Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

เครือซีพีเสริมทัพภาคีเครือข่ายเชียงราย จัดงาน “อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก”

 

เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2567 เครือเจริญโภคภัณฑ์ ผนึกกำลังกับเทศบาลตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ชุมชนบ้านหลวงใหม่พัฒนา โรงเรียนบ้านหลวง โรงเรียนวัดครึ่งใต้วิทยา วัดหลวง และหน่วยงานภาคีเครือข่ายในพื้นที่ จัดงาน “อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก” เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและเยาวชนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ป้องกันการเกิดไฟป่าในพื้นที่ป่าชุมชน รวมถึงเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการแก้ไขและลดปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5 ในภาคเหนือ

 

โดยมี นายฤหธิเดช จรรยาพงษ์ ปลัดอำเภอเชียงของ ประธานเปิดงาน พร้อมด้วย นางศิริลักษณ์ บ่อสร้าง รองผู้จัดการฝ่าย ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ แอนโหนี-ปิยชนม์ ภุมวิภาชน์ ยุวทูต SEAMEO องค์กรรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เยาวชนต้นแบบด้านสิ่งแวดล้อม นายดำรงศักดิ์ ไชยสาร นายกเทศมนตรีตำบลครึ่ง นายชาญวิทย์ รอดเกิด ผู้แทนเกษตรอำเภอเชียงของ ร้อยเอก อภิภู เมืองซ้ำาย หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ชร.4 (หาดไคร้) ว่าที่ ร้อยโท ทัศน์ไชยไชยทน ปลัดเทศบาลตำบลครึ่ง นายภัทรพล หิริรักษ์วัฒนกิจ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ กิจการผลิตและขายสุกรภาคเหนือบน เขต 3 บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ร่วมงาน ณ วัดพระธาตุพระเจ้าเข้ากาดหมู่ที่ 3 ตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

 

 

นายฤทธิเดช จรรยาพงษ์ ปลัดอำเภอเชียงของ กล่าวว่า “การจัดโครงการอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก มุ่งหวังในการรณรงค์การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ และป่าไม้ โดยความร่วมมือของทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนกิจกรรมการอนุรักษ์ รักษา และปกป้องหรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงผลักดันการดำเนินงานเครือข่ายอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลกซึ่งเป็นกำลังสำคัญ โดยมีจิตอาสาในการช่วยเหลืองานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านการปกป้องรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นแกนนำ เพื่อร่วมมือป้องกันปัญหาไฟป่าหมอกควัน และฝุ่น PM 2.5 ซึ่งกลายเป็นวาระแห่งชาติที่ทุกฝ่าย เพื่อลดผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชน”

 

 

 
 กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย การให้ความรู้เรื่องประโยชน์และคุณค่าของฝายชะลอน้ำและแนวกันไฟป่าโดยกำนันตำบลครึ่ง จากนั้นข้าสู่พิธีบวชป่า สร้างความตระหนักในการอนุรักษ์ป่าให้กับชุมชน ต่อด้วยกิจกรรมทำฝ่ายชะลอน้ำจากวัสดุธรรมชาติ เพื่ออนุรักษ์แหล่งน้ำ สร้างความสมดุลในระบบนิเวศป่าไม้ รวมถึงสร้างการมีส่วนร่วมให้กับชาวบ้านและเยาวชนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และปิดท้ายที่กิจกรรมสร้างแนวกันไฟป่า ด้วยการกำจัดเชื้อเพลิงที่ติดไฟง่าย เพื่อป้องกันการเกิดไฟป่า มุ่งสู่การแก้ไขและลดปัญหาฝุ่น PM2.5 ในภาคเหนือ ทั้งนี้ เครือซีพี ได้เล็งเห็นความสำคัญและมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนงาน เพื่อแก้ไขและลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : เครือเจริญโภคภัณฑ์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
AROUND CHIANG RAI NEWS UPDATE

ทางลอดใต้ทางรถไฟแบบโค้ง ทางคู่ แห่งแรกของไทย! “เด่นชัย-เชียงของ”

 
เมื่อวันที่12 มีนาคม 2567  รฟท.เปิดภาพทางลอดใต้ทางรถไฟแบบโค้งแห่งแรกของไทย ไซต์ก่อสร้างทางคู่ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เป็นรูปแบบใหม่นวัตกรรมจากสวิตเซอร์แลนด์ ก่อสร้างง่าย ประหยัด ประชาชนสัญจรสะดวก เผยตลอดเส้นทางมี 37 แห่ง เผยภาพรวมก่อสร้างตามแผน เปิดบริการในปี 71
 
 
นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ หัวหน้าสำนักงานผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ตามที่ รัฐบาลและกระทรวงคมนาคมได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ โดยมุ่งเน้นการเดินหน้าลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อขยายขีดความสามารถการคมนาคมขนส่งของประเทศให้มีศักยภาพก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค และนายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มอบนโยบายให้การรถไฟฯ เร่งรัดดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบการขนส่งทางราง การอำนวยความสะดวกการเดินทางแก่ผู้โดยสารให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การเร่งรัดดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ และรถไฟทางสายใหม่ให้เสร็จตามแผนที่กำหนด
 
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟฯ ได้มีการขับเคลื่อนโครงการก่อสร้างระบบรางให้เดินหน้าเป็นไปตามแผนงาน ไม่ว่าจะเป็นโครงการรถไฟทางคู่ โครงการรถไฟสายใหม่ โครงการรถไฟความเร็วสูง พร้อมกับมุ่งนำนวัตกรรม เทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการก่อสร้างให้เกิดความคุ้มค่า รวดเร็ว เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
 
 
ในการดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323.10 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 72,835 ล้านบาท ซึ่งการรถไฟฯ ได้นำนวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์มาใช้ก่อสร้างทางลอดใต้ทางรถไฟ แบบโค้ง (Railway Arch culvert) ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่แห่งแรกในไทยที่มีลักษณะเป็นคอนกรีตหล่อเสริมเหล็กแบบสำเร็จรูปจากโรงงาน สามารถยกไปประกอบติดตั้งได้ง่าย ช่วยลดระยะเวลาการก่อสร้าง ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าร้อยละ 20-25 อีกทั้งยังลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการใช้ซีเมนต์ และเพิ่มความสูงและความกว้างของทางลอด (Clearance) ซึ่งประชาชนสามารถสัญจรได้สะดวกมากกว่าการทำทางลอดใต้ทางรถไฟแบบเดิมอีกด้วย
 
 
สำหรับทางลอดใต้ทางรถไฟรูปแบบโค้งดังกล่าวได้สร้างขึ้นแห่งแรกในพื้นที่ตำบลปงป่าหวาย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ซึ่งอยู่ในสัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว มีระยะช่วงสะพาน 16.5 เมตร ความยาว 33.5 เมตร มีความสูง 4.2 เมตร ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้างคาดจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือนในการสร้างเสร็จ จากนั้นจะมีการสร้างทางลอดใต้ทางรถไฟแบบเดียวกัน ตลอดเส้นทางโครงการฯ ไม่น้อยกว่า 37 แห่ง ซึ่งอยู่ในพื้นที่สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว จำนวน 21 แห่ง สัญญาที่ 2 ช่วงงาว-เชียงราย จำนวน 8 แห่ง และสัญญาที่ 3 ช่วงเชียงราย-เชียงของ อีก 8 แห่ง ขณะเดียวกัน การรถไฟฯ ยังได้พิจารณานำรูปแบบการสร้างทางลอดดังกล่าวไปปรับใช้กับการก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ในเส้นทางอื่นๆ ซึ่งเมื่อสร้างเสร็จจะช่วยเพิ่มความคุ้มค่าทางการลงทุนเป็นอย่างมาก
 
 

ส่วนความก้าวหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ล่าสุดมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูล ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2567 มีรายละเอียด ดังนี้

– สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว ระยะทาง 103.7 กิโลเมตร มูลค่าก่อสร้าง 26,560 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้า ไอทีดี-เนาวรัตน์ ประกอบด้วย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับจ้าง ปัจจุบันมีความคืบหน้าร้อยละ 6.499 ซึ่งเร็วกว่าแผนงานที่กำหนดไว้ร้อยละ 3.443

– สัญญาที่ 2 ช่วงงาว-เชียงราย ระยะทาง 132.3 กิโลเมตร มูลค่าก่อสร้าง 26,890 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้าซีเคเอสที-ดีซี 2 ประกอบด้วย บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท บุรีรัมย์พนาสิทธิ์ จำกัด เป็นผู้รับจ้าง ปัจจุบันมีความคืบหน้าร้อยละ 7.766 ซึ่งเร็วกว่าแผนงานที่กำหนดไว้ร้อยละ 0.014

– สัญญาที่ 3 ช่วงเชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 87.1 กิโลเมตร มูลค่าก่อสร้าง 19,385 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้าซีเคเอสที-ดีซี 3 ประกอบด้วย บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท เชียงใหม่คอนสตรัคชั่น จำกัด เป็นผู้รับจ้าง ปัจจุบันมีความคืบหน้าร้อยละ 5.548 ช้ากว่าแผนงานที่กำหนดไว้ร้อยละ 2.913

ทั้งนี้ โครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ คาดจะแล้วเสร็จสมบูรณ์พร้อมเปิดใช้บริการได้ในปี 2571 ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเดินทางให้แก่ผู้โดยสารและการขนส่งสินค้า สามารถลดระยะเวลาเดินทางเมื่อเทียบกับรถยนต์ได้กว่า 1-1.30 ชม. อีกทั้งยังช่วยเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐกิจแนวเหนือ-ใต้ กับอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง และเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟของ สปป.ลาว ที่มุ่งตรงสู่เมืองคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีนได้อีกด้วย ที่สำคัญยังมีทางขนถ่ายสินค้าออกสู่ทะเลทางท่าเรือแหลมฉบัง รองรับนโยบายการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย (SEZ)

 
 

สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เป็นส่วนหนึ่งในยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย โดยมีจุดเริ่มต้นที่สถานีเด่นชัย จังหวัดแพร่ มุ่งไปทางทิศเหนือผ่านพื้นที่ 59 ตำบล 17 อำเภอ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ ลำปาง พะเยา และสิ้นสุดที่ด่านพรมแดนเชียงของ จังหวัดเชียงราย มีสถานีและป้ายหยุดรถทั้งสิ้น 26 แห่ง ประกอบด้วย สถานีขนาดใหญ่ 4 แห่ง สถานีขนาดเล็ก 9 แห่ง ป้ายหยุดรถ 13 แห่ง และมีย่านกองเก็บและขนถ่ายตู้สินค้า บรรทุกตู้สินค้า 1 แห่ง ที่สถานีเชียงของ บนพื้นที่ 150 ไร่ พร้อมแนวถนนเชื่อมต่อไปยังชายแดนเชียงของ

 

โครงการนี้ได้มีการออกแบบให้มีรั้วกั้นตลอดแนวเส้นทางรถไฟ ไม่มีจุดตัดทางถนนโดยทำสะพานรถยนต์ข้ามและลอดทางรถไฟ (Overpass / Underpass) รวมถึงสะพานลอยสำหรับทางเท้า และทางรถจักรยานยนต์ รวม 254 จุด ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุบริเวณทางผ่านเสมอระดับ ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญประการหนึ่งของนายปิยะพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม รวมทั้งสามารถรักษาระดับความเร็วของขบวนรถไฟให้คงที่ มีความปลอดภัย และมีอุโมงค์ทางคู่ตามแนวเส้นทางที่พาดผ่านพื้นที่ภูเขาอีก 4 แห่ง

 

ประกอบด้วย 1. อุโมงค์สอง จังหวัดแพร่ ความยาว 1.2 กิโลเมตร 2. อุโมงค์งาว จังหวัดลำปาง ความยาว 6.2 กิโลเมตร 3. อุโมงค์แม่กา จังหวัดพะเยา ความยาว 2.7 กิโลเมตร 4. อุโมงค์ดอยหลวง จังหวัดเชียงราย ความยาว 3.4 กิโลเมตร รวมระยะทาง 13.5 กิโลเมตร โดยอุโมงค์งาวเป็นอุโมงค์ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย

 

ทั้งนี้ เมื่อก่อสร้างเสร็จ รถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ จะเป็นเส้นทางรถไฟที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีก่อสร้างอันทันสมัย มีทิวทัศน์รอบข้างสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ อีกทั้งยังช่วยเติมเต็มประสิทธิภาพโครงข่ายการคมนาคมของไทยให้สมบูรณ์ นำพาให้ไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางด้านคมนาคม และโลจิสติกส์ของอาเซียนได้ในอนาคตอันใกล้ต่อไป

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

เปิดการแข่งขันกีฬาสีสัมพันธ์ชุมชน โรงเรียนบ้านเกี๋ยง ประจำปี พ.ศ.2567

 

เมื่อวันศุกร์ที่ 1 มีนาคม 2567 เวลา 08.30 น. นายก นก อทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายก อบจ.เชียงราย ร่วมพิธีถวายผ้าป่าสามัคคีและเป็นประธานเปิดการแข่งขันกีฬาสีสัมพันธ์ชุมชนโรงเรียนบ้านเกี๋ยง ประจำปี พ.ศ.2567 พร้อมด้วย นายวราวุฒิ ไชยวงค์ ส.อบจ.เชียงราย อ.เชียงของ เขต 2 ณ สนามโรงเรียนบ้านเกี๋ยง ต.ห้วยซ้อ อ.เชียงของ จ.เชียงราย โดยมีนายสายยุทธ กันธิยะ ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวรายงาน นายสุรินทร์ วงค์อิ่นแก้ว นายกเทศมนตรี ต.ห้วยช้อ สิบเอก สิทธกานต์ ปัญญาอิ่นแก้ว รองปลัดเทศบาลรักษาราชการแทน ปลัด ทต.ห้วยช้อ นายบุญตรง มูลพร้อม ผอ.รร.บ้านเกี๋ยง ร่วมให้การต้อนรับ 

 

และได้รับเกียรติจาก พระปลัดสมศักดิ์ สมาหิโต เจ้าอาวาสวัดเวียงทอง พระครูวิชิต วีราภรณ์ (อลงกรณ์ ) เจ้าคณะ ต.ห้วยซ้อ พระครูบาสมชาย รกุจิตธัมโม พระธาตุดอยเวียง พระสิทธิพัทธ์ สุนทรเมธี เจ้าอาวาสวัดเกี๋ยงใต้ รับการถวายผ้าป่าสามัคคีในครั้งนี้ด้วย

 
 
ซึ่งการถวายผ้าป่าสามัคคีและการจัดการแข่งขันในครั้งนี้ มีนักกีฬาชุมชนในเขตบริการของโรงเรียน จำนวน 7 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านเกี๋ยงเหนือ หมู่ที่ 4 บ้านเกี๋ยงใต้ หมู่ที่ 6 บ้านใหม่ดอนแก้ว หมู่ที่ 9 บ้านเวียงทอง หมู่ที่ 11 บ้านภูเวียง หมู่ที่ 15 บ้านเกี๊ยง หมู่ที่ 17 และบ้านเวียงคำ หมู่ที่ 22 จัดขึ้นเพื่อสร้างเสริมความสามัคคีระหว่างชุมชนในเขตบริการของโรงเรียน ด้วยการเล่นกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อให้มีร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บดังคำกล่าวที่ว่า “จิตใจที่ร่าเริงแจ่มใส อยู่ในร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์” โดยละเว้น สิ่งเสพติดทุกประเภท และเพื่อสืบสาน วัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงาม ให้แก่คนรุ่นหลังสืบไป
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : อบจ.เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

อบจ.เชียงราย เปิดมหกรรมสร้างสุขภาพ กีฬาและนันทนาการประชาชน อ.เชียงของ

 

เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 08.30 น. นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เป็นประธานเปิดโครงการกีฬาและนันทนาการประชาชนจังหวัดเชียงราย “กิจกรรมที่ 9 การแข่งขันกีฬาและนันทนาการอำเภอเชียงของ ประจำปี 2567” พร้อมด้วย นายวสุพล จตุรคเชนทร์เดชา สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย อำเภอเชียงของ เขต 1 นายชัยสิทธ์ ชัยเนตร เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย หัวหน้าส่วนราชการ โดยมี นายอุดม ปกป้องบวรกุล นายอำเภอเชียงของ เป็นผู้กล่าวต้อนรับ ณ ลานอเนกประสงค์บ้านแฟน ตำบลสถาน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

 

สำหรับ การกีฬาและนันทนาการประชาชนจังหวัดเชียงราย “ภายใต้กิจกรรมงานมหกรรมสร้างสุขภาพ อำเภอเชียงของ ประจำปี 2567 มีวัตถุประสงค์ เพื่อรวมพลังเสริมสร้างและสนับสนุนการเผยแพร่ กิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพ กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ และเพื่อมีสุขภาพจิตใจที่ดีอีกด้วย
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : อบจ.เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI ECONOMY

เชียงราย พร้อมเปิดใช้ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้า อำเภอเชียงของ

 

เมื่อวันจันทร์ที่ 15 มกราคม 2567 ที่ ห้องประชุมพญาพิภักดิ์ ชั้น2 ศาลากลางจังหวัดเชียงราย นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วย นางอุบลรัตน์ พ่วงภิญโญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เข้าร่วมประชุม เพื่อรายงานความคืบหน้าโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้า อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และการเตรียมความพร้อมในการเปิดใช้ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้า อำเภอเชียงของ อีกทั้งเพื่อรับทราบผลการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรค พร้อมทั้งร่วมวิเคราะห์แนวทางในการเปิดใช้ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้า อำเภอเชียงของ ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับการขยายตัวด้านการค้าชายแดน รวมทั้งการกระตุ้นเศรษฐกิจชายแดนของจังหวัดเชียงราย

 
 
สำหรับโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้า อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ตั้งอยู่ ณ ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ ติดกับด่านพรมแดนเชียงของ บริเวณสะพานมิตรภาพไทยลาว แห่งที่4 (เชียงของ – ห้วยทราย) มีเนื้อที่กว่า 335 ไร่ จัดตั้งขึ้นเพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งระหว่างประเทศ ไปสู่ภายในประเทศ รองรับการเชื่อมต่อโครงการรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ รองรับการขนส่งสินค้าผ่านเส้นทาง R3a (ไทย – ลาว – จีนฝั่งตะวันตก) และเป็นศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ อีกทั้งจะเป็นศูนย์ One Stop Service ดำเนินพิธีการที่เกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออก รวมไว้ในจุดเดียว
 
 
ปัจจุบันโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าอำเภอเชียงของ มีการก่อสร้างระยะที่1 แล้วเสร็จและเปิดให้บริการ (Soft Opening) ตั้งแต่เดือนเมษายน 2064 และก่อสร้างระยะที่2 เริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน 2566 และจะมีการดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน (PPP) ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาร่างสัญญาร่วมทุน ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย ครั้งที่2 / 2567 ได้เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะทำงานเตรียมพร้อมการกำหนดแนวทางในการเปิดใช้ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งอำเภอเชียงของ เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการขยายตัวด้านการค้าชายแดน รวมทั้งการกระตุ้นเศรษฐกิจชายแดนของจังหวัดเชียงรายต่อไป
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
GALLERY

“กาดไตลื้อ” มนต์เสน่ชาวไตลื้อ

 

 ชุมชนศรีดอนชัยไทลื้อ เป็นพื้นที่ชุมชนและท้องถิ่นที่มีศักยภาพ มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม “ไทลื้อ” ที่เด่นชัด จึงได้มีแนวคิดเปิดพื้นที่ตลาดใหม่เพื่อเพิ่มช่องทางให้ประชาชนมีพื้นที่ในการจำหน่ายสินค้าทางวัฒนธรรม กิจกรรมการแสดง บริการ ที่แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ผ่านการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยว และเกิดความประทับใจ ซึ่งจะนำมาสู่ความภาคภูมิใจ รวมถึงเป็นการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ชุมชน โดยมุ่งหวังที่จะให้ตลาดวัฒนธรรมชุมชน “กาดไตลื้อ” เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นที่น่าจดจำทั้งชาวเชียงราย ชาวไทยและต่างประเทศ โดยคณะกรรมการฯ ร่วมพัฒนาตลาดวัฒนธรรมชุมชนของเราในนามชื่อ “กาดไตลื้อ ศรีดอนชัย” กำหนดจัดตลาดทุกวันเสาร์แรกของเดือนนับแต่เดือนกันยายน ๒๕๖๖ นี้เป็นต้นไป

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กาดไตลื้อ

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
FOLLOW ME