Categories
All

วิชาการศรีเกิด เปิดวัฒนธรรมจีน ครั้งที่ 17 สอนเด็กนักเรียนรู้ตรุษจีน

 

เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2567 นายวันชัย จงสุทธานามณี นายกเทศมนตรีนครเชียงราย มอบหมายให้ นายณรงค์ศักดิ์ เตือนสกุล รองนายกเทศมนตรีนครเชียงราย นางบังอร มะลิดิน รองนายกเทศมนตรีนครเชียงราย ร่วมเปิดกิจกรรม “วิชาการศรีเกิด เปิดวัฒนธรรมจีน ครั้งที่ 17 ที่โรงเรียนเทศบาล 1 ศรีเกิด โดยมี พระไพศาลประชาทร วิ. (หลวงพ่อพบโชค) เจ้าอาวาสวัดห้วยปลากั้ง เข้าร่วมในกิจกรรมด้วย

โรงเรียนเทศบาล 1 ศรีเกิด เป็นหนึ่งในโรงเรียนในสังกัด เทศบาลนครเชียงราย และ นางสาวศิริภัส ขัติยะ ผู้อำนวยการสถานศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 1 ศรีเกิด นำคณะครูอาจารย์และนักเรียนเข้าร่วม โดยพิธีจัดให้มีกิจกรรมแสดงศิลปวัฒนธรรมจีน ในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งจัดพิธีสักการะพระโพธิสัตว์กวนอิม เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผู้เข้าร่วมงานในโอกาสเทศกาลตรุษจีน โดยมีผู้ปกครองเด็กนักเรียน เดินทางมาร่วมในกิจกรรมจำนวนมาก
 
 
ทั้งนี้การจัดกิจกรรมดังกล่าว ทางเทศบาลนครเชียงราย ได้ให้ความสำคัญกับภาษาจีน รวมทั้งวัฒนธรรมจีน ที่มีบทบาทสำคัญต่อประชาคมโลกและประเทศไทย เทศบาลนครเชียงรายนำโดยนายกเทศมนตรีได้ตระหนักและให้ความสำคัญเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมจีนมาโดยตลอด จึงมีกิจกรรมระหว่างเทศบาลนครเชียงรายและประเทศจีนอย่างหลากหลาย เช่น โครงการความร่วมมือทางการศึกษาแก่ครูและนักเรียนด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านภาษาและวัฒนธรรมจีน อีกทั้งความร่วมมือจากสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงและมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ซึ่งกิจกรรมที่จัดขึ้นในครั้งนี้ถือเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพการจัดการศึกษาตามการพัฒนาดังกล่าว
 
 
นางสาวศิริภัส ขัติยะ ผู้อำนวยการสถานศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 1 ศรีเกิด กล่าวว่าโรงเรียนเทศบาล 1 ศรีเกิด ได้จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับปฐมวัยถึงระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยเพิ่มเติมวิชาภาษาจีนกลางมาตั้งแต่ปี 2548 ปัจจุบันได้พัฒนาหลักสูตรโดยเน้นการเรียนการสอนด้วยภาษาจีนอย่างเข้มข้น โดยได้รับความร่วมมือจากสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงและมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย การจัดงานครั้งนี้จึงเพื่อให้ผู้เรียนได้แสดงศักยภาพทางภาษาและวัฒนธรรมจีน ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว จะทำให้นักเรียนทุกคนได้เข้าถึงวัฒนธรรมจีน ในช่วงตรุษจีน รวมทั้งได้ความรู้อื่น ๆ ควบคู่ไปด้วยการมีรประสบการณ์นอกห้องเรียน
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : โรงเรียนเทศบาล 1 ศรีเกิด

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

เพิ่มมูลค่าทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน โครงการสืบทอดภูมิปัญญาพื้นบ้าน

 

วันอังคารที่ 26 ธันวาคม  2566 เวลา 09.00 เป็นต้นไป ณ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย สภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงรายบูรณาการร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงรายและเครือข่ายสภาวัฒนธรรมอำเภอ 18 อำเภอ จัดกิจกรรมภายใต้โครงการสืบทอดภูมิปัญญาพื้นบ้าน สู่การเพิ่มมูลค่าทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

  โดยมี ผศ. ยิ่งศักดิ์ เพชรนิล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการฯ  อาจารย์ ดร.อดิเทพ วงศ์ทอง ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย กล่าวต้อนรับ และ นางสลักจฤฎดิ์ ติยะไพรัช ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย กล่าวรายงาน

   โครงการสืบทอดภูมิปัญญาพื้นบ้าน สู่การเพิ่มมูลค่าทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ 2566 สภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมจังหวัดเชียงราย กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อดำเนินโครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างองค์ความรู้ และกระตุ้นให้บุคคลในท้องถิ่นตลอดจนเด็กและเยาวชน ตระหนักถึงคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยนำหลักคุณธรรมมาใช้ในการดำรงชีวิตบนพื้นฐานความพอเพียงได้ รวมถึงการอนุรักษ์ สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ถูกต้องตามแบบฉบับให้คงอยู่สู่เด็ก เยาวชนและประชาชนตลอดไป เพื่อสร้างทัศนคติ ค่านิยม ให้บุคคลในท้องถิ่นเกิดความรักถิ่นฐาน หวงแหนมรดกทางวัฒนธรรม อันดีงามให้อยู่คู่สังคมไทย

 

มีกิจกรรมภายใต้โครงการฯ ประกอบด้วย

  1. การเสวนา “ภูมิปัญญาพื้นบ้าน สู่การเพิ่มมูลค่าทางวัฒนธรรม” ผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย

      1.1 พระครูปิยวรรณพิพัฒน์ ,ดร. ประธานคลังปัญญาจังหวัดเชียงราย เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการคลังปัญญาผู้สูงอายุจังหวัดเชียงราย

      1.2 ร.ศ. มาลี หมวกกุล ประธานสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ประยุกต์ มร.ชร. เรื่อง อาหารภูมิ อาหารถิ่น กับการยกระดับสู่สากล

      1.3 อาจารย์ ดร.อดิเทพ วงศ์ทอง ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มร.ชร. เรื่อง ประเพณีท้องถิ่นล้านนา

     1.4 นายอนุสรณ์ บุญเรือง ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรม สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มร.ชร. เรื่อง ความเชื่อ วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษาอักขระล้านนา

      1.5 นายธันวา เหลี่ยมพันธุ์ รองประธานสภาวัฒนธรรมเชียงราย เรื่อง การส่งเสริม รักษา และต่อยอดมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่น

     …ผู้ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.รณิดา ปิงเมือง ที่ปรึกษาอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

  1. การแสดงมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ด้านการละเล่นพื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว “การแสดงชุดจายเจิงหาญ”
  2. การขับซอพื้นบ้าน โดย นางบัวลอย โชติสิริพัชญ์ คนดีศรีเชียงราย สาขาศิลปะการแสดง ประจำปี 2566
  3. การสาธิตมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม จากเครือข่ายสภาวัฒนธรรมทั้ง 18 อำเภอ
  4. การสาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม (CPOT) และภูมิปัญญาพื้นบ้าน

ในการนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ได้มอบหมายให้นักวิชาการวัฒนธรรม ผู้ประสานงานวัฒนธรรมอำเภอ และเจ้าหน้าที่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ร่วมจัดกิจกรรมและอำนวยความสะดวกแก่เครือข่ายทางวัฒนธรรมและผู้มาร่วมงาน และการดำเนินการดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

โครงการผู้นำนักศึกษา ยุคใหม่ หัวใจทำดี สร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อสังคม

 
เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2566 เวลา 17.00 น. นายก พี่นก นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายก อบจ.เชียงราย พร้อมด้วย นางอัญญลักษณ์ กายาไชย เลขานุการนายก อบจ.เชียงราย ลงพื้นที่พบปะผู้นำนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ในโครงการผู้นำนักศึกษา ยุคใหม่หัวใจทำดี ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 – 24 ธันวาคม 2566 ณ โรงเรียนบ้านแหลว – นาล้อม ต.สันทราย อ.แม่จัน จ.เชียงราย โดยมี นายธนาวุฒิ อินต๊ะขัติ นายกองค์การบริหารนักศึกษา มร.ชร. นายธีรวัฒน์ วังมณี ผอ.กองพัฒนานักศึกษา มร.ชร. นายสงกราณ เกเย็น นายก อบต.สันทราย นางสาวณัฏฐณิชา ขันใจ ผอ.โรงเรียนบ้านแหลว – นาล้อม ผู้นำชุมชน ประชาชน และนักเรียนในพื้นที่ ร่วมให้การต้อนรับ
 
ซึ่งโครงการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้นำนักศึกษาได้เรียนรู้การแบ่งปัน การให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน นำไปสู่การสร้างนักศึกษาที่มีคุณภาพ และศักยภาพที่ดีกลับคืนสู่สังคมตามวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และนายก พี่นก กล่าวว่า อบจ.เชียงราย ยินดีที่จะร่วมส่งเสริมนักศึกษาทุกคน ในฐานะเยาวชนซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติ มีพื้นที่สร้างสรรค์ให้ทำกิจกรรมเพื่อสังคม และประเทศชาติ ตามนโยบายสภาเยาวชนร่วมกำหนดอนาคตเชียงราย
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : อบจ.เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
SOCIETY & POLITICS

เชียงใหม่-เชียงราย ติดมหาลัย มีนักศึกษามากสุดในประเทศ ปี 66

 
เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยข้อมูล สถิติจำนวนนักศึกษารวม ทุกชั้นปี ทุกระดับการศึกษา ที่มีสถานภาพกำลังศึกษาและรักษาสถานภาพ โดยสรุปจากข้อมูลรายบุคคลที่สถาบันอุดมศึกษาจัดส่ง มายังสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ข้อมูลปีการศึกษา 2566 ภาคการเรียนที่ 1 กำหนดการเก็บข้อมูล ณ วันที่ 10 พฤษจิกายน 2566 จากการมีจำนวนสถาบัน ที่ส่งข้อมูลให้อว. แบ่งเป็น รัฐ 83 แห่ง จัดส่งแล้ว 54 แห่ง  ยังไม่จัดส่ง 29 แห่ง  เอกชน 71 แห่ง ส่งแล้ว 56 แห่ง นอกสังกัด 18 แห่ง ส่งแล้ว 9 แห่ง
 
โดยยังมีจำนวนสถาบัน ที่ส่งข้อมูลให้อว. แบ่งเป็น รัฐ 83 แห่ง จัดส่งแล้ว 54 แห่ง เอกชน 71 แห่ง ส่งแล้ว 56 แห่ง นอกสังกัด 18 แห่ง ส่งแล้ว 9 แห่งมีรายละเอียดดังนี้ สถาบันอุดมศึกษารัฐที่ยังไม่ได้ส่งข้อมูล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยขอนแก่น,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) รัตนโกสินทร์, มทร.อีสาน,มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์,มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) จันทรเกษม,มรภ.ชัยภูมิ,มรภ.เทพสตรี,มรภ.ธนบุรี,มรภ.นครราชสีมา,มรภ.นครศรีธรรมราช,มรภ.บุรีรัมย์,มรภ.พิบูลสงคราม,มรภ.มหาสารคาม,มรภ.ร้อยเอ็ด,มรภ.วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์,มรภ.ศรีสะเกษ,มรภ.สงขลา,มรภ.สุราษฏร์ธานี,มรภ.สุรินทร์,มรภ.อุดรธานี,มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี,สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน,สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
 
10 อันดับจำนวนนักศึกษามากสุดในสถาบันอุดมศึกษารัฐ
  1. มหาวิทยาลัยรามคำแหง มีนักศึกษารวม 336,761 คน
  2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีนักศึกษารวม 68,562 คน
  3. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มีนักศึกษารวม  51,360 คน
  4. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  มีนักศึกษารวม  43,082 คน
  5. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีนักศึกษารวม 42,595 คน
  6. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  มีนักศึกษารวม 38,143 คน
  7. มหาวิทยาลัยมหิดล  มีนักศึกษารวม  29,674 คน
  8. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีนักศึกษารวม 29,410 คน
  9. มหาวิทยาลัยศิลปากร  มีนักศึกษารวม  29,402 คน
  10. มหาวิทยาลัยบูรพา มีนักศึกษารวม 27,479 คน
10 อันดับจำนวนนักศึกษามากสุดในมหาวิทยาลัยราชภัฏ
  1. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มีนักศึกษารวม 51,360 คน
  2. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มีนักศึกษารวม 16,443 คน
  3. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีนักศึกษารวม 15,624 คน
  4. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีนักศึกษารวม 12,715 คน
  5. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มีนักศึกษารวม 10,675 คน
  6. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มีนักศึกษารวม 9,864 คน
  7. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีนักศึกษารวม 9,684 คน
  8. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร มีนักศึกษารวม 9,639 คน
  9. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีนักศึกษารวม 8,678 คน
  10. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี มีนักศึกษารวม 7,486 คน
10 อันดับจำนวนนึกศึกษามากสุดในมหาวิทยาลัยเอกชน
  1. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีนักศึกษารวม 44,133 คน
  2. มหาวิทยาลัยศรีปทุม มีนักศึกษารวม  34,530 คน
  3. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มีนักศึกษารวม  17,169 คน
  4. สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ มีนักศึกษารวม 13,925 คน
  5. มหาวิทยาลัยสยาม มีนักศึกษารวม 9,565 คน
  6. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มีนักศึกษารวม 8,326 คน
  7. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มีนักศึกษารวม 7,995 คน
  8. มหาวิทยาลัยเกริก มีนักศึกษารวม 7,843 คน
  9. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีนักศึกษารวม 7,120 คน
  10. มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต มีนักศึกษารวม  6,145 คน

สามารถติดตามรายละเอียดที่ : https://info.mhesi.go.th/homestat_std.php

 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE VIDEO

(มีคลิป)เก็บข้อมูลชาติพันธุ์ดาราอางและอิ้วเมี่ยน เตรียมงาน เบียนนาเล่ เชียงราย

 

วันอาทิตย์ที่ 5 พ.ย.2566 เวลา 9.30 น.ได้ลงพื้นที่บันทึกการเล่นดนตรีและศิลปะการแสดง ของพี่น้องชาติพันธุ์อิ้วเมี่ยน บ้านห้วนแม่ซ้าย  ม.11 ต.แม่ยาว อ.เมือง ถึงเวลา 12.30 น. ซึ่งจากข้อมูลวารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร ของณัฐนนท์ จิรกิจนิมิตร สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้พูดถึงกลุ่มชาติพันธุ์ที่เรียกตนเองว่า “เมี่ยน” หรือ “อิ้วเมี่ยน” มักเป็นที่รู้จักกันในนามว่า “เย้า” เมี่ยนเป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์บนที่สูงตั้งชุมชนกระจายอยู่ทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยมีวิถีการดำรงชีพหลักคือ ทำเกษตรแบบกึ่งยังชีพบนพื้นที่สูง รวมถึงมีความจงรักภักดีและความเชื่อต่อเทพเทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการนับถือระบบเครือญาติแบบแซ่ ตระกูล และผีบรรพบุรุษ

 

 

ต่อมาคณะได้เดินทางไปบ้านพี่น้องดาราอาง บ้านโป่งเหนือ ม.8 ต.ห้วยไคร้ อ.แม่สาย จึงถึงเวลา 16.30 น. ดาราอาง เดิมตั้งถิ่นฐานในตอนเหนือของรัฐฉาน ภายใต้อาณาจักรไตมาว จากเหตุการณ์ไม่สงบทางการเมืองทำให้ชาวดาราอางได้หลบหนีภัยสงครามมาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดเชียงราย และเชียงใหม่ ชาวดาราอาง ถือเป็นกลุ่มตนที่มีความโดดเด่นด้านการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีสดใส ทางทีมงานนำโดย ผศ. ดร.องอาจ อินทนิเวศ  จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายเป็นผู้ดำเนินการเก็บข้อมูล เพื่อเตรียมงาน เบียนนาเล่ เชียงราย ในวันที่ 9-10 มีนาคม 2567 

 

 

โดยได้รับความร่วมมือและความพร้อมเพียงจากตัวแทนพี่น้องเราตั้งใจอย่างเต็มที่และสวยงาม ขอขอบคุณผู้ประสานงานทุกฝ่ายที่ให้การสนับสนุนงานนี้ให้เกิดความเป็นวัฒนธรรมที่สวยงามต่อไป

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

MOU เสริมแกร่งนโยบายโฮงยาใกล้บ้าน ผลิตบุคลากรด้านสาธารณสุข

 

วันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 10.00 น.นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย โดยมี นางทรงศรี คมขำ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย นายรามิล พัฒนมงคลเชฐ ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย นายญาณาฤทธิ์ หนสมสุข รองปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย และหัวหน้าส่วนราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ร่วมพิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย และมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรชัย มุ่งไธสง อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย รองศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ ด้วงนคร รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และรองศาสตราจารย์ยิ่งศักดิ์ เพชรนิล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ร่วมลงนามในครั้งนี้

การบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการผลิตบุคลากรทางการแพทย์สู่ชุมชนมากขึ้น อีกทั้งร่วมกันพัฒนาการเรียนการสอนแก่นักศึกษาและบุคลากรในสังกัด เป็นการนำร่องในการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ สร้างบุคลากรแพทย์ที่มีความเข้าใจในบริบทของท้องถิ่น และสามารถพัฒนาระบบสาธารณสุขที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนในจังหวัดเชียงราย

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : อบจ.เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News