จุดเริ่มต้นของ “พิณ เปี๊ยะ” เครื่องดนตรีพื้นเมืองล้านนา อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ได้ยินเสียง “พิณ เปี๊ยะ” ที่โรงละครโอเปรา ประเทศเดนมาร์ก เมื่อปี พ.ศ.2513 เป็นครั้งแรกของการได้ยิน ได้ฟังดนตรีชิ้นนี้ เป็นความประทับใจ หลังจากได้กลับมาที่ประเทศไทยอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ได้ตามหาคนที่เล่น “พิณ เปี๊ยะ” ในครั้งนั้น แต่ทราบมาว่าท่านนั้นได้เสียชีวิตไปแล้ว ต่อมาได้พยายามค้นหาจึงพบว่ามีอีกท่านที่เล่นได้ดีมากๆ คือ พ่ออุ๊ย เปียโนจัง หรือ อุ๊ยคำแปง เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2444 ซึ่งอาศัยอยู่ที่เวียงเชียงราย และเลิกเล่น “พิณ เปี๊ยะ” กว่า 70 ปีแล้ว โดยหัว “พิณ เปี๊ยะ” ก็เอาไปเก็บไว้ใต้เตียง ส่วนตัวของ “พิณ เปี๊ยะ” ตัวลูกเองก็เอาไปทำเป็นด้ามมีด
อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ยื่นข้อเสนอจะตอบแทนค่าเสียเวลาให้ พร้อมจะดูแล อุ๊ยคำแปง ถ้ากลับมาเล่น “พิณ เปี๊ยะ”
ให้เสียงกลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง หลังจากพ่ออุ๊ย เปียโนจัง หรือ อุ๊ยคำแปง กลับมาสืบสาน กระทรวงวัฒนธรรมได้ให้ความสำคัญยกย่องพ่ออุ๊ย เปียโนจัง เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงดนตรีพื้นบ้าน “พิณ เปี๊ยะ”
ไม่แปลกที่เราจะเห็นเครื่องดนตรี “พิณ เปี๊ยะ” ในพิพิธภัณฑ์บ้านดำ ถือเป็นของรักของหวงของอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ถือเป็นงานศิลปะที่ทรงคุณค่า โดยหัว “พิณ เปี๊ยะ” นิยมทำมาจาก งาช้าง เขาสัตว์ หรือโลหะเป็นรูปหัวสัตว์ พิณเปี๊ยะมีคันทวนยาวประมาณ 1 เมตรเศษ ตอนปลายคันทวนทำด้วยเหล็กทองเหลืองเรียกว่าหัวพิณเปี๊ยะ สำหรับใช้เป็นที่พาดสาย ใช้สายทองเหลืองเป็นพื้น สายทองเหลืองนี้จะพาดผ่านสลักตรงกะลาแล้วต่อไปผูกกับสลักตรงด้านซ้าย สายของพิณเปี๊ยะมีทั้ง 2 สายและ 4 สาย กะโหลกของพิณเปี๊ยะทำด้วยเปลือกน้ำเต้าตัดครึ่งหรือกะลามะพร้าว ก็ได้เวลาดีด
ซึ่งชุดการแสดงนี้ทาง ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ ดอนลาว ผู้มากความสามารถด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นเมืองเหนือ ทั้งดนตรีพื้นเมือง ลีลาชั้นเชิง “เจิง” และอักขระภาษาล้านนา ได้นำเสนอผลงานบรรเลงพิณเปี๊ยะ พร้อมประกอบด้วยการแสดงจากศิลปินกลุ่มเดอะไทยส์ และได้รับเกียรติจากพิชญ์ บุษเนียร ศิลปินการแสดง จ.เชียงราย ควบคุมการแสดง
เครดิตภาพและข้อมูลจาก : พิพิธภัณฑ์บ้านดำ
Copyright © 2023 by G Good Media Co., LTD. & Nakhon Chiang Rai News. All Rights Reserved.