Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

‘พิสันต์’ ดันศิลปะดนตรีอัตลักษณ์ วัฒนธรรมท้องถิ่นเชียงราย

 

เมื่อวันศุกร์ที่  5 กรกฎาคม 2567 เวลา 08.30 น. ณ หอประชุมกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย นายพิสันต์  จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เป็นประธานกล่าวเปิดงานกิจกรรมเผยแพร่องค์ความรู้ด้านศิลปะดนตรีอัตลักษณ์ท้องถิ่น โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทัศน์  คล้ายสุวรรณ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายกล่าวต้อนรับ พร้อมด้วย ดร. อดิเทพ  วงศ์ทอง ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, นางฐิติมา  เร่งประเสริฐ ศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย, นางสลักจฤฎดิ์  ติยะไพรัช  ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย, นายสุวิทย์  ใจป้อม นายกสมาคมขัวศิลปะ, คณะอาจารย์ และศิลปินพื้นบ้านให้เกียรติมาร่วมพิธีเปิดกิจกรรมฯ

 

วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านศิลปะการดนตรีอัตลักษณ์ของล้านนา ศิลปวัฒนธรรมและมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงราย และเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนได้เรียนรู้ สืบสานภูมิปัญญาด้านดนตรีพื้นบ้านล้านนาของจังหวัดเชียงราย

 

กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย

การเสวนาวิชาการการสืบสานศิลปะดนตรีพื้นบ้านจังหวัดเชียงรายดำเนินรายการโดย ผศ.ดร. องอาจ  อินทนิเวศ อาจารย์ประจำสาขาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ และรองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และคณะวิทยากรผู้ร่วมเสวนา

  • อาจารย์สุคำ แก้วศรี ข้าราชการครูบำนาญ, ครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 4 ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
  • ผศ. รัตนะ ตาแปง ประธานหลักสูตรศิลปกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการแสดง และสาขาวิชาดนตรีและนาฏศิลป์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ดร. พิพัฒน์พงศ์ มาศิริ อาจารย์ประจำ คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยเชียงราย ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะอนุกรรมการกลั่นกรองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดง กรมส่งเสริมวัฒนธรรม

 

การจัดนิทรรศการและฐานเรียนรู้ด้านดนตรีล้านนา จำนวน 3 ฐาน ได้แก่

1) ฐานดนตรีพื้นเมือง (สะล้อ ซอ ซึง) โดย ดร.ศันสนีย์  อินสาร ประธานศูนย์ดนตรี กวี ศิลป์ ล้านนา

2) ฐานวงดนตรีปี่พาทย์ล้านนา โดย ผศ.ดร. ณัฐวุฒิ  ดอนลาว อาจารย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

3) กลองสะบัดชัย โดย ผศ. รัตนะ  ตาแปง อาจารย์ประจำสาขาวิชาดนตรีและนาฏศิลป์ มหาวิทยาลัยพะเยา

 

การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ดนตรีพื้นบ้านล้านนา โดยการบันทึกการแสดงสด เพื่อจัดทำคลิปวิดีทัศน์เผยแพร่ทางสื่อออนไลน์ ต่อไป

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

นายอำเภอ เปิดพิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้ สร้างสรรค์เมืองโบราณเวียงเชียงรุ้ง

 

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน 2567 ตั้งแต่เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป ณ วัดเวียงเชียงรุ่ง อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย พิธีเปิดพิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้สร้างสรรค์เมืองโบราณเวียงเชียงรุ้ง และงานเสวนาแหล่งเรียนรู้สร้างสรรค์เมืองโบราณเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย โดยนายพิสันต์ จันทรศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้ นายอภิชาต กันธิยะเขียว นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ และ นางสาวสุทธิดา ตราชื่นต้อง นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดและเข้าร่วมกิจกรรมฯ

 

ซึ่งมรนางสาวมินทิรา ภดาประสงค์ นายอำเภอเวียงเชียงรุ้ง ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทัศน์ คล้ายสุวรรณ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย กล่าวรายงาน และพระครูไพโรจน์คีรีรักษ์ ดร. เจ้าอาวาสวัดเวียงเชียงรุ้ง กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการและประชาชน เข้าร่วมพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้สร้างสรรค์เมืองโบราณเวียงเชียงรุ้ง และงานเสวนาแหล่งเรียนรู้สร้างสรรค์เมืองโบราณเวียงเชียงรุ้ง

 

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีแผนการดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก กิจกรรมการพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้สร้างสรรค์ “เมืองโบราณเวียงเชียงรุ้ง” เพื่อจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้เมืองโบราณเวียงเชียงรุ้งให้กับชุมชนท้องถิ่น

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

ศิลปะบนจานข้าวมูลค่าเป็นล้าน ครั้งแรกของประเทศไทย “จานศิลปะ”

 

เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทัศน์ คล้ายสุวรรณ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ผู้ช่วยศาสตราจารย์นฤมล เรืองรังษี นายกสมาคมศิลปินลุ่มน้ำโขง อาจารย์สุวิทย์ ใจป้อม นายกสมาคมขัวศิลปะเชียงราย และศิลปิน สมาคมศิลปินลุ่มน้ำโขง สมาคมขัวศิลปะเชียงราย ร่วมกันเปิดนิทรรศการ “จานศิลปะ” (Art Plate Exhibition) ณ หอปรัชญารัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย ซึ่งเป็นนิทรรศการ “จานศิลปะ” (Art Plate Exhibition) ทางสมาคมศิลปินลุ่มน้ำโขง ร่วมกับสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย จัดขึ้นเนื่องในวาระครบรอบ 50 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และ สร้างสรรผลงานสู่เทศกาลไทยแลนด์เบียนนาเล่เชียงราย 2023 (Thailand Biennale, Chiang Rai 2023) อีกด้วย

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์นฤมล เรืองรังษี นายกสมาคมศิลปินลุ่มน้ำโขง กล่าวว่า นิทรรศการจานศิลปะ Art Plate Exhibition เป็นภารกิจขององค์กรและสถาบันในท้องถิ่น ในการส่งเสริมเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งเป็นการสนับสนุนภาพลักษณ์ของจังหวัดเชียงราย เมืองแห่งศิลปะ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ที่มีการจัดนิทรรศการ “จานศิลปะ” ร่วมสมัยขึ้นโดยมีแนวคิดในการนำจานอันเป็นภาชนะเพื่อการบริโภคอาหารในวิถีวัฒนธรรมของมนุษย์มาอย่างยาวนาน เป็นจานเครื่องปั้นดินเผาท้องถิ่นของจังหวัดลำปาง ดินแดนแห่งเซรามิก อันเลื่องชื่อของล้านนามาบูรณาการกับงานศิลปะ 
 
 
โดยที่ศิลปินได้สร้างสรรค์งานศิลปะร่วมสมัยบนแผ่นจานที่เป็นภาชนะดินเผาธรรมดา ให้มีสีสันลวดลายอันวิจิตร เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับจานในเชิงสุนทรีย์ และเชิงเศรษฐกิจ อีกทั้งเป็นการสร้างความแปลกใหม่ให้โดดเด่นน่าสนใจ การดำเนินงานในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากศิลปินที่มีชื่อเสียงทั้งจากประเทศไทยและประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง รวม 36 ท่าน ร่วมสร้างสรรค์จานศิลปะ จำนวนกว่า 71 ชิ้น ทั้งนี้เพื่อเปิดโลกทัศน์ในการใช้งานหัตถกรรมของท้องถิ่นมาประกอบเป็นงานศิลปะร่วมสมัย และส่งมอบสุนทรียภาพแห่งงานศิลปะสู่ผู้คนในสังคม”
 
 
นิทรรศการ “จานศิลปะ” เปิดให้เข้าชมระหว่างวันที่ 12 มกราคม – 29 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 9.00 -16.00 น. ณ หอปรัชญารัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สมาคมศิลปินลุ่มน้ำโขง
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News