Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

เชียงราย เพิ่มประสิทธิภาพการออมทุนลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน

 

เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2567 ที่โรงแรมเชียงรายแกรนด์รูม ตำบลสันทราย อำเภอเมืองเชียงราย นางอุบลรัตน์ พ่วงภิญโญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานเปิดงานมหกรรมการออมทุนชุมชนขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก เนื่องในวันคล้ายวันก่อตั้งกลุ่มออมทรัพย์ เพื่อการผลิต ครบรอบ 50 ปี โดยมีนางอำไพ บัวระดก พัฒนาการจังหวัดเชียงราย นำหัวหน้าส่วนราชการ พัฒนาการอำเภอ นักวิชาการพัฒนาชุมชนจังหวัด อำเภอ คณะกรรมการเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตระดับอำเภอและสมาชิก กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต 18 อำเภอ กว่า 70 คน เข้าร่วม

 

 

นางอำไพ บัวระดก พัฒนาการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเป็นองค์กรการเงินสำคัญของกรมการพัฒนาชุมชน โดยกรมการพัฒนาชุมชนได้ส่งเสริมให้ประชาชนมารวมตัวกันออมเงินตามศักยภาพของตนเอง ซึ่งเป็นการสร้างหลักประกัน สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่สมาชิกในครัวเรือน ช่วยเหลือคนในชุมชน โดยในปีนี้เป็นปีการก่อตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ครบรอบ 50 ปี กรมการพัฒนาชุมชน เป็นองค์กรที่เป็นเครื่องมือสำคัญ ในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมของชุมชน ตามภารกิจของกรมการพัฒนาชุมชน และภารกิจของกระทรวงมหาดไทย ในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุขของประชาชน แก้ไขปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำของประชาชน และกล่าวต่อไปว่าปัจจุบันจังหวัดเชียงราย มีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ทั้งสิ้น 610 กลุ่ม สมาชิก 71,741 ราย เงินสัจจะสะสม 710,475,737 บาท (เจ็ดร้อยสิบล้านสี่แสนเจ็ดหมื่นห้าพันห้าร้อยสามสิบเจ็ดบาทถ้วน)
 
 
นางอุบลรัตน์ พ่วงภิญโญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เป็นองค์กรการเงินที่สำคัญของกรมการพัฒนาชุมชน ที่เป็นองค์กรส่งเสริมให้ประชาชนมารวมตัวกันออมเงิน ตามศักยภาพของตนเอง สร้างหลักประกัน สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่สมาชิกในครัวเรือน รวมถึงช่วยเหลือคนในชุมชน สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกัน และการมีความรู้ควบคู่คุณธรรม โดยยึดหลักคุณธรรม 5 ประการ ได้แก่ ความซื่อสัตย์ ความเสียสละ ความรับผิดชอบ ความเห็นอกเห็นใจ ความไว้วางใจกัน ตลอดจนวิถีการดำรงชีวิตของคนในชุมชน ซึ่งเป็นรากฐานในการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นต่อไป
 
 
จากนั้นรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้มอบเกียรติบัตรให้แก่กลุ่มออมทรัพย์ เพื่อการผลิตดีเด่น และสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ เพื่อการผลิตดีเด่น จำนวน 35 ราย เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่สมาชิกออมทรัพย์ นอกจากนี้ภายในงานยังมีกิจกรรมรณรงค์ให้กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต รับสมัครสมาชิกเพิ่ม ประชาสัมพันธ์เพิ่มเงินสัจจะสะสม 50บาท หรือฝากเงินสัจจะสะสมพิเศษ จำนวน ๕o บาทขึ้นไป เวทีเสวนา ในหัวข้อ “ความสำเร็จของการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต” 
 
 
บูธนิทรรศการแสดงถึงความสำเร็จของการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต รวมถึงจัดคลินิกให้คำแนะนำเรื่องการจัดทำบัญชี การดำเนินกิจกรรมเครือข่ายฯ การวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านการเงิน และบูธภาคีเครือข่ายจากสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย มูลนิธิไทยเครดิต ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และบริษัทไทยประกันชีวิต
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
FEATURED NEWS

เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ ผ่าน BAAC Mobile ได้แล้ววันนี้!

 
ธ.ก.ส. เปิดระบบการแจ้งความประสงค์และตรวจสอบสิทธิ์มาตรการพักชำระหนี้ลูกหนี้รายย่อยผ่านแอปพลิเคชัน “BAAC Mobile” เผยวันแรกมียอดผู้แจ้งความประสงค์แล้วกว่า 9,000 ราย โดยแจ้งความประสงค์ได้แล้วตั้งแต่บัดนี้จนถึง 31 มกราคม 2567 ซึ่ง ธ.ก.ส. จะนำข้อมูลมาพิจารณาเพื่อนัดหมายผู้ผ่านเกณฑ์ไปที่สาขาหรือจุดบริการที่นัดหมาย เพื่อจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องและเข้ารับการประเมินศักยภาพ ความสามารถในการชำระหนี้ รวมถึงการเสริมความรู้ฟื้นฟูทักษะในการประกอบอาชีพต่อไป

นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ ธ.ก.ส. ดำเนินมาตรการพักชำระหนี้ให้กับเกษตรกรและบุคคลที่มีสถานะเป็นหนี้ปกติและหนี้ค้างชำระที่มีต้นเงินคงเป็นหนี้ทุกสัญญารวมกัน ณ 30 กันยายน 2566 ไม่เกิน 300,000 บาท ซึ่ง ธ.ก.ส. ได้เปิดระบบการแจ้งความประสงค์และตรวจสอบสิทธิ์ผ่านแอปพลิเคชัน BAAC Mobile ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เพียงกรอกหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แสดงความประสงค์ พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ จากนั้นระบบจะมีการประมวลข้อมูลตรวจสอบคุณสมบัติ เพื่อนัดหมายผู้ผ่านเกณฑ์และผู้ค้ำประกันไปที่สาขาหรือจุดบริการที่นัดหมาย เพื่อจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้ารับการประเมินศักยภาพและความสามารถในการชำระหนี้ รวมถึงการเสริมความรู้ฟื้นฟูทักษะในการประกอบอาชีพภายใต้แนวทาง “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ใหม่” เพื่อให้มีรายได้ที่เพิ่มขึ้นหลังการพักชำระหนี้ พร้อมเตรียมผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่เหมาะสมในการฟื้นฟูการประกอบอาชีพ วงเงินสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท ในการจัดหาปัจจัยการผลิต เพื่อให้เกษตรกรสามารถยืนได้อย่างมั่นคงหลังการพักชำระหนี้ โดยในการเปิดระบบวันแรก ณ เวลา 17.00 น. มีผู้แจ้งความประสงค์แล้วจำนวน 9,481 ราย

ธ.ก.ส. ขอเชิญชวนลูกค้าที่ประสงค์จะเข้าร่วมมาตรการฯ สามารถดาวน์โหลดและสมัครใช้งานแอปพลิเคชัน BAAC Mobile ได้บนระบบ IOS และ Android ผ่านทาง App store และ Play store เท่านั้น หรือในกรณีที่ไม่สะดวก สามารถติดต่อแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการที่สาขาใกล้บ้านทั่วประเทศ ซึ่งพนักงานจะอำนวยความสะดวกในการแจ้งความประสงค์ผ่าน BAAC Mobile เพื่อเข้าสู่ระบบการประมวลผลและตรวจสอบสิทธิ์เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ การแสดงความประสงค์เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ จะต้องเป็นไปตามความสมัครใจของลูกหนี้ ซึ่งหากลูกค้าผ่านเกณฑ์การพิจารณา จะได้รับการแจ้งเตือนนัดหมายสำหรับการยืนยันตัวตนเข้าร่วมมาตรการฯ ผ่านแอปพลิเคชัน BAAC Mobile ต่อไป หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 02 555 0555 หรือ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
ECONOMY

ธ.ก.ส. พร้อมเดินหน้าแก้หนี้ครัวเรือน “สินเชื่อแทนคุณ” แก้ปัญหา Aging ลูกค้า

ธ.ก.ส. ร่วมสมาคมสถาบันการเงินของรัฐและสมาคมธนาคารไทย เดินหน้าแก้หนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืนสอดคล้องกับนโยบายของ ธปท. โดยจัดกลุ่มลูกหนี้ตามศักยภาพ พร้อมวางแนวทางและเครื่องมือเข้าไปช่วยแก้ปัญหาเฉพาะกลุ่ม เสริมด้วยความรู้เทคโนโลยีในการยกระดับรายได้ จัดทำโครงการสินเชื่อแทนคุณ วงเงิน 20,000 ล้านบาท แก้ปัญหา Aging ลูกค้า วางเป้าดึงทายาท 42,000 คน ร่วมบริหารจัดการหนี้และรักษาทรัพย์สินของครอบครัว พร้อมหนุนการต่อยอด สร้างมูลค่าเพิ่มสินค้า ยกระดับสู่ตลาดที่มีกำลังซื้อสูง

นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. ได้มีการดำเนินนโยบายการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนสอดรับกับนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยแบ่งกลุ่มลูกหนี้ตามศักยภาพเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มลูกหนี้ปกติ กลุ่มลูกหนี้ Hybrid และกลุ่มลูกหนี้ NPL และจัดทำเครื่องมือหรือวิธีการแก้ไขหนี้ให้สอดคล้องกับปัญหาที่แท้จริงของลูกหนี้เฉพาะกลุ่ม ควบคู่กับการเสริมความรู้ ทางการเงิน เทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประกอบอาชีพและยกระดับรายได้ ซึ่งการดำเนินงานมีทั้งการวางแนวทางป้องกันไม่ให้หนี้ดีกลายเป็นหนี้เสียผ่านมาตรการต่าง ๆ ได้แก่ โครงการชำระดีมีคืน โดยคืนดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 20 ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง วงเงินดอกเบี้ยที่จ่ายคืนไปแล้ว 2,840 ล้านบาท มีลูกค้าได้รับประโยชน์ 2.58 ล้านราย มาตรการทางด่วนลดหนี้ มาตรการจ่ายน้อย ผ่อนคลายได้ลดดอกเบี้ย ปี 2565 มาตรการตัดชำระหนี้ตามสัดส่วน (จ่ายดอก ตัดต้น) มาตรการปรับตารางชำระหนี้ (จ่ายต้น ปรับงวด) และแนวทางการช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีหนี้อันเป็นภาระหนัก เพื่อลดภาระและความกังวลใจในด้านภาระหนี้สินผ่านโครงการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แบบยั่งยืน โดยปรับตารางการชำระหนี้ใหม่ให้สอดคล้องกับศักยภาพของลูกค้าและที่มาของรายได้ รวมถึงการฟื้นฟูอาชีพ โดยพัฒนาอาชีพและเสริมสภาพคล่องในการลงทุน เพื่อประกอบอาชีพเพิ่มรายได้ ซึ่งการดำเนินงานตามแนวทางและมาตรการต่าง ๆ ดังกล่าวช่วยแก้ปัญหาหนี้ NPL ภาคการเกษตร ลดลงจากร้อยละ 14.6ไปอยู่ที่ร้อยละ 7.68 ณ 31 มีนาคม 2566

ในส่วนของลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่ไม่ปกติ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ผ่านมา ธ.ก.ส. ได้ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลในโครงการพักชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยทั้งระบบ ตั้งแต่งวด เม.ย. 2563 ถึงงวด มี.ค. 2564 เป็นระยะเวลา 1 ปี มีผู้เข้าร่วมโครงการ 3 ล้านราย ต้นเงิน 938,466 ล้านบาท โครงการพักชำระหนี้โควิดภาคสมัครใจ และการจ่ายสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็น วงเงินรายละ ไม่เกิน 10,000 บาท ซึ่งมีผู้ได้รับสินเชื่อไปแล้วทั้งสิ้น 913,548 ราย วงเงิน 9,086 บาท โดยในปัจจุบันยังมีหนี้คงค้างในกลุ่มดังกล่าว จำนวน 336,486 ราย จำนวนเงินคงค้าง 2,193 ล้านบาท
ด้านปัญหา Aging ของลูกค้า ธ.ก.ส. ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนประมาณ 35% ของลูกค้าทั้งหมด ธ.ก.ส. ได้จัดทำ โครงการสินเชื่อแทนคุณ วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้าที่อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่มีหนี้อันเป็นภาระหนักและมีความประสงค์จะโอนทรัพย์สินและหนี้สินให้กับทายาท เพื่อเปิดโอกาสให้ทายาทเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขหนี้อย่างยั่งยืนและร่วมรักษาทรัพย์สินให้คงอยู่กับครอบครัว โดย ธ.ก.ส. จะจ่ายสินเชื่อให้ทายาทที่มารับช่วงประกอบอาชีพ เพื่อปิดชำระหนี้เดิมของผู้สูงอายุ แบ่งเป็นสัญญาต้นเงิน (รวมต้นเงินเดิม) อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1 – 5 เท่ากับ MRR (ปัจจุบัน MRR เท่ากับร้อยละ 6.975) ปีที่ 6 – 10 เท่ากับ MRR-1 และปีที่ 11 เป็นต้นไป เท่ากับ MRR-2 กำหนดชำระคืนภายใน 15 ปี พิเศษไม่เกิน 20 ปี และสัญญาต้นเงิน (รวมดอกเบี้ยเดิม) อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0กำหนดชำระคืนภายใน 15 ปี นอกจากนี้ ธ.ก.ส. ยังพร้อมสนับสนุนทายาทในการต่อยอดการดำเนินธุรกิจของครอบครัว โดยการเติมความรู้ทางการเงิน เทคโนโลยี นวัตกรรม และเงินทุน เพื่อเพิ่ม Added Value สร้างความหลากหลายในผลิตภัณฑ์และการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อยกระดับสินค้าไปสู่ตลาดที่มีกำลังซื้อสูง โดยตั้งเป้าทายาทเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 42,000 คน

นายฉัตรชัย กล่าวอีกว่า การแก้ไขหนี้ครัวเรือน สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ้งภากรณ์ (สศป.) ธปท. ร่วมกับ ธ.ก.ส. จัดทำโครงการแก้ไขหนี้สินเกษตรกรอย่างยั่งยืน โดยศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำข้อเสนอแนะในการแก้ไขสถานการณ์หนี้ครัวเรือน เพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจ สร้างความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำในระยะยาวอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มรายได้และศักยภาพครัวเรือนเกษตรกร สร้างเสริมภูมิคุ้มกัน และความรู้เท่าทันทางการเงินให้แก่เกษตรกร การปล่อยหนี้ใหม่ให้ยั่งยืน ทั่วถึงและตอบโจทย์ แก้หนี้เก่าให้ลูกหนี้ลดภาระหนี้และปลดหนี้ได้ การสร้างข้อมูลและองค์ความรู้ การศึกษาพฤติกรรม การชำระหนี้ของเกษตรกร และมีการกำหนดมาตรการจูงใจในการชำระหนี้ เพื่อเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกหนี้ให้มีวินัยในการชำระหนี้อย่างต่อเนื่อง ธ.ก.ส. ได้จัดทำโครงการชำระดีมีโชค โดยลูกค้าที่ชำระหนี้ตรงตามกำหนดเวลาและจำนวนดอกเบี้ยที่ชำระจริงทุก ๆ 1,000 บาท จะได้รับสิทธิ์ 1 สิทธิ์ ไปชิงโชครางวัลรวมมูลค่า 402 ล้านบาท ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2566 – 31 มีนาคม 2567 พร้อมกับพัฒนาเครื่องมือและช่องทางต่าง ๆ เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงบริการ ธ.ก.ส. ได้ง่ายขึ้น เช่น การชำระหนี้ผ่านแอปพลิเคชัน A-Mobile Plus การชำระหนี้ผ่าน Banking Agent เป็นต้น ดังนั้น ขอให้เกษตรกรลูกค้าที่มีภาระหนี้สิน อย่ากังวลใจหรือปล่อยให้ปัญหาทับถม ขอให้เดินเข้ามาหาและปรึกษากับ ธ.ก.ส. ได้ทุกสาขาทั่วประเทศ ซึ่ง ธ.ก.ส. ได้จัดทำโครงการมีหนี้นอกบอก ธ.ก.ส. ที่จะเข้าไปช่วยตอบโจทย์การแก้ไขหนี้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศและ Call Center 02 555 0555
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
FEATURED NEWS

ธ.ก.ส. จัดประกวดออกแบบ Line Stickers Contest

 

ธ.ก.ส. เปิดพื้นที่ให้ผู้มีใจรักศิลปะและนักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ ร่วมกิจกรรมและประกวดออกแบบ Line Stickers Contest หัวข้อ ธ.ก.ส.ใกล้คุณ ส่งผลงานเข้าประกวดในรูปแบบสติกเกอร์ภาพนิ่งผ่านทางอีเมล์ baacstickercontest@gmail.com ได้ตั้งแต่วันนี้จนถึง 25 ส.ค.2566

นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. เปิดพื้นที่ให้ผู้มีใจรักศิลปะและนักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ เข้าร่วมกิจกรรมและประกวดออกแบบ Line Stickers Contest ในหัวข้อ ธ.ก.ส. ใกล้คุณ พร้อมลุ้นรางวัลใหญ่มากมาย ได้แก่ รางวัลชนะเลิศ ตั๋วเครื่องบินไป – กลับ ประเทศญี่ปุ่น 2 ที่นั่ง พร้อมได้ออกแบบผลงาน Line Sticker ของ Line Official Account BAAC Family ร่วมกับคุณมุนิน Creator ชื่อดัง จำนวน 1 ชุด รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัลมูลค่า 20,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล 10,000 บาท และรางวัล Popular vote สร้อยคอทองคำ น้ำหนัก 1 สลึง นอกจากนี้ ธ.ก.ส. ยังมีการสัญจรไปจัดกิจกรรมสร้างแรงบันดาลใจดังกล่าวให้กับน้อง ๆ นิสิตและนักศึกษามหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั้ง 4 ภาค ได้แก่ มหาวิทยาลัยศิลปากร (วังท่าพระ) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ตรัง) และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมรับฟังไอเดียดี ๆ ในการสร้างผลงานจาก Creator ชื่อดังอย่าง คิ้วต่ำ Sundae kids และมุนิน สมัครเข้าร่วมการประกวด โดยดาวน์โหลดแบบฟอร์มผ่านทาง Line Official BAAC Family : Line Sticker Contest และส่งผลงานเข้าประกวดในรูปแบบสติกเกอร์ภาพนิ่งผ่านทางอีเมล์  baacstickercontest@gmail.com ได้ตั้งแต่วันนี้จนถึง 25 สิงหาคม 2566

 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
FEATURED NEWS

ธ.ก.ส. เปิดแล้วสลากมั่งมีทวีโชค ฝาก 100 ลุ้นรางวัลใหญ่ 10 ล้านบาท

 

ธ.ก.ส. เปิดจอง “สลากออมทรัพย์ ธ.ก.ส. ชุดมั่งมีทวีโชค” วงเงินรวม 100,000 ล้านบาท หน่วยละ 100 บาท เมื่อฝากครบ 1 ปี ได้รับดอกเบี้ยทันที 0.25% พร้อมลุ้นรางวัลใหญ่ 10 ล้านบาท และรางวัลอื่น ๆ รวมมูลค่ากว่า 66 ล้านบาทต่อเดือน โดยเปิดรับฝากตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2566 เป็นต้นไป ผ่านแอปพลิเคชัน A-Mobile Plus และเคาน์เตอร์ ธ.ก.ส. ทุกสาขา พิเศษ ! สำหรับลูกค้าเงินฝากออมทรัพย์ทวีโชคที่ใช้บริการแอปพลิเคชัน A-Mobile Plus สามารถใช้สิทธิ์จองสลากก่อนใครในวันที่ 19 – 28 มิถุนายนนี้

นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. เปิดรับฝาก “สลากออมทรัพย์ ธ.ก.ส. ชุดมั่งมีทวีโชค” จำนวน 1,000 ล้านหน่วย หน่วยละ 100 บาท วงเงินรวม 100,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนทางเลือกในการออมเงินที่ไม่เสียภาษี พร้อมลุ้นเงินรางวัล โดยแบ่งการเปิดรับฝากเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 สำหรับลูกค้าที่มีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ทวีโชคกับ ธ.ก.ส. เปิดรับฝากวันที่ 3 – 11 กรกฎาคม 2566 และช่วงที่ 2 สำหรับลูกค้าที่มีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ทวีโชคและบุคคลทั่วไป ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 เวลา 8.30 น. เป็นต้นไป โดยสามารถฝากผ่านแอปพลิเคชัน A-Mobile plus สูงสุดไม่เกิน 20 ล้านบาทต่อครั้ง แต่ไม่เกิน 100 ล้านบาทต่อวันต่อราย หรือฝากที่เคาน์เตอร์ ธ.ก.ส. ทุกสาขา สูงสุดไม่เกิน 400 ล้านบาทต่อวันต่อราย พิเศษ ! สำหรับลูกค้าเงินฝากออมทรัพย์ทวีโชคที่ใช้งานแอปพลิเคชัน A-Mobile Plus สามารถใช้สิทธิ์ผ่านระบบจองสลากบนแอปฯ ได้ก่อนใครในวันที่ 19 – 28 มิถุนายน 2566

สลากออมทรัพย์ ธ.ก.ส. ชุดมั่งมีทวีโชค มีอายุการรับฝาก 1 ปี เมื่อฝากครบกำหนด จะได้รับดอกเบี้ยหน่วยละ 0.25 บาท คิดเป็นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 ต่อปี และมีสิทธิ์ลุ้นรางวัลรวม 12 ครั้ง ในทุกวันที่ 16 ของเดือน ยกเว้นเดือนมกราคม ออกรางวัลในวันที่ 17 มกราคมของทุกปี ประกอบด้วย รางวัลที่ 1 จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 10,000,000 บาท รางวัลที่ 1 ต่างหมวด จำนวน 99 รางวัล รางวัลละ 10,000 บาท รางวัลที่ 2 จำนวน 300 รางวัล รางวัลละ 5,000 บาท รางวัลที่ 3 จำนวน 1,000 รางวัล รางวัลละ 2,500 บาท รางวัลที่ 4 จำนวน 2,000 รางวัล รางวัลละ 1,000 บาท รางวัลที่ 5 จำนวน 10,000 รางวัล รางวัลละ 500 บาท รางวัลเลขท้าย 4 ตัว จำนวน 100,000 รางวัล รางวัลละ 50 บาท และรางวัล เลขท้าย 3 ตัว จำนวน 2,000,000 รางวัล รางวัลละ 20 บาท รวมรางวัลต่องวดสูงสุดทั้งสิ้น 2,113,400 รางวัล รวมเงินรางวัล 66,990,000 บาทต่อเดือน ออกรางวัลครั้งแรกวันที่ 16 กรกฎาคม 2566 สำหรับผู้ฝากสลากที่ฝากผ่านแอปพลิเคชัน A-Mobile Plus และประสงค์ออกบัตรสลากออมทรัพย์ ธนาคารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการออกบัตรสลากฉบับละ 20 บาท และในกรณีถอนสลากคืนก่อนครบกำหนดจะไม่ได้รับดอกเบี้ย หรืกรณีฝากสลากไม่ครบ 3 เดือน ธ.ก.ส. จะคิดค่าธรรมเนียมการถอนจากมูลค่าสลาก 2 บาทต่อหน่วย โดยดอกเบี้ยและเงินรางวัลในการฝากสลากออมทรัพย์ได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับบุคคลธรรมดาและสามารถนำไปใช้เป็นหลักประกันเงินกู้ของ ธ.ก.ส. ได้อีกด้วย

ทั้งนี้ สามารถตรวจผลการออกรางวัลและรับชมการถ่ายทอดสดการออกสลากออมทรัพย์ได้ทางเว็บไซต์ www.baac.or.th Facebook Page “ธกส BAAC Thailand” Youtube Channel “BAAC Thailand” แอปพลิเคชัน A-Mobile Plus โดยท่านที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสลากออมทรัพย์ได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขา   ทั่วประเทศ หรือ Call Center 02 555 0555

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
ECONOMY FEATURED NEWS

ธ.ก.ส. เตือน ! ระวังมิจฉาชีพแอบอ้างชื่อและตราสัญลักษณ์ธนาคารปล่อยเงินกู้นอกระบบ

ธ.ก.ส. เตือน ! ระวังมิจฉาชีพแอบอ้างชื่อและตราสัญลักษณ์ธนาคารปล่อยเงินกู้นอกระบบ

Facebook
Twitter
Email
Print

ธ.ก.ส. เตือน ! ระวังมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นตัวแทนธนาคารปล่อยเงินกู้นอกระบบ โดยใช้ตราสัญลักษณ์และชื่อธนาคาร ยืนยัน ! ธ.ก.ส. ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำดังกล่าวและไม่มีนโยบายปล่อยเงินกู้ผ่านตัวแทนบริษัทแต่อย่างใด พร้อมแจ้งความเอาผิดผู้หลอกลวง

นายไพศาล หงษ์ทอง ผู้ช่วยผู้จัดการและโฆษกธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ด้วยขณะนี้ มีกลุ่มผู้ไม่หวังดีแอบอ้างเป็นบริษัทตัวแทนธนาคารในการนำเสนอเงินกู้นอกระบบ จัดทำเอกสารนัดรับเงินกู้และแอบอ้างชื่อและตราสัญลักษณ์ รวมถึงลายเซ็นต์พนักงาน โดยให้ชำระค่าคิวล่วงหน้าก่อนการรับสินเชื่อด้วยนั้น ธ.ก.ส. ขอเรียนว่า ธ.ก.ส. ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำดังกล่าว อีกทั้งธนาคารไม่มีนโยบายในการให้สินเชื่อผ่านตัวแทนบริษัท หรือมีการชำระค่าคิวล่วงหน้าก่อนรับสินเชื่อ จึงขอให้เกษตรกรลูกค้าและประชาชนทั่วไปอย่าหลงเชื่อบริษัทหรือบุคคลที่มีพฤติการณ์ดังกล่าว

ทั้งนี้ ธ.ก.ส. มีผลิตภัณฑ์ด้านสินเชื่ออย่างหลากหลายที่มีอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน เช่น สินเชื่อสานฝันสร้างอาชีพ สินเชื่อนวัตกรรมดี มีเงินทุน และสินเชื่อ SME เสริมแกร่ง อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 4 เป็นต้น สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดตามข้อมูลและข่าวสารด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ผ่านช่องทางการสื่อสารหลักของธนาคาร ได้แก่ เว็บไซต์ www.baac.or.th Facebook Page “ธกส BAAC Thailand” และ LINE Official Account : @baacfamily พร้อมกันนี้ ธ.ก.ส. ขอย้ำเตือนให้ลูกค้าทุกท่าน เพิ่มความระมัดระวังมากยิ่งขึ้นในการติดต่อหรือทำธุรกรรมออนไลน์ เนื่องด้วยปัจจุบันมิจฉาชีพมีรูปแบบการหลอกลวงที่หลากหลาย ดังนั้น หากไม่แน่ใจโปรดติดต่อโดยตรงที่ธนาคาร หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02 555 0555 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งธนาคารจะดําเนินการเอาผิดตามขั้นตอนทางกฎหมายกับผู้ที่หลอกลวงในลักษณะดังกล่าวต่อไป

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
NEWS UPDATE
Categories
ECONOMY

ธ.ก.ส. จัด 1 พันล้านบาท หนุนสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และสร้างมูลค่าเพิ่มเสริมแกร่งสถาบันเกษตรกร

ธ.ก.ส. จัด 1 พันล้านบาท หนุนสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และสร้างมูลค่าเพิ่มเสริมแกร่งสถาบันเกษตรกร

Facebook
Twitter
Email
Print

ธ.ก.ส. เติม 1,000 ล้านบาท จัดสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปี 2565/66 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยแทนสถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนให้กับสถาบันเกษตรกร

ธ.ก.ส. เติม 1,000 ล้านบาท จัดสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปี 2565/66 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยแทนสถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนให้กับสถาบันเกษตรกร ในการรับซื้อ รวบรวม แปรรูปผลผลิต เพื่อส่งจำหน่ายสู่ตลาด สร้างความเข้มแข็งให้องค์กรเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพด้านราคา ขอรับสินเชื่อได้ตั้งแต่วันนี้จนถึง 31 พ.ค. 66

นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ ธ.ก.ส. ดำเนินโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปี 2565/66 วงเงินรวม 1,000 ล้านบาท เพื่อให้สถาบันเกษตรกรมีเงินทุนหมุนเวียนในการรับซื้อ รวบรวมหรือแปรรูปข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จากเกษตรกรผู้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2565/66 กับกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งจะช่วยดูดซับปริมาณผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในช่วงที่ผลผลิตออกมาจำนวนมาก และราคาตกต่ำ อันเป็นการสนับสนุนให้องค์กรเกษตรกรได้ทำหน้าที่ เป็นกลไกในการสร้างเสถียรภาพด้านราคา และเพิ่มอำนาจต่อรองทางการตลาด รวมถึงเพิ่มทางเลือกในการจำหน่ายผลผลิตและช่วยสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรรายย่อยอีกด้วย

สำหรับคุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ ต้องเป็นสหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน ที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทั้งการรับซื้อ รวบรวม แปรรูป หรือใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ วงเงินแบ่งตามประเภทลูกค้า ได้แก่ 1) สหกรณ์การเกษตร วงเงินไม่เกิน 300 ล้านบาท 2) กลุ่มเกษตรกร วงเงินไม่เกิน 20 ล้านบาท และ 3) วิสาหกิจชุมชน วงเงินไม่เกิน 5 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี โดยผู้กู้จ่ายดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 1 และรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยแทนร้อยละ 3 ต่อปี ไม่เกิน 12 เดือน กำหนดชำระคืนภายใน 12 เดือน และชำระเสร็จสิ้นภายใน 31 พ.ค. 2567 ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ สามารถติดต่อได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 02 555 0555 ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2566

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ธ.ก.ส.

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
”สำนักข่าวออนไลน์ เพื่อคุณภาพของคนเชียงราย"
MOST POPULAR
RELATED STORIES

NEWS UPDATE