายในจังหวัด

(2.2) อนุมัติและควบคุมการเรี่ยไรของจังหวัดอื่นที่มาขอเรี่ยไรในจังหวัดที่รับผิดชอบ

(2.3) เพิกถอนการเรี่ยไรภายในจังหวัดที่ผิดวัตถุประสงค์ หรือไม่เหมาะสม

(2.4) ปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวกับการเรี่ยไรที่คณะกรรมการเรี่ยไรส่วนกลาง หรือมหาเภรสมาคมมอบหมาย

ข้อ 8 ถ้ามีกรณีจำเป็นจะต้องทำการเรี่ยไรนอกบริเวณวัด เพื่อก่อสร้างหรือปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุใด ถาวรวัตถุนั้นต้องได้มีการก่อสร้าง หรือปฏิสังขรณ์ไว้แล้วไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของงานก่อสร้าง หรือปฏิสังขรณ์ทั้งหมด และให้เจ้าอาวาสปฏิบัติดังต่อไปนี้

(1) ให้รายงานขออนุมัติการเรี่ยไร

(1.1) ในกรณีการเรี่ยไรภายในจังหวัด เสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงเจ้าคณะอำเภอเจ้าสังกัด เมื่อเจ้าคณะอำเภอเจ้าสังกัดเห็นชอบแล้ว ให้เสนอไปยังคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรส่วนจังหวัดพิจารณา โดยผ่านสำนักงานเจ้าคณะจังหวัด

ในกรณีที่มีความประสงค์จะทำการเรี่ยไรข้ามจังหวัด เมื่อได้รับอนุมัติให้ทำการเรี่ยไรภายในจังหวัดแล้ว ให้ทำเรื่องขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรของจังหวัดที่จะข้ามไปเรี่ยไร โดยผ่านสำนักงานเจ้าคระจังหวัดเจ้าสังกัด

(1.2) ในกรณีการเรี่ยไรทั่วประเทศ เสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงเจ้าคณะภาคเจ้าสังกัด เมื่อเจ้าคระภาคเจ้าสังกัดพิจารณาเห็นชอบแล้ว ให้เสนอไปยังคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรส่วนกลาง เพื่อพิจารณาโดยผ่านสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม

ในรายงานขออนุมัติทำการเรี่ยไรตามความใน (1.1) และ (1.2) ให้แสดงรายการก่อสร้างหรือปฏิสังขรณ์ จำนวนเงินหรือทรัพย์สินที่จะทำการเรี่ยไร กำหนดเวลาทำการเรี่ยไรและข้อความที่จะโฆษณาเรี่ยไร

(2) เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรตามข้อ 7 (1) หรือ ข้อ 7 (2) แล้ว จึงให้จัดการขออนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการเรี่ยไรต่อไป

(3) ในกรณีได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการเรี่ยไรแล้ว ห้ามพระภิกษุสามเณรออกทำการเรี่ยไรด้วยตนเอง และต้องปฏิบัติให้ชอบด้วยวิธีการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการเรี่ยไรทุกประการ

(4) เมื่อครบกำหนดเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ทำการเรี่ยไรแล้ว ให้รายงานยอดรายรับรายจ่าย เงินและทรัพย์สินในการเรี่ยไรเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับ จนถึงคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรตามข้อ 7 (1) หรือ ข้อ 7 (2) ที่อนุญาต ผ่านสำนักงานเจ้าคณะจังหวัดเจ้าสังกัด หรือสำนักงานเลขาธิการมหาเถรสมาคมแล้วแต่กรณี เมื่อได้ใช้จ่ายเงินหรือทรัพย์สินไปในการก่อสร้างหรือปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุนั้นเสร็จแล้ว ก็ให้รายงานตามลำดับดังกล่าวข้างต้น

ข้อ 9 พระภิกษุสามเณรรูปใดฝ่าฝืนคำสั่ง่มหาเถรสมาคม

(1) ถ้ามิได้เป็นพระสังฆาธิการ

(1.1) เมื่อเจ้าอาวาสเจ้าสังกัดได้ทราบความผิดนั้นแล้ว ให้จัดการให้พระภิกษุสามเณรรูปนั้นออกไปเสียจากวัด หากไม่ยอมออก เป็นการขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญา ให้ขออรักขาจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง และให้บันทึกเหตุที่ให้ออกนั้นในหนังสือสุทธิด้วย หรือ

(1.2) เมื่อเจ้าคณะในเขตที่ความผิดนั้นเกิดขึ้นได้ทราบความผิดนั้นแล้ว ถ้าผู้ฝ่าฝืนมีสังกัดอยู่ในจังหวัดเดียวกัน ให้แจ้งแก่เจ้าอาวาสผ่านเจ้าคณะจังหวัดเจ้าสังกัด แต่ถ้ามีสังกัดอยู่ต่างจังหวัด ให้แจ้งแก่เจ้าอาวาสผ่านเจ้าคณะภาคเจ้าสังกัด เพื่อดำเนินการตามความใน (1.1)

(2) ถ้าเป็นพระสังฆาธิการ ให้เจ้าคณะเจ้าสังกัดพิจารณาลงโทษฐานละเมิดจริยาพระสังฆาธิการตามควรแก่กรณี แต่ถ้าพระส้งฆาธิการได้กระทำผิดในเขตจังหวัดที่ตนมิได้สังกัดอยู่ ให้เจ้าคณะในเขตที่ความผิดนั้นเกิดขึ้นแจ้งแก่เจ้าคระเจ้าสังกัดของผู้กระทำผิดเพื่อดำเนินการดังนี้

(2.1) ในกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งแก่เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร

(2.2) ในจังหวัดอื่น ให้แจ้งแก่เจ้าคณะจังหวัด หรือเจ้าคณะภาค แล้วแต่จะเห็นสมควร

(2.3) ถ้าปรากฏว่าความผิดตามกรณี (1) หรือ (2) เป็นความผิดอาญาด้วย ย่อมจะมีโทษตามกฎหมายอีกต่างหากจากโทษที่ได้รับจากเจ้าอาวาสหรือเจ้าคณะเจ้าสังกัด

ข้อ 10 คำสั่งมหาเถรสมาคมนี้ มิให้ใช้บังคับแก่การเรี่ยไร ดังต่อไปนี้

(1) การเรี่ยไรในทางการคณะสงฆ์ หรือ

(2) การเรี่ยไรที่มหาเถรสมาคมอนุมัติเฉพาะเรื่อง

สั่ง ณ วันที่ 4 สิงหาคม 2539

Facebook
Twitter
Email
Print

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรานิวส์

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

เปิดโครงการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพ ในการจัดทำแผนพัฒนา อบจ.เชียงราย

เปิดโครงการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพ ในการจัดทำแผนพัฒนา อบจ.เชียงราย

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2566 เวลา 09.30 น. นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย โดยมี นายรามิล พัฒนมงคลเชฐ ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ณ ห้องประชุมธรรมปัญญา ในการนี้ นายจีรพงษ์ พุทธวงค์ วิทยากรจากสำนักงานจังหวัดเชียงราย บรรยายและให้ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการจัดทำและประสานแผนพัฒนาท้องถิ่น

องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ได้เล็งเห็นความสำคัญในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นในภาพรวมของจังหวัด ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงได้จัดโครงการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมและบูรณาการร่วมกัน ในการแก้ไขปัญหาความต้องการและความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงรายอย่างเป็นรูปธรรม ถูกต้องตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย
Facebook
Twitter
Email
Print

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

ประธาน​แม่บ้าน​มหาดไทย​เชียงราย​ ลง​พื้นที่​ ติดตาม “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา”

ประธานแม่บ้านมหาดไทยเชียงราย ลงพื้นที่ ติดตาม “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา”

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2566 นางสุภาเพ็ญ ศิริมาตย์ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงราย ลงพื้นที่เยี่ยมให้กำลังใจสมาชิกศิลปาชีพ และกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ในพื้นที่อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอพญาเม็งราย โดยมีนายชูสวัสดิ์ สวัสดี นายอำเภอพญาเม็งราย พร้อมด้วยนางโสภิชา หงษ์คำ พัฒนาการอำเภอพญาเม็งราย แม่บ้านมหาดไทยอำเภอพญาเม็งราย ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้า สมาชิกกลุ่มศิลปาชีพ ในพื้นที่อำเภอพญาเม็งราย ร่วมให้การต้อนรับและนำเสนอข้อมูลการพัฒนาผลิตภัณฑ์

ในการนี้ นายวิทยา ชุมภูคำ พัฒนาการจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้นางอำไพ บัวระดก ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน พร้อมด้วยนายปรีชา ปวงคำ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน และทีมงานนักวิชาการสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย ร่วมลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนข้อมูลเพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามแนวทาง หลักเกณฑ์การประกวด รวมทั้งส่งเสริมการผลิตและจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้กับกลุ่มและชุมชนอย่างยั่งยืน
 
ในโอกาสนี้ นางสุภาเพ็ญ ศิริมาตย์ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงราย และคณะ ได้พบปะและมอบแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างรายได้แก่กลุ่ม และเชิญชวนส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา” และงานหัตถกรรม โดยมอบหมายให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย ร่วมสนับสนุนการดำเนินงาน
 
ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถส่งผลงานและใบสมัครเข้าร่วมการประกวดฯ ได้ที่สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย และสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอทุกแห่ง ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม – 4 สิงหาคม 2566
Facebook
Twitter
Email
Print

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : Cddchiangrai

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

เชียงราย เดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์ ชุมชน-ตอบโจทย์ นักเดินทางกำลังซื้อสูง

เชียงราย เดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์ ชุมชน-ตอบโจทย์ นักเดินทางกำลังซื้อสูง

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2566 ที่ร้านสวรรค์บนดิน ฟาร์ม แอนด์ ที ต.ริมกก อ.เมืองเชียงราย นายสมหวัง บุญระยอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานเปิดโครงการบูรณาการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ ไมซ์สร้างสรรค์ รวมพลังชุมชนภาคเหนือยกระดับการพัฒนา และการมีส่วนร่วม สู่ Product MICE Premium จังหวัดเชียงราย โดยมีนางศุภาดา ชัยวงษ์ ผู้แทนสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) นำหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เข้าร่วม ซึ่งผู้เข้าร่วมการประชุมจะได้รับความรู้จากวิทยากรผู้ชำนาญการ รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ประกอบการด้วยกัน เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการส่งเสริมช่องทางการตลาดอีกด้วย

นางศุภาดา ชัยวงษ์ ผู้แทนสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า Product MICE Premium โปรเจ็กต์ของทีเส็บ (TCEB) สำนักงานภาคเหนือ เป็นโครงการสนับสนุนการนำอัตลักษณ์ หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นสินค้าโดยช่างฝีมือท้องถิ่น เช่น อาหาร ของชำร่วย หรือของฝาก ตอบโจทย์นักเดินทางไมซ์ (นักท่องเที่ยวกำลังซื้อสูง) ซึ่งจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม ยกระดับการพัฒนาสินค้าผ่านวัฒนธรรม วิถีชีวิต และทรัพยากรชุมชนให้เกิดประโยชน์ กระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงสร้างความแตกต่างให้นักท่องเที่ยวที่มาเยือนเกิดความประทับใจ

ด้านนายสมหวัง บุญระยอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า จังหวัดเชียงรายเป็น 1 ใน 4 ของพื้นที่ภาคเหนือ ที่ทางทีเส็บให้ความสำคัญ ในฐานะเมืองที่มีศักยภาพ ทั้งยังเป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ มีพรมแดนเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน (ลาว และเมียนมา) ซึ่งสามารถใช้กลไกไมซ์ เป็นเครื่องมือสร้างเครือข่ายในการบริหารจุดแข็งร่วมกัน และเตรียมพร้อมสู่การขยายความร่วมมือไปยังประเทศในกลุ่มอนุภาคลุ่มน้ำโขง หรือ Greater Mekong Subregion (GMS) ในอนาคต และยังเป็นชุมชนที่มีเอกลักษณ์หลากหลายทางชาติพันธุ์ ซึ่งสินค้าของที่ระลึก หรือของชำร่วยเป็นหนึ่งในสินค้าที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว หากได้รับการพัฒนาให้สินค้าที่สามารถสะท้อนอัตลักษณ์ที่โดดเด่น ของจังหวัดเชียงรายได้ จะทำให้เป็นที่จดจำสำหรับผู้มาเยือน

รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวต่อไปว่า การพัฒนาสินค้าหรือของชำร่วย จึงจำเป็นต้องดำเนินการโดยอ้างอิงข้อมูลอื่น ที่เป็นตัวตนของจังหวัดเชียงราย ทำให้สินค้าหรือของชำร่วยของเรา มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น เป็นที่จดจำ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มคุณค่าสินค้าให้ดูดี น่าใช้ น่าซื้อ อยู่ในระดับพรีเมี่ยม และสามารถนำไปใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวัน ต่อไป
Facebook
Twitter
Email
Print

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

เชียงราย ถอดบทเรียนปัญหาหมอกควันไฟป่า และ PM2.5 เพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

เชียงราย ถอดบทเรียนปัญหาหมอกควันไฟป่า และ PM2.5 เพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2566 ผศ.ดร.นิอร ศิริมงคลเลิศกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลเชียงราย ผศ.ดร.จิราพร ขุนศรี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ผศ.ดร.นพชัย ฟองอิสสระ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ดร.อภิญญา ดิสสะมาน สถาบันพระปกเกล้า ได้เป็นวิทยากรในการ ถอดบทเรียน การเผาและการจัดการเชื้อเพลิงกับปัญหาไฟและฝุ่นในชุมชน ด้วยวิธี “การประชาเสวนา” (Citizen Dialogue) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย “การยกระดับการบริหารเชื้อเพลิงหรือการชิงเผาด้วยนวัตกรรม Burn Check ในชุมชนเสี่ยงต่อการเผา” ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยโดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยมี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงราย เป็นหัวหน้าโครงการ

ในการถอดบทเรียนในครั้งนี้ ได้มี นายอุดม ปกป้องบวรกุล นายอำเภอแม่สรวย ได้นำคณะวิจัย พบปะกับ ผู้บริหาร ผู้นำชุมชนในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าก๊อ และองค์การบริหารส่วนตำบลแม่พริก อ.แม่สรวย จ.เชียงราย เพื่อร่วมกันถอดบทเรียนการเกิดปัญหาหมอกควันไฟป่า ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM2.5 ในพื้นที่ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย เพื่อเป็นการนำข้อมูลที่ได้มานำเสนอเป็นนโยบายในการแก้ไขปัญหาในปีต่อไปอย่างเป็นรูปธรรม และถาวร

นายอุดม ปกป้องบวรกุล กล่าวว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการให้ทุกตำบลให้ไปถอดบทเรียนว่าไฟป่ามันเกิดจากอะไรแล้วยังมีวิธีจัดการหรือแก้ไขปัญหายังไงในเบื้องต้น จึงได้ชวน สถาบันการศึกษาในพื้นที่มาถอดบทเรียน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีข้อมูลการเกิดจุดความร้อนหรือฮอตปอตในพื้นที่ ตำบลท่าก๊อ ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ถึง 30 เมษายน ซึ่งมากกว่าทุกตำบลในแม่สรวย และช่วงบ่ายก็จะไปถอดบทเรียนในพื้นที่ตำบลแม่พริกซึ่งมีข้อมูลการเกิดฝุ่นความร้อนน้อยที่สุดของทั้งอำเภอแม่สรวย ซึ่งบริบทของ อำเภอแม่สรวย อยู่ในเขตป่าไม้ 9-18.6% เหลือพื้นที่ที่ไม่ได้อยู่ในเขตป่าไม่ถึง 2% หรือประมาณ 14,000 ไร่ แต่ข้อมูลการออกโฉนดมีมากกว่า เพราะบางพื้นที่อาจจะมีการออกโฉนดทับซ้อนที่ในป่าสงวน บางพื้นที่มีการยึดถือครอบครองทำประโยชน์มาก่อนแล้ว ไม้เข้ามาประกาศทีหลังอันนี้เป็นประเด็นที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นประเด็นที่สำคัญ การแก้ไขปัญหาจึงขึ้นกับบริบทแต่ละพื้นที่เพราะฉะนั้น จึงได้มีการเชิญนักวิชาการจาก 3 สถาบัน มาทำวิจัยเรื่องการบริหารจัดการเชื้อเพลิงผ่านระบบแอปพลิเคชั่นเบิร์นเช็ค โดยจะนำความคิดเห็นของประชาชนมาประกอบ เป็น 5 เหตุปัญหาการแก้ไขปัญหาและก็การกระบวนการในอนาคตของภาพรวมทั้ง อำเภอแม่สรวยและเราก็จะนำความเห็นเหล่านี้ไปนำเสนอ ผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนจังหวัดให้ได้พิจารณา

นายชยพล สุกิจยา หน.ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อบต.ท่าก๊อ กล่าวว่า ที่ผ่านมาการจัดการและป้องกันการเกิดปัญหาไฟป่า เจ้าหน้าที่มีหน้าที่ตัดสินใจใช้อำนาจอย่างเด็ดขาดเกินบทบาทของท้องถิ่น และได้พยายามได้ประสานส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ในปีนี้ทางอำเภอ และทางฝ่ายอุทยานที่เกี่ยวข้องเข้าได้เข้ามาเพื่อแก้ไขปัญหา ซึ่งปีนี้อาจจะไม่ทันแต่ปีหน้าต้องมาวางแผนกันใหม่ ซึ่งปัญหามันเกิดขึ้นภาพรวมเป็นวงกว้างแต่การบริหารจัดการคือต่างคนต่างทำโดยที่ไม่ได้มาสรุปกันว่าเราจะทำยังไง เช่นถ้าขาดแคลนการปฏิบัติหน้าที่กำลังด้านงบประมาณท้องถิ่นจะสนับสนุนอะไร ฝ่ายปกครองจะสนับสนุนอะไร ป่าไม้อุทยานมีหน้าที่โดยตรงมีการสนับสนุนด้านกำลังคนหรืองบประมาณก็นำมาหารือกันเพื่อวางแผนแล้วก็แบ่งหน้าที่การทำงาน

“วิธีแก้ไขแนวทางระยะยาวในพื้นที่ของตำบลท่า คือให้ทุกหน่วยงานมาวางแผนร่วมกันและหาหามาตรการวิธีการในการป้องกันปัญหาไฟป่าทำเป็นระยะยาวนะครับไม่ใช่ว่ามาสถานการณ์ไปป่าหมอกควันครั้งหนึ่งอยากให้มีการขับเคลื่อนเป็นภาพรวมขับเคลื่อนไปตลอดทั้งปี”หน.ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อบต.ท่าก๊อ

ด้าน ว่าที่ร้อยตรี ชลิต ศรีจันทร์แก้ว รองปลัด อบต.แม่พริก กล่าวว่า ในส่วนของอบตแม่พริกได้มีการระดมความร่วมมือภาคส่วนในการแก้ไขปัญหา ซึ่งจุดเด่นของตำบลแม่พริกที่สามารถบริหารจัดการไฟป่าได้ประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่งนั่นก็คือผู้นำท้องถิ่นผู้นำท้องที่แล้วก็รวมถึงประชาชนทุกภาคส่วนร่วมในพื้นที่ ดังนั้นเมื่อมีนโยบายจากภาครัฐในการสั่งการในเรื่องการจัดการป้องกันไฟฟ้าในพื้นที่ก็จะสามารถระดมความร่วมมือบูรณาการได้อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ทางอบตแม่พริกก็ยังมีการกำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องของการจัดการพื้นที่ป่า ชุมชนใดมีการตัดไม้ทำลายป่าหรือว่าเผาป่าก็จะถูกปรับ 

โดยงบประมาณในการพัฒนาพื้นที่หมู่บ้านก็เป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่าง อบต.ผู้นำท้องถิ่น ท้องที่และประชาชน ซึ่งถือว่าเป็นมาตรการที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและมีการถือปฏิบัติจนถึงทุกวันนี้ ในส่วนบทบาทของท้องถิ่นในการป้องกันปัญหาไฟป่าก็คงจะเหมือนกับท้องถิ่นอื่นๆแต่ในส่วนของตำบลแม่พริกที่เรามีการสนับสนุนส่งเสริมที่อาจจะแตกต่างจากพื้นที่อื่นคือเราได้มีการส่งเสริมในเรื่องของการให้มีอาชีพในชุมชน เพื่อที่เขาจะสามารถลดความเหลื่อมล้ำในสังคมและก็ลดความเหลื่อมล้ำทางอาชีพ เราได้มีการประสานไปยังโครงการหลวงประสานไปยังหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเป็นสำนักงานพลังงานจังหวัดเชียงราย รวมไปถึงหน่วยงานต่างๆ ได้เข้าไปบูรณาการทำงานร่วมกันในพื้นที่ในการสร้างอาชีพให้กับคนในชุมชนแต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในไฟป่า ปัญหาไฟป่าที่เกิดขึ้นในตำบลมีการลักลอบตัดแล้วก็มีการเผาป่าเพื่อวัตถุประสงค์อย่างอื่น เช่นการบริโภคในครัวเรือนหรือการขายซึ่งตรงนี้ปัจจัยสำคัญที่เป็นสาเหตุนั่นก็คือความยากจนถ้าเราสามารถแก้ปัญหาคนกลุ่มเหล่านี้ได้เราก็จะสามารถให้เขามีอาชีพที่ไม่ต้องไปเผาป่าอีกต่อไป
 
“ข้อเสนอในเชิงนโยบายอยากจะให้ภาครัฐได้ให้ความสำคัญในเรื่องของการนำองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีมาใช้โดยเปลี่ยนจากการเผาป่าให้พืชให้ผลิตไม้ต่างๆมีมูลค่าในการทำรายได้ให้กับคนในชุมชน อยากจะเสนอในเชิงนโยบายในเรื่องของการให้มีนวัตกรรมมีเทคโนโลยีที่เหมาะสมในพื้นที่แต่ละชุมชนเพราะว่าในแต่ละชุมชนก็จะมีปัญหาที่เกิดจากไฟป่าไม่เหมือนกัน จึงอยากจะขอเสนอให้ทางมหาวิทยาลัยได้จัดให้มีการลงพื้นที่โดยนักศึกษาร่วมกันแล้วก็กำหนดเป็นแนวทางเป็นนวัตกรรมที่เหมาะสมก็จะสามารถได้เทคโนโลยีที่สอดคล้องกับสภาพในพื้นที่แล้วปัจจัยตรงนี้จะช่วยให้สิ่งที่ชาวบ้านมองว่าเป็นขยะเป็นสิ่งที่ไม่มีค่าให้เป็นมูลค่ามีรายได้ในชุมชนเขาก็จะไม่เผาป่าเพราะเขามองว่าสิ่งที่เขาเผาป่ามันคือสิ่งที่มีมูลค่ามีรายได้ให้กับเขา”รองปลัด อบต.แม่พริก

นายสรวิชญ์ ธิวงศ์ ผญบ.บ้านโฮ่ง ม.10 ต.แม่พริก กล่าวว่า หลังจากได้ร่วมให้ข้อมูลกับทางทีมวิจัยในวันนี้ก็ได้สรุปปัญหาที่ในชุมชนตำบลในพริกได้ดำเนินการมา แต่ก็ในบริบทของตำบลในพริกมีการบริหารจัดการเรื่องการเผาหรือว่าการป้องกันถือว่าอยู่ในระดับที่ระดับที่ดีในการที่จะส่งเสริมหรือสนับสนุนในการใช้งานงบประมาณหรือว่านวัตกรรมใหม่ๆที่เกี่ยวกับการดับไฟหรือว่าป้องกันภัยที่ดีที่สุดที่ผ่านมานี่พี่น้องประชาชนเข้าใจเข้าใจในกฎระเบียบของชุมชนไม่ว่าจะเป็นของทางภาครัฐ หรือว่าทางตำบล
Facebook
Twitter
Email
Print

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE