Categories
AROUND CHIANG RAI NEWS UPDATE

กระทรวงมหาดไทยปรับทัพ จ.เชียงราย แต่งตั้งข้าราชการใหม่ 4 ตำแหน่งฟื้นฟูเมือง

 

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2567 กระทรวงมหาดไทยได้ออกคำสั่งแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการระดับสูงเพื่อปรับปรุงการบริหารงานและสนับสนุนการปฏิบัติราชการของกระทรวงมหาดไทยให้มีประสิทธิภาพ โดยมีการแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายคนใหม่ และมีการปรับย้ายข้าราชการระดับบริหารจำนวน 6 ตำแหน่ง ตามคำสั่งที่ 3067/2567 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2567 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป

ในคำสั่งดังกล่าว นายโชตินรินทร์ เกิดสม ซึ่งเดิมดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรักษาการผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พร้อมกันนี้ นายดำรงค์ศักดิ์ ยอดทองดี ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้ช่วยปลัดกระทรวงมหาดไทย ถูกแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย และนายนรศักดิ์ สุขสมบูรณ์ เดิมเป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ได้รับการโยกย้ายให้มาดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายอีกตำแหน่ง นอกจากนี้ นายประสงค์ หล้าอ่อน รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ก็ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายเช่นกัน

ในขณะเดียวกัน ว่าที่ร้อยตรี ศราวุธ จันทวงศ์ ซึ่งเดิมดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้ถูกโยกย้ายให้ไปดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์แทน โดยการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อเสริมความแข็งแกร่งในการปฏิบัติราชการระดับภูมิภาคให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล และรองรับการดำเนินงานต่าง ๆ ของกระทรวงมหาดไทยอย่างเต็มที่

ในวันเดียวกัน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เป็นประธานในการประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงมหาดไทยที่ห้องประชุมราชสีห์ ชั้น 2 อาคารศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยมีผู้บริหารระดับกรมและผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศเข้าร่วมประชุมผ่านระบบประชุมทางไกล (VCS) ซึ่งในที่ประชุม นายอนุทินได้กล่าวแสดงความยินดีกับ นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ซึ่งเพิ่งเข้ารับตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทยคนใหม่เป็นครั้งแรก โดยเน้นย้ำความสำคัญของการทำงานร่วมกันระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายปฏิบัติ เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนนโยบายและภารกิจต่าง ๆ ของกระทรวงมหาดไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับเป้าหมายของรัฐบาล

นายอนุทิน กล่าวต่อว่า การปรับเปลี่ยนตำแหน่งในครั้งนี้จะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับทีมบริหารของกระทรวงมหาดไทย รวมถึงสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในเรื่องของการให้บริการและการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในพื้นที่ ทั้งนี้ เขายังได้ขอความร่วมมือจากผู้ว่าราชการจังหวัดทุกคนให้ทำงานอย่างเต็มที่ โดยไม่มีการ “เกียร์ว่าง” เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาของประชาชนได้อย่างทันท่วงที

สำหรับเหตุการณ์ความวุ่นวายในจังหวัดเชียงรายที่ผ่านมา นายอนุทินกล่าวว่า ขณะนี้เรื่องดังกล่าวได้ผ่านพ้นไปแล้ว ไม่มีการตั้งกรรมการสอบสวนเพิ่มเติม เนื่องจากทุกฝ่ายเข้าใจสถานการณ์และไม่มีความขัดแย้งเกิดขึ้น สิ่งสำคัญในตอนนี้คือการมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาของประชาชนและเดินหน้าสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดต่อไป

สุดท้าย นายอนุทินย้ำว่า การปรับเปลี่ยนตำแหน่งในกระทรวงมหาดไทยครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานรัฐและผู้ว่าราชการจังหวัดในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะจังหวัดเชียงรายที่ได้รับการแต่งตั้งผู้ว่าฯ และรองผู้ว่าฯ คนใหม่ เพื่อมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใสในทุกขั้นตอน

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
AROUND CHIANG RAI NEWS UPDATE

ข้อมูลน้ำท่วมเชียงราย 9-28 ก.ย.67 เสียชีวิต 13 เจ็บ 3 สูญหาย 1 ราย

 
เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2567 สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย รายงานข้อมูลสะสมระหว่างวันที่ 9 -28 ก.ย. 2567 ทั้งสิ้น 13 อำเภอ 63 ตำบล 577 หมู่บ้าน 1 เทศบาลนคร (52 ชุมชน) โดยตลาดชุมชนเศรษฐกิจ ได้รับผลกระทบ 2 แห่ง ร้านค้า/สถานประกอบการ 92 แห่งราษฎรได้รับผลกระทบเบื้องต้น56,469 ครัวเรือน เสียชีวิต 13 ราย บาดเจ็บ 3 ราย สูญหาย 1 รายบ้านเรือนราษฎรได้รับผลกระทบ 33 หลัง พื้นที่เกษตรได้รับผลกระทบ 18,587 ไร่ปศุสัตว์ได้รับผลกระทบ 48,844 ตัว(ได้แก่ โค 1,110 ตัว กระบือ 166 ตัว สุกร66 ตัว แพะ/แกะ 25 ตัว สัตว์ปีก 47,477 ตัว) สัตว์เลี้ยง 299 ตัว(ได้แก่ สุนัข 145 ตัว และแมว 154 ตัว)ด้านสิ่งสาธารณประโยชน์ได้รับผลกระทบ ได้แก่ โรงเรียน37แห่ง ถนน10จุด คอสะพาน5จุด และรพ.สต. 1 แห่ง
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ผู้อำนวยการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าไปช่วยเหลือ ซึ่งได้เตรียมการมาเป็นอย่างดีทั้งเครื่องมือ อุปกรณ์เครื่องจักรกล ยุทโธปกรณ์ พร้อมกำลังพลในการเข้าไปช่วยเหลือ อย่างเร่งด่วน แต่เนื่องจากเกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง หลายวัน ทำให้วันนี้ (28 กันยายน 2567) ได้เกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะที่ ได้แก่ อ.เมืองเชียงราย, อ.เชียงแสน, อ.เชียงของ, อ.แม่จัน, อ.แม่ฟ้าหลวง, อ.แม่สาย, อ.ดอยหลวง, อ.เทิง อ.เวียงแก่น อ.เวียงป่าเป้า อ.แม่สรวย อ.เวียงชัย และอ.แม่ลาว เกิดน้ำท่วมหนักในรอบหลายปี อย่างไรก็ตาม นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจ และเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน หากประชาชนต้องการขอความช่วยเหลือ หรือแจ้งเหตุ แจ้งได้ตลอด 24 ช่วยโมง ที่สายด่วน 1784
 
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย รายงานสถานที่เกิดเหตุ/ความเสียหาย/การให้ความช่วยเหลือ (เหตุต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 8 ก.ย. 67 และสถานการณ์ในวันนี้ (28 ก.ย. 67) ดังนี้
การให้ความช่วยเหลือ
 
จังหวัดเชียงราย ได้จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ปี พ.ศ. 2567 เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ในการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย และจัดหาปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีพ ผ่านทางธนาคาร กรุงไทย สาขาเชียงราย เลขที่บัญชี 504-3-23-732-5 ชื่อบัญชี กองทุนช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ปี พ.ศ. 2567 โดยสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 1 เท่ายอดเงินบริจาคณ วันที่ 28 ก.ย. 67 เวลา 16.30 น. จำนวน 8,860,424.14บาท
 
การดำเนินการให้ความช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัย อ.เวียงป่าเป้า ตำบลบ้านโป่ง อบต.บ้านโป่ง อพยพประชาชนบ้านห้วยหินลาดใน และหย่อมบ้านห้วยทรายขาว (บ้านบริวาร) หมู่ที่ 7 ต.บ้านโป่ง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย มายังศูนย์พักพิง อบต.บ้านโป่ง จำนวน 39 คน
 
เหตุดินสไลด์ปิดเส้นทางเข้าออกบ้านห้วยหินลาดใน หมู่ที่ 7 ต.บ้านโป่ง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย อบต.บ้านโป่ง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อุทยานแห่งชาติขุนแจ และหน่วยงานสังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
 
นำเครื่องจักรกลปรับเกลี่ยกองดินเปิดเส้นใช้ทางแล้ว รถยนต์สามารถสัญจรผ่านได้ พร้อมทั้งได้ร่วมกันทำความสะอาดและฟื้นฟูบ้านเรือนราษฎรที่ได้รับผลกระทบ
 
ตำบลเวียง รพ.เวียงป่าเป้าพร้อมด้วยสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเวียงป่าเป้า เข้าตรวจรักษาผู้ป่วยและประเมินสุขภาพจิตราษฎรหมู่บ้านบ้านดงหล่ายหน้า (หย่อมบ้านห้วยไม้เดื่อ) หมู่ที่ 7 ต.เวียง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย
 
อบต.เวียง นำรถแบคโฮเปิดเส้นทางจราจร เส้นทางเข้าบ้านห้วยไม้เดื่อ (หย่อมบ้านดงหล่ายหน้า) สามารถสัญจรผ่านได้แล้ว
เหตุน้ำกัดเซาะคอสะพานบ้านแม่ปูนล่าง หมู่ที่ 9 ต.เวียง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย อบต.เวียงและฝ่ายปกครองอยู่ระหว่างเข้าสำรวจความเสียหายและดำเนินการซ่อมแซม
 
ที่ทำการปกครองอำเภอเวียงป่าเป้าร่วมกับ ตชด. 327 ลำเลียงถุงยังชีพ 60 ชุด น้ำดื่ม 850 แพ็ค นม 20 แพ็ค มาม่า 20 แพ็ค แจกจ่ายให้แก่ราษฎรในพื้นที่บ้านแม่ปูนหลวงและหย่อมบ้านสามกุลา หมู่ที่ 8 ต.เวียง
 
อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย สำหรับเหตุดินถล่มปิดทับเส้นทางบ้านแม่ปูนหลวง แขวงทางหลวงชนบทเชียงรายร่วมกับอบต.เวียง และราษฎรในพื้นที่ ตัดต้นไม้และกำจัดกองดิน สามารถเปิดใช้เส้นทางได้แล้ว
 
หมวดทางหลวงแม่สรวยพร้อมด้วยจิตอาสา และภาคประชาชน นำรถขุดหน้าตักหลังและรถแบคโฮขุดตักกองดินที่สไลด์ลงมาปิดทางขวางเส้นทางจราจรบนทางหลวงชนบทหมายเลข 1150 สายอำเภอพร้าว – อำเภอเวียงป่าเป้า ดำเนินการได้ 70% คาดว่าจะแล้วเสร็จในวันที่ 29 ก.ย. 67
 
มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย วันที่ 28 ก.ย. 67รถประกอบอาหารเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) จัดตั้งโรงครัวพระราชทาน ณ ที่ว่าการอำเภอแม่สายขยายระยะเวลาดำเนินการถึงวันที่ 5 ต.ค 2567 (เริ่มดำเนินการวันที่ 19 ก.ย. 67)
การสนับสนุนเครื่องจักรกลสาธารณภัยด้านปฏิบัติการ (อุทกภัย) และกำลังพล ของศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตประจำวันที่ 28 ก.ย. 67ดังนี้
 
ศูนย์ ปภ. เขต 8 กำแพงเพชร นำรถบรรทุกน้ำอเนกประสงค์ขนาด 12000 ลิตร ไปฉีดล้างทำความสะอาดถนนในพื้นที่ชุมชนเกาะลอย ต.เวียง อ.เมืองชร. จ.เชียงราย
 
ศูนย์ ปภ. เขต 4 ประจวบคีรีขันธ์ เขต 8 กำแพงเพชร เขต 9 พิษณุโลก เขต 10 ลำปาง เขต 11 สุราษฎร์ธานี และเขต15 เชียงราย เร่งทำการฟื้นฟูพื้นที่ภายหลังน้ำลด โดยนำรถขุดตักไฮดรอลิคยกสูง รถตักล้อยางเอนกประสงค์
 
รถขุดล้อยางกู้ภัยปรับฐานล้อ รถตีนตะขาบ รถบรรทุกเทท้าย รถขุดตักไฮดรอลิค แขนยาว ทำการขุดตักขนย้ายดินโคลน เศษวัสดุ สิ่งปรักหักพัง พร้อมทั้งปรับเกลี่ยถนน เส้นทางสัญจรในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลแม่สาย อ.แม่สาย จ.เชียงราย
 
ศูนย์ ปภ. เขต 15 เชียงราย นำรถบรรทุกน้ำช่วยดับเพลิง 10,000 ลิตร ฉีดล้างทำความสะอาดลานจอดรถ ถนน และบริเวณภายในพื้นที่ของศาลากลางจังหวัดเชียงราย อ.เมืองชร. จ.เชียงราย/ นำรถบรรทุกน้ำอเนกประสงค์ขนาด 12,000 ลิตร ฉีดล้าทำความสะอาดมัสยิดนูรูลอิสลาม (ชุมชนกกโท้ง) และบริเวณโดยรอบ ในเขตพื้นที่ ต.เวียง อ.เมืองชร. จ.เชียงราย
ศูนย์พักพิงที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวอยู่ ณ วันที่ 28 ก.ย. 67 รวมทั้งสิ้น7แห่ง
 
แบ่งตามขอบเขตการปกครอง ได้แก่ อ.เมืองเชียงราย 3 แห่ง/ อ.แม่สาย3แห่ง/ อ.เวียงป่าเป้า 1 แห่ง
ศูนย์พักพิงฯ ที่มีทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ เยียวยาจิตใจ แจกจ่ายยาและเวชภัณฑ์ จำนวน 4แห่ง
รายละเอียดดังนี้
 
อำเภอเมืองเชียงรายที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวจำนวน 3แห่ง
ในเขตเทศบาลนครเชียงราย ทน.เชียงราย จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวอยู่ ณ ปัจจุบันจำนวน1 แห่ง ได้แก่
 
จุดวัดสันป่าก่อไทยใหญ่* ต.รอบเวียง คงค้างจำนวน 5 ราย
หมายเหตุ: ศูนย์พักพิงในเขตเทศบาลนครเชียงรายทุกจุดมีทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ เยียวยาจิตใจ แจกจ่ายยาและเวชภัณฑ์ ประจำศูนย์ในระยะวิกฤติ / ในระยะฟื้นฟูปรับมาใช้ระบบตรวจเยี่ยมและให้บริการตามวงรอบ
 
ตำบลแม่ยาว ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่ยาว กำกับดูแลโดย ทต.แม่ยาว/ วันที่ 20 ส.ค. 67 ย้ายศูนย์พักพิงไปที่สำนักงานเทศบาลตำบลแม่ยาวคงค้างจำนวน 15 คน ประชาชนเริ่มกลับเข้าบ้าน
 
ตำบลดอยฮาง วันที่ 16 ก.ย. 67 เวลา 17.00 น. จัดตั้งศูนย์พักพิง ณ บ้านโป่งนาคำ* มีผู้พักพิงประมาณ 50 คน มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้นำเต็นท์นอนพระราชทาน ขนาด 2 คน จำนวน 50 หลัง มอบให้แก่ราษฎรผู้ประสบอุทกภัยฯ/ วันที่ 28 ก.ย. 67 ปรับสภาพเป็นศูนย์พักคอยและศูนย์รับบริจาค
 
อำเภอแม่สายที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวอยู่ ณ ปัจจุบัน 3 แห่ง รวมทั้งสิ้น 237คน(โดยเป็นศูนย์พักพิงฯ ที่มีทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการ ทั้ง3แห่ง) ศูนย์พักพิงเทศบาลตำบลแม่สาย*คงค้างจำนวน 41 ราย(ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแลได้แก่ รพ.สต.ฮ่องแฮ่/ รพ.สต.บ้านด้าย) ศูนย์พักพิงวัดเหมืองแดง*คงค้างจำนวน 82 ราย ศูนย์พักพิงวัดถ้ำผาจม*คงค้างจำนวน 114 ราย(ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.แม่จัน)
 
อำเภอเวียงป่าเป้า จัดตั้งศูนย์พักพิง 2 แห่ง* ได้แก่ ศูนย์พักพิง ทต.ป่างิ้ว(ศูนย์พักคอย)/วันที่ 25 ก.ย. 67 จัดตั้งศูนย์พักพิง อบต.บ้านโป่ง ขึ้นอีก 1 แห่ง คงค้างจำนวน 39 ราย
 
อำเภอแม่สรวยจัดตั้งศูนย์พักพิง*2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์พักพิง อบต.ท่าก๊อ(คงค้างจำนวน 3 คน) /วันที่ 26 ก.ย. 67 จัดตั้งศูนย์พักพิง ศูนย์ดูแลผู้ป่วย รพ.แม่สรวย ขึ้นอีก 1 แห่ง/ วันที่ 28 ก.ย. 67 ปิดศูนย์พักพิงทุกศูนย์ฯ
 
มูลนิธิสมาคมกู้ชีพกู้ภัย อาสาสมัคร จิตอาสาภาคประชาชน ร้านค้า/ผู้ประกอบการ สนับสนุนปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย ให้ที่พักพิงชั่วคราว มอบอาหารปรุงสำเร็จ และถุงยังชีพ
 
วิทยาลัยอาชีวศึกษาและโรงเรียนในเครือ ดำเนินโครงการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน FixItCenter ตั้งจุดบริการและจัดชุดเคลื่อนที่ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม โดยจะช่วยซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ รวมถึงยานพาหนะที่เสียหาย เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 14 ก.ย. เป็นต้นมา /วันที่ 17 ก.ย. 67 รมว.ศึกษาธิการ เน้นย้ำให้ดูแลโรงเรียนก่อนเป็นลำดับแรก
 
จุดบริการ FixItCenterประจำวันที่ 28 ก.ย. 67 จำนวน 4 แห่ง ดำเนินการโดยสถานศึกษา สอศ. จากทั่วประเทศ รายละเอียดจุดบริการฯ ดังนี้ จุดบริการ โรงเรียนบ้านใหม่ ดำเนินการโดย วท.เทิง จุดบริการ โรงเรียนเทิงวิทยา ดำเนินการโดย วท.เทิง จุดบริการ โรงเรียนขุนตาลวิทยาคม ดำเนินการโดย วท.เทิง จุดบริการ ชุมชนฮ่องลี่ – ป่างิ้ว ดำเนินการโดย วก.เนินขาม
วันที่ 17 ก.ย. 67 ทภ.3 จัดตั้ง ศบภ.ทภ.3 ส่วนหน้า ณ ที่ว่าการอำเภอแม่สาย เพื่ออำนวยการประสานงานการให้ความช่วยเหลือประชาชนของหน่วยทหารทุกหน่วย ในพื้นที่ อ.แม่สาย จนถึงปัจจุบัน
 
กองบัญชาการกองทัพไทย จัดตั้งศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองบัญชาการกองทัพไทย ณ โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย
 
อบจ.เชียงราย ให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วม ด้านดำรงชีพ ดังนี้ ค่าใช้จ่ายด้านดำรงชีพ ได้แก่ ค่าเครื่องนุ่งห่ม รายละไม่เกิน 1,100 บาท ค่าเครื่องมือประกอบอาชีพ เท่าที่จ่ายจริง ครอบครัวละไม่เกิน 11,400 บาท ค่าเครื่องครัวและอุปกรณ์ในการประกอบอาหาร เท่าที่จ่ายจริง ครอบครัวละไม่เกิน 3,500 บาท ค่าเครื่องนอน รายละไม่เกิน 1,000 บาท หลักฐานที่ต้องเตรียม ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนของเจ้าของบ้านที่ประสบภัย รูปภาพความเสียหายการขอรับความช่วยเหลือ ผ่าน อบต. หรือ ทต. ที่ประสบภัย ในวันและเวลาราชการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อบจ.เชียงราย ฝ่ายสงเคราะห์ผู้ประสบภัย โทร. 053175329 หรือ 053175333 ต่อ 1402 ในวันและเวลาราชการ ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 17 – 30 ก.ย. 2567
 
เทศบาลนครเชียงราย ให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วมเบื้องต้น ครอบครัวละ 2,500 บาท/ มอบแล้ว 6,183 ครัวเรือน ข้อมูล ณ วันที่ 27 ก.ย. 67 (วันที่ 9 ในการดำเนินการ) หลักฐานที่ต้องเตรียม ได้แก่
 
เจ้าบ้านนำบัตรประชาชน พร้อมทะเบียนบ้าน หากท่านใดมีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐนำมาแสดงด้วย สำหรับผู้ที่ไม่มีบัตรประชาชนสามารถติดต่อขอคัดสำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านได้ที่สำนักทะเบียนราษฎร เทศบาลนครเชียงราย
ชุมชนที่ประสบอุทกภัยทั้ง 52 ชุมชนสามารถติดตามข้อมูลได้ที่ประธานชุมชน หรือ สมาชิกสภาเทศบาลนครเชียงรายในเขตพื้นที่ประสบภัยที่ตนเองพำนักอยู่ จุดจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น : รอกำหนดการ
 
ปฏิบัติการดูดโคลนเลนที่อุดตันบริเวณท่อระบายน้ำ ตามตรอก ถนน และจุดต่าง ๆ ที่กีดขวางทางระบายน้ำพื้นที่ประสบอุทกภัยในเขตพื้นที่ในเขตพื้นที่เทศบาลนครเชียงรายโดยรถดูดโคลนของกรุงเทพมหานครเริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 20 ก.ย. 67 เป็นต้นไป
 
วันที่ 28 ก.ย. 67ดำเนินการดูดโคลนเลนจากท่อระบายน้ำชุมชนบ้านป่าแดง ท่อขนาด 0.60 เมตร และท่อขนาด 0.80 เมตร ดำเนินการได้ความยาว120 เมตร ดูดเลนได้จำนวน266 ลูกบาศก์เมตร/ รถดูดโคลนของจังหวัดนนทบุรี ปฏิบัติงานในชุมชนแควหวาย ดูดโคลนตามรางยู ดำเนินการได้ความยาว60 เมตร ดูดเลนได้จำนวน80 ลูกบาศก์เมตร
 
บริษัท วอชแอนด์โก CodeCleanให้บริการ ซัก อบ ผ้า น้ำยา ฟรี แก่ผู้ได้รับผลกระทบน้ำท่วมตลอด24 ชั่วโมง และเปิดให้บริการจนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติจำนวน 3 จุด ได้แก่ ณ ลานธรรมลานศิลป์ถิ่นพญามังรายหรือลานรัชกาลที่ 5 (ศาลากลางจังหวัดหลังแรก) ตั้งแต่วันที่ 18 ก.ย. 67 เป็นต้นไป ณ สถานีดับเพลิงเทศบาลนครเชียงราย หน้าวัดดงหนองเป็ด ตั้งแต่วันที่ 21 ก.ย. 67 เป็นต้นไป หน้ามูลนิธิสยามเชียงราย สำนักงานใหญ่ จุด 5 แยก พ่อขุนฯ ตั้งแต่วันที่ 24 ก.ย. 67 เป็นต้นไป
 
งานบริการถ่ายบัตรประชาชน กรมการปกครอง สนับสนุนหน่วยบริการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนเคลื่อนที่ (Mobile Unit) ให้บริการตั้งแต่วันที่ 20 – 27 กันยายน 2567 ตั้งแต่เวลา 08.30 – 21.00 น. ณ วัดเวียงหอม (สามารถถ่ายได้เพียงบัตรประชาชนเท่านั้น) ยกเว้นค่าธรรมเนียม 100 บาท
 
สำนักทะเบียนอำเภอแม่สาย ให้บริการงานถ่ายบัตรประชาชนทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ตั้งแต่วันที่ 19 – 30 กันยายน 2567 ตั้งแต่เวลา 08.30 – 17.00 น. ณ ห้องทะเบียนที่ว่าการอำเภอแม่สาย
 
กองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน ได้ส่งกำลังพล สมาชิก อส. จากส่วนกลาง และร้อย อส.จ. จาก 36 จังหวัดจำนวนไม่น้อยกว่า 1,500 นาย เพื่อร่วมปฏิบัติภารกิจฟื้นฟูบูรณะพื้นที่ประสบอุทกภัยจังหวัดเชียงราย ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2567 เป็นต้นไป จนกว่าจะสิ้นสุดภารกิจ
 
การอำนวยการ/สั่งการ
วันที่ 28 ก.ย. 2567 เวลา 13.00 น. ณ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 15 เชียงรายนายโชตินรินทร์ เกิดสม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย สั่งการในคราวประชุมติดตามสถานการณ์และเตรียมการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) ส่วนหน้า ดังนี้
 
มอบหมาย สนง.ประชาสัมพันธ์จังหวัด ประสานสถานีวิทยุทุกแห่ง (ทั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยและสถานีวิทยุชุมชน) เผยแพร่ช่องทางการขอรับความช่วยเหลือให้เป็นไปอย่างแพร่หลาย เข้าถึงประชาชนให้มากที่สุด เพื่อให้ประชาชนได้รับการช่วยเหลือโดยเร็วที่สุด ผ่านช่องทางสายด่วน 1567 ศูนย์ดำรงธรรม (โทรฟรี) และศูนย์บัญชาการอุทกภัยฯ จ.เชียงราย ทางหมายเลขโทรศัพท์ 093-1311784
 
มอบหมายนายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ (รอง ผวจ. 2) รับผิดชอบบริหารจัดการเครื่องจักรกล และกำลังพล จากหน่วยงานอื่นๆ ที่เข้ามาในพื้นที่ กำชับให้แบ่งมอบภารกิจให้ชัดเจน
 
มอบ สนง.ทสจ.ชร. ร่วมกับอ.เมืองชร. เทศบาลนครเชียงราย และอ.แม่สาย จัดพื้นที่รองรับขยะมูลฝอยชั่วคราว (จุดพักขยะมูลฝอย) และบ่อขยะ เพื่อรองรับขยะครัวเรือนหลังน้ำลดที่มีเป็นจำนวนมาก โดยให้ระมัดระวัง
 
เรื่องความเสี่ยงต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน และผลกระทบที่เกิดกับสิ่งแวดล้อม
ให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ทั้งแขวงทางหลวงเชียงรายที่ 1,2 แขวงทางหลวงชนบท และสำนักงานเจ้าท่าส่วนภูมิภาคสาขาเชียงราย เร่งรัดการสำรวจความเสียหายและจัดทำเอกสารขอรับการสนับสนุนงบประมาณโดยเร็ว เพื่อให้ซ่อมแซมถนนปรับปรุงเส้นทางหลังน้ำท่วม รวมทั้งตลิ่งและคันกั้นน้ำที่ได้รับความเสียหาย ให้กลับคืนสู่สภาพเดิมโดยเร็วที่สุด
 
ให้ สสจ.เชียงราย ดำเนินการตามมาตรการด้านการแพทย์และสาธารณสุข หลังเกิดน้ำท่วม ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ทั้งการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ การเยียวยาจิตใจผู้ประสบภัย สนับสนุนการปรับปรุงสุขาภิบาล และอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยให้เน้นหนัก “ด้านการดูแลผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง กลุ่มติดบ้านติดเตียง” เป็นพิเศษ
 
ระบบท่อระบายน้ำต่าง ๆ ให้วางแผนแก้ไขปัญหาท่อระบายน้ำอุดตันในระยะถัดไป รวมทั้งแผนกำจัดเศษขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และดินโคลนต่างๆ ออกจากท่อระบายน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายและป้องกันปัญหาการท่วมขังซ้ำ
 
มอบหมายนายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ (รอง ผวจ. 2) ,ปลัดจังหวัดเชียงราย, ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเขต 7 (เชียงใหม่), สนจ.ชร. และสนง.ปภ.จ.ชร. สถาปนาศูนย์ราชการให้มีความพร้อมในการจัดตั้ง War Room โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบสื่อสาร (ทั้งระบบสื่อสารหลัก สื่อสารรอง และระบบสื่อสารสำรอง) เพื่อเชื่อมโยงการทำงานระหว่างหน่วยงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและมีประสิทธิภาพสูงสุด
 
ให้กรม ปภ. ดูแลการให้ความช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์ ให้เร่งดำเนินการสำรวจความเสียหาย และจัดประชุม ก.ช.ภ.อ. และ ก.ช.ภ.จ. โดยเร็ว รวมถึงช่วยสนับสนุนดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ถือปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และหนังสือที่สั่งการโดยเคร่งครัด ระมัดระวังมิให้เกิดความซ้ำซ้อน
 
ให้สำนักงานคลังจังหวัดตรวจสอบการใช้จ่ายเงินทดรองราชการของสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
 
สำหรับหน่วยงานที่เข้ามาสนับสนุนปฏิบัติการฟื้นฟู ให้จังหวัดเชียงรายดูแลความเป็นอยู่ การส่งกำลังบำรุง การสุขาภิบาลและการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม
 
กรณีบ้านเรือนราษฎรที่ได้รับความเสียหาย ให้จังหวัดเชียงรายติดตามผลการให้ความช่วยเหลือ ซ่อมแซมได้หรือไม่ได้อย่างไร ค่าวัสดุซ่อมแซมที่อยู่อาศัยประจำ ซึ่งผู้ประสบภัยพิบัติเป็นเจ้าของที่ได้รับความเสียหาย เท่าที่จ่ายจริงหลังละไม่เกิน 49,500 บาท ภายใต้หลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2563 เพียงพอต่อการซ่อมแซมเพื่อการดำรงชีพขั้นพื้นฐานหรือไม่ ถ้าไม่เพียงพอมีแผนดำเนินการอย่างไรต่อไป กรณีบ้านเสียหายทั้งหลังและที่ดินถูกน้ำพัดหายไป ให้อปท. ร่วมกับชมรมช่างท้องถิ่น ประเมินความเสียหาย มอบหมายนายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ (รอง ผวจ. 2) ร่วมกับ สนง.ทสจ.ชร. สจป.ที่ 2 ชร. และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จัดหาที่อยู่อาศัยแห่งใหม่ เบื้องต้นหากจะจัดสรรพื้นที่ คทช. ให้ดำเนินการภายใต้ระเบียบกฎหมาย และเป็นไปด้วยความเท่าเทียม
 
การปรับปรุง ซ่อมแซมสิ่งสาธารณประโยชน์ทุกประเภทที่ได้รับความเสียหาย (เช่น วัด โรงเรียน อาคารส่วนราชการ ถนน คอสะพาน รางระบายน้ำ เป็นต้น) เพื่อให้สามารถใช้งานได้ตามปกติดังเดิม ให้หน่วยงานต้นสังกัดเร่งสำรวจและเสนอของบประมาณในคราวเดียว
 
วันที่ 30 ก.ย. 67 มท.4 และ รมช.กลาโหม จะลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงาน และปัญหา อุปสรรค ให้ที่ทำการปกครองจังหวัดและสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด จัดทำเอกสารสรุปผลการปฏิบัติและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องนำเสนอ และให้รายงานต่อเนื่องจนกว่าจะกลับคืนสู่สภาพเดิม
 
แนวโน้มสถานการณ์ ฝนฟ้าคะนองปานกลาง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ระดับน้ำสาย ทรงตัว(ไม่เกินระดับวิกฤติ)/ ระดับน้ำกก น้ำลาว แนวโน้มลดลง/น้ำโขงทรงตัว(ปกติ)
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

ผู้ว่าฯ เชียงราย ระดมทุกภาคส่วน Big Cleaning จบใน 29 กันยายนนี้

 

เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2567 เวลา 16.00 น. ที่ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยและดินถล่มจังหวัดเชียงราย นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานการประชุมติดตามผลการดำเนินงานฟื้นฟูและการให้ความช่วยเหลือประชาชน ตามแผนที่วางไว้เพื่อนำปัญหา อุปสรรค มาปรับแผนใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานในวันต่อไปได้อย่างมีประสิทธิสูงสุด โดยมี นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ ว่าที่ร้อยตรี ศราวุธ จันทวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัดเชียงราย ท้องถิ่นจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานหลัก ทั้ง มทบ.37 กอ.รมน. ตร.ภูธรจังหวัด นายอำเภอเมือง ปลัด อบจ. ปลัดเทศบาลนครเชียงราย ผอ.ศูนย์ ปภ เขต 15 ผู้แทน สสจ.เชียงราย โยธาธิการจังหวัด โครงการชลประทาน ทสจ. ผจก.ไฟฟ้า ผจก.ประปา แขวง ทล 1 แขวง ทช ประชาสัมพันธ์จังหวัด และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เข้าร่วมประชุม

โดยที่ประชุม ได้นำประเด็นปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานฟื้นฟูฯ Big Cleaning มาหารือเพื่อหาแนวทางแก้ไข พร้อมทั้งวางแนวทางการทำงานร่วมกันให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งการดำเนินงานในวันต่อไปยังคงเน้นการแบ่งพื้นที่เป็น 4 โซนการทำงาน กำหนดพื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองเชียงราย แบ่งออกเป็น 2 พื้นที่ ในและนอกเขตเทศบาลนครเชียงราย จำนวนทั้งสิ้น 8 โซน กำหนด D-Day ทำความสะอาดเขตพื้นที่เทศบาลนครเชียงราย ในวันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน 2567 กำหนดพื้นที่ดำเนินการ อ.แม่สาย แบ่งเป็น 4 โซน อ.เมืองเชียงราย แบ่งออกเป็น 4 โซน ทั้งในและนอกเขตเทศบาลนครเชียงราย ได้แก่ ชุมชนป่าแดง ชุมชนวังดิน ชุมชนแควหวาย และชุมชนฝั่งหมิ่น ทำความสะอาดพื้นที่สาธารณะ สำหรับการล้างทำความสะอาดบ้านเรือนประชาชนมุ่งเน้นช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเอง ทำความสะอาดบ้านเรือนด้วยตนเองไม่ได้ เป็นลำดับแรก เช่น ผู้สูงอายุ บุคคลทุพพลภาพ ผู้พิการ ที่อยู่เพียงลำพัง ผู้มีภาวะร่างกายอ่อนแอ มีปัญหาทางด้านสุขภาพ และผู้ยากไร้ เป็นต้น ส่วนนอกเขตเทศบาลนครเชียงราย 4 โซน ได้แก่ ต.ดอยฮาง ต.แม่ยาว ต.ริมกก และ ต.บ้านดู่
 
สำหรับการลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนทำความสะอาดมาแล้วก่อนหน้านี้ พบว่าในบางโซนได้ดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ และในบางโซนยังเกิดปัญหาความล่าช้าเนื่องจากการขาดแคลนเครื่องจักร และการจัดเก็บสิ่งของ หรือขยะของประชาชน มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ซึ่งบางส่วนประชาชนยังนำออกจากตัวบริเวณบ้านมาไม่หมด และสิ่งสำคัญคือปัญหาดินโคลนซึ่งพบว่ามีดินโคลนที่อุดอยู่ในท่อ ทำให้ท่ออุดตัน ซึ่งจะก่อให้เกิดการระบายของนำและสิ่งปฏิกูลลงสู่ท่อระบายขนาดใหญ่ได้ล่าช้า เนื่องจากบางจุดยังมีดินโคลนเข้าไปอุดตัน จำเป็นต้องมีการเร่งระบายทุกช่องทาง ส่วนนอกเขตเทศบาลนครเชียงราย 4 โซน ได้แก่ ต.ดอยฮาง ต.แม่ยาว ต.ริมกก และ ต.บ้านดู่
 
ผู้ว่าฯ เชียงราย ยังได้ให้แนวทางเรื่องการฟื้นฟู และการช่วยเหลือประชาชนว่า ให้ดำเนินการต่อไปจนกว่าจะจบภารกิจ และให้ทางเทศบาลนครเชียงรายดำเนินการต่อตามภารกิจ พร้อมทั้งการดูแลสุขภาพประชาชน โดยสั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย จัดทีมแพทย์เคลื่อนที่เชิงรุกเข้าหาชุมชน ให้เข้าถึงชาวบ้านที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นการด่วน อีกทั้งได้แนะแนวทางการขยายจุด Fix It Center ของอาชีวศึกษา ในการเปิดจุดบริการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ ให้แก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ต่างๆ ให้ทั่วถึง เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในเบื้องต้นด้วย
 
ด้าน กรมควบคุมมลพิษ ได้ร่วมกับสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 (เชียงใหม่) สำนักงาน ทสจ.เชียงราย เร่งสำรวจหาพื้นที่ขุดหลุมบ่อขยะใหม่เพื่อรองรับขยะหลังน้ำลดทั้งของ อ.เมืองเชียงราย และ อ.แม่สาย ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและสะดวกต่อการขนย้าย โดยให้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านการบริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ทั้งไฟฟ้าและประปา ให้ประชาชนรับทราบถึงสถานการณ์ มาตรการและช่องทางการให้ความช่วยเหลือ และแนวทางปฏิบัติ เพื่อให้การดำเนินการทำความสะอาดพื้นที่สาธารณะและการกำจัดขยะที่ประชาชนนำมากองไว้ริมถนนในเขตเทศบาลนครเชียงราย ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีการมอบหมายให้ตำรวจจราจรจัดทำแผนจราจรและเพิ่มกำลังพลในการจัดระเบียบจราจรขณะปฏิบัติการทำความสะอาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุดปฏิบัติการที่ดำเนินการในเวลากลางคืน ให้ดูแลความปลอดภัยทรัพย์สินของพี่น้องประชาชน และอำนวยความสะดวกให้เป็นพิเศษ อีกด้วย
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI NEWS UPDATE

น้ำท่วมเชียงราย กระทบพื้นที่เกษตรไปแล้ว 14,138 ไร่ และ โรงเรียนอีก 31 แห่ง

 

เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2567 จากข้อมูลสะสมระหว่างวันที่ 9 -21 ก.ย. 2567 ทั้งสิ้น 10 อำเภอ 41 ตำบล 358 หมู่บ้าน 1 เทศบาลนคร (52 ชุมชน) โดยตลาดชุมชนเศรษฐกิจ ได้รับผลกระทบ 2 แห่ง ร้านค้า/สถานประกอบการ 92 แห่งราษฎรได้รับผลกระทบเบื้องต้น53,236 ครัวเรือน เสียชีวิต 12 ราย บาดเจ็บ 2 รายพื้นที่เกษตรได้รับผลกระทบ 14,138 ไร่ ปศุสัตว์ได้รับผลกระทบ 48,180 ตัว (ได้แก่ โค 894 ตัว กระบือ 141 ตัว สุกร 5 ตัว แพะ/แกะ 25 ตัว สัตว์ปีก 47,115 ตัว) สัตว์เลี้ยง 299 ตัว (ได้แก่ สุนัข 145 ตัว และแมว 154 ตัว)ด้านสิ่งสาธารณประโยชน์ได้รับผลกระทบ ได้แก่ โรงเรียน จำนวน 31 แห่ง ถนน 7 จุด และคอสะพาน 4 จุด

 

ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ผู้อำนวยการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าไปช่วยเหลือ ซึ่งได้เตรียมการมาเป็นอย่างดีทั้งเครื่องมือ อุปกรณ์เครื่องจักรกล ยุทโธปกรณ์ พร้อมกำลังพลในการเข้าไปช่วยเหลือ อย่างเร่งด่วน แต่เนื่องจากเกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง หลายวัน ทำให้วันนี้ (21 กันยายน 2567) ได้เกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะที่ ได้แก่ อ.เมืองเชียงราย, อ.เชียงแสน, อ.เชียงของ, อ.แม่จัน, อ.แม่ฟ้าหลวง, อ.แม่สาย, อ.ดอยหลวง, อ.เทิง อ.เวียงแก่นและ อ.เวียงป่าเป้า เกิดน้ำท่วมหนักในรอบหลายปี อย่างไรก็ตาม นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจ และเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน หากประชาชนต้องการขอความช่วยเหลือ หรือแจ้งเหตุ แจ้งได้ตลอด 24 ช่วยโมง ที่สายด่วน 1784
 
 
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย รายงานสถานที่เกิดเหตุ/ความเสียหาย/การให้ความช่วยเหลือ (เหตุต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 8 ก.ย. 67 และสถานการณ์ในวันนี้ (21 ก.ย. 67) ดังนี้
 
อ.เมืองเชียงราย(ข้อมูลสะสม 8 ตำบล 59 หมู่บ้าน 52 ชุมชน)ปัจจุบัน ภาพรวมสถานการณ์คลี่คลาย ดำเนินการฉีดล้างทำความพื้นที่ที่น้ำลดลงแล้ว ยังคงมีสถานการณ์
 
เขตเทศบาลนครเชียงราย พื้นที่ได้รับผลกระทบสะสม 52 ชุมชน เสียชีวิต 1 ราย ปัจจุบัน (วันที่ 21 ก.ย. 67) สถานการณ์คลี่คลาย บางชุมชนมีน้ำผุดท่อเนื่องจากท่อระบายน้ำอุดตัน(ได้แก่ พื้นที่ชุมชนป่าแดง และชุมชนฝั่งหมิ่น) และยังมีน้ำท่วมขังส่งกลิ่นเน่าเหม็นในพื้นที่ชุมชนเกาะลอย และชุมชนบ้านใหม่)/ เทศบาลนครเชียงรายดำเนินการ Big Cleaning Day จุดที่น้ำลดลงแล้วตั้งแต่วันที่ 14 ก.ย. 67 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
 
โรงเรียนในเขตเทศบาลนครเชียงรายประกาศหยุดเรียนจนกว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ เบื้องต้น 11 โรงเรียน 1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล 1- 8/ ร.ร.สามัคคีวิทยาคม/ ร.ร.อนุบาลเชียงราย (สันต้นเปา)/ ร.ร.อบจ.เชียงราย และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านใหม่ ความคืบหน้าสถานศึกษาที่เปิดเรียน ดังนี้
 
วันที่ 17 ก.ย. 67 สถานศึกษาที่เปิดเรียน จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ร.ร.สามัคคีวิทยาคม และร.ร.อนุบาลเชียงราย (สันต้นเปา) วันที่ 18 ก.ย. 67 สถานศึกษาที่เปิดเรียน จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ร.ร.เทศบาล 3 ศรีทรายมูล,ร.ร.เทศบาล 6 นครเชียงราย และร.ร.เทศบาล 4 สันป่าก่อ วันที่ 19 ก.ย. 67 สถานศึกษาที่เปิดเรียน จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ร.ร. เทศบาล 1 ศรีเกิด และ ร.ร.เทศบาล 5 เด่นห้า วันที่ 20 ก.ย. 67 สถานศึกษาที่เปิดเรียน จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านใหม่, ร.ร.เทศบาล 2 หนองบัว,และ ร.ร.เทศบาล 8 บ้านใหม่ วันที่ 23 ก.ย. 67 สถานศึกษาที่เปิดเรียน จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ ร.ร.เทศบาล 7 ฝั่งหมิ่น
 
การประปาส่วนภูมิภาคสาขาเชียงราย หยุดระบบการผลิตและระบบจ่ายน้ำ (ตั้งแต่วันที่ 11 ก.ย. 67 เวลา 15.59 น.) อำเภอเมืองเชียงรายและอำเภอเวียงชัย ได้รับผล
วันที่ 20 ก.ย. 67 กปภ.สาขาเชียงราย มีประกาศไม่สามารถจ่ายน้ำได้ตามปกติ ในวันที่ 24 ก.ย. 67 เวลา 13.00 – 16.00 น. เนื่องจากซ่อมแซมตู้มอเตอร์เครื่องสูบน้ำแรงสูง
 
กปภ.สาขาเชียงราย จัดรถบริการน้ำแจกจ่ายควบคู่กับการกระจายน้ำ จำนวน 5 จุดบริการ ดังนี้
(1) รถน้ำสาขาพะเยา ให้บริการ รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ อ.เมืองเชียงราย 
(2) รถน้ำสาขาเชียงรายให้บริการ ชุมชนกกโท้ง (ทน.เชียงราย) อ.เมืองเชียงราย 
(3) รถน้ำสาขาลำปาง ให้บริการ รพ.โรงพยาบาลสมเด็จพระญาณสังวร อ.เวียงชัย
(4) รถน้ำเขต 10 คันที่ 1 ให้บริการจุดจ่ายน้ำ โครงการ A-star ต.ท่าสุด อ.เมืองเชียงราย 
(5) รถน้ำเขต 10 คันที่ 2 ให้บริการจุดจ่ายน้ำตลาดผลไสว ต.ท่าสาย อ.เมืองเชียงราย
 
วันที่ 21 ก.ย. 67 กปภ. ได้กำหนดมาตรการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ดังนี้ สนับสนุนน้ำดื่มบรรจุขวดและน้ำประปา เพื่ออุปโภคบริโภคให้เพียงพอ ช่วยเหลือน้ำประปาฟรี เพื่อทำความสะอาดบ้านเรือนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ยกเว้นการเก็บค่าน้ำประปาและค่าบริการทั่วไป ในเดือนที่ประสบอุทกภัย ซึ่งหน่วยงานราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติอุทกภัย ให้แก่ผู้ใช้น้ำประเภทที่ 1 ที่อยู่อาศัยและอื่น ๆ (รหัส 11 12 13 และ 16) เช่น บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ สถานที่พักอาศัยของรัฐ สถานที่พักอาศัยที่มีการค้าขายเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ดำเนินการเอง หอพัก แฟลต คอนโดมิเนียม อพาร์ทเมนท์ อาคารชุด ห้องแถว เป็นต้น และผู้ใช้น้ำประเภทที่ 2 ธุรกิจขนาดเล็ก (รหัส 29) เช่น สถานที่ที่อาจมีการอยู่อาศัยและมีการค้าขาย ประกอบการหรือรับจ้าง ที่มีขนาดใหญ่กว่าผู้ใช้น้ำประเภทที่อยู่อาศัย อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว (โฮมสเตย์) เป็นต้น
 
ต.รอบเวียง หมู่ที่ 1 – 5 ลำน้ำกก ลำน้ำกรณ์ และลำน้ำลาว ระดับน้ำได้ล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน และในพื้นที่ของหาดเชียงราย/ สถานการณ์คลี่คลาย ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง
 
ต.ดอยฮาง หมู่ที่ 2,3,4,5,6 ลำน้ำกกล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนและพื้นที่เกษตร บางหมู่บ้าน ถูกตัดขาด ใช้การลำเลียงน้ำและอาหารโดยรถยกสูง และอากาศยาน (หมู่ที่ 6 บ้านเรือนราษฎรถูกน้ำป่าไหลหลาก
 
พัดหายไป จำนวน 9 หลัง)/ สำนักงานเทศบาลตำบลดอยฮาง ได้รับความเสียหาย ตั้งสำนักงานชั่วคราว ณ ศาลาเอนกประสงค์หน้าวัดดอยฮางใหม่หมู่ที่ 3 ตำบลดอยฮาง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย วันที่ 19 ก.ย. 67 เปิดใช้เส้นทางได้บางส่วน
 
ต.ริมกก หมู่ที่ 1-7วันที่ 11 ก.ย. 67 น้ำกกล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนของราษฎร/ บ้านเมืองงิม ม.4
พนังกั้นน้ำถูกกัดเซาะ อบต.ริมกก ดำเนินการจัดทำแนวตลิ่งเพื่อกันน้ำไม่ให้ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนของราษฎร พร้อมทั้งอพยพคนออกจากพื้นที่ที่น้ำท่วมสูง วันที่ 14 ก.ย. 67 สถานการณ์คลี่คลาย ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง ถนนสามารถสัญจรผ่านได้
 
ต.บ้านดู่ ม. 1,10,12,15,16,17,20 น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติ
ต.แม่ข้าวต้ม ม. 3,4 น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร สถานการณ์คลี่คลายบางส่วน
ต.นางแล ม. 1,4,5,6,11,16 น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร สถานการณ์คลี่คลาย
 
อ.เชียงแสน จำนวน 6 ตำบล 38 หมู่บ้าน โรงเรียน 1 แห่ง พื้นที่เกษตร 14,138 ไร่ ถนน 2 สาย สะพาน 1 จุด คอสะพาน 1 จุด น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร พื้นที่เกษตร และเกิดดินสไลด์ ในพื้นที่ ดังนี้ ต.เวียง ม.1, 2, 3 ,4 ,5 ,6 ,7 ,8น้ำล้นตลิ่งและเกิดดินสไลด์บ้านสบรวก ร้านค้า จำนวน 16 ร้าน ต.โยนก ม.1 ,2 ,4 ,6 ,7 ต.บ้านแซว ม.7 ,8 ,10 ,14 ต.ป่าสัก ม.1 ,2, 3, 5, 6 ,7 ,11 ,12, 13 ต.ศรีดอนมูล ม.1, 2 ,3 ,5 ,9 ,10 ,12, 13 ต.แม่เงิน ม.1, 5, 10 ปิดเส้นทางสัญจร ปิดเส้นทางสะพานโยนกนาคนคร ม.1 และ ม.4 ต.โยนก เส้นบายพาส ปัจจถบะน สามารถสัญจรผ่านได้ ปิดเส้นทางหมายเลข 1290 ตอนแม่สาย – กิ่วกาญจน์ ระหว่าง กม.20+000 – กม.20+500 บ้านเวียงแก้วม.5 ต.ศรีดอนมูล – บ้านวังลาว ม.4 ต.เวียง เนื่องจากแม่น้ำรวกล้นตลิ่งท่วมถนน รถทุกชนิดไม่สามารถผ่านได้ อยู่ระหว่างดำเนินการซ่อมแซม
 
อ.เชียงของ (ข้อมูลสะสมจำนวน 4 ตำบล 34 หมู่บ้าน)/ ปัจจุบันสถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ต.เวียง หมู่ที่ 1 -14 แม่น้ำโขงล้นตลิ่งหลากเข้าท่วมพื้นที่บริเวณท่าเรือบั๊ค บริเวณสวนสาธารณะปลาบึก 7 สี และบ้านเรือนราษฎรติดริมฝั่งโขง / ทต.เวียง อพยพประชาชนและขนย้ายทรัพย์สินขึ้นที่สูง เรียบร้อยแล้ว ต.ริมโขง หมู่ที่ 1,2,3,4,5,7, 8 ต.สถาน หมู่ที่ 2,4,5,6,8,13,15 และต.ศรีดอนไชย หมู่ที่ 4,7,8,12,14,16
 
อ.แม่จัน (ข้อมูลสะสมจำนวน 11 ตำบล 125 หมู่บ้านโรงเรียนได้รับผลกระทบ 3 โรงเรียน/ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลาย ยังคงค้างในพื้นที่ลุ่มต่ำของตำบลแม่คำ ต.ป่าตึงหมู่ที่ 1-20 ต.แม่คำ หมู่ที่ 1,4,7-14 ต.ท่าข้าวเปลือก หมู่ที่ 1-14 ต.ศรีค้ำ หมู่ที่ 1-5,7,10 ต.ป่าซาง หมู่ที่ 4,7,11,15 ต.จันจว้า หมู่ที่ 1-11 ต.จันจว้าใต้ หมู่ที่ 1-12 ต.จอมสวรรค์ หมู่ที่ 1,2,4,6,8-10 ต.แม่จัน หมู่ที่ 1-3, 6,8-14 ต.แม่ไร่ หมู่ที่ 1-9 และ ต.สันทราย หมู่ที่ 1-9
 
อ.แม่ฟ้าหลวง ข้อมูลสะสมจำนวน 4 ตำบล 58 หมู่บ้าน (เสียชีวิตจากสะสม 5 ราย) ถนนเสียหาย 4 จุด คอสะพาน 3 จุด โรงเรียนได้รับผลกระทบ 8 โรงเรียน (ดินสไลด์ปิดเส้นทางเข้า-ออก)/บ้านจะตี ต.เทอดไทย ดินปิดสไลด์เส้นทาง ใช้อากาศยานในการขนส่ง/ วันที่ 16 ก.ย. 67 ผช. ผรส. บ้านปูนะ ต.เทอดไทย ร่วมกับชาวบ้านตัดต้นไม้และเคลียร์พื้นที่ดินสไลด์ ใช้แบคโฮเปิดเส้นทาง สามารถใช้รถยนต์และจักรยานยนต์ผ่านได้ ยังต้องใช้ความระมัดระวังบางจุด เนื่องจากยังมีดินสไลด์ลงมาเป็นระยะ ยังดำเนินการกู้ระบบไฟฟ้า ใช้ได้เพียงบางจุด/ วันที่ 17 ก.ย. 67 กองพันสัตว์ต่าง กรมการสัตว์ทหารบก ตั้ง บก.ช่วยเหลือ ตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย. 2567
 
ณ อบต.แม่ฟ้าหลวง กำลังพล ทหาร 15 นาย อุปกรณ์ ล่อ 3 ตัว ช่วยขนย้ายสิ่งของจำเป็นให้กับผู้ประสบภัย/ วันที่ 21 ก.ย. 67 ขยายเขตจ่ายกระแสไฟฟ้า 95% ของพื้นที่ประสบภัย ต.แม่ฟ้าหลวง หมู่ที่ 1-19 ต.แม่สลองนอก หมู่ที่ 1,2,6,7,9,10,11 ต.แม่สลองใน หมู่ที่ 1,3,4,5,6,7,9,10,11,12,14,15,18,20,21,22 และ ต.เทอดไทย หมู่ที่ 1-10, 13-17,19
 
อ.แม่สาย น้ำท่วมพื้นที่ตลาดสายลมจอย และพื้นที่เศรษฐกิจ ข้อมูลสะสมจำนวน 8 ตำบล 74 หมู่บ้าน (ชุมชนได้รับผลกระทบรุนแรง ได้แก่ ชุมชนแม่สาย ชุมชนเหมืองแดง ชุมชนเกาะทราย ชุมชนไม้ลุงขน)โรงเรียนได้รับผลกระทบ 8 โรงเรียน ปศุสัตว์ได้รับผลกระทบ ได้แก่ สุกร 4 ตัว สัตว์ปีก 27,615 ตัว ต.แม่สาย หมู่ที่ ม.1-13ต.เวียงพางคำ หมู่ที่ 1-10 ต.เกาะช้างหมู่ที่ 1-13 ต.ศรีเมืองชุม หมู่ที่ 1-9 ต.บ้านด้าย หมู่ที่ 1-8 ต.โป่งผาหมู่ที่ 1,2,3,4,5,9,10,11 ต.โป่งงาม หมู่ที่ 1,2,3,6,8,9,11,12 และ ต.ห้วยไคร้ หมู่ที่ 2,3,4,8,9
 
วันที่ 21 ก.ย. 67 กปภ. สาขาแม่สาย ขยายขอบเขตการจ่ายน้ำประปา ประชาชนได้รับบริการ จำนวน 11,698 ราย ยังไม่ได้รับบริการ จำนวน 723 ราย ติดตั้งจุดให้บริการประปาสนาม จำนวน 5 จุดภารกิจปิดจุดรอยรั่ววางแนวพนังกั้นน้ำโดยใช้บิ๊กแบ็ค จำนวน 5 จุด โดย ฉก.ทัพเจ้าตาก สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 (ลำปาง) และมูลนิธิเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทยดำเนินการแล้วเสร็จจำนวน 5 จุด งานกู้คืนบ้านกลุ่มเปราะบาง (โซน A สีแดง)จำนวน 47 หลัง เข้าดำเนินการ 7 หลัง คงเหลือ 40 หลัง แผนงานกู้คืนบ้านพักอาศัยที่เจ้าของสามารถดำเนินการได้(เทกองหน้าบ้านมีบริการจัดเก็บให้) จำนวน 6,980 หลัง / อำเภอป่าแดด ฝ่ายปกครอง/อปท. ประชาชนจิตอาสา ร่วมทำความสะอาดถนนสาธารณะ กำจัดาดินโคลนออกจากบ้านเรือนของประชาชนกลุ่มเปราะบาง ผู้สูงอายุที่ประสบอุทกภัยน้ำท่วม ณ บ้านเหมืองแดง ตำบลแม่สายอำเภอแม่สาย/ ศบภ.ทภ.3 จัดกำลัง 245 นายสนับสนุน ศภบ.ทบ. ส่วนหน้า ปฏิบัติการฟื้นฟูพื้นที่และทำความสะอาดพื้นที่แม่สาย (ร.17/ ร.17 พัน.2/ร.17 พัน.3/ ร.17 พัน4/ ป.4 พัน.17)
 
อ.ดอยหลวง จำนวน 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ต.หนองป่าก่อ หมู่ที่ 8 น้ำกัดเซาะถนนชำรุด ไม่สามารถสัญจรได้ อยู่ระหว่างซ่อมแซม/ 16 ก.ย.67 บ้านที่อยู่ติดถนนถูกน้ำพัดพาได้รับความเสียหาย
 
อ.เทิง จำนวน 3 ตำบล 4 หมู่บ้าน ต.งิ้ว ม.7,18 น้ำล้นออกจากอ่างเก็บน้ำขอนซุง เข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร ต.ปล้อง ม.2 น้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร และต.ตับเต่า ม.8 เสาค้ำสะพานสะพานเบลีย์ชำรุด/ เวลาประมาณ 14.00 น. หมวดทางหลวงเทิงแขวงทางหลวงเชียงรายที่2 และศูนย์สร้างและบูรณะสะพานที่ 1 (พิจิตร) เข้ามาดำเนินการซ่อมแซม หากไม่มีมีฝนตกคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2 วัน (วันที่ 16 ก.ย. 67)/ วันที่ 21 ก.ย. 67 สามารถสัญจรผ่านได้
 
อ.เวียงแก่น จำนวน 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ต.ปอ ม.2 น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย
 
อ.เวียงป่าเป้า จำนวน 1 ตำบล 2 หมู่บ้าน วันที่ 19 ก.ย. 67 เกิดสถานการณ์วาตภัยในพื้นที่ บ้านขุนลาว หมู่ที่ 7 ต.แม่เจดีย์ใหม่ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย ต้นไม้หักทับบ้านเรือนประชาชน ได้รับความเสียหายบางส่วน จำนวน 2 หลัง วันที่ 21 ก.ย. 67เกิดเหตุอุทกภัยบ้านโป่งป่าตอง หมู่ที่ 14 ต.แม่เจดีย์ใหม่ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย
น้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร ได้รับผลกระทบ
 
การให้ความช่วยเหลือ
– จังหวัดเชียงราย ได้จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ปี พ.ศ. 2567 เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ในการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย และจัดหาปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีพ ผ่านทางธนาคาร กรุงไทย สาขาเชียงราย เลขที่บัญชี 504-3-23-732-5 ชื่อบัญชี กองทุนช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ปี พ.ศ. 2567 โดยสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 1 เท่ายอดเงินบริจาค ณ วันที่ 20 ก.ย. 67 เวลา 16.30 น. จำนวน 7,368,788.57 บาท
 
– กองทัพเรือสนับสนุนเรือและยุทโธปกรณ์ เครื่องมือเร่งดำเนินการติดตั้งเคลื่อนย้ายเรือผลักดันน้ำ JET จำนวน 10 ลำ ยกจากเครนวางตามแนวลำน้ำอิง ประสิทธิภาพการไหลได้ วันละ 1 ล้านลูกบาศก์เมตร เริ่มดันน้ำได้วันที่11 ก.ย.67 เวลา15.00 น. ณ สะพานข้ามแม่น้ำอิง อ.เทิง จ.เชียงราย
 
– มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย
วันที่ 19 ก.ย. 67 ดำเนินโครงการ “ฟื้นฟูชุมชน บรรเทาทุกข์ บำรุงสุขให้ยั่งยืน ” โดยมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ณ ที่ว่าการอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยมีบริการสุขภาพกาย สุขภาพจิต จ่ายยาพื้นฐานเบื้องต้น, ให้คำปรึกษาเอกสิทธิ์ของกลุ่มเปราะบาง, Fix it จิตอาสา ซ่อมแซมรถจักรยานยนต์ เครื่องจักรกลการเกษตร เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, แจกจ่ายอุปกรณ์ทำความสะอาด และประกอบอาหาร โรงครัวพระราชทาน
 
วันที่ 20 ก.ย. 67 รถประกอบอาหารเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) จัดตั้งโรงครัวพระราชทาน ณ ที่ว่าการอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายพร้อมด้วยหน่วยงานราชการ และจิตอาสาพระราชทาน ร่วมกันประกอบอาหาร ต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 จำนวน 2 มื้อ จำนวน 1,800 กล่อง เพื่อแจกจ่ายให้กับผู้ประสบอุทกภัยอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
 
วันที่ 21 ก.ย. 67 รถประกอบอาหารเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) จัดตั้งโรงครัวพระราชทาน ณ ที่ว่าการอำเภอแม่สาย มีกำหนดดำเนินการต่อเนื่องถึงวันเสาร์ที่ 28 ก.ย. 67
 
– กองทัพเรือ/หน่วยซีล สนับสนุน เรือ 9 ลำ รถบรรทุก 4 คัน ถุงยังชีพ 1,000 ชุด (ของ 918 150 ชุด) กำลังพล 50 นาย
– ฮ.ปภ.32/ฮ.กรมฝนหลวงและการบินเกษตร/ฮ.ทอ./ ฮ.ตชด. 327/ ฮ.ทส. เตรียมความพร้อมรอคำสั่ง/ไม่มีภารกิจบิน
– ศูนย์ ปภ.เขต 15 เชียงราย /เขต 1 ปทุมธานี/ เขต 2 สุพรรณบุรี /เขต 3 ปราจีนบุรี/ เขต 4 ประจวบคีรีขันธ์/ เขต 8 กำแพงเพชร /เขต 9 พิษณุโลก /เขต 11 สุราษฎร์ธานี และเขต 16 ชัยนาท สนับสนุนเครื่องจักรกลสาธารณภัยด้านปฏิบัติการ (อุทกภัย) และกำลังพล
 
วันที่ 21 ก.ย. 67สนับสนุนรถปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย รถล้อยางยกสูง รถขุดตักไฮดรอลิก รถแบคโฮ และรถบรรทุกเทท้าย ปฏิบัติภารกิจตักดินโคลนและปรับเกลี่ยถนน แจกจ่ายอุปกรณ์ทำความสะอาดและน้ำดื่มบรรจุขวดพื้นที่อำเภอแม่สาย /รถปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย ลำเลียงอาหารแห้ง น้ำดื่ม เสื้อผ้า และอื่นๆ ที่จำเป็น ส่งให้ผู้ประสบภัย ณ ศาลาอเนกประสงค์บ้านน้ำลัดและโบสถ์คริสต์บ้านใหม่น้ำลัด ต.ริมกก ต.เมืองชร. และเทศบาลตำบลแม่ยาว ต.แม่ยาว อ.เมือง จ.เชียงรายบรรทุกสิ่งของที่มีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย จากที่ทำการไปรษณีย์บ้านดู่ มาเก็บไว้ที่ศูนย์รับบริจาค ศูนย์ ปภ. เขต 15 เชียงราย เพื่อนำจ่ายให้ผู้ประสบภัยในพื้นที่ต่างๆ ต่อไป/ สนับสนุนรถบรรทุกน้ำช่วยดับเพลิง 10,000 ลิตรรถบรรทุกน้ำอเนกประสงค์ขนาด 12,000 ลิตร พร้อมด้วยชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤติ ERT สูบน้ำจากหนองปึ๋ง แจกจ่ายให้หน่วยงานและบ้านเรือนราษฎรในพื้นที่ต.รอบเวียง อ.เมืองเชียงรายและโรงพยาบาลสมเด็จพระญาณสังวร อ.เวียงชัย/ รถปฏิบัติการบรรเทาอุทกภัย สูบน้ำท่วมขังพื้นที่ของ มณฑลทหารบกที่ 37 อ.เมืองชร. จ.เชียงราย
– ศูนย์พักพิงที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวอยู่ ณ วันที่ 21 ก.ย. 67 รวมทั้งสิ้น 10 แห่ง
แบ่งตามขอบเขตการปกครอง ได้แก่ อ.เมืองเชียงราย 4 แห่ง/ อ.แม่สาย 6 แห่ง
 
ศูนย์พักพิงฯ ที่มีทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ เยียวยาจิตใจ แจกจ่ายยาและเวชภัณฑ์ จำนวน 4 แห่ง
ศูนย์พักพิงฯ ในความดูแลของกระทรวง พม. จำนวน 1 แห่ง (ได้แก่ ศูนย์พักพิงบ้านเอื้ออาทรแม่สาย 1 คงค้างพักพิงอยู่ จำนวน 17 คน)
 
รายละเอียดดังนี้
อำเภอเมืองเชียงรายที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวจำนวน 4 แห่ง
ในเขตเทศบาลนครเชียงราย ทน.เชียงราย จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวอยู่ ณ ปัจจุบัน จำนวน2 แห่ง ได้แก่
 
จุดโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ มีทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ เยียวยาจิตใจ แจกจ่ายยาและเวชภัณฑ์
จุดโรงเรียน อบจ. เชียงราย*มีทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ เยียวยาจิตใจ แจกจ่ายยาและเวชภัณฑ์
ตำบลแม่ยาว ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่ยาว กำกับดูแลโดย ทต.แม่ยาว/ วันที่ 20 ส.ค. 67 ย้ายศูนย์พักพิงไปที่สำนักงานเทศบาลตำบลแม่ยาว
 
ตำบลดอยฮาง วันที่ 16 ก.ย. 67 เวลา 17.00 น. จัดตั้งศูนย์พักพิง ณ บ้านโป่งนาคำ มีผู้พักพิงประมาณ 50 คน มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้นำเต็นท์นอนพระราชทาน ขนาด 2 คน จำนวน 50 หลัง มอบให้แก่ราษฎรผู้ประสบอุทกภัยฯ (**เปิดใหม่**)
 
อำเภอแม่สายที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวอยู่ ณ ปัจจุบัน 6 แห่ง รวมทั้งสิ้น 501 คน(โดยเป็นศูนย์พักพิงฯ ที่มีทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการ จำนวน 4แห่ง, ศูนย์พักพิงในความดูแลของกระทรวง พม. 1 แห่ง และศูนย์พักพิงชั่วคราว จำนวน 1 แห่ง)
 
ศูนย์พักพิงเทศบาลตำบลแม่สาย คงค้างจำนวน 49 ราย(ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแลได้แก่ รพ.ป่าแดด/ รพ.สต.ฮ่องแฮ่/ รพ.สต.บ้านด้าย)
 
ศูนย์พักพิงวัดพรหมวิหาร คงค้างจำนวน 119 ราย(ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.สมเด็จพระญาณสังวร, ร.พ.แม่สาย, ทีม MCATT, รพ.สวนปรุง)
 
ศูนย์พักพิงวัดเหมืองแดง คงค้างจำนวน 162 ราย (ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.พญาเม็งราย, ทีม MCATT จาก รพ.สวนปรุง, รพ.สต.แม่สาย)
 
ศูนย์พักพิงวัดถ้ำผาจม คงค้างจำนวน 117 ราย(ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.แม่ลาว, ทีม MCATT, รพ.เชียงแสน, รพ.ดอยหลวง)
 
ศูนย์พักพิงโบสถ์คริสต์บ้านผาฮี้ คงค้างจำนวน 37 ราย
ศูนย์พักพิงบ้านเอื้ออาทรแม่สาย 1 คงค้างจำนวน 17 คน(ในความดูแลของกระทรวง พม.)
อำเภอเวียงชัย ที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวอยู่ ณ ปัจจุบัน จำนวน 1 แห่ง
ศูนย์ศุภนิมิตรเพื่อการพัฒนา ต.เวียงเหนือ อ.เวียงชัย ปรับสภาพเป็นศูนย์พักคอยเนื่องจากประชาชนเริ่มกลับไปทำความสะอาดบ้านเรือนและมานอนที่ศูนย์ฯ ในตอนกลางคืน คงค้างจำนวน 21 ราย/ วันที่ 20 ก.ย. 67
 
ปิดศูนย์ฯ
– นพค.31 /นพค.32/นพค.34 สนับสนุนกำลังพล รถครัวสนาม และรถสุขาเคลื่อนที่
– มูลนิธิสมาคมกู้ชีพกู้ภัย อาสาสมัคร จิตอาสาภาคประชาชน ร้านค้า/ผู้ประกอบการ สนับสนุนปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย ให้ที่พักพิงชั่วคราว มอบอาหารปรุงสำเร็จ และถุงยังชีพ
 
– วิทยาลัยอาชีวศึกษาและโรงเรียนในเครือ ดำเนินโครงการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน Fix It Center
ตั้งจุดบริการและจัดชุดเคลื่อนที่ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม โดยจะช่วยซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ รวมถึงยานพาหนะที่เสียหาย เริ่มดำเนินกา
 
– สถานศึกษา สอศ. ที่ร่วมปฏิบัติงานจากทั่วประเทศ ประจำวันที่ 21 ก.ย. 67 จำนวน 43 แห่ง ตั้งจุดบริการ Fix It Center7 แห่ง ดังนี้ จุดบริการ โรงเรียนสันติวิทยา ดำเนินการโดย วท.อุทัยธานี จุดบริการ โรงเรียนบ้านน้ำลัด ดำเนินการโดย วก.เชียงราย, วก.ลอง จุดบริการ วอศ.เชียงราย ดำเนินการโดย วก.เวียงสา จุดบริการ ฮ่องลี่-ป่างิ้ว ดำเนินการโดย วท.ตาก จุดบริการ วท.เชียงราย ดำเนินการโดย วท.เชียงราย จุดบริการ หมู่บ้านธนารักษ์ ดำเนินการโดย วท.เทิง และจุดบริการ ชุมชนเวียงกือนา ดำเนินการโดย วก.เวียงเชียงรุ้ง
 
แผนกำหนดจุดบริการ Fix It Center ที่จะออกบริการวันที่ 22 ก.ย. 67จำนวน 8 แห่ง จุดบริการ โรงเรียนสันติวิทยา ดำเนินการโดย วท.อุทัยธานี (ระหว่างวันที่ 21- 22 ก.ย. 67) จุดบริการ วัดพรหมวิหาร อ. แม่สาย ดำเนินการโดย วท. สุโขทัย และ วก.ศรีสัชนาลัย (ระหว่างวันที่ 21- 22 ก.ย. 67) จุดบริการ วอศ.เชียงราย ดำเนินการโดย วก.เวียงสา (ระหว่างวันที่ 21- 22 ก.ย. 67) จุดบริการ ฮ่องลี่-ป่างิ้ว ดำเนินการโดย วท.ตาก (ระหว่างวันที่ 21- 22 ก.ย. 67) จุดบริการ วท.เชียงราย ดำเนินการโดย วท.เชียงราย จุดบริการ โรงเรียนเทศบาล 7 ฝั่งหมิ่นดำเนินการโดย สอน. 1 (ระหว่างวันที่ 22- 25 ก.ย. 67) จุดบริการ โรงเรียนเทศบาล8 บ้านใหม่ดำเนินการโดย สอน. 1 (ระหว่างวันที่ 22- 25 ก.ย. 67) และจุดบริการ ชุมชนเกาะทอง ดำเนินการโดย สอน.3 (ระหว่างวันที่ 22- 25 ก.ย. 67)
 
วันที่ 17 ก.ย. 67 ทภ.3 จัดตั้ง ศบภ.ทภ.3 ส่วนหน้า ณ ที่ว่าการอำเภอแม่สาย เพื่ออำนวยการประสานงานการให้ความช่วยเหลือประชาชนของหน่วยทหารทุกหน่วย ในพื้นที่ อ.แม่สาย
 
– อบจ.เชียงราย ดำเนินการดังนี้ เปิดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย อบจ. เชียงราย ณ อาคารคชสาร (สนามกีฬากลาง อบจ.เชียงราย) ระหว่างวันที่ 18 – 22 กันยายน 2567 เวลา 08.00 – 16.00 น. โดยเป็นจุดให้บริการ ดังนี้ จุดรับน้ำดื่ม จุดโรงครัว (มื้อเช้า กลางวัน เย็น) จุดรับและมอบของบริจาค จุดปฐมพยาบาล (ทำแผล ฉีดบาดทะยัก คอตีบ และจ่ายยาสามัญ/เวชภัณฑ์)
 
ให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วม ด้านดำรงชีพ ดังนี้ ค่าใช้จ่ายด้านดำรงชีพ ได้แก่ ค่าเครื่องนุ่งห่ม รายละไม่เกิน 1,100 บาท ค่าเครื่องมือประกอบอาชีพ เท่าที่จ่ายจริง ครอบครัวละไม่เกิน 11,400 บาท ค่าเครื่องครัวและอุปกรณ์ในการประกอบอาหาร เท่าที่จ่ายจริง ครอบครัวละไม่เกิน 3,500 บาท ค่าเครื่องนอน รายละไม่เกิน 1,000 บาท หลักฐานที่ต้องเตรียม ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนของเจ้าของบ้านที่ประสบภัย รูปภาพความเสียหาย
 
การขอรับความช่วยเหลือ ผ่าน อบต. หรือ ทต. ที่ประสบภัย ในวันและเวลาราชการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อบจ.เชียงราย ฝ่ายสงเคราะห์ผู้ประสบภัย โทร. 053175329 หรือ 053175333 ต่อ 1402 ในวันและเวลาราชการ
 
– กรุงเทพมหานคร โดยสำนักการระบายน้ำและกองโรงงานช่างกล สำนักการคลังสนับสนุนรถดูดโคลนขนาดความจุถัง 14 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 2 คัน รถตรวจการณ์ จำนวน 1 คัน รถหน่วยซ่อมเคลื่อนที่เร็ว (BEST) จำนวน 1 คัน รถบรรทุกติดตั้งเครนขนาด 65 ตัน จำนวน 1 คัน รถไฟส่องสว่าง จำนวน 1 คัน และรถตู้ 12 ที่นั่ง จำนวน 1 คันพร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญ/บุคลากร 28 คน ปฏิบัติการดูดโคลนเลนที่อุดตันบริเวณท่อระบายน้ำ ตามตรอก ถนน และจุดต่าง ๆ ที่กีดขวางทางระบายน้ำพื้นที่ประสบอุทกภัยในเขตพื้นที่ในเขตพื้นที่เทศบาลนครเชียงราย เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 20 ก.ย. 67 เป็นต้นไป
 
วันที่ 20 ก.ย. 67 (วันแรกของการปฏิบัติงาน) ดำเนินการดูดโคลนเลนจากท่อระบายน้ำ (ใช้วิธีเปิดฝาท่อระบายน้ำ) ถนนเจ้าฟ้า ฝั่งตรงข้ามศาลจังหวัดเชียงราย ริมแม่น้ำกก โดยดำเนินการทำความสะอาดท่อระบายน้ำ ขนาด 1.20 เมตร ดำเนินการได้ความยาว 100 เมตร ดูดเลนได้จำนวน 84 ลูกบาศก์เมตร / พบอุปสรรค ดินเลนเป็นดินเหนียวและมีขยะในท่อระบายน้ำ
วันที่ 21 ก.ย. 67 ดำเนินการดูดโคลนเลนจากท่อระบายน้ำ (ใช้วิธีเปิดฝาท่อระบายน้ำ) ถนนเจ้าฟ้า ฝั่งตรงข้ามศาลจังหวัดเชียงราย (บริเวณสถานีผลิตน้ำวังคำ ของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาเชียงราย) ท่อขนาด 1.20 เมตร ดำเนินการได้ความยาว 200 เมตร และทำความสะอาดรางระบายน้ำ(ตัววี) ขนาด 0.30 เมตรดำเนินการได้ความยาว 100 เมตรดูดเลนได้จำนวน 56 ลูกบาศก์เมตร/ แผนดูดโคลนเลนวันที่ 22 ก.ย. 67 ดำเนินการต่อจากจุดเดิมถึงบริเวณ 3 แยก สห. (วัดพระธาตุดอยจอมทอง)
– กรมโยธาธิการและผังเมือง สนับสนุนบุคลากร สำรวจ/วางแผน บริหารจัดการให้เป็นไปตามระบบหลักเพื่อบรรเทาน้ำท่วมชุมชนเมือง
 
– บริษัท วอชแอนด์โก Code Clean ให้บริการ ซัก อบ ผ้า น้ำยา ฟรี แก่ผู้ได้รับผลกระทบน้ำท่วมตลอด24 ชั่วโมง ณ ลานธรรมลานศิลป์ถิ่นพญามังรายหรือลานรัชกาลที่ 5 (ศาลากลางจังหวัดหลังแรก) ตั้งแต่วันที่ 18 ก.ย. 67 เป็นต้นไป
– เทศบาลตำบลแม่สายจัดชุดเคลื่อนที่ลงพื้นที่รับคำร้องช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยและลงทะเบียนขอลดหรือยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอันเนื่องมาจากเหตุอันพ้นวิสัยที่จะป้องกันได้โดยทั่วไป (กรณีอุทกภัย) ในเขตเทศบาลตำบลแม่สายระหว่างวันที่ 21-27 ก.ย. 67 ในพื้นที่ชุมชนแม่สาย-ดอยเวา, ชุมชนไม้ลุงขน, ชุมชนเหมืองแดง,ชุมชนป่ายาง และชุมชุมชนเกาะทราย
 
– งานบริการถ่ายบัตรประชาชน กรมการปกครอง สนับสนุนหน่วยบริการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนเคลื่อนที่ (Mobile Unit) ให้บริการตั้งแต่วันที่ 20 – 27 กันยายน 2567 ตั้งแต่เวลา 08.30 – 21.00 น. ณ วัดเวียงหอม (สามารถถ่ายได้เพียงบัตรประชาชนเท่านั้น) ยกเว้นค่าธรรมเนียม 100 บาท
 
– สำนักทะเบียนอำเภอแม่สาย ให้บริการงานถ่ายบัตรประชาชนทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ตั้งแต่วันที่ 19 – 30 กันยายน 2567 ตั้งแต่เวลา 08.30 – 17.00 น. ณ ห้องทะเบียนที่ว่าการอำเภอแม่สาย
 
– กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มอบเงินอุดหนุนช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมกรณีฉุกเฉิน เพื่อช่วยเหลือครอบครัวผู้ประสบอุทกภัย กลุ่มครัวเรือนเปราะบาง ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ห้วงอุทกภัยเดือนสิงหาคม-กันยายน 2567 จำนวน 234 ราย เป็นเงิน 700,000 บาท ดังนี้
 
– มอบเงินสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อยและไร้ที่พึ่ง เพื่อช่วยเหลือ ครัวเรือนเปราะบาง ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย จำนวน 167 ราย เป็นเงิน 500,000 บาท
 
มอบเงินปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ครัวเรือนเปราะบาง ที่ได้รับผลกระทบ จากอุทกภัย ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย จำนวน 216 หลังเป็นเงิน 3,888,000 บาท
 
– มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาขาดไทย เชิญถุงยังชีพพระราชทานมอบแก่ประชาชน
ผู้ประสบอุทกภัย ณ พื้นที่จังหวัดเชียงราย/ วันที่ 21 ก.ย. 2567 ณ ศาลาการเปรียญ วัดร่องเสือเต้น บ้านร่องเสือเต้น ตำบลริมกก อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานในพิธีมอบสิ่งของพระราชทานมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย แก่ประชาชนผู้ประสบอุทกภัย จำนวน 3,500 ถุง และถุงยังชีพพระราชทานแด่พระสงฆ์ จำนวน 105 ถุง และมอบเงินให้แก่ครอบครัวผู้เสียชีวิตจากเหตุอุทกภัย รายนายอุดมศักดิ์ เชื้อเมืองพาน บ้านเลขที่ 97 หมู่ 7 ชุมชนบำงิ้ว ต.รอบเวียง อเมืองเชียงราย จำนวน 20,000 บาท มอบให้แก่นางกนกวรรณ เชื้อเมืองพาน มารดาของผู้เสียชีวิต โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายเป็นผู้แทนมอบ
 
– นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.1) นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.พม. นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รมช.มท.(มท.4) นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการปกครองนายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดินและประธานกรรมการการประปาส่วนภูมิภาค และนายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ตรวจติดตามและให้กำลังใจประชาชนผู้ประสบอุทกภัย/เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในการฟื้นฟูช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่วัดเหมืองแดงเทศบาลตำบลแม่สาย อ.แม่สาย จ.เชียงราย และชุมชนป่าแดง ต.ริมกก อ.เมืองชร. จ.เชียงราย เพื่อตรวจเยี่ยมการกู้คืนระบบประปา ไฟฟ้า และระบบการระบายน้ำในเขตเทศบาลนครเชียงราย
 
แนวโน้มสถานการณ์ สถานการณ์อยู่ในระดับคลี่คลายมีฝนอ่อน- หนักในพื้นที่อำเภอเวียงป่าเป้า และอำเภอพานระดับน้ำสาย/น้ำกกลดลง/น้ำโขง ทรงตัว(ไม่เกินระดับวิกฤติ)
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI NEWS UPDATE

ข้อมูลน้ำท่วมเชียงราย 9 -18 ก.ย. 67 เสียชีวิต 14 ราย กระทบแล้ว 53,209 ครัวเรือน

 
ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ฯ รายงานสถานการณ์อุทกภัย และดินถล่ม ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ประจำวันที่ 18 กันยายน 2567
ข้อมูลสะสมระหว่างวันที่ 9 -18 ก.ย. 2567 รวมทั้งสิ้น 9 อำเภอ 35 ตำบล 167 หมู่บ้าน 1 เทศบาลนคร (52 ชุมชน) โดยตลาดชุมชนเศรษฐกิจ ได้รับผลกระทบ 2 แห่ง ร้านค้า/สถานประกอบการ 92 แห่ง ราษฎรได้รับผลกระทบเบื้องต้น 53,209 ครัวเรือน เสียชีวิต 14 ราย บาดเจ็บ 2 ราย พื้นที่เกษตรได้รับผลกระทบ 14,138 ไร่ ปศุสัตว์ได้รับผลกระทบ ได้แก่ โค 894 ตัว กระบือ 141 ตัว สุกร 1 ตัว แพะ/แกะ 25 ตัว สัตว์ปีก 19,500 ตัว สุนัข 145 ตัว และแมว 154 ตัว ด้านสิ่งสาธารณประโยชน์ได้รับผลกระทบ ได้แก่ โรงเรียน จำนวน 31 แห่ง ถนน 7 จุด และคอสะพาน 4 จุด
 
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ผู้อำนวยการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าไปช่วยเหลือ ซึ่งได้เตรียมการมาเป็นอย่างดีทั้งเครื่องมือ อุปกรณ์เครื่องจักรกล ยุทโธปกรณ์ พร้อมกำลังพลในการเข้าไปช่วยเหลือ อย่างเร่งด่วน แต่เนื่องจากเกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง หลายวัน ทำให้วันนี้ (18 กันยายน 2567) ได้เกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะที่ ได้แก่ ได้แก่ อ.เมืองเชียงราย, อ.เชียงแสน, อ.เชียงของ, อ.แม่จัน, อ.แม่ฟ้าหลวง, อ.แม่สาย, อ.ดอยหลวง, อ.เทิง และอ.เวียงแก่น เกิดน้ำท่วมหนักในรอบหลายปี อย่างไรก็ตาม นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจ และเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน หากประชาชนต้องการขอความช่วยเหลือ หรือแจ้งเหตุ แจ้งได้ตลอด 24 ช่วยโมง ที่สายด่วน 1784
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย รายงานสถานที่เกิดเหตุ/ความเสียหาย/การให้ความช่วยเหลือ (เหตุต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 8 ก.ย. 67 และสถานการณ์ในวันนี้ (18 ก.ย. 67) ดังนี้
 
อ.เมืองเชียงราย ภาพรวมสถานการณ์คลี่คลาย ดำเนินการฉีดล้างทำความพื้นที่ที่น้ำลดลงแล้ว ยังคงมีสถานการณ์บางส่วนในพื้นที่ชุมชนป่าแดง ชุมชนฝั่งหมิ่น และชุมชนบ้านใหม่ (เขตเทศบาลนครเชียงราย)
เขตเทศบาลนครเชียงราย พื้นที่ได้รับผลกระทบสะสม 52 ชุมชน เสียชีวิต 1 ราย ปัจจุบัน (วันที่ 18 ก.ย. 67) สถานการณ์คลี่คลาย บางชุมชนมีน้ำผุดท่อเนื่องจากท่อระบายน้ำอุดตัน (ได้แก่ พื้นที่ชุมชนป่าแดง และชุมชนฝั่งหมิ่น) และยังมีน้ำท่วมขังส่งกลิ่นเน่าเหม็นในพื้นที่ชุมชนบ้านใหม่) / เทศบาลนครเชียงรายดำเนินการ Big Cleaning Day จุดที่น้ำลดลงแล้วตั้งแต่วันที่ 14 ก.ย. 67 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน
 
แจ้งปิดใช้สะพานเนื่องจากน้ำท่วมสูง จำนวน 5 จุด/ คลี่คลายแล้วทุกจุด รถสามารถสัญจรผ่านได้ อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหายโครงสร้าง จุดที่ 1 สะพานแม่ฟ้าหลวง (ศาลากลางจังหวัดเชียงราย) เปิดใช้งานทั้งสองเลนส์ ตั้งแต่วันที่ 13 ก.ย. 67 คอสะพานบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยวัยที่ 3 ชุมชนน้ำลัด ขาด ผ่านไม่ได้ จุดที่ 2 สะพานขัวพญาเม็งราย (แยกบ้านใหม่ถึงแยกสถานีตำรวจภูธรเชียงราย) คลี่คลายแล้ว ตั้งแต่วันที่ 14 ก.ย.67จุดที่ 3 สะพานข้ามแม่น้ำกก (แขวงทางหลวงเชียงรายที่ 1 ถึง 5 แยกพ่อขุนเม็งราย) คลี่คลายแล้ว ตั้งแต่วันที่ 14 ก.ย.67 จุดที่ 4 สะพานเฉลิมพระเกียรติ (เส้นทางสนามกีฬากลาง โรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย) คลี่คลายแล้ว ตั้งแต่วันที่ 14 ก.ย.67 จุดที่ 5 สะพานใหม่บ้านหนองด่าน (ฮ่องอ้อ) จากแยกวัดห้วยปลากั้ง ไปทางโรงเรียนสามัคคี 2) คลี่คลายแล้ว ตั้งแต่วันที่ 12 ก.ย. 67
โรงเรียนในเขตเทศบาลนครเชียงรายประกาศหยุดเรียนจนกว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ เบื้องต้น 11 โรงเรียน 1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล 1- 8/ ร.ร.สามัคคีวิทยาคม/ ร.ร.อนุบาลเชียงราย (สันต้นเปา)/ ร.ร.อบจ.เชียงราย และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านใหม่ ความคืบหน้าสถานศึกษาที่เปิดเรียน ดังนี้
 
วันที่ 17 ก.ย. 67 สถานศึกษาที่เปิดเรียน จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ร.ร.สามัคคีวิทยาคม และ ร.ร.อนุบาลเชียงราย (สันต้นเปา) วันที่ 18 ก.ย. 67 สถานศึกษาที่เปิดเรียน จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ร.ร.เทศบาล 3 ศรีทรายมูล และร.ร.เทศบาล 4 สันป่าก่อ วันที่ 19 ก.ย. 67 สถานศึกษาที่เปิดเรียน จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ร.ร. เทศบาล 1 ศรีเกิด และ ร.ร.เทศบาล 5 เด่นห้า วันที่ 20 ก.ย. 67 สถานศึกษาที่เปิดเรียน จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านใหม่, ร.ร.เทศบาล 2 หนองบัว, ร.ร.เทศบาล 7 ฝั่งหมิ่น และ ร.ร.เทศบาล 8 บ้านใหม่
 
การประปาส่วนภูมิภาคสาขาเชียงราย หยุดระบบการผลิตและระบบจ่ายน้ำ (ตั้งแต่วันที่ 11 ก.ย. 67 เวลา 15.59 น.) อำเภอเมืองเชียงรายและอำเภอเวียงชัย ได้รับผลกระทบเต็มพื้นที่
 
– วันที่ 18 ก.ย. 67 เวลา 11.30 น. โรงสูบน้ำแรงดันต่ำ สถานีสูบน้ำวังคำ ประสบปัญหา ความขุ่นน้ำสูงและน้ำท่วมทำให้ตะกอนตกค้างไม่สามารถสูบน้ำผลิตได้ ทีมช่างลงกวนโคลนเพื่อให้กลายเป็นเลนเพื่อสูบระบายออกและได้รับการสนับสนุนรถดูดโคลนจิตอาสาและบุคลากรจาก อบจ.เชียงราย ปฏิบัติการดูดตะกอนตกค้าง/ เวลา 16.00 น. สามารถเดินเครื่องสูบน้ำ ผลิตน้ำได้อย่างต่อเนื่อง จ่ายน้ำอำเภอเวียงชัยเกือบเต็มระบบ (ขยายการผลิตถึง ร.ร.บ้านเวียงชัย และบ้านไชยนารายณ์ ซอย 2) และโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ศรีบุรินทร์ ต.สันทราย อ.เมืองเชียงราย พร้อมนี้ กปภ.สาขาเชียงราย จัดรถบริการน้ำแจกจ่ายควบคู่กับการระบายน้ำ จำนวน 6 คัน (ให้บริการตั้งแต่วันที่ 17 ก.ย.67 เป็นต้นมา) จุดบริการ ดังนี้
– รถน้ำ สาขาพะเยา ให้บริการ รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ อ.เมืองเชียงราย
– รถน้ำ สาขาเชียงราย ให้บริการ รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ อ.เมืองเชียงราย
– รถน้ำ สาขาลำปาง ให้บริการ รพ.โรงพยาบาลสมเด็จพระญาณสังวร อ.เวียงชัย
– รถน้ำเขต 10 คันที่ 1 ให้บริการจุดจ่ายน้ำ โครงการ A-star ต.ท่าสุด อ.เมืองเชียงราย
– รถน้ำเขต 10 คันที่ 2 ให้บริการจุดจ่ายน้ำ 7-11 ต.ท่าสาย อ.เมืองเชียงราย
– รถน้ำเขต 10 คันที่ 3 ให้บริการบริเวณมูลนิธิแสงธรรมสาธารณกุศลเชียงราย สำนักงานใหญ่ (โค้งหนองเหียง ซอย 4 ต.รอบเวียง อ.เมืองเชียงราย)
 
ต.รอบเวียง หมู่ที่ 1 – 5 ลำน้ำกก ลำน้ำกรณ์ และลำน้ำลาว ระดับน้ำได้ล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน และในพื้นที่ของหาดเชียงราย/ สถานการณ์คลี่คลาย ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง
 
ต.ดอยฮาง หมู่ที่ 2,3,4,5,6 ลำน้ำกกล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนและพื้นที่เกษตร บางหมู่บ้าน ถูกตัดขาด ใช้การลำเลียงน้ำและอาหารโดยรถยกสูง และอากาศยาน (หมู่ที่ 6 บ้านเรือนราษฎรถูกน้ำป่าไหลหลากพัดหายไป จำนวน 9 หลัง)
 
ต.แม่ยาว หมู่ที่ 1 -20 ลำน้ำกกล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน เร่งอพยพประชาชนและขนย้ายทรัพย์สินขึ้นที่สูง /สะพานแขวนฮาแหล่จ่ะ (สะพานไม้) ขาด ไม่สามารถสัญจรได้/ บ้านกะเหรี่ยงรวมมิตร บ้านแคววัวดำ บ้านพนาสวรรค์ บ้านผาขวาง และบ้านอาดี่ (บ้านบริวารบ้านผาสุก หมู่ที่ 20) ใช้การลำเลียงน้ำและอาหาร หญิงตั้งครรภ์ และผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยอากาศยาน/ วันที่ 15 ก.ย. 67 ดำเนินการปรับเกลี่ยดินสไลด์เพื่อเปิดใช้เส้นทาง/ วันที่ 16 ก.ย. 67 สามารถใช้รถออฟโรดเข้าพื้นที่ได้ บางจุดต้องใช้จักรยานยนต์วิบากในการลำเลียงน้ำและอาหาร
 
ต.ห้วยชมภู หมู่ที่ 1,4,5,6,10,11,16 น้ำป่าไหลหลากและดินสไลด์ปิดทับเส้นทาง/ บ้านจะคือ หมู่ที่ 10 ใช้การลำเลียงน้ำและอาหาร หญิงตั้งครรภ์ และผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยอากาศยาน เนื่องจากเส้นทางถูกตัดขาดโดยสิ้นเชิง
 
ต.ริมกก หมู่ที่ 1-7 วันที่ 11 ก.ย. 67 น้ำกกล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนของราษฎร/ บ้านเมืองงิม ม.4 พนังกั้นน้ำถูกกัดเซาะ อบต.ริมกก ดำเนินการจัดทำแนวตลิ่งเพื่อกันน้ำไม่ให้ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนของราษฎร พร้อมทั้งอพยพคนออกจากพื้นที่ที่น้ำท่วมสูง วันที่ 12 ก.ย. 67 น้ำเพิ่มระดับสูงขึ้น ไหลเชี่ยวและแรง บางจุดไม่สามารถอพยพประชาชนออกมาได้ ต้องใช้การลำเลียงน้ำและอาหาร โดยใช้โดรน และเจ๊ตสกี / วันที่ 14 ก.ย. 67 สถานการณ์คลี่คลาย ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง ถนนสามารถสัญจรผ่านได้ ภาพรวมสามารถฉีดล้างทำความสะอาดบ้านเรือนได้แล้ว ยังคงท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำบางส่วน
 
ต.บ้านดู่ ม. 1,10,12,15,16,17,20 น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติ
 
ต.แม่ข้าวต้ม ม. 3,4 น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร สถานการณ์คลี่คลายบางส่วน
 
ต.นางแล ม. 1,4,5,6,11,16 น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร สถานการณ์คลี่คลาย
อ.เชียงแสน จำนวน 6 ตำบล 38 หมู่บ้าน โรงเรียน 1 แห่ง พื้นที่เกษตร 14,138 ไร่ ถนน 2 สาย สะพาน 1 จุด คอสะพาน 1 จุด น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร พื้นที่เกษตร และเกิดดินสไลด์ ในพื้นที่ ดังนี้ ต.เวียง ม.1, 2, 3 ,4 ,5 ,6 ,7 ,8 , 9 น้ำล้นตลิ่งและเกิดดินสไลด์บ้านสบรวก ร้านค้า จำนวน 16 ร้าน ต.โยนก ม.1 ,2 ,4 ,6 ,7 ต.บ้านแซว ม.7 ,8 ,10 ,14 ต.ป่าสัก ม.1 ,2, 3, 5, 6 ,7 ,11 ,12, 13 ต.ศรีดอนมูล ม.1, 2 ,3 ,5 ,9 ,10 ,12, 13 และ ต.แม่เงิน ม.1, 5, 10
 
ปิดเส้นทางสัญจร
ปิดเส้นทางสะพานโยนกนาคนคร ม.1 และ ม.4 ต.โยนก เส้นบายพาส เนื่องจากแม่น้ำกกหนุนสูงท่วมปิดเส้นทางไม่สามารถสัญจรได้/ วันที่ 14 ก.ย. 67/ วันที่ 14 ก.ย. 67 สถานการณ์ปกติ สามารถสัญจรผ่านได้
 
ปิดเส้นทางหมายเลข 1290 ตอนแม่สาย – กิ่วกาญจน์ ระหว่าง กม.20+000 – กม.20+500 บ้านเวียงแก้ว ม.5 ต.ศรีดอนมูล – บ้านวังลาว ม.4 ต.เวียง เนื่องจากแม่น้ำรวกล้นตลิ่งท่วมถนน รถทุกชนิดไม่สามารถผ่านได้/ อยู่ระหว่างดำเนินการซ่อมแซม
อ.เชียงของ จำนวน 2 ตำบล 1 หมู่บ้าน
 
ต.เวียง หมู่ที่ 1 แม่น้ำโขงล้นตลิ่งหลากเข้าท่วมพื้นที่บริเวณท่าเรือบั๊ค บริเวณสวนสาธารณะปลาบึก 7 สี และบ้านเรือนราษฎรติดริมฝั่งโขง / ทต.เวียง อพยพประชาชนและขนย้ายทรัพย์สินขึ้นที่สูง เรียบร้อยแล้ว และ ต.ศรีดอนไชย น้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร ได้รับผลกระทบ
 
อ.แม่จัน แม่น้ำจัน-คำ หลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตรเป็นวงกว้าง ในพื้นที่ 7 ตำบล 15 หมู่บ้าน โรงเรียนได้รับผลกระทบ 3 โรงเรียน/ สถานการณ์คลี่คลาย ยังคงค้างในพื้นที่ลุ่มต่ำของตำบลแม่คำ
 
อ.แม่ฟ้าหลวง จำนวน 4 ตำบล 12 หมู่บ้าน (เสียชีวิตจากสะสม 5 ราย เกิดจากน้ำป่าไหลหลาก 1 ราย/ดินสไลด์ 4 ราย) ถนนเสียหาย 4 จุด คอสะพาน 3 จุด โรงเรียนได้รับผลกระทบ 8 โรงเรียน (ดินสไลด์ปิดเส้นทางเข้า-ออก)/ บ้านจะตี ต.เทอดไทย ดินปิดสไลด์เส้นทาง ใช้อากาศยานในการขนส่ง / วันที่ 16 ก.ย. 67 ผช. ผรส. บ้านปูนะ ต.เทอดไทย ร่วมกับชาวบ้านตัดต้นไม้และเคลียร์พื้นที่ดินสไลด์ ใช้แบคโฮเปิดเส้นทาง สามารถใช้รถยนต์และจักรยานยนต์ผ่านได้ ยังต้องใช้ความระมัดระวังบางจุด เนื่องจากยังมีดินสไลด์ลงมาเป็นระยะ ยังดำเนินการกู้ระบบไฟฟ้า ใช้ได้เพียงบางจุด
ต.แม่ฟ้าหลวง ม. 12,16,17
ต.แม่สลองนอก ม.7
ต.แม่สลองใน ม.3,4,5,15
ต.เทอดไทย ม.6,7,15,16
 
วันที่ 17 ก.ย. 67 กองพันสัตว์ต่าง กรมการสัตว์ทหารบก ตั้ง บก.ช่วยเหลือ ตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย. 2567 ณ อบต.แม่ฟ้าหลวง กำลังพล ทหาร 15 นาย อุปกรณ์ ล่อ 3 ตัว ช่วยขนย้ายสิ่งของจำเป็นให้กับผู้ประสบภัย
อ.แม่สาย น้ำท่วมพื้นที่ตลาดสายลมจอย และพื้นที่เศรษฐกิจ จำนวน 4 ตำบล 37 หมู่บ้าน (ชุมชนได้รับผลกระทบรุนแรง ได้แก่ ชุมชนแม่สาย ชุมชนเหมืองแดง ชุมชนเกาะทราย ชุมชนไม้ลุงขน) จำนวน 4 ตำบล โรงเรียนได้รับผลกระทบ 8 โรงเรียน ต.แม่สาย ม.2,3,6,7,8,10 ต.เวียงพางคำ ม.1-10 ต.เกาะช้าง ม. 1-13
ต.ศรีเมืองชุม ม.1-8
 
วันที่ 18 ก.ย. 67 สถานีผลิตน้ำเกาะช้าง จ่ายน้ำในพื้นที่ในโซนถนนเส้นทางหลักของหมู่บ้าน ได้แก่ บ้านสันผักฮี้ บ้านสันทราย บ้านเอื้ออาทร 1 และ 2 บ้านเหมืองแดงใต้ บ้านเหมืองแดง หมู่ 1 และ 2 ทั้งนี้ ได้มีการผันน้ำไปพื้นที่โซนศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน และโรงพยาบาลแม่สาย นอกจากโซนดังกล่าวที่มีการจ่ายน้ำ จะเป็นเพียงการจ่ายน้ำเป็นเวลา กปภ.สาขาแม่สาย จึงขอให้ผู้ใช้น้ำเตรียมการสำรองน้ำไว้ใช้ในเวลาที่น้ำไม่ไหล ทั้งนี้กปภ.สาขาแม่สาย โดยการสนับสนุนของ บริษัท วิค วอเตอร์ จำกัด นำเครื่องผลิตน้ำสะอาดขนาด 3,000 ลิตร/ชั่วโมง หรือ 60,000 ลิตร/วัน เพื่อนำมาผลิตน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภค – บริโภค จากน้ำผิวดินที่มีอยู่ สามารถมารับบริการได้ที่ตำบลเวียงพางคำ (เลยสี่แยกไฟแดงสถานีขนส่งแม่สาย ได้ทุกวัน บริการถึงเวลา 17.00 น.)/ กฟภ.สาขาแม่สาย ดำเนินการจ่ายไฟได้เกือบทั่วพื้นที่ ยกเว้นบางส่วนของบริเวณชุมชนไม้ลุงขน ชุมชนเกาะทราย ตลาดลายลมจอย และบ้านหัวฝาย โดยมีประกาศหยุดจ่ายไฟในวันที่ 21 ก.ย. 67 เพื่อปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้าแรงสูง
 
อ.ดอยหลวง จำนวน 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ต.หนองป่าก่อ หมู่ที่ 8 น้ำกัดเซาะถนนชำรุด ไม่สามารถสัญจรได้ อยู่ระหว่างซ่อมแซม/ 16 ก.ย.67 บ้านที่อยู่ติดถนนถูกน้ำพัดพาได้รับความเสียหาย
 
อ.เทิง จำนวน 3 ตำบล 4 หมู่บ้าน (สถานการณ์คลี่คลาย อยู่ระหว่างการซ่อมแซม) ต.งิ้ว ม.7,18 น้ำล้นออกจากอ่างเก็บน้ำขอนซุง เข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร ต.ปล้อง ม.2 น้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร ต.ตับเต่า ม.8 เสาค้ำสะพานสะพานเบลีย์ชำรุด/ เวลาประมาณ 14.00 น. หมวดทางหลวงเทิง แขวงทางหลวงเชียงรายที่ 2 และศูนย์สร้างและบูรณะสะพานที่ 1 (พิจิตร) เข้ามาดำเนินการซ่อมแซม หากไม่มีมีฝนตกคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2 วัน (วันที่ 16 ก.ย. 67)/ วันที่ 16 ก.ย. 67 ยังคงดำเนินการอยู่ ใกล้แล้วเสร็จ
 
อ.เวียงแก่น จำนวน 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ต.ปอ ม.2 น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย
 
การให้ความช่วยเหลือ
– จังหวัดเชียงราย ได้จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ปี พ.ศ. 2567 เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ในการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย และจัดหาปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีพ ผ่านทางธนาคาร กรุงไทย สาขาเชียงราย เลขที่บัญชี 504-3-23-732-5 ชื่อบัญชี กองทุนช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ปี พ.ศ. 2567 โดยสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 1 เท่า ยอดเงินบริจาค ณ วันที่ 18 ก.ย. 67 เวลา 16.00 น. จำนวน 6,266,907.98 บาท
 
– กองทัพเรือสนับสนุนเรือและยุทโธปกรณ์ เครื่องมือเร่งดำเนินการติดตั้งเคลื่อนย้ายเรือผลักดันน้ำ JET จำนวน 10 ลำ ยกจากเครนวางตามแนวลำน้ำอิง ประสิทธิภาพการไหลได้ วันละ 1 ล้านลูกบาก์เมตร เริ่มดันน้ำได้วันที่11 ก.ย. 67 เวลา 15.00 น. ณ สะพานข้ามแม่น้ำอิง อ.เทิง จ.เชียงราย
 
– สภากาชาดไทย สนับสนุนครัวสนามเคลื่อนที่ 1 คัน จุดตั้งโรงครัว ณ วัดพระสิงห์ ถ.ท่าหลวง ต.เวียง อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย ประกอบเลี้ยงตั้งแต่วันที่ 12 ก.ย. 67 จะประกอบเลี้ยงถึงวันพุธที่ 18 ก.ย. 67 (มื้อกลางวัน)
 
– มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ตั้งครัวพระราชทานช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และ อบจ.เชียงราย สนับสนุนรถครัวประกอบเลี้ยงอาหาร ณ จุดเดียวกัน บริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 (ตะเคียนคู่) ต.สันทราย อ.เมืองเชียงราย ตั้งแต่วันที่ 13 ก.ย. 67 และสนับสนุนถุงยังชีพพระราชทาน จำนวน 3,500 ถุง ถุงยังชีพสำหรับพระภิกษุสงฆ์ 105 ถุง จะประกอบเลี้ยงถึงวันพุธที่ 18 ก.ย. 67 (มื้อกลางวัน)/ วันที่ 19 ก.ย. 67 ดำเนินโครงการ “ฟื้นฟุชุมชน บรรเทาทุกข์ บำรุงสุขให้ยั่งยืน ” โดยมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ณ ที่ว่าการอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยมีบริการสุขภาพกาย สุขภาพจิต จ่ายยาพื้นฐานเบื้องต้น, ให้คำปรึกษาเอกสิทธิ์ของกลุ่มเปราะบาง, Fix it จิตอาสา ซ่อมแซมรถจักรยานยนต์ เครื่องจักรกลการเกษตร เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, แจกจ่ายอุปกรณ์ทำความสะอาด และประกอบอาหาร โรงครัวพระราชทาน
 
– กองทัพเรือ/หน่วยซีล สนับสนุน เรือ 9 ลำ รถบรรทุก 4 คัน ถุงยังชีพ 1,000 ชุด (ของ 918 150 ชุด) กำลังพล 50 นาย
– ฮ.ปภ.32 สนับสนุนภารกิจขนย้ายผู้ประสบภัย ลำเลียงถุงยังชีพและอาหารแห้งส่งมอบให้แก่ผู้ประสบภัย ในพื้นที่ตำบลแม่ยาว อำเภอเมืองเชียงราย จำนวน 2 เที่ยว ถุงยังชีพรวมทั้งสิ้น 150 ชุด จุดจอดสนามกีฬากลางโรงเรียนผาขวางวิทยา ต.แม่ยาว (แจกจ่ายในพื้นที่บ้านพนาสวรรค์ หมู่ที่ 13 และบ้านบริวาร (200 ถุง)/ บ้านออบเสือแหวน หมู่ที่ 15 และบ้านบริวาร (27 ถุง)/ บ้านผาสุข หมู่ที่ 20 และบ้านบริวาร (43 ถุง))
 
– ฮ.กรมฝนหลวงและการบินเกษตร/ฮ.ทอ./ ฮ.ตชด. 327/ ฮ.ทส. เตรียมความพร้อมรอคำสั่ง/ไม่มีภารกิจบิน
– ศูนย์ ปภ.เขต 15 เชียงราย /เขต 1 ปทุมธานี/ เขต 2 สุพรรณบุรี /เขต 3 ปราจีนบุรี/ เขต 4 ประจวบคีรีขันธ์/ เขต 8 กำแพงเพชร /เขต 9 พิษณุโลก /เขต 11 สุราษฎร์ธานี และเขต 16 ชัยนาท สนับสนุนเครื่องจักรกลสาธารณภัยด้านปฏิบัติการ (อุทกภัย) และกำลังพล
 
วันที่ 16 ก.ย. 67 สนับสนุนภารกิจ Big Cleaning Day ในเขตเทศบาลนครเชียงราย / สนับสนุนรถบรรทุกน้ำอเนกประสงค์ขนาด 12,000 ลิตรรับน้ำแจกจ่ายน้ำสะอาดให้แก่โรงพยาบาลและพื้นที่ชุมชนในเขตอำเภอเมืองเชียงราย อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสน และอำเภอเวียงชัย/ ภารกิจวาง Big Bag จุดแนวกระสอบทรายชำรุดบริเวณจุดสะพานมิตรภาพแห่งที่ 1 ไทย – เมียนมา
 
ศูนย์พักพิง ที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวอยู่ ณ วันที่ 18 ก.ย. 67 รวมทั้งสิ้น 13 แห่ง
แบ่งตามขอบเขตการปกครอง ได้แก่ อ.เมืองเชียงราย 4 แห่ง/ อ.แม่สาย 8 แห่ง/ อ.เวียงชัย 1 แห่ง
ศูนย์พักพิงฯ ที่มีทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ เยียวยาจิตใจ แจกจ่ายยาและเวชภัณฑ์ จำนวน 7 แห่ง
ศูนย์พักพิงฯ ในความดูแลของกระทรวง พม. จำนวน 1 แห่ง (ได้แก่ ศูนย์พักพิงบ้านเอื้ออาทรแม่สาย 1 คงค้างพักพิงอยู่ จำนวน 17 คน)
 
รายละเอียดดังนี้
อำเภอเมืองเชียงราย ที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราว จำนวน 4 แห่ง
ในเขตเทศบาลนครเชียงราย ทน.เชียงราย จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวอยู่ ณ ปัจจุบัน จำนวน 2 แห่ง ได้แก่
จุดโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่* มีทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ เยียวยาจิตใจ แจกจ่ายยาและเวชภัณฑ์
 
จุดโรงเรียน อบจ. เชียงราย* มีทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ เยียวยาจิตใจ แจกจ่ายยาและเวชภัณฑ์
ศูนย์พักพิงชั่วคราว ช่วยเหลือผู้ประสบภัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย/ คงค้างจำนวน
18 ครอบครัว 50 คน ปิดศูนย์พักพิงฯ แล้ว ในวันที่ 18 ก.ย. 67
 
ตำบลแม่ยาว ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่ยาว กำกับดูแลโดย ทต.แม่ยาว
ตำบลดอยฮาง วันที่ 16 ก.ย. 67 เวลา 17.00 น. จัดตั้งศูนย์พักพิง ณ บ้านโป่งนาคำ มีผู้พักพิงประมาณ 50 คน มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้นำเต็นท์นอนพระราชทาน ขนาด 2 คน จำนวน 50 หลัง มอบให้แก่ราษฎรผู้ประสบอุทกภัยฯ (**เปิดใหม่**)
 
อำเภอแม่สาย ที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวอยู่ ณ ปัจจุบัน 8 แห่ง รวมทั้งสิ้น 994 คน (โดยเป็นศูนย์พักพิงฯ ที่มีทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการ จำนวน 5 แห่ง, ศูนย์พักพิงในความดูแลของกระทรวง พม. 1 แห่ง )
 
ศูนย์พักพิงเทศบาลตำบลแม่สาย* คงค้างจำนวน 51 ราย (ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.สต.เชียงแสน/ รพ.สต.ฮ่องแฮ่/ รพ.สต.บ้านด้าย)
 
ศูนย์พักพิงวัดพรหมวิหาร* คงค้างจำนวน 327 ราย (ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.แม่สาย, ทีม MCATT, รพ.ดอยหลวง, รพ.ค่ายเม็งรายมหาราช)
 
ศูนย์พักพิงวัดเหมืองแดง* คงค้างจำนวน 162 ราย (ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.พญาเม็งราย, ทีม MCATT จาก รพ.สวนปรุง, รพ.สต.แม่สาย)
ศูนย์พักพิง รพ.สต.เกาะช้าง* คงค้างจำนวน 56 ราย (ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการ
ด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.สต.เกาะช้าง)
 
ศูนย์พักพิงวัดมงคลธรรมกายาราม* คงค้างจำนวน 24 ราย (ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.สต.โป่งงาม และ รพ.สต.บ้านถ้ำ)
ศูนย์พักพิงโบสถ์คริสต์ คงค้างจำนวน 37 คน
ศูนย์พักพิงวัดถ้ำผาจม คงค้างจำนวน 320 คน
 
ศูนย์พักพิงบ้านเอื้ออาทรแม่สาย 1 คงค้างจำนวน 17 คน (ในความดูแลของกระทรวง พม.)
อำเภอเวียงชัย ที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวอยู่ ณ ปัจจุบัน จำนวน 1 แห่ง ศูนย์ศุภนิมิตรเพื่อการพัฒนา ต.เวียงเหนือ อ.เวียงชัย ปรับสภาพเป็นศูนย์พักคอยเนื่องจากประชาชนเริ่มกลับไปทำความสะอาดบ้านเรือนและมานอนที่ศูนย์ฯ ในตอนกลางคืน
 
นพค.31 /นพค.32/นพค.34 สนับสนุนกำลังพล รถครัวสนาม และรถสุขาเคลื่อนที่
มูลนิธิสมาคมกู้ชีพกู้ภัย อาสาสมัคร จิตอาสาภาคประชาชน ร้านค้า/ผู้ประกอบการ สนับสนุนปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย ให้ที่พักพิงชั่วคราว มอบอาหารปรุงสำเร็จ และถุงยังชีพ
 
จิตอาสาราชทัณฑ์ (จอส.รท.) จัดส่งเจ้าหน้าที่และนักโทษเด็ดขาดหรือผู้ต้องกักขังที่ได้รับอนุมัติจ่ายออกทำงานสาธารณะหรือได้รับอนุญาตให้ออกทำงานนอกเรือนจำ สนับสนุนภารกิจครัวสนาม และบรรจุถุงยังชีพ ณ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 15 เชียงราย จำนวน 10 นาย
 
วิทยาลัยอาชีวศึกษาและโรงเรียนในเครือ ดำเนินโครงการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน Fix It Center ตั้งจุดบริการและจัดชุดเคลื่อนที่ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม โดยจะช่วยซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ รวมถึงยานพาหนะที่เสียหาย เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 14 ก.ย. เป็นต้นมา /วันที่ 17 ก.ย. 67
 
รมว.ศึกษาธิการ เน้นย้ำให้ดูแลโรงเรียนก่อนเป็นลำดับแรก / สถานศึกษา สอศ. ที่ร่วมปฏิบัติงานจากทั่วประเทศ ประจำวันที่ 18 ก.ย. 67 จำนวน 43 แห่ง ปฏิบัติงานในพื้นที่ประสบอุทกภัย จ.เชียงราย 18 แห่ง
วันที่ 17 ก.ย. 67 ทภ.3 จัดตั้ง ศบภ.ทภ.3 ส่วนหน้า ณ ที่ว่าการอำเภอแม่สาย เพื่ออำนวยการประสานงานการให้ความช่วยเหลือประชาชนของหน่วยทหารทุกหน่วย ในพื้นที่ อ.แม่สาย
 
อบจ.เชียงราย ดำเนินการดังนี้ เปิดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย อบจ. เชียงราย ณ อาคารคชสาร (สนามกีฬากลาง อบจ.เชียงราย) ระหว่างวันที่ 18 – 22 กันยายน 2567 เวลา 08.00 – 16.00 น. โดยเป็นจุดให้บริการ ดังนี้ จุดรับน้ำดื่ม จุดโรงครัว (มื้อเช้า กลางวัน เย็น) จุดรับและมอบของบริจาค จุดปฐมพยาบาล (ทำแผล ฉีดบาดทะยัก คอตีบ และจ่ายยาสามัญ/เวชภัณฑ์)
 
ให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วม ด้านดำรงชีพ ดังนี้ ค่าใช้จ่ายด้านดำรงชีพ ได้แก่ ค่าเครื่องนุ่งห่ม รายละไม่เกิน 1,100 บาท ค่าเครื่องมือประกอบอาชีพ เท่าที่จ่ายจริง ครอบครัวละไม่เกิน 11,400 บาท ค่าเครื่องครัวและอุปกรณ์ในการประกอบอาหาร เท่าที่จ่ายจริง ครอบครัวละไม่เกิน 3,500 บาท ค่าเครื่องนอน รายละไม่เกิน 1,000 บาท
หลักฐานที่ต้องเตรียม ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนของเจ้าของบ้านที่ประสบภัย รูปภาพความเสียหาย
การขอรับความช่วยเหลือ ผ่าน อบต. หรือ ทต. ที่ประสบภัย ในวันและเวลาราชการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อบจ.เชียงราย ฝ่ายสงเคราะห์ผู้ประสบภัย โทร. 053175329 หรือ 053175333 ต่อ 1402 ในวันและเวลาราชการ สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร สนับสนุนรถดูดโคลน จำนวน 2 คัน พร้อมบุคลากรผู้เชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานฯ
 
กรมโยธาธิการและผังเมือง สนับสนุนบุคลากร สำรวจ/วางแผน บริหารจัดการให้เป็นไปตามระบบหลักเพื่อบรรเทาน้ำท่วมชุมชนเมือง
 
วันที่ 18 – 19 ก.ย. 67 นางสาวซาบีดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์และตรวจเยี่ยมประชาชนผู้ประสบอุทกภัย ในพื้นที่อำเภอแม่สาย และตรวจเยี่ยมผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงราย พร้อมทั้ง ร่วมกิจกรรม Big Cleaning Day ณ ชุมชนกกโท้ง ชุมชนบ้านไร่ และชุมชนวังดิน
วันที่ 18 ก.ย. 67 เวลา 10.00 น. นายปริญญา วงษ์เชิดขวัญ วุฒิสภาด้านการศึกษา ตรวจเยี่ยมศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยและดินถล่ม จังหวัดเชียงราย ณ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 15 เชียงราย พร้อมติดตามสถานการณ์และการให้ความช่วยเหลือ พร้อมทั้งได้ตั้งจุดบริการประชาชน โดยได้รับการสนับสนุนบุคลากรจากโรงเรียนเอกชน จำนวน 2 จุด บริการตัดผม อาหารปรุงสุก และแจกจ่ายสิ่งของจำเป็นสำหรับผู้ประสบภัย จุดที่ 1 บริเวณบ้านน้ำลัด อ.เมืองเชียงราย จุดที่ 2 ใกล้ด่านพรมแดนแม่สาย อ.แม่สาย
 
การอำนวยการ/สั่งการ ประจำวันที่ 18 ก.ย. 2567
จังหวัดเชียงราย กำหนด Big Cleaning Day ในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงราย ดังนี้ วันอาทิตย์ที่ 15 ก.ย. 2567 Kick Off ณ บริเวณศาลากลางจังหวัดเชียงราย (จุดที่ 1) และบริเวณอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช (จุดที่ 2) ระหว่างวันที่ 16 – 18 ก.ย. 67 กำหนดแผนปฏิบัติการทำความสะอาดพื้นที่เมืองเชียงราย โดยกำหนดโซนดำเนินการเป็น 4 โซน ดังนี้
โซนที่ 1 ได้แก่ ชุมชนร่องเสือเต้น ชุมชนบ้านใหม่ หากแล้วเสร็จดำเนินการต่อในพื้นที่ชุมชนสันตาลเหลือง ชุมชนสันต้นเปา และชุมชนป่าตึงริมกก
 
โซนที่ 2 ได้แก่ ชุมชนป่าแดง ชุมชนฝั่งหมิ่น หากแล้วเสร็จดำเนินการต่อในพื้นที่ชุมชนรั้วเหล็กใต้, ชุมชนรั้วเหล็กเหนือ ชุมชนกกโท้งใต้ และชุมชนกองยาว
 
โซนที่ 3 ได้แก่ ชุมชนน้ำลัด หากแล้วเสร็จดำเนินการต่อในพื้นที่ชุมชนเกาะลอย ชุมชนป่างิ้ว ชุมชนเทิดพระเกียรติ ชุมชนราชเดชดารง ชุมชนทวีรัตน์ ชุมชนบ้านไร่ ชุมชนฮ่องลี่ และชุมชนดอยทอง
 
โซนที่ 4 ได้แก่ ชุมชนแควหวาย ชุมชนมุสลิมกกโท้ง หากแล้วเสร็จดำเนินการต่อในพื้นที่ชุมชนบ้านไร่ ชุมชนเกาะทอง ชุมชนริมน้ำกก ชุมชน ชุมชนวังดิน และชุมชนร่องปลาค้าว)
 
แผนปฏิบัติการลำเลียงน้ำและอาหาร (อาหารแห้ง) สำหรับพื้นที่ถูกตัดขาดเส้นทางโดยสิ้นเชิง อยู่ระหว่างเปิดใช้เส้นทางและดำเนินการเรียบร้อยแล้วเป็นบางจุด ให้ใช้การสัญจรทางบกในการลำเลียงเป็นหลัก/ สำหรับพื้นที่อำเภอแม่ฟ้าหลวง หากมีการร้องขอเรื่องน้ำและอาหารเร่งด่วนฉุกเฉิน จำเป็นต้องใช้อากาศยาน มอบให้ ตชด.327
 
รับประสานการปฏิบัติ ทั้งนี้ สายทางที่ได้รับความเสียหาย ให้หน่วยงานเจ้าของสายทางและหน่วยงานสนับสนุนดำเนินการเร่งรัดเปิดใช้เส้นทางโดยเร็วที่สุด
 
การปฏิบัติการทางอากาศ ให้ใช้กรณีฉุกเฉินเร่งด่วน เช่น การลำเลียงผู้ป่วยวิกฤติ สำหรับการขนส่งน้ำและอาหารพิจารณาเป็นรายกรณี เนื่องจากเปิดใช้เส้นทางลำเลียงทางบกได้แล้ว ซึ่งบรรทุกได้เป็นจำนวนมากและประชาชนเข้าถึงการแจกจ่ายได้ง่ายกว่าการใช้อากาศยาน
 
ในระยะนี้เป็นช่วงฟื้นฟูบูรณะ และ Big Cleaning Day ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม มอบหมาย สนง.ปภ.จ.เชียงราย จัดสรรสิ่งของและอุปกรณ์ทำความสะอาดที่ได้รับบริจาคกระจายลงไปทั่วทุกจุด อปท.ที่ไม่ได้ประสบสาธารณภัยรวมทั้งหน่วยงานที่มีรถน้ำให้สนับสนุนภารกิจจนกว่าจะแล้วเสร็จ
 
ให้หน่วยบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข จัดชุดปฏิบัติการ “เคาะประตูบ้าน” เพื่อติดตามสถานการณ์โรคที่อาจมากับน้ำท่วม และเยียวยาจิตใจผู้ประสบภัย พร้อมทั้งให้จัดสรรยารักษาน้ำกัดเท้า ยากันยุง ยาแก้คัน และยารักษาโรคผิวหนัง เพิ่มเติมจากยาและเวชภัณฑ์เดิมที่เคยแจกจ่าย เนื่องจากประชาชนมีความต้องการเป็นอย่างมาก ให้ตำรวจสอดส่องและรักษาความปลอดภัยให้กับบ้านและทรัพย์สินของประชาชน เพื่อป้องกันโจรลักขโมย ให้ความสำคัญในการเร่งรัดดำเนินการให้ความช่วยเหลือด้านดำรงชีพของประชาชนเป็นอันดับแรก
 
(ที่อยู่อาศัย การดำรงชีวิต ผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต) ด้านเกษตรให้เร่งรัดการสำรวจความเสียหาย และจัดประชุม ก.ช.ภ.อ. และ ก.ช.ภ.จ. ต่อไป ให้เทศบาลนครเชียงราย จัดหายาเวชภัณฑ์ยากันยุง/ยาทาแก้น้ำกัดเท้า นำไปแจกจ่ายผู้ประสบภัย ให้สถาบันอาชีวะ ขอชมรมช่างฯ เปิดซ่อมสร้าง 5 จุด ได้แก่ สนง.ขนส่ง/ร.ร.เทศบาล 7/ร.ร.เทศบาล 8/ ฮ่องลี่/เกาะทอง ให้สำนักงาน ปภ.จ.เชียงราย จัดหาถุงมือสำหรับผู้ปฏิบัติงาน/ถุงมือแพทย์ และสนับสนุนน้ำมันสำหรับเครื่องจักรกลที่นำมาปฏิบัติงาน
 
แนวโน้มสถานการณ์ สถานการณ์อยู่ในระดับคลี่คลาย-เฝ้าระวัง ไม่มีฝนตก ระดับน้ำสาย/น้ำกกลดลง/น้ำโขง แนวโน้มลดลง
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI TOP STORIES

สรุปน้ำท่วม 7 วัน ใน จ.เชียงราย 53,209 ครัวเรือน ได้รับผลกระทบ

 

เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2567 ข้อมูลสะสมระหว่างวันที่ 9 -15 ก.ย. 2567 ทั้งสิ้น 9 อำเภอ 35 ตำบล 167 หมู่บ้าน 1 เทศบาลนคร (52 ชุมชน) ได้แก่ โดยตลาดชุมชนเศรษฐกิจ ได้รับผลกระทบ 2 แห่ง ร้านค้า/สถานประกอบการ 92 แห่ง ราษฎรได้รับผลกระทบเบื้องต้น 53,209 ครัวเรือน พื้นที่เกษตรได้รับผลกระทบ 14,138 ไร่ เสียชีวิต 12 ราย บาดเจ็บ 2 ราย โรงเรียน จำนวน 31 แห่ง ถนน 7 จุด และคอสะพาน 4 จุด

ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ผู้อำนวยการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าไปช่วยเหลือ ซึ่งได้เตรียมการมาเป็นอย่างดีทั้งเครื่องมือ อุปกรณ์เครื่องจักรกล ยุทโธปกรณ์ พร้อมกำลังพลในการเข้าไปช่วยเหลือ อย่างเร่งด่วน แต่เนื่องจากเกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง หลายวัน ทำให้วันนี้ (15 กันยายน 2567) ได้เกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะที่ อ.เมืองเชียงราย, อ.เชียงแสน, อ.เชียงของ, อ.แม่จัน, อ.แม่ฟ้าหลวง, อ.แม่สาย, อ.ดอยหลวง, อ.เทิง และอ.เวียงแก่น เกิดน้ำท่วมหนักในรอบหลายปี อย่างไรก็ตาม นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจ และเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน หากประชาชนต้องการขอความช่วยเหลือ หรือแจ้งเหตุ แจ้งได้ตลอด 24 ช่วยโมง ที่สายด่วน 1784
 
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย รายงานสถานที่เกิดเหตุ/ความเสียหาย/การให้ความช่วยเหลือ (เหตุต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 8 ก.ย. 67 และสถานการณ์ในวันนี้ (15 ก.ย. 67) ดังนี้
อ.เมืองเชียงราย ได้รับผลกระทบ 3 ตำบล 6 หมู่บ้าน (ในเขตเทศบาลนครเชียงราย สถานการณ์คลี่คลาย) เขตเทศบาลนครเชียงราย พื้นที่ได้รับผลกระทบสะสม 52 ชุมชน เสียชีวิต 1 ราย สถานการณ์คลี่คลาย ระดับน้ำจนเกือบเข้าสู่ภาวะปกติ บางชุมชนมีน้ำผุดท่อเนื่องจากท่อระบายน้ำอุดตัน เทศบาลนครเชียงรายดำเนินการ Big Cleaning Day จุดที่น้ำลดลงแล้วตั้งแต่วันที่ 14 ก.ย. 67 เป็นต้นมา
 
– แจ้งปิดใช้สะพานเนื่องจากน้ำท่วมสูง จำนวน 5 จุด/ คลี่คลายแล้วทุกจุด รถสามารถสัญจรผ่านได้ อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหายโครงสร้าง จุดที่ 1 สะพานแม่ฟ้าหลวง (ศาลากลางจังหวัดเชียงราย) เปิดใช้งานทั้งสองเลนส์ ตั้งแต่วันที่ 13 ก.ย. 67 คอสะพานบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยวัยที่ 3 ชุมชนน้ำลัด ขาด ผ่านไม่ได้ จุดที่ 2 สะพานขัวพญาเม็งราย (แยกบ้านใหม่ถึงแยกสถานีตำรวจภูธรเชียงราย) คลี่คลายแล้ว ในวันที่ 14 ก.ย.67 จุดที่ 3 สะพานข้ามแม่น้ำกก (แขวงทางหลวงเชียงรายที่ 1 ถึง 5 แยกพ่อขุนเม็งราย) คลี่คลายแล้ว ในวันที่ 14 ก.ย.67 จุดที่ 4 สะพานเฉลิมพระเกียรติ (เส้นทางสนามกีฬากลาง โรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย
 
ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย) คลี่คลายแล้ว ในวันที่ 14 ก.ย.67 จุดที่ 5 สะพานใหม่บ้านหนองด่าน (ฮ่องอ้อ) จากแยกวัดห้วยปลากั้ง ไปทางโรงเรียนสามัคคี 2) คลี่คลายแล้ว ตั้งแต่วันที่ 12 ก.ย. 67
 
– โรงเรียนในเขตเทศบาลนครเชียงรายประกาศหยุดเรียนจนกว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ เบื้องต้น 11 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล 1- 8/ รร.สามัคคีวิทยาคม/ รร.อนุบาลเชียงราย (สันต้นเปา)/ รร.อบจ.เชียงราย (ปัจจุบันยงคงปิดการเรียนการสอนอยู่)
 
– การประปาส่วนภูมิภาคสาขาเชียงราย หยุดระบบการผลิตและระบบจ่ายน้ำ (ตั้งแต่วันที่ 11 ก.ย. 67 เวลา 15.59 น.) อำเภอเมืองเชียงรายและอำเภอเวียงชัย ได้รับผลกระทบเต็มพื้นที่/ วันที่ 15 ก.ย. 67 กปภ. สาขาเชียงราย เริ่มจ่ายน้ำในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงรายและอำเภอเวียงชัยบางส่วน ประชาชนจะได้ใช้น้ำประมาณ 48,109 ราย
 
ต.รอบเวียง หมู่ที่ 1 – 5 ลำน้ำกก ลำน้ำกรณ์ และลำน้ำลาว ระดับน้ำได้ล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน และในพื้นที่ของหาดเชียงราย/ สถานการณ์คลี่คลาย ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง ต.ดอยฮาง หมู่ที่ 2,3,4,5,6 ลำน้ำกกล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนและพื้นที่เกษตร บางหมู่บ้าน ถูกตัดขาด ใช้การลำเลียงน้ำและอาหารโดยรถยกสูง และอากาศยาน ต.แม่ยาว หมู่ที่ 1 -20 ลำน้ำกกล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน เร่งอพยพประชาชนและขนย้ายทรัพย์สินขึ้นที่สูง /สะพานแขวนฮาแหล่จ่ะ (สะพานไม้) ขาด ไม่สามารถสัญจรได้/ บ้านกะเหรี่ยงรวมมิตร บ้านแคววัวดำ และบ้านอาดี่ (บ้านบริวารบ้านผาสุก หมู่ที่ 20) ใช้การลำเลียงน้ำและอาหาร หญิงตั้งครรภ์ และผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยอากาศยาน
 
วันที่ 15 ก.ย. 67 ดำเนินการปรับเกลี่ยดินสไลด์เพื่อเปิดใช้เส้นทาง ต.ห้วยชมภู หมู่ที่ 1,4,5,6,10,11,16 น้ำป่าไหลหลากและดินสไลด์ปิดทับเส้นทาง/ บ้านจะคือ หมู่ที่ 10 ใช้การลำเลียงน้ำและอาหาร หญิงตั้งครรภ์ และผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยอากาศยาน เนื่องจากเส้นทางถูกตัดขาดโดยสิ้นเชิงต.ริมกก หมู่ที่ 1-7 วันที่ 11 ก.ย. 67 น้ำกกล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนของราษฎร/ บ้านเมืองงิม ม.4 พนังกั้นน้ำถูกกัดเซาะ อบต.ริมกก ดำเนินการจัดทำแนวตลิ่งเพื่อกันน้ำไม่ให้ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนของราษฎร พร้อมทั้งอพยพคนออกจากพื้นที่ที่น้ำท่วมสูง วันที่ 12 ก.ย. 67 น้ำเพิ่มระดับสูงขึ้น ไหลเชี่ยวและแรง บางจุดไม่สามารถอพยพประชาชนออกมาได้ ต้องใช้การลำเลียงน้ำและอาหาร 
 
โดยใช้โดรน และเจ๊ตสกี / วันที่ 14 ก.ย. 67 สถานการณ์คลี่คลาย ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง ถนนสามารถสัญจรผ่านได้ ภาพรวมสามารถฉีดล้างทำความสะอาดบ้านเรือนได้แล้ว ยังคงท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำบางส่วน ต.บ้านดู่ ม. 1,10,12,15,16,17,20 น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ต.แม่ข้าวต้ม ม. 3,4 น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร สถานการณ์คลี่คลายบางส่วน ต.นางแล ม. 1,4,5,6,11,16 น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร สถานการณ์คลี่คลาย
 
อ.เชียงแสน จำนวน 6 ตำบล 38 หมู่บ้าน โรงเรียน 1 แห่ง พื้นที่เกษตร 14,138 ไร่ ถนน 2 สาย สะพาน 1 จุด คอสะพาน 1 จุด น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร พื้นที่เกษตร และเกิดดินสไลด์ ในพื้นที่ ดังนี้ ต.เวียง ม.1, 2, 3 ,4 ,5 ,6 ,7 ,8 , 9 น้ำล้นตลิ่งและเกิดดินสไลด์บ้านสบรวก ร้านค้า จำนวน 16 ร้าน ต.โยนก ม.1 ,2 ,4 ,6 ,7 ต.บ้านแซว ม.7 ,8 ,10 ,14 ต.ป่าสัก ม.1 ,2, 3, 5, 6 ,7 ,11 ,12, 13
 
ต.ศรีดอนมูล ม.1, 2 ,3 ,5 ,9 ,10 ,12, 13 ต.แม่เงิน ม.1, 5, 10 ปิดเส้นทางสัญจร ปิดเส้นทางสะพานโยนกนาคนคร ม.1 และ ม.4 ต.โยนก เส้นบายพาส เนื่องจากแม่น้ำกกหนุนสูง ท่วมปิดเส้นทางไม่สามารถสัญจรได้/ วันที่ 14 ก.ย. 67/ วันที่ 14 ก.ย. 67 สถานการณ์ปกติ สามารถสัญจรผ่านได้
 
ปิดเส้นทางหมายเลข 1290 ตอนแม่สาย – กิ่วกาญจน์ ระหว่าง กม.20+000 – กม.20+500 บ้านเวียงแก้ว ม.5 ต.ศรีดอนมูล – บ้านวังลาว ม.4 ต.เวียง เนื่องจากแม่น้ำรวกล้นตลิ่งท่วมถนน รถทุกชนิดไม่สามารถผ่านได้/ อยู่ระหว่างดำเนินการซ่อมแซม
อ.เชียงของ จำนวน 2 ตำบล 1 หมู่บ้าน ต.เวียง หมู่ที่ 1 แม่น้ำโขงล้นตลิ่งหลากเข้าท่วมพื้นที่บริเวณท่าเรือบั๊ค บริเวณสวนสาธารณะปลาบึก 7 สี และบ้านเรือนราษฎรติดริมฝั่งโขง / ทต.เวียง อพยพประชาชนและขนย้ายทรัพย์สินขึ้นที่สูง เรียบร้อยแล้ว และต.ศรีดอนไชย น้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร ได้รับผลกระทบ
 
อ.แม่จัน แม่น้ำจัน-คำ หลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตรเป็นวงกว้าง ในพื้นที่ 7 ตำบล 15 หมู่บ้าน โรงเรียนได้รับผลกระทบ 3 โรงเรียน/ สถานการณ์คลี่คลาย ยังคงค้างในพื้นที่ลุ่มต่ำของตำบลแม่คำ
 
อ.แม่ฟ้าหลวง จำนวน 4 ตำบล 12 หมู่บ้าน (เสียชีวิตจากสะสม 5 ราย เกิดจากน้ำป่าไหลหลาก 1 ราย/
ดินสไลด์ 4 ราย) ถนนเสียหาย 4 จุด คอสะพาน 3 จุด โรงเรียนได้รับผลกระทบ 8 โรงเรียน (ดินสไลด์ปิดเส้นทางเข้า-ออก)/ บ้านจะตี ต.เทอดไทย ดินปิดสไลด์เส้นทาง ใช้อากาศยานในการขนส่ง ต.แม่ฟ้าหลวง ม. 12,16,17 ต.แม่สลองนอก ม.7 ต.แม่สลองใน ม.3,4,5,15 และ ต.เทอดไทย ม.6,7,15,16
 
อ.แม่สาย น้ำท่วมพื้นที่ตลาดสายลมจอย และพื้นที่เศรษฐกิจ จำนวน 4 ตำบล 37 หมู่บ้าน (ชุมชนได้รับผลกระทบรุนแรง ได้แก่ ชุมชนแม่สาย ชุมชนเหมืองแดง ชุมชนเกาะทราย ชุมชนไม้ลุงขน) จำนวน 4 ตำบล โรงเรียนได้รับผลกระทบ 8 โรงเรียน ต. แม่สาย ม.2,3,6,7,8,10 ต.เวียงพางคำ ม.1-10 ต.เกาะช้าง ม. 1-13 และต.ศรีเมืองชุม ม.1-8 วันที่ 15 ก.ย. 67 สถานการณ์คลี่คลาย ระดับแม่น้ำสายลดลงจากเดิมประมาณ 50 เซนติเมตร พื้นที่วิกฤติ ได้แก่ ชุมชนเกาะทราย ซ.7, ชุมชนไม้ลุงขน, ชุมชนเกาะสวรรค์ ซ.4,5,6 ระดับน้ำลดลง บางจุดยังมีน้ำท่วมขังแต่สามารถเดินเท้าผ่านได้ ยังคงค้างตะกอนดินโคลนเป็นจำนวนมาก สามารถลำเลียงน้ำ/อาหาร และเคลื่อนย้ายประชาชนโดยใช้รถทหาร(FTS) ได้แล้ว ไม่ต้องใช้เรือ/ อำเภอแม่สายดำเนินการ Big Cleaning Day จุดที่น้ำลดลงแล้วตั้งแต่วันที่ 14 ก.ย. 67 เป็นต้นมา
 
อ.ดอยหลวง จำนวน 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ต.หนองป่าก่อ หมู่ที่ 8 น้ำกัดเซาะถนนชำรุด ไม่สามารถสัญจรได้ อยู่ระหว่างซ่อมแซม
 
อ.เทิง จำนวน 3 ตำบล 4 หมู่บ้าน (สถานการณ์คลี่คลาย อยู่ระหว่างการซ่อมแซม) ต.งิ้ว ม.7,18 น้ำล้นออกจากอ่างเก็บน้ำขอนซุง เข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร ต.ปล้อง ม.2 น้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร และต.ตับเต่า ม.8 เสาค้ำสะพานสะพานเบลีย์ชำรุด/ เวลาประมาณ 14.00 น. หมวดทางหลวงเทิง แขวงทางหลวงเชียงรายที่ 2 และศูนย์สร้างและบูรณะสะพานที่ 1 (พิจิตร) เข้ามาดำเนินการซ่อมแซม หากไม่มีมีฝนตกคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2 วัน (วันที่ 16 ก.ย. 67)
 
อ.เวียงแก่น จำนวน 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ต.ปอ ม.2 น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย
 
การให้ความช่วยเหลือ
– กองทัพเรือสนับสนุนเรือและยุทโธปกรณ์ เครื่องมือเร่งดำเนินการติดตั้งเคลื่อนย้ายเรือผลักดันน้ำ JET จำนวน 10 ลำ ยกจากเครนวางตามแนวลำน้ำอิง ประสิทธิภาพการไหลได้ วันละ 1 ล้านลูกบาก์เมตร เริ่มดันน้ำได้วันที่11 ก.ย.67 เวลา15.00 น. ณ สะพานข้ามแม่น้ำอิง อ.เทิง จ.เชียงราย
– สภากาชาดไทย สนับสนุนครัวสนามเคลื่อนที่ 1 คัน จุดตั้งโรงครัว ณ วัดพระสิงห์ ถ.ท่าหลวง ต.เวียง
อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย ประกอบเลี้ยงตั้งแต่วันที่ 12 ก.ย. 67 จะประกอบเลี้ยงถึงวันอังคารที่ 17 ก.ย. 67 (มื้อกลางวัน)
– มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ตั้งครัวพระราชทานช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และ อบจ.เชียงราย สนับสนุนรถครัวประกอบเลี้ยงอาหาร ณ จุดเดียวกัน บริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 (ตะเคียนคู่) ต.สันทราย อ.เมืองเชียงราย ตั้งแต่วันที่ 13 ก.ย. 67 และสนับสนุนถุงยังชีพพระราชทาน จำนวน 3,500 ถุง ถุงยังชีพสำหรับพระภิกษุสงฆ์ 105 ถุง จะประกอบเลี้ยงถึงวันอังคารที่ 17 ก.ย. 67 (มื้อกลางวัน)
 
– กองทัพเรือ/หน่วยซีล สนับสนุน เรือ 9 ลำ รถบรรทุก 4 คัน ถุงยังชีพ 1,000 ชุด (ของ 918 150 ชุด) กำลังพล 50 นาย
– ฮ.ปภ.32 สนับสนุนภารกิจขนย้ายผู้ประสบภัย ลำเลียงน้ำและอาหารส่งมอบให้แก่ผู้ประสบภัย ในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงรายและอำเภอแม่ฟ้าหลวง
– ฮ.กรมฝนหลวงและการบินเกษตร/ฮ.ทอ./ ฮ.ตชด. 327/ ฮ.ทส. ปฏิบัติภารกิจลำเลียงน้ำและอาหาร อำเภอเมืองเชียงรายและอำเภอแม่ฟ้าหลวง
– ศูนย์ ปภ.เขต 15 เชียงราย /เขต 1 ปทุมธานี/ เขต 2 สุพรรณบุรี /เขต 3 ปราจีนบุรี/ เขต 4 ประจวบคีรีขันธ์/ เขต 8 กำแพงเพชร /เขต 9 พิษณุโลก /เขต 11 สุราษฎร์ธานี และเขต 16 ชัยนาท สนับสนุนเครื่องจักรกลสาธารณภัยด้านปฏิบัติการ (อุทกภัย) และกำลังพล / วันที่ 15 ก.ย. 67 สนับสนุน Big Cleaning Day สูบน้ำท่วมขัง ลำเลียงน้ำและอาหารให้แก่ผู้ประสบภัย และศูนย์ ปภ. เขต 15 เชียงราย สนับสนุนชุดปฏิบัติการ ERT ภารกิจวาง Big Bag จุดแนวกระสอบทรายชำรุดบริเวณจุดสะพานมิตรภาพแห่งที่ 1 ไทย – เมียนมา
 
– เทศบาลนครเชียงราย จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ทน.เชียงราย ที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวอยู่ ณ ปัจจุบัน จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ จุดโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ และจุดโรงเรียน อบจ. เชียงราย โดยมีทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ เยียวยาจิตใจ แจกจ่ายยาและเวชภัณฑ์
– ศูนย์พักพิง อ.แม่สาย ที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวอยู่ ณ ปัจจุบัน 17 แห่ง รวมทั้งสิ้น 1,343 ราย (โดยเป็นศูนย์พักพิงฯ ที่มีทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการ จำนวน 7 ศูนย์)
ศูนย์พักพิงเทศบาลตำบลแม่สาย จำนวน 53 ราย* (ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.สต.เชียงแสน/ รพ.สต.ฮ่องแฮ่/ รพ.สต.บ้านด้าย)
ศูนย์พักพิงวัดพรหมวิหาร จำนวน 341 ราย* (ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.แม่สาย, ทีม MCATT,
 
รพ.ดอยหลวง, รพ.ค่ายเม็งรายมหาราช)
ศูนย์พักพิงเทศบาลตำบลแม่สายมิตรภาพ จำนวน 16 ราย* (ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.สต.แม่สาย)
 
ศูนย์พักพิงวัดน้ำจำ จำนวน 61 ราย* (ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.สต.โป่งผา)
ศูนย์พักพิง รพ.สต.เกาะช้าง จำนวน 56 ราย* (ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.สต.เกาะช้าง)
 
ศูนย์พักพิงวัดมงคลธรรมกายาราม จำนวน 14 ราย* (ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.สต.โป่งงาม และ รพ.สต.บ้านถ้ำ)
 
ศูนย์พักพิงวัดเจติยาราม*(ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.สต.ศรีเมืองชุม)
– ศูนย์พักพิงวัดป่าซางงาม จำนวน 150 ราย
– ศูนย์พักพิงวัดป่าแดง จำนวน 80 ราย
– ศูนย์พักพิงบ้านป่าแดง จำนวน 70 ราย
– ศูนย์พักพิงโบสถ์คริสต์ จำนวน 40 ราย
– ศูนย์พักพิงบ้านสันหลวงใต้ จำนวน 50 ราย
– ศูนย์พักพิงวัดสันหลวง จำนวน 48 ราย
– ศูนย์พักพิงวัดหิรัญญาวาส จำนวน 60 ราย
– ศูนย์พักพิงวัดสันธาตุ จำนวน 83 ราย
– ศูนย์พักพิงหอประชุม อบต.โป่งผา จำนวน 61 ราย
– ศูนย์พักพิงวัดถ้ำผาจม จำนวน 160 ราย
 
– นพค.31 /นพค.32/นพค.34 สนับสนุนกำลังพล รถครัวสนาม และรถสุขาเคลื่อนที่
– มูลนิธิสมาคมกู้ชีพกู้ภัย อาสาสมัคร จิตอาสาภาคประชาชน ร้านค้า/ผู้ประกอบการ สนับสนุนปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย ให้ที่พักพิงชั่วคราว มอบอาหารปรุงสำเร็จ และถุงยังชีพ
 
– กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บกปภ.ช.) ประชุมติดตามสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ณ ห้องประชุม 1 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Webex) โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุม และนายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานการประชุมจังหวัดเชียงราย
 
– จิตอาสาราชทัณฑ์ (จอส.รท.) จัดส่งเจ้าหน้าที่และนักโทษเด็ดขาดหรือผู้ต้องกักขังที่ได้รับอนุมัติจ่ายออกทำงานสาธารณะหรือได้รับอนุญาตให้ออกทำงานนอกเรือนจำ สนับสนุนภารกิจลำเลียงน้ำและอาหาร รวมทั้งร่วมกิจกรรม Big Cleaning Day รวมทั้งสิ้น 35 นาย
 
การอำนวยการ/สั่งการ
จังหวัดเชียงราย กำหนด Big Cleaning Day ในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงราย ดังนี้ วันอาทิตย์ที่ 15 ก.ย. 2567 Kick Off ณ บริเวณศาลากลางจังหวัดเชียงราย (จุดที่ 1) และบริเวณอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช (จุดที่ 2) ระหว่างวันที่ 16 – 18 ก.ย. 67 กำหนดแผนปฏิบัติการทำความสะอาดพื้นที่เมืองเชียงราย โดยกำหนดโซนดำเนินการเป็น 4 โซน ดังนี้ โซนที่ 1 ได้แก่ ชุมชนร่องเสือเต้น ชุมชนบ้านใหม่ หากแล้วเสร็จดำเนินการต่อในพื้นที่ชุมชนสันตาลเหลือง ชุมชนสันต้นเปา และชุมชนป่าตึงริมกก โซนที่ 2 ได้แก่ ชุมชนป่าแดง ชุมชนฝั่งหมิ่น 
 
หากแล้วเสร็จดำเนินการต่อในพื้นที่ชุมชนรั้วเหล็กใต้, ชุมชนรั้วเหล็กเหนือ ชุมชนกกโท้งใต้ และชุมชนกองยาว โซนที่ 3 ได้แก่ ชุมชนน้ำลัด หากแล้วเสร็จดำเนินการต่อในพื้นที่ชุมชนเกาะลอย ชุมชนป่างิ้ว ชุมชนเทิดพระเกียรติ ชุมชนราชเดชดารง ชุมชนทวีรัตน์ ชุมชนบ้านไร่ ชุมชนฮ่องลี่ และชุมชนดอยทอง โซนที่ 4 ได้แก่ ชุมชนแควหวาย ชุมชนมุสลิมกกโท้ง หากแล้วเสร็จดำเนินการต่อในพื้นที่ ชุมชนบ้านไร่ ชุมชนเกาะทอง ชุมชนริมน้ำกก ชุมชน ชุมชนวังดิน และชุมชนร่องปลาค้าว) แผนปฏิบัติการลำเลียงน้ำและอาหาร (อาหารแห้ง) สำหรับพื้นที่ถูกตัดขาดเส้นทางโดยสิ้นเชิง บ้านจะคือ หมู่ที่ 10 ต.ห้วยชมภู อ.เมืองเชียงราย ให้อำเภอเมืองเชียงรายสำรวจหย่อมบ้านที่ยังคงมีความต้องการ และร้องขอผ่านศูนย์บัญชาการฯ โดยให้อำเภอเมืองเชียงรายลำเลียงเสบียงไปส่งยังตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย 
 
เพื่อใช้รถเดินทางต่อไปยังบ้านจะคือ/ บ้านกะเหรี่ยงรวมมิตร บ้านอาดี่ บ้านแคววัวดำ ต.แม่ยาว อ.มืองชร. และบ้านจะเด้อ ต.ดอยฮาง อยู่ระหว่างเปิดใช้เส้นทางและดำเนินการเรียบร้อยแล้วเป็นบางจุด ให้ใช้การสัญจรทางบกในการลำเลียงเป็นหลัก/ สำหรับพื้นที่อำเภอแม่ฟ้าหลวง ได้มีการกระจายเสบียงไปก่อนล่วงหน้านี้แล้ว คาดว่าเพียงพอและทั่วถึง หากมีการร้องขอเรื่องน้ำและอาหารเร่งด่วนฉุกเฉิน จำเป็นต้องใช้อากาศยาน มอบให้ ตชด.327 รับประสานการปฏิบัติ ทั้งนี้ สำหรับพื้นที่ที่ถูกตัดขาดเส้นทางโดยสิ้นเชิงนั้น ให้เจ้าของสายทางและหน่วยงานสนับสนุนดำเนินการเร่งรัดเปิดใช้เส้นทางโดยเร็วที่สุด
 
การปฏิบัติการทางอากาศ ให้ใช้กรณีฉุกเฉินเร่งด่วน เช่น การลำเลียงผู้ป่วยวิกฤติ สำหรับการขนส่งน้ำและอาหารพิจารณาเป็นรายกรณีเนื่องจากจัดสรรลงไปอย่างเพียงพอและทั่วถึงแล้ว
 
ในระยะนี้เป็นช่วงฟื้นฟูบูรณะ และ Big Cleaning Day ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม มอบหมาย สนง.ปภ.จ.เชียงราย จัดสรรสิ่งของและอุปกรณ์ทำความสะอาดที่ได้รับบริจาคกระจายลงไปทั่วทุกจุด อปท.ที่ไม่ได้ประสบสาธารณภัยรวมทั้งหน่วยงานที่มีรถน้ำให้สนับสนุนภารกิจจนกว่าจะแล้วเสร็จ ให้ตำรวจสอดส่องและรักษาความปลอดภัยให้กับบ้านและทรัพย์สินของประชาชน เพื่อป้องกันโจรลักขโมย ด้านเกษตรให้เร่งรัดการสำรวจความเสียหาย และจัดประชุม ก.ช.ภ.อ. และ ก.ช.ภ.จ. ต่อไป
 
แนวโน้มสถานการณ์
สถานการณ์อยู่ในระดับคลี่คลาย-เฝ้าระวัง ไม่มีฝนตก ระดับน้ำสาย/น้ำกกลดลง/น้ำโขง แนวโน้มลดลง กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังนี้
 
แจ้งเตือนทุกอำเภอเฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์ น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากน้ำล้นตลิ่งอย่างต่อต่อเนื่อง เตรียมความพร้อม เครื่องมืออุปกรณ์ เครื่องจักรกล ยุทโธปกรณ์ กำลังพลพร้อมให้ความช่วยเหลือทันที ตลอด 24 ชั่วโมงเมื่อได้รับการร้องขอ และเตรียมการทำความสะอาดพื้นที่ประสบภัย สำหรับ อปท. ที่ไม่ได้ประสบภัยให้สนับสนุนภารกิจ เร่งสำรวจความเสียหายและให้ความช่วยเหลือตามระเบียบต่อไป
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI TOP STORIES

พายุ “ยางิ” ทำเชียงรายน้ำท่วมหนัก แม่สาย-เชียงของ ได้รับผลกระทบ

 

เมื่อวันที่ 9-10 กันยายน 2567 จังหวัดเชียงรายเผชิญกับฝนตกหนักต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากอิทธิพลของพายุ “ยางิ” ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 2 อำเภอ คือ อำเภอแม่สายและอำเภอเชียงของ โดยบ้านเรือนประชาชนและสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งได้รับความเสียหายอย่างหนัก

 

ความเสียหายจากน้ำท่วมในอำเภอแม่สาย

นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า อำเภอแม่สายเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด โดยเฉพาะในพื้นที่ ตลาดสายลมจอย ซึ่งเป็นจุดขายสินค้าชายแดนไทย-เมียนมา น้ำจากแม่น้ำสายได้เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยระดับน้ำสูงกว่า 1 เมตร ทำให้พ่อค้าแม่ค้าไม่สามารถเก็บสินค้าขึ้นหนีน้ำได้ทัน ส่งผลให้สินค้าหลายร้านเสียหายเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้น้ำยังพัดพาขอนไม้และเศษวัสดุลงมาจากต้นน้ำในประเทศเมียนมา ซึ่งคาดว่าในพื้นที่ป่าต้นน้ำมีฝนตกหนักเช่นกัน

นายพุฒิพงศ์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ได้สั่งการให้ นายณรงค์พล คิดอ่าน นายอำเภอแม่สาย พร้อมฝ่ายปกครอง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือประชาชนโดยด่วน โดยมีการแจ้งเตือนประชาชนให้ขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูงและอยู่ในจุดปลอดภัย

 

น้ำท่วมเชียงของ พื้นที่หมู่บ้านได้รับผลกระทบ

อีกหนึ่งพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย คือ อำเภอเชียงของ โดยเฉพาะในตำบลสถาน น้ำได้เอ่อล้นตลิ่งและท่วมในพื้นที่หมู่ 2, 5, 12 ส่งผลให้บ้านเรือนประชาชนกว่า 50 หลังคาเรือนถูกน้ำท่วม เจ้าหน้าที่จากเทศบาลตำบลสถานได้เร่งใช้เครื่องจักรเปิดทางน้ำและระบายน้ำออกจากพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ขณะนี้ระดับน้ำในพื้นที่เริ่มลดลง แต่ยังคงเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

 

เตรียมความพร้อมรับมือฝนตกหนักและน้ำท่วมระลอกใหม่

ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ระบุเพิ่มเติมว่า จากการประเมินสถานการณ์น้ำและฝนตกในพื้นที่ มีแนวโน้มว่าอาจมีฝนตกหนักและมวลน้ำระลอกใหม่เข้าท่วมเพิ่มเติมในช่วง 2-3 วันนี้ ทางจังหวัดได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานเตรียมพร้อมรับมือ โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและน้ำป่าไหลหลาก พร้อมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกาศเตือนประชาชนให้ระมัดระวังและเตรียมการรับมืออย่างทันท่วงที

สำหรับพื้นที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น น้ำตกและถ้ำ หากพบว่ามีฝนตกหนักและเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย ขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบทำการปิดกั้นพื้นที่และแจ้งเตือนประชาชนอย่างชัดเจน พร้อมจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง

 

การช่วยเหลือเบื้องต้นและมาตรการป้องกันเพิ่มเติม

ในการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น ทางจังหวัดเชียงรายได้ประสานกับหลายหน่วยงานในการจัดหาอาหาร น้ำดื่มสะอาด เครื่องนุ่งห่ม และสิ่งของจำเป็นต่าง ๆ ให้แก่ประชาชนที่ประสบอุทกภัย นอกจากนี้ ยังได้เร่งซ่อมแซมเส้นทางคมนาคมที่ได้รับความเสียหาย และอพยพประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยไปยังที่ปลอดภัย

ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายได้เตือนประชาชนให้ระมัดระวังอันตรายจากกระแสไฟฟ้ารั่วในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง และขอให้ติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วมและการพยากรณ์อากาศอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมตัวรับมือและป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

หากประชาชนต้องการความช่วยเหลือ สามารถโทรสายด่วนนิรภัย 1784 หรือสายด่วนศูนย์ดำรงธรรม 1567 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือประสานงานกับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่เพื่อรับความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI FEATURED NEWS

“จากใจคนใต้ ถึงใจพี่น้องคนเหนือ” ร่วมช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยเชียงราย

 

เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2567 เวลา 13.00 น. ที่อาคารปฏิบัติการไปรษณีย์เชียงราย โครงการ “จากใจคนใต้ ถึงใจพี่น้องคนเหนือ” ได้รับการสนับสนุนจากหลายภาคส่วนของชุมชนเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ / นครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในการส่งมอบสิ่งของบริจาคเพื่อนำไปช่วยเหลือพี่น้องผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยความร่วมมือจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย (อบจ.เชียงราย) นำโดยนางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ได้มอบหมายให้กองป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อบจ.เชียงราย เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์เชียงราย และกำลังพลจาก มณฑลทหารบกที่ 37 (มทบ.37) ร่วมกันรับของบริจาคเพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

การบริจาคที่เริ่มต้นจากใจคนใต้

โครงการนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 – 31 สิงหาคม 2567 โดยความร่วมมือของหลายหน่วยงานในจังหวัดสงขลา เช่น สมาคมชุมชนสร้างสรรค์, สมาคมชาวเหนืออีสานจังหวัดสงขลา, ศูนย์การค้าไดอาน่าคอมเพล็กซ์ , เคแอนด์เคชุปเปอร์สโตร์ , สงขลาโฟกัส, นครเชียงรายนิวส์ , พะเยาน่าอยู่ ,ไปรษณีย์เขต9 , มูลนิธิร่วมพัฒนาภาคใต้, โดยเป็นการเปิดโอกาสให้พี่น้องชาวใต้ร่วมบริจาคสิ่งของ ข้าวสาร อาหารแห้ง และสิ่งของจำเป็นต่างๆ การบริจาคครั้งนี้ไม่รับเงินบริจาค เพื่อให้มั่นใจว่าสิ่งของที่ได้รับจะส่งตรงไปยังผู้ที่ต้องการในทันที จุดรับบริจาคตั้งอยู่ที่ เคแอนด์เค ชุปเปอร์สโตร์ ถนนนวลแก้ว และ ลานจอดรถหน้าห้างไดอาน่า ถนนศรีภูวนารถ มีการรับบริจาคตั้งแต่เวลา 08.00 น. จนถึง 20.00 น.

การตอบรับจากชุมชนในสงขลาเป็นอย่างดี พี่น้องคนใต้ต่างนำสิ่งของมาร่วมบริจาคกันอย่างล้นหลาม ซึ่งของบริจาคเหล่านี้ได้ถูกจัดส่งมายังเชียงราย เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำอิง ซึ่งได้รับผลกระทบหนักจากน้ำท่วม น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนที่ทับถมในหลายหมู่บ้าน

สถานการณ์น้ำท่วมในเชียงราย

ในช่วงต้นเดือนกันยายน 2567 หลายพื้นที่ในจังหวัดเชียงราย เช่น อำเภอเทิง, อำเภอพญาเม็งราย, อำเภอขุนตาล, และ อำเภอเชียงของ ยังคงมีน้ำท่วมสูง แม้ระดับน้ำจะลดลงวันละประมาณ 10-15 เซนติเมตร แต่ก็ยังคงต้องเฝ้าระวังการมาของมวลน้ำรอบใหม่ที่คาดว่าจะถูกปล่อยมาจากกว๊านพะเยา ซึ่งเป็นต้นน้ำของแม่น้ำอิง มวลน้ำดังกล่าวอาจจะทำให้สถานการณ์กลับมารุนแรงอีกครั้งในไม่ช้า

เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำอิง ทางจังหวัดเชียงรายได้จัดการแจกถุงยังชีพและตั้งโรงครัวพระราชทานในหลายพื้นที่ พร้อมทั้งทำความสะอาดบ้านเรือนที่ถูกน้ำท่วม กรมชลประทานเองก็เร่งระบายน้ำจากแม่น้ำอิงลงสู่แม่น้ำโขงอย่างรวดเร็ว เพื่อคลี่คลายปัญหาที่ชาวบ้านประสบอยู่

การรับมอบสิ่งของบริจาคในเชียงราย

ทางด้านเชียงราย สิ่งของบริจาคจากโครงการ “จากใจคนใต้ ถึงใจพี่น้องคนเหนือ” ได้ถูกส่งมอบของบริจาคมายังทางจังหวัดเชียงราย โดยมีนายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย และนายครรชิต ชมภูแดง หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย เป็นผู้รับมอบสิ่งของและจัดสรรไปยังพื้นที่ที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน

นอกจากทางส่วนกลางจังหวัดเชียงรายแล้ว ยังได้รับสิ่งเพิ่มเติมอีกส่วนหนึ่ง มอบให้กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย โดยมีนายกนก อทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายก อบจ.เชียงราย พร้อมด้วยนายวิญญู ทองทัน เลขานุการนายก อบจ.เชียงราย เป็นผู้ดูแลการรับมอบ นอกจากนี้ นางวรินทร ยานะนวล หัวหน้าฝ่ายสงเคราะห์และฟื้นฟูผู้ประสบภัย กองป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมไปถึงนายจิราวุฒิ แก้วเขื่อน ที่ปรึกษานายก อบจ.เชียงราย และเจ้าหน้าที่การกองป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ร่วมกันประสานงานเพื่อส่งมอบของบริจาคไปยังพื้นที่ประสบภัยที่ยังต้องการความช่วยเหลือ

การร่วมแรงร่วมใจจากทุกภาคส่วน

กิจกรรมในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงานและภาคส่วนในจังหวัดเชียงราย ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์เชียงราย และกำลังพลจาก มณฑลทหารบกที่ 37 (มทบ.37) ทุกฝ่ายได้ร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ทั้งการแจกจ่ายถุงยังชีพ การจัดตั้งโรงครัวพระราชทาน และการประสานงานกับกรมชลประทานในการเร่งระบายน้ำเพื่อลดระดับน้ำท่วมในพื้นที่

การตอบสนองต่อวิกฤตน้ำท่วมในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือของคนไทยจากทุกภูมิภาค พี่น้องคนใต้ที่ร่วมบริจาคสิ่งของเพื่อช่วยเหลือพี่น้องภาคเหนือ และหน่วยงานต่างๆ ที่ทำงานอย่างเต็มที่เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ โครงการ “จากใจคนใต้ ถึงใจพี่น้องคนเหนือ” นับเป็นตัวอย่างที่ดีของความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนไทยในการเผชิญกับภัยพิบัติ

ขอขอบคุณพี่น้องคนใต้

ทางสำนักข่าว นครเชียงรายนิวส์ ในฐานะสื่อท้องถื่นในการประสานงานโครงการ ขอขอบคุณพี่น้องชาวใต้ที่ได้ร่วมบริจาคสิ่งของเพื่อช่วยเหลือพี่น้องภาคเหนือในครั้งนี้ โดยหวังว่าความร่วมมือเช่นนี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้คนไทยทั่วประเทศร่วมแรงร่วมใจกันในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในยามวิกฤต

โครงการ “จากใจคนใต้ ถึงใจพี่น้องคนเหนือ” จึงแสดงให้เห็นถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนไทยในการเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นจากภาคใต้หรือภาคเหนือ ล้วนมีส่วนช่วยให้การช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบภัยเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ ในภาวะที่ประเทศต้องเผชิญกับภัยพิบัติ ความสามัคคีจะทำให้เราสามารถผ่านพ้นวิกฤตไปได้อย่างเข้มแข็ง

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

“หมู่บ้านศีล 5” ที่วัดศรีบุญยืน อ.เชียงแสน แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

 

เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2567 พระเทพรัตนนายก ประธานคณะกรรมการประจำหนเหนือ พร้อมด้วยคณะกรรมการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ประจำหนเหนือ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินงานโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีลห้า” ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ณ วัดศรีบุญยืน บ้านศรีบุญยืน หมู่ที่ 10 ตำบลศรีดอนมูล อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย โดยมี นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พระราชวชิรคณี เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย พระราชสิริวชิโรดม เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย (ธ) ธรรมยุทธ และเจ้าอาวาสวัดศรีบุญยืน คณะสงฆ์ นายคฑาสิทธิ์ เนื่องหล้า นายอำเภอเชียงแสน หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำ อปท.ตลอดจนพี่น้องประชาชน คณะศรัทธา เข้าร่วมพิธีจำนวนมาก


     จากนั้น พระเทพรัตนนายก ประธานคณะกรรมการประจำหนเหนือ พร้อมด้วยคณะกรรมการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ประจำหนเหนือ ได้เยี่ยมชมกิจกรรมต่างๆ ของทางหมู่บ้านและวัดที่ได้นำเสนอและจัดนิทรรศการมาแสดงจุดเด่นของหมู่บ้าน อาทิ รางวัลเกียรติคุณหมู่บ้าน โครงการชุมชนต้นแบบด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ การบริหารกลุ่มออมทรัพย์ดีเด่น โครงการโคกหนองนาโมเดล ผลิตภัณฑ์ชุมชน OTOP ที่โดดเด่น เช่นเครื่องจักรสาน และอัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณี Soft Power ทางด้านอาหาร วัตามแบบฒนธรรมด้านอาหารของชุมชนบ้านศรีบุญยืน การแต่งกายผู้ชายส่วนใหญ่เสื้อแขนยาวสีเข้มๆ ที่เรียกว่า “ม่อฮ่อม” และผู้หญิง การแต่งกายส่วนใหญ่นิยมใส่ผ้าซิ้นทอลายขวาง ตามแบบพื้นบ้าน ภาษาที่ใช้ในชุมชนของบ้านศรีบุญยืน คือ “อู้กำเมือง” หรือภาษาเหนือ ส่วนที่เหลือ “อู้กำยอง” ที่เป็นส่วนน้อยเนื่องจากมีแต่ผู้ชาย เพาระเป็นคนเก่าแก่ที่มาจากลำพูน และอื่นๆ กิจกรรมอื่นๆ อีกมากมายที่นำมาจัดแสดงในครั้งนี้

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI TOP STORIES

สทนช. ทำหนังสือด่วนประสานจีน ชะลอระบายน้ำเขื่อนลงแม่น้ำโขง

 

เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2567 เวลา 16.30 น. นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ระบายน้ำอิงสู่น้ำโขง ณ สะพานบ้านเต๋น ต.สถาน อ.เชียงของ จ.เชียงราย ซึ่งเป็นสถานที่ติดตั้งเครื่องดันน้ำของโครงการชลประทานเชียงราย เพื่อดันน้ำจากแม่น้ำอิง ลงแม่น้ำโขง บริเวณปากอิง ต.ศรีดอนชัย ที่อยู่ห่างจากสะพานนี้ประมาณ 1 กม. โดยมีนายทวีชัย โค้วตระกูล ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงราย และนายอุดม ปกป้องวรกุล นายอำเภอเชียงของ และผู้นำชุมชน ต.ศรีดอนชัย และต.สถานให้การต้อนรับ

นายพุฒิพงศ์ กล่าวว่า ทางจังหวัดไม่ได้อยู่เฉย ๆ ปล่อยให้น้ำเอ่อ แต่พยายามทำให้ลงแม่น้ำโขงเร็วที่สุดระยะทางจากพะเยากว่า 100 กม.เพื่อไม่ให้ประชาชนระหว่างทางเดือดร้อน ทั้งที่อำเภอเทิง อำเภอขุนตาล ที่เป็นทางผ่านของแม่น้ำอิง ซึ่งได้รับความเสียหายกันมาก ผสมกับเราเจอน้ำป่า ร่องกดอากาศต่ำพาดผ่าน สังเกตว่าทำไมตกอยู่แต่ที่เชียงราย เป็นเวลาเดือนกว่า ยังไม่ผ่านไปเลย แต่ยังอยู่ที่เชียงรายอยู่

“วันนี้ฝนยังตกเรื่อย ๆ น้ำจากจังหวัดอื่นก็มาสะสม ไหลมารวมกันที่บ้าน พื้นที่เกษตร ปศุสัตว์ประสบกันทั่วหน้า ภาพรวมที่ติดริมน้ำอิง ตั้งแต่เทิง ลงมาพญาเม็งราย และขุนตาล เชียงของ เป็นปลายทางน้ำอิงลงน้ำโขง ที่สังเกตว่าเป็นลานีญา เห็นว่าตกสะสมจึงวันที่ 23 ส.ค. รวม 600 กว่ามิลลิเมตรแล้ว เทียบกับเดือนสิงหาคมปี 2566 รวม 200 กว่ามิลลิเมตรเอง 3 เท่าของปีที่แล้ว ทั้งที่ไม่ครบเดือน อยากเตือนพี่น้องประชาชน เป็นประเด็นปัญหาที่ป้องกันแก้ไขด้วย”ผวจ.เชียงราย กล่าว

ผู้สื่อข่าวถึงกรณีที่มีการเตรียมสร้างเขื่อนปากแบงกั้นแม่น้ำโขงซึ่งห่างจากชายแดนไทยเพียง 96 กม.ทำให้อนาคตยิ่งกลายเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์อีกหรือไม่ นายพุฒิพงศ์กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องให้รัฐบาลดูแล ทราบว่ารัฐบกาลกำลังเจรจาอันนี้เป็นเรื่องเหนือขอบเขตอำนาจหน้าที่ และรัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจโดยได้เร่งเจรจากำลังทำอยู่ ส่วนตนมีหน้าที่รักษาพื้นที่ภาย ทำอย่างไรให้เราเดือดร้อนน้อยที่สุด และเร่งน้ำออกจากพื้นที่ให้เร็วที่สุด “เรื่องนี้ผมไม่สามารถตอบได้ ต้องเป็นรัฐบาลและกระทรวงต่างประเทศ”

ผู้สื่อข่าวรายงาน สถานการณ์ระดับน้ำล่าสุดในแม่น้ำโขงวัดที่อำเภอเชียงของ พบว่าปริมาณน้ำได้เพิ่มสูงขึ้นจนล้นตลิ่งโดยวัดล่าสุดในช่วง 18.00 น.อยู่ที่ 10.30 เมตร

เย็นวันเดียวกัน ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า สทนช. ในฐานะสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย ได้ติดตามสถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขงที่มีการเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นอย่างใกล้ชิด

โดยขณะนี้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและส่งผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำริมน้ำโขงในหลายพื้นที่ของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

สทนช. จึงได้มีหนังสือด่วนที่สุดไปยังสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRCS) ให้ดำเนินการเฝ้าระวัง ศึกษา วิเคราะห์ เพิ่มเติม โดยเฉพาะการวิเคราะห์แนวโน้ม คาดการณ์ วัน เวลา และปริมาณน้ำสูงสุด (Peak) และการสิ้นสุดของสถานการณ์ ณ สถานีต่าง ๆ ตามแนวแม่น้ำโขง 8 จังหวัดของประเทศไทย

โดยให้รายงานผลการดำเนินงานและมีการประสานงานอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเสนอแนวทางและมาตรการให้ประเทศสมาชิกของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ได้แก่ ไทย สปป.ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ได้ทราบและช่วยกันดำเนินการร่วมกันทุกฝ่าย

นอกจากนี้ยังขอให้ MRCS ประสานงานกับ สปป.ลาว เพื่อช่วยในการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนในแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง เพื่อบรรเทาผลกระทบและให้ระดับน้ำลดลงจากการล้นตลิ่งของแม่น้ำโขง พร้อมทั้งให้ประสานงานกับจีน เพื่อแจ้งสถานการณ์ในปัจจุบันของลุ่มน้ำโขงตอนล่าง เพื่อให้จีนชะลอการปล่อยน้ำและบริหารจัดการน้ำในเขื่อนแม่น้ำโขงตอนบน ตลอดจนติดตามสถานการณ์การให้ข้อมูลเพื่อประกอบการแจ้งเตือนและบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อประชาชนริมโขงให้มากที่สุด โดย สทนช. จะมีการติดตามสถานการณ์น้ำและประสานงานร่วมกับ MRCS อย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันความเสียหายแก่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดริมแม่น้ำโขงให้ได้มากที่สุด

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักข่าวชายขอบ

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News