Categories
NEWS TOP STORIES

ไล่ไทม์ไลน์ ศึกชิงประธานสภา เพื่อไทย-ก้าวไกล ใครคู่ควร

ไล่ไทม์ไลน์ ศึกชิงประธานสภา เพื่อไทย-ก้าวไกล ใครคู่ควร

Facebook
Twitter
Email
Print

ยังไม่ทันได้ตั้งรัฐบาลก็เริ่มเข้มข้น กับรัฐบาลเสียงข้างมาก 8 พรรค 313 เสียง ส่งครามโซเชียลก่อตัว สลับกันติดเทรนด์อันดับ 1 ระหว่างพรรคก้าวไกล และพรรคเพื่อไทย ในการแสดงความเห็นของตัวแทนในแต่ละพรรคคุมเกมในฝ่ายนิติบัญญัติกับตำแหน่ง “ประธานสภาผู้แทนราษฎร”

ก่อนจะมาไล่เรียงถึงศึกแยกเก้าอี้ 2 พรรค นครเชียงรายนิวส์จะพามาดูว่า “ประธานรัฐสภา” สำคัญยังไง ซึ่งประธานรัฐสภาจะมีอำนาจการบรรจุญัตติเข้าสภา

ประธานรัฐสภา มีหน้าที่อะไรบ้าง
  1. เป็นประธานของที่ประชุมรัฐสภา
  2. กำหนดการประชุมรัฐสภา
  3. ควบคุมและดำเนินกิจการของรัฐสภา
  4. รักษาความสงบเรียบร้อยในที่ประชุมรัฐสภาตลอดถึงบริเวณของรัฐสถา
  5. เป็นผู้แทนรัฐสภาในกิจการภายนอก
  6. แต่งตั้งกรรมการเพื่อดำเนินกิจการใดๆ
  7. อำนาจและหน้าที่อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้
  8. เป็นผู้นำชื่อนายกรัฐมนตรี ขึ้นทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์ เพื่อให้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกฯ หลังสภาฯ มีมติเลือก
  9. เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกฯ

ทำให้ทั้งสองพรรคมองว่าการพลักดันนโยบายสำคัญที่ได้หายเสียงเอาไว้ อย่างแรกต้องขับเคลื่อนด้วยประธานรัฐสภา จึงทำให้แต่ละพรรคออกมาแสดงว่าเห็นในครั้งนี้ เราจะไม่ไล่ไทม์ไลน์ ศึกชิงประธานสภา เพื่อไทย-ก้าวไกล ใครคู่ควร

วันที่ 23 พฤษภาคม 2566

ปิยบุตร แสงกนกกุล โพสต์เฟซบุ๊ก Piyabutr Saengkanokkul – ปิยบุตร แสงกนกกุล ระบุ “ประธานสภาผู้แทนราษฎร” ตำแหน่งที่พรรคก้าวไกลเสียไปไม่ได้เป็นอันขาดการเมือง คือ ศิลปะของการทำสิ่งที่คนเชื่อว่าเป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้

แต่เมื่อดุลกำลังอำนาจยังไม่เพียงพอ การประนีประนอมกันเพื่อรักษาสถานะความเป็นไปได้ของการทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้ ก็เป็นเรื่องจำเป็นพรรคก้าวไกลมี ส.ส. 152 คน ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้เพียงพรรคเดียว จำเป็นต้องตั้งรัฐบาลผสมร่วมกับพรรคเพื่อไทยซึ่งมี ส.ส.141 คน เหตุการณ์เช่นนี้ไม่ค่อยปรากฏในแวดวงการเมืองทั้งไทยและต่างประเทศเท่าไรนักหากพรรคก้าวไกลต้องการเป็นรัฐบาล ก็ต้องมีพรรคเพื่อไทยร่วมด้วยสถานเดียว

หากไม่มีพรรคเพื่อไทยร่วมด้วย ก็ไม่มีทางที่พรรคก้าวไกลได้เป็นรัฐบาลสองสามวันมานี้ มีข่าวปรากฏออกมาตามสื่อมวลชนว่า พรรคเพื่อไทยขอให้พรรคก้าวไกลปล่อยตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรให้กับ ส.ส.ของพรรคเพื่อไทย

 

ผมเห็นว่าพรรคก้าวไกลปล่อยตำแหน่งนี้ให้กับพรรคใดๆไม่ได้การเจรจาต่อรองเพื่อกำหนดเนื้อหาใน MOU ได้ผ่านพ้นไปด้วยดี ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าพรรคก้าวไกลได้ถอยในหลายประเด็น จนเหลือแต่ประเด็นที่ทุกพรรคยอมรับได้ และยอมเพิ่มอีกหลายข้อความเพื่อให้ทุกพรรคคลายความกังวลและสบายใจมากขึ้นแล้ว

 

เมื่อถึงคราวจัดสรรกระทรวงให้แต่ละพรรค พรรคก้าวไกลก็คงต้องยินยอม “เฉือน” อีกหลายกระทรวงให้กับพรรคอื่นๆ เพื่อให้การจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จ โดยเฉพาะกระทรวงที่สังคมจัดให้เป็นเกรด A โดยพิจารณาจากงบประมาณและโครงการ “เป็นเนื้อเป็นหนัง”

 

เมื่อถึงช่วงเขียนนโยบายของรัฐบาลเพื่อแถลงต่อสภา พรรคก้าวไกลก็ต้องประสานเอาความต้องการของทุกพรรคเข้ามาไว้ด้วยกัน

 

สภาพการประนีประนอม การเจรจาต่อรอง ระหว่างพรรคการเมือง และการยอมถอยให้พรรคการเมืองอื่น จะดำเนินเช่นนี้เรื่อยไปตลอดระยะเวลาของรัฐบาล ซึ่งไม่ใช่เรื่องประหลาดในทางการเมือง และเป็นเรื่องปกติในรัฐบาลผสม

 

ปัญหามีอยู่ว่า พรรคก้าวไกลจะต้องถอยจนถึงเมื่อไร ต้องยินยอมถึงขนาดไหน เพื่อให้ทุกพรรคพอใจและตั้งรัฐบาลได้? และไปต่อได้? ผมเห็นว่า การประนีประนอม การเจรจาต่อรองของพรรคก้าวไกล จะต้องไม่ไปถึงขนาดที่ยกตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรให้กับ ส.ส.พรรคอื่น

 

โดยทั่วไป ประธานสภาผู้แทนราษฎร ก็มาจาก ส.ส.ของพรรคอันดับที่หนึ่งอยู่แล้วกรณีสมัยที่แล้ว เป็นข้อยกเว้นอย่างยิ่ง เพราะ จำนวน ส.ส.ซีกรัฐบาลมีมากกว่าอีกฝ่ายไม่กี่เสียง ทำให้พรรคพลังประชารัฐต้องยอมเสียตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรให้พรรคประชาธิปัตย์ เพื่อแลกกับการสนับสนุนประยุทธ์

 

ในเมื่อครั้งนี้ ใครๆต่างก็บอกว่า ประสงค์จะให้การเมืองไทยกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ดังนั้น กฎเกณฑ์ในการเมืองไทยที่ใช้กันในสภาวะปกติ ก็ต้องถูกนำมาปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็น รัฐบาลเสียงข้างมาก รัฐบาลรวมเสียงได้กว่า 300 ก็ถือว่ามากพอแล้ว รวมไปถึง ตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฏร ต้องมาจาก ส.ส.ของพรรคอันดับหนึ่ง

 

นอกจากนี้ นโยบายของพรรคก้าวไกลที่ใช้รณรงค์หาเสียงจนได้คะแนนมากกว่า 14 ล้านเสียง หลายเรื่องต้องผลักดันผ่านสภา ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติ จึงจำเป็นต้องมี ส.ส.ของพรรคตนเองทำหน้าที่ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อคุมวาระและญัตติ

 

กล่าวจำเพาะกรณีการนิรโทษกรรมในคดีความผิดเกี่ยวกับการแสดงออกทางการเมือง และการแก้ไข ป อาญา มาตรา 112 (ซึ่งทั้งสองประเด็นนี้ไม่อยู่ใน MOU และไม่อยู่ในวาระร่วมหรือนโยบายของรัฐบาลแน่ๆ) พรรคก้าวไกลก็ต้องใช้กลไกสภาในการผลักดัน หากไม่ได้ตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรมา ก็อาจประสบปัญหาอุปสรรคได้

 

มิพักต้องกล่าวถึง พรรคก้าวไกลต้องมีคนของตนเองทำหน้าที่ประธารสภาผู้แทนราษฎร เพื่อคุมเกม ใช้และตีความข้อบังคับการประชุม และกำหนดทิศทางในการประชุมเพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีด้วยการประนีประนอมและการเจรจาทางการเมือง เป็นเรื่องเข้าใจได้ในการตั้งรัฐบาลผสมแต่การถอยถึงขนาดยอมยกตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรให้พรรคอื่น เป็นเรื่องเข้าใจไม่ได้หวังว่าพรรคก้าวไกลจะพิจารณาประเด็นนี้ให้ถ้วนถี่

 

 

วันที่ 24 พฤษภาคม 2566

นายอดิศร เพียงเกษ ว่าที่ ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวต้องดูบุคลากรของทั้งสองพรรค ซึ่งผมคิดว่าพรรคเพื่อไทย น่าจะมีความเหมาะสมในตำแหน่งประธานสภาฯมากกว่า มาจากกรณีที่นายปิยบุตร แสงกนกกุล โพสต์เฟซบุ๊กส่งสัญญาณว่าตำแหน่งประธานสภาควรเป็นของพรรคก้าวไกล

โดยให้รายละเอียด ยืนยันว่าไม่ใช่การเก่งแย่ง เพราะทั้งสองพรรคเป็นฝ่ายประชาธิปไตย ดังนั้นเพื่อให้เป็นประชาธิปไตย ตำแหน่งประธานสภาฯ ควรไปโหวตกันในสภาฯว่าพรรคไหนจะได้ เราเคารพกฎเกณฑ์ เคารพกติกา ควรมีคนที่เหมาะสมไปนั่งตำแหน่งประธานสภาฯ ให้เป็นหน้าเป็นตาไม่แพ้ฝ่ายบริหาร ฝ่ายบริหารเราได้คนหนุ่มแล้ว แต่ประธานสภาฯพรรคก้าวไกลก็ไม่ควรกินรวบ เล่นสลากกินแบ่งกันหรือเปล่า ถ้าพรรคก้าวไกลยังดื้อดัน สมมุติว่าพรรคเพื่อไทยไม่ร่วมจัดตั้งรัฐบาล พรรคก้าวไกลก็เดินไปไม่ได้อยู่ดี ตนไม่อยากให้เกิดภาพนี้ขึ้น

พรรคเพื่อไทยยินดีสนับสนุนนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ไม่ใช่ว่าได้ฝ่ายบริหารแล้ว จะไม่ให้พรรคอื่นไปดำรงตำแหน่งฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งต้องดูความเหมาะสมแต่ละช่วงเวลา เช่นสมัยที่ผ่านมานายชวน หลีกภัย ได้เสียงไม่มาก ก็ยังได้ตำแหน่งประธานสภาฯ และในอดีตนายอุทัย พิมพ์ใจชน มีเพียง 3 เสียง ก็ได้เป็นประธานสภาฯ และด้วยความเคารพนายปิยบุตรถือเป็นผู้ช่วยหาเสียงของพรรคก้าวไกล จะกินรวบทุกตำแหน่ง โดยเข้าใจว่าตัวเองเป็นเสียงข้างมาก ความเป็นจริง 152 เสียง ยังไม่เกินครึ่ง ถ้าอยากได้ทุกตำแหน่ง ต้องทำให้ได้แบบพรรคไทยรักไทย 377 เสียง ที่จะชี้เป็นชี้ตายเอาตำแหน่งไหนก็ได้

 

ในเวลาต่อมา “ก้าวไกล” ได้โพสต์ ประเด็น 3 วาระที่พรรคต้องการผลักดันในฐานะ “ประธานสภาผู้แทนราษฎร” ผ่านเฟซบุ๊กเพจ พรรคก้าวไกล – Move Forward Party ระบุว่า พรรคก้าวไกลเดินทางบนเส้นทางการเมืองไม่ใช่เพื่อตำแหน่งหรืออำนาจ แต่เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง มี 3 วาระที่สำคัญมาก ของพรรคก้าวไกลที่เราจำเป็นต้องใช้สถานะ “ประธานสภาผู้แทนราษฎร” ในการผลักดัน มีรายละเอียดว่า

วาระแรก: เพื่อผลักดันกฎหมายที่ก้าวหน้า

ตลอด 4 ปี ของสภาผู้แทนราษฎรภายใต้รัฐบาลประยุทธ์ 2 มีกฎหมายถูกเสนอเข้าสู่สภามากกว่า 478 ฉบับ แต่มีกฎหมายที่ผ่านสภาไปเพียงแค่ 78 ฉบับ เท่านั้น เฉลี่ยกฎหมาย 1 ฉบับใช้เวลาในการพิจารณากว่า 310 วัน และในจำนวนกฎหมาย 78 ฉบับที่ผ่าน เกือบทั้งหมดเป็นกฎหมายของ ครม. มีกฎหมายของ ส.ส. ซีกรัฐบาลผ่านเพียง 4 ฉบับเท่านั้น และไม่มีกฎหมายของภาคประชาชนที่ผ่านสภาเลย ทำให้เกิดสภาวะที่กฎหมายที่บังคับใช้อยู่ไม่สอดคล้องกับสภาพสังคม ไม่สามารถแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน และไม่รองรับความท้าทายใหม่ๆ ได้ดีเท่าที่ควร

กฎหมายส่วนใหญ่จาก 400 ฉบับที่ตกไป ไม่ใช่เพราะผู้แทนราษฎรไม่เห็นชอบ แต่กลับตกไปด้วยสาเหตุอื่น ไม่ว่าจะเป็น กฎหมายที่รอบรรจุระเบียบวาระแต่ไม่ถูกหยิบขึ้นมาพิจารณา 180 ฉบับกฎหมายที่ถูกประธานสภาวินิจฉัยว่าเป็นร่างกฎหมายการเงิน และนายกรัฐมนตรีปัดตกไม่นำเสนอเข้าสู่สภา 85 ฉบับ

มีกฎหมายที่สภาพิจารณาและถูกปัดตกไปจริงๆ เพียง 45 ฉบับเท่านั้น เท่ากับว่าร่างกฎหมายที่ถูกนำเสนออีก 355 ฉบับ ถูกปัดตกไปด้วยกระบวนการที่ไม่มีประสิทธิภาพ และให้อำนาจดุลพินิจแก่ประธานสภาและนายกรัฐมนตรีเพียงแค่คนใดคนหนึ่ง กลับมีอำนาจมากกว่าเจตจำนงของผู้แทนประชาชนที่เหลือ

ในสัญญาประชาคมที่พรรคก้าวไกลให้ไว้กับประชาชนในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีกฎหมายอย่างน้อย 45 ฉบับของพรรคก้าวไกลที่ต้องผ่านสภาผู้แทนราษฎร เป็นกฎหมายการเมือง 11 ฉบับ กฎหมายสิทธิเสรีภาพ 8 ฉบับ กฎหมายปฏิรูปที่ดิน 8 ฉบับ กฎหมายปฏิรูประบบบริหารราชการ 8 ฉบับ กฎหมายบริการสาธารณะ 4 ฉบับ กฎหมายเศรษฐกิจ 4 ฉบับ กฎหมายสิ่งแวดล้อม 2 ฉบับ กฎหมายแรงงาน 2 ฉบับ กระบวนการนิติบัญญัติที่ก้าวหน้าจำเป็นอย่างยิ่งในการทำให้กฎหมายเหล่านี้ได้รับการพิจารณาอย่างมีประสิทธิภาพ

 

วาระที่สอง: เพื่อผลักดันให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยเดินหน้าอย่างราบรื่น

การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเปิดทางไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นวาระสำคัญ และถูกระบุไว้ใน MOU ของพรรคร่วมรัฐบาล การทำภารกิจนี้ให้ลุล่วง จะต้องผ่านการประชุมสภาหลายครั้ง และจะมีการอภิปรายอย่างกว้างขวางในเนื้อหาที่มีความแหลมคม จำเป็นอย่างยิ่งที่ประธานสภาต้องมีเจตจำนงแน่วแน่ในการอำนวยการประชุมให้เดินหน้าไปอย่างราบรื่น เป็นที่ยอมรับของสมาชิกสภาทุกฝ่าย และนำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้

 

วาระที่สาม: ก้าวไกลจะผลักดันหลักการ “รัฐสภาโปร่งใส” และ “ประชาชนมีส่วนร่วม” ให้เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย

“รัฐสภาโปร่งใส” หรือ Open Parliament จะเกิดขึ้นจริงได้หรือไม่ อยู่ที่ประธานรัฐสภา พรรคก้าวไกลประกาศเจตจำนงแน่วแน่ว่าจะทำให้รัฐสภาไทยโปร่งใสมากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนในการมีส่วนร่วมและตรวจสอบกระบวนการนิติบัญญัติ โดยเริ่มจากสิ่งที่ง่ายที่สุด

3.1 ถ่ายทอดสดการประชุมกรรมาธิการทุกคณะ ให้พี่น้องประชาชนติดตามได้ หรือหากไปไกลกว่านั้น ก็เป็นการรายงานบันทึกการออกเสียงลงมติต่างๆ ของผู้แทนราษฎรทุกคน โดยนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบ เข้าถึงง่าย และรวดเร็ว เพื่อให้พี่น้องประชาชนติดตามการทำงานของผู้แทนของตนได้อย่างสะดวก ว่าในแต่ละประเด็น ผู้แทนของตนเองได้ลงมติออกเสียงไปอย่างไรบ้าง

3.2 ส่งเสริมการทำงานของสำนักงบประมาณรัฐสภา (Parliamentary Budget Office หรือ PBO) ในการทำหน้าที่อย่างเต็มที่ เพื่อตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้งบประมาณแผ่นดินของหน่วยงานองค์กรต่างๆ เพื่อให้งบประมาณทุกบาททุกสตางค์นั้นจะถูกใช้ไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของพี่น้องประชาชน

3.3 ตั้งสภาเยาวชน หรือ Youth Parliament (ซึ่งอาจต่อยอดจากสภาเด็กและเยาวชนที่มีอยู่) ที่ขึ้นตรงกับสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยกำหนดให้สมาชิกสภาเยาวชนทุกคนมาจากการเลือกตั้งของเยาวชนทั่วประเทศ และกำหนดให้ข้อเสนอใดที่สภาเยาวชนลงมติเห็นชอบ ถูกบรรจุเป็นวาระที่รัฐสภาต้องรับไปพิจารณาต่อโดยอัตโนมัติ ด้วยสถานะเทียบเท่ากับร่างกฎหมายที่ประชาชน 10,000 คน สามารถร่วมกันลงชื่อเสนอสู่สภาได้ภายใต้กฎหมายปัจจุบัน

พรรคก้าวไกลต้องการให้ผู้แทนราษฎรของเราดำรงตำแหน่งประธานสภา ไม่ใช่เพื่อตำแหน่ง แต่เราต้องการอำนาจเข้าไปเปลี่ยนแปลงรัฐสภาไทยให้สามารถออกกฎหมายที่เป็นประโยชน์ สามารถแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชนได้จริง และเป็นรัฐสภาที่เปิดเผย โปร่งใส ตรวจสอบได้ และส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วม ทำให้ระบอบประชาธิปไตยเข้มแข็ง

 

ในช่วงค่ำทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้รีทวีตพร้อมกับโพสต์ข้อความสั้นๆว่า “Sound Familiar krub” (คุ้นๆนะครับ) ของนายดวงฤทธิ์ บุนนาค สถาปนิก และแกนนำกลุ่มแคร์ คิด เคลื่อน ไทย โดยใช้ชื่อ twitter ว่า Duangrit Bunnag ว่า ต้องทนให้คนที่เรียกตัวเองว่าเพื่อน เอาตีนถีบหน้าอยู่ทุกวันจริงหรือครับ เพื่อนที่โกหก คอยแทงข้างหลังตลอด แต่ต้องช่วยมันเพราะลำพังตัวเองมันไปเองก็ไม่รอด ไม่ช่วยมันกูก็ผิด ช่วยมันกูก็เจ็บ #ความอดทนบางทีแม่งก็มีขีดจำกัด

 

วันที่ 25 พฤษภาคม 2566

หลังเกิดกระแสค่อนข้างเดือดในโซเชียลมีเดีย ทำให้นายจาตุรนต์ ฉายแสง ว่าที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ทวีตข้อความ ผ่านทวิตเตอร์ @chaturon

“เรื่องระหองระแหงกับเพื่อนเป็นเรื่องน่าเห็นใจ แต่เพื่อนกับเพื่อนๆ กำลังร่วมกันทำงานใหญ่ คือการตั้งรัฐบาลฝ่ายประชาธิปไตยตามที่ประชาชนมอบหมายมา ถ้าตั้งไม่สำเร็จก็จะเป็นประโยชน์กับการสืบทอดอำนาจเผด็จการ เพื่อนทำให้ไม่พอใจบ้างก็ต้องอดทน ถ้าความอดทนมีขีดจำกัด ก็ต้องขยายขีดความจำกัดให้ได้”

 

ศึกชิงเก้าอี้เริ่มชัดเจนขึ้นเมื่อศิริกัญญา ตันสกุล ว่าที่ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล แถลงข่าวที่พรรคก้าวไกล เรื่องตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ยืนยันพรรคก้าวไกลจำเป็นต้องมีตำแหน่งประธานสถา นอกเหนือจากอำนาจบริหารก็มีความจำเป็นต้องเป็น ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติด้วย เพราะมี 3 วาระที่ต้องผลักดันตามที่โพสต์ไว้ในเฟซบุ๊กของพรรค ซึ่ง 4 ปีที่ผ่านมาเห็นแล้วว่าตำแหน่งนี้สำคัญต่อการผลักดันกฎหมายแค่ไหน และการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่นำไปสู่การร่างฉบับใหม่ ถ้าจะทำให้ลุล่วงต้องมีการประชุมสภาอีกหลายครั้ง ต้องมีประธานที่มีเจตนารมณ์แน่วแน่ในการแก้ (กดดูคลิปเต็มที่ภาพ)

นอกจากนี้ยังต้องผลักดันให้มีสภาที่โปร่งใส มีส่วนร่วมของประชาชน เช่นที่เราเคยผลักดันให้ถ่ายทอดสดในชั้นกรรมาธิการ ซึ่งจะเป็นหนึ่งในวาระที่จะทำให้โปร่งใส่ตรวจสอบได้ รวมไปถึงสภาเยาวชน ที่จะมีการจัดตั้งขึ้นมาเพื่อฟังเสียงเยาวชนที่ยังไม่มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งจะขึ้นตรงกับสำนักเลขาสภาผู้แทนราษฎร

 

เวลา 13.40 น. นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ที่พรรคเพื่อไทยอ้างถึงวันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา 8 พรรคการเมืองได้ลงนามเอ็มโอยู พรรคเพื่อไทยได้แจ้งความประสงค์ไปยังแกนนำพรรคก้าวไกลถึงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย ซึ่งพรรคก้าวไกลบอกว่าขอเวลาอีก 2-3 วัน เพื่อจะเอาคำตอบมาให้ และขณะนี้ก็รอพรรคก้าวไกลอยู่ ายประเสริฐ กล่าวว่า ตนว่ากองเชียร์ทั้ง 2 ฝั่งก็ประสงค์ที่จะให้ส.ส.และแกนนำของแต่ละพรรคเป็น และหากมองอดีตที่ผ่านมาปี 62 ประธานสภาก็เป็นนายชวน หลีกภัย จากพรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็นพรรคลำดับที่ 4 และตนมองว่าด้วยความที่เสียงใกล้กันมาก โดยเฉพาะส.ส.แบบแบ่งเขตที่พรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทยได้ 112 เท่ากัน เพราะฉะนั้นอยากให้มีการพูดคุยกันเพื่อหาทางออก และเป็นสิ่งที่พรรคเพื่อไทยเคยประสานงานไปแล้ว จึงอยากให้บรรยากาศการทำงานเป็นไปได้ด้วยดี เพราะได้ลงนามเอ็มโอยูไปแล้ว ไม่อยากให้บางเรื่องมาเป็นอุปสรรค และกล่าวถึงน.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ออกมาแถลงยืนยันว่า ตำแหน่งประธานสภาต้องเป็นของพรรคก้าวไกลจะต้องคุยกับพรรคก้าวไกลใหม่หรือไม่เพราะพรรคเพื่อไทยเคยเสนอเรื่องนี้ไปแล้ว นายประเสริฐ กล่าวว่า ทั้ง 2 ฝั่งต่างออกมาพูดว่าตำแหน่งต้องเป็นของฝั่งไหน ซึ่งตำแหน่งประธานสภาเป็นตำแหน่งสำคัญ อยากให้คำนึงถึงความเหมาะสม แต่ถ้าพรรคก้าวไกลไม่ยอมพรรคเพื่อไทยก็คงต้องกลับมาหารือกันอีกครั้งว่าแกนนำพรรคเพื่อไทยจะทำอย่างไร หรือกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยจะว่าอย่างไร

พรรคเพื่อไทย (พท.) ทวีตข้อความผ่านทวิตเตอร์พรรคพท. ถึงกรณีเก้าอี้ประธานสภาฯ ระบุว่า “ประธานสภาฯมีหน้าที่ควบคุมการประชุมสภาฯ และเปิดทางผลักดันทุกนโยบายของพรรคร่วมรัฐบาลให้สำเร็จ ไม่ใช่ผลักดันวาระของพรรคใดพรรคหนึ่งเท่านั้น ปัจจุบันที่เป็นรัฐบาลผสมมีภารกิจสำคัญในเอ็มโอยูร่วมกัน ไม่ว่าประธานสภาฯจะเป็นใคร มาจากพรรคใด ก็ต้องทำภารกิจร่วมกันให้บรรลุเป้าหมายยังข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในวงการเจรจาพรรคร่วมรัฐบาล พรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่า การจัดสรรตำแหน่งจะคำนึงถึงความยุติธรรมกับทั้งสองฝ่ายเป็นหลัก หากจะยกกรณีที่พรรค พท. ชนะการเลือกตั้ง ชนะโหวตทั้งนายกรัฐมนตรี และประธานสภาฯมาโดยตลอดไม่มีพรรคอันดับสองได้ นั่นเป็นเพราะ พรรค พท. ชนะเลือกตั้งเด็ดขาด ได้คะแนนเสียงเกินครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฏร จึงชนะโหวตด้วยเสียงของ ส.ส.และผู้สนับสนุน 

 

ในกรณีนี้ เราชนะมาด้วยกันก็ควรทำงานร่วมกันด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจในฐานะพรรรคร่วมรัฐบาล หลีกเลี่ยงที่จะใช้มวลชนกดดัน แต่ควรหาทางทำภารกิจเพื่อประชาชนร่วมกันให้สำเร็จประเทศจึงจะได้ประโยชน์สูงสุด”

อย่างไรก็ตาม ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 116 และ 119 ระบุว่าประธานสภาต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นกลาง โดยเป็นประธานของ ส.ส.ทั้งสภา ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลด้วย

 

หลังจากนี้ต้องมาติดตามว่าเก้าอี้ประธานสภาจะเป็นของพรรคเพื่อไทยหรือพรรคก้าวไกล

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
NEWS UPDATE
Categories
NEWS TOP STORIES

กกต. ประกาศผลเลือกตั้งเป็นทางการ มีคนใช้สิทธิ 75.71% ก้าวไกลเก้าอี้หายไป 1 ที่นั่ง

กกต. ประกาศผลเลือกตั้งเป็นทางการ มีคนใช้สิทธิ 75.71% ก้าวไกลเก้าอี้หายไป 1 ที่นั่ง

Facebook
Twitter
Email
Print
เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2566 สำนักงาน กกต.ได้มีการตรวจสอบความถูกต้องของการนับคะแนนเลือกตั้งส.ส.ครบทั้ง 400 เขต มีผู้มาใช้สิทธิ 39,514,973 คน คิดเป็นร้อยละ 75.71 จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 52,195,920 คน

 

โดยการเลือกตั้งส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 

– มีบัตรดี 37,190,071 บัตร คิดร้อยละ 94.12 

– บัตรเสีย 1,457,899 บัตร คิดเป็นร้อยละ3.69 

– ไม่บัตรไม่ประสงค์เลือกผู้ใด 866,885 บัตร คิดเป็นร้อยละ 2.19 

 

ซึ่งผลการนับคะแนนแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
1. พรรคเพื่อไทย ได้ส.ส. 112 คน 
2.พรรคก้าวไกล ได้ส.ส. 112 คน 

3.พรรคภูมิใจไทยได้ส.ส. 68 คน

4.พรรคพลังประชารัฐ ได้ส.ส. 39 คน

5.พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้ส.ส. 23 คน 

6.พรรคประชาธิปัตย์ ได้ส.ส. 22 คน 

7.พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ส.ส. 9 คน 

8.พรรคประชาชาติ ได้ส.ส. 7 คน 

9.พรรคไทยสร้างไทย ได้ส.ส. 5 คน

10.พรรคเพื่อไทรวมพลัง ได้ส.ส. 2 คน 

11.พรรคชาติพัฒนากล้า ได้ส.ส. 1 คน

 

กรณีดังกล่าวเป็นเพียงผลการนับคะแนนเลือกตั้งอย่างเป็นทางการเท่านั้น ยังไม่ใช่การพิจารณาประกาศรับรองผลการเลือกตั้งของกกต. ส่วนการเลือกตั้งส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 

 – มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง39,514,964 

 – มีบัตรดี 37,522,746 บัตร คิดเป็นร้อยละ 94.96 

 – บัตรเสีย 1,509,836 บัตร คิดเป็นร้อยละ 3.82 

 – บัตรไม่ประสงค์เลือกผู้ใด 482,303 บัตร คิดเป็นร้อยละ 1.22 

 

โดยผลการคิดคำนวณ คะแนนค่าเฉลี่ยส.ส. 1คน คือ 375,227.34 คะแนน ส่งผลทำให้ทำให้ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คน ประกอบด้วย

1.พรรคก้าวไกลได้คะแนน 14,438,851 คะแนน ได้ส.ส. 39 คน 

2. พรรคเพื่อไทย ได้คะแนน 10,962,522 คะแนน ได้ส.ส. 29 คน 

3. พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้คะแนน 4,766,408 คะแนน ได้ส.ส. 13 คน 

4. พรรคภูมิใจไทย ได้คะแนน 1,138,202 คะแนน ได้ส.ส.3 คน 

5.พรรคประชาธิปัตย์ได้คะแนน 925,349 คะแนน ได้ส.ส. 3 คน 

6. พรรคประชาชาติ ได้คะแนน 602,645 คะแนน ได้ส.ส. 2 คน 

7. พรรคพลังประชารัฐ ได้คะแนน 537,625 คะแนน ได้ส.ส. 1 คน 

8.พรรคเสรีรวมไทย ได้คะแนน 351,376 คะแนน ได้ส.ส. 1 คน 

9.พรรคไทยสร้างไทย ได้คะแนน 340,178 คะแนน ได้ส.ส. 1 คน 

10. พรรคประชาธิปไตยใหม่ ได้คะแนน 273,428 คะแนน ได้ส.ส. 1 คน 

11.พรรคใหม่ ได้คะแนน 249,731 คะแนน ได้ส.ส. 1 คน พรรค 

12. ชาติพัฒนากล้า ได้คะแนน 212,676 คะแนน ได้ส.ส. 1 คน 

13. พรรคท้องที่ไทย ได้คะแนน 201,411 คะแนน ได้ส.ส. 1 คน 

14.พรรคชาติไทยพัฒนา ได้คะแนน 192,497 คะแนนได้ส.ส. 1 คน 

15.พรรคเป็นธรรมได้คะแนน 184,817 คะแนนได้ส.ส. 1 คน 

16.พรรคพลังสังคมใหม่ ได้คะแนน 177,379 คะแนนได้ส.ส. 1 คน 

17. พรรคครูไทยเพื่อประชาชนได้คะแนน 175,182 คะแนน ได้ส.ส. 1 คน

โดยจากรายงานประกาศ กกต.ประจำเขตเลือกตั้งที่ 3 จ.ปราจีนบุรี เรื่องผลการนับคะแนน ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง(ส.ส. 6/1 )นั้นพบว่านายสฤษดิ์ บุตรเนียร จากพรรคภูมิใจไทยเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง ทำให้จำนวนส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งของพรรคก้าวไกล คือ 112 ที่นั่ง และพรรคภูมิใจไทย 68 ที่นั่ง ซึ่งกรณีดังกล่าวเป็นเพียงผลการนับคะแนนเลือกตั้งอย่างเป็นทางการเท่านั้น ยังไม่ใช่การพิจารณาประกาศรับรองผลการเลือกตั้งของกกต.

 

อย่างไรก็ตาม เมื่อรวมจำนวนส.ส.ทั้งแบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อแล้ว 
1.พรรคก้าวไกล ได้ส.ส.รวม 151 คน 
2.พรรคเพื่อไทย 141 คน 
3.พรรคภูมิใจไทย 71 คน 
4.พรรคพลังประชารัฐ 40 คน 
5.พรรครวมไทยสร้างชาติ 36 คน 
6.พรรคประชาธิปัตย์ 25 คน 
7.พรรคชาติไทยพัฒนา 10 คน 
8.พรรคประชาชาติ 9 คน 
9.พรรคไทยสร้างไทย 6 คน 
10.พรรคชาติพัฒนากล้า 2 คน 
11.พรรคเพื่อไทรวมพลัง 2 คน
12.พรรคเสรีรวมไทย 1 คน 
13.พรรคประชาธิปไตยใหม่ 1 คน
14.พรรคใหม่ 1 คน
15.พรรคท้องที่ไทย 1 คน
16.พรรคเป็นธรรม 1 คน
17.พรรคพลังสังคมใหม่ 1 คน
18.พรรคครูไทยเพื่อประชาชน 1 คน
Facebook
Twitter
Email
Print

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กกต.

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
NEWS TOP STORIES

“ศิธา” รีบแจงหลัง “ชลน่าน” ติงเสียมารยาท หวังว่าพรรคเพื่อไทยตอบคำถามประชาชน

“ศิธา” รีบแจงหลัง “ชลน่าน” ติงเสียมารยาท หวังว่าพรรคเพื่อไทยตอบคำถามประชาชน

Facebook
Twitter
Email
Print

เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2566 เมื่อเวลา 21.00 น. น.ต.ศิธา ทิวารี ประธานคณะกรรมการอำนวยการและพัฒนาและเลขาธิการพรรคไทยสร้างไทย โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว @SitaDivari กรณีที่หัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายแพทย์ ชลน่าน ศรีแก้ว ออกมาฝากถึงตนในมุมของการเสียมารยาท จึงขอชี้แจงว่า เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2566 ในการแถลงข่าวเซ็น MOU ว่า

ตามที่หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ได้ออกมาฝากถึงผมในมุมของการ #เสียมารยาท นั้น ผมขออนุญาตชี้แจง ดังนี้ เมื่อวานนี้ ในการแถลงข่าวเซ็น MOU จัดตั้งรัฐบาลร่วมกัน ผมได้ตั้งคำถามไปยัง 8พรรคการเมือง ว่า “ท่านจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับพี่น้องประชาชน ว่าท่านจะยืนตัวตรง สู้กับกลไกที่เผด็จการฝังไว้ในบทเฉพาะกาล 5ปีแรกของ รธน.60 โดยกำหนดให้ สว.มีสิทธิ์เลือกนายกฯ ด้วยการเซ็น #AdvanceMOU อีก1ฉบับ ระบุว่าท่านจะทำงานร่วมกัน 

 

ตามฉันทานุมัติของประชาชน ที่มีให้กับพรรคฝ่ายประชาธิปไตย (หรือพรรคร่วมฝ่ายค้านเดิม) ไม่ว่าท่านจะเป็นรัฐบาล หรือฝ่ายค้านร่วมกันก็ตาม” ได้หรือไม่ เนื่องจากการแถลงข่าวยืดเยื้อเกินเวลา ผมจึงบอกว่า “จะตอบทั้ง 8พรรค” หรือ “จะตอบเฉพาะ 2พรรคใหญ่” คือ #ก้าวไกล และ #เพื่อไทย เพื่อไม่ให้เสียเวลาก็ได้ คุณพิธา ได้กดไมค์ตอบผมทันที ว่าเป็นไปได้ที่จะลงนามใน Advance MOU ร่วมกับในอนาคตอันใกล้ ส่วนคุณหมอชลน่าน ไม่ตอบคำถามผม 

 

แต่ได้ตอบคำถาม ที่นักข่าวฝากให้ผมถามให้ ผมจึงได้ย้ำคำถามไปอีกครั้ง ผมก็ได้รับคำตอบจากคุณพิธาคนเดียว ส่วนคุณหมอชลน่าน ไม่ตอบเช่นเดิม เมื่อถึงจุดนี้ผมพอจะเข้าใจว่า คำถามของผมคุณหมอชลน่านไม่ได้ลืมที่จะตอบ แต่อาจเป็นคำถามที่หัวหน้าพรรคเพื่อไทยอึดอัดที่จะตอบ ผมจึงยุติการตั้งคำถาม หลังจากแถลงข่าวเสร็จ เราก็ไปนั่งทานข้าว และพูดคุยชนแก้วกันอย่างชื่นมื่น โดยที่คุณหมอก็พูดคุยกับผมตามปกติ ไม่ได้มีการคาดคั้น หรือชี้แจง จากทั้งสองฝ่ายแต่อย่างใด 

 

ผมไม่ทราบว่า หลังจากนั้น คุณหมอโดนใครตำหนิ หรือไปรับบรีฟจากใครมา อยู่ๆวันนี้จึงงัวเงีย ออกมาพูดกับสาธารณชนว่า เป็นการเสียมารยาท และฝากหัวหน้าพรรคฯมาอบรมผม ด้วย โดยในมุมมองผมนั้น ทั้งตามมารยาทที่คุณหมอหยิบยกมาอ้าง และเนื่องจากที่เป็นลูกผู้ชายด้วยกันทั้งคู่นั้น ทั้งต่อหน้าและลับหลัง เราก็ควรจะพูดคุยด้วยอารมณ์และความรู้สึก และ Messages เดียวกัน ไม่ใช่ดื่มกิน ชื่นมื่นกันเป็นชั่วโมง แต่พอวันรุ่งขึ้นกลับตาลปัด มาพูดถึงกันในเชิงลบ ผ่านสื่อมวลชนเช่นนี้ 

 

สำหรับผม การที่พรรคการเมืองจะออกมายืนยัน เพื่อความเชื่อมั่นของพี่น้องประชาชนนั้น มันยิ่งใหญ่กว่าการเสียมารยาทของผมเพียงแค่คนเดียวมากนัก ดังนั้นการที่ผมจะเอาตัวเองเข้าแลก เพื่อประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่เช่นนี้ ผมไม่ได้กังวลต่อคำสบประมาท ว่าเป็นการเสียมารยาท แต่อย่างใด ถ้าจะให้พูดให้เคลียร์คัท “ผมไม่ได้กลัวการเสียมารยาท มากไปกว่า กลัวการสืบทอดอำนาจของเผด็จการ” เลย ส่วนในมุมการรักษามารยาท ที่คุณหมอกำหนดบรรทัดฐานมานั้น 

 

เมื่อทราบความอึดอัดของหมอชลน่านเช่นนี้ ผมก็คงไม่ไปถามอะไรถึงเรื่องนี้อีก ในทำนองเดียวกัน หากหลังจากนี้มีประชาชนผู้ลงคะแนน ให้กับพรรคร่วมฝ่ายค้านเดิมร่วม 25ล้านคน หรือสื่อมวลชนทั่วไป จะมีใครไปถามหมอแทนประชาชน ถึงจุดยืน Advance MOU นี้อีก ผมก็หวังว่า ท่านหัวหน้าพรรคเพื่อไทย จะรักษามารยาท ด้วยการตอบคำถามต่อพี่น้องประชาชนด้วย ครับ

 

โดยต้นเรื่องในครั้งนี้มาจากรายการสดออนไลน์เพจข่าวสด ในยูทูปชื่อรายการว่าอยากมีเรื่องคุย ตอน “เจาะ MOU 8 พรรค เดินหน้าจัดตั้งรัฐบาล” ซึ่งได้เชิญสามตัวแทนพรรคการเมืองพูดคุย ประกอบด้วย นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย และ พ.ต.อ.เอกทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ

Facebook
Twitter
Email
Print

เครดิตภาพและข้อมูลจาก :ทวิตเตอร์ @SitaDivari

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE