Categories
ECONOMY

เดินหน้าเต็มสูบชูจุดแข็งท่องเที่ยว คาดปี 67 ทุกภูมิภาครายได้เพิ่ม

 

เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2567 ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงความคืบหน้าผลงานรัฐบาลในรายการ “ไฮไลต์ไทยคู่ฟ้า” โดยประเดิมการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวตามนโยบายรัฐบาลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศไปสู่เป้าหมายที่กำหนด สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวของไทยผ่านมาตรการต่าง ๆ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบาย IGNITE Thailand 8 ด้าน ของนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล โดยย้ำว่า IGNITE Thailand’s Tourism เป็นด้านแรก ๆ สำคัญและ“เป็นเครื่องจักรเศรษฐกิจ” ที่จะมีบทบาทอย่างยิ่งในการช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยได้อย่างเร็ว โดยข้อมูลสถานการณ์การท่องเที่ยวของไทยระบุว่าเมื่อปีที่แล้วนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้าประเทศไทย สิ้นปี 2566 จำนวน 28 ล้านคน มีรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งสิ้นถึง ประมาณ 2.09 ล้านล้านบาท ขณะที่ปี 2567 (ข้อมูล ณ วันที่ 4 สิงหาคม 2567) จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยประมาณ 21,045,344 ล้านคน ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว (ปี 2566) โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้น 33% ตลอดเวลา 7 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-ก.ค.67) และพบว่าไม่มีเดือนไหนที่จำนวนนักท่องเที่ยวจะน้อยกว่าปีที่แล้ว โดยทุกๆ เดือนจำนวนสูงขึ้นต่อเนื่อง

สำหรับจำนวนนักท่องเที่ยวสูงสุด 5 อันดับแรกที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย ได้แก่ จีน 4,229,268 คน มาเลเซีย 2,925,755 คน อินเดีย 1,218,453 คน เกาหลีใต้ 1,117,576 คน และ รัสเซีย 1,015,762 คน โดยปัจจัยบวกสำคัญที่ส่งผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวดังกล่าว เช่น การมีวันหยุดปิดภาคเรียน (School holiday) ในประเทศจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น การเข้าสู่ช่วง Summer holiday ของภูมิภาคยุโรป นักท่องเที่ยวได้รับความเชื่อมั่นจากมาตรการยกเว้นวีซ่า และบัตร ตม.6 จำนวนที่นั่งเครื่องบินเข้าไทย (Seat Capacity) เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2567 มีจำนวน 22 ล้านที่นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 กระแสการเดินทางเที่ยวไทยตามรอยศิลปินนักแสดง Influencer/KOL  กิจกรรมส่งเสริมด้านการตลาดต่างประเทศของ ททท. ที่ดำเนินการช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2567 เพื่อกระตุ้นนักท่องเที่ยวตลาดต่างประเทศเข้าไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 เป็นต้น

ทั้งนี้จากการดำเนินการดังกล่าวของรัฐบาลและกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาส่งผลให้รายได้จากการท่องเที่ยว 7 เดือนแรกนั้น ทุกเดือนรายได้เพิ่มขึ้น ขณะที่ในส่วนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ ปีนี้ มากกว่า 15 ล้านคน-ครั้ง และพบว่า 7 เดือนที่ผ่านมา คนไทยท่องเที่ยวมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ รายได้จากการท่องเที่ยวพบว่าทุกเดือนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน 

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงแนวโน้มสถานการณ์การท่องเที่ยวไทยช่วง เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2567 พบว่า จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติอยู่ที่ 20.47 ล้านคน (เพิ่ม 17%) เมื่อรวมจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งปีอยู่ที่ 37.98 ล้านคน ( เพิ่ม 34.88%) ส่วนนักท่องเที่ยวไทย พบว่า 105.00 ล้านคน-ครั้ง (เพิ่ม 5%) เมื่อรวมจำนวนนักท่องเที่ยวไทยทั้งปีอยู่ที่ 205.08% ล้านคน-ครั้ง (เพิ่ม 10.46%) ส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวรวม 1,410,000 ล้านบาท (เพิ่ม 6.2%) เมื่อรวมรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งปีอยู่ที่ 2,738,000 ล้านบาท (เพิ่ม 31%) 

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวต่อถึงผลการจัดกิจกรรมของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่ผ่านมาที่เกิดผลเป็นรูปธรรมและส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ เช่น งาน Amazing Beach Life festival จังหวัดระยอง รายได้ 61.27 ล้านบาท นักท่องเที่ยว 53,264 คน งาน Vijitr 5 ภาค รายได้ 417.54บาท นักท่องเที่ยว 393,259 คน งาน Amazing food festival จังหวัดภูเก็ต รายได้ 21.45 บาท นักท่องเที่ยว 20,118 คน เป็นต้น นอกจากนี้ ย้ำว่าในปี 2568 ถือเป็นปีทองของการท่องเที่ยวไทยและคาดการณ์รายได้จะมากกว่าปี 2567 โดยรายได้จากการท่องเที่ยวปีนี้ คาดเป็นไปตามเป้าจะทำรายได้อยู่ที่ 650,000 ล้านบาท และอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของประเทศปีนี้ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งมาจากการท่องเที่ยว สำหรับสัปดาห์หน้า “ไฮไลต์ไทยคู่ฟ้า” พบกับการอัปเดตประเด็นเรื่องภาคการเกษตรซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญและได้ดำเนินการต่อเนื่องจนเกิดผลเป็นรูปธรรมส่งผลให้ขณะนี้ราคาพืชผลทางการเกษตรหลายชนิดเพิ่มขึ้นยกแผง

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักนายกรัฐมนตรี

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

ติดตามการดำเนินงานการพัฒนา วัดห้วยปลากั้ง สังฆาภิบาล แนวคิดอารามภิรมย์

 
เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.2566 นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เดินทางไปยังวัดห้วยปลากั้ง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย เพื่อติดตามการดำเนินงานการพัฒนาวัด ด้านสาธารณสงเคราะห์ การดำเนินงานของโรงพยาบาลวัดห้วยปลากั้งเพื่อสังคม ตามโครงการสังฆาภิบาล การสงเคราะห์เด็กกำพร้า 300 คน และการพัฒนาวัดตามแนวคิดอารามภิรมย์ โดยมีพระไพศาลประชาทร วิ.(พระอาจารย์ พบโชค ติสสะวังโส) เจ้าอาวาสวัดห้วยปลากั้งเป็นผู้ให้ข้อมูล และพาเยี่ยมชมการดำเนินด้านสังคมของวัดห้วยปลากั้ง 
 
 
ได้แก่สถานรับเลี้ยงเด็กด้อยโอกาส และสถานพักพิงสำหรับคนไร้ที่พึ่ง ตลอดจนเยี่ยมชมโรงพยาบาลวัดห้วยปลากั้ง ที่เปิดให้การรักษาแก่ประชาชนรวมถึงพระสงฆ์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งวัดห้วยปลาก้างได้เข้าร่วมโครงการสังฆาภิบาล พระสงฆ์อาพาธ ตามนโยบายรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ดร.พวงเพ็ชร ชุนละเอียด) ในการให้ความช่วยเหลือพระสงฆ์อาพาธ
 
 
พระไพศาลประชาทร วิ.(พระอาจารย์ พบโชค ติสสะวังโส) เจ้าอาวาสวัดห้วยปลากั้ง กล่าวว่า “โรงพยาบาลวัดห้วยปลากั้งเพื่อสังคม” สร้างขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้ที่เข้าถึงระบบสาธารณสุขได้ยาก โดยที่ผ่านมาวัดห้วยปลากั้ง เป็นสถานที่ทำบุญแบ่งปันสิ่งต่างๆ แก่ประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าว่าจะสามารถรองรับผู้ป่วยทั่วไปได้วันละประมาณ 500 คน และผู้ป่วยด้านทันตกรรมวันละประมาณ 120 คน สิ่งสำคัญคือการให้บริการ เน้นการทำบุญ โดยรับรักษาฟรีไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
 
 
สำหรับโรงพยาบาลวัดห้วยปลากั้งเพื่อสังคม ประกอบด้วย ศูนย์ทันตกรรม ศูนย์โพลีคลินิก ศูนย์ฝึกวิชาชีพ เป็นต้น และให้บริการเฉพาะผู้ป่วยนอกโดยไม่มีบริการนอนพัก ผู้ป่วยฉุกเฉินหรือทั่วไปเข้ารับการตรวจรักษาและกลับบ้านได้ หรือหากอาการหนักจะส่งตัวไปรักษาต่อ ณ สถานพยาบาลใกล้เคียง เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา
 
 
พระไพศาลประชาทร วิ. เจ้าอาวาสวัดห้วยปลากั้ง กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันทางวัดมีการดำเนินการหลายโครงการเพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้ตามแนวทางให้ความเมตตากับคนทุกชนชั้น และหนึ่งในนั้นคือการก่อสร้างโรงพยาบาลวัดห้วยปลากังเพื่อสังคมแห่งนี้ ถือเป็นโรงพยาบาลเอกชนระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ ที่มีรูปทรงอาคารเป็นเรือยาว 108 เมตร สูง 7 ชั้น ขนาด 90 เตียง เพื่อเอาไว้บริการรักษาผู้ที่เจ็บป่วยฟรี รวมถึงพระสงฆ์ที่อาพาธ โรงพยาบาลจะเน้นในเรื่องทันตกรรมและช่องปาก แต่ก็สามารถรับรักษาโรคทั่วไป ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยได้ด้วยเช่นกัน
 
 
ทั้งนี้ จากข้อมูลของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) รายงานว่า ปัจจุบันมีพระภิกษุสงฆ์ ทั้งหมดจำนวน 288,956 รูป อาพาธทั่วประเทศประมาณ 10,000 รูป ซึ่งบางรูปไม่ได้รับการรักษาตามสิทธิ์ขั้นพื้นฐานของ สปสช. บางรูปไม่มีผู้ดูแล พศ. จึงจัดทำโครงการในการให้ความช่วยเหลือพระสงฆ์ ประกอบด้วย โครงการอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการสังฆาภิบาลเพื่อพระสงฆ์อาพาธ โครงการกุฎิสงฆ์อาพาธร่วมกับโรงพยาบาลสงฆ์ นอกจากนี้ พศ. ยังสร้างกลไกความร่วมมือในการจัดบริการดูแลพระสงฆ์ ทำสถานชีวาภิบาลสำหรับองค์กรพระพุทธศาสนา รวมถึงให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงฐานข้อมูลของเพื่อตรวจสอบสิทธิ์ในการเข้ารับการรักษาพยาบาล ตามข้อกำหนดของ สปสช.
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
SOCIETY & POLITICS

ผลงานเรื่องร้องทุกข์ประชาชน แก้ได้ 82.44 % จาก 14,449 เรื่อง

 

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันที่ 20 มิ.ย. 66 ได้รับทราบผลสรุปการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นของประชาชนในไตรมาสที่2 ปีงบประมาณ 66 (ม.ค.-มี.ค.66) พร้อมแนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรค ตามที่สำนักปลัดประจำสำนักนายกรัฐมนตรี(สปน.) เสนอ

สปน. รายงานว่าในไตรมาสที่2 ที่ผ่านไปมีการแจ้งเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นประชาชนที่ยื่นผ่านการร้องทุกข์ 1111 ซึ่งประกอบด้วย สายด่วนรัฐบาล 1111, ตู้ ปณ. 1111, ไลน์สร้างสุข @PSC1111, แอปพลิเคชัน PSC1111, จุดบริการประชาชน 1111 และ เว็บไซต์ www.1111.go.th รวม 14,449 เรื่อง  สามารถดำเนินการจนได้ข้อยุติ 11,912 เรื่อง หรือคิดเป็นร้อยละ 82.44  และรอผลการพิจารณษของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2,537 เรื่องคิดเป็นร้อยละ 17.56

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า เมื่อแยกตามหน่วยงานแล้วจะพบการประสานเพื่อร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นมากที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ 

1) ส่วนราชการ ได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 1,454 เรื่อง, กระทรวงการคลัง 586 เรื่อง กระทรวงคมนาคม 439 เรื่อง กระทรวงแรงงาน 300 เรื่อง และกระทรวงสาธารณศุข 280 เรื่อง  

2)รัฐวิสาหกิจ ได้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 158 เรื่อง สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 113 เรื่อง การไฟฟ้านครหลวง 98 เรื่อง การประปาส่วนภูมิภาค 87 เรื่อง และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ 86 เรื่อง  

3)องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและจังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร 858 เรื่อง จังหวัดนนทบุรี 245 เรื่อง ปทุมธานี 213 เรื่อง ชลบุรี 208 เรื่อง และสมุทรปราการ 197 เรื่อง

 

อย่างไรก็ตาม เมื่อประมวลตามประเด็นการร้องเรียนแล้ว พบว่าประเด็นที่ประชาชนร้องเรียนหรือให้ความคิดเป็นมากที่สุด 10 ลำดับแรก ได้แก่ 

1)เสียงรบกวน/สั่นสะเทือน 1,658 เรื่อง ดำเนินการได้ข้อยุติ 1,570 เรื่อง (ร้อยละ 94.96) 

2)ไฟฟ้า 620 เรื่อง ดำเนินการได้ข้อยุติ 520 เรื่อง(ร้อยละ 83.87) 

3)โทรศัพท์ 603 เรื่อง ดำเนินการได้ข้อยุติ 539 เรื่อง (ร้อยละ89.39) 

4)ประเด็นเกี่ยวกับทรัพย์สิน 517 เรื่อง ดำเนินการได้ขอ้ยุติ 361 เรื่อง (ร้อยละ 69.82) 

5)บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 498 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 438 เรื่อง (ร้อยละ 87.95)

6)การเมือง เช่นความเห็นเกี่ยวกับนโยบายหาเสียง, การติดป้ายหาเสียง การลงทะบียนเลือกตั้งล่วงหน้า 462 เรื่อง ดำเนินการได้ข้อยุติ 453 เรื่อง (ร้อยละ 98.05) 

7)น้ำประปา 441 เรื่อง ดำเนินการได้ข้อยุติ 394 เรื่อง (ร้อยละ 89.34) 

8)ถนน 427 เรื่อง ดำเนินการได้ข้อยุติ 335 เรื่อง (ร้อยละ 78.45) 

9)ประเด็นเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย ชื่อเสียง และเสรีภาพ 368 เรื่อง ดำเนินการได้ข้อยุติ 317 เรื่อง (ร้อยละ 86.14)  

10)ควันไฟ/ฝุ่นละออง/เขม่า  351 เรื่อง ดำเนินการได้ข้อยุติ 305 เรื่อง (ร้อยละ 86.89)

 

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า สปน. ระบุว่าจากการรวบรวมข้อมูลปัญหาจากเรื่องราวร้องทุกข์ พบว่าในกรณีมิจฉาชีพที่หลอกลวงประชาชนทางโทรศัพท์ หรือคอลเซ็นเตอร์ และช่องทางออนไลน์ที่มีการ้องเรียนมาก ส่วนหนึ่งมาจากการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลที่ขาดแนวทางการรักษาความปลอดภัยของหน่วยงานที่ครอบครองข้อมูล  การหลอกลวงเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล ทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นต่อหน่วยงาน และต้องการให้บังคับ พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเป็นรูปธรรม  ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาที่กระทบกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างทันท่วงที โดยดำเนินการเชิงรุกเพื่อสกัดกั้นการหลอกลวงของมิจฉาชีพที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบและวิธีการอยู่ตลอด

 

นอกจากนี้ เพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงานและบริการประชาชนที่ดียิ่งขึ้น หน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของประชาชน ควรบูรณาการฐานข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ร่วมกัน และ ปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันเพื่อลดปัญหาและภาระในการกรอกข้อมูลของประชาชน มีการประชาสัมพันธ์วิธีและขั้นตอนปฏิบัติให้ประชาชนทราบอย่างชัดเจนและทั่วถึง เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและลดปัญหาข้อร้องเรียนที่อาจเกิดขึ้นได้

 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักนายกรัฐมนตรี

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

โฆษกรัฐบาล ฝากข้อคิดนร.-นศ. ไม่สร้างความขัดแย้ง พูดคุยด้วยเหตุผล

โฆษกรัฐบาล ฝากข้อคิดนร.-นศ. ไม่สร้างความขัดแย้ง พูดคุยด้วยเหตุผล

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2566  เวลา 08.30 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังใน) ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มอบหมาย นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้โอวาทแก่คณะนักเรียน นักศึกษา จากโครงการพัฒนาเยาวชนคนรุ่นใหม่กับการเรียนรู้วิถีประชาธิปไตย ในโอกาสเข้ามาศึกษาดูงานทำเนียบรัฐบาล จัดโดยสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

 

โอกาสนี้ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองฯ กล่าวต้อนรับและแสดงความยินดีกับคณะนักเรียน นักศึกษา ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการพัฒนาเยาวชนคนรุ่นใหม่กับการเรียนรู้วิถีประชาธิปไตย ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ซึ่งถือเป็นกิจกรรมที่ดีอย่างมาก ที่ทุกคนจะได้มาศึกษาเรียนรู้ถึงความสำคัญของวัฒนธรรมการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมถึงการมาศึกษาดูงานในทำเนียบรัฐบาล ซึ่งเป็นศูนย์บัญชาการของรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี โดยอาคาร ตึกและห้องต่าง ๆ ภายในทำเนียบรัฐบาล เช่น ตึกไทยคู่ฟ้า ตึกนารีสโมสร ตึกภักดีบดินทร์ ตึกสันติไมตรี ฯลฯ เป็นสถานที่สำคัญ ที่นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีใช้ในการประชุมและหารือกับคณะบุคคลต่าง ๆ ทั้งในประเทศและจากต่างประเทศ รวมถึงการประชุมคณะรัฐมนตรีในการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติ 

 

รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองฯ ได้กล่าวถึงบทบาทหน้าที่และอำนาจของฝ่ายบริหารในประเด็นสำคัญต่าง ๆ ในการทำงานและขับเคลื่อนประเทศของรัฐบาลปัจจุบัน ทั้งเรื่องของความจำเป็นและความสำคัญของการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี 6 ด้าน คือ 

1. ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง 

2. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 

3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 

4. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคทางสังคม 

5. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 

6. ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ 

 

เพื่อเป็นทิศทางและกรอบแนวทางในการพัฒนาประเทศไทยไปสู่อนาคตให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยมีแผนการดำเนินการระดับต่าง ๆ รองรับนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรมตามเป้าหมาย ซึ่งมีความสอดคล้องเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ ทั้งแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับต่าง ๆ (ปัจจุบันเป็นแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13) ตลอดจนนโยบายและแผนพัฒนาระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงฯ 

 

ทั้งนี้ สิ่งสำคัญของยุทธศาสตร์ชาตินั้น รัฐบาลให้ความสำคัญที่จะให้มีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับทิศทางของการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ทั้งเรื่องอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ ได้แก่ 

1) อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next – Generation Automotive) 

2) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics) 

3) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Affluent, Medical and Wellness Tourism)  

4) อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology) 

5) อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร (Food for the Future) รวมทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมอนาคต (New S-curve)  คือ 

  • 1) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (Robotics) 
  • 2) อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics)  
  • 3) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Bio chemicals) 
  • 4) อุตสาหกรรมดิจิตอล (Digital) และ
  • 5) อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) 

นอกจากนี้ รัฐบาลยังให้ความสำคัญที่จะให้ยุทธศาสตร์ฯ สามารถปรับให้สอดคล้องและทันกับการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของโลก โดยเฉพาะการพัฒนาและสร้างความเจริญเติบโตของประเทศไทยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของทั่วโลกที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อร่วมกันลดโลกร้อน ทั้งนี้ ในส่วนของประเทศไทย เมื่อปี 2564 ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมระดับผู้นำ (World Leaders Summit) ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change Conference of the Parties: UNFCCC COP) (COP26) 

 

โดยได้ประกาศเจตนารมณ์ว่า ไทยพร้อมยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่ด้วยทุกวิถีทาง เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี ค.ศ. 2065 ซึ่งขณะนี้รัฐบาลได้ดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจัง ผ่านการขับเคลื่อนนโยบาย BCG Model ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมที่มุ่งเน้นการพัฒนา 3 เศรษฐกิจไปพร้อมกัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) มุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มของทรัพยากรชีวภาพ เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่าหรือยาวนานที่สุด และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) การพัฒนาเศรษฐกิจโดยคำนึงถึงความยั่งยืนของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม 

 

ซึ่งได้รับความชื่นชมและยอมรับจากต่างประเทศในเวทีการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ค.ศ. 2022 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ โดยเกิดการรับรอง “เป้าหมายกรุงเทพฯ” ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bangkok Goals on BCG Model) ในการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ค.ศ. 2022 ได้สำเร็จ ถือเป็นกรอบการดำเนินการกำหนดเป้าหมายร่วมกันเพื่อให้ภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก เจริญเติบโตอย่างเข้มแข็ง สมดุล มั่นคง และยั่งยืน ดังนั้น จึงขอให้ทุกคนนำความรู้นี้ไปปรับใช้ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก และร่วมกันขับเคลื่อนนโยบาย BCG Model ไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ร่วมกัน

 

ในตอนท้าย รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองฯ ได้ฝากข้อคิดให้กับคณะนักเรียน นักศึกษาจากโครงการพัฒนาเยาวชนคนรุ่นใหม่กับการเรียนรู้วิถีประชาธิปไตย กรณีเรื่องของความไม่เข้าใจกันและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันว่า เหตุการณ์หรือเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นขอให้ทุกคนได้มีการพิจารณาพูดคุยกันด้วยเหตุด้วยผล เพราะแม้อยู่หรือพบในเหตุการณ์เดียวกัน แต่ละคนจะมีมุมมองความคิดเห็นที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับมุมมองและจุดที่แต่ละคนยืนอยู่ ดังนั้น ทุกคนต้องพูดคุยกันด้วยเหตุด้วยผล เอาใจเขามาใส่ใจเราโดยไม่แบ่งแยกกันว่าเป็นฝ่ายใด ทั้งนี้ ในฐานะโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ก็พยายามที่จะทำความเข้าใจสร้างความรัก ความสามัคคี สร้างความปรองดอง และไม่สร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นในสังคมและประเทศไทย 

 

โดยใช้หลักทฤษฎีว่าทุกคนมีมุมมองที่ต่างกันได้ แต่ทำอย่างไรที่เราจะพูดกันด้วยเหตุด้วยผล เพื่อให้บ้านเมืองมีความสงบสุข มีความรักสามัคคีกัน และประเทศเดินหน้าขับเคลื่อนต่อไปอย่างมั่นคงและยั่งยืน 

 

ด้านผู้แทนคณะนักเรียน นักศึกษาฯ ได้กล่าวขอบคุณรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ให้การต้อนรับคณะนักเรียน นักศึกษาจากโครงการพัฒนาเยาวชนคนรุ่นใหม่กับการเรียนรู้วิถีประชาธิปไตย อย่างอบอุ่นและรับความรู้ในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และอำนาจของฝ่ายบริหาร 

 

โดยเฉพาะบริหารงานของรัฐบาลผ่านการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ การปฏิรูปประเทศ และนโยบายสำคัญของรัฐบาลในการนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม เกิดประโยชน์ต่อประชาชนทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง พร้อมกันนี้ตัวแทนคณะนักเรียน นักศึกษาฯ ยังได้กล่าวถึงความประทับใจต่อคำถามของโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ว่า “โตขึ้นอยากเป็นอะไร” ซึ่งหากตอบตอนนี้ขอตอบว่า “โตขึ้นอยากเป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี” เพราะคนปัจจุบันท่านทำหน้าที่เป็นแบบอย่างไว้ดีที่สุดแล้ว

 

สำหรับโครงการพัฒนาเยาวชนคนรุ่นใหม่กับการเรียนรู้วิถีประชาธิปไตย กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 – 30 พฤษภาคม 2566 ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ และอาคารรัฐสภา กรุงเทพมหานคร มีกลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียน นักศึกษาจากสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจากจังหวัดต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 150 คน 

 

เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของวัฒนธรรมการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเพื่อพัฒนาศักยภาพของเยาวชนให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปเผยแพร่ให้กับสถาบันการศึกษาของตนเอง อีกทั้งเสริมสร้างภาพลักษณ์และทัศนคติที่ดีต่อวุฒิสภาให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางต่อไป

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักนายกรัฐมนตรี

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
ECONOMY

ต่างชาติเที่ยวไทยใกล้แตะ 10 ล้านคน รัฐหนุนทุกหน่วยงานรับตลาดโต

ต่างชาติเที่ยวไทยใกล้แตะ 10 ล้านคน รัฐหนุนทุกหน่วยงานรับตลาดโต

Facebook
Twitter
Email
Print
 

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้ภาคการท่องเที่ยวของไทยขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ต้นปีถึงวันที่ 15 พ.ค. มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยทุกช่องทางรวมแล้ว 9.47 ล้านคน  สร้างรายได้จากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวแล้ว 3.91 แสนล้านบาท ซึ่งกลุ่มนักท่องเที่ยวหลักยังคงมาจากประเทศในเอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และอาเซียน

รัฐบาลได้สนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ปรับปรุงการดำเนินงานด้านต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ภาคท่องเที่ยว รักษาแรงส่งการเติบโตให้เป็นไปตามเป้าหมาย โดยเฉพาะในตลาดหลักอย่างนักท่องเที่ยวจีน ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ประเมินว่าปี 66 น่าจะเดินทางมาไทยได้ 5.3 ล้านคน หรือหากมีปัจจัยเสริมอื่นๆ ก็อาจจะถึง 7 ล้านคน

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ข้อมูลของ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.)  ระบุว่า 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 66 (ต.ค.65-เม.ย.66) มีเที่ยวบินจากจีนเข้ามาไทยแล้ว 12,805 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้นร้อยละ 98 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งมาจากที่จีนมีนโยบายให้บริษัททัวร์นำนักท่องเที่ยวแบบกรุ๊ปทัวร์ออกนอกประทศได้ตั้งแต่ 6 ก.พ. 66 เป็นต้นมา

ในช่วงที่เหลือของปีงบประมาณ บวท. คาดว่าเที่ยวบินจากประเทศจีนจะยังเพิ่มขึ้นอีก โดยคาดว่าเดือนพ.ค. จะมีเที่ยวบินจีน 5,330 เที่ยวบิน, มิ.ย. 6,090 เที่ยวบิน, ก.ค. 7,150 เที่ยวบิน, ส.ค. 7,460 เที่ยวบิน และก.ย.  7,340 เที่ยวบิน ส่งผลให้ตลอดปีงบประมาณ 66 (ต.ค.65-ก.ย. 66) มีเที่ยวบินจากจีนมายังประเทศไทย 46,175 เที่ยวบิน 

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า แม้ปริมาณเที่ยวจีนที่คาดการณ์ไว้นี้ยังคงน้อยกว่าช่วงเวลาเดียวกันในปี 62 ซึ่งเป็นช่วงก่อนเกิดโควิด19 อยู่ร้อยละ 66 แต่หน่วยงานเกี่ยวข้องก็ได้เตรียมการเพื่อรองรับ เพื่อให้ไม่เกิดความติดขัดต่อเที่ยวบินที่จะเพิ่มขึ้น ทั้งส่วนของการพิจารณาจัดสรรตารางการบินให้สอดคล้องกับความสามารถในการรองรับเที่ยวบิน การบริหารจัดการความคล่องตัวการจราจรทางอากาศ มีความร่วมมือกับหน่วยงานผู้ให้บริการการเดินอากาศของจีน เป็นต้น

ทางด้านกระทรวงคมนาคมก็ได้ติดตามการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนผู้ให้บริการภาคพื้นชั่วคราว ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การบริการภาคพื้นเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สามารถรองรับจำนวนผู้โดยสารที่กำลังเพิ่มขึ้น ในขณะที่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) อยู่ระหว่างดำเนินการคัดเลือกผู้ได้รับสิทธิให้ประกอบการให้บริการภาคพื้นในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รายที่ 3 ให้เป็นไปตามแผนงาน จากปัจจุบันที่มีผู้ให้บริการภาคพื้นอยู่ 2 ราย เพื่อลดปัญหาการขนถ่ายกระเป๋าสัมภาระล่าช้าต่อไป  

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักนายกรัฐมนตรี

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
ECONOMY NEWS NEWS UPDATE

ไทยส่งออกข้าว 4 เดือนแรกกว่า 2.79 ล้านตัน มูลค่ารวม 5 หมื่นล้านบาท

ไทยส่งออกข้าว 4 เดือนแรก กว่า 2.79 ล้านตัน มูลค่ารวม 5 หมื่นล้านบาท

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบรายงานสถานการณ์การส่งออกข้าวไทย และยินดีที่เห็นตัวเลขข้าวไทยเป็นที่ต้องการในตลาดต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2566 (มกราคม – เมษายน) ไทยส่งออกข้าวสูงถึง 2.79 ล้านตัน มูลค่ารวมกว่า 1,514 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 51,281 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ในช่วงเวลาเดียวกัน ปริมาณเพิ่มร้อยละ 23.61 และมูลค่าเพิ่มร้อยละ 28.03 ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีสั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งทำงานเชิงรุก หาแนวทางส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตและผลักดันราคาข้าวอย่างยั่งยืน เพื่อการเติบโตของการส่งออกข้าวไทย และเพิ่มรายได้แก่เกษตรกร

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากข้อมูลของกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ปริมาณการส่งออกข้าวไทยในตลาดโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากความต้องการนำเข้าข้าวไทยปริมาณมากในหลายประเทศ ซึ่งในปัจจุบัน ไทยถือเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับที่ 2 ของโลก รองจากอินเดีย โดยในเดือนเมษายน 2566 ราคาเฉลี่ยข้าวไทยทุกชนิดปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากค่าเงินบาทมีเสถียรภาพ ทำให้ราคาส่งออกสามารถแข่งขันได้ และส่งผลให้ราคาข้าวในประเทศเกือบทุกชนิดสูงเกินราคาประกันรายได้ นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์คาดการณ์ว่า ในปี 2566 ไทยจะสามารถส่งออกข้าวได้เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 7.5 ล้านตัน และมีแนวโน้มสูงกว่าการส่งออกข้าวโดยรวมในปี 2565 ซึ่งมีปริมาณรวมอยู่ที่ 7.69 ล้านตัน โดยปริมาณการส่งออกข้าวไทยล่าสุด จนถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2566 มีปริมาณรวมแล้วกว่า 3.05 ล้านตัน ซึ่งน่ายินดีที่คงมีความต้องการในตลาดต่างประเทศเข้ามาอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ตลาดส่งออกข้าวที่สำคัญของไทย ได้แก่ อิรัก อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา แอฟริกาใต้ เซเนกัล บังกลาเทศ จีน ญี่ปุ่น แคเมอรูน และโมซัมบิก โดยไทยส่งออกข้าวขาวมากเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาได้แก่ ข้าวหอมมะลิไทย ข้าวนึ่ง ข้าวหอมไทย ข้าวเหนียว และข้าวกล้อง ตามลำดับ 

“นายกรัฐมนตรีขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ที่บูรณาการการทำงานร่วมกัน ตามยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต ร่วมกันพัฒนาข้าวไทยให้มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาด ส่งผลให้ข้าวไทยเป็นที่ต้องการในตลาดต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นในศักยภาพของข้าวไทย พร้อมขอให้ดูแลมาตรฐานและคุณภาพ ระมัดระวังพันธุ์ข้าว ไม่ให้เกิดการปลอมปนข้าว ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพข้าวและชื่อเสียงคุณภาพสินค้าไทย” นายอนุชาฯ กล่าว

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงพาณิชย์

 
Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE