Categories
AROUND CHIANG RAI NEWS UPDATE

‘ชัยธวัช’ ล่องแพเขื่อนแม่สรวย นำคณะก้าวไกล สาดน้ำเล่นสงกรานต์

 
เมื่อวันที่ เมื่อวันที่ 14 เมษายน นายชัยธวัช ตุลาธน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล พร้อมด้วย น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรค, นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรค, นายกรุณพล เทียนสุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองโฆษกพรรค ร่วมเทศกาลสงกรานต์ที่ จ.เชียงราย
 
โดยช่วงเช้าเยี่ยมชมอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบเวียงกาหลง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย ซึ่งเป็นสินค้าขึ้นชื่อประจำท้องถิ่น นอกจากนี้มีสินค้าอื่นๆ เช่น ชาหวาน น้ำแร่ เสร็จแล้วเดินทางไปเขื่อนแม่สรวย อ.แม่สรวย ส.ส.พรรคก้าวไกล เดินเท้าไปขึ้นแพเปียกเพื่อเล่นน้ำระหว่างทางมีประชาชนเข้ามาทักทาย ขอสาดน้ำประแป้งอย่างใกล้ชิดเป็นกันเอง ก่อนจะขึ้นแพและล่องไปตามลำน้ำ ได้รับการต้อนรับอย่างคึกคัก ประชาชนกระหน่ำสาดน้ำฉีดน้ำ สร้างความสนุกสนานอย่างมาก โดยหลังจากนี้ นายชัยธวัชและคณะจะเดินทางไปเล่นน้ำต่อที่ถนนสันโค้งน้อย อ.เมือง จ.เชียงราย.
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
AROUND CHIANG RAI TRAVEL

ยกระดับมาตรฐานและความปลอดภัย ท่องเที่ยวทางน้ำลำน้ำแม่สรวย

 

เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ห้องประชุมราชาวดี โรงแรม เชียงรายแกรนด์รูม จังหวัดเชียงราย นายเสริฐ ไชยยานันตา ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมยกระดับมาตรฐานการให้บริการและความปลอดภัยกิจกรรมการท่องเที่ยวทางน้ำลำน้ำแม่สรวย ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร และมาตรฐานการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ โดยมี ส่วนราชการ หน่วยงาน ผู้ประกอบการผู้ให้บริการท่องเที่ยวชุมชน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นให้มีความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยว และเตรียมตัวเข้าสู่มาตรฐานการท่องเที่ยวไทย

 

นายเสริฐ ไชยยานันตา ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า อำเภอแม่สรวย เป็นอีกหนึ่งอำเภอที่ยังคงมีอัตลักษณ์ของการท่องเที่ยววิถีชีวิตวัฒนธรรมล้านนา โดยเน้นคุณค่าความยั่งยืนควบคู่วิถีถิ่นร่วมสมัย ไม่ว่าจะเป็นวัดแสงแก้วโพธิญาณ วัดพระธาตุจอมแจ้ง ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เขื่อนแม่สรวย เป็นต้น โดยเฉพาะเขื่อนแม่สรวยนับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีน้ำแม่สรวย ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของน้ำแม่ลาว จะมีการล่องแพเปียกในช่วงเทศกาลสงกรานต์ (ปีใหม่เมือง) ในช่วงเดือน มีนาคม-พฤษภาคม ของทุกปี อีกทั้งยังถือได้ว่าเป็นกิจกรรมประจำปีที่สำคัญที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้กับชุมชน และประชาชนในพื้นที่ได้เป็นอย่างมาก
 
 
ในปัจจุบันการให้บริการกิจกรรมล่องแพเปียกลำน้ำแม่สรวย เป็นการช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ำจังหวัดเชียงราย แต่ยังจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับมาตรฐานการให้บริการของบุคลากรให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดรวมทั้งการคำนึงถึงความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวในการประกอบกิจกรรมการท่องเที่ยวทางน้ำให้ได้มาตรฐาน และมีประสิทธิภาพ
 
สำหรับการจัดกิจกรรมยกระดับมาตรฐานการให้บริการและความปลอดภัยกิจกรรมการท่องเที่ยวทางน้ำลำน้ำแม่สรวย ในครั้งนี้เป็นพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการและผู้ให้บริการกิจกรรมล่องแพ และแพบริการ เพื่อการท่องเที่ยวให้มีความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยว และเตรียมตัวเข้าสู่มาตรฐานการท่องเที่ยวไทย เพื่อยกระดับมาตรฐานการให้บริการและความปลอดภัยกิจกรรมการท่องเที่ยวทางน้ำ ให้นักท่องเที่ยวเกิดความมั่นใจในความปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยว และเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีด้านความปลอดภัย รวมถึงผู้ประกอบการยังสามารถจัดทำแผนบริหารจัดการความเสี่ยง และมาตรการเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยวได้ 
 
 
ถือเป็นการยกระดับคุณภาพการให้บริการและยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยตามแนวทางที่ถูกต้องของกรมการท่องเที่ยว อีกทั้งยังสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงและรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นโอกาสสำคัญที่ทำให้นักท่องเที่ยวรู้สึกปลอดภัย พึงพอใจ และประทับใจในการให้บริการ สามารถบอกต่อและกลับมาใช้บริการซ้ำอย่างต่อเนื่องต่อไป
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

มูลนิธิรักษ์ไทย พร้อมตัวแทน รับคณะต่างประเทศ เรียนรู้ชุมชนดอยอินทรีย์

 

เมื่อวันที่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 อ.แม่สรวย จ.เชียงราย เชิญแกนนำเกษตรกร She Feeds the World (SFtW) พัฒนาชุมชน อบต.ท่าก๊อ และมูลนิธิรักษ์ไทย เป็นตัวแทนนำเสนองานด้านเกษตร ให้กับ คณะทูตและกงสุลต่างประเทศประจำประเทศไทยพร้อมคู่สมรส มากกว่า 40 ประเทศ ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนดอยอินทรีย์ จ.เขียงราย

 

ในบูธนำเสนอ 3 ประเด็นหลักในงานคือ 

1)การจัดทำแผนที่ GIS แนวเขตพื้นที่ทำกิน ต.ท่าก๊อ ซึ่งได้รับความสนใจในการต่อยอด พัฒนาแผนนโยบายท้องถิ่น 2)การศึกษาพัฒนาพันธุ์ข้าว ให้เหมาะกับสภาพภูมินิเวศของบ้านป่าลัน ความสำเร็จที่ได้ตอบโจทย์การทำเกษตรแบบหยัดยื่น ที่สร้างการมีส่วนร่วมจากหลายหน่วยงาน ได้ผลิตผลที่คุ้มค่าทั้งจำนวนและความหอม นุ่มของข้าวที่กำลังยื่นเสนอการรับรองพันธุ์ 

3)กาแฟและสมุนไพร ที่ขึ้นชื่อของบ้านแม่จันใต้ผลลัพธ์ที่ได้มากกว่าการขยายผลเผยแพร่ข้อมูลด้านการพัฒนาระบบเกษตรคือ ความรู้สึกภาคภูมิใจ ของเกษตรกรและชุมชน ที่ร่วมไม้ร่วมมือกันสร้าง สิ่งที่อยากเห็นด้วยกัน

โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาดิน น้ำ ป้า และคนในพื้นที่ตอบโจทย์เรื่องความมั่นคง การจัดการการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิทธิในการใช้ที่ดินทำกินโอกาสนี้ ท่านทูตให้ความสนใจการส่งเสริมเกษตรกร

ทั้งเรื่องข้าวและกาแฟ ผู้ใหญ่ในพื้นที่ จ.เชียงราย เห็นความสำคัญในการพัฒนาระบบฐานข้อมูล ชวนรักษ์ไทยขยับงานร่วมกันต่อ โดยจะเริ่มหารือกันจากพื้นที่ อ.แม่สรวย ซึ่งได้มีการดำเนินการทำแผนที่อยู่แล้วนำร่องในเชียงราย

 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : มูลนิธิรักษ์ไทย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

สืบสานประเพณีกินวอ ชาติพันธุ์ลาหู่ พร้อมดันนโยบายเสน่ห์ชาติพันธุ์ฯ

 

เมื่อวันที่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 11.00 น.นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายก อบจ.เชียงราย พร้อมด้วยนายสมัคร กันจีนะ สมาชิกสภา อบจ.เชียงราย อ.แม่สรวย เขต 2 ร่วมสืบสานประเพณีกินวอ พี่น้องชาติพันธุ์ลาหู่ ต.ป่าแดด อ.แม่สรวย โดยมีนายสมพงษ์ อินต๊ะชัยวงค์ กำนัน ต.ป่าแดด นายคำใหม่ อินทรัตน์ ปลัด อ.แม่สรวย นายประภาส ชัยประเสริฐ ปลัด อ.แม่สรวย เจ้าหน้าที่ รพ.สต.ป่าแดด หัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น ร่วมงานในครั้งนี้ด้วย

 
ประเพณีกินวอ หรืองานปีใหม่ของพี่น้องชาติพันธุ์ลาหู่ มีการจัดขึ้นทุกปี โดยจะจัดขึ้นระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม ปีละ 1 ครั้งเท่านั้น ประเพณีนี้จะเชิญแขกมาร่วมรับประทานอาหารซึ่งการจัดประเพณีกินวอ ในแต่ละครั้ง จะจัดประมาณ 9 วัน 9 คืน ภายในงานมีการทำข้าวปุก เป็นข้าวที่นึ่ง แล้วนำมาตำให้ละเอียด จากนั้นตากให้แห้ง และทุกครอบครัวจะมีการล้มหมู แล้วนำมาหั่นเป็นชิ้น ๆ เพื่อเอาไว้ไปดำหัวผู้ที่เคารพนับถือ นอกจากนี้มีการจัดพิธีรดน้ำดำหัวขอขมานายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น ผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชน ตามพิธีโบราณของลาหู่ ต่อจากนั้นมีการ “เต้นจะคึ” ซึ่งเป็นการละเล่นของพี่น้องลาหู่ การเต้นจะคึจะมีหลายจังหวะ มีผู้ตีกลองหรือเป่าแคน ดีดซึง (คล้ายกีตาร์) เป็นท่วงท่าและกำหนดจังหวะ จับมือเต้นเป็นวงกลม กลางลานที่จัดกิจกรรมงานประเพณีกินวอ หรือประเพณีปีใหม่ของชาวลาหู่ 
 
 
ทั้งนี้ นายก อบจ.เชียงราย ได้กล่าวพบปะ และร่วมอวยพรให้พี่น้องชาวลาหู่ พร้อมกล่าวว่า “งานประเพณีนี้เป็นประเพณีที่ควรได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมให้จัดขึ้น เพื่อเป็นการสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม สร้างความสัมพันธ์อันดีในชุมชน อีกทั้งยังเป็นการสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ของพี่น้องลาหู่ให้คงอยู่สืบไป” โดย อบจ.เชียงราย พร้อมผลักดันนโยบายเสน่ห์เชียงราย สถานที่ ชาติพันธุ์ วัฒนธรรมประเพณี อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นของเชียงราย ให้นักท่องเที่ยวและคนต่างจังหวัดได้รู้จักชาติพันธุ์ และวัฒนธรรมของพี่น้องชาติพันธุ์ได้อย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : อบจ.เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News