Categories
FEATURED NEWS

Whoscall เผยคนไทยตกเป็นเหยื่อ มิจฉาชีพเฉลี่ย 36,000 บาทต่อคน

 
 

บริษัท โกโกลุก (Gogolook) ผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อความเชื่อมั่น (TrustTech) ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Whoscall ร่วมกับองค์กรต่อต้านกลโกงระดับโลก Global Anti-Scam Alliance (GASA) และ ScamAdviser เปิดรายงานสถานการณ์การหลองลวงจากมิจฉาชีพในประเทศไทย (State of Scams in Thailand) ประจำปี 2567 เผยถึงรูปแบบการหลอกลวงที่เปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบต่อคนไทย ผ่านการสำรวจความคิดเห็นของคนไทยกว่า 9,360 คนจากหลากหลายกลุ่มประชากรตลอด 1 ปี ที่ผ่านมา

    แมนวู จู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โกโกลุก (ประเทศไทย) กล่าวว่า “แม้จะมีความพยายามในการ ป้องกัน ภัยมิจฉาชีพอย่างต่อเนื่องทั้งจากภาครัฐและเอกชน แต่ประเทศไทยยังคงประสบกับปัญหาจากการ หลอกลวง และความพยายามในการหลอกกลวงจากมิจฉาชีพ รายงานที่เราได้จัดทำ ร่วมกับ GASA และ Scam Adviser ในปีนี้แสดงให้เห็นถึงระดับความถี่ของการหลอกลวงที่เพิ่มขึ้นรวมไปถึง ข้อมูลเชิงลึกกลลวงใหม่ๆ จากมิจฉาชีพ และผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยพบว่ามูลค่าความเสียหายที่เหยื่อถูกหลอกจากมิจฉาชีพเฉลี่ยสูงถึง 1,106 เหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 36,000 บาทต่อคนในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา

 

การหลอกลวงเกิดบ่อยขึ้น และมีมูลค่าความเสียหายมากขึ้นแม้ว่าคนจะรู้ทันมิจฉาชีพ

    รายงานระบุว่ากว่า 1 ใน 4 หรือ 28% ของผู้ตอบแบบสอบถามตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้พบว่าคนไทยมีความระมัดระวังในการป้องกันตนเองจากมิจฉาชีพมากขึ้น ราว 55% มั่นใจว่ารู้ทันกลลวงของมิจฉาชีพ โดย 44% มีการตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์ และ 37% ใช้แอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้รับ

อย่างไรก็ตาม 89% เผยว่ายังต้องรับมือกับมิจฉาชีพอย่างน้อยเดือนละครั้ง และ 58% ระบุว่าต้องรับมือกับมิจฉาชีพบ่อยขึ้น โดยเกือบ 10% ระบุว่าถูกก่อกวนจากมิจฉาชีพถี่ขึ้นต่อเดือนเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ในขณะที่ 35% ได้รับโทรศัพท์และข้อความหลอกลวงหลายครั้งต่อสัปดาห์

​    รายงานยังพบว่าการโทรเข้าและส่งข้อความผ่านมือถือยังเป็นวิธีการหลอกลวงที่มิจฉาชีพใช้มากที่สุด ตามด้วยโฆษณาออนไลน์ การใช้แอปพลิเคชันต่างๆ สำหรับส่งข้อความ และโพสต์บนโซเชียลมีเดีย โดย 5 ช่องทางที่ มิจฉาชีพใช้มากที่สุดในการหลอกลวง ได้แก่ Facebook 50% ตามด้วย Line 43%, Messenger 39%, TikTok 25% และ Gmail 20%

 

ในส่วนของการได้รับคืนเงินที่ถูกมิจฉาชีพหลอกไปนั้นทำได้ยากขึ้นเมื่อเทียบกับปีผ่านมา ผลสำรวจพบว่ากว่า 1 ใน 3 หรือ 39% สูญเสียเงินภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากได้รับการติดต่อจากมิจฉาชีพ โดยมีเหยื่อเพียง 2% ได้เงินที่ถูกหลอกไปคืนทั้งหมด แต่มีเหยื่อมากถึง 71% ไม่สามารถนำเงินที่สูญเสียไปกลับคืนมาได้ และ 73% ระบุว่าได้รับผลกระทบทางจิตใจอย่างรุนแรงหลังจากถูกหลอก

 

การขโมยข้อมูลส่วนบุคคลและการใช้เทคโนโลยี AI เป็นวิธีการหลอกลวงที่แพร่หลาย

    การขโมยข้อมูลส่วนบุคคล (Identity Thef) และการใช้เทคโนโลยี AI เป็นรูปแบบกลโกงที่มิจฉาชีพใช้มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ผลสำรวจระบุว่าการขโมยข้อมูลส่วนบุคคลโดยการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อหลอกให้เหยื่อโอนเงินเป็นกลลวงที่พบมากที่สุดถึง 22% แซงหน้าการหลอกลวงให้ซื้อสินค้าซึ่งอยู่ที่ 19% ตามมาด้วยการออกใบแจ้งหนี้ปลอมหรือการหลอกให้ชำระหนี้ที่ 16% และการหลอกให้ลงทุน 14% ตามลำดับ

 

นอกจากนี้ รายงานระบุว่าคนไทยมีความตระหนักรู้มากขึ้นว่ามิจฉาชีพนำเทคโนโลยี AI มาเป็นเทคนิคใหม่ในการ เขียนข้อความสร้างบทสนทนาเลียนแบบเสียง รวมถึงสร้างภาพของบุคคลหรือสถานการณ์หลอกลวงในรูปแบบต่างๆ โดย 66 % ของผู้ตอบแบบสอบถามมั่นใจว่าเคยได้รับข้อความที่เขียนโดยใช้เทคโนโลยี AI

    จอริจ อับบราฮัม ผู้จัดการทั่วไป Global Anti-Scam Alliance (GASA) กล่าวว่า “รายงานสถานการณ์การหลองลวงจากมิจฉาชีพในประเทศไทยฉบับนี้แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อปรับปรุงมาตรการป้องกัน เพิ่มการดำเนินการที่เข้มงวดและสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับภัยจาก มิจฉาชีพ จากความสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาลและผลกระทบทางจิตใจที่เกิดขึ้นต่อผู้เสียหายทำให้เรา จำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อปกป้องประชาชนและฟื้นความเชื่อมั่นในการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล”

 เพื่อรับมือกับภัยคุกคามจากมิจฉาชีพที่เพิ่มขึ้นบริษัท โกโกลุก (ประเทศไทย) จึงให้ความสำคัญกับการออกมาตรการในระยะยาว เพื่อป้องกันกลลวงในรูปแบบที่เน้นการจัดการความเสี่ยงและเสริมสร้างความระมัดระวัง ให้แก่ประชาชนจากการให้ความรู้ ตลอดจนมุ่งพัฒนาเครื่องมือที่ทันสมัยเพื่อรับมือกับกับภัยคุกคามจากมิจฉาชีพที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีการผสานเทคโนโลยี AI เพื่อพัฒนาฟีเจอร์ ใหม่บนแอปพลิเคชัน Whoscall ทั้งเวอร์ชั่นฟรีและพรีเมียมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อปกป้องผู้ใช้งานทุกคน

    “นอกเหนือจากฟีเจอร์ Caller ID และ Smart SMS Assistant ที่เป็นด่านหน้าในการป้องกันสายโทรเข้า และข้อความหลอกลวงแล้ว ปัจจุบัน Whoscall ได้เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ เช่น ID Security (เช็กข้อมูลรั่วไหม) เพื่อช่วยตรวจสอบความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลเช็ก Auto Web Checker เพื่อปกป้องผู้ใช้จากการคลิกลิงก์ฟิชชิ่งรวมไปถึง Scam Alert ศูนย์รวมข้อมูลเตือนภัยกลโกงมิจฉาชีพแห่งแรกในไทยอีกด้วย” แมนวู กล่าวปิดท้าย

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : บริษัท โกโกลุก (ประเทศไทย)

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
FEATURED NEWS

Whoscall ผนึกกำลังภาครัฐและเอกชน ช่วยชาติ “จับมือเพื่อนรัก ตัดสายมิจร้าย”

 
เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2567 Gogolook บริษัทผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อความเชื่อมั่น (TrustTech) ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Whoscall แอปพลิเคชันระบุตัวตนสายเรียกเข้าที่ไม่รู้จัก และป้องกันสแปม สำหรับสมาร์ทโฟน โดยเดินหน้าส่ง แคมเปญ “จับมือเพื่อนรัก ตัดสายมิจร้าย (SAVE FRIENDS FROM FRAUD)” ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ อาทิ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และภาคเอกชน อาทิ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน), ทรูมันนี่ วอลเล็ท บริษัท ทรูมันนี่ จำกัด, บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน), บาร์บีคิวพลาซ่า บริษัท ฟู้ดแพชชั่น จํากัด. บริษัท แมกซ์ โซลูชัน เซอร์วิส จำกัด (บริษัทในเครือ พีทีจี) , บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำกัด (มหาชน), บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จํากัด (มหาชน), บริษัท วีโว่ ประเทศไทย และ สโมสรบลูเวฟ ชลบุรี ฟุตซอล คลับ รวมถึง อินฟลูเอนเซอร์ในแขนงต่างๆ เพื่อขับเคลื่อน ให้เป็นวาระแห่งชาติ ปลุกคนไทย 70 ล้านคน ให้ดูแลคนที่รักพ้นภัย จากมิจฉาชีพทางโทรศัพท์ โดย Whoscall ผนึกกำลังทุกภาคส่วนเพื่อให้ความรู้ผ่านทางสื่อช่องทางต่างๆ สร้างการรับรู้และภูมิคุ้มกัน เพื่อป้องกันการ ถูกหลอกลวง รวมถึงมอบเครื่องมือด้านเทคโนโลยีเพื่อเป็นเกราะป้องกันภัยแก่ประชาชน แจกโค้ด Whoscall พรีเมียม ฟรี จำนวนกว่า 3 ล้านโค้ด ผ่านกิจกรรมต่างๆ ของพาร์ทเนอร์ที่เข้าร่วมแคมเปญนี้ รวมมูลค่ากว่า 1 พันล้านบาท โดยเริ่มกิจกรรมตั้งแต่เดือน พฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป

 

คุณแมนวู จู ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท Gogolook จำกัด กล่าวว่า ในฐานะผู้นำแพลตฟอร์มด้านการป้องกันและต่อต้านการหลอกลวงในรูปแบบดิจิทัล รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เปิดตัวแคมเปญ “จับมือเพื่อนรัก ตัดสายมิจร้าย (SAVE FRIENDS FROM FRAUD)” ในประเทศไทย  

เนื่องด้วยการหลอกลวงทางโทรศัพท์มีการแพร่หลายเพิ่มจำนวนมากขึ้น ทาง Whoscall จึงมีความตั้งใจและมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ในการต่อสู้กับกลโกงและการหลอกลวงจากมิจฉาชีพ โดยได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรเชิงกลยุทธ์และพันธมิตรที่มีศักยภาพด้านต่างๆ เพื่อรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน เพราะเป้าหมายที่สำคัญนี้ ในช่วงต้นปีทาง Whoscall ได้เปิดตัวฟีเจอร์ ID Security ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบได้ว่าหมายเลขโทรศัพท์ของตนเองตกเป็นเหยื่อของเว็บมิจฉาชีพหรือไม่ ด้วยความเชี่ยวชาญ รวมไปถึงทรัพยากรข้อมูลจำนวนมหาศาล และเทคโนโลยี AI อันล้ำสมัย ทาง Whoscall จึงมุ่งมั่นที่จะสร้างเสริมความแข็งแกร่งในการป้องกันคนไทยให้พ้นจากการถูกหลอกลวงทางดิจิทัล”

สำหรับปี 2566 คนไทยได้รับข้อความ SMS ที่เป็นข้อความสแปมและข้อความหลอกลวงเฉลี่ย 6 ใน 10 ครั้ง ของข้อความ SMS ทั้งหมดที่ได้รับ หรือคิดเป็นร้อยละ 63 ซึ่งประเทศไทยยังเป็นประเทศที่ติดอันดับการ ได้รับข้อความ SMS หลอกลวงสูงที่สุดในเอเชียอีกด้วย

โดยการหลอกลวงนั้นจะมีหลายรูปแบบ อาทิ การหลอกให้ล็อกอินเข้าเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันปลอม เช่น ส่วนที่เกี่ยวกับธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งถือว่าสูงที่สุดคือ 27% การหลอกให้ดาวน์โหลดโปรแกรมหรือ แอปพลิเคชันที่อันตราย 20% และการหลอกให้เข้าไปที่หน้าช้อปปิ้งออนไลน์ปลอม 8% เป็นต้น”

ทาง  Whoscall ยังมีรายงานเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถิติในปี 2566 คนไทยที่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ มีถึงวันละ 217,047 ราย โดยมีคนไทยได้รับสายจากมิจฉาชีพถึง 20.8 ล้านครั้ง และถูกมิจฉาชีพ หลอกลวงจาก SMS มากกว่า 58.3 ล้านข้อความ ซึ่งเป็นจำนวนยอดที่เพิ่มสูงขึ้นจากปี 2565 ที่มียอดรวมของ สายโทรศัพท์หลอกลวงเพิ่มขึ้น ร้อยละ 22 และ ข้อความ  SMS เพิ่มขึ้น ร้อยละ 17 รวมมูลค่าความเสียหายสะสมกว่า 53,875 ล้านบาท 

คุณฐิตินันท์ สุทธินราพรรณ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ บริษัท Gogolook กล่าวว่า  “ Whoscall มีความตั้งใจในการนำเสนอแคมเปญ “จับมือเพื่อนรัก ตัดสายมิจร้าย (SAVE FRIENDS FROM FRAUD)  เนื่องจากการหลอกลวงทางโทรศัพท์ได้ถูกยกระดับเป็นวาระแห่งชาติ โครงการนี้ทำให้ทาง Whoscall ร่วมมือกับพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ในการต่อสู้กับปัญหาที่แพร่กระจายไปทั่วนี้ และด้วยวิวัฒนาการของกลโกงการหลอกลวงที่มาถึงยุค 5.0 เป็นยุคที่มิจฉาชีพหลอกด้วย AI  อาทิ การใช้เทคโนโลยีขั้นสูงอย่าง AI Deep Fake ในการปลอมตัวตน หรือเก็บและนำข้อมูลส่วนตัวมาหลอกให้ดูน่าเชื่อถือมากขึ้น โดยเราเริ่มพบเห็นการหลอกในรูปแบบ โทรมาด้วยเสียงของคนที่คุ้นเคยและข้อมูลที่ระบุตัวตนถูกต้อง ซึ่งสามารถทำให้ตกเป็นเหยื่อได้ง่ายยิ่งขึ้น คนไทยทุกคนจึงมีความจำเป็นต้องยืนหยัดร่วมกันเพื่อต่อต้านภัยคุกคามที่แพร่กระจายนี้ ในขณะที่ความเสี่ยงต่อการสูญเสียทรัพย์สินยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยการร่วมมือเคียงข้างไปกับพันธมิตรที่แข็งแกร่ง ทาง Whoscall เล็งเห็นถึงความสำคัญด้านความปลอดภัยและความมั่นคงของพนักงาน ลูกค้า ตลอดจนประชาชนในชุมชนที่เป็นวงกว้าง Whoscall จึงได้ร่วมมือกันเพื่อให้ความรู้ ปกป้อง และรักษาความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนชาวไทยทุกคนในโลกดิจิทัลที่มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว 

 
 
 

คุณฐิตินันท์ สุทธินราพรรณ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ บริษัท Gogolook กล่าวว่า  “ Whoscall มีความตั้งใจในการนำเสนอแคมเปญ “จับมือเพื่อนรัก ตัดสายมิจร้าย (SAVE FRIENDS FROM FRAUD)  เนื่องจากการหลอกลวงทางโทรศัพท์ได้ถูกยกระดับเป็นวาระแห่งชาติ โครงการนี้ทำให้ทาง Whoscall ร่วมมือกับพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ในการต่อสู้กับปัญหาที่แพร่กระจายไปทั่วนี้ และด้วยวิวัฒนาการของกลโกงการหลอกลวงที่มาถึงยุค 5.0 เป็นยุคที่มิจฉาชีพหลอกด้วย AI  อาทิ การใช้เทคโนโลยีขั้นสูงอย่าง AI Deep Fake ในการปลอมตัวตน หรือเก็บและนำข้อมูลส่วนตัวมาหลอกให้ดูน่าเชื่อถือมากขึ้น โดยเราเริ่มพบเห็นการหลอกในรูปแบบ โทรมาด้วยเสียงของคนที่คุ้นเคยและข้อมูลที่ระบุตัวตนถูกต้อง ซึ่งสามารถทำให้ตกเป็นเหยื่อได้ง่ายยิ่งขึ้น คนไทยทุกคนจึงมีความจำเป็นต้องยืนหยัดร่วมกันเพื่อต่อต้านภัยคุกคามที่แพร่กระจายนี้ ในขณะที่ความเสี่ยงต่อการสูญเสียทรัพย์สินยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยการร่วมมือเคียงข้างไปกับพันธมิตรที่แข็งแกร่ง ทาง Whoscall เล็งเห็นถึงความสำคัญด้านความปลอดภัยและความมั่นคงของพนักงาน ลูกค้า ตลอดจนประชาชนในชุมชนที่เป็นวงกว้าง Whoscall จึงได้ร่วมมือกันเพื่อให้ความรู้ ปกป้อง และรักษาความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนชาวไทยทุกคนในโลกดิจิทัลที่มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว 

 
 

ดังนั้นในปี 2567 นี้  Whoscall จึงตั้งเป้าที่จะช่วยชาติลดความสูญเสียทางทรัพย์สินจำนวน 2.8 หมื่นล้านบาท จากมิจฉาชีพ และรณรงค์ให้คนไทยทั้งประเทศดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Whoscall เพื่อให้เป็นแอปกันมิจฉาชีพที่ทุกคนต้องมี เพราะเสียงของทุกคนมีความหมายที่จะช่วยป้องกันให้คนที่เรารักปลอดภัยจากกลลวงต่างๆ ด้วยการแจ้งเบอร์มิจฉาชีพ ตัดสาย และไม่กดลิงก์จาก SMS ซึ่งเบื้องต้นได้รับความร่วมมือจากอินฟลูเอนเซอร์ที่มีเจตนารมณ์เดียวกันเพื่อสร้างสรรค์สังคมดิจิทัลที่ปลอดภัย

Whoscall ยังจัดกิจกรรมแจกโค้ด Whoscall พรีเมียม ฟรี จำนวน 3 ล้านโค้ด ผ่านกิจกรรมต่างๆ ของพาร์ทเนอร์ที่เข้าร่วมแคมเปญนี้ รวมมูลค่ากว่า 1 พันล้านบาท เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป

สำหรับผู้ที่สนใจรับโค้ด Whoscall พรีเมียม ฟรี สามารถติดตามข้อมูลกิจกรรมต่าง ๆ ของพันธมิตรในแคมเปญนี้ได้ จาก https://www.facebook.com/whoscall.thailand  ทั้งนี้  Whoscall ยังมีกิจกรรมฟิลเตอร์อินสตาแกรมให้ร่วมสนุกเพื่อส่งต่อความห่วงใยเตือนเพื่อนรักให้ตัดสายมิจฉาชีพที่

https://www.instagram.com/ar/7559310100828990/   และ https://www.instagram.com/ar/1479445949616538/ 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : บริษัท โกโกลุก (ประเทศไทย) จำกัด

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
NEWS UPDATE

Whoscall เผยคนไทยถูกมิจฉาชีพ โทร-SMS หลอก อันดับ 1 ของเอเชีย

 
เมื่อวันที่ 2 เม.ย.2567 รายงานประจำปี 2566 ของฮูสคอลล์ (Whoscall) แพลตฟอร์มระบุตัวตนสายเรียกเข้าที่ไม่รู้จัก และป้องกันสแปม พบว่า คนไทยถูกมิจฉาชีพหลอกลวงผ่านการโทรศัพท์ และส่งข้อความ 79 ล้านครั้ง เพิ่มมาจากปี 2565 ที่มี 66.7 ล้านครั้ง หรือ ร้อยละ 18
 
 

ข้อมูลนี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ได้นำมาเปิดเผยในเวทีสัมมนา “วันตรวจสอบข่าวลวงโลก ปี 2567” เพื่อสร้างความตระหนักให้กับประชาชน ที่อาจตกเป็นเหยื่อกลุ่มมิจฉาชีพได้ง่าย พร้อมร่วมมือกับภาคีโคแฟค (Cofact) และ กรุงเทพมหานคร เปิดช่องทางสร้างการรับรู้ และให้การช่วยเหลือประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อ

 

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ให้ความสำคัญกับภัยคุกคามออนไลน์ทุกรูปแบบ จึงร่วมโครงการครั้งนี้ เพื่อเร่งสร้างการรับรู้ และแนวทางป้องกันให้ประชาชน ขณะที่เครือข่ายโคแฟค ที่ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงผ่านสื่อออนไลน์ตั้งแต่ปี 2563 ช่วยเหลือประชาชนไม่ให้ถูกหลอกกว่า 5,000 คน โดยให้คำแนะนำผ่านเว็บไซต์ Cofact.org เปิดเผยว่า

 

การหลอกลวงผ่านสื่อออนไลน์เปลี่ยนแปลงไปรวดเร็ว จากเดิมที่เป็นการหลอกลวงผ่านข่าวปลอม เป็นการหลอกลวงด้วยการโทร และส่งข้อความหลอกโอนเงินเพิ่มมากขึ้น โดยข้อมูลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่า ประชาชนมักถูกหลอกให้ซื้อสินค้าหรือบริการ หลอกโอนเงินเพื่อทำงาน และหลอกให้กู้เงิน ซึ่งเป็นตัวเลขการถูกหลอกที่สูงเป็นอันดับ 1 ของเอเชีย ส่วนอันดับ 2 คือ ฟิลิปปินส์ และ อันดับ 3 คือ ฮ่องกง

 

ปีนี้ โคแฟค ยังเตรียมที่จะบูรณาการกับภาครัฐและเอกชนอบรมสร้างทักษะการตรวจสอบข้อมูลในยุค AI ทั่วประเทศ พร้อมสร้างคอนเทนต์ในอินฟลูเอนเซอร์สายตรวจสอบข่าว พัฒนาให้เกิดศูนย์ตรวจสอบข่าวลวงภูมิภาคกว่า 7 แห่ง และเปิดรับภาคีใหม่มาทำกิจกรรมตรวจสอบข่าวและสร้างพลเมืองทุกคนให้เป็น fact-checker ต่อไป

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : Whoscall

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
TOP STORIES

แอป Whoscall พบเบอร์มือถือรั่วไหล 13 ล้านเบอร์ มิจฉาชีพโทรหลอกสูงขึ้น 165%

whoscall แอปที่จะช่วยตรวจสอบเบอร์แปลกๆ ทั้งหลาย รวมไปถึงมิจฉาชีพ และบอกได้ว่าเป็นใครโทรหรือส่งข้อความมา ล่าสุดเผยสถิติประจำปี พบยอดสายมิจฉาชีพพุ่ง 165% พร้อมเบอร์มือถือคนไทยรั่วไหลกว่า 13 ล้านเบอร์ คิดเป็นจำนวนการรั่วไหลของเบอร์โทรศัพท์ในประเทศไทยกว่า 45% เป็นข้อความหลอกลวงและสแปมนับไม่ถ้วน

โดยภัยคุกคามจากการหลอกลวงที่เพิ่มขึ้นมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่อต้านการทุจริต (Anti-Fraud Prevention) จากข้อมูลของ Fortune Business Insight อุตสาหกรรมนี้คาดว่า จะมีมูลค่าถึง 129.2 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2572 ด้วยอัตราการเติบโตต่อปีที่ 22.8% จากการเพิ่มขึ้นของ AI และช่องโหว่ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลขององค์กร คาดว่าจะมีการใช้เทคโนโลยี เพื่อหลอกลวง และเกิดผลเสียทวีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต 

ดูเหมือนว่าที่ผ่านมามีมิจฉาชีพเกิดขึ้นทุกวัน ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะตามกลลวงให้ทันยังไง เพื่อน ๆ ทุกคนก็คงเห็นว่าคนร้ายเหล่านี้มักหามุขใหม่ ๆ มาหลอกพวกเราได้ตลอดเวลา จึงอยากแชรข้อมูลสถิตให้เราได้ระวังภัยกันมากขึ้นและรัดกุมกว่าเดิม

ซึ่ง 7 ใน 10 ครั้งของข้อความ SMS ที่คนไทยได้รับเป็นข้อความสแปมและข้อความหลอกลวง หรือคิดเป็น 73% ของข้อความที่ได้รับทั้งหมด ในส่วนของยอดสายโทรศัพท์หลอกลวงพุ่งขึ้น 165% จาก 6.4 ล้านครั้งในปี 2564 เป็น 17 ล้านครั้งในปี 2565 

มิจฉาชีพนิยมส่งข้อความหลอกลวงเนื่องจากสามารถเข้าถึงเหยื่อจำนวนมากด้วยต้นทุนต่ำ ข้อความ SMS ถูกใช้เป็น เครื่องมือเพื่อ “ติดต่อครั้งแรก” โดยหลอกให้เหยื่อกดลิงก์ฟิชชิ่งเพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัว เพิ่มบัญชีไลน์เพื่อหลอกให้ส่งข้อมูลหรือ โอนเงินให้ กลอุบายที่พบบ่อยได้แก่

  • การเสนอเงินกู้โดยมักอ้างรัฐบาลหรือธนาคาร 
  • การให้สิทธิ์เข้าตรงเว็บพนันออนไลน์ ที่ผิดกฎหมาย 
  • คีย์เวิร์ดของข้อความหลอกลวงที่ถูกรายงานที่พบบ่อยที่สุดเช่น “รับสิทธิ์ยื่นกู้” “เครดิตฟรี” “เว็บตรง” “คุณได้รับสิทธิ์” “คุณได้รับทุนสำรองโครงการประชารัฐ” “คุณได้รับสิทธิ์สินเชื่อ” และ “คุณคือผู้โชคดี”   

รูปแบบและประเด็นการหลอกลวงถูกปรับเปลี่ยนไปตาม  บริบทของแต่ละประเทศจากการค้นหาและระบุการหลอกลวง (รวมการโทรและข้อความ) ต่อผู้ใช้ Whoscall 1 คน ประเทศไทยอยู่ในอันดับต้น ๆ ที่มีข้อความและสายโทรเข้าหลอกลวง เฉลี่ย 33.2 ครั้งต่อปี (เพิ่มขึ้น 7%) ขณะที่ไต้หวันมี 17.5 ครั้ง (ลดลง 20%) และมาเลเซีย 16.5 ครั้ง  (เพิ่มขึ้น 15%) ตัวเลข ดังกล่าวตอกย้ำว่าการหลอกลวงนั้นยังคงแพร่หลายไปยังหลายประเทศ 

แถมกลหลอกลวงใหม่ๆ ในประเทศไทยมักเกิดขึ้นตามความสนใจและเทรนด์ต่าง ๆ เช่นการปล่อยเงินกู้, หลอกส่งพัสดุเพื่อเก็บเงินปลายทาง,  หลอกเป็นกรมทางหลวง, หลอกให้คลิกไปเล่นพนันออนไลน์,  หลอกว่ามีงาน part time  หลอกว่าได้รางวัลจาก TikTok และแพลตฟอร์มต่างๆ  มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น

ข้อมูลส่วนตัวที่รั่วไหลมักเป็นด่านแรกที่มิจฉาชีพใช้เข้าถึงรายละเอียดการติดต่อเพื่อหลอกลวงเหยื่อ  การรั่วไหลอาจเกิดขึ้นจากฐานข้อมูลขององค์กรหรือรัฐบาลถูกโจมตีทางไซเบอร์ หรือผู้ใช้กรอกแบบสำรวจ แบบทดสอบทางจิตวิทยา หรือแบบฟอร์มในเว็บไซต์ฟิชชิ่ง เพื่อลดภัยคุกคามตั้งแต่เริ่มต้น พบว่าในประเทศไทยมีการรั่วไหลของเบอร์โทรศัพท์ 45% ทั้งนี้ รหัสผ่าน เบอร์โทรศัพท์ และชื่อ เป็นข้อมูลส่วนตัว ที่มีการรั่วไหลมากที่สุด ตามด้วยสัญชาติ อีเมล ที่อยู่ และวันเกิด

ข้อมูลที่รั่วไหลแต่ละประเภทอาจทำให้เกิดความเสี่ยงที่ต่างกัน ตัวอย่างเช่น บัญชีธนาคารออนไลน์หรือบัญชีโซเชียลเน็ตเวิร์ก อาจถูกขโมยได้หากรหัสผ่านรั่วไหล หรือในกรณีที่มิจฉาชีพได้ชื่อ เบอร์โทรศัพท์ แม้แต่บันทึกการชำระเงินและการซื้อของ ก็จะสามารถใช้หลอกลวงทางโทรศัพท์และข้อความ SMS ได้อย่างง่ายดาย เพื่อป้องกันภัยจากมิจฉาชีพเราจึงควร ใช้การยืนยันตัวตนแบบสองขั้น (Two-Factors Authentication) เมื่อใช้บริการออนไลน์ เปลี่ยนรหัสผ่านที่รัดกุมเป็นประจำ และใช้ Whoscall เพื่อระบุสายโทรเข้าและข้อความ SMS ที่ไม่รู้จัก

วิธีป้องกันเบื้องต้น
  • ห้ามคลิก : หากได้รับลิงก์ใน SMS  โดยเฉพาะข้อความที่มาจากธนาคารหรือหมายเลขที่ไม่รู้จัก เนื่องจาก ปัจจุบัน มีข้อห้ามไม่ให้ธนาคารและสถาบันการเงินในประเทศไทยส่งลิงก์ทาง SMS ให้กับลูกค้าโดยตรง
  • ห้ามกรอก: หากได้รับ SMS เพื่อขอข้อมูลส่วนบุคคลหรือขออัปเดตชื่อ ผู้ใช้/รหัสผ่าน หรือข้อมูลทางการเงินที่มีลิงก์ไปยัง เว็บไซต์ ที่น่าสงสัย อย่าให้ข้อมูลส่วนบุคคลใด ๆเด็ดขาด
  • ห้ามเพิกเฉย: ผู้ใช้สามารถช่วยกันต่อต้านกลโกงและหลอกลวงทางโทรศัพท์ โดยการรายงานเบอร์โทรศัพท์ที่น่าสงสัย หรือหลอกลวง ทางแอปพลิเคชัน Whoscall เพื่อป้องกันและช่วยส่งคำเตือนไปยังกลุ่มผู้ใช้รายอื่นได้

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : whoscall

 
 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News