Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

พาณิชย์หนุนวิสาหกิจชุมชน เพื่อผู้สูงวัย ‘Hug Villages’

 

เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่ากรมพัฒนาธุรกิจการค้า ลงพื้นที่พบปะผู้ประกอบการโครงการสร้างชุมชนสู่ออนไลน์สร้างรายได้ธุรกิจ (Digital Village by DBD) : Hug Villages จ.เชียงราย ถึงกับขนานนามเป็น ‘วิสาหกิจชุมชนเพื่อผู้สูงวัย’ โดยผู้สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ผ้าปักมือ อัตลักษณ์ประจำถิ่นสุดประณีต กว่า 80% เป็นผู้สูงวัยในชุมชน สูงสุดอายุ 82 ปี ไม่เท่านั้นพ่ออุ๊ย-แม่อุ๊ย ยังช่วยไลฟ์ขายสินค้าตามสไตล์แต่ละคนที่ไม่เหมือนใคร นำรายได้เข้าชุมชนนับล้านบาท ยกย่อง ช่วยสร้างคุณค่า สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้ผู้สูงอายุ เตรียมพัฒนาเป็นวิสาหกิจชุมชนต้นแบบที่ให้โอกาสผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการบริหารธุรกิจชุมชน

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า “โครงการสร้างชุมชนสู่ออนไลน์สร้างรายได้ธุรกิจ หรือ Digital Village by DBD เป็นโครงการที่นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯและ รมว.พาณิชย์ และนายนภินทร ศรีสรรพางค์ รมช.พาณิชย์ ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยได้มอบนโยบายให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เร่งสร้างองค์ความรู้แก่ผู้ประกอบการชุมชน โดยเฉพาะด้านการขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ขยับตัวเองจากพ่อค้า-แม่ขายเป็นอินฟลูเอ็นเซอร์ที่พร้อมนำเสนอสินค้าในแบบฉบับของตนเอง สร้างรายได้ให้ชุมชน เพิ่มโอกาสทางการตลาด ขยายฐานลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ พร้อมยกระดับธุรกิจฐานรากให้สามารถแข่งขันและเติบโตอย่างยั่งยืนในบริบทการค้าที่เปลี่ยนแปลงไป เข้าถึงผู้บริโภคยุคใหม่ได้เพิ่มมากขึ้น

โดยล่าสุด กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ลงพื้นที่วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ทำมือบ้านจงเจริญ อ.เวียงชัย จ.เชียงราย ซึ่งเป็นวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับการพัฒนาและผ่านการอบรมโครงการ Digital Village by DBD ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในปี 2566 เพื่อติดตามการดำเนินงาน พบปะพูดคุยกับผู้นำชุมชนเพื่อทราบถึงแนวทางการบริหารจัดการธุรกิจของวิสาหกิจชุมชนฯ และการขยายช่องทางการตลาดแบบคู่ขนานทั้งออนไลน์และออฟไลน์ รวมทั้ง เชิญชวนวิสาหกิจชุมชนฯ ร่วมออกงานแสดงและจำหน่ายสินค้าที่กรมหรือหน่วยงานพันธมิตรจัดขึ้น เพื่อสร้างการรับรู้สินค้าและบริการ ขยายโอกาสทางการตลาดให้กว้างขวางมากขึ้น ซึ่งเป็น 1 ใน 9 มาตรการหลักของกรมในการสร้างความเข้มแข็งแก่ผู้ประกอบการไทย

อธิบดีอรมน กล่าวต่อว่า จากการพูดคุยทำให้ทราบว่า วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ทำมือบ้านจงเจริญ มีการจ้างแรงงานคนในชุมชนที่เป็นผู้สูงอายุ ผู้พิการ เกษตรกร กลุ่มชาติพันธุ์ และแรงงานนอกระบบ เข้ามาทำงานให้กับวิสาหกิจชุมชนฯ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เป็นกำลังหลักสำคัญในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ผ้าปักมือ ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ประจำถิ่นที่มีความประณีตสวยงาม ปัจจุบันวิสาหกิจชุมชนฯ มีสมาชิกซึ่งเป็นคนในชุมชน 82 คน โดย 80% เป็นผู้สูงอายุที่ยังสามารถผลิตงานผ้าปักมือได้อย่างคล่องแคล่ว โดยสมาชิกที่มีอายุสูงสุด คือ 82 ปี จนสามารถขนานนามว่าเป็น ‘วิสาหกิจชุมชนเพื่อผู้สูงวัย’ ได้อย่างแท้จริง

นอกจากนี้ ยังทราบว่าผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกวิสาหกิจชุมชนฯ หลังจากผ่านการอบรมโครงการ Digital Village by DBD ได้ช่วยไลฟ์สดขายสินค้าตามสไตล์ของแต่ละคนที่ไม่เหมือนใคร มีความเป็นธรรมชาติ และสามารถสร้างรายได้เข้าชุมชนนับล้านบาทต่อปี เป็นการนำความรู้ที่ได้รับจากโครงการมาใช้ในการขยายโอกาสทางการตลาดที่เห็นผลเป็นรูปธรรมชัดเจน ช่วยสร้างคุณค่า สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้ผู้สูงอายุ โดยมีการส่งต่อความรู้และเทคนิคด้านการปักผ้าด้วยมือแก่สมาชิกคนอื่นๆ ที่ต้องการเข้ามาช่วยพัฒนาชุมชน ทำให้เป็นวิสาหกิจชุมชนต้นแบบที่ให้โอกาสผู้สูงอายุเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารธุรกิจชุมชน ใช้ประสบการณ์ของผู้สูงอายุมาต่อยอดให้เกิดการพัฒนาในแบบฉบับของวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ทำมือบ้านจงเจริญ

นางวิไล นาไพวรรณ์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ทำมือบ้านจงเจริญ กล่าวว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ทำมือบ้านจงเจริญ ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ ปี 2548 โดยได้กำหนดเป้าหมายของธุรกิจไว้คือ ‘พัฒนาคน สร้างงาน สร้างสรรค์ศิลปะเพื่อสังคม ของชุมชนท้องถิ่น’ เริ่มต้นจากการผลิตตุ๊กตาไหมพรมจำหน่าย ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ผ้าปักมือ เช่น กระเป๋า เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มีการใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้ายผสมผ้าใยกัญชง ไหมประดิษฐ์ และเส้นฝ้ายพื้นเมือง ที่ย้อมสีเส้นด้ายจากธรรมชาติใช้เอง และมีการปรับชื่อแบรนด์เป็น ‘Hug Villages Art Design’ เพื่อให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเป็นงานปักมือที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น และมีเทคนิคการปัก 7 หลักการ ใช้ทั้งทฤษฎีสี องค์ประกอบศิลป์ และจินตนาการ ผสมผสานให้เกิดเป็นลวดลายปักที่สวยงามไม่เหมือนใคร จนได้รับรางวัลชมเชย ‘ผ้าอัตลักษณ์เชียงราย’ ที่มีความละเอียดประณีต ลูกค้าสามารถสัมผัสได้ถึงความพิเศษนั้น ซึ่งตรงกับสโลแกนของกลุ่มที่ว่า ‘ปักด้วยมือ สัมผัสด้วยใจ’

โดยเริ่มแรกเน้นขายสินค้าผ่านหน้าร้านเป็นหลักทั้งที่วิสาหกิจชุมชนฯ ตามงานแสดงสินค้าใน จ.เชียงราย และต่างจังหวัด ซึ่งผู้บริโภครับรู้และรู้จักผลิตภัณฑ์ในระดับหนึ่ง ต่อมา ปี 2566 ได้สมัครเข้าร่วมโครงการ Digital Village by DBD ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และผ่านการอบรมวิสาหกิจชุมชนที่ใช้ออนไลน์ในการขยายช่องทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ พัฒนาศักยภาพด้านการวางแผนธุรกิจ และการบริหารจัดการการค้าออนไลน์ให้สามารถพัฒนาและจำหน่ายสินค้าชุมชนบนช่องทางการตลาด e-Commerce ยุคใหม่ สร้างการรับรู้และช่วยกระจายสินค้าเข้าถึงผู้บริโภคได้ทุกพื้นที่ ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ ปัจจุบันยังเป็นสมาชิกเครือข่ายธุรกิจ MOC Biz Club ของกระทรวงพาณิชย์อีกด้วย เพื่อเพิ่มพันธมิตรและสร้างเครือข่ายทางธุรกิจให้กว้างขวางและครอบคลุมมากขึ้น ขอขอบคุณ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้ประกอบการชุมชนซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายย่อม/รายย่อย ให้มีความรู้ที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจ เป็นการติดอาวุธเสริมทักษะและช่วยให้ปรับตัวรับมือกระแสการค้าโลกใหม่ได้เป็นอย่างดี เป็นลมใต้ปีกและพลังสำคัญที่ช่วยให้ผู้ประกอบการชุมชนสามารถแข่งขันได้อย่างเข้มแข็งและเติบโตอย่างมีศักยภาพในโลกการค้ายุคใหม่

อธิบดีอรมน กล่าวทิ้งท้ายว่า ประชาชนและผู้บริโภคที่สนใจงานผ้าปักมือของวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ทำมือบ้านจงเจริญ สามารถติดตามและเลือกชมสินค้าได้ทาง www.facebook.com/CraftChiangraibywilai62 ,  ID Line : wilainapaiwan โทร 088 267 4469 ซึ่งนอกจากจะช่วยอุดหนุนสินค้าของผู้ประกอบการชุมชนแล้ว ยังเป็นการให้กำลังใจผู้สูงอายุที่ร่วมสร้างสรรค์งานผ้าปักมือด้วยใจรักและช่วยหารายได้ให้ครอบครัวอีกทางหนึ่งด้วย ผู้สนใจและผู้ประกอบการสามารถติดตามกิจกรรมและโครงการดีๆ ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ทาง www.dbd.go.th และ สายด่วนกรมพัฒนาธุรกิจการค้า 1570

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
AROUND CHIANG RAI ECONOMY

“โรงแรม” ยังติดเป็นธุรกิจโดดเด่น 67 รับปัจจัยบวกในการเปิดประเทศและมาตรการภาครัฐ

 

16 ธ.ค.2566 นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมฯได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจเชิงลึกเพื่อเฟ้นหาธุรกิจดาวเด่น 5 ธุรกิจ ปี 2566 โดยใช้ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์จากหลายส่วน เช่น จำนวน/อัตรา อัตราการเลิก การเพิ่มทุนปัจจัยภายนอก แนวโน้มธุรกิจ กระแสความนิยม นโยบายภาครัฐ

พบว่า ปี 2566 ธุรกิจดาวรุ่งมาแรง คือ ธุรกิจที่เคยประสบปัญหาช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่กลับมาฟื้นตัวจนมีความโดดเด่นอีกครั้ง ขณะที่ธุรกิจที่เสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอยจะสอดคล้องกับกระแสธุรกิจรักษ์โลกและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมีผลจากเทคโนโลยีดิจิทัล บริการ รูปแบบธุรกิจใหม่ๆ ที่ส่งผลกระทบและเปลี่ยนแปลงมูลค่าบริการและสินค้าที่มีอยู่ของอุตสาหกรรมเดิม (Digital Disruption)

“ธุรกิจท่องเที่ยว” มาแรง

นางอรมน กล่าวว่า ปี 2566 ธุรกิจที่มีความโดดเด่นและมาแรง 5 ธุรกิจ ประกอบด้วย

1.กลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยว เช่น ธุรกิจจัดนำเที่ยว ตัวแทนธุรกิจการเดินทาง โรงแรม รีสอร์ท ห้องชุด สปา และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

2. กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป มาตรการกระตุ้นจากภาครัฐและการผลักดันให้ไทยเป็น “บ้านหลังที่สอง” สำหรับชาวต่างชาติที่มีศักยภาพ

3. กลุ่มธุรกิจสมุนไพร จากกระแสนิยมดูแลรักษาสุขภาพ ส่งผลให้สมุนไพรเข้ามาเป็นหนึ่งในวัตถุดิบจากธรรมชาติที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม (Health and Wellness)

4. กลุ่มธุรกิจการติดตั้งไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสอดรับกระแสรถยนต์ EV ของผู้บริโภคยุคปัจจุบันที่เน้นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และสนองความต้องการที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและร่วมรับผิดชอบต่อสังคม

5. กลุ่มธุรกิจ e-Commerce หรือ ธุรกิจการค้าปลีกสินค้าออนไลน์ หลังจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่นิยมใช้ช่องทางออนไลน์ในการจับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้า ทำให้ผู้ประกอบการเกือบทุกประเภทปรับตัวขยายช่องทางการตลาดผ่านทางออนไลน์มากขึ้น ส่งผลให้ตลาดมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ส่องธุรกิจดาวรุ่งปี 2567

นางอรมน กล่าวว่า ธุรกิจที่มีความโดดเด่นและน่าจับตามอง ในปี 2567 แบ่งกลุ่มธุรกิจออกเป็น 4 กลุ่มธุรกิจ 9 ประเภทธุรกิจ ประกอบด้วย กลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ถือเป็นธุรกิจที่ได้รับผลดีจากปัจจัยบวกในการเปิดประเทศและมาตรการภาครัฐ

โดยธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เช่น ธุรกิจภัตตาคาร ร้านอาหาร ธุรกิจโรงแรม รีสอร์ท ห้องชุด เกสต์เฮ้าส์ จัดนำเที่ยว แลกเปลี่ยนเงินตรา ตัวแทนการเดินทาง ,ธุรกิจการจัดประชุม แสดงสินค้า คอนเสิร์ต

 

ทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องรูปแบบการใช้ชีวิต กลุ่มธุรกิจนี้ ถือเป็นธุรกิจที่น่าจับตามองเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการใช้ชีวิตและไลฟ์สไตล์ของคนในปัจจุบัน มีการปรับรูปแบบให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา

เช่น ธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง เช่น ธุรกิจดูแลสัตว์เลี้ยง ธุรกิจขายปลีกอาหารและอุปกรณ์สัตว์เลี้ยง ธุรกิจขายส่งอาหารสัตว์ ธุรกิจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เช่น ธุรกิจรีไซเคิล ธุรกิจให้คำปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า

ส่วนกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับบริการดิจิทัลและซอฟต์แวร์ เป็นกลุ่มธุรกิจตอบโจทย์โลกปัจจุบันที่ขับเคลื่อนด้วยดิจิทัลและนวัตกรรม ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจ ครอบคลุมทุกช่วงวัยของประชากรในสังคม มีมูลค่าทางการตลาดระดับสูง เช่น ธุรกิจบริการ e-Commerce บริการชำระเงินแบบดิจิทัล ให้บริการชำระเงินค่าสินค้าหรือบริการผ่านทางออนไลน์ เป็นต้น

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
ECONOMY

ไทยดึงบริษัทเกาหลีใต้มาลงทุนในไทยได้เพิ่มเติม

ไทยดึงบริษัทเกาหลีใต้ลงทุนในไทยได้เพิ่มเติม

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีที่ต่างชาติให้ความสนใจลงทุนในประเทศไทย โดย 4 เดือนแรกของปี 2566 มีการลงทุนกว่า 38,702 ล้านบาท พร้อมชื่นชม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ที่สามารถดึงดูดบริษัทกลุ่มเป้าหมายจากเกาหลีใต้มาลงทุนในประเทศไทยได้เพิ่มเติม

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้เปิดเผยว่า ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2566 (มกราคม-เมษายน) มีต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยกว่า 38,702 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 6 หรือคิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้น 2,321 ล้านบาท เกิดการจ้างงานคนไทย 2,419 คน โดยชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุน 5 อันดับแรก ได้แก่ 

1) ญี่ปุ่น 55 ราย (ร้อยละ 25) เงินลงทุน 14,024 ล้านบาท 

2) สิงคโปร์ 35 ราย (ร้อยละ 16) เงินลงทุน 4,854 ล้านบาท 

3) สหรัฐอเมริกา 34 ราย (ร้อยละ 15) เงินลงทุน 1,725 ล้านบาท 

4) จีน 14 ราย (ร้อยละ 6) เงินลงทุน 11,230 ล้านบาท และ 

5) สมาพันธรัฐสวิส 11 ราย (ร้อยละ 5) เงินลงทุน 1,692 ล้านบาท ส่วนชาติอื่น ๆ มี 68 ราย (ร้อยละ 33) เงินลงทุน 5,177 ล้านบาท


นอกจากนี้ จากการเดินทางไปจัดกิจกรรมส่งเสริมการลงทุนที่ประเทศเกาหลีใต้ และพบปะหารือกับบริษัทกลุ่มเป้าหมาย ระหว่างวันที่ 15–18 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) สามารถดึงดูดนักลงทุน 4 ราย ที่สนใจลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม ประกอบด้วย 

1) นักลงทุนจากกลุ่มผู้ประกอบกิจการผลิตรถตุ๊ก ๆ ไฟฟ้า รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 

2) นักลงทุนจากกลุ่มผู้ประกอบกิจการผลิตที่เคลือบกระจกรถยนต์แบบพิเศษกันฝ้า 

3) นักลงทุนจากกลุ่มผู้ประกอบกิจการเกี่ยวกับเครื่องมือทางการแพทย์ และเทคโนโลยีที่ใช้ เกี่ยวกับอุปกรณ์การแพทย์ และ 

4) นักลงทุนจากกลุ่มผู้ประกอบกิจการผลิตอะไหล่ยานยนต์ 


ซึ่งข้อมูลของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) พบว่า นักลงทุนทั้ง 4 ราย สนใจจะเช่าพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และบริเวณใกล้เคียง ด้วยเงินลงทุนจำนวนกว่า 2,000 ล้านบาท และยังมีนักลงทุนอีก 1 ราย ที่สนใจลงทุนกับ กนอ. โดยจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม และพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพลังงานทางเลือก มูลค่าการลงทุนประมาณ 5,000 ล้านบาทอีกด้วย

“นายกรัฐมนตรี สั่งการให้อำนวยความสะดวก ส่งเสริมการค้า และการลงทุนจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งภาคเอกชนจากต่างชาติมองเห็นถึงศักยภาพ และความพร้อมของนิคมอุตสาหกรรมในไทย โดยการเข้ามาลงทุนเหล่านี้ จะนำไปสู่การถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีเฉพาะด้านโดยตรงจากประเทศผู้เข้ามาลงทุนให้แก่คนไทยอีกด้วย นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่าต่างชาติจะยังคงเชื่อมั่นขยายการลงทุนในไทย ด้วยโครงสร้างการพัฒนา ข้อได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ และปัจจัยสนับสนุนอื่น ๆ” นายอนุชาฯ กล่าว

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE