Categories
CULTURE

เปิดกรุสมบัติหมื่นล้าน ดร.ถวัลย์ ดัชนี“สมบัติชั่วนิรันดร์แห่งเอเชีย”

 

เปิดตัวปรากฏการณ์ครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ ที่จะพาดำดิ่งสู่โลกศิลปะ และทะยานสู่โลกอนาคตไปพร้อม ๆ กันกับสุดยอดนวัตกรรมการลงทุนด้านศิลปะครั้งแรกของโลก ART INVESTMENT CENTER ”The next level of passion investment” ศูนย์กลางการลงทุนด้านศิลปะ และของสะสมล้ำค่าแบบครบวงจร ที่จะเชื่อมทั้งสองโลกเข้าไว้ด้วยกัน กับสุดยอดแพลตฟอร์มอัจฉริยะแบบไร้ขีดจำกัด ระดับ The Ultimate Luxury Platforms พร้อมบริการครบจบทุกมิติในหนึ่งเดียวแบบ ONE-STOP SERVICE & ALL IN ONE SOLUTION OFFLINE / ONLINE / MOBILE ด้วยความร่วมมือระหว่าง ดร.ดอยธิเบศร์ ดัชนี CEO & Founder ART INVESTMENT CENTER ร่วมมือกับสุดยอดพันธมิตรทั้งภาครัฐ และเอกชนระดับแนวหน้าของประเทศ เพื่อแก้ปัญหาที่ไม่เคยมีทางออก เพื่อสร้างโอกาสที่ไม่เคยมีทางเลือก เพื่อเชื่อมโยงทุกเครือข่ายเพิ่มส่วนต่อขยาย สร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มในผลงานศิลปะ และของสะสมล้ำค่า ส่งเสริมผลักดันเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้กลายเป็นรายได้หลักของประเทศในอนาคต และเป็นเป้าหมายของนักลงทุนจากทั่วโลก “มาร่วมกันเปลี่ยนโลกใบเก่า ด้วยการสร้างระบบนิเวศใหม่” เพื่อเป็น “ต้นแบบนวัตกรรมสร้างสรรค์เพื่อสังคมอย่างยั่งยืน” ปักหมุดหมายให้ประเทศไทยเป็น “กรุสมบัติ ชั่วนิรันดร์ แห่งเอเชีย”

พร้อมร่วมชมนิทรรศการครั้งสำคัญ เพื่อฉลองวาระพิเศษในโอกาสความสัมพันธ์ครบรอบ 12 ปี ระหว่าง พิพิธภัณฑ์บ้านดำ และ สยามพิวรรธน์ กับ “The Eternal Treasure of Asia” “สมบัติชั่วนิรันดร์แห่งเอเชีย” เปิดกรุสมบัติหมื่นล้านจากพิพิธภัณฑ์และนักสะสมชั้นนำระดับโลก ที่รวบรวมสุดยอดของผลงานศิลปะของศิลปินแห่งชาติ ดร.ถวัลย์ ดัชนี ที่ไม่เคยจัดแสดงที่ไหนมาก่อน ตลอดจนสุดยอดของสะสมล้ำค่าระดับ World-Class ที่หาชมยาก พร้อมเปิดโอกาสให้คนรักงานศิลป์ได้ชื่นชมอย่างใกล้ชิดเฉพาะในงานนี้เท่านั้น! ณ Fashion Gallery ชั้น 1สยามพารากอน

งาน Grand Opening ได้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ กับการแสดงชุดเภรีกำนาทเฟือนฟ้าไหวตะวัน โดยคณะ Tiger Drumเปิดตัวคฑาสุริยคราสจักราวตาร กุญแจแห่งจักรวาล สร้างโดยศิลปิน อัฐพล คำวงษ์ ผู้สร้างโกศบรรจุอัฐิของอาจารย์ถวัลย์ นำแสดงโดย คณะ The Thais พร้อมทั้งมีแขกผู้มีเกียรติหลากหลายวงการ ศิลปิน และนักสะสมเข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง เมื่อในวันศุกร์ที่ 23 สิงหาคมที่ผ่านมา

ดร.ดอยธิเบศร์ ดัชนี CEO & Founder ART INVESTMENT CENTER เปิดเผยถึงสุดยอดนวัตกรรมแพลตฟอร์มอัจฉริยะแบบไร้ขีดจำกัด “ART INVESTMENT CENTER” ว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากการตกผลึกของปัญหาที่ไม่เคยมีทางออกที่สะสมมาเป็นเวลายาวนาน เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโลกใบเก่าได้ แต่เราสามารถสร้างระบบนิเวศใหม่ให้ดีขึ้นได้ ผมต้องการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และยั่งยืนให้กับวงการ โดยใช้ประสบการณ์ทั้งหมดในชีวิต บวกกับการเตรียมโครงการนี้เป็นเวลาหลายปีในการพัฒนาแพลตฟอร์มอัจฉริยะแบบไร้ขีดจำกัด ในรูปแบบ The Ultimate Luxury Platforms เพื่อเชื่อมโยงทั้งสองโลกเข้าไว้ด้วยกัน ทั้งในแบบ OFFLINE และ ONLINE ทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการซื้อขาย แลกเปลี่ยน หรือประมูลผลงานศิลปะที่ทั่วโลกให้การยอมรับ ทั้งยังเป็นแพลตฟอร์มแรกของโลกที่กล้าการันตีของแท้ 100% ทุกชิ้นงานที่ปรากฏบนแพลตฟอร์มนี้ เพราะเรามีการทำงานร่วมกับพันธมิตร และหน่วยงานหลายแห่ง ทั้งภาครัฐ และเอกชนในการตรวจสอบร่วมกัน อาทิ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ในการจดแจ้งลิขสิทธิ์ของศิลปิน และมีการทำใบรับรองถึงสองชั้น ถือเป็นกุญแจสองดอก ทั้งในโลกจริง และโลกบล็อกเชน จากนั้นจึงจะมีการ Invitation ชิ้นงานขึ้นมาบนแพลตฟอร์มต่อไป

“เราไม่ได้หวังเป็นธุรกิจใหญ่ที่ทำกำไร แต่เราสร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาที่ไม่เคยมีทางแก้ เราจึงจำเป็นต้องแก้ตั้งแต่ระดับโครงสร้าง โดยการสร้างระบบนิเวศที่ครบวงจร เพื่อให้เป็น “แพลตฟอร์มอัจฉริยะแบบไร้ขีดจำกัด” และเป็น “ต้นแบบนวัตกรรมสร้างสรรค์เพื่อสังคมอย่างยั่งยืน” ผ่าน 6 บริการหลัก ได้แก่ 1.ซื้อ 2.ขาย 3.แลกเปลี่ยน 4.ให้เช่า 5.บริจาค และ 
6.สินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset) ต่างจากแพลตฟอร์มอื่น ๆ ที่เน้นการซื้อ-ขายอย่างเดียว แต่เรามีความหลากหลายที่เกิดจากความร่วมมือกับพันธมิตร เช่น “ทุกพื้นที่คือพื้นที่แห่งศิลป์” โดยสามารถให้เช่าผลงานของศิลปิน เพื่อนำไปประดับตามโครงการธุรกิจ โรงแรม โรงพยาบาล เรสซิเด้นท์ คอนโด หมู่บ้าน ร้านอาหาร คาเฟ่ และทำ E-Catalog ไว้ให้ และถ้ามีผู้สนใจซื้อ ทาง AIC ก็แบ่งผลกำไร 10% ให้กับโครงการ เป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการ และช่วยศิลปินได้มากมายเป็นต้น

นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยเหลือศิลปินให้มีพื้นที่ในการแสดงผลงานของตัวเอง และช่องทางการประชาสัมพันธ์เพิ่มมากขึ้น นอกเหนือจากการจัดนิทรรศการศิลปะ ซึ่งหลังจากเสร็จสิ้นการจัดแสดงนิทรรศการในแต่ละครั้ง เราจะผลงานนำขึ้นแพลตฟอร์มออนไลน์ให้อีก 30 วัน สามารถเข้าชมบนโทรศัพท์มือถือได้ตลอด 24ชม. ที่สามารถชมได้ทุกที่บนโลก และยังมีบริการ Museum on mobile เป็นบริการพิเศษที่ส่งตรงถึงบ้านโดยเราจะนำผลงานศิลปะไปส่งให้พิจารณาถึงบ้าน พร้อมทั้งมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา โดยในส่วนของการขายทุกผลงานที่เข้ามาอยู่ในแพลตฟอร์ม AIC จะใช้มาตรฐานเดียวกันกับของทุกชิ้น โดยใช้หลักการ “ต้นแบบนวัตกรรมสร้างสรรค์เพื่อสังคมอย่างยั่งยืน” ของทุกชิ้นจะถูกหักรายได้ 35% โดยหัก 5% นำไปบริจาคสาธารณะกุศล  และ 10% นำไปแบ่งให้พันธมิตรที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งองคาพยพ ส่วนอีก 20% จะถูกใช้เป็นค่าบริหารจัดการแพลตฟอร์ม หรือสำหรับใครที่อยากนำผลงานศิลปะหรือของสะสมที่มีมาปล่อยเช่าหรือแลกเปลี่ยนผ่านแพลตฟอร์มก็สามารถทำได้เช่นกัน ในส่วนของ Digital Asset หรือ การลงทุนรูปแบบใหม่ในทรัพย์สินดิจิทัล ปัจจุบัน AIC มีโครงการความร่วมมือกับธนาคารไทยพาณิชย์ และ โทเคน เอกซ์ เพื่อพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมการลงทุนด้านศิลปะให้ก้าวไปอีกขั้น ซึ่งจะเปิดตัวในอนาคตอันใกล้นี้” 

และในโอกาสพิเศษเพื่อร่วมฉลองวาระพิเศษครบรอบ 12 ปี ที่พิพิธภัณฑ์บ้านดำ (Baandam Museum) ร่วมกับ สยามพิวรรธน์ สร้างสรรค์ผลงานด้านทางศิลปวัฒนธรรมมากว่าทศวรรษ ไม่ว่าจะเป็น การจัดงานเปิดตัว โครงการเหรียญสุริยะภูมิจักรวาล ในปี 2555 – 2556, Immersive Art of Thawan Duchanee ในปี 2563 และ Thailand Digital Arts Festival ในปี 2565 ถือเป็นปรากฏการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ศิลปวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นท่ามกลางอาณาจักรสยามพิวรรธน์

โดยครั้งนี้เป็นการแสดงนิทรรศการครั้งสำคัญ  “The Eternal Treasure of Asia” “สมบัติชั่วนิรันดร์แห่งเอเชีย” เปิดกรุสมบัติหมื่นล้านจากพิพิธภัณฑ์ และนักสะสมชั้นนำระดับโลก ที่รวบรวมสุดยอดของผลงานศิลปะ ระดับ Masterpiece ศิลปินแห่งชาติ ดร.ถวัลย์ ดัชนี ที่ไม่เคยจัดแสดงที่ไหนมาก่อน ตลอดจนสุดยอดของสะสมล้ำค่าระดับ World-Class หลากแขนง นำเสนอในมุมมองใหม่ โดยเล่าเรื่องราวผ่านวัตถุจัดแสดง เช่น “ตำนานเทพศาสตราวุธ ศาสตร์และศิลป์ จิตวิญญาณแห่งตะวันออก” จัดแสดงศาสตราวุธแห่งจิตวิญญาณ ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และสุดยอดประติมากรรมยานยนต์เหนือกาลเวลา รวมสุดยอดรถยนต์คลาสสิค มอเตอร์ไซค์คลาสสิค ในตำนาน และซุปเปอร์คาร์ลิมิเต็ดหายาก และอื่นๆ อีกมากมาย 

สำหรับนิทรรศการ “The Eternal Treasure of Asia : สมบัติชั่วนิรันดร์แห่งเอเชีย” จัดแสดงให้ได้ชื่นชมอย่างใกล้ชิด โดยภายในนิทรรศการประกอบด้วย 

ศิลปะสร้างโลก ความรักปรากฏรูป ผลงานศิลปะระดับตำนาน ที่ไม่เคยนำมาจัดแสดงที่ไหนมาก่อน อาทิ ผลงานจิตรกรรมขนาดใหญ่ ”มารผจญ“ และภาพผลงานชุด “หนุมาน” ผลงานชุดสุดท้ายของถวัลย์ ดัชนี, ประติมากรรมรูปปั้นศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งวงการศิลปะไทยร่วมสมัย ผลงานปั้นของอาจารย์เขียน ยิ้มศิริ ผู้ที่อาจารย์ศิลป์เรียกว่า “ลูก” 

ศรัทธา ประติมา ปาฏิหาริย์ พลังแห่งวัตถุมงคลล้ำค่า มรดกทางภูมิปัญญาของสยามประเทศ “The Spirit of Siam” จัดแสดงพระเครื่องและเครื่องรางหายาก มรดกล้ำค่าทางวัฒนธรรมองค์สำคัญ อาทิ สุดยอดมีดหมอด้ามแกะ เทพศาสตรา หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ นครสวรรค์, สุดยอดพระขรรค์เขาควายเผือกหลวงพ่อโสก วัดปากคลองบางครก เพชรบุรี, สุดยอดท้าวเวสสุวรรณวัดสุทัศนเทพวรารามวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ และท้าวเวสสุวรรณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก

เทพศาสตราวุธ ศาสตร์และศิลป์แห่งจิตวิญญาณ จัดแสงดาบสำคัญในประวัติศาสตร์ และเรื่องราวของวิถีแห่ง Bushido อาทิ ชุดเกราะมังกร ตระกูลซามูไร ยานางิซาวะ ดาบโอดาจิ ดาบเทพเจ้ามังกร ถูกตีขึ้นใน ศตวรรษที่ 18 เพื่อถวายเทพเจ้า แห่ง โทโยคาวะอินาริ (วัดเมียวกอนจิ) ศาลเทพเจ้าจิ้งจอกอินาริ 1ใน 3 ที่สำคัญที่สุดของญี่ปุ่น จาก Japanese Sword Museum Thailand

ประติมากรรมยานยนต์เหนือกาลเวลา  รวมสุดยอดยานยนต์ ทั้งเรือ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์คลาสสิค และซุปเปอร์คาร์ น่าสะสม อาทิ เรือสปีดโบ้ทสุดคลาสสิก แบรนด์ Century เรือวินเทจ ปี 1954 เครื่อง V8, มอเตอร์ไซด์ Vincent (Black shadow) ปี 1953 ที่สามารถทำความเร็วได้ถึง 230 กม. / ชม. ซึ่งถือเป็นไฮเอนด์ของมอเตอร์ไซด์คลาสสิก, Ariel มอเตอร์ไซค์สายพันธุ์อังกฤษที่หายากและมีความสวยงาม, รถยนต์ Rolls-Royce “ลักษณ์ประทับ” เปิดประทุน ปี 1951 ซึ่งเป็นรุ่นที่หายาก, รถยนต์ Porsche 356A ปี 1958, รถซุปเปอร์คาร์  Ferrari Light Weight version “The Racing DNA” รุ่น Ferrari 360 Challenge Stardare,  Ferrari 430 Scuderia, Ferrari 458 Speciale, Fiat Abarth 695 TributoFerrari เป็นต้น

คฑาสุริยะศราสจักราวตาร  ผลงานศิลปะชิ้นสำคัญ แรงบันดาลใจจากกุญแจไขจักรวาล สู่ประติมากรรมโลหะล้ำค่า สร้างขึ้นครบรอบ 12 ปี     

แหวนพยัคฆินราชตะปบชาติอาชาไนย เปิดตัว Thawan X Parcthai ที่นำแรงบันดาลใจจากผลงานศิลปะกับงาน High Jewelry มาหลอมรวมไว้เป็นหนึ่งเดียว

ห้ามพลาด! การแสดงนิทรรศการครั้งสำคัญที่นักสะสมงานศิลป์และคนรักงานอาร์ต “The Eternal Treasure of Asia” “สมบัติชั่วนิรันดร์แห่งเอเชีย” ชมกรุสมบัติหมื่นล้านจากพิพิธภัณฑ์และนักสะสมชั้นนำระดับโลก ณ Fashion Gallery ชั้น 1สยามพารากอน ตั้งแต่วันนี้ถึง 1 กันยายนนี้ เท่านั้น!!

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สยามพารากอน

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE VIDEO

ชุดการแสดง “ดนตรีเทพเจ้า”

จุดเริ่มต้นของ “พิณ เปี๊ยะ” เครื่องดนตรีพื้นเมืองล้านนา อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ได้ยินเสียง  “พิณ เปี๊ยะ”  ที่โรงละครโอเปรา ประเทศเดนมาร์ก เมื่อปี พ.ศ.2513 เป็นครั้งแรกของการได้ยิน ได้ฟังดนตรีชิ้นนี้ เป็นความประทับใจ หลังจากได้กลับมาที่ประเทศไทยอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ได้ตามหาคนที่เล่น “พิณ เปี๊ยะ” ในครั้งนั้น แต่ทราบมาว่าท่านนั้นได้เสียชีวิตไปแล้ว ต่อมาได้พยายามค้นหาจึงพบว่ามีอีกท่านที่เล่นได้ดีมากๆ คือ พ่ออุ๊ย เปียโนจัง หรือ อุ๊ยคำแปง เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2444 ซึ่งอาศัยอยู่ที่เวียงเชียงราย และเลิกเล่น “พิณ เปี๊ยะ” กว่า 70 ปีแล้ว โดยหัว “พิณ เปี๊ยะ” ก็เอาไปเก็บไว้ใต้เตียง ส่วนตัวของ “พิณ เปี๊ยะ” ตัวลูกเองก็เอาไปทำเป็นด้ามมีด

               อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ยื่นข้อเสนอจะตอบแทนค่าเสียเวลาให้ พร้อมจะดูแล อุ๊ยคำแปง ถ้ากลับมาเล่น “พิณ เปี๊ยะ”

ให้เสียงกลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง หลังจากพ่ออุ๊ย เปียโนจัง หรือ อุ๊ยคำแปง กลับมาสืบสาน กระทรวงวัฒนธรรมได้ให้ความสำคัญยกย่องพ่ออุ๊ย เปียโนจัง เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงดนตรีพื้นบ้าน “พิณ เปี๊ยะ”  

               ไม่แปลกที่เราจะเห็นเครื่องดนตรี “พิณ เปี๊ยะ”  ในพิพิธภัณฑ์บ้านดำ ถือเป็นของรักของหวงของอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ถือเป็นงานศิลปะที่ทรงคุณค่า โดยหัว “พิณ เปี๊ยะ”  นิยมทำมาจาก งาช้าง เขาสัตว์ หรือโลหะเป็นรูปหัวสัตว์ พิณเปี๊ยะมีคันทวนยาวประมาณ 1 เมตรเศษ ตอนปลายคันทวนทำด้วยเหล็กทองเหลืองเรียกว่าหัวพิณเปี๊ยะ สำหรับใช้เป็นที่พาดสาย ใช้สายทองเหลืองเป็นพื้น สายทองเหลืองนี้จะพาดผ่านสลักตรงกะลาแล้วต่อไปผูกกับสลักตรงด้านซ้าย สายของพิณเปี๊ยะมีทั้ง 2 สายและ 4 สาย กะโหลกของพิณเปี๊ยะทำด้วยเปลือกน้ำเต้าตัดครึ่งหรือกะลามะพร้าว ก็ได้เวลาดีด

ซึ่งชุดการแสดงนี้ทาง ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ ดอนลาว ผู้มากความสามารถด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นเมืองเหนือ ทั้งดนตรีพื้นเมือง ลีลาชั้นเชิง “เจิง” และอักขระภาษาล้านนา ได้นำเสนอผลงานบรรเลงพิณเปี๊ยะ พร้อมประกอบด้วยการแสดงจากศิลปินกลุ่มเดอะไทยส์ และได้รับเกียรติจากพิชญ์ บุษเนียร ศิลปินการแสดง จ.เชียงราย ควบคุมการแสดง

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : พิพิธภัณฑ์บ้านดำ

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE VIDEO

ชุดการแสดง “ป้าดก๊อง ฟ้อน ฮ่ำ วันทาครู”

 

ชุดการแสดง “ป้าดก๊อง ฟ้อน ฮ่ำ วันทาครู” แสดงในงานวันถวัลย์ไม่ใช่เพื่อถวัลย์ แต่จัดขึ้นเพื่อสร้างแรงสะเทือนเฟือนไหวให้วงการศิลปะ ในวันที่ 27 กันยายน ของทุกปี ถือเป็น “วันถวัลย์ ดัชนี” เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นศูนย์รวมของผู้ที่รักในศิลปะและอาจารย์ถวัลย์ ได้มาร่วมกันประกอบกิจกรรม เพื่อส่งเสริม สร้างสรรค์ และ สืบสานปณิธาน และอุดมการณ์ของท่านสืบต่อไป 

อ่านต่อ : https://nakornchiangrainews.com/thawan-duchanee-27-sept-baan-dam-museum/

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : พิพิธภัณฑ์บ้านดำ 

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE VIDEO

วันถวัลย์ไม่ใช่เพื่อถวัลย์ 27 ก.ย. พิพิธภัณฑ์บ้านดำ

 

 

เมื่อวันที่ 27 กันยายน พิพิธภัณฑ์บ้านดำ ตำบลนางแล อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย เป็นวันคล้ายวันเกิดของอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินผู้ได้สมญานาม “จักรพรรดิบนผืนผ้าใบ“ ศิลปินคนสำคัญด้านจิตรกรรมร่วมสมัยของไทย  ผู้มุ่งมั่นสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีจิตวิญญาณตะวันออก แต่ถ่ายทอดในแบบตะวันตก จนเป็นที่ยอมรับ และยกย่องในระดับสากล  การดำเนินงานโครงการศิลปินรำลึก เนื่องในวันถวัลย์ ดัชนี ประจำปีเพื่อเป็นการส่งเสริมยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติ ท่านอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี

ได้จัดงานวันถวัลย์ไม่ใช่เพื่อถวัลย์ แต่จัดขึ้นเพื่อสร้างแรงสะเทือนเฟือนไหวให้วงการศิลปะไทยให้เกิดเป็นแรงกระฉอกระรอกกระเพื่อมให้เรือใบไม้ที่เอาไว้พริ้วคลื่นในโมงยามของอาจารย์ถวัลย์ที่ได้สร้างทิ้งไว้ให้โลกใบนี้ได้ถึงฝั่งฝัน เป็นพาหนะนำทางจิตวิญญาณจากรุ่นสู่รุ่นไปยังประตูวิหารแห่งศิลปะ

ซึ่งภายในงานมีการมอบรางวัล Thawan  Duchanee Arts and Culture Prize รางวัลที่จัดสร้างขึ้น เพื่อสนับสนุน ส่งเสริม และให้กำลังใจแก่ศิลปิน ตลอดจนบุคลากรทางด้านศิลปวัฒนธรรม ผู้มีส่วนขับเคลื่อน และสร้างคุณูปการต่อแผ่นดิน เป็นรางวัลที่นำเอาลวดลายผลงานของอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี “กนกเปลวนาคราช” มาใช้ในการออกแบบ และถูกรังสรรค์ขึ้นจากช่างยอดฝีมือของพิพิธภัณฑ์บ้านดำ ผู้ได้รับการคัดเลือกจากอาจารย์ถวัลย์ ผู้ฝึกฝนเคี่ยวกรำนานกว่า 30 ปี จนเป็นยอดสล่าแห่งบ้านดำ เป็นผู้จำหลักลายบนบานประตูมหาวิหาร แกะสลักรางวัลอย่างวิจิตรบรรจงลงบนไม้สักทองเพียงท่อนเดียว ใช้เวลาสร้างนับปี เพื่อให้เหมาะสมควรค่าแก่ผู้รับรางวัลอันทรงเกียรติทุกท่าน

ในพิธีมอบรางวัล Thawan Arts and Culture Prize โดยท่านเสริมศักดิ์  พงษ์พาณิช รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม มอบหมาย  ดร.ยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร  ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลฯ พร้อมด้วย นายโกวิท ผกามาศ  อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม นายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย นางสาววราพรรณ ชัยชนะศิริ รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม แม่ครูบัวเรียว รัตนมณีภรณ์ ศิลปินแห่งชาติ นางสลักจฤฎดิ์  ติยะไพรัช ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย นางสาวมนุพร เหลืองอร่าม นายอังกฤษ อัจฉริยะโสภณ ภัณฑรักษ์ พร้อมข้าราชการในสังกัดและคณะกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม ประกอบด้วย  นางสาวปรานิสา เตียวพิพิธพร ผู้เชี่ยวชาญด้านเครือข่ายและชุมชน  นายอนุกูล ใบไกล ผู้อำนวยการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม  นางพรนิภา บัวพิมพ์ ผู้อำนวยการกลุ่มสวัสดิการฯ กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม นางสาวธิคำพร อดทน ผู้อำนวยการกลุ่มยกย่องเชิดชูเกียรติฯ กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม นางสลักจิตร ศรีชัย ผู้อำนวยการกลุ่มสืบสานวัฒนธรรม นางมณฑิรา สวัสดิรักษา หัวหน้ากลุ่มคลังข้อมูลกองทุนฯ  นางสาวกิ่งทอง มหาพรไพศาล นายช่างภาพชำนาญงาน นางลักขณา คุณาวิชยานนท์ กรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม  เข้าร่วมพิธีดังกล่าว

โดยครั้งนี้ ดร.ดอยธิเบศร์ ดัชนี ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์บ้านดำ ได้แจ้งให้ผู้รับรางวัล Thawan Duchanee Arts and Culture Prize สาขา Culture Prize ครบรอบปีที่ 9  ทั้งหมด 5 รางวัลได้แก่

  1. พระไพศาลประชาทร วิ. (พระอาจารย์ พบโชค ติสฺสวํโส) เจ้าอาวาสวัดห้วยปลากั้ง จังหวัด เชียงราย
  2. พระครูโสภณศิลปาคม เจ้าอาวาสวัดมิ่งเมือง เจ้าคณะตำบลเวียง เขต ๑ จังหวัด เชียงราย
  3. ท่านโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
  4. คุณบุญชัย คิวสุวรรณ ผู้ก่อตั้งร้านไม้มุงเงิน ผู้ส่งเสริมภูมิปัญญาสล่าแกะไม้แห่งล้านนา
  5. สล่าคำจันทร์ ยาโน สล่าเก๊าผู้สลักเสลาชีวิตลงบนน้ำบวย ผู้สืบสานตำนาน พ่ออุ๊ยแสง ลือสุวรรณ แห่งบ้านถ้ำผาตอง

ในการมอบรางวัล ครบรอบปีที่ 9 ในครั้งนี้ ทางพิพิธภัณฑ์บ้านดำ และคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้พิจารณาร่วมกัน และมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ทุกท่านที่ได้รับรางวัลมิใช่เป็นเพียงทรัพยากรบุคอันทรงคุณค่าที่สร้างคุณูปการต่อส่วนรวมจนเป็นที่ยอมรับเท่านั้น แต่ทุกท่านคือผู้เสียสละ ทุ่มเททำงานอย่างหนัก เพื่อวงการศิลปวัฒนธรรม จนประสบผลสำเร็จ นอกจากนี้ท่านยังเป็นแบบอย่างที่ดีงาม เป็นผู้ชี้แนะแนวทางต่างๆ พร้อมช่วยเหลือสนับสนุนวงการศิลปวัฒนธรรม ให้เดินหน้าต่อไปอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน

แม้ในวันนี้ ร่างกายท่านอาจจะไม่คงอยู่แล้ว แต่จิตวิญญาณและลมหายใจของท่านจะยังคงอยู่ในผลงานศิลปะของท่านตลอดไป และเป็นที่เห็นพ้องต้องกันว่าในวันที่  27 กันยายน ของทุกปี ถือเป็น “วันถวัลย์ ดัชนี” เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นศูนย์รวมของผู้ที่รักในศิลปะและอาจารย์ถวัลย์ ได้มาร่วมกันประกอบกิจกรรม เพื่อส่งเสริม สร้างสรรค์ และ สืบสานปณิธาน และอุดมการณ์ของท่านสืบต่อไป

          และนายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมาย นางพัชรนันท์ แก้วจินดา ผอ.กลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม นางพรทิวา ขันธะมาลา ผอ.กลุ่มยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม นางสาวกฤษยา จันแดง ผอ.กลุ่มกิจการพิเศษ พร้อมด้วยข้าราชการสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย สนับสนุนและร่วมพิธีทางศาสนา ทำบุญตักบาตรและพิธีบำเพ็ญกุศลทักษิณานุปทาน กิจกรรมแสดงทางศิลปวัฒนธรรม นิทรรศการศิลปกรรม และการออกร้านตลาดนัดศิลปะ “กาดหมั้วคัวศิลป์”

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : พิพิธภัณฑ์บ้านดำ

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News