Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE VIDEO

ชุดการแสดง “ดนตรีเทพเจ้า”

จุดเริ่มต้นของ “พิณ เปี๊ยะ” เครื่องดนตรีพื้นเมืองล้านนา อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ได้ยินเสียง  “พิณ เปี๊ยะ”  ที่โรงละครโอเปรา ประเทศเดนมาร์ก เมื่อปี พ.ศ.2513 เป็นครั้งแรกของการได้ยิน ได้ฟังดนตรีชิ้นนี้ เป็นความประทับใจ หลังจากได้กลับมาที่ประเทศไทยอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ได้ตามหาคนที่เล่น “พิณ เปี๊ยะ” ในครั้งนั้น แต่ทราบมาว่าท่านนั้นได้เสียชีวิตไปแล้ว ต่อมาได้พยายามค้นหาจึงพบว่ามีอีกท่านที่เล่นได้ดีมากๆ คือ พ่ออุ๊ย เปียโนจัง หรือ อุ๊ยคำแปง เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2444 ซึ่งอาศัยอยู่ที่เวียงเชียงราย และเลิกเล่น “พิณ เปี๊ยะ” กว่า 70 ปีแล้ว โดยหัว “พิณ เปี๊ยะ” ก็เอาไปเก็บไว้ใต้เตียง ส่วนตัวของ “พิณ เปี๊ยะ” ตัวลูกเองก็เอาไปทำเป็นด้ามมีด

               อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ยื่นข้อเสนอจะตอบแทนค่าเสียเวลาให้ พร้อมจะดูแล อุ๊ยคำแปง ถ้ากลับมาเล่น “พิณ เปี๊ยะ”

ให้เสียงกลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง หลังจากพ่ออุ๊ย เปียโนจัง หรือ อุ๊ยคำแปง กลับมาสืบสาน กระทรวงวัฒนธรรมได้ให้ความสำคัญยกย่องพ่ออุ๊ย เปียโนจัง เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงดนตรีพื้นบ้าน “พิณ เปี๊ยะ”  

               ไม่แปลกที่เราจะเห็นเครื่องดนตรี “พิณ เปี๊ยะ”  ในพิพิธภัณฑ์บ้านดำ ถือเป็นของรักของหวงของอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ถือเป็นงานศิลปะที่ทรงคุณค่า โดยหัว “พิณ เปี๊ยะ”  นิยมทำมาจาก งาช้าง เขาสัตว์ หรือโลหะเป็นรูปหัวสัตว์ พิณเปี๊ยะมีคันทวนยาวประมาณ 1 เมตรเศษ ตอนปลายคันทวนทำด้วยเหล็กทองเหลืองเรียกว่าหัวพิณเปี๊ยะ สำหรับใช้เป็นที่พาดสาย ใช้สายทองเหลืองเป็นพื้น สายทองเหลืองนี้จะพาดผ่านสลักตรงกะลาแล้วต่อไปผูกกับสลักตรงด้านซ้าย สายของพิณเปี๊ยะมีทั้ง 2 สายและ 4 สาย กะโหลกของพิณเปี๊ยะทำด้วยเปลือกน้ำเต้าตัดครึ่งหรือกะลามะพร้าว ก็ได้เวลาดีด

ซึ่งชุดการแสดงนี้ทาง ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ ดอนลาว ผู้มากความสามารถด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นเมืองเหนือ ทั้งดนตรีพื้นเมือง ลีลาชั้นเชิง “เจิง” และอักขระภาษาล้านนา ได้นำเสนอผลงานบรรเลงพิณเปี๊ยะ พร้อมประกอบด้วยการแสดงจากศิลปินกลุ่มเดอะไทยส์ และได้รับเกียรติจากพิชญ์ บุษเนียร ศิลปินการแสดง จ.เชียงราย ควบคุมการแสดง

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : พิพิธภัณฑ์บ้านดำ

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE VIDEO

ชุดการแสดง “ป้าดก๊อง ฟ้อน ฮ่ำ วันทาครู”

 

ชุดการแสดง “ป้าดก๊อง ฟ้อน ฮ่ำ วันทาครู” แสดงในงานวันถวัลย์ไม่ใช่เพื่อถวัลย์ แต่จัดขึ้นเพื่อสร้างแรงสะเทือนเฟือนไหวให้วงการศิลปะ ในวันที่ 27 กันยายน ของทุกปี ถือเป็น “วันถวัลย์ ดัชนี” เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นศูนย์รวมของผู้ที่รักในศิลปะและอาจารย์ถวัลย์ ได้มาร่วมกันประกอบกิจกรรม เพื่อส่งเสริม สร้างสรรค์ และ สืบสานปณิธาน และอุดมการณ์ของท่านสืบต่อไป 

อ่านต่อ : https://nakornchiangrainews.com/thawan-duchanee-27-sept-baan-dam-museum/

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : พิพิธภัณฑ์บ้านดำ 

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE VIDEO

วันถวัลย์ไม่ใช่เพื่อถวัลย์ 27 ก.ย. พิพิธภัณฑ์บ้านดำ

 

 

เมื่อวันที่ 27 กันยายน พิพิธภัณฑ์บ้านดำ ตำบลนางแล อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย เป็นวันคล้ายวันเกิดของอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินผู้ได้สมญานาม “จักรพรรดิบนผืนผ้าใบ“ ศิลปินคนสำคัญด้านจิตรกรรมร่วมสมัยของไทย  ผู้มุ่งมั่นสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีจิตวิญญาณตะวันออก แต่ถ่ายทอดในแบบตะวันตก จนเป็นที่ยอมรับ และยกย่องในระดับสากล  การดำเนินงานโครงการศิลปินรำลึก เนื่องในวันถวัลย์ ดัชนี ประจำปีเพื่อเป็นการส่งเสริมยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติ ท่านอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี

ได้จัดงานวันถวัลย์ไม่ใช่เพื่อถวัลย์ แต่จัดขึ้นเพื่อสร้างแรงสะเทือนเฟือนไหวให้วงการศิลปะไทยให้เกิดเป็นแรงกระฉอกระรอกกระเพื่อมให้เรือใบไม้ที่เอาไว้พริ้วคลื่นในโมงยามของอาจารย์ถวัลย์ที่ได้สร้างทิ้งไว้ให้โลกใบนี้ได้ถึงฝั่งฝัน เป็นพาหนะนำทางจิตวิญญาณจากรุ่นสู่รุ่นไปยังประตูวิหารแห่งศิลปะ

ซึ่งภายในงานมีการมอบรางวัล Thawan  Duchanee Arts and Culture Prize รางวัลที่จัดสร้างขึ้น เพื่อสนับสนุน ส่งเสริม และให้กำลังใจแก่ศิลปิน ตลอดจนบุคลากรทางด้านศิลปวัฒนธรรม ผู้มีส่วนขับเคลื่อน และสร้างคุณูปการต่อแผ่นดิน เป็นรางวัลที่นำเอาลวดลายผลงานของอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี “กนกเปลวนาคราช” มาใช้ในการออกแบบ และถูกรังสรรค์ขึ้นจากช่างยอดฝีมือของพิพิธภัณฑ์บ้านดำ ผู้ได้รับการคัดเลือกจากอาจารย์ถวัลย์ ผู้ฝึกฝนเคี่ยวกรำนานกว่า 30 ปี จนเป็นยอดสล่าแห่งบ้านดำ เป็นผู้จำหลักลายบนบานประตูมหาวิหาร แกะสลักรางวัลอย่างวิจิตรบรรจงลงบนไม้สักทองเพียงท่อนเดียว ใช้เวลาสร้างนับปี เพื่อให้เหมาะสมควรค่าแก่ผู้รับรางวัลอันทรงเกียรติทุกท่าน

ในพิธีมอบรางวัล Thawan Arts and Culture Prize โดยท่านเสริมศักดิ์  พงษ์พาณิช รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม มอบหมาย  ดร.ยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร  ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลฯ พร้อมด้วย นายโกวิท ผกามาศ  อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม นายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย นางสาววราพรรณ ชัยชนะศิริ รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม แม่ครูบัวเรียว รัตนมณีภรณ์ ศิลปินแห่งชาติ นางสลักจฤฎดิ์  ติยะไพรัช ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย นางสาวมนุพร เหลืองอร่าม นายอังกฤษ อัจฉริยะโสภณ ภัณฑรักษ์ พร้อมข้าราชการในสังกัดและคณะกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม ประกอบด้วย  นางสาวปรานิสา เตียวพิพิธพร ผู้เชี่ยวชาญด้านเครือข่ายและชุมชน  นายอนุกูล ใบไกล ผู้อำนวยการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม  นางพรนิภา บัวพิมพ์ ผู้อำนวยการกลุ่มสวัสดิการฯ กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม นางสาวธิคำพร อดทน ผู้อำนวยการกลุ่มยกย่องเชิดชูเกียรติฯ กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม นางสลักจิตร ศรีชัย ผู้อำนวยการกลุ่มสืบสานวัฒนธรรม นางมณฑิรา สวัสดิรักษา หัวหน้ากลุ่มคลังข้อมูลกองทุนฯ  นางสาวกิ่งทอง มหาพรไพศาล นายช่างภาพชำนาญงาน นางลักขณา คุณาวิชยานนท์ กรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม  เข้าร่วมพิธีดังกล่าว

โดยครั้งนี้ ดร.ดอยธิเบศร์ ดัชนี ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์บ้านดำ ได้แจ้งให้ผู้รับรางวัล Thawan Duchanee Arts and Culture Prize สาขา Culture Prize ครบรอบปีที่ 9  ทั้งหมด 5 รางวัลได้แก่

  1. พระไพศาลประชาทร วิ. (พระอาจารย์ พบโชค ติสฺสวํโส) เจ้าอาวาสวัดห้วยปลากั้ง จังหวัด เชียงราย
  2. พระครูโสภณศิลปาคม เจ้าอาวาสวัดมิ่งเมือง เจ้าคณะตำบลเวียง เขต ๑ จังหวัด เชียงราย
  3. ท่านโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
  4. คุณบุญชัย คิวสุวรรณ ผู้ก่อตั้งร้านไม้มุงเงิน ผู้ส่งเสริมภูมิปัญญาสล่าแกะไม้แห่งล้านนา
  5. สล่าคำจันทร์ ยาโน สล่าเก๊าผู้สลักเสลาชีวิตลงบนน้ำบวย ผู้สืบสานตำนาน พ่ออุ๊ยแสง ลือสุวรรณ แห่งบ้านถ้ำผาตอง

ในการมอบรางวัล ครบรอบปีที่ 9 ในครั้งนี้ ทางพิพิธภัณฑ์บ้านดำ และคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้พิจารณาร่วมกัน และมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ทุกท่านที่ได้รับรางวัลมิใช่เป็นเพียงทรัพยากรบุคอันทรงคุณค่าที่สร้างคุณูปการต่อส่วนรวมจนเป็นที่ยอมรับเท่านั้น แต่ทุกท่านคือผู้เสียสละ ทุ่มเททำงานอย่างหนัก เพื่อวงการศิลปวัฒนธรรม จนประสบผลสำเร็จ นอกจากนี้ท่านยังเป็นแบบอย่างที่ดีงาม เป็นผู้ชี้แนะแนวทางต่างๆ พร้อมช่วยเหลือสนับสนุนวงการศิลปวัฒนธรรม ให้เดินหน้าต่อไปอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน

แม้ในวันนี้ ร่างกายท่านอาจจะไม่คงอยู่แล้ว แต่จิตวิญญาณและลมหายใจของท่านจะยังคงอยู่ในผลงานศิลปะของท่านตลอดไป และเป็นที่เห็นพ้องต้องกันว่าในวันที่  27 กันยายน ของทุกปี ถือเป็น “วันถวัลย์ ดัชนี” เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นศูนย์รวมของผู้ที่รักในศิลปะและอาจารย์ถวัลย์ ได้มาร่วมกันประกอบกิจกรรม เพื่อส่งเสริม สร้างสรรค์ และ สืบสานปณิธาน และอุดมการณ์ของท่านสืบต่อไป

          และนายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมาย นางพัชรนันท์ แก้วจินดา ผอ.กลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม นางพรทิวา ขันธะมาลา ผอ.กลุ่มยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม นางสาวกฤษยา จันแดง ผอ.กลุ่มกิจการพิเศษ พร้อมด้วยข้าราชการสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย สนับสนุนและร่วมพิธีทางศาสนา ทำบุญตักบาตรและพิธีบำเพ็ญกุศลทักษิณานุปทาน กิจกรรมแสดงทางศิลปวัฒนธรรม นิทรรศการศิลปกรรม และการออกร้านตลาดนัดศิลปะ “กาดหมั้วคัวศิลป์”

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : พิพิธภัณฑ์บ้านดำ

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News