Categories
EDITORIAL

ยุทธศาสตร์พัฒนายั่งยืนเสริมสร้างสังคมไทยมั่นคง

ความสำคัญของการพัฒนายั่งยืนต่อเศรษฐกิจและสังคมไทย

รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เน้นย้ำว่าการเดินหน้ายุทธศาสตร์พัฒนายั่งยืนเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเสริมสร้างเศรษฐกิจและสังคมไทยให้มั่นคงในระยะยาว การพัฒนาที่ยั่งยืนไม่เพียงแต่มุ่งเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน แต่ยังคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของคนรุ่นปัจจุบันและอนาคตอย่างสมดุล

ยุทธศาสตร์การพัฒนายั่งยืน: แนวทางและเป้าหมาย

การพัฒนายั่งยืนต้องไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รศ.ดร.อนุสรณ์ กล่าวว่าการพัฒนาเศรษฐกิจควรคำนึงถึงการลดภาระทางสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ทรัพยากร การนำแนวคิดยั่งยืนและจริยธรรมเข้าสู่กระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะเป็นสิ่งเร่งด่วน เพื่อให้การพัฒนาสามารถตอบสนองความต้องการของสังคมได้อย่างแท้จริง

ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อประเทศไทย

รายงาน IPCC Climate ของสหประชาชาติ ระบุว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติเช่น ภัยแล้ง น้ำท่วม และการละลายของน้ำแข็งขั้วโลก ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แม้จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าประเทศอื่น แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นกลับรุนแรงมาก

มาตรการบรรเทาภัยพิบัติด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน

การนำแนวคิดยั่งยืนมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจช่วยบรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ การรักษาทรัพยากรป่าไม้ โดยเฉพาะป่าต้นน้ำ ช่วยลดความเสี่ยงจากดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก นอกจากนี้ ภาคการผลิตควรเน้นการผลิตที่ยั่งยืน ลดการปล่อยของเสียและมลพิษ รวมถึงการใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก

 
การสนับสนุนจากภาครัฐและภาคเอกชน

ภาครัฐมีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายและสร้างกลไกส่งเสริมการลงทุนในด้านสิ่งแวดล้อม การสนับสนุนทางการเงินสำหรับโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการลงทุนในหุ้นกลุ่ม ESG เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ช่วยผลักดันการพัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากนี้ สถานประกอบการต่างๆ ควรบริหารองค์กรตามแนวคิด ESG เพื่อสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

การลดความเหลื่อมล้ำและการสร้างความมั่นคงทางอาหาร

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารและเพิ่มความเหลื่อมล้ำในสังคม ประเทศไทยต้องดำเนินมาตรการเพื่อลดความยากจนและสร้างความมั่นคงให้กับประชากรที่เปราะบาง การลงทุนในเทคโนโลยีด้านพลังงานหมุนเวียนและการสนับสนุนงบประมาณสำหรับการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น

อนาคตของการพัฒนายั่งยืนในประเทศไทย

ประเทศไทยมีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มเป็น 40% ภายในปี พ.ศ.2573 ซึ่งการดำเนินการตามแผนงานระดับชาติและการทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกเป็นก้าวสำคัญในการบรรลุเป้าหมายนี้ อย่างไรก็ตาม การลดก๊าซเรือนกระจกและการลงทุนเพื่อสิ่งแวดล้อมต้องเกิดขึ้นพร้อมกับการสนับสนุนจากภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสังคมไทยที่มั่นคงในระยะยาว

บทสรุป

การเดินหน้ายุทธศาสตร์พัฒนายั่งยืนเป็นสิ่งที่ไม่สามารถมองข้ามได้สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันและอนาคต การร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำพาประเทศไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและสามารถรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
ECONOMY

บสย. – KODIT เกาหลี เร่งยกระดับ ESG แพลตฟอร์มค้ำประกัน หนุนธุรกิจ SMEs เติบโตยั่งยืน

 

เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2566 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล โดยมุ่งหวังให้บริการของภาครัฐสะดวก รวดเร็ว อำนวยความสะดวกให้ประชาชนเข้าถึงบริการภาครัฐง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ออกกฎหมายผลักดันรัฐบาลดิจิทัล พร้อมจัดทำแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ตลอดจนมอบหมายให้หน่วยงานรัฐพัฒนาแอปฯ และบริการออนไลน์จำนวนมากเพื่อพัฒนาภาครัฐเป็นรัฐบาลดิจิทัล ทั้งนี้ หน่วยงานราชการหลาย ๆ หน่วยงานได้สานต่อนโยบาย พัฒนารูปแบบการให้บริการแบบออนไลน์มากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับประชาชน ทำให้มีมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นส่วนราชการหลอกลวงประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ ขอให้ประชาชนระมัดระวังอย่าหลงเชื่อ โดยเฉพาะการแอบอ้างเรื่องการชำระค่าปรับต่าง ๆ  

นางสาวรัชดา กล่าวว่า เพื่อให้รู้ทันกลโกงของมิจฉาชีพ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แนะวิธีสังเกตใบสั่งจราจรอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดส่งทางไปรษณีย์ไปยังเจ้าของรถถึงบ้าน ว่าฉบับไหนเป็นของจริง-ของปลอม ซึ่งการออกใบสั่งจราจรอิเล็กทรอนิกส์ครั้งแรก จะมีรูปถ่ายรถ หมายเลขทะเบียนรถ และข้อหากระทำความผิดครบ หากไม่จ่ายค่าปรับใน 7 วัน จะมีใบเตือน ส่วนการออกครั้งที่สองนั้น เป็นใบเตือนให้ชำระค่าปรับใบสั่ง ซึ่งในเอกสารครั้งที่สองนี้ จะไม่มีรูปถ่ายรถประกอบ แต่จะมีแค่ QR code บอกวิธีการชำระเงิน และมีลายเซ็นนายตำรวจระดับสารวัตรขึ้นไปเซ็นประกอบ ยืนยันว่าเป็นเอกสารทางราชการจริง 

“การออกใบสั่งจราจรอิเล็กทรอนิกส์จะต้องมีการลงระบบ PTM ซึ่งเป็นระบบตรวจสอบใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์สำหรับประชาชน ผู้ได้รับใบสั่งจราจรสามารถตรวจสอบความถูกต้องว่าเป็นใบสั่งจริง โดยนำเลขที่ใบสั่ง ไปตรวจสอบได้ที่ https://ptm.police.go.th/eTicket ส่วนจุดสังเกตที่สำคัญ คือ บัญชีธนาคารปลายทางที่จะรับเงิน ต้องเป็นบัญชีธนาคารกรุงไทย ชื่อ “สำนักงานตำรวจแห่งชาติ – ค่าปรับจราจร” เท่านั้น ( ถ้าเป็นชื่อบัญชีส่วนบุคคลให้สงสัยว่าเป็นใบสั่งปลอม ) ขอให้ประชาชนผู้ที่ได้รับสั่ง ควรตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องก่อนทำธุรกรรมทางการเงินเพื่อเสียค่าปรับ จะได้ไม่หลงกลของมิจฉาชีพ” นางสาวรัชดา ย้ำ

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
ECONOMY

พลาสติกชีวภาพ (Bio Plastic) ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

 

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง เสนอให้สามารถนำเอทานอลไปผลิตอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ นอกเหนือการเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพและการผลิตสุรา สอดรับหลักการ BCG Model ด้านกรมสรรพสามิตขานรับนโยบายหนุนอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bio Plastic) รองรับการขยายตัวตามเทรนด์โลกในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตามยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยภาษีสรรพสามิต มุ่งเน้นสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) สร้างมาตรฐานสากล  เดินหน้าประเทศไทยสู่ความยั่งยืน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2566 รับทราบแนวทางส่งเสริมการนำเอทานอลไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่นนอกเหนือจากการเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพและการผลิตสุรา ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG อันจะเป็นการสร้างระบบนิเวศน์เพื่อกระตุ้นการลงทุนของภาคเอกชนและสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสำหรับผู้ผลิตเอทานอลในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับเป้าหมายการเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี พ.ศ. 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ. 2608 กระทรวงการคลังจึงกำหนดแนวทางการส่งเสริม   การนำเอทานอลไปใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ ซึ่งจะทำให้เกิดการผลิตเม็ดพลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ในชั้นบรรยากาศ รวมถึงลดการใช้ปิโตรเคมีจากเชื้อเพลิงฟอสซิลในการผลิตเม็ดพลาสติก

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวว่า กรมสรรพสามิตและกรมศุลกากร พร้อมดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงการคลัง โดยจะสนับสนุนให้นำเอทานอลไปผลิตพลาสติกชีวภาพได้ โดยกำหนดให้ผู้ใช้เอทานอลจะต้องใช้เอทานอลที่ผลิตในประเทศก่อนเป็นลำดับแรก

สำหรับแนวทางในการนำเอทานอลไปใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ สามารถสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. จัดทำมาตรฐานการผลิตเอทานอลภายในประเทศ ซึ่งมีสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำมาตรฐานการผลิตเอทานอลร่วมกับผู้เชี่ยวชาญภายในประเทศ ผู้ผลิตเอทานอลและผู้ใช้เอทานอล รวมถึงสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานทางเทคนิคและการพัฒนาบุคลากรให้สามารถเป็นผู้ตรวจประเมินตามมาตรฐานที่กำหนด


2. กระทรวงการคลังจะแต่งตั้งคณะกรรมการ ประกอบด้วยผู้แทนภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาปริมาณการผลิตเอทานอลที่เป็นไปตามมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับร่วมกันระหว่างผู้ผลิตเอทานอลและผู้ใช้เอทานอลจากผู้ผลิตในประเทศล่วงหน้าในแต่ละปี ในกรณีที่ผู้ผลิตในประเทศไม่สามารถผลิตเอทานอลได้ตรงตามมาตรฐานและไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้เอทานอล จะกำหนดปริมาณการนำเข้าเอทานอลที่จะได้รับสิทธิอากรขาเข้าในอัตราพิเศษเพื่อนำมาใช้ในการผลิตพลาสติกชีวภาพ


3. ภาครัฐให้การสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพเกษตรกรและผู้ผลิตเอทานอลในประเทศให้สามารถจำหน่าย เอทานอลในราคาที่สามารถแข่งขันกับเอทานอลนำเข้าได้อย่างยั่งยืน


4. กระทรวงการคลังโดยกรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรจะพิจารณาดำเนินการออกมาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนการนำเอทานอลไปใช้ในการผลิตพลาสติกชีวภาพ

โดยคาดว่าในเบื้องต้นจะมีความต้องการใช้เอทานอลประมาณ 450 ล้านลิตรต่อปี ซึ่งแนวทางการส่งเสริมเอทานอลชีวภาพในครั้งนี้ จะเป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับเกษตรกรและผู้ผลิตเอทานอลในการลงทุนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเอทานอลในประเทศไทย รวมถึงเป็นการเพิ่มตลาดใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านการใช้เอทานอลในภาคการขนส่งจากนโยบายการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า” นายเอกนิติกล่าว  

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาประเทศไทยมีการผลิตพลาสติกจากวัตถุดิบปิโตรเลียม ประมาณ 5 ล้านตันต่อปี เพื่อใช้ในประเทศและส่งออก ซึ่งหากเปลี่ยนวัตถุดิบเป็นเอทานอลที่มาจากพืช เช่น อ้อย หรือมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นวัตถุดิบชีวภาพ (Bio-based) จะสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้จำนวนมาก โดยกระบวนการปลูกพืช  เพื่อนำมาผลิตเอทานอลและนำไปใช้ในการผลิตเป็นพลาสติกชีวภาพเป็นกระบวนการผลิตที่มี Carbon Footprint ต่ำ สามารถดูดซับก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 15 ล้านตันต่อปี นอกจากนี้ ในการผลิตพลาสติกชีวภาพ ผู้ประกอบอุตสาหกรรมไม่จำเป็นต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร จึงเป็นการช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยบนเวทีโลก และหากประเทศไทยสามารถปรับกระบวนการผลิตเป็นพลาสติกชีวภาพได้ทั้งหมด 5 ล้านตัน จะช่วยสนับสนุนความต้องการเอทานอลมากกว่า 10,000 ล้านลิตรต่อปี ทำให้เกษตรกรและผู้ผลิตมีความมั่นใจในการลงทุนพัฒนาคุณภาพเอทานอลในประเทศให้มีมาตรฐานระดับสากล ส่งเสริมและสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งส่งผลดีในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศจากโอกาสดังกล่าว ที่สำคัญยังเป็นการตอบสนองต่อฉันทามติสากลในการลดการปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศ และส่งเสริมโมเดลเศรษฐกิจ BCG อย่างแท้จริง

 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมสรรพสามิต

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
FEATURED NEWS NEWS

“กรุงไทย-GC” ตอกย้ำองค์กรความยั่งยืน ตอบโจทย์ เป้าหมาย Together to Net Zero

“กรุงไทย-GC” ตอกย้ำองค์กรความยั่งยืน ตอบโจทย์ เป้าหมาย Together to Net Zero

Facebook
Twitter
Email
Print
“ธนาคารกรุงไทย” ร่วมกับ “พีทีที โกลบอล เคมิคอล” บริหารจัดการทางการเงินเชื่อมโยงเป้าหมาย ESG หรือ ESG Financial Solution ครอบคลุมการบริหารสภาพคล่อง ESG Investing และบริหารความเสี่ยงด้วย ESG-Linked Derivatives ช่วยลดต้นทุน ตอบโจทย์เป้าหมาย Together to Net Zero และการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน

นายรวินทร์ บุญญานุสาสน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ธนาคารกรุงไทยมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมการเงินและการลงทุนตามแนวทาง การพัฒนาอย่างยั่งยืน ให้ตอบโจทย์ในลูกค้าและเหมาะสมทุกสภาวะตลาด รวมถึงสนับสนุนเป้าหมายการทำธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ล่าสุด ธนาคารร่วมมือกับ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC บูรณาการเครื่องมือทางการเงิน สนับสนุนธุรกรรมการลงทุนแบบยั่งยืนของ GC โดยพิจารณาเลือกลงทุนในสินทรัพย์เพื่อบริหารสภาพคล่องที่สอดคล้องกับหลักการ ความยั่งยืน (ESG Investing) และเข้าทำธุรกรรมบริหารความเสี่ยงทางการเงินที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายความยั่งยืน (ESG-Linked Derivatives) ในรูปแบบ ESG for ESG Solutions ซึ่งมีการออกแบบให้มีการวัดผล การดำเนินงานด้าน ESG เป็นเกณฑ์ในการลดต้นทุนของธุรกรรม และส่งต่อผลประโยชน์ที่ได้รับไปยังการลงทุนตามหลักการ ESG ต่อไป ถือเป็นความร่วมมือด้าน ESG ครั้งแรกที่มีการเชื่อมโยงการบริหารสภาพคล่องและการบริหารความเสี่ยง ซึ่งเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนให้ทั้งสององค์กรบรรลุเป้าหมายความยั่งยืนและบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ไปพร้อมกัน

“นับเป็นครั้งแรกที่ธนาคารนำความหลากหลายของเครื่องมือทางการเงิน มาเชื่อมโยงกับ เป้าหมาย ESG ซึ่งเป็นก้าวสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินงานของทั้งสององค์กรให้บรรลุเป้าหมายความยั่งยืนไปพร้อมกัน ตอกย้ำการเป็นผู้นำตลาดด้านบริการทางการเงินที่ยั่งยืน (ESG Financial Solutions) ทั้งด้านบริหารความเสี่ยงทางการเงินและการบริหารจัดการการลงทุน ด้วยการออกแบบและพัฒนาบริการ เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจของลูกค้าอย่างตรงจุด สนับสนุนการเติบโตที่ยั่งยืน ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) ในข้อ 13 เรื่องการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ กรุงไทยเคียงข้างไทย สู่ความยั่งยืน”

นางสาวภัทรลดา สง่าแสง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงินและบัญชี บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า GC มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทางการเงิน การบริหารความเสี่ยงและมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามกรอบเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN SDGs) ภายใต้สมดุล 3 มิติ คือ สิ่งแวดล้อม สังคม และการดำเนินธุรกิจด้วยหลักธรรมาภิบาล (ESG)

ในครั้งนี้ บริษัทฯ ได้นำแนวทางธุรกิจยั่งยืนมาปรับใช้กับนโยบายการลงทุนเพื่อบริหารสภาพคล่อง โดยจะเลือกสินทรัพย์ลงทุนที่สอดคล้องตามหลักการของ ESG และมีความเสี่ยงที่เหมาะสม นอกจากนี้ ในการทำ ESG-Linked Derivatives กับธนาคารกรุงไทยเพื่อการบริหารความเสี่ยงทางการเงินนั้น ยังมีการกำหนดเป้าหมายด้าน ESG ที่บริษัทมุ่งมั่นที่จะทำให้สำเร็จ ซึ่งส่วนลดต้นทุนทางการเงินดังกล่าว จะนำมาสนับสนุนนโยบายการลงทุนแบบ ESG Investing ต่อไป เป็นการบูรณาการเพื่อนำหลักการของ ESG มาปรับใช้กับการบริหารจัดการทางการเงินในทุกๆ ด้าน ส่งเสริมแนวทางของบริษัทในการเติบโตแบบยั่งยืน

Krungthai Bank and GC solidify their status as sustainable organizations with ESG financial solution addressing ‘Together to Net Zero’ mission

Krungthai Bank and PTT Global Chemical have joined forces to develop a financial management solution aimed at addressing environmental, social, and governance (ESG) targets, or an ESG financial solution, in which liquidity and risk are managed through ESG-linked derivatives. This collaborative effort is expected to reduce costs and contribute to addressing the net-zero target under the strategy “Together to Net Zero” and the sustainable business agenda.

Rawin Boonyanusasna, Senior Executive Vice President of the Global Markets Group at Krungthai Bank, said that Krungthai Bank is committed to developing financial and investment innovations that not only meet customer needs in different market conditions but also support sustainable development and the integration of ESG principles into business practices. In line with this commitment, the bank has recently partnered with PTT Global Chemical Public Company Limited (GC) to use financial instruments to support GC’s sustainable investing agenda by considering investing in assets that align with ESG investing for liquidity management purposes and entering into ESG-linked derivative agreement, which is considered an ESG for ESG solution. It is designed to measure the performance of ESG operations and pass on the benefits received to ESG investing. This is the first time that the ESG agenda is integrated into liquidity and risk management, and it is a crucial step that will support both organizations to achieve sustainability goals and net-zero targets together.

Rawin stated, “This marks the first time Krungthai Bank has utilized a diverse range of financial instruments to address ESG objectives. It is a significant milestone in propelling both organizations toward sustainable development goals. Moreover, it reinforces Krungthai Bank’s position as a leading provider of ESG financial solutions, both for liquidity and investment management, that effectively cater to the specific business needs of its customers, while addressing the United Nations’ Sustainable Development Goal 13: Climate Action. All of this aligns with our vision of ‘Growing Together for Sustainability.'”

Pattaralada Sa-ngasan, Executive Vice President of Finance and Accounting at PTT Global Chemical Public Company Limited (GC) said that the company focuses on sound financial and risk management practices, along with its commitment to integrating the United Nations’ Sustainable Development Goals into its operations, aiming to achieve balance across three dimensions: environmental, social, and governance (ESG). To this end, the company has adopted a sustainable business approach in its investment policy, strategically investing in assets that align with ESG principles and fall within its risk appetite. As part of the ESG-linked derivative deal with Krungthai Bank, specific ESG targets have been established, and the fee discounts received upon reaching these targets will be allocated towards the company’s ESG investing policy. This showcases the company’s comprehensive integration of ESG principles across all aspects of financial management, which aligns with its sustainable growth strategy.

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ธนาคารกรุงไทย

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News