Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

‘สุดาวรรณ’ เยือนชุมชนปกาเกอะญอ จัดพื้นที่คุ้มครองวีถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์

 
เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2567 นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลในพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยได้เดินทางไปติดตามการดำเนินงานตามแนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกะเหรี่ยง ณ ชุมชนปกาเกอะญอ บ้านห้วยหินลาดใน อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย โดยเยี่ยมชมและร่วมหารือกับชุมชนถึงแนวคิดการจัดการพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ของชุมชน เป็นต้นแบบให้กับชุมชน ชาติพันธุ์ในหลายพื้นที่
 
ในโอกาสนี้ นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวภายหลังเยี่ยมชมการบริหารจัดการพื้นที่ชุมชนว่า “รู้สึกยินดีมาก ที่ได้มาเห็นรูปธรรมความสำเร็จของชุมชนพี่น้องปกาเกอะญอ บ้านห้วยหินลาดใน ซึ่งเป็นชุมชนที่ได้รับการประกาศให้เป็นพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ตามมติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2553 ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ เพราะได้เห็นถึงแนวทางการจัดการที่ดีของชุมชน แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของชุมชนชาติพันธุ์ที่สามารถพึ่งตนเองได้บนฐานทุนทางวัฒนธรรม ที่สำคัญ คือ การกำหนดเขตพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ เป็นแนวทางที่นอกจากจะทำให้ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นแล้ว ยังทำให้ลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่ และเป็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องชาติพันธุ์ด้วยมิติวัฒนธรรม ทำให้ชุมชนมีความมั่นคงในชีวิต สามารถทำธุรกิจและสร้างรายได้ได้อย่างยั่งยืนไปพร้อมๆ กับการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล จึงเห็นว่านี่เป็นรูปธรรมของการใช้พลังทางวัฒนธรรม หรือ Soft Power เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนของพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์”
 
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล กล่าวด้วยว่า “รัฐบาลภายใต้การนำของท่านนายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน มีนโยบายที่ชัดเจนที่จะดูแลพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ให้มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีงาน มีรายได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยได้เสนอร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. …. ให้เป็นกฎหมายที่จะคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมศักยภาพของพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ทุกกลุ่มในประเทศไทยอย่างเสมอภาคกัน ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว เชื่อว่าเมื่อกฎหมายนี้ประกาศใช้แล้วจะเป็นหลักประกันให้ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์มีความมั่นคงในชีวิต สามารถประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ที่ยั่งยืน ดำรงอยู่อย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีรายได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี มากไปกว่านั้น คือ เป็นประโยชน์กับประเทศที่เราจะได้โอบรับความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ไว้เป็นทุนทางวัฒนธรรมของชาติ ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ เพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนด้วยทุนทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ และทุนวัฒนธรรมที่หลากหลาย”
 
“ประโยชน์กับพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ทุกกลุ่มในประเทศไทย และการที่ได้มีโอกาสมาเยี่ยมเยือนชุมชนพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ บ้านห้วยหินลานใน ในวันนี้ นอกจากได้เห็นและให้กำลังใจพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์แล้ว ยังเป็นโอกาสที่จะได้มาบอกกล่าวกับพี่น้องให้ได้ร่วมยินดีที่ในอีกเร็ววันนี้ที่เราจะมีกฎหมายคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ฉบับแรกของประเทศไทย” นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล กล่าวปิดท้าย
 
บ้านห้วยหินลาดใน เป็นชุมชนปกาเกอะญอ ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ต.บ้านโป่ง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย ชาวบ้านห้วยหินลาดในอยู่ที่นี่มานานกว่า 150 ปี ได้รับการประกาศเป็นพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ นำร่อง 1 ใน 4 พื้นที่ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2553 เรื่อง แนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกะเหรี่ยง โดยชาวบ้านได้จัดทำข้อตกลงในการดูแลป่าชุมชนบนฐานวัฒนธรรมและข้อห้ามตามประเพณี ทำให้ชุนชนที่มีจำนวนชาวบ้านเพียงกว่าร้อยชีวิต สามารถรักษาผืนป่ากว่า 10,000 ไร่เอาไว้อย่างสมบูรณ์
 
นอกจากนี้ชุมชนยังประสบความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยเฉพาะกาแฟ ชา และน้ำผึ้ง สร้างรายได้ให้กับชุมชนจำนวนมาก การจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนของชุมชนบ้านห้วยหินลานในได้รับการยอมรับจากในประเทศและต่างประเทศ โดยได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว เมื่อปี 2548 และได้รับรางวัลชุมชนต้นแบบการจัดการทรัพยากรบนฐานวัฒนธรรมของชุมชนที่ประเทศมาเลเซียเมื่อปี 2566 ที่ผ่านมาอีกด้วย
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

Chiang Rai Sustainable Design Week ครั้งที่ 3 เชียงรายเมืองออกแบบเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

เมื่อวันที่  30 กรกฎาคม 67 ที่โรงแรมแสนโฮเทล อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย ดร.ปรีชา อนุรักษ์ รองนายกเทศมนตรีนครเชียงราย รศ.ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง คุณอิ่มหทัย กันจินะ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาธุรกิจ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA เชียงใหม่ และอาจารย์สุขสันติ์ ชื่นอารมย์ หัวหน้าวิจัยนวัตกรรมสิ่งแวดล้อมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ร่วมกันแถลงข่าวการจัดกิจกรรมเชิงการตลาด เทศกาลเชียงรายเมืองออกแบบเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Chiang Rai Sustainable Design Week) ครั้งที่ 3 เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ มุ่งเน้นเยาวชนคนรุ่นใหม่ความยั่งยืน พหุวัฒนธรรมและการมีส่วนร่วมของชุมชน กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-15 สิงหาคม 2567 นี้ ณ ลานศิล ลานธรรม ถิ่นพญามังราย (ศาลากลางหลังเก่า) อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ได้ร่วมกับ อบจ.เชียงราย เทศาบาลนครเชียงราย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และภาคประชาชน ที่ได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดงาน โดยเฉพาะจังหวัดเชียงราย ในฐานะเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านการออกแบบขององค์การยูเนสโก ประจำปี 2566 


     นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า การจัดกิจกรรมดังกล่าว เป็นการส่งเสริม สนับสนุนนักออกแบบ นักสร้างสรรค์ ผู้ประกอบการธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ที่มีวัตถุประสงค์ด้านความยั่งยืน ให้มีพื้นที่ในการนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ จำหน่ายสินค้า และทดลองตลาดผ่านกิจกรรม สร้างและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขยายผลในระดับชาติเชื่อมโยงระดับนานาชาติ ระหว่างเครือข่ายการออกแบบเพื่อความยั่งยืน ให้มีศักยภาพในการปรับตัวเพื่อสามารถสร้างโอกาสเติบโตอย่างมีคุณภาพ และเป็นกำลังสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของจังหวัดเชียงราย สู่ความเชื่อมโยงกับเครือข่ายนานาชาติ เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยในปีนี้การจัดกิจกรรมเชิงการตลาด Chiang Rai Sustainable Design Week ภายใต้แนวคิด “Chiangrai Creature” สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าเมือง แนวคิดเมืองมีชีวิต สรรพสิ่งมีชีวิต ตรงกับแนวคิดเมืองสร้างสรรค์เชียงราย


     สำหรับภายในงานจัดให้มีการแสดงผลงานสร้างสรรค์ของนักออกแบบ หน่วยงาน องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน การเปิดรับร้านค้าสินค้าดีไซน์แบรนด์ที่สะท้อนศักยภาพพื้นถิ่นด้วยความคิดสร้างสรรค์ที่สอดคล้องกับการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน และเป็นมิตต่อสิ่งแวดล้อม กิจกรรมเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ เวิร์กช็อปเสวนา ดนตรีและการแสดง กิจกรรม SMOG ธุลีกาศ ทดสอบแนวคิดการใช้งานออกแบบเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตจังหวัดเชียงรายภายใต้เครือข่าย UCCN การจัดการไฟป่า ต้นเหตุฝุ่น PM 2.5 กิจกรรมสล่ากาแฟ กิจกรรม วน “เวียง” เจียงฮาย


    นอกจากนี้ องค์การบริหารจังหวัดเชียงราย ยังได้จัดกิจกรรมนิทรรศการบอกเล่าเมืองเรื่องราวเมืองเชียงรายในมุมมองการเล่าเรื่อง Chiang Rai Sustainable Design Week ใช้พื้นที่ 4 จุดสำคัญคือ กิจกรรมที่ 1 ศาลากลางจังหวัดเชียงรายหลังแรก รับชมเทคนิคพิเศษ Projection Mapping สุดอลังการ นำเสนอเรื่องราวเมืองเชียงราย ในมุมของอัตลักษ์ที่เล่าเรื่องราวการออกแบบที่ส่งต่อกันมาถึงปัจจุบัน กิจกรรมที่ 2 การออกแบบเพื่อความยั่งยืนเชียงราย 10 สถานที่ 10 การออกแบบ 10 บุคคล ที่หอประวัติเมืองเชียงราย 750 ปี กิจกรรมที่ 3 บริเวณหน้าอาคารหอประวัติเมืองเชียงราย นิทรรศการ DESIGN FOR EDUCATION พื้นที่เพื่อการศึกษาการออกแบบ เป็นการนำเสนอโครงการจัดตั้ง DESIGN SCHOOL และกิจกรรมที่ 4 หอนาฬิกาแตลาดเทศาล 1 เชียงราย เป็นการออกแบบพื้นที่ทดลองตลาดต้นแบบนิทรรศการเรื่องเล่าจากอาม่า เล่าเรื่องรางวิถีชีวิตผู้คนในกาดหลวงจากปากคำอาม่า ตั้งแต่อดีตถึงรุ่นลูกหลาน หอนาฬิกา พญาหลวง ผลงานการนำเศษวัสดุเหลือใช้จากตลาด แปลงร่างเป็นพญาลวง และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

เชียงรายจัดงานกาดวัฒนธรรมริมน้ำกก กาดฝั่งหมิ่น ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมประเพณีพื้นถิ่น

 

เมื่อวันพุธที่ 17 กรกฎาคม 2567 ณ ข่วงหลวงพญามังราย ด้านข้างวัดฝั่งหมิ่น อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ได้มีการจัดงานกาดวัฒนธรรมริมน้ำกก กาดฝั่งหมิ่น เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีพื้นถิ่นถนนคนเดินเมืองเชียงราย ภายใต้โครงการการปรับปรุงและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เชิงนิเวศ และเชิงสุขภาพ ให้มีคุณภาพเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

 

การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ซึ่งได้กำหนดกิจกรรมส่งเสริมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีพื้นถิ่นถนนคนเดินเมืองเชียงราย เพื่อช่วยเหลือประชาชน กลุ่มผู้ผลิตสินค้า และผู้ประกอบการต่างๆ ให้มีพื้นที่ในการจำหน่ายสินค้า โดยมีการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ส่งเสริมให้เกิดพื้นที่ตลาดใหม่และขยายพื้นที่ตลาดเดิม ตลอดจนเป็นการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย ซึ่งจะนำไปสู่การกระจายรายได้สู่เศรษฐกิจฐานราก

 

กิจกรรมในวันพุธที่ 17 กรกฎาคม 2567 ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากชุมชนวัดฝั่งหมิ่นและเทศบาลนครเชียงราย โดยมีประชาชนให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมจับจ่ายใช้สอยและร่วมกิจกรรมครั้งนี้เป็นจำนวนมาก งานกาดวัฒนธรรมริมน้ำกก กาดฝั่งหมิ่นจะจัดขึ้นระหว่างวันพุธที่ 17 กรกฎาคม 2567 ถึงวันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม 2567 โดยจะจัดทุก ๆ เย็นวันพุธ พฤหัสบดี และศุกร์ รวมทั้งสิ้น 18 ครั้ง ตั้งแต่เวลา 16.00 – 21.00 น. ณ ข่วงหลวงพญามังราย ด้านข้างวัดฝั่งหมิ่น อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

 

ในงานนี้ประชาชนจะได้ร่วมกิจกรรม workshop จับจ่ายใช้สอยสินค้าทางวัฒนธรรม สินค้าชุมชนวัดฝั่งหมิ่น และชมการแสดงศิลปะวัฒนธรรมที่หลากหลาย นอกจากนี้ยังมีการแสดงศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่นที่น่าสนใจ เช่น การแสดงดนตรีพื้นบ้าน การแสดงนาฏศิลป์ และการแสดงหัตถกรรมพื้นบ้าน

 

นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยบุคลากรสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ได้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ โดยนายพิสันต์ได้กล่าวว่า “การจัดงานกาดวัฒนธรรมริมน้ำกก กาดฝั่งหมิ่นในครั้งนี้ เป็นการส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีพื้นถิ่นของจังหวัดเชียงราย และยังเป็นการสร้างพื้นที่ตลาดใหม่ให้กับกลุ่มผู้ผลิตสินค้าและผู้ประกอบการท้องถิ่น เพื่อให้มีพื้นที่ในการจำหน่ายสินค้าและสร้างรายได้เพิ่มขึ้น”

 

งานกาดวัฒนธรรมริมน้ำกก กาดฝั่งหมิ่นเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญในการส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีพื้นถิ่น รวมถึงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เชิงนิเวศ และเชิงสุขภาพให้มีคุณภาพ เพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งจะนำไปสู่การกระจายรายได้สู่เศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน

 

ขอเชิญชวนประชาชนทุกท่านเข้าร่วมกิจกรรมงานกาดวัฒนธรรมริมน้ำกก กาดฝั่งหมิ่นในทุกเย็นวันพุธ พฤหัสบดี และศุกร์ ตั้งแต่เวลา 16.00 – 21.00 น. ณ ข่วงหลวงพญามังราย ด้านข้างวัดฝั่งหมิ่น อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย เพื่อร่วมสนับสนุนและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีพื้นถิ่น และสัมผัสกับบรรยากาศการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดเชียงราย

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

‘พิสันต์’ เปิดประกวดออกแบบผ้าไทย เตรียมคัด 20 ผลงาน แสดงแฟชั่นโชว์

 

เมื่อวันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เป็นประธานในพิธีเปิดการประกวดการออกแบบแฟชั่นผ้าไทย ผ้าถิ่น ผ้าชาติพันธุ์ ผ้าอัตลักษณ์อาภรณ์นครเชียงราย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567  ภายใต้โครงการกิจกรรมและการตลาด เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กิจกรรมหลัก การส่งเสริมกิจกรรมท่องเที่ยวตลอดทั้งปี กิจกรรมย่อย อัตลักษณ์อาภรณ์นครเชียงราย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในวันอังคารที่ 9 กรกฎาคม 2567 ณ โรงแรมเอ็มบูทีค รีสอร์ทเชียงราย ตำบลรอบเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

 

โดยการจัดงานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการนำทุนทางวัฒนธรรมมาต่อยอดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ การนำมรดกภูมิปัญญาการทอผ้าให้คงอยู่สืบไป รวมทั้ง สนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เด็ก เยาวชน และ ประชาชน ให้ความสนใจในการอนุรักษ์ผ้าไทย ผ้าถิ่น ผ้าชาติพันธุ์ ผ้าอัตลักษณ์อาภรณ์นครเชียงราย มากยิ่งขึ้น  

 

ทั้งนี้ ได้มีนักออกแบบ ดีไซน์เนอร์ ช่างทอผ้า ช่างเย็บผ้า ผู้ประกอบการ และบุคคลทั่วไป ส่งผลงานเข้าร่วมประกวด จำนวนทั้งสิ้น 33 ผลงาน และคัดเลือกให้เหลือ 20 ผลงาน เพื่อนำไปเข้าร่วมการจัดงานแสดงแบบแฟชั่น กิจกรรมการสาธิตภูมิปัญญาฯ ระหว่างวันที่ 12 – 14 กรกฎาคม 2567 ณ ลานธรรม ลานศิลป์ ถิ่นพญามังราย (ศาลากลางจังหวัดเชียงรายหลังแรก) อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

คณะกรรมการ ประเมินเชิงประจักษ์พหุชาติพันธุ์ชุมชนวัดห้วยปลากั้ง

 

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม 2567 ณ วัดห้วยปลากั้ง ตำบลริมกก อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงรายสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ร่วมกับชุมชนวัดห้วยปลากั้ง ต้อนรับและอำนวยความสะดวกคณะกรรมการคัดเลือก 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ประกอบด้วย นางศศิฑอณร์ สุวรรณมณี หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม, นางสุนันทา มิตรงาม  ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวัฒนธรรม, นางจันทิมา จริยเมโธ  ที่ปรึกษากระทรวงวัฒนธรรม, และ นายภัทราวุฑ ตะวันวงค์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ รวมจำนวน 4 คน ลงพื้นที่จังหวัดเชียงราย เพื่อประเมินชุมชนเชิงประจักษ์ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี พหุชาติพันธุ์” ณ ชุมชนวัดห้วยปลากั้ง จังหวัดเชียงราย โดยนายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้ นางพรทิวา ขันทะมาลา ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม พร้อมด้วยข้าราชการและเจ้าหน้าที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ร่วมให้การต้อนรับและอำนวยความสะดวกแก่คณะกรรมการฯ

 

 

กระทรวงวัฒนธรรมได้ประกาศผลการคัดเลือกให้ “ชุมชนวัดห้วยปลากั้ง” จังหวัดเชียงราย ผ่านการประเมินรอบแรก 20 ชุมชน ในการคัดเลือกสุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ประจำปี พ.ศ. 2567 ซึ่งคณะกรรมการฯ จะดำเนินการคัดเลือกให้เหลือเพียง 10 ชุมชน เพื่อเข้ารับโล่รางวัลจากนายกรัฐมนตรี

 

ในวันนี้  คณะกรรมการฯ ได้ลงพื้นที่จังหวัดเชียงราย เพื่อพิจารณาคัดเลือกเชิงประจักษ์ ณ วัดห้วยปลากั้ง โดยมี นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย, นางอมรรัตน์ ปินวรรณา ผู้อำนวยการโรงเรียนสหศาสตร์ศึกษา  นายนัฐการณ์ ศรีกุณา ผู้แทนจากวัดห้วยปลากั้ง, นางแสงหล้า ไชยอิ่นคำ ประธานชุมชนห้วยปลากั้ง, นายสีเมือง ทำมา ปราชญ์ชุมชน/นักเล่าเรื่อง, นายอนันต์ คนสวรรค์ ผู้นำกลุ่มชาติพันธ์ุลัวะ, นางแอ่น เดือนวิไล ผู้นำกลุ่มชาติติพันธ์ุไทลื้อ, นางรพีพร ทองดี ประธานกลุ่มแม่บ้าน,พร้อมด้วยผู้นำชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ คณะกรรมการชุมชนฯ และเครือข่ายทางวัฒนธรรมให้การต้อนรับและร่วมให้ข้อมูล

 

ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้เข้ากราบนมัสการพระไพศาลประชาทร วิ. (หลวงพ่อพบโชค ติสสะวังโส) เจ้าอาวาสวัดห้วยปลากั้ง พร้อมรับฟังแนวทางการบริหารจัดการชุมชน ด้านการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรม, รับทราบการขับเคลื่อน Soft Power และการนำเอาทุนทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์มาสร้างเสน่ห์ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี พหุชาติพันธุ์” โดยคณะกรรมการฯ ได้สัมผัสกับความหลากหลายของพหุวัฒนธรรม ณ ชุมชนวัดห้วยปลากั้ง   กิจกรรมประกอบด้วย

  • การร่วมรับประทานอาหารในโครงการแค่คิดก็ผิดแล้ว (ครัวละซาว : อาหารสด สะอาด คุณภาพดี ราคาย่อมเยา เพียงเมนูละ 20 บาท)
  • ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมจากกลุ่มเด็กและเยาวชนวัดห้วยปลากั้ง ซึ่งประกอบด้วย การแสดงต้อนรับ การฟ้อนอวยพร และการแสดงที่สื่อถึงอัตลักษณ์ล้านนา ซึ่งฝึกสอนโดย : นายพิชญ์ บุษเนียร
  • ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมต้อนรับของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ โดยมีกลองใหญ่โบราณของชนเผ่าลัวะเป็นองค์ประกอบหลักในชุดต่างๆ จำนวน 4 ชุดการแสดง
  • ชมวิดิทัศน์สรุปการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสร้างสรรค์ และเรียนรู้การสร้างบารมีทานอันยิ่งใหญ่ในโครงการช่วยเหลือสังคมของพระไพศาลประชาทร วิ. (หลวงพ่อพบโชค ติสสะวังโส) เจ้าอาวาสวัดห้วยปลากั้งณ ห้องประชุมพบโชค
  • นักเล่าเรื่องของวัดห้วยปลากั้ง นำโดย นายนัฐการณ์ ศรีกุณา และนายแสนสุข อินตาดือ นำคณะกรรมการ เดินทางโดยรถราง กราบนมัสการสักการะสิ่งศักดิ์ เยี่ยมชมสถาปัตยกรรมที่งดงามในวัดห้วยปลากั้ง อาทิ ชมพบโชคธรรมเจดีย์ และกราบสักการะพระพุทธรูป พระอรหันต์ พระโพธิสัตว์กวนอิม หลวงพ่อโสธร และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี), ชมพระอุโบสถสีขาว, สักการะพระโพธิสัตว์กวนอิม ที่มีขนาดสูงถึง 69 เมตร, ชมการแสดงดนตรีพื้นเมือง โดย กลุ่มล้านนาพบโชค (เชียงราย), ชมวิวทิวทัศน์จังหวัดเชียงราย และเยี่ยมชมโรงพยาบาลวัดห้วยปลากั้งเพื่อสังคม

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

‘พิสันต์’ ดันศิลปะดนตรีอัตลักษณ์ วัฒนธรรมท้องถิ่นเชียงราย

 

เมื่อวันศุกร์ที่  5 กรกฎาคม 2567 เวลา 08.30 น. ณ หอประชุมกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย นายพิสันต์  จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เป็นประธานกล่าวเปิดงานกิจกรรมเผยแพร่องค์ความรู้ด้านศิลปะดนตรีอัตลักษณ์ท้องถิ่น โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทัศน์  คล้ายสุวรรณ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายกล่าวต้อนรับ พร้อมด้วย ดร. อดิเทพ  วงศ์ทอง ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, นางฐิติมา  เร่งประเสริฐ ศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย, นางสลักจฤฎดิ์  ติยะไพรัช  ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย, นายสุวิทย์  ใจป้อม นายกสมาคมขัวศิลปะ, คณะอาจารย์ และศิลปินพื้นบ้านให้เกียรติมาร่วมพิธีเปิดกิจกรรมฯ

 

วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านศิลปะการดนตรีอัตลักษณ์ของล้านนา ศิลปวัฒนธรรมและมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงราย และเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนได้เรียนรู้ สืบสานภูมิปัญญาด้านดนตรีพื้นบ้านล้านนาของจังหวัดเชียงราย

 

กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย

การเสวนาวิชาการการสืบสานศิลปะดนตรีพื้นบ้านจังหวัดเชียงรายดำเนินรายการโดย ผศ.ดร. องอาจ  อินทนิเวศ อาจารย์ประจำสาขาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ และรองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และคณะวิทยากรผู้ร่วมเสวนา

  • อาจารย์สุคำ แก้วศรี ข้าราชการครูบำนาญ, ครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 4 ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
  • ผศ. รัตนะ ตาแปง ประธานหลักสูตรศิลปกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการแสดง และสาขาวิชาดนตรีและนาฏศิลป์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ดร. พิพัฒน์พงศ์ มาศิริ อาจารย์ประจำ คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยเชียงราย ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะอนุกรรมการกลั่นกรองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดง กรมส่งเสริมวัฒนธรรม

 

การจัดนิทรรศการและฐานเรียนรู้ด้านดนตรีล้านนา จำนวน 3 ฐาน ได้แก่

1) ฐานดนตรีพื้นเมือง (สะล้อ ซอ ซึง) โดย ดร.ศันสนีย์  อินสาร ประธานศูนย์ดนตรี กวี ศิลป์ ล้านนา

2) ฐานวงดนตรีปี่พาทย์ล้านนา โดย ผศ.ดร. ณัฐวุฒิ  ดอนลาว อาจารย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

3) กลองสะบัดชัย โดย ผศ. รัตนะ  ตาแปง อาจารย์ประจำสาขาวิชาดนตรีและนาฏศิลป์ มหาวิทยาลัยพะเยา

 

การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ดนตรีพื้นบ้านล้านนา โดยการบันทึกการแสดงสด เพื่อจัดทำคลิปวิดีทัศน์เผยแพร่ทางสื่อออนไลน์ ต่อไป

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

เข้าวัดปฏิบัติธรรมวันธรรมสวนะ พาครอบครัวหิ้วตะกร้าเข้าวัดทำบุญ

 

มื่อวันพุธที่ 3 กรกฎาคม 2567 ณ วัดถ้ำป่าอาชาทอง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย นายธีทัต พิมพา รองอธิบดีกรมการศาสนา พร้อมด้วย นายบุญยเกียรติ เกียรติบรรจง ผู้อำนวยการกลุ่มกิจการพิเศษ กองศาสนูปถัมภ์ นายวัชรวิทย์ ศิริวัฒน์ นักวิชาการศาสนาชำนาญการ ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม มีกำหนดการลงพื้นที่จังหวัดเชียงราย เพื่อปรึกษาหารือแนวทางการจัดกิจกรรมเข้าวัดปฏิบัติธรรมวันธรรมสวนะ ภายใต้แนวคิด “ครอบครัวหิ้วตะกร้า ศรัทธาอิ่มบุญ อุดหนุนชุมชน” กิจกรรมการส่งเสริม Soft Power พร้อมทั้งลงพื้นที่สำรวจวัดถ้ำป่าอาชาทอง เพื่อขยายผลต่อยอดโครงการในส่วนภูมิภาค และเป็นต้นแบบในการจัดกิจกรรมฯ ก่อให้เกิดกระแสพาครอบครัวหิ้วตะกร้าเข้าวัดทำบุญ และอุดหนุนผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งเป็นต้นทุนทางวัฒนธรรม ในมิติศาสนาวัฒนธรรม สร้างมูลค่าเพิ่มทางสังคมและมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ รวมทั้งเป็นการขยายโอกาสให้พุทธศาสนิกชนได้ทำบุญตักบาตร รักษาศีล และเจริญจิตภาวนา

 

ในโอกาสนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นายสุพจน์ ทนทาน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ และนายพร้อมพงษ์ ทาสิทธิ์ ข้าราชการและบุคลากรสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ลงพื้นที่ร่วมกับ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม โดยมีกิจกรรมสำคัญ ดังนี้

  1. การทำบุญตักบาตร อุทิศส่วนบุญกุศล และแผ่เมตตา
  2. การสำรวจพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมเข้าวัดปฏิบัติธรรมวันธรรมสวนะ ภายใต้แนวคิด “ครอบครัวหิ้วตะกร้า ศรัทธาอิ่มบุญ อุดหนุนชุมชน” กิจกรรมการส่งเสริม Soft Power บริเวณวัดถ้ำป่าอาชาทอง
  3. กราบนมัสการ ครูบาเหนือชัย โฆสิโต เจ้าอาวาสวัดถ้ำป่าอาชาทอง เพื่อปรึกษาหารือแนวทางการจัดกิจกรรมเข้าวัดปฏิบัติธรรมวันธรรมสวนะ ภายใต้แนวคิด “ครอบครัวหิ้วตะกร้า ศรัทธาอิ่มบุญ อุดหนุนชุมชน” และกิจกรรมส่งเสริม Soft Power
  4. ประชุมวางแผนกำหนดแนวทางการจัดกิจกรรมเข้าวัดปฏิบัติธรรมวันธรรมสวนะและมอบหมายภารกิจ ณ ห้องประชุมสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย
  5. กราบนมัสการ พระราชวชิรคณี เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เจ้าอาวาสวัดพระธาตุผาเงา
  6. กราบนมัสการ พระครูวิสาลบุญสถิต รองเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เจ้าอาวาสวัดหนองอ้อ

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

สร้างทักษะอาชีพวันอาทิตย์ ร่วมกับศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนา

 

เมื่อวันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน 2567 ณ ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดบ้านจ้อง ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย พระครูวรธรรมพิทักษ์ (วีรชน) เจ้าคณะตำบลป่าแดด เจ้าอาวาสวัดท่าน้ำ ประธานคณะกรรมการดำเนินงาน ศพอ.จังหวัดเชียงราย เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอบรมการเสริมสร้างทักษะอาชีพร่วมกับศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยมี นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เป็นผู้กล่าวรายงาน และ นายจันทร์ ทาตุการ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโป่งผา ให้เกียรติกล่าวต้อนรับ โดยกิจกรรมโครงการฯ ได้ผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมเครื่องจักสานด้วยกระดาษโทรศัพท์ให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรม

 

 นำโดย พระครูสุวิชานสุตสุนทร (สมชาย สุวิชาโน) เจ้าอาวาสวัดบ้านจ้อง ผู้อำนวยการ ศพอ.วัดบ้านจ้อง ดำเนินการจัดโดย ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดบ้านจ้อง ร่วมกับ  กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม คณะสงฆ์จังหวัดเชียงราย โรงเรียนบ้านจ้อง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งผา และเครือข่ายทางวัฒนธรรม โดยศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์เป็นพื้นที่สำคัญในการจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาของชุมชนดำเนินการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ทุกพื้นที่เกิดสังคมคุณธรรมโดยใช้มิติทางศาสนา บนพื้นฐานของความสัมพันธ์ระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน/ราชการ หรือพลัง บวร

 

สู่การพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ของชาติสืบไป ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสนับสนุนศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์เป็นแหล่งบ่มเพาะปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม และวัฒนธรรมประเพณีไทยให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชน ส่งเสริมสนับสนุนศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์เป็นแหล่งเรียนรู้ศีลธรรมตามหลักสูตรธรรมศึกษา ส่งเสริม สนับสนุน ให้เด็ก เยาวชน และประชาชน น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต และอยู่ร่วมกันในชุมชนและสังคมอย่างมีความสุข ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมอบรมการเสริมสร้างทักษะอาชีพร่วมกับศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ส่งเสริม พัฒนา ต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชน และสร้างฐานอาชีพให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์

 

พัฒนาส่งเสริมสนับสนุนให้ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ให้มีศักยภาพและความพร้อมที่จะเป็นผู้นำในการพัฒนาชุมชนให้เป็น “ชุมชนคุณธรรม” อย่างต่อเนื่องโดยใช้มิติทางศาสนาบนพื้นฐานความสัมพันธ์ระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน ให้อยู่คู่กับสังคม ซึ่งมีผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วย คณะสงฆ์ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ผู้นำชุมชน เด็ก เยาวชน และประชาชน จำนวน 65 รูป/คน

 

ในการนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นายสุพจน์ ทนทาน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ และ นางสาวสุทธิดา ตราชื่นต้อง นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ ข้าราชการสำนักวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เข้าร่วมดำเนินการจัดกิจกรรมโครงการฯ ดังกล่าว ทั้งนี้ การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุผลสำเร็จทุกประการ

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

วัฒนธรรมเชียงราย หารือแนวทาง จัดการท่องเที่ยวชุมชนวัดห้วยปลากั้ง

 

เมื่อวันอังคารที่ 18 มิถุนายน 2567 เวลา 09.30 – 12.30 น. ณ ห้องประชุมพบโชค วัดห้วยปลากั้ง และชุมชนวัดห้วยปลากั้ง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

 

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ร่วมกับชุมชนวัดห้วยปลากั้ง จัดประชุมหารือ เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางการจัดการท่องเที่ยวชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชนยั่งยืน รวมทั้ง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมด้านการท่องเที่ยวและการเป็นเจ้าบ้านที่ดี

 

โดยมี นายนัฐการณ์ ศรีกุณา ผู้แทนจากวัดห้วยปลากั้ง, นางแสงหล้า ไชยอิ่นคำ ประธานชุมชนห้วยปลากั้ง, นายสีเมือง ทำมา ปราชญ์ชุมชน/นักเล่าเรื่อง, นายอนันต์ คนสวรรค์ ผู้นำกลุ่มชาติพันธ์ละหู่, นางแอ่น เดือนวิไล ผู้นำกลุ่มชาติติพันธ์ุไทลื้อ, นางรพีพร ทองดี ประธานกลุ่มแม่บ้าน,พร้อมด้วยผู้นำชุมชน คณะกรรมการชุมชนฯ เข้าร่วมประชุมฯ และสำรวจเส้นทางในชุมชนฯ เพื่อวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน

 

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกันปรึกษาหารือ/วางแผน เตรียมการต้อนรับคณะกรรมการประเมินชุมชนเชิงประจักษ์ ในการคัดเลือกชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ซึ่งคณะกรรมการฯ กำหนดลงพื้นที่ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2567 

 

โดยที่ประชุมได้กำหนดแผนการดำเนินงาน เริ่มจากเยี่ยมชมวัดห้วยปลากั้ง และโครงการช่วยเหลือสังคมต่างๆ ของวัดห้วยปลากั้ง, ต่อด้วยการนำเสนอวิถีชีวิตของพหุวัฒนธรรมที่หลากหลายในชุมชนวัดห้วยปลากั้งที่อาศัยอยู่ร่วมกัน อย่างลงตัว  อาทิ ชาติพันธุ์ละหู่ ไทลื้อ อาข่า ฯลฯ เป็นต้น โดยร่วมกันจัดเรียงเป็นเส้นทางท่องเที่ยวชุมชน และกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรมสร้างสรรค์ “เที่ยวชุมชน ยลวิถีพหุชาติพันธุ์” ในชุมชนวัดห้วยปลากั้ง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

 

ในการนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้ นางสาวณพิชญา นันตาดี นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นางกัลยา แก้วประสงค์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นางสุพรรณี เตชะตน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายจิรัฏฐ์ ยุทธ์ธนประวิช นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ และนายสุวัฒน์ชัย คำตื้อ เจ้าหน้าที่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เป็นผู้จัดประชุมและดำเนินการประชุมดังกล่าว

 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

วธ.ร่วมตรวจประเมิน เพื่อรับรอง มาตรฐานการท่องเที่ยวบ้านโป่งศรีนคร

 

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน 2567 2567 เวลา 09.00 น. คณะทำงานตรวจประเมิน เพื่อรับรองมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กองพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ลงพื้นที่ตรวจประเมินเพื่อรับรองมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย (วันที่ 2) ณ บ้านโป่งศรีนคร ตำบลโรงช้าง อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย

 

ในการนี้ กำนันมานพ ชัยบัวคำ ประธานท่องเที่ยวชุมชนบ้านโป่งศรีนคร พร้อมคณะกรรมการท่องเที่ยวของชุมชนฯ ได้ให้การต้อนรับ  พร้อมนำเสนอสรุปผลการดำเนินงานฯ และนำคณะกรรมการชมศูนย์การเรียนรู้ต่างๆ ในชุมชน โดยรถมอเตอร์ไซต์พ่วงข้าง อาทิ กลุ่มอาชีพจากเศษผ้า ฐานสิ่งประดิษฐ์จากขยะรีไซเคิล กลุ่มไม้กวาดดอกหญ้าจากวัสดุเหลือใช้ การจัดการขยะ zero waste กลุ่มโฮมสเตย์ กลุ่มทำเปลนอน เป็นต้น

 

การตรวจประเมินในครั้งนี้ เป็นการต่ออายุหนังสือการรับรองมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนของชุมชนท่องเที่ยวบ้านโป่งศรีนครซึ่งเคยได้รับในระดับดีเยี่ยม

 

หลักเกณฑ์ การตรวจประเมินมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน ประกอบด้วย 4 ด้านได้แก่ 1) ด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน 2) ด้านการจัดการเศรษฐกิจสังคมและ คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 3) ด้านการอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมชุมชน และ 4) ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบและยั่งยืน

 

ในการนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้นางสาวณพิชญา นันตาดี นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นางกัลยา แก้วประสงค์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายจิรัฏฐ์ ยุทธ์ธนประวิช นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ และนายยุทธนา สุทธิสม นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ เข้าร่วมการตรวจประเมินดังกล่าว

 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News