Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

‘พิสันต์’ รับโล่ประกาศเกียรติคุณ ชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชนยลวิถี” 4 ปีติดต่อกัน

 

เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2567 เวลา 09.30 น. นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานมอบนโยบายการขับเคลื่อน “เศรษฐกิจวัฒนธรรม เพื่อการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติอย่างยั่งยืน” ภายใต้โครงการ “22 ปี กระทรวงวัฒนธรรม นำคุณค่า พัฒนาสังคมและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน” ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจในแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจวัฒนธรรมให้กับบุคลากรในหน่วยงานด้านวัฒนธรรมทั่วประเทศ พร้อมยกระดับการขับเคลื่อนวัฒนธรรมไปสู่การพัฒนาชุมชนและประเทศชาติอย่างยั่งยืน โดยมีผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม หัวหน้าส่วนราชการ และองค์การมหาชนในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม รวมถึงวัฒนธรรมจังหวัด 76 จังหวัด และสภาวัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เข้าร่วมรับฟังอย่างพร้อมเพรียง

นางสาวสุดาวรรณ กล่าวในพิธีเปิดว่า การขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจวัฒนธรรมเป็นก้าวสำคัญที่จะนำคุณค่าของศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคเอกชน รวมถึงการสานต่อโครงการต่าง ๆ ที่กระทรวงวัฒนธรรมได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง

ในงานดังกล่าว นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้บรรยายในหัวข้อ “การขับเคลื่อนวัฒนธรรมสู่พลังแห่งอนาคต” ซึ่งเน้นย้ำถึงบทบาทของวัฒนธรรมในฐานะเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม พร้อมทั้งการสร้างความตระหนักรู้ในคุณค่าของวัฒนธรรมในชุมชน เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคประชาชนอย่างเป็นระบบ

นอกจากนี้ หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้แก่ กรมการศาสนา กรมศิลปากร กรมส่งเสริมวัฒนธรรม สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) และกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้ร่วมบรรยาย

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
AROUND CHIANG RAI ECONOMY

“สุดาวรรณ” ห่วงสถานการณ์น้ำท่วม ‘วัดเสาหิน’ โบราณสถาน จ.เชียงราย

 

เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2567 นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ได้ติดตามผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยของโบราณสถานในพื้นที่ภาคเหนืออย่างใกล้ชิด ซึ่งในส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้รายงานว่ามีสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด และกลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานในพื้นที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะกลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ตั้งอยู่ ณ วัดสองแคว ต.ป่าแมต อ.เมืองแพร่ จ.แพร่ มีมวลน้ำมาเร็ว ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่เร่งระดม เคลื่อนย้ายของ และเครื่องประกอบเกียรติยศประกอบศพโดยทันที เพราะหากน้ำสูงกว่านี้สุ่มเสี่ยงต่อความเสียหาย ขณะนี้ได้มีข้าราชการ และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม ทางกลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ ได้ออกประกาศ เนื่องจากเกิดเหตุการณ์อุทกภัย การติดต่อขอรับพระราชทาน จากเดิม ณ ห้องงานประสานขอรับพระราชทานเพลิงศพ ศาลากลางจังหวัดแพร่ ทางทายาทของ ผู้วายชนม์ผู้ประสงค์ขอรับพระราชทาน สามารถติดต่อขอรับพระราชทานได้ที่ 1. ห้องประชุม เทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 2. เบอร์โทรศัพท์ 065 523 4058 081 137 5191, 081 297 8396 , 086 911 4844 3.Facebook : กลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่

นางสาวสุดาวรรณ กล่าวต่อไปว่า ในการนี้เพื่อให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธีในภารกิจพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานของกลุ่ม พิธี การศพที่ได้รับพระราชทานและกลุ่มอํานวยการพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและต่อเนื่องโดยเฉพาะจังหวัด ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการ ณ์อุทกภัยและอยู่ระหว่างเฝ้าระวังสถานการณ์อุทกภัยจึงขอให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดดำเนินการ ดังนี้

1. ดําเนินการขนย้ายเครื่องเกียรติยศประกอบศพและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีการศพ ที่ได้รับพระราชทานไปเก็บรักษาไว้ในที่ที่ปลอดภัย 2. แ จ้ ง ประกาศชี้แจงรายละเอียดช่องทางการติดต่อขอพระราชทานเกี่ยวกับพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานและการปฏิบัติหน้าที่ ในภารกิจพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานตามหมายรับสั่งในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยให้มีการประกาศชี้แจงรายละเอียดช่องทางที่สาม ารถติดต่อขอรับบริการให้เจ้าภาพ / ทายาทและประชาชนในพื้นที่ทราบ 3. จังหวัดที่เฝ้าระวังสถานการณ์อุทกภัยขอให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธีติดตามสถานการณ์ อย่างใกล้ชิดเพื่อเฝ้าระวัง อุทกภัยที่อาจะเกิดขึ้นในพื้นที่และให้เตรียมพร้อมในการขนย้ายเครื่องเกียรติยศ ประกอบศพ และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีการศพที่ได้ รับพร ะราชทาน 4.รายงานสถานการณ์อุทกภัยที่ได้รับผลกระทบและความต้องการในการขอรับ ความช่วยเหลือให้กองพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน สํานักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรมทราบโดยด่วน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวต่อไปว่า ในส่วนกรมศิลปากรรายงานว่าจากกรณีฝนตกต่อเนื่องหลายวันในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนที่ผ่านมาส่งผลให้เกิดน้ำท่วม น้ำล้นตลิ่ง น้ำหลากท่วมทุ่งในหลายพื้นที่ของจังหวัดน่าน พะเยาและเชียงราย ขณะนี้กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ได้ลงพื้นที่และประสานงานกับเครือข่ายอาสาสมัครในการดูแลมรดกศิลปวัฒนธรรมในพื้นที่ดังกล่าว

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ได้รับรายงานเกี่ยวกับผลกระทบต่อโบราณสถานในพื้นที่ 3 จังหวัด ดังนี้ จังหวัดน่าน จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ 1.วัดหนองบัว อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ซึ่งมีโบราณสถานคือ วิหารที่ปรากฏภาพจิตรกรรมฝาผนังน้ำท่วมขึ้นถึงภายในวิหาร แต่ยังไม่ถึงภาพจิตรกรรมซึ่งสูงกว่าระดับน้ำท่วมประมาณ 50 ซม ดังนั้น ภาพจิตรกรรม จึงไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากน้ำท่วม 2.วัดภูมินทร์ อำเภอ เมือง จังหวัดน่าน โบราณสถานคือวิหารจตุรมุขที่ปรากฏภาพจิตรกรรมฝาผนัง (ปู่ม่านย่าม่าน) ปัจจุบันน้ำยังท่วมไม่ถึงด้านบนวิหาร เนื่องจากอาคารนี้เป็นอาคารที่มีฐานสูงและบันไดสูงไปถึงพื้นด้านบนวิหารน้ำจึงท่วมเพียงบันไดเท่านั้น และ 3.พิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ปัจจุบันน้ำยังไม่ท่วมเข้ามาในพื้นที่เนื่องจากตั้งอยู่ในบริเวณที่สูงที่สุดของเมืองน่าน เจ้าหน้าที่เฝ้าระวังตลอดเวลาและให้นำรถยนต์เข้ามาจอดภายในได้ในช่วงนี้เพื่อบรรเทาความเสียหายของทรัพย์สินประชาชน

ขณะที่ จังหวัดพระเยามีโบราณสถานที่ได้รับผลกระทบคือ เมืองโบราณเวียงลอ อำเภอจุน จังหวัดพะเยา เมืองนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งน้ำอิง น้ำจึงล้นฝั่งท่วมทั้งเมืองโบราณสถานจึงมีน้ำท่วมขังหลายแห่งแต่ไม่พบความเสียหายของตัวอาคาร ส่วนที่จังหวัดเชียงราย โบราณสถานที่ได้รับผลกระทบ คือวัดเสาหิน เป็น วิหารและเจดีย์ขนาดใหญ่ มีน้ำท่วมขังในพื้นที่รอบอาคารแต่ยังไม่ได้รับรายงานความเสียหายของตัวอาคาร

นางสาวสุดาวรรณ กล่าวอีกว่า กรมศิลปากร ได้วางแนวทางการแก้ไขปัญหา ดังนี้ 1.ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด 2.รับฟังข้อมูลจากอาสาสมัครฯ ของกรมศิลปากรที่อยู่ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง 3.หลังจากน้ำลดให้เข้าพื้นที่สำรวจตรวจสอบสภาพและความเสียหายโดยด่วน โดยเฉพาะงานศิลปกรรมที่ได้รับความเสียหายต้องได้รับการอนุรักษ์อย่างเร่งด่วน 4.วางมาตรการลดความเสี่ยงของโบราณสถานในช่วงฤดูฝนนี้ หากมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องครั้งต่อไป เช่น ปกป้องน้ำไม่ให้ท่วมเข้าไปในอาคารโบราณสถานอีก หรืออื่น ๆ ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และ 5.หากพบความเสียหายต่ออาคารโบราณสถานให้รีบแจ้งกรมศิลปากรเพื่อดำเนินการฉุกเฉินเร่งด่วน อย่างไรก็ตาม ภาพรวมในส่วนกระทรวงวัฒนธรรม รู้สึกเป็นห่วงและขอเป็นกำลังใจให้กับข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทุกคน จึงได้ สั่งการให้จัดตั้งศูนย์ประสานงานโบราณสถานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย โดยใช้สายด่วนวัฒนธรรม 1765 ในการรับแจ้งข้อมูลและรวบรวมข้อมูลหน่วยงานในสังกัด สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด และกองพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน รวมไปถึงแหล่งโบราณสถานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย เพื่อสรุปข้อมูลสำหรับลงพื้นที่สำรวจและตรวจสอบสภาพความเสียหายหลังจากสถานการณ์คลี่คลาย รวมถึงจัดทำแผนช่วยเหลือเบื้องต้น และบูรณะซ่อมแซมในอนาคตต่อไป

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงวัฒนธรรม

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE TRAVEL

‘บ้านดอยดินแดง’ ศักยภาพเชียงราย สู่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงศิลปะ

 

เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2567 นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมลงพื้นที่เยี่ยมชมบ้านอาจารย์สมลักษณ์ ปันติบุญ (บ้านดอยดินแดง) ในการติดตามผลการดำเนินโครงการกิจกรรมของกระทรวงวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 – 2568 ระหว่างวันที่ 3 – 4 สิงหาคม 2567 ณ จังหวัดเชียงราย โดยมี นางสาวพลอย ธนิกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม นายสถาพร เที่ยงธรรม ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม นายโกวิท ผกามาศ ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรม วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย นายวิเชียร สุขสร้อย เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย หัวหน้าและส่วนราชการ ผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้าร่วม

ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมได้ติดตามโครงการเปิดบ้านศิลปินภายหลังการจัดงาน Thailand Biennale Chiang Rai 2023 และการเตรียมความพร้อมพัฒนาศักยภาพจังหวัดเชียงรายให้กลายเป็นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงศิลปะ และเป็นหมุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลก
 
ทั้งนี้ อาจารย์สมลักษณ์ ปันติบุญ เป็นศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานปั้นเซรามิกและภาพจิตรกรรมอันเกิดจากดินและสีผสม นำเสนอผลงานศิลปะอันเป็นนามธรรม โดยได้รับอิทธิพลทางความคิดและการทำงานจากศาสนาพุทธนิกายเซน (Zen) มีประสบการณ์ทำงานให้กับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ โดยร่วมงานกับพระนิกายเซน ทำหน้าที่สอนศิลปะให้กับผู้ลี้ภัยสงครามสัญชาติลาวและเขมรที่ค่ายอพยพลี้ภัยในเมืองไทย ต่อมาได้ไปประเทศญี่ปุ่นเพื่อศึกษาศิลปะการทำเครื่องปั้นดินเผา
 
อาจารย์สมลักษณ์เป็นศิลปินที่ได้รับรางวัลมากมาย เช่น ในปี พ.ศ. 2540 และ พ.ศ. 2543 ได้รับรางวัลที่สองจาก Asian ART & Crafts Exhibition และในปี พ.ศ.2541 ได้รับรางวัล Award of Merit ประเทศนิวซีแลนด์ หลังจากนั้นสมลักษณ์ เดินทางกลับประเทศไทยและก่อตั้งโรงปั้นดินเผา “ดอยดินแดง” ที่จังหวัดเชียงราย สร้างเครือข่ายศิลปินเชียงรายเพื่อทำกิจกรรมทางศิลปะ ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมคนแรกของขัวศิลปะเชียงราย (Art Bridge Chiang Rai) และได้สร้างสรรค์ผลงานศาลาสวนประติมากรรม (Sculpture Garden Pavilion) หนึ่งในผลงานอันโดดเด่นของงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

‘สุดาวรรณ’ เยือนชุมชนปกาเกอะญอ จัดพื้นที่คุ้มครองวีถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์

 
เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2567 นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลในพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยได้เดินทางไปติดตามการดำเนินงานตามแนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกะเหรี่ยง ณ ชุมชนปกาเกอะญอ บ้านห้วยหินลาดใน อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย โดยเยี่ยมชมและร่วมหารือกับชุมชนถึงแนวคิดการจัดการพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ของชุมชน เป็นต้นแบบให้กับชุมชน ชาติพันธุ์ในหลายพื้นที่
 
ในโอกาสนี้ นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวภายหลังเยี่ยมชมการบริหารจัดการพื้นที่ชุมชนว่า “รู้สึกยินดีมาก ที่ได้มาเห็นรูปธรรมความสำเร็จของชุมชนพี่น้องปกาเกอะญอ บ้านห้วยหินลาดใน ซึ่งเป็นชุมชนที่ได้รับการประกาศให้เป็นพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ตามมติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2553 ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ เพราะได้เห็นถึงแนวทางการจัดการที่ดีของชุมชน แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของชุมชนชาติพันธุ์ที่สามารถพึ่งตนเองได้บนฐานทุนทางวัฒนธรรม ที่สำคัญ คือ การกำหนดเขตพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ เป็นแนวทางที่นอกจากจะทำให้ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นแล้ว ยังทำให้ลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่ และเป็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องชาติพันธุ์ด้วยมิติวัฒนธรรม ทำให้ชุมชนมีความมั่นคงในชีวิต สามารถทำธุรกิจและสร้างรายได้ได้อย่างยั่งยืนไปพร้อมๆ กับการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล จึงเห็นว่านี่เป็นรูปธรรมของการใช้พลังทางวัฒนธรรม หรือ Soft Power เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนของพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์”
 
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล กล่าวด้วยว่า “รัฐบาลภายใต้การนำของท่านนายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน มีนโยบายที่ชัดเจนที่จะดูแลพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ให้มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีงาน มีรายได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยได้เสนอร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. …. ให้เป็นกฎหมายที่จะคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมศักยภาพของพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ทุกกลุ่มในประเทศไทยอย่างเสมอภาคกัน ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว เชื่อว่าเมื่อกฎหมายนี้ประกาศใช้แล้วจะเป็นหลักประกันให้ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์มีความมั่นคงในชีวิต สามารถประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ที่ยั่งยืน ดำรงอยู่อย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีรายได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี มากไปกว่านั้น คือ เป็นประโยชน์กับประเทศที่เราจะได้โอบรับความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ไว้เป็นทุนทางวัฒนธรรมของชาติ ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ เพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนด้วยทุนทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ และทุนวัฒนธรรมที่หลากหลาย”
 
“ประโยชน์กับพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ทุกกลุ่มในประเทศไทย และการที่ได้มีโอกาสมาเยี่ยมเยือนชุมชนพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ บ้านห้วยหินลานใน ในวันนี้ นอกจากได้เห็นและให้กำลังใจพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์แล้ว ยังเป็นโอกาสที่จะได้มาบอกกล่าวกับพี่น้องให้ได้ร่วมยินดีที่ในอีกเร็ววันนี้ที่เราจะมีกฎหมายคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ฉบับแรกของประเทศไทย” นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล กล่าวปิดท้าย
 
บ้านห้วยหินลาดใน เป็นชุมชนปกาเกอะญอ ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ต.บ้านโป่ง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย ชาวบ้านห้วยหินลาดในอยู่ที่นี่มานานกว่า 150 ปี ได้รับการประกาศเป็นพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ นำร่อง 1 ใน 4 พื้นที่ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2553 เรื่อง แนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกะเหรี่ยง โดยชาวบ้านได้จัดทำข้อตกลงในการดูแลป่าชุมชนบนฐานวัฒนธรรมและข้อห้ามตามประเพณี ทำให้ชุนชนที่มีจำนวนชาวบ้านเพียงกว่าร้อยชีวิต สามารถรักษาผืนป่ากว่า 10,000 ไร่เอาไว้อย่างสมบูรณ์
 
นอกจากนี้ชุมชนยังประสบความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยเฉพาะกาแฟ ชา และน้ำผึ้ง สร้างรายได้ให้กับชุมชนจำนวนมาก การจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนของชุมชนบ้านห้วยหินลานในได้รับการยอมรับจากในประเทศและต่างประเทศ โดยได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว เมื่อปี 2548 และได้รับรางวัลชุมชนต้นแบบการจัดการทรัพยากรบนฐานวัฒนธรรมของชุมชนที่ประเทศมาเลเซียเมื่อปี 2566 ที่ผ่านมาอีกด้วย
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

รมว.วัฒนธรรม เยี่ยมบ้านเมืองรวง ชุมชนโดดเด่นด้านเศรษฐกิจพอเพียง

 

เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2567 ที่บ้านเมืองรวง ตำบลแม่กรณ์ อำเภอเมืองเชียงราย นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมลงพื้นที่เยี่ยมชุมชนคุณธรรมฯ บ้านเมืองรวง จังหวัดเชียงราย เพื่อติดตามผลการดำเนินโครงการกิจกรรมของกระทรวงวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 – 2568 ระหว่างวันที่ 3 – 4 สิงหาคม 2567 ณ จังหวัดเชียงราย โดยมี นายสถาพร เที่ยงธรรม ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม นายวิเชียร สุขสร้อย เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นายวันชัย จงสุทธานามณี นายกเทศมนตรีนครเชียงราย นายธนรัช จงสุทธานามณี เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายบุญส่ง ตินารี นายอำเภอเมืองเชียงราย วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ผู้บริหาร ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กระทรวงวัฒนธรรม หัวหน้าและผู้แทนส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และชาวชุมชนชุมชนคุณธรรมฯ บ้านเมืองรวง เข้าร่วม

 
ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้กราบนมัสการพระพระณัฐวัฒน์ กิตฺติโสภโณ เจ้าอาวาสวัดท่าไคร้ บ้านเมืองรวง ต.แม่กรณ์ อ.เมือง จังหวัดเชียงราย และร่วมรับฟังผลการดำเนินงานของชุมชนคุณธรรมฯ บ้านเมืองรวง และเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์และสินค้าชุมชน
 
ทั้งนี้ ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านเมืองรวง อยู่ที่หมู่ 5 ตำบลแม่กรณ์ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย เป็นชุมชนชาวไทยวนและมีชาติพันธุ์อาข่าอพยพมาอยู่ในชุมชนร่วมกันอย่างเอื้ออาทรและสามัคคี ชุมชนก่อตั้งประมาณปี พ.ศ. 2397 ผู้ริเริ่มสร้างหมู่บ้านครั้งแรก เป็นชาวลวงซึ่งเดินทางมาจากจังหวัดเชียงใหม่ โดยให้ชื่อหมู่บ้านว่า บ้าน “เมืองลวง” ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2527 ได้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเป็นบ้าน “เมืองรวง”
 
ชุมชนแห่งนี้มีความโดดเด่นด้านเศรษฐกิจพอเพียง ได้รับคัดเลือกเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ อยู่เย็น เป็นสุขดีเด่น ระดับเขตและระดับภาค ชุมชนต้นแบบจัดการขยะ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี และได้รับคัดเลือกจากกระทรวงวัฒนธรรมเป็น 1 ใน 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ“เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ต่อเนื่องกัน 2 ปี ได้แก่ ปี 2564 และ 2565 มีกิจกรรมท่องเที่ยววิถีชุมชน หมู่บ้านน่าอยู่ ผักปลอดสารพิษ ผลิตภัณฑ์และสินค้าชุมชน เช่น กาแฟ น้ำพริกตาแดงปลาช่อนป่น มะขามแก้ว ผลิตภัณฑ์จักสาน สบู่สมุนไพร และ “แหนมหมู”หรือ “จิ้นส้ม” ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT) ที่ขึ้นชื่อของชุมชนแห่งนี้ เพื่อจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวผ่านตลาดวัฒนธรรม“สุดสาย ยายกอง” และมีลานวัฒนธรรมสร้างสุข นำเสนอความเข้มแข็งของชุมชน ศิลปะและวัฒนธรรมประเพณีอันงดงามของชุมชน เช่น การแสดงฟ้อนเล็บ การแสดงชาติพันธุ์อาข่า เป็นต้น แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เช่น วัดท่าไคร้ วัดพุทธมิ่งโมลี และเทศกาล ประเพณีท้องถิ่น เช่น พิธีสงเคราะห์ทำบุญสืบชะตาหมู่บ้านเนื่องในประเพณีปี๋ใหม่เมือง ประเพณีตานก๋วยสลาก เป็นต้น
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
SPORT

เตรียมดันศูนย์ทดสอบกีฬามวยไทย ม.ราชภัฏเชียงราย เป็นระดับสากล

 

เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2567 นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้วางแผนการส่งเสริมกีฬามวยไทยสู่ความเป็นสากล และ Soft Power โดยมีคณะกรรมการกีฬามวย เป็นผู้กำกับการขับเคลื่อนให้เกิด “มาตรฐาน” และ “การยอมรับ” ในระดับสากล

 

คณะกรรมการกีฬามวย และ การกีฬาแห่งประเทศไทย ได้ปรับปรุงมาตรฐานต่างๆ ให้สอดคล้องกับปัจจุบัน มีการวางมาตรฐานเป็นหนึ่งเดียว (One Standard) ซึ่งประกอบด้วย 5 ด้านที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

  1. หลักสูตรผู้ฝึกสอนมวยไทย
  2. หลักสูตรผู้ตัดสินมวยไทย
  3. หลักสูตรการบริหารจัดการค่ายมวย
  4. หลักสูตรการจัดการแข่งขันมวยไทย
  5. หลักสูตรด้านองค์ความรู้มวยไทย

 

มีการปรับให้มีโครงสร้าง “สถาบันมวยไทยแห่งชาติ” ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการกีฬามวย เป็นผู้ศึกษาและรวบรวมองค์ความรู้ในแต่ละด้านดังกล่าว พร้อมทั้งได้ทำประชาพิจารณ์ ร่วมกับสมาคมกีฬามวยและบุคคลในวงการกีฬามวยแล้วเสร็จเมื่อช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

 

ประเทศไทยเรามีศูนย์กลางการเรียนรู้ พัฒนาผลิตบุคลากรกีฬามวยไทยที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน ประกอบด้วย ศูนย์ทดสอบ (นำร่อง) จำนวน 5 ศูนย์ ได้แก่

  1. ภาคตะวันออก : ศูนย์ทดสอบมหาวิทยาลัย ม.บูรพา จ.ชลบุรี
  2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ศูนย์ทดสอบมหาวิทยาลัยขอนแก่น จ.ขอนแก่น
  3. ภาคเหนือ : ศูนย์ทดสอบมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จ.เชียงราย
  4. ภาคใต้ : ศูนย์ทดสอบมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ จ.กระบี่
  5. ภาคกลาง : ศูนย์ทดสอบการกีฬาแห่งประเทศไทย กทม.

 

นางสาวสุดาวรรรณ เผยว่า“ มวยไทยถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของคนไทยที่สืบทอดกันมาอย่างช้านาน เป็นทั้งการต่อสู้เพื่อป้องกันตัวและเกมส์กีฬา “

 

“รัฐบาลและทางกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เรามีนโยบายหลักคือผลักดันมวยไทยมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนคนไทยทุกคนมีความภาคภูมิใจกับกีฬามวยไทยที่เราเป็นต้นตำรับ อีกทั้งเรายังมีนักมวยไทยชื่อดังหลายคน ที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยเรามาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น บัวชาว บัญชาเมฆ หรือทางด้าน รถถัง จิตรเมืองนนท์ ที่กำลังโด่งดัง ณ ปัจจุบัน เรามีการเปิดคลินิกสอนทักษะมวยไทยในต่างแดนอย่างต่อเนื่องให้กับผู้สนใจเข้าร่วมเรียนรู้ทักษะมวยไทย ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านกีฬามวยไทย”

 

“ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา เราจัดการแสดงไหว้ครูมวยไทยครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย โชว์ความสวยงามของแม่ไม้มวยไทยด้วยจำนวนคนที่มากที่สุดในโลกกว่า 5,000 คน เพื่อบันทึกลงกินเนสส์บุ๊กเวิลด์เรคคอร์ด ให้คนต่างชาติว้าวกับสิ่งที่เกิดขึ้น“

 

”ในส่วนของการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการแข่งขันกีฬามวยไทย ก็ถือว่าสำคัญไม่แพ้กันค่ะ เราต้องช่วยกันผลักดันกีฬามวยไทยให้สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศไทย”

 

“อีกอย่างหนึ่งค่ะ เราได้ตั้งเป้าหมาย คือ การผลักดันให้กีฬามวยไทย ให้ได้รับการบรรจุเป็นหนึ่งชนิดกีฬาในการแข่งขันในมหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ปี 2032 ณ เมืองบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย ด้วยค่ะ”

 

“สุดท้ายดิฉันก็หวังว่า การรับรองมาตรฐานบุคลากรกีฬามวยไทย ตามพันธกิจและเจตนารมณ์ของ พรบ.มวย ที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ จะช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันและความเชื่อมั่นให้กับภาคอุตสาหกรรมกีฬา เกิดการยอมรับในระดับสากลและสามารถยึดกีฬามวยไทยเป็นอาชีพได้อย่างมั่นคง เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับประเทศไทย และเราพร้อมที่จะเดินหน้าร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อทำให้สิ่งที่เรากำลังผลักดันนั้นเกิดประโยชน์ในทุกๆมิติค่ะ”

 

 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
NEWS UPDATE

‘นักท่องเที่ยวจีน’ พลิกกลับอันดับ 1 เที่ยวไทย ด้วยจำนวน 1.7 ล้านคน

 

เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2567 สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ระบุ สถิติ “นักท่องเที่ยวต่างชาติ” เดินทางเข้าประเทศไทยในช่วง 3 เดือนแรก ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 31 มี.ค. 2567 พบว่ามีจำนวนสะสม 9,370,297 คน เพิ่มขึ้น 44% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สร้างรายได้จากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติแล้วประมาณ 454,653 ล้านบาท

 

จำนวนนักท่องเที่ยวสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่

1. จีน 1,756,337 คน

2. มาเลเซีย 1,168,574 คน

3. รัสเซีย 622,813 คน

4. เกาหลีใต้ 558,873 คน

5. อินเดีย 472,952 คน

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (25-31 มี.ค.) มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 644,328 คน ลดลง 1.07% จากสัปดาห์ก่อนหน้า 6,990 คน หรือคิดเป็นจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าไทยเฉลี่ยวันละ 92,047 คน

 

ขณะที่ 5 อันดับแรกของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ได้แก่ จีน 127,713 คน ลดลง 5.80% มาเลเซีย 62,419 คน เพิ่มขึ้น 5.03% รัสเซีย 40,276 คน ลดลง 8.10% อินเดีย 33,597 คน ลดลง 15.13% และสหราชอาณาจักร 33,089 คน เพิ่มขึ้น 44.08%

 

“นักท่องเที่ยวยุโรปและโอเชียเนียบางประเทศ โดยเฉพาะชาวสหราชอาณาจักรเดินทางเข้ามาเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จากวันหยุดในช่วงเทศกาลอีสเตอร์ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวชาวสหราชอาณาจักรขยับขึ้นมาเป็นกลุ่มที่เดินทางเข้ามาเป็นอันดับ 5”

 

สัปดาห์ถัดไป (1-7 เม.ย.) คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาทรงตัว แต่ยังคงมีปัจจัยส่งเสริมการเดินทาง ได้แก่ การลงนามยกเว้นวีซ่าระหว่างไทย-จีน ที่มีผลช่วยสร้างความเชื่อมั่นแก่นักท่องเที่ยว เพิ่มการอำนวยความสะดวกในการเดินทาง และกระตุ้นให้สายการบิน เพิ่มจำนวนเที่ยวบิน รวมทั้งการยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางหรือวีซ่าฟรี ให้แก่นักท่องเที่ยวอินเดีย ไต้หวัน และคาซัคสถาน

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
NEWS TOP STORIES

‘เศรษฐา’ สั่ง รมว.ท่องเที่ยวฯ โปรโมท สงกรานต์ 21 วัน สาดน้ำได้วันไหน

 

เมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2567 เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ให้สัมภาษณ์ถึงการจัดงาน “Maha Songkran World Water Festival 2024 เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ 2567” ซึ่งจะมีการจัดสงกรานต์ยาว 21 วัน แต่ดูเหมือนการโปรโมทยังเงียบ ทำให้นักท่องเที่ยวชาวจีนที่ตั้งใจจะมาเล่นสงกรานต์ แต่กลับไม่เจอสงกรานต์ ว่า การเล่นสงกรานต์ที่ประกาศ 21 วัน ซึ่งชาวจีนอยากมาและคิดว่าจะมีการสาดน้ำ แต่ความจริงยังไม่เริ่มสาดน้ำ ก็เป็นเรื่องของความคลาดเคลื่อน จึงขอให้รอก่อน

เมื่อถามว่า การสาดน้ำจะมีเฉพาะช่วงวันที่ 13-15 เม.ย.หรือไม่ เศรษฐา กล่าวว่า ตนไม่ทราบเพราะแล้วแต่พื้นที่ ซึ่งแต่ละจังหวัดก็มีประเพณีแตกต่างกันไป บางพื้นที่มีการจัดหลังวันที่ 13-16 เม.ย.ก็มี เช่นที่พระประแดง และพัทยา

เมื่อถามว่า ต้องประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับนักท่องเที่ยวและประชาชนหรือไม่ เพราะบางคนเข้าใจว่า 21 วัน เป็นการเล่นต่อเนื่อง เศรษฐา กล่าวว่า ใช้คำว่าเป็นการเฉลิมฉลองต่อเนื่องดีกว่า และเดี๋ยวตนจะบอกให้ สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา ไปดูตรงนี้ให้

 
สืบเนื่องจากกรณีที่มีนักท่องเที่ยวชาวจีนทำคอนเทนต์ผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย แต่งชุดเล่นน้ำสงกรานต์แบบจัดเต็ม เตรียมตัวมาเล่นน้ำในย่านอโศกซึ่งคลิปดังกล่าวกลายเป็นไวรัลทั้งในประเทศไทยและจีน โดยชาวไทยบางส่วนได้เข้าไปชี้แจงว่าที่ทางรัฐบาลและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ประกาศจัดใหญ่ 21 วันนั้น คือ งานประเพณีวัฒนธรรมในจังหวัดเชียงใหม่ ได้เริ่มจัดงานตั้งแต่ช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ส่วนการสาดน้ำนั้น ในแต่ละพื้นที่มีกำหนดการไม่เหมือนกัน แต่ในกรุงเทพมหานครนั้น จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 – 15 เม.ย. 2567
 
 
ทั้งนี้ น.ส. สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2567 ว่าการที่กระทรวงการท่องเที่ยวฯ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ให้ข่าวไปว่ามีการจัดงานกิจกรรมตลอดทั้งเดือนนั้น อาจจะทำให้เกิดการเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่ามีการสาดน้ำกันทั้งเดือน
จนเมื่อตนเองทราบข่าวนักท่องเที่ยวจีนคนนี้ ก็ตกใจเช่นกัน และกล่าวว่าจะเร่งแก้ไขประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจให้ถูกต้องกว่าเดิมกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ตั้งใจจะมาเล่นสาดน้ำให้มากขึ้น
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News