Categories
AROUND CHIANG RAI

หม่อมหลวงสราลี ประธานพิธีเจริญพระพุทธมนต์สืบชาตาหลวงถวายฯ พระเจ้าวรศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ

 

เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2567 พระราชปัญญาภรณ์ รองเจ้าคณะภาค6 วัดนางชี พระอารามหลวง เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พร้อมด้วย พระพุทธิวงศ์วิวัฒน์ (บุญมา มานิโต) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยตุง อ.แม่สาย ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 6 พระอุดมบัณฑิต รองเจ้าคณะภาค 6 (เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน) พระปลัดเซ็งกิม กตสิทโธ เจ้าอาวาสวัดกิ่วกาญจน์ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ในจังหวัดเชียงราย ประกอบพิธีพระพุทธมนต์สืบชาตาหลวง ถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ เนื่องในวันคล้ายวันประสูติครบรอบ 67 พรรษา ณ วัดกิ่วกาญจน์ ตำบลริมโขง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

 

      ทั้งนี้ ดร.หม่อมหลวงสราลี กิติยากร เป็นประธานฝ่ายฆราวาส เปิดกรวยกระทงดอกไม้ธูปเทียนแพถวายสักการะเบื้องหน้าพระรูป พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ

 

     ว่าที่ร้อยตรี ศราวุธ จันทวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย นายโสไกร ใจมั่น ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงราย และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง นำชาวอำเภอเชียงของ ร่วมประกอบพิธีจำนวนมาก

 

      พระสงฆ์ 68 รูป เจริญพุทธมนต์ พระสงฆ์กล่าวสัมโมทนียกถา จากนั้นประกอบพิธีในรูปแบบทางล้านนา ในการสืบชาตาหลวง

 

     ดร.หม่อมหลวงสราลี กิติยากร กล่าวนมัสการขอบพระคุณพระสงฆ์ และขอบคุณผู้จัดพิธีฯ ในฐานะเป็นพระขนิษฐา พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ซึ่งเป็นสายโลหิตโดยกำเนิด ต้องขอขอบพระคุณพระคุณเจ้าทุก ๆ รูป ขอขอบพระคุณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย รวมทั้งท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ที่ได้เปิดโอกาสให้ผู้จัดพิธีฯ ได้จัดพิธีดังกล่าว ทั้งนี้ปลื้มปิติอย่างมาก ที่ทุก ๆ คนได้ร่วมกันทำบุญใหญ่ครั้งนี้ เพื่อร่วมถวายเป็นพระราชกุศล และส่งพลังใจให้พระองค์ท่าน พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ เนื่องในวันคล้ายวันประสูติครบรอบ 67 พรรษา ที่ใกล้จะถึงนี้ 23 กรกฎาคม ให้ทรงแข็งแรง และหายจากอาการประชวรตามลำดับ

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

จ.เชียงราย เตรียมพิธีการจัดทำ น้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพระเกียรติ

 

เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2567  ณ ห้องจอมกิตติ ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ว่าที่ร้อยตรี ศราวุธ  จันทวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย  เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดทำน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ของจังหวัดเชียงราย เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยการจัดทำน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ประกอบด้วย พิธีพลีกรรมตักน้ำ พิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ และพิธีสมโภชน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์

 

          โดยในที่ประชุม ได้วางแผนและหารือร่วมกันถึงการเตรียมความพร้อมการจัดทำน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 และได้มอบหมายภารกิจให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละด้าน เพื่อให้การจัดทำน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ของจังหวัดเชียงราย เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและสมพระเกียรติ ซึ่งจังหวัดเชียงราย ได้กำหนดการจัดทำน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ เพื่อนำไปประกอบพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ตามโบราณราชประเพณีไทย ดังนี้ 

 

วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม 2567  ประกอบพิธีพลีกรรมตักน้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ ณ บ่อน้ำทิพย์ วัดพระธาตุดอยตุง (วัดน้อยดอยตุง) ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม 2567  พิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ณ พระอุโบสถวัดพระแก้ว พระอารามหลวง อำเภอเมืองเชียงราย และในวันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม 2567 พิธีเวียนเทียนสมโภชน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ณ พระอุโบสถวัดพระแก้ว พระอารามหลวง อำเภอเมืองเมืองเชียงราย  ต่อจากนั้น วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม 2567 คนเชิญคนโทน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ เดินทางไปเก็บรักษาที่กระทรวงมหาดไทย  วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2567 ขบวนเชิญน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ จากกระทรวงมหาดไทยไปวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เพื่อจัดพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์  และในวันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม 2567 ขบวนเชิญพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์จากวัดพระเชตุพนฯ ไปยังพระทีนั่งอมรินทรวินิจฉัย

 

           สำหรับบ่อน้ำทิพย์ของจังหวัดเชียงราย ตั้งอยู่ที่วัดพระธาตุดอยตุง หรือ วัดน้อยดอยตุง ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ลักษณะเป็นบ่อน้ำก่ออิฐถือปูนรูปวงกลม ก่ออิฐเรียงเป็นผนังเพื่อกันดินทลาย ปากบ่อก่อด้วยอิฐมอญสูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง ตามตำนานกล่าวว่า เป็นบ่อน้ำธรรมชาติ มีลักษณะพิเศษคือใสบริสุทธิ์และมีน้ำตลอดทั้งปี พุทธศาสนิกชนจังหวัดเชียงราย ใช้สรงพระบรมธาตุดอยตุง ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 หรือ เดือน 6 (เหนือ) เป็นประจำทุกปี บ่อน้ำทิพย์แห่งนี้ มีความอัศจรรย์ คือ ตั้งอยู่บนดอยสูง ถึงแม้จะมีภัยธรรมชาติฝนแล้งแค่ไหน น้ำในบ่อก็ไม่เคยแห้ง มีน้ำมีตลอดทั้งปี ใสและเย็นอยู่เสมอ

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

ยิ่งใหญ่อลังการ งานไหว้สา มหาชินธาตุเจ้าดอยตุง

 

เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ พระธาตุดอยตุง ต.ห้วยไคร้ อ.แม่สาย จ.เชียงราย  พระพุทธิวงศ์วิวัฒน์  ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เจ้าอาวาสวัดพระสิงห์ (พระอารามหลวง)  รักษาการเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยตุง พระเซ็งกิม กตสิทโธ เจ้าอาวาสวัดกิ่วกาญจน์ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ในฐานะประธานกรรมการดำเนินจัดงาน วัดพระธาตุดอยตุง พร้อมด้วยพุทธสานิกชนได้จัดขบวนเชิญเครื่องสักการะ พระธาตุดอยตุง   เพื่อประกอบพิธีทางสงฆ์ และ จัดการแสดงจินตภาพแห่งความมหัศจรรย์ประกอบแสงสีเสียง บอกเล่าเรื่องราว ความเป็นมาขององค์พระธาตุดอยตุง

 

      ในการจัดงาน “ต๋ามฮอยศรัทธา 2006 ปี๋เมินมา หกเป็งวันทา ไหว้สาพระมหาชินธาตุเจ้าดอยตุง” ประจำปี 2567 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 23 มีนาคม 2567 และมีพิธีสรงน้ำพระธาตุดอยตุง ในวันที่ 24 มีนาคม 2567

 

     พระพุทธิวงศ์วิวัฒน์  ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เจ้าอาวาสวัดพระสิงห์ (พระอารามหลวง)  รักษาการเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยตุง  กล่าวว่า  พระธาตุดอยตุงถือว่ามีประวัติอันยาวนาน และเป็นปฐมเจดีย์ของล้านนา ซึ่งชาวเชียงรายถือว่าโชคดี ที่พระธาตุเจ้าดอยตุง ซึ่งเป็นที่บรรจุพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้าข้างซ้าย) ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และมีการสรงน้ำพระธาตุดอยตุงทุกปีตรงกับเดือน4 เดือน 6เหนือ ขึ้น15 ค่ำ ซึ่งถือว่าเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ปีนี้ตรงกับวันที่ 23 และ 24 มีนาคม 2567

 

     พระเซ็งกิม กตสิทโธ เจ้าอาวาสวัดกิ่วกาญจน์ ประธานกรรมการดำเนินจัดงาน วัดพระธาตุดอยตุง กล่าวว่า  ในปีนี้จัดอย่างยิ่งใหญ่กว่าปีที่ผ่านมา โดยนำการแสดงแสง สี เสียงสื่อผสม จินตภาพแห่งความมหัศจรรย์ มาจัดแสดงเรื่องการสร้างพระธาตุดอยตุง เป็นบทละคร จะทำให้เป็นสิ่งเข้าถึงทุกคนได้ง่ายและรวดเร็ว และยังมี กิจกรรม อื่น ๆ แสดงศิลปวัฒนธรรม พิธีตักน้ำทิพย์  ขบวนน้ำสรงพระราชทาน ผ้าห่มพระธาตุพระราชทาน และเครื่องสักการะ  พิธีถวายเครื่องสักการะ  พระธาตุดอยตุง พร้อมขบวนชาติพันธุ์ 18 ชาติพันธุ์ ขบวนมวลชนและเครื่องสักการะของส่วนราชการ 18 อำเภอ บูชาตุงประจำปีเกิด บูชาน้ำเต้าบรรจุน้ำทิพย์ กาดกำกิ๋นชาติพันธุ์ ขบวนแห่น้ำทิพย์และเครื่องสักการะหกเป็งวันทาไหว้สาพระมหาชินธาตุเจ้าดอยตุง และ  ชมการแสดงจินตภาพแห่งความมหัศจรรย์ละครประกอบแสงสีเสียง

 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

ไหว้สาพระธาตุดอยตุง ปี 67 “2006 ปีสืบมา หกเป็งล่องฟ้า”

 

เมื่อวันที่ วันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม 2567 เวลา 13.00 น. จังหวัดเชียงราย จัดงานประเพณีนมัสการ และสรงน้ำพระธาตุดอยตุง ประจำปี 2567 “2006 ปีสืบมา หกเป็งล่องฟ้า ไหว้สาพระธาตุดอยตุง” ระหว่างวันที่ 23-24  มีนาคม 2567 ณ วัดพระธาตุดอยตุง ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

 

กิจกรรมวันที่ 23 มีนาคม 2567

     เวลา 13.00 น. พิธีตักน้ำทิพย์เพื่อนำไปสรงน้ำพระธาตุดอยตุง ณ บ่อน้ำทิพย์ โดยมีนายพุฒิพงศ์  ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานในพิธีฯ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการทุกภาคส่วน จัดพิธีฯ ดังนี้

     – ประกอบพิธีตักน้ำทิพย์สรงพระธาตุดอยตุง

     – ขบวนอัญเชิญน้ำทิพย์มายังวิหารวัดน้อยดอยตุง

     – ขบวนอัญเชิญน้ำสรงพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และน้ำสรงพระราชทาน  สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมด้วย ผ้าไตรพระราชทาน 10 ไตร  และผ้าห่มองค์พระธาตุดอยตุง พระราชทาน โดยมีนายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ  รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย และว่าที่ ร.ต.ศาวุธ จันทวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นผู้อัญเชิญ พร้อมด้วยข้าราชการ และเจ้าหน้าที่จากอำเภอแม่สาย ได้อัญเชิญประดิษฐานไว้หน้าพระประธาน เชียงแสนสิงห์ 1 ในวิหารวัดน้อยดอยตุง  

   เวลา 17.00 น. พิธีเจริญพระพุทธมนต์สมโภชสวดเบิก ณ วิหารวัดน้อยดอยตุง ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยนายพุฒิพงศ์  ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายมอบหมายนางสุภาพรรณ  หมั่นเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานในพิธี

 

 การจัดกิจกรรมในครั้งนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยได้รับความร่วมมือจากทุกส่วนราชการ ประชาชน คณะศรัทธาฯ เข้าร่วมกิจกรรม

 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

สุพจน์ ทนทาน, วิชากรณ์ กาศโอสถ : รายงาน
พร้อมพงษ์ ทาสิทธิ์ : ภาพ 
อภิชาต กันธิยะเขียว : บรรณาธิการข่าว 
 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

ตามรอยครูบาเจ้าศรีวิชัยสู่ลานพระธาตุดอยตุง ประจำปี 2567

 

เมื่อวันที่ 23 มี.ค. 67 ที่ภายในวัดศาลาเชิงดอย ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย นางสุภาพรรณ หมั่นเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานในพิธีปล่อยขบวนเดินจาริกแสวงบุญตามรอยครูบาเจ้าศรีวิชัย ในงานสืบสานประเพณีนมัสการและสรงน้ำพระธาตุดอยตุง ประจำปี 2567 ภายใต้ชื่อว่า “2006 ปีสืบมา หกเป็งล่องฟ้า ไหว้สาพระธาตุดอยตุง” ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยมี พระพุทธิวงศ์วิวัฒน์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย รักษาการเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยตุง ตลอดจนพระเถรานุเถระ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย นายอำเภอแม่สาย หัวหน้าส่วนราชการ พุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดเชียงราย และจังหวัดใกล้เคียง

 

เข้าร่วมพิธีกันอย่างคึกคักท่ามกลางอากาศที่เย็นสบายไร้หมอกควัน หลังจากก่อนหน้านี้ได้มีฝนตกลงมาอย่างมากมายทั่วทั้งจังหวัดทำให้อากาศและบรรยากาศโดยทั่วไปสดใส สดชื่น ทำให้เป็นที่สนใจแก่นักเดิน นักวิ่ง และผู้แสวงบุญ ที่ต้องการเดินจาริกแสวงบุญตามรอยครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งชาวล้านนาที่นับถือกันมายาวนานจนถึงปัจจุบัน เข้าร่วมจำนวนมาก

 

 ภายในพิธีช่วงเช้ามืดของวันนี้ นางสุภาพรรณ หมั่นเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย และพระพุทธิวงศ์วิวัฒน์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย รักษาการเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยตุง ประกอบพิธีทางศาสนา วางพานพุ่มดอกไม้สดสักการะครูบาเจ้าศรีวิชัย ที่ด้านหน้าวัดศาลาเชิงดอย เพื่อความเป็นสิริมงคลในการประกอบพิธีเดินจาริกแสวงบุญ โดยได้มีการปล่อยขบวนเดินจาริกแสวงบุญตามรอยครูบาเจ้าศรีวิชัย ตนบุญแห่งล้านนา เป็นระยะทาง 9 กิโลเมตร เพื่อขึ้นไปไหว้สาพระธาตุดอยตุงเจดีย์องค์แรกของล้านนา เพื่อสืบสานประเพณีนสมัสการและสรงน้ำพระธาตุดอยตุง ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 23-24 มีนาคม 2567 นี้

 

 นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า พระธาตุดอยตุง ตั้งอยู่ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เป็นโบราณสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา สร้างมาแต่โบราณกาล และเป็นหลักฐานแรกที่พระพุทธศาสนาเข้ามาประดิษฐานในล้านนา ตามประวัติได้กล่าวไว้ว่า พระมหากัสสะปะเถระ ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ส่วนพระธาตุรากขวัญเบื้องซ้าย หรือ กระดูกไหปลาร้าข้างซ้าย ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาถวายแด่พระพุทธเจ้าอุชุตราช เจ้าผู้ครองนครนาคพันธ์โยนกชัยบุรี รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์สิงหนวัติ เป็นประธานบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ณ ดอยดินแดง หรือดอยตุงในปัจจุบัน เมื่อ พ.ศ 561 ซึ่งการบูชาพระธาตุเจดีย์ ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลาตั้งแต่โบราณกาล ซึ่งคนล้านนาถือเอาพระธาตุเจดีย์เป็นที่พึ่งของตน ทุกคืนเวลาไหว้พระจะต้องไหว้พระธาตุคือไหว้พระเจดีย์ ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ประดิษฐาน ณ ที่ต่างๆ โดยเฉพาะผู้ที่เกิดปีกุน คือปีหมู หรือกุลชอน คือมปีช้าง  ตามความเชื่อของชาวล้านนาต้องไหว้พระธาตุเจดีย์ที่ดอยตุง จะเป็นสิริมงคลแก่การดำรงชีวิต

 

สำหรับปีนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ 23 มีนาคม 2567 จังหวัดเชียงราย จึงได้ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดเชียงราย จัดให้มีกิจกรรมเดินจริกแสวงบุญ ตามรอยครูบาเจ้าศรีวิชัย ขึ้นไปนมัสการพระธาตุดอยตุง ซึ่งเมื่อครั้งครูบาเจ้าศรีวิชัย ได้เดินทางจารึกแสวงบุญและทำการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุดอยตุง ด้วยแรงแห่งความศรัทธา เมื่อปีพุทธศักราช 2470 พระครูบาเจ้าศรีวิชัยได้ใช้เส้นทางแห่งนี้ เป็นทางเดินขึ้นองค์พระธาตุดอยตุง คณะศรัทธาพุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดเชียงราย จึงได้ยึดถือเป็นประเพณีการเดินจาริกแสวงบุญ สืบต่อมาเป็นประเพณีทุกๆ ปี อีกด้วย

 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

“พิสันต์” ยืนยันสรงน้ำพระธาตุดอยตุง ประชาชนร่วมได้ 23 – 24 มี.ค. 67 นี้

 

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2567 ที่วัดพระธาตุดอยตุง ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย นางสุภาพรรณ หมั่นเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย และนายญาณาฤทธิ์ หนสมสุข รองปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ร่วมกันแถลงข่าวการจัดงานสืบสานประเพณีนมัสการและสรงน้ำพระธาตุดอยตุง ประจำปี 2567 “2006 ปีสืบมา หกเป็งล่องฟ้า ไหว้สาพระธาตุดอยตุง” โดยมี นายอำเภอแม่จัน หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงาน และประชาชนทั่วไปเข้าร่วมรับฟังการแถลงข่าว

 

การจัดงานประเพณีนมัสการและสรงน้ำพระธาตุดอยตุงของทุกปีตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 หรือเดือน 6 เหนือ จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมด้านศาสนาของพุทธศาสนิกชน สืบทอดประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามที่มีมาแต่อดีต อีกทั้งยังเป็นกิจกรรมในการพัฒนาด้านจิตใจให้เกิดคุณธรรมจริยธรรมอย่างยั่งยืน ตลอดจนส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะคนที่เกิดปีกุล โดยกำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 23 – 24 มีนาคม 2567 นี้ ภายในงานได้กำหนดให้มีกิจกรรมคือ ในวันเสาร์ที่ 23 มีนาคม 2567 ช่วงเช้าเป็นพิธีเดินจาริกแสวงบุญธรรมยาตราของพุทธศาสนิกชน จะร่วมเดินจาริกจากอนุสาวรีย์ครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดศาลาเชิงดอย ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย ไปตามเส้นทางเดินเท้าสายเดิม ขึ้นไปยังวัดพระธาตุดอยตุง รวมระยะทาง 9 กม. เพื่อสักการะพระบรมสารีริกธาตุกระดูกไหปลาร้า (พระรากขวัญเปื้องข้าย) ของพระสัมมาพระพุทธเจ้า ส่วนช่วงบ่ายเป็นพิธีตักน้ำทิพย์สรงพระธาตุดอยตุง เพื่อนำน้ำทิพย์เข้าร่วมพิธีสรงน้ำพระธาตุดอยตุง ซึ่งอาณาบริเวณโดยรอบพระธาตุดอยตุงเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน ปรากฏบ่อน้ำศักดิ์สิทธิอายุนับพันกว่าปี และบ่อน้ำศักด์สิทธิ์เป็นหนึ่งในสถานที่ตักน้ำประกอบพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
 
 

ในพิธีดังกล่าวยังได้จัดให้มีพิธีขบวนแห่น้ำสรงพระราชทานและสิ่งของพระราชทาน โดยเคลื่อนขบวนจากเทศบาลตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย มุ่งสู่ วิหารวัดน้อยดอยตุง และช่วงค่ำเป็นพิธีสมโภช เทศน์สวดเบิก โดยพระสงฆ์ 9 รูป เจริญพระพุทธมนต์สมโภชน้ำทิพย์ ส่วนในวันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2567 ในช่วงเช้าเป็นพิธีทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง เริ่มในเวลาประมาณ 05.00 น. ณ บริเวณวัดน้อยดอยตุง ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย โดยมีพระสงฆ์และสามเณร จำนวน 50 รูป ออกรับบิณฑบาตรับข้าวสารอาหารแห้ง จากนั้นต่อด้วยพิธีบวงสรวงพระธาตุดอยตุง เริ่มในเวลาประมาณ 07.00 น. ณ บริเวณพระธาตุดอยตุง พร้อมขบวนเครื่องสักการะพระธาตุดอยตุง และพิธีสืบชะตาหลวงล้านนา เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผู้ร่วมงาน โดยมีพระสงฆ์ 10 รูป เจริญพระพุทธมนต์ลืบชะตาหลวงล้านนา และพิธีสุดท้ายเป็นพิธีนมัสการและสรงน้ำพระธาตุดอยตุง ถือเป็นหัวใจสำคัญของการจัดงาน เป็นการนำเครื่องสักการะซึ่งผู้เข้าร่วมงานพุทธศาสนิกชน ได้เข้าร่วมขบวนมาถวายเป็นพุทธบูชาต่อองค์พระธาตุเจ้าดอยตุง เป็นสิริมงคลต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงพระราชทานสิ่งของเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาในครั้งนี้อีกด้วย

 

โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้

วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม 2567

       เวลา 06.00 น. กิจกรรมเดินจาริกแสวงบุญ ธรรมยาตราของพุทธศาสนิกชนร่วมเดินจาริกจากอนุสาวรีย์ครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดศาลาเชิงดอย ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย ไปตามเส้นทางเดินเท้าสายเดิม เข้าสู่วัดพระธาตุดอยตุง

       เวลา 13.00 น. พิธีตักน้ำ ณ บ่อน้ำทิพย์ วัดน้อยตอยตุง เพื่อเตรียมใช้สรงน้ำพระธาตุดอยตุง

       เวลา 13.00 น. ขบวนเชิญน้ำสรงพระราชทานและสิ่งของพระราชทาน เคลื่อนขบวนจากเทศบาลตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย มุ่งสู่ วิหารวัดน้อยดอยตุง

       เวลา 17.00 น. พิธีเจริญพระพุทธมนต์ และสวดเบิกสมโภชน้ำทิพย์ น้ำสรงพระราชทาน ผ้าห่มพระธาตุพระราชทาน และผ้าไตรพระราชทาน ณ วิหารวัดน้อยดอยตุง

 

วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2567

       เวลา 05.00 น. พิธีทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง ณ บริเวณวัดน้อยดอยตุง

       เวลา 07.00 น. พิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ณ บริเวณพระธาตุดอยตุง

       เวลา 08.00 น. ขบวนเครื่องสักการะพระธาตุดอยตุง ขบวนอัญเชิญสิ่งของพระราชทาน อาทิ น้ำสรงพระราชทาน ผ้าห่มพระธาตุดอยตุงพระราชทาน ผ้าไตรพระราชทาน และเครื่องสักการะ ต่าง ๆ ตามจารีตประเพณีล้านนา ขบวนพุทธศาสนิกชน 18 อำเภอ ขบวนฟ้อนเล็บเชียงราย ขบวนชาติพันธุ์ เคลื่อนจากวัดน้อยดอยตุงขึ้นสู่ลานพระธาตุดอยตุง

       เวลา 09.00 น. พิธีสืบชะตาหลวงล้านนา เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผู้เข้าร่วมงาน

       เวลา 09.39 น. พิธีนมัสการและสรงน้ำพระธาตุดอยตุง นำโดย นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานในพิธีฯ

       จึงขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชน ข้าราชการและประชาชน ร่วมงานประเพณีนมัสการและสรงน้ำพระธาตุดอยตุง ประจำปี 2567 “2006 ปีสืบมา หกเป็งล่องฟ้า ไหว้สาพระธาตุดอยตุง” โดยพร้อมเพรียงกัน

 

พระธาตุดอยตุง ปฐมธาตุเจดีย์แห่งล้านนา สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1454 สมัยพระเจ้าอชุตราชแห่งโยกนาคพันธุ์นคร ประดิษฐานพระรากขวัญเบื้องซ้ายและพระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้า มีประเพณีสักการะและสรงน้ำพระธาตุดอยตุง เป็นประจำทุกปี ในวันเพ็ญเดือน 6 (เหนือ) หรือตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 4 ของภาคกลาง โดยในการจัดงานประเพณีนมัสการและสรงน้ำพระธาตุดอยตุง ประจำปี 2567 ในครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ น้ำสรงพระธาตุดอยตุงสำหรับประกอบพิธี และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทาน น้ำสรงพระธาตุดอยตุง ผ้าห่มพระธาตุดอยตุง และผ้าไตร เพื่อประกอบพิธีนมัสการและสรงน้ำพระธาตุดอยตุง ประจำปี 2567

 

ทั้งนี้หากท่านใดสนใจเข้าร่วมงาน สามารถติดตามข่าวสารการจัดงาน และรับชมถ่ายทอดสดการจัดกิจกรรม งานสืบสานประเพณีนมัสการและสรงน้ำพระธาตุดอยตุง ประจำปี 2567 “2006 ปีสืบมา หกเป็งล่องฟ้า ไหว้สาพระธาตุดอยตุง” ผ่านทางเฟซบุ๊คแฟนเพจ “ไหว้สาพระธาตุดอยตุง” หรือติดต่อสอบถามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย โทรศัพท์. 0-5315-0169 หรือ E-mail: chiangrai.culture001@gmail.com
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

วิชชากรณ์ กาศโอสถ : รายงาน 
อภิชาต กันธิยะเขียว : ภาพ และบรรณาธิการข่าว 
 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

จัดใหญ่ไหว้สา มหาชินธาตุเจ้าดอยตุง ชมขบวนแห่น้ำทิพย์ และการแสดง

 

เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2567 ที่พระธาตุดอยตุง ต.ห้วยไคร้ อ.แม่สาย จ.เชียงราย พระพุทธิวงศ์วิวัฒน์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เจ้าอาวาสวัดพระสิงห์ (พระอารามหลวง) รักษาการเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยตุง พร้อมด้วย พระเซ็งกิม กตสิทโธ เจ้าอาวาสวัดกิ่วกาญจน์ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ในฐานะประธานกรรมการดำเนินจัดงาน วัดพระธาตุดอยตุง แถลงข่าว การเตรียมความพร้อมการจัดงาน “ต๋ามฮอยศรัทธา 2006 ปี๋เมินมา หกเป็งวันทา ไหว้สาพระมหาชินธาตุเจ้าดอยตุง” ประจำปี 2567 ซึ่งงานดังกล่าวจะจัดขึ้นในวันที่ 23 มีนาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป และจะะมีพิธีสรงน้ำพระธาตุดอยตุง ในวันที่ 24 มีนาคม 2567 อีกด้วย

 

พระพุทธิวงศ์วิวัฒน์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เจ้าอาวาสวัดพระสิงห์ (พระอารามหลวง) รักษาการเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยตุง กล่าวว่า พระธาตุดอยตุงถือว่ามีประวัติอันยาวนาน และเป็นปฐมเจดีย์ของล้านนา ซึ่งชาวเชียงรายถือว่าโชคดี ที่พระธาตุเจ้าดอยตุง ซึ่งเป็นที่บรรจุพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้าข้างซ้าย) ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และมีการสรงน้ำพระธาตุดอยตุงทุกปีตรงกับเดือน 4 เดือน 6 เหนือ ขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งถือว่าเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ปีนี้ตรงกับ วันที่ 23 และ 24 มีนาคม 2567 จึงขอเชิญชวนชาวพุทธมาร่วมในพิธีนี้ โดยวันที่ 23 มีนาคม 2567 จะเป็นพิธีตักน้ำจากบ่อน้ำทิพย์ เพื่อประกอบพิธีและในวันที่ 24 มีนาคม 2567 จะเป็นพิธีสรงน้ำพระธาตุดอยตุง
 
 
 
ทางด้าน พระเซ็งกิม กตสิทโธ เจ้าอาวาสวัดกิ่วกาญจน์ ประธานกรรมการดำเนินจัดงาน วัดพระธาตุดอยตุง กล่าวว่า ในปีนี้จะจัดยิ่งใหญ่กว่าปีที่ผ่านมา ในการนำการแสดงแสง สี เสียง สื่อผสม จินตภาพแห่งความมหัศจรรย์ มาจัดแสดงเรื่องการสร้างพระธาตุดอยตุง เป็นบทละคร จะทำให้เป็นสิ่งเข้าถึงทุกคนได้ง่ายและรวดเร็ว จึงได้กราบนำเรียน ขออนุญาต พระพุทธิวงศ์วิวัฒน์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เพื่อดำเนินการ ซึ่งเชื่อว่าการจัดดังกล่าวจะทำให้ทุกคนรู้จักพระธาตุดอยตุงมากขึ้น และเดินทางมาท่องเที่ยว มาขอพร จนเป็นที่มาของการสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนและจังหวัดเชียงรายต่อไป
 
 
 
ทั้งนี้ ยังมี กิจกรรมอื่นๆ แสดงศิลปวัฒนธรรม พิธีตักน้ำทิพย์ ขบวนน้ำสรงพระราชทาน ผ้าห่มพระธาตุพระราชทาน และเครื่องสักการะ พิธีถวายเครื่องสักการะ พระธาตุดอยตุง พร้อมขบวนชาติพันธุ์ 18 ชาติพันธุ์ ขบวนมวลชนและเครื่องสักการะของส่วนราชการ 18 อำเภอ บูชาตุงประจำปีเกิด บูชาน้ำเต้าบรรจุน้ำทิพย์ กาดกำกิ๋นชาติพันธุ์ ขบวนแห่น้ำทิพย์และเครื่องสักการะหกเป็งวันทาไหว้สาพระมหาชินธาตุเจ้าดอยตุง และชมการแสดงจินตภาพแห่งความมหัศจรรย์ละครประกอบแสงสีเสียง.
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

กลุ่มชาติพันธุ์ 500 ครอบครัว แสดงตนเป็นพุทธมามกะ วัดพระธาตุดอยตุง

 
วันที่ 24 ธันวาคม 2566 ที่พระบรมธาตุเจ้าดอยตุง อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย พระเทพเวที เจ้าคณะภาค 6 พระอุดมบัณฑิต รองเจ้าคณะภาค 6 พระพุทธิญาณมุนี เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย พระพุทธิวงศ์วิวัฒน์ รักษาการเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยตุง ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย และ คณะสงฆ์จังหวัดเชียงราย ประกอบพิธี การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ (ประกาศตนว่าเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา) ของกลุ่มชาติพันธุ์ 500 ครอบครัว ซึ่งอยู่ในพื้นที่ อำเภอแม่ฟ้าหลวง และ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
 
โดยพิธีเริ่มจากขบวนแห่ พุทธมามกะชาติพันธุ์ อัญเชิญพระพุทธรูป 500 องค์ จากการสมโภชพระพุทธมงคลธรรม โดยมี นายทชัย และ นางปุณณกา รัตนะฉัตตา เป็นประธานอุปถัมภ์ จากนั้นแห่พระพุทธรูป “มงคลธรรมบพิตร” ไปยังพระบรมธาตุ เจ้าดอยตุง เวียนรอบพระบรมธาตุฯ 3 รอบ ก่อนเริ่มประกอบพิธี ในการถวายพระพุทธรูป 500 องค์ ให้คณะสงฆ์ และคณะสงฆ์ ได้มอบ พระพุทธรูป “มงคลธรรมบพิตร” ให้กับกลุ่มชาติพันธุ์ 500 ครอบครัว เพื่อนำไปกราบไหว้บูชาที่บ้าน
พระเทพเวที เจ้าคณะภาค 6 กล่าวว่า การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ หรือ ประกาศตนว่าเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา ของกลุ่มชาติพันธุ์ในครั้งนี้ ถือว่าคณะสงฆ์จังหวัดเชียงราย ได้เผยแพร่พระพุทธศาสนาได้อย่างดีเยี่ยม ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์เลื่อมใสในคำสอนของพระพุทธเจ้า และได้เข้ามานับถือศาสนาพุทธ
 
ซึ่งทุกคนจะต้องปฏิบัติตามหลักศาสนา และปฏิบัติตัวตามศีล 5 ให้ได้มากที่สุด หากติดขัดในเรื่องใด ก็สามารถปรึกษาคณะสงฆ์ได้ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีอย่างมาก ที่ทุกคนได้เผยแพร่พระพุทธศาสนาให้กว้างขึ้น ทั้งนี้ก็เช่นกัน พระสงฆ์ก็จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้ชาวพุทธเช่นกัน ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ และนำคำสอนมาเผยแพร่ต่อไปได้อีก
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News