Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

ต้นแบบระดับจังหวัดเชียงราย ธนาคารขยะฮอมบุญบ้านหนองบัว แม่ลาว

 
เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นางสุภาเพ็ญ ศิริมาตย์ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงราย และ ว่าที่ร้อยตรี ศราวุธ จันทวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ลงพื้นที่โครงการขับเคลื่อนธนาคารขยะ (Recyclable Waste Bank) ณ ธนาคารขยะฮอมบุญบ้านหนองบัว หมู่ที่ 2 ตำบลป่าก่อดำ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นชุมชน หมู่บ้าน ต้นแบบในการขับเคลื่อนโครงการธนาคารขยะระดับจังหวัด ตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้จัดงานประกาศความสำเร็จการจัดตั้งธนาคารขยะภายใต้หุ้นส่วนการพัฒนาระหว่างสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย โดยปลัดกระทรวงมหาดไทย มีข้อสั่งการผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด ทุกจังหวัด ขับเคลื่อนโครงการธนาคารขยะอย่างต่อเนื่องและจัดสวัสดิการที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยมี นายเจตณรงค์ อินกัน ท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย นายรุ่งโรจน์ ตันวุฒิ นายอำเภอแม่ลาว นายสุริยัน ตื้อยศ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลป่าก่อดำ ตลอดจนผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น และประชาชนในพื้นเข้าที่ร่วมพิธี พร้อมรับมอบป้ายธนาคารขยะสำหรับการจัดตั้งธนาคารขยะในเขตพื้นที่ อบต.ป่าก่อดำ จากทั้ง 7 หมู่บ้าน ที่ได้มีการดำเนินการธนาคารขยะมาแล้ว จำนวน 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองบัว หมู่ที่ 2 บ้านสันหนองล้อม หมู่ที่ 6 และบ้านแม่ผง หมู่ที่ 5 และมีการขยายผลไปยังหมู่บ้านที่เหลืออีก 4 หมู่บ้าน โดยได้เริ่มดำเนินการธนาคารขยะ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 67 ได้แก่ บ้านโป่งมอญ หมู่ที่ 1 บ้านต้นม่วง หมู่ที่ 3 บ้านท่าขี้เหล็ก หมู่ที่ 4 และบ้านสันหนองบัว หมู่ที่ 11 จากผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย อีกด้วย
 

      นายสุริยัน ตื้อยศ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลป่าก่อดำ กล่าวว่า เพื่อให้การขับเคลื่อนโครงการธนาคารขยะ (Recyclable Waste Bank) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกิดความยั่งยืน และเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานธนาคารขยะให้กับประชาชนได้เห็นคุณค่า และให้ความสำคัญในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของธนาคารขยะ จังหวัดเชียงรายได้คัดเลือกธนาคารขยะบ้านหนองบัว หมู่ที่ 2 ตำบลป่าก่อดำ ภายใต้การสนับสนุนขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าก่อดำ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย เป็นธนาคารขยะต้นแบบในระดับจังหวัด เพื่อถอดบทเรียนการขับเคลื่อนธนาคารขยะและผลการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งมีปริมาณขยะที่นำฝากผ่านธนาคารขยะทั้ง 3 หมู่บ้าน มีจำนวนเฉลี่ย 335 กิโลกรัมต่อเดือน มีเงินทุนในธนาคารขยะ จำนวนกว่า 4,000 บาท ที่หมุนเวียนกลับไปให้สมาชิกในรูปแบบการสังคมสงเคราะห์ เช่น กรณีเสียชีวิตช่วยรายละ 500 บาท ถุงอุปโภคบริโภคเพื่อการยังชีพให้กับผู้ด้อยโอกาส และสมทบเพื่อสาธารณประโยชน์ในหมู่บ้าน ต่อไป
 

      สำหรับการขับเคลื่อนธนาคารขยะในพื้นที่ อบต.ป่าก่อดำ ได้ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ชุมชน ครัวเรือน และภาคีเครือข่ายฯ ในพื้นที่ร่วมสนับสนุนเพื่อสร้างกลไก สร้างความเข้มแข็งของระบบการบริหารจัดการขยะ และธนาคารขยะให้เกิดความยั่งยืน เป็นรูปธรรม ซึ่งนอกจากการขับเคลื่อนธนาคารขยะแล้ว อบต.ป่าก่อดำ ได้มีการบริหารจัดการขยะภายในครัวเรือนโดยเน้นให้ทุกครัวเรือนได้ช่วยกันลดปริมาณขยะมูลฝอยและคัดแยกขยะในครัวเรือนอย่างเข้มข้น อีกทั้งได้สนับสนุนให้ทุกครัวเรือนใช้ประโยชน์จากถังขยะเปียกลดโลกร้อนเป็นประจำสม่ำเสมอ โดยได้มีการใช้สมุดบันทึกประจำครัวเรือนรักษ์โลก เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการตรวจติดตามการบริหารจัดการขยะของทุกครัวเรือน นับว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ที่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง และที่สำคัญคือมีการจัดทำหลักสูตร EF บูรณาการในการปลูกฝังจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับเด็กและเยาวชน เพื่อที่จะได้เป็นพลังในการสร้างสรรค์ชุมชนให้น่าอยู่สืบไป
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

น้อมนำพระราชปณิธาน สืบสาน รักษา ต่อยอด พัฒนาผ้าไทยสู่ความยั่งยืน

 

เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา ศูนย์ผลิตและจำหน่ายงานมือ โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย นางสุภาเพ็ญ ศิริมาตย์ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงราย นางสุภาพรรณ หมั่นเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยนายวิทยา ชุมภูคำ พัฒนาการจังหวัดเชียงราย นำสมาชิกแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงราย และหัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าเยี่ยมชม ศึกษาดูงานโรงทอผ้า โรงย้อมผ้า และชมผลิตผลจากการน้อมนำพระราชปณิธาน สืบสาน รักษา ต่อยอด พัฒนาผ้าไทยตามแนวพระดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในการส่งเสริมการสวมใส่ผ้าไทย ตามแนวคิดการขับเคลื่อนการพัฒนาแนวคิดเศรษฐกิจใหม่ (BCG) และพัฒนาต่อยอดลายผ้าพระราชทาน และผ้าอัตลักษณ์จังหวัดเชียงราย

 

นางสุภาเพ็ญ ศิริมาตย์ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า การเข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานฯ ในครั้งนี้ เพื่อให้สมาชิกแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงราย ได้เรียนรู้ เพื่อสืบสาน รักษา ต่อยอด ขยายผลการขับเคลื่อนการพัฒนาแนวคิดเศรษฐกิจใหม่ (BCG) ที่เน้นการลดการใช้ทรัพยากร หรือใช้แล้วต้องปลูกทดแทน ใช้วัสดุที่คุ้นเคยอย่างคุ้มค่า โดยเฉพาะเรื่องการพัฒนาผ้าไทย ซึ่งจังหวัดเชียงราย ได้มีการพัฒนากลุ่มทอผ้าในจังหวัดเชียงราย ให้มีเทคนิคในการทอผ้า การพัฒนาผ้าไทยไปในทิศทางใหม่ เกี่ยวกับโทนสีรวมถึงการใช้วัสดุจากธรรมชาติ ลดการใช้สารเคมี อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการปลูกพืชวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตผ้า และปลูกพืชสมุนไพรที่ใช้ในการย้อมสี ให้หันมาใช้ประโยชน์จากทุนธรรมชาติ ประเภทพืชให้สีทดแทน ด้วยการย้อมวัสดุสีที่มีในท้องถิ่น เป็นการสืบสานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สร้าง Soft Power เอกลักษณ์ผ้าไทย สวมใส่ได้ทุกที่ ทุกโอกาส
 
 
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมชูปถัมภ์ มุ่งมั่นดำเนินงานการจัดงาน (Events) ตามหลักความยั่งยืน (Sustainability) เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกทางเศรษฐกิจ โดยพัฒนาให้คนเข้าถึงและดูแลทุนธรรมชาติ ควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อม ส่วนด้านสังคม ได้ส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียม แบ่งปันความรู้ สานต่อแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม สำหรับด้านสิ่งแวดล้อม มูลนิธิฯ มุ่งขับเคลื่อนและส่งเสริมให้เกิดการจัดการทรัพยากรอย่างมีส่วนร่วม โดยในครั้งนี้ ได้จัดวิทยากร นำชม และบรรยายให้ความรู้ทั้งส่วนของโรงทอผ้า โรงย้อมผ้า และโซนที่มีการจัดการขยะอย่างเป็นระบบอีกด้วย
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News