Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

ไทย ลาว เมียนมา รับมือปัญหา หมอกควันข้ามแดน พรบ.อากาศสะอาด

 

เมื่อวันที่ 2 ก.ย. 67 ที่โรงแรม เลอ เมอริเดียน เชียงราย รีสอร์ท นายวีรวิชญ์ เธียรชัยนันท์ ผู้อำนวยการโครงการแม่น้ำโขงเพื่ออนาคต องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงวิชาการปฏิบัติการ เรื่องหมอกควันข้ามแดนกับ พรบ.อากาศสะอาด  โดยได้รับการสนับสนุนจากโครงการแม่โขงเพื่ออนาคต (Mekong for the Future) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง USAID และ WWF ซึ่งมีคณาจารย์ นักศึกษา จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเชียงราย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย น้องๆ จากโรงเรียนเทศบาลเวียงคำพาง อำเภอแม่สาย  ผู้แทนจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และเมียนมา เข้าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เชื่อมความสัมพันธ์ ในการจัดการปัญหาหมอกควันข้ามแดน

          นายวีรวิชญ์ เธียรชัยนันท์ ผู้อำนวยการโครงการแม่น้ำโขงเพื่ออนาคต องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล กล่าวว่า ในการพบปะกันครั้งนี้ เพื่อให้ความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับปัญหามลพิษหมอกควันไฟป่าที่มีปัญหามาอย่างยาวนาน ซึ่งภาคเหนือในช่วงเดือน ธันวาคมไปจนถึงเดือนเมษายนเป็นช่วงเวลาสำคัญที่จะมีนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกมาเยือนจังหวัดเชียงราย แต่ด้วยในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นช่วงที่ชาวเกษตรกรเก็บเกี่ยวพืชผล รวมถึงเตรียมหน้าดินในการปลูกพืช จึงทำให้ในช่วงเดือนมีนาคมมีการเผามากที่สุด ทำให้ส่งผลกระทบด้านสุขภาพกับผู้มาเยือน ประชาชนในพื้นที่ และประเทศเพื่อนบ้าน  ซึ่งปัญหาดังกล่าวไม่สามารถที่จะแก้ไขเพียงประเทศใดประเทศหนึ่ง ทั้งสามประเทศต้องร่วมมือกัน เพื่อรักษาสมดุลย์ของทรัพยากร ทางเลือกใหม่ที่ช่วยลดการเผา

          สำหรับการประชุมฯ ครั้งนี้  ผู้เข้าปร่วมประชุมจะได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้ เรื่องปัญหาหมอกควันของแต่ละพื้นที่ รวมถึงมีวิทยากรมาให้ความรู้ในการจัดการปัญหาหมอกควันข้ามแดน โดย ดร.นพ.วิรุฬ ลิ้มสวาท กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด บรรยาย เรื่อง พรบ.อากาศสะอาด กับการจัดการปัญหาหมอกควันข้ามแดน  ผศ.ดร.นิอร สิริมงคลเลิศกุล บรรยาย “ความสัมพันธ์ Hotspot กับ Land used ในกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงไทย-สปป.ลาว-เมียนมาร์”   ตลอดจนกิจกรรมการทำ Work Shop ร่วมกัน ซึ่งจะถูกนำไปเสนอต่อ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาสู่การผนวกเข้ากับ Clean Air act ต่อไป

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

เครือข่ายคนฮักแม่น้ำโขง 8 จังหวัด หารือฟื้นฟูแม่น้ำโขงให้สมบูรณ์

 
เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 67 ที่โรงแรมทีคการ์เดน อ.เชียงของ จ.เชียงราย นายวีรวิชญ์ เธียรชัยนันท์อำนวยการโครงการแม่โขงเพื่ออนาคต Mekong for the future องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) และนายธนวัจน์ คีรีภาส รองผู้อำนวยการโครงการแม่โขงเซฟการ์ด มูลนิธิเอเชีย  Asia Foundation เป็นประธานการประชุมรายงานผลการดำเนินงาน โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุ่มชนลุ่มน้ำโขงในภาคเหนือ และการประชุมสัญจรเครือข่ายคนฮักแม่น้ำโขง (Hug Mekong Network) ครั้งที่ 3 โดยมี นายธีระพงศ์ โพธิ์มั่น  ผู้อำนวยการสถาบันชุมชนลุ่มน้ำโขง นายสมเกียติ เขื่อนเชียงสา นายกสมคมแม่น้ำเพื่อชีวิต เจ้าหน้าที่จาก  Asia Foundation WWF นางอ้อมบุญ ทิพย์สุนา เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน  เครือข่ายชาวบ้านริมแม่น้ำโขงจาก 8 จังหวัดริมแม่น้ำโขง และเครือข่ายสมาคมชุมชนสีเขียว สปป.ลาว เข้าร่วมการประชุม
 

        โดยการประชุมครั้งนี้เป็นการรายงานผลการวิจัย เรื่องผลกระทบจากการพัฒนาเกินความพอดีที่ส่งผลต่อวิถีชีวิต ผู้คนและวัฒนธรรมของชุมชนในลุ่มแม่น้ำโขง และกดำเนินโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนลุ่มน้ำโขง โดย นายธีระพงษ์ โพธิ์มั่น ผศ.ดร.สหัทยา วิเศษ  
 

        นายธีรพงษ์ กล่าวว่า โครงการได้มีการเปิดโครงการครบรอบแล้ว 1 ปี โดยหวังว่าผลลัพของโครงการจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชน สิ่งที่เราร่วมมือกันมากว่า 1 ปี เราได้ทำงานในพื้นที่ อ.เชียงแสน อ.เชียงของ อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย โดยได้รับความสนับสนุนจาก แม่โขงเซฟการ์ด และแม่โขงฟอร์เดอะฟิวเจอร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอสิ่งที่เกิดขึ้นกกับแม่น้ำโขง ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ลุ่มแม่น้ำโขง
 

        การดำเนินการของโครงการที่ผ่านมาเป็นการร่วมมือของชุมชุนลุ่มแม่น้ำโขง ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งความเป็นมาของโครงการ คือ การเกิดปัญหาจากการพัฒนาในแม่น้ำโขง ในทั้งภาคเหนือและภาคอีสานของไทย ซึ่งเกิดปัญหามาอย่างยาวนานกว่า 30 ปี ที่ผ่านมา การแก้ไขปัญหาที่ผ่านมาเป็นการแก้ไขโดยคนลุ่มน้ำโขงเอง และยังไม่มีภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือ ทำให้เกิดการหาข้อมูลเพื่อให้ภาครัฐ และองค์กรต่างๆ ได้รับทราบถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับแม่น้ำโขง ทั้งเรื่องการขึ้นลงที่ผิดปกติ ระบบนิเวศ และการหาอยู่หากินกับแม่น้ำโขงลำบากมากขึ้น ซึ่งโครงการนี้เป็นการเริ่มต้นเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหากับแม่น้ำโขงอย่างแท้จริง เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภและฟื้นฟูแม่น้ำโขงให้กลับมาเป็นแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ โดยเริ่มจากเรื่องปากท้องของคนลุ่มแม่น้ำโขง นอกเหนือจากการเก็บข้อมูลงานวิจัย  ในระยะยาวจะทำให้เกิดเครือข่ายคนลุ่มแม่น้ำโขง ในการเคลื่อนไหวด้านข้อมูล โดยมีแผนงานคือ 1  เก็บข้อมูลคนลุ่มแม่น้ำโขง ว่ามีความเป็นอยู่อย่างไรบ้าง มีกี่หมู่บ้าน สาขาอาชีพ ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับแต่ละชุมชน 2 การเก็บข้อมูลผลกระทบ การทำวิจัย เรื่องพืช การหาปลา การหาอยู่หากินของแมญิงลุ่มแม่น้ำโขง 3 การแก้ไขปัญหาระยะสั้น ในการทำวิจัย เพื่อให้หน่วยงานและองค์การที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเหลือและแก้ปัญหาให้กับคนลุ่มแม่นน้ำโขง 
 

       ผศ.ดร.สหัทยา กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขง ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต และสถาบันชุมชนลุ่มน้ำโขง โดยได้รับฟังข้อมูลจากประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขง โดยลงพื้นที่สำรวจ โดยเก็บข้อมูลจาก 305 คน จาก 38 ชุมชน ริมแม่น้ำโขง อ.เชียงแสน อ.เชียงของ อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย กลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มที่ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขงโดยตรงและทางอ้อม เช่นชาวประมง ผู้อาศัยริมแม่น้ำโขง  และกลุ่มหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำโขง ภาครัฐ เอกชน องค์กรอิสระ
 

       จากนั้นได้มีการจัดเวทีเสวนาในหัวข้อ ข้อค้นพบจากงานวิจัยไทบ้าน และแนวทางแก้ไขปัญหาของภาคประชาชนต่อกรเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขงจากการโครงการพัฒนาโดย เครือข่ายฮักแม่น้ำโขง 
 

        นางสาวจรรยา จันทร์ทิพย์ กล่าวว่า พืชริมน้ำหายไปหลังจากการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขง ที่เกิดจากการสร้างเขือ่นในแม่น้ำโขงพื้นที่ที่ผักเคยงอกขึ้นได้ ก็ไม่สามารถขึ้นได้เพราะน้ำขึ้นลงไม่เป็นไปตามธรรมชาติ พี่น้องเราริมแม่น้ำโขงก็ต้องปรับตัวโดยการปลูกพืชริมแม่น้ำ โดยการปลูกพืชอายุสั้นที่เก็บเกี่ยวได้เร็ว เพราะไม่สามารถคาดเดาได้ว่าน้ำจะมาเมื่อไหร่ ปัจจุบัน วิถีชีวิตเปลี่ยนไปจากเดิมเพราะแม่น้ำไม่สามารถเลี้ยงชีพได้ก็ต้องหาทางออกอย่างอื่นเช่นการเลี้ยงปลา และปลูกผัก ที่ต้องปรับตัว 
 

       นายมานพ มณีรัตน์ ผู้ใหญ่บ้านปากอิง  กล่าวว่า ชุมชนปากอิงได้ได้รับผกระทบจากที่ดิน ริมแม่น้ำที่หายจากการสร้างเขื่อนป้องกันริมตลิ่ง ทำให้พื้นที่ทำการเกษตรหายไป ที่ดินทำการเกษตรไม่มีแล้ว ปัจจุบัน รณรงค์ให้ชาวบ้านปลูกผักไว้เพื่อบริโภค ในครัวเรือน แต่ก็เป็นไปได้ยากเพราะพื้นที่มีไม่เพียงพอ ซึ่งก็เป็นเรื่องยากของชุมชน อาชีพกรประมงของชาวบ้านในพื้นที่ปากอิงก็ได้รับผลกระทบเพราะการหาปลาก็หาไม่ได้ ปัจจุบันเราไม่สามารถพึ่งพาและคาดเดาได้กับแม่น้ำโขง คนรุ่นใหม่เริ่มออกไปทำงานนอกหมู่บ้าน เหลือเพียงผู้สูงอายุอยู่ ซึ่งกังวลว่าในอนาคตวัฒนธรรมท้องถิ่นก็จะหายไปด้วย ซึ่งจะเป็นผลกระทบจากแม่น้ำโขงที่ทำให้คนรุ่นใหม่ไม่สามารถดำรงค์ชีพได้ในชุมชน 
 

       นายอภิเชษ คำมะวงซ์ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงในแม่น้ำโขงให้การประมงในพื้นที่ริมแม่น้ำโขงเริ่มหายไป คนที่หากินกับแม่น้ำโขงต้องเพาะพันธุ์ปลาเพื่อเลี้ยงชีพ แทนการหาปลาในแม่น้ำโขงเพราะปลาตามธรรมชาติน้อยลง ซึ่งคนริมแม่น้ำโขงต้องหาทางออกโดยการปรับตัวเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ โดยการสร้างอาชีพจากการเลี้ยงปลากดคัง ปลาน้ำโขง เพื่อให้สามรถนำมาจำหน่ายเพื่อเลี้ยงครอบครัว 
 

        นางสมจิตร ทิศา กล่าวว่า แม่น้ำโขงเปลี่ยนไปมาก เมื่อก่อนสามารถปลูกผัก ทำเกษตรริมแม่น้ำโขง จนสามารถส่งลูกเรียนหนังสือได้จนจบปริญญาตรี แต่ปัจจุบัน แม่น้ำโขงน้ำขึ้นลงไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ทำให้การทำเกษตรคาดเดาไม่ได้ ไร่ข้าวโพดริมแม่น้ำโขงที่เคยปลูกได้จำนวนมาก ก็เหลือพื้นที่น้อยลง เพราะระดับน้ำขึ้นมาสูงกินพื้นที่เพาะปลูก พืชสวนที่ปลูกไว้เพื่อขายก็ไม่สามารถทำได้ เพราะคาดเดาไม่ได้ว่าน้ำจะมาเมื่อไหร่ ลงทุนปลูกไปก็กลัวว่าน้ำจะพัดเสียหาย การหาปลาในแม่น้ำโขงเมื่อก่อนถึงเวลามื้ออาหาร ลงน้ำโขงหาปลา สามารถทานได้ทั้งครอบครัว ปัจจุบันลงน้ำหาปลาทั้งวันไม่ได้สักตัวเลยก็มี 
 

        ในช่วงบ่ายเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลของเครือข่ายคนฮักแม่น้ำโขง ครั้งที่  3  โดยมีการสรุปแนวทางความร่วมมือในการัดการแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน การแลกเปลี่ยนสถานการณ์ และแนวทางการแก้ไขจากชุมชน รวมไปถึงการทำงานภายใต้เครือข่ายฮักแม่น้ำโขง  เพื่อเป็นแนวทางในการทำงานร่วมกันกับเครือข่ายแม่น้ำโขงภาคเหนือและภาคอีสาน
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News