Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

ผู้ว่าฯ เชียงราย ระดมทุกภาคส่วน Big Cleaning จบใน 29 กันยายนนี้

 

เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2567 เวลา 16.00 น. ที่ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยและดินถล่มจังหวัดเชียงราย นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานการประชุมติดตามผลการดำเนินงานฟื้นฟูและการให้ความช่วยเหลือประชาชน ตามแผนที่วางไว้เพื่อนำปัญหา อุปสรรค มาปรับแผนใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานในวันต่อไปได้อย่างมีประสิทธิสูงสุด โดยมี นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ ว่าที่ร้อยตรี ศราวุธ จันทวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัดเชียงราย ท้องถิ่นจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานหลัก ทั้ง มทบ.37 กอ.รมน. ตร.ภูธรจังหวัด นายอำเภอเมือง ปลัด อบจ. ปลัดเทศบาลนครเชียงราย ผอ.ศูนย์ ปภ เขต 15 ผู้แทน สสจ.เชียงราย โยธาธิการจังหวัด โครงการชลประทาน ทสจ. ผจก.ไฟฟ้า ผจก.ประปา แขวง ทล 1 แขวง ทช ประชาสัมพันธ์จังหวัด และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เข้าร่วมประชุม

โดยที่ประชุม ได้นำประเด็นปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานฟื้นฟูฯ Big Cleaning มาหารือเพื่อหาแนวทางแก้ไข พร้อมทั้งวางแนวทางการทำงานร่วมกันให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งการดำเนินงานในวันต่อไปยังคงเน้นการแบ่งพื้นที่เป็น 4 โซนการทำงาน กำหนดพื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองเชียงราย แบ่งออกเป็น 2 พื้นที่ ในและนอกเขตเทศบาลนครเชียงราย จำนวนทั้งสิ้น 8 โซน กำหนด D-Day ทำความสะอาดเขตพื้นที่เทศบาลนครเชียงราย ในวันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน 2567 กำหนดพื้นที่ดำเนินการ อ.แม่สาย แบ่งเป็น 4 โซน อ.เมืองเชียงราย แบ่งออกเป็น 4 โซน ทั้งในและนอกเขตเทศบาลนครเชียงราย ได้แก่ ชุมชนป่าแดง ชุมชนวังดิน ชุมชนแควหวาย และชุมชนฝั่งหมิ่น ทำความสะอาดพื้นที่สาธารณะ สำหรับการล้างทำความสะอาดบ้านเรือนประชาชนมุ่งเน้นช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเอง ทำความสะอาดบ้านเรือนด้วยตนเองไม่ได้ เป็นลำดับแรก เช่น ผู้สูงอายุ บุคคลทุพพลภาพ ผู้พิการ ที่อยู่เพียงลำพัง ผู้มีภาวะร่างกายอ่อนแอ มีปัญหาทางด้านสุขภาพ และผู้ยากไร้ เป็นต้น ส่วนนอกเขตเทศบาลนครเชียงราย 4 โซน ได้แก่ ต.ดอยฮาง ต.แม่ยาว ต.ริมกก และ ต.บ้านดู่
 
สำหรับการลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนทำความสะอาดมาแล้วก่อนหน้านี้ พบว่าในบางโซนได้ดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ และในบางโซนยังเกิดปัญหาความล่าช้าเนื่องจากการขาดแคลนเครื่องจักร และการจัดเก็บสิ่งของ หรือขยะของประชาชน มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ซึ่งบางส่วนประชาชนยังนำออกจากตัวบริเวณบ้านมาไม่หมด และสิ่งสำคัญคือปัญหาดินโคลนซึ่งพบว่ามีดินโคลนที่อุดอยู่ในท่อ ทำให้ท่ออุดตัน ซึ่งจะก่อให้เกิดการระบายของนำและสิ่งปฏิกูลลงสู่ท่อระบายขนาดใหญ่ได้ล่าช้า เนื่องจากบางจุดยังมีดินโคลนเข้าไปอุดตัน จำเป็นต้องมีการเร่งระบายทุกช่องทาง ส่วนนอกเขตเทศบาลนครเชียงราย 4 โซน ได้แก่ ต.ดอยฮาง ต.แม่ยาว ต.ริมกก และ ต.บ้านดู่
 
ผู้ว่าฯ เชียงราย ยังได้ให้แนวทางเรื่องการฟื้นฟู และการช่วยเหลือประชาชนว่า ให้ดำเนินการต่อไปจนกว่าจะจบภารกิจ และให้ทางเทศบาลนครเชียงรายดำเนินการต่อตามภารกิจ พร้อมทั้งการดูแลสุขภาพประชาชน โดยสั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย จัดทีมแพทย์เคลื่อนที่เชิงรุกเข้าหาชุมชน ให้เข้าถึงชาวบ้านที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นการด่วน อีกทั้งได้แนะแนวทางการขยายจุด Fix It Center ของอาชีวศึกษา ในการเปิดจุดบริการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ ให้แก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ต่างๆ ให้ทั่วถึง เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในเบื้องต้นด้วย
 
ด้าน กรมควบคุมมลพิษ ได้ร่วมกับสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 (เชียงใหม่) สำนักงาน ทสจ.เชียงราย เร่งสำรวจหาพื้นที่ขุดหลุมบ่อขยะใหม่เพื่อรองรับขยะหลังน้ำลดทั้งของ อ.เมืองเชียงราย และ อ.แม่สาย ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและสะดวกต่อการขนย้าย โดยให้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านการบริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ทั้งไฟฟ้าและประปา ให้ประชาชนรับทราบถึงสถานการณ์ มาตรการและช่องทางการให้ความช่วยเหลือ และแนวทางปฏิบัติ เพื่อให้การดำเนินการทำความสะอาดพื้นที่สาธารณะและการกำจัดขยะที่ประชาชนนำมากองไว้ริมถนนในเขตเทศบาลนครเชียงราย ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีการมอบหมายให้ตำรวจจราจรจัดทำแผนจราจรและเพิ่มกำลังพลในการจัดระเบียบจราจรขณะปฏิบัติการทำความสะอาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุดปฏิบัติการที่ดำเนินการในเวลากลางคืน ให้ดูแลความปลอดภัยทรัพย์สินของพี่น้องประชาชน และอำนวยความสะดวกให้เป็นพิเศษ อีกด้วย
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI NEWS UPDATE

น้ำท่วมเชียงราย กระทบพื้นที่เกษตรไปแล้ว 14,138 ไร่ และ โรงเรียนอีก 31 แห่ง

 

เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2567 จากข้อมูลสะสมระหว่างวันที่ 9 -21 ก.ย. 2567 ทั้งสิ้น 10 อำเภอ 41 ตำบล 358 หมู่บ้าน 1 เทศบาลนคร (52 ชุมชน) โดยตลาดชุมชนเศรษฐกิจ ได้รับผลกระทบ 2 แห่ง ร้านค้า/สถานประกอบการ 92 แห่งราษฎรได้รับผลกระทบเบื้องต้น53,236 ครัวเรือน เสียชีวิต 12 ราย บาดเจ็บ 2 รายพื้นที่เกษตรได้รับผลกระทบ 14,138 ไร่ ปศุสัตว์ได้รับผลกระทบ 48,180 ตัว (ได้แก่ โค 894 ตัว กระบือ 141 ตัว สุกร 5 ตัว แพะ/แกะ 25 ตัว สัตว์ปีก 47,115 ตัว) สัตว์เลี้ยง 299 ตัว (ได้แก่ สุนัข 145 ตัว และแมว 154 ตัว)ด้านสิ่งสาธารณประโยชน์ได้รับผลกระทบ ได้แก่ โรงเรียน จำนวน 31 แห่ง ถนน 7 จุด และคอสะพาน 4 จุด

 

ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ผู้อำนวยการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าไปช่วยเหลือ ซึ่งได้เตรียมการมาเป็นอย่างดีทั้งเครื่องมือ อุปกรณ์เครื่องจักรกล ยุทโธปกรณ์ พร้อมกำลังพลในการเข้าไปช่วยเหลือ อย่างเร่งด่วน แต่เนื่องจากเกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง หลายวัน ทำให้วันนี้ (21 กันยายน 2567) ได้เกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะที่ ได้แก่ อ.เมืองเชียงราย, อ.เชียงแสน, อ.เชียงของ, อ.แม่จัน, อ.แม่ฟ้าหลวง, อ.แม่สาย, อ.ดอยหลวง, อ.เทิง อ.เวียงแก่นและ อ.เวียงป่าเป้า เกิดน้ำท่วมหนักในรอบหลายปี อย่างไรก็ตาม นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจ และเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน หากประชาชนต้องการขอความช่วยเหลือ หรือแจ้งเหตุ แจ้งได้ตลอด 24 ช่วยโมง ที่สายด่วน 1784
 
 
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย รายงานสถานที่เกิดเหตุ/ความเสียหาย/การให้ความช่วยเหลือ (เหตุต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 8 ก.ย. 67 และสถานการณ์ในวันนี้ (21 ก.ย. 67) ดังนี้
 
อ.เมืองเชียงราย(ข้อมูลสะสม 8 ตำบล 59 หมู่บ้าน 52 ชุมชน)ปัจจุบัน ภาพรวมสถานการณ์คลี่คลาย ดำเนินการฉีดล้างทำความพื้นที่ที่น้ำลดลงแล้ว ยังคงมีสถานการณ์
 
เขตเทศบาลนครเชียงราย พื้นที่ได้รับผลกระทบสะสม 52 ชุมชน เสียชีวิต 1 ราย ปัจจุบัน (วันที่ 21 ก.ย. 67) สถานการณ์คลี่คลาย บางชุมชนมีน้ำผุดท่อเนื่องจากท่อระบายน้ำอุดตัน(ได้แก่ พื้นที่ชุมชนป่าแดง และชุมชนฝั่งหมิ่น) และยังมีน้ำท่วมขังส่งกลิ่นเน่าเหม็นในพื้นที่ชุมชนเกาะลอย และชุมชนบ้านใหม่)/ เทศบาลนครเชียงรายดำเนินการ Big Cleaning Day จุดที่น้ำลดลงแล้วตั้งแต่วันที่ 14 ก.ย. 67 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
 
โรงเรียนในเขตเทศบาลนครเชียงรายประกาศหยุดเรียนจนกว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ เบื้องต้น 11 โรงเรียน 1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล 1- 8/ ร.ร.สามัคคีวิทยาคม/ ร.ร.อนุบาลเชียงราย (สันต้นเปา)/ ร.ร.อบจ.เชียงราย และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านใหม่ ความคืบหน้าสถานศึกษาที่เปิดเรียน ดังนี้
 
วันที่ 17 ก.ย. 67 สถานศึกษาที่เปิดเรียน จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ร.ร.สามัคคีวิทยาคม และร.ร.อนุบาลเชียงราย (สันต้นเปา) วันที่ 18 ก.ย. 67 สถานศึกษาที่เปิดเรียน จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ร.ร.เทศบาล 3 ศรีทรายมูล,ร.ร.เทศบาล 6 นครเชียงราย และร.ร.เทศบาล 4 สันป่าก่อ วันที่ 19 ก.ย. 67 สถานศึกษาที่เปิดเรียน จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ร.ร. เทศบาล 1 ศรีเกิด และ ร.ร.เทศบาล 5 เด่นห้า วันที่ 20 ก.ย. 67 สถานศึกษาที่เปิดเรียน จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านใหม่, ร.ร.เทศบาล 2 หนองบัว,และ ร.ร.เทศบาล 8 บ้านใหม่ วันที่ 23 ก.ย. 67 สถานศึกษาที่เปิดเรียน จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ ร.ร.เทศบาล 7 ฝั่งหมิ่น
 
การประปาส่วนภูมิภาคสาขาเชียงราย หยุดระบบการผลิตและระบบจ่ายน้ำ (ตั้งแต่วันที่ 11 ก.ย. 67 เวลา 15.59 น.) อำเภอเมืองเชียงรายและอำเภอเวียงชัย ได้รับผล
วันที่ 20 ก.ย. 67 กปภ.สาขาเชียงราย มีประกาศไม่สามารถจ่ายน้ำได้ตามปกติ ในวันที่ 24 ก.ย. 67 เวลา 13.00 – 16.00 น. เนื่องจากซ่อมแซมตู้มอเตอร์เครื่องสูบน้ำแรงสูง
 
กปภ.สาขาเชียงราย จัดรถบริการน้ำแจกจ่ายควบคู่กับการกระจายน้ำ จำนวน 5 จุดบริการ ดังนี้
(1) รถน้ำสาขาพะเยา ให้บริการ รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ อ.เมืองเชียงราย 
(2) รถน้ำสาขาเชียงรายให้บริการ ชุมชนกกโท้ง (ทน.เชียงราย) อ.เมืองเชียงราย 
(3) รถน้ำสาขาลำปาง ให้บริการ รพ.โรงพยาบาลสมเด็จพระญาณสังวร อ.เวียงชัย
(4) รถน้ำเขต 10 คันที่ 1 ให้บริการจุดจ่ายน้ำ โครงการ A-star ต.ท่าสุด อ.เมืองเชียงราย 
(5) รถน้ำเขต 10 คันที่ 2 ให้บริการจุดจ่ายน้ำตลาดผลไสว ต.ท่าสาย อ.เมืองเชียงราย
 
วันที่ 21 ก.ย. 67 กปภ. ได้กำหนดมาตรการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ดังนี้ สนับสนุนน้ำดื่มบรรจุขวดและน้ำประปา เพื่ออุปโภคบริโภคให้เพียงพอ ช่วยเหลือน้ำประปาฟรี เพื่อทำความสะอาดบ้านเรือนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ยกเว้นการเก็บค่าน้ำประปาและค่าบริการทั่วไป ในเดือนที่ประสบอุทกภัย ซึ่งหน่วยงานราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติอุทกภัย ให้แก่ผู้ใช้น้ำประเภทที่ 1 ที่อยู่อาศัยและอื่น ๆ (รหัส 11 12 13 และ 16) เช่น บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ สถานที่พักอาศัยของรัฐ สถานที่พักอาศัยที่มีการค้าขายเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ดำเนินการเอง หอพัก แฟลต คอนโดมิเนียม อพาร์ทเมนท์ อาคารชุด ห้องแถว เป็นต้น และผู้ใช้น้ำประเภทที่ 2 ธุรกิจขนาดเล็ก (รหัส 29) เช่น สถานที่ที่อาจมีการอยู่อาศัยและมีการค้าขาย ประกอบการหรือรับจ้าง ที่มีขนาดใหญ่กว่าผู้ใช้น้ำประเภทที่อยู่อาศัย อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว (โฮมสเตย์) เป็นต้น
 
ต.รอบเวียง หมู่ที่ 1 – 5 ลำน้ำกก ลำน้ำกรณ์ และลำน้ำลาว ระดับน้ำได้ล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน และในพื้นที่ของหาดเชียงราย/ สถานการณ์คลี่คลาย ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง
 
ต.ดอยฮาง หมู่ที่ 2,3,4,5,6 ลำน้ำกกล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนและพื้นที่เกษตร บางหมู่บ้าน ถูกตัดขาด ใช้การลำเลียงน้ำและอาหารโดยรถยกสูง และอากาศยาน (หมู่ที่ 6 บ้านเรือนราษฎรถูกน้ำป่าไหลหลาก
 
พัดหายไป จำนวน 9 หลัง)/ สำนักงานเทศบาลตำบลดอยฮาง ได้รับความเสียหาย ตั้งสำนักงานชั่วคราว ณ ศาลาเอนกประสงค์หน้าวัดดอยฮางใหม่หมู่ที่ 3 ตำบลดอยฮาง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย วันที่ 19 ก.ย. 67 เปิดใช้เส้นทางได้บางส่วน
 
ต.ริมกก หมู่ที่ 1-7วันที่ 11 ก.ย. 67 น้ำกกล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนของราษฎร/ บ้านเมืองงิม ม.4
พนังกั้นน้ำถูกกัดเซาะ อบต.ริมกก ดำเนินการจัดทำแนวตลิ่งเพื่อกันน้ำไม่ให้ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนของราษฎร พร้อมทั้งอพยพคนออกจากพื้นที่ที่น้ำท่วมสูง วันที่ 14 ก.ย. 67 สถานการณ์คลี่คลาย ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง ถนนสามารถสัญจรผ่านได้
 
ต.บ้านดู่ ม. 1,10,12,15,16,17,20 น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติ
ต.แม่ข้าวต้ม ม. 3,4 น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร สถานการณ์คลี่คลายบางส่วน
ต.นางแล ม. 1,4,5,6,11,16 น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร สถานการณ์คลี่คลาย
 
อ.เชียงแสน จำนวน 6 ตำบล 38 หมู่บ้าน โรงเรียน 1 แห่ง พื้นที่เกษตร 14,138 ไร่ ถนน 2 สาย สะพาน 1 จุด คอสะพาน 1 จุด น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร พื้นที่เกษตร และเกิดดินสไลด์ ในพื้นที่ ดังนี้ ต.เวียง ม.1, 2, 3 ,4 ,5 ,6 ,7 ,8น้ำล้นตลิ่งและเกิดดินสไลด์บ้านสบรวก ร้านค้า จำนวน 16 ร้าน ต.โยนก ม.1 ,2 ,4 ,6 ,7 ต.บ้านแซว ม.7 ,8 ,10 ,14 ต.ป่าสัก ม.1 ,2, 3, 5, 6 ,7 ,11 ,12, 13 ต.ศรีดอนมูล ม.1, 2 ,3 ,5 ,9 ,10 ,12, 13 ต.แม่เงิน ม.1, 5, 10 ปิดเส้นทางสัญจร ปิดเส้นทางสะพานโยนกนาคนคร ม.1 และ ม.4 ต.โยนก เส้นบายพาส ปัจจถบะน สามารถสัญจรผ่านได้ ปิดเส้นทางหมายเลข 1290 ตอนแม่สาย – กิ่วกาญจน์ ระหว่าง กม.20+000 – กม.20+500 บ้านเวียงแก้วม.5 ต.ศรีดอนมูล – บ้านวังลาว ม.4 ต.เวียง เนื่องจากแม่น้ำรวกล้นตลิ่งท่วมถนน รถทุกชนิดไม่สามารถผ่านได้ อยู่ระหว่างดำเนินการซ่อมแซม
 
อ.เชียงของ (ข้อมูลสะสมจำนวน 4 ตำบล 34 หมู่บ้าน)/ ปัจจุบันสถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ต.เวียง หมู่ที่ 1 -14 แม่น้ำโขงล้นตลิ่งหลากเข้าท่วมพื้นที่บริเวณท่าเรือบั๊ค บริเวณสวนสาธารณะปลาบึก 7 สี และบ้านเรือนราษฎรติดริมฝั่งโขง / ทต.เวียง อพยพประชาชนและขนย้ายทรัพย์สินขึ้นที่สูง เรียบร้อยแล้ว ต.ริมโขง หมู่ที่ 1,2,3,4,5,7, 8 ต.สถาน หมู่ที่ 2,4,5,6,8,13,15 และต.ศรีดอนไชย หมู่ที่ 4,7,8,12,14,16
 
อ.แม่จัน (ข้อมูลสะสมจำนวน 11 ตำบล 125 หมู่บ้านโรงเรียนได้รับผลกระทบ 3 โรงเรียน/ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลาย ยังคงค้างในพื้นที่ลุ่มต่ำของตำบลแม่คำ ต.ป่าตึงหมู่ที่ 1-20 ต.แม่คำ หมู่ที่ 1,4,7-14 ต.ท่าข้าวเปลือก หมู่ที่ 1-14 ต.ศรีค้ำ หมู่ที่ 1-5,7,10 ต.ป่าซาง หมู่ที่ 4,7,11,15 ต.จันจว้า หมู่ที่ 1-11 ต.จันจว้าใต้ หมู่ที่ 1-12 ต.จอมสวรรค์ หมู่ที่ 1,2,4,6,8-10 ต.แม่จัน หมู่ที่ 1-3, 6,8-14 ต.แม่ไร่ หมู่ที่ 1-9 และ ต.สันทราย หมู่ที่ 1-9
 
อ.แม่ฟ้าหลวง ข้อมูลสะสมจำนวน 4 ตำบล 58 หมู่บ้าน (เสียชีวิตจากสะสม 5 ราย) ถนนเสียหาย 4 จุด คอสะพาน 3 จุด โรงเรียนได้รับผลกระทบ 8 โรงเรียน (ดินสไลด์ปิดเส้นทางเข้า-ออก)/บ้านจะตี ต.เทอดไทย ดินปิดสไลด์เส้นทาง ใช้อากาศยานในการขนส่ง/ วันที่ 16 ก.ย. 67 ผช. ผรส. บ้านปูนะ ต.เทอดไทย ร่วมกับชาวบ้านตัดต้นไม้และเคลียร์พื้นที่ดินสไลด์ ใช้แบคโฮเปิดเส้นทาง สามารถใช้รถยนต์และจักรยานยนต์ผ่านได้ ยังต้องใช้ความระมัดระวังบางจุด เนื่องจากยังมีดินสไลด์ลงมาเป็นระยะ ยังดำเนินการกู้ระบบไฟฟ้า ใช้ได้เพียงบางจุด/ วันที่ 17 ก.ย. 67 กองพันสัตว์ต่าง กรมการสัตว์ทหารบก ตั้ง บก.ช่วยเหลือ ตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย. 2567
 
ณ อบต.แม่ฟ้าหลวง กำลังพล ทหาร 15 นาย อุปกรณ์ ล่อ 3 ตัว ช่วยขนย้ายสิ่งของจำเป็นให้กับผู้ประสบภัย/ วันที่ 21 ก.ย. 67 ขยายเขตจ่ายกระแสไฟฟ้า 95% ของพื้นที่ประสบภัย ต.แม่ฟ้าหลวง หมู่ที่ 1-19 ต.แม่สลองนอก หมู่ที่ 1,2,6,7,9,10,11 ต.แม่สลองใน หมู่ที่ 1,3,4,5,6,7,9,10,11,12,14,15,18,20,21,22 และ ต.เทอดไทย หมู่ที่ 1-10, 13-17,19
 
อ.แม่สาย น้ำท่วมพื้นที่ตลาดสายลมจอย และพื้นที่เศรษฐกิจ ข้อมูลสะสมจำนวน 8 ตำบล 74 หมู่บ้าน (ชุมชนได้รับผลกระทบรุนแรง ได้แก่ ชุมชนแม่สาย ชุมชนเหมืองแดง ชุมชนเกาะทราย ชุมชนไม้ลุงขน)โรงเรียนได้รับผลกระทบ 8 โรงเรียน ปศุสัตว์ได้รับผลกระทบ ได้แก่ สุกร 4 ตัว สัตว์ปีก 27,615 ตัว ต.แม่สาย หมู่ที่ ม.1-13ต.เวียงพางคำ หมู่ที่ 1-10 ต.เกาะช้างหมู่ที่ 1-13 ต.ศรีเมืองชุม หมู่ที่ 1-9 ต.บ้านด้าย หมู่ที่ 1-8 ต.โป่งผาหมู่ที่ 1,2,3,4,5,9,10,11 ต.โป่งงาม หมู่ที่ 1,2,3,6,8,9,11,12 และ ต.ห้วยไคร้ หมู่ที่ 2,3,4,8,9
 
วันที่ 21 ก.ย. 67 กปภ. สาขาแม่สาย ขยายขอบเขตการจ่ายน้ำประปา ประชาชนได้รับบริการ จำนวน 11,698 ราย ยังไม่ได้รับบริการ จำนวน 723 ราย ติดตั้งจุดให้บริการประปาสนาม จำนวน 5 จุดภารกิจปิดจุดรอยรั่ววางแนวพนังกั้นน้ำโดยใช้บิ๊กแบ็ค จำนวน 5 จุด โดย ฉก.ทัพเจ้าตาก สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 (ลำปาง) และมูลนิธิเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทยดำเนินการแล้วเสร็จจำนวน 5 จุด งานกู้คืนบ้านกลุ่มเปราะบาง (โซน A สีแดง)จำนวน 47 หลัง เข้าดำเนินการ 7 หลัง คงเหลือ 40 หลัง แผนงานกู้คืนบ้านพักอาศัยที่เจ้าของสามารถดำเนินการได้(เทกองหน้าบ้านมีบริการจัดเก็บให้) จำนวน 6,980 หลัง / อำเภอป่าแดด ฝ่ายปกครอง/อปท. ประชาชนจิตอาสา ร่วมทำความสะอาดถนนสาธารณะ กำจัดาดินโคลนออกจากบ้านเรือนของประชาชนกลุ่มเปราะบาง ผู้สูงอายุที่ประสบอุทกภัยน้ำท่วม ณ บ้านเหมืองแดง ตำบลแม่สายอำเภอแม่สาย/ ศบภ.ทภ.3 จัดกำลัง 245 นายสนับสนุน ศภบ.ทบ. ส่วนหน้า ปฏิบัติการฟื้นฟูพื้นที่และทำความสะอาดพื้นที่แม่สาย (ร.17/ ร.17 พัน.2/ร.17 พัน.3/ ร.17 พัน4/ ป.4 พัน.17)
 
อ.ดอยหลวง จำนวน 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ต.หนองป่าก่อ หมู่ที่ 8 น้ำกัดเซาะถนนชำรุด ไม่สามารถสัญจรได้ อยู่ระหว่างซ่อมแซม/ 16 ก.ย.67 บ้านที่อยู่ติดถนนถูกน้ำพัดพาได้รับความเสียหาย
 
อ.เทิง จำนวน 3 ตำบล 4 หมู่บ้าน ต.งิ้ว ม.7,18 น้ำล้นออกจากอ่างเก็บน้ำขอนซุง เข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร ต.ปล้อง ม.2 น้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร และต.ตับเต่า ม.8 เสาค้ำสะพานสะพานเบลีย์ชำรุด/ เวลาประมาณ 14.00 น. หมวดทางหลวงเทิงแขวงทางหลวงเชียงรายที่2 และศูนย์สร้างและบูรณะสะพานที่ 1 (พิจิตร) เข้ามาดำเนินการซ่อมแซม หากไม่มีมีฝนตกคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2 วัน (วันที่ 16 ก.ย. 67)/ วันที่ 21 ก.ย. 67 สามารถสัญจรผ่านได้
 
อ.เวียงแก่น จำนวน 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ต.ปอ ม.2 น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย
 
อ.เวียงป่าเป้า จำนวน 1 ตำบล 2 หมู่บ้าน วันที่ 19 ก.ย. 67 เกิดสถานการณ์วาตภัยในพื้นที่ บ้านขุนลาว หมู่ที่ 7 ต.แม่เจดีย์ใหม่ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย ต้นไม้หักทับบ้านเรือนประชาชน ได้รับความเสียหายบางส่วน จำนวน 2 หลัง วันที่ 21 ก.ย. 67เกิดเหตุอุทกภัยบ้านโป่งป่าตอง หมู่ที่ 14 ต.แม่เจดีย์ใหม่ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย
น้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร ได้รับผลกระทบ
 
การให้ความช่วยเหลือ
– จังหวัดเชียงราย ได้จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ปี พ.ศ. 2567 เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ในการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย และจัดหาปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีพ ผ่านทางธนาคาร กรุงไทย สาขาเชียงราย เลขที่บัญชี 504-3-23-732-5 ชื่อบัญชี กองทุนช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ปี พ.ศ. 2567 โดยสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 1 เท่ายอดเงินบริจาค ณ วันที่ 20 ก.ย. 67 เวลา 16.30 น. จำนวน 7,368,788.57 บาท
 
– กองทัพเรือสนับสนุนเรือและยุทโธปกรณ์ เครื่องมือเร่งดำเนินการติดตั้งเคลื่อนย้ายเรือผลักดันน้ำ JET จำนวน 10 ลำ ยกจากเครนวางตามแนวลำน้ำอิง ประสิทธิภาพการไหลได้ วันละ 1 ล้านลูกบาศก์เมตร เริ่มดันน้ำได้วันที่11 ก.ย.67 เวลา15.00 น. ณ สะพานข้ามแม่น้ำอิง อ.เทิง จ.เชียงราย
 
– มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย
วันที่ 19 ก.ย. 67 ดำเนินโครงการ “ฟื้นฟูชุมชน บรรเทาทุกข์ บำรุงสุขให้ยั่งยืน ” โดยมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ณ ที่ว่าการอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยมีบริการสุขภาพกาย สุขภาพจิต จ่ายยาพื้นฐานเบื้องต้น, ให้คำปรึกษาเอกสิทธิ์ของกลุ่มเปราะบาง, Fix it จิตอาสา ซ่อมแซมรถจักรยานยนต์ เครื่องจักรกลการเกษตร เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, แจกจ่ายอุปกรณ์ทำความสะอาด และประกอบอาหาร โรงครัวพระราชทาน
 
วันที่ 20 ก.ย. 67 รถประกอบอาหารเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) จัดตั้งโรงครัวพระราชทาน ณ ที่ว่าการอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายพร้อมด้วยหน่วยงานราชการ และจิตอาสาพระราชทาน ร่วมกันประกอบอาหาร ต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 จำนวน 2 มื้อ จำนวน 1,800 กล่อง เพื่อแจกจ่ายให้กับผู้ประสบอุทกภัยอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
 
วันที่ 21 ก.ย. 67 รถประกอบอาหารเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) จัดตั้งโรงครัวพระราชทาน ณ ที่ว่าการอำเภอแม่สาย มีกำหนดดำเนินการต่อเนื่องถึงวันเสาร์ที่ 28 ก.ย. 67
 
– กองทัพเรือ/หน่วยซีล สนับสนุน เรือ 9 ลำ รถบรรทุก 4 คัน ถุงยังชีพ 1,000 ชุด (ของ 918 150 ชุด) กำลังพล 50 นาย
– ฮ.ปภ.32/ฮ.กรมฝนหลวงและการบินเกษตร/ฮ.ทอ./ ฮ.ตชด. 327/ ฮ.ทส. เตรียมความพร้อมรอคำสั่ง/ไม่มีภารกิจบิน
– ศูนย์ ปภ.เขต 15 เชียงราย /เขต 1 ปทุมธานี/ เขต 2 สุพรรณบุรี /เขต 3 ปราจีนบุรี/ เขต 4 ประจวบคีรีขันธ์/ เขต 8 กำแพงเพชร /เขต 9 พิษณุโลก /เขต 11 สุราษฎร์ธานี และเขต 16 ชัยนาท สนับสนุนเครื่องจักรกลสาธารณภัยด้านปฏิบัติการ (อุทกภัย) และกำลังพล
 
วันที่ 21 ก.ย. 67สนับสนุนรถปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย รถล้อยางยกสูง รถขุดตักไฮดรอลิก รถแบคโฮ และรถบรรทุกเทท้าย ปฏิบัติภารกิจตักดินโคลนและปรับเกลี่ยถนน แจกจ่ายอุปกรณ์ทำความสะอาดและน้ำดื่มบรรจุขวดพื้นที่อำเภอแม่สาย /รถปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย ลำเลียงอาหารแห้ง น้ำดื่ม เสื้อผ้า และอื่นๆ ที่จำเป็น ส่งให้ผู้ประสบภัย ณ ศาลาอเนกประสงค์บ้านน้ำลัดและโบสถ์คริสต์บ้านใหม่น้ำลัด ต.ริมกก ต.เมืองชร. และเทศบาลตำบลแม่ยาว ต.แม่ยาว อ.เมือง จ.เชียงรายบรรทุกสิ่งของที่มีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย จากที่ทำการไปรษณีย์บ้านดู่ มาเก็บไว้ที่ศูนย์รับบริจาค ศูนย์ ปภ. เขต 15 เชียงราย เพื่อนำจ่ายให้ผู้ประสบภัยในพื้นที่ต่างๆ ต่อไป/ สนับสนุนรถบรรทุกน้ำช่วยดับเพลิง 10,000 ลิตรรถบรรทุกน้ำอเนกประสงค์ขนาด 12,000 ลิตร พร้อมด้วยชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤติ ERT สูบน้ำจากหนองปึ๋ง แจกจ่ายให้หน่วยงานและบ้านเรือนราษฎรในพื้นที่ต.รอบเวียง อ.เมืองเชียงรายและโรงพยาบาลสมเด็จพระญาณสังวร อ.เวียงชัย/ รถปฏิบัติการบรรเทาอุทกภัย สูบน้ำท่วมขังพื้นที่ของ มณฑลทหารบกที่ 37 อ.เมืองชร. จ.เชียงราย
– ศูนย์พักพิงที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวอยู่ ณ วันที่ 21 ก.ย. 67 รวมทั้งสิ้น 10 แห่ง
แบ่งตามขอบเขตการปกครอง ได้แก่ อ.เมืองเชียงราย 4 แห่ง/ อ.แม่สาย 6 แห่ง
 
ศูนย์พักพิงฯ ที่มีทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ เยียวยาจิตใจ แจกจ่ายยาและเวชภัณฑ์ จำนวน 4 แห่ง
ศูนย์พักพิงฯ ในความดูแลของกระทรวง พม. จำนวน 1 แห่ง (ได้แก่ ศูนย์พักพิงบ้านเอื้ออาทรแม่สาย 1 คงค้างพักพิงอยู่ จำนวน 17 คน)
 
รายละเอียดดังนี้
อำเภอเมืองเชียงรายที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวจำนวน 4 แห่ง
ในเขตเทศบาลนครเชียงราย ทน.เชียงราย จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวอยู่ ณ ปัจจุบัน จำนวน2 แห่ง ได้แก่
 
จุดโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ มีทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ เยียวยาจิตใจ แจกจ่ายยาและเวชภัณฑ์
จุดโรงเรียน อบจ. เชียงราย*มีทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ เยียวยาจิตใจ แจกจ่ายยาและเวชภัณฑ์
ตำบลแม่ยาว ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่ยาว กำกับดูแลโดย ทต.แม่ยาว/ วันที่ 20 ส.ค. 67 ย้ายศูนย์พักพิงไปที่สำนักงานเทศบาลตำบลแม่ยาว
 
ตำบลดอยฮาง วันที่ 16 ก.ย. 67 เวลา 17.00 น. จัดตั้งศูนย์พักพิง ณ บ้านโป่งนาคำ มีผู้พักพิงประมาณ 50 คน มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้นำเต็นท์นอนพระราชทาน ขนาด 2 คน จำนวน 50 หลัง มอบให้แก่ราษฎรผู้ประสบอุทกภัยฯ (**เปิดใหม่**)
 
อำเภอแม่สายที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวอยู่ ณ ปัจจุบัน 6 แห่ง รวมทั้งสิ้น 501 คน(โดยเป็นศูนย์พักพิงฯ ที่มีทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการ จำนวน 4แห่ง, ศูนย์พักพิงในความดูแลของกระทรวง พม. 1 แห่ง และศูนย์พักพิงชั่วคราว จำนวน 1 แห่ง)
 
ศูนย์พักพิงเทศบาลตำบลแม่สาย คงค้างจำนวน 49 ราย(ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแลได้แก่ รพ.ป่าแดด/ รพ.สต.ฮ่องแฮ่/ รพ.สต.บ้านด้าย)
 
ศูนย์พักพิงวัดพรหมวิหาร คงค้างจำนวน 119 ราย(ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.สมเด็จพระญาณสังวร, ร.พ.แม่สาย, ทีม MCATT, รพ.สวนปรุง)
 
ศูนย์พักพิงวัดเหมืองแดง คงค้างจำนวน 162 ราย (ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.พญาเม็งราย, ทีม MCATT จาก รพ.สวนปรุง, รพ.สต.แม่สาย)
 
ศูนย์พักพิงวัดถ้ำผาจม คงค้างจำนวน 117 ราย(ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.แม่ลาว, ทีม MCATT, รพ.เชียงแสน, รพ.ดอยหลวง)
 
ศูนย์พักพิงโบสถ์คริสต์บ้านผาฮี้ คงค้างจำนวน 37 ราย
ศูนย์พักพิงบ้านเอื้ออาทรแม่สาย 1 คงค้างจำนวน 17 คน(ในความดูแลของกระทรวง พม.)
อำเภอเวียงชัย ที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวอยู่ ณ ปัจจุบัน จำนวน 1 แห่ง
ศูนย์ศุภนิมิตรเพื่อการพัฒนา ต.เวียงเหนือ อ.เวียงชัย ปรับสภาพเป็นศูนย์พักคอยเนื่องจากประชาชนเริ่มกลับไปทำความสะอาดบ้านเรือนและมานอนที่ศูนย์ฯ ในตอนกลางคืน คงค้างจำนวน 21 ราย/ วันที่ 20 ก.ย. 67
 
ปิดศูนย์ฯ
– นพค.31 /นพค.32/นพค.34 สนับสนุนกำลังพล รถครัวสนาม และรถสุขาเคลื่อนที่
– มูลนิธิสมาคมกู้ชีพกู้ภัย อาสาสมัคร จิตอาสาภาคประชาชน ร้านค้า/ผู้ประกอบการ สนับสนุนปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย ให้ที่พักพิงชั่วคราว มอบอาหารปรุงสำเร็จ และถุงยังชีพ
 
– วิทยาลัยอาชีวศึกษาและโรงเรียนในเครือ ดำเนินโครงการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน Fix It Center
ตั้งจุดบริการและจัดชุดเคลื่อนที่ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม โดยจะช่วยซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ รวมถึงยานพาหนะที่เสียหาย เริ่มดำเนินกา
 
– สถานศึกษา สอศ. ที่ร่วมปฏิบัติงานจากทั่วประเทศ ประจำวันที่ 21 ก.ย. 67 จำนวน 43 แห่ง ตั้งจุดบริการ Fix It Center7 แห่ง ดังนี้ จุดบริการ โรงเรียนสันติวิทยา ดำเนินการโดย วท.อุทัยธานี จุดบริการ โรงเรียนบ้านน้ำลัด ดำเนินการโดย วก.เชียงราย, วก.ลอง จุดบริการ วอศ.เชียงราย ดำเนินการโดย วก.เวียงสา จุดบริการ ฮ่องลี่-ป่างิ้ว ดำเนินการโดย วท.ตาก จุดบริการ วท.เชียงราย ดำเนินการโดย วท.เชียงราย จุดบริการ หมู่บ้านธนารักษ์ ดำเนินการโดย วท.เทิง และจุดบริการ ชุมชนเวียงกือนา ดำเนินการโดย วก.เวียงเชียงรุ้ง
 
แผนกำหนดจุดบริการ Fix It Center ที่จะออกบริการวันที่ 22 ก.ย. 67จำนวน 8 แห่ง จุดบริการ โรงเรียนสันติวิทยา ดำเนินการโดย วท.อุทัยธานี (ระหว่างวันที่ 21- 22 ก.ย. 67) จุดบริการ วัดพรหมวิหาร อ. แม่สาย ดำเนินการโดย วท. สุโขทัย และ วก.ศรีสัชนาลัย (ระหว่างวันที่ 21- 22 ก.ย. 67) จุดบริการ วอศ.เชียงราย ดำเนินการโดย วก.เวียงสา (ระหว่างวันที่ 21- 22 ก.ย. 67) จุดบริการ ฮ่องลี่-ป่างิ้ว ดำเนินการโดย วท.ตาก (ระหว่างวันที่ 21- 22 ก.ย. 67) จุดบริการ วท.เชียงราย ดำเนินการโดย วท.เชียงราย จุดบริการ โรงเรียนเทศบาล 7 ฝั่งหมิ่นดำเนินการโดย สอน. 1 (ระหว่างวันที่ 22- 25 ก.ย. 67) จุดบริการ โรงเรียนเทศบาล8 บ้านใหม่ดำเนินการโดย สอน. 1 (ระหว่างวันที่ 22- 25 ก.ย. 67) และจุดบริการ ชุมชนเกาะทอง ดำเนินการโดย สอน.3 (ระหว่างวันที่ 22- 25 ก.ย. 67)
 
วันที่ 17 ก.ย. 67 ทภ.3 จัดตั้ง ศบภ.ทภ.3 ส่วนหน้า ณ ที่ว่าการอำเภอแม่สาย เพื่ออำนวยการประสานงานการให้ความช่วยเหลือประชาชนของหน่วยทหารทุกหน่วย ในพื้นที่ อ.แม่สาย
 
– อบจ.เชียงราย ดำเนินการดังนี้ เปิดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย อบจ. เชียงราย ณ อาคารคชสาร (สนามกีฬากลาง อบจ.เชียงราย) ระหว่างวันที่ 18 – 22 กันยายน 2567 เวลา 08.00 – 16.00 น. โดยเป็นจุดให้บริการ ดังนี้ จุดรับน้ำดื่ม จุดโรงครัว (มื้อเช้า กลางวัน เย็น) จุดรับและมอบของบริจาค จุดปฐมพยาบาล (ทำแผล ฉีดบาดทะยัก คอตีบ และจ่ายยาสามัญ/เวชภัณฑ์)
 
ให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วม ด้านดำรงชีพ ดังนี้ ค่าใช้จ่ายด้านดำรงชีพ ได้แก่ ค่าเครื่องนุ่งห่ม รายละไม่เกิน 1,100 บาท ค่าเครื่องมือประกอบอาชีพ เท่าที่จ่ายจริง ครอบครัวละไม่เกิน 11,400 บาท ค่าเครื่องครัวและอุปกรณ์ในการประกอบอาหาร เท่าที่จ่ายจริง ครอบครัวละไม่เกิน 3,500 บาท ค่าเครื่องนอน รายละไม่เกิน 1,000 บาท หลักฐานที่ต้องเตรียม ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนของเจ้าของบ้านที่ประสบภัย รูปภาพความเสียหาย
 
การขอรับความช่วยเหลือ ผ่าน อบต. หรือ ทต. ที่ประสบภัย ในวันและเวลาราชการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อบจ.เชียงราย ฝ่ายสงเคราะห์ผู้ประสบภัย โทร. 053175329 หรือ 053175333 ต่อ 1402 ในวันและเวลาราชการ
 
– กรุงเทพมหานคร โดยสำนักการระบายน้ำและกองโรงงานช่างกล สำนักการคลังสนับสนุนรถดูดโคลนขนาดความจุถัง 14 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 2 คัน รถตรวจการณ์ จำนวน 1 คัน รถหน่วยซ่อมเคลื่อนที่เร็ว (BEST) จำนวน 1 คัน รถบรรทุกติดตั้งเครนขนาด 65 ตัน จำนวน 1 คัน รถไฟส่องสว่าง จำนวน 1 คัน และรถตู้ 12 ที่นั่ง จำนวน 1 คันพร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญ/บุคลากร 28 คน ปฏิบัติการดูดโคลนเลนที่อุดตันบริเวณท่อระบายน้ำ ตามตรอก ถนน และจุดต่าง ๆ ที่กีดขวางทางระบายน้ำพื้นที่ประสบอุทกภัยในเขตพื้นที่ในเขตพื้นที่เทศบาลนครเชียงราย เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 20 ก.ย. 67 เป็นต้นไป
 
วันที่ 20 ก.ย. 67 (วันแรกของการปฏิบัติงาน) ดำเนินการดูดโคลนเลนจากท่อระบายน้ำ (ใช้วิธีเปิดฝาท่อระบายน้ำ) ถนนเจ้าฟ้า ฝั่งตรงข้ามศาลจังหวัดเชียงราย ริมแม่น้ำกก โดยดำเนินการทำความสะอาดท่อระบายน้ำ ขนาด 1.20 เมตร ดำเนินการได้ความยาว 100 เมตร ดูดเลนได้จำนวน 84 ลูกบาศก์เมตร / พบอุปสรรค ดินเลนเป็นดินเหนียวและมีขยะในท่อระบายน้ำ
วันที่ 21 ก.ย. 67 ดำเนินการดูดโคลนเลนจากท่อระบายน้ำ (ใช้วิธีเปิดฝาท่อระบายน้ำ) ถนนเจ้าฟ้า ฝั่งตรงข้ามศาลจังหวัดเชียงราย (บริเวณสถานีผลิตน้ำวังคำ ของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาเชียงราย) ท่อขนาด 1.20 เมตร ดำเนินการได้ความยาว 200 เมตร และทำความสะอาดรางระบายน้ำ(ตัววี) ขนาด 0.30 เมตรดำเนินการได้ความยาว 100 เมตรดูดเลนได้จำนวน 56 ลูกบาศก์เมตร/ แผนดูดโคลนเลนวันที่ 22 ก.ย. 67 ดำเนินการต่อจากจุดเดิมถึงบริเวณ 3 แยก สห. (วัดพระธาตุดอยจอมทอง)
– กรมโยธาธิการและผังเมือง สนับสนุนบุคลากร สำรวจ/วางแผน บริหารจัดการให้เป็นไปตามระบบหลักเพื่อบรรเทาน้ำท่วมชุมชนเมือง
 
– บริษัท วอชแอนด์โก Code Clean ให้บริการ ซัก อบ ผ้า น้ำยา ฟรี แก่ผู้ได้รับผลกระทบน้ำท่วมตลอด24 ชั่วโมง ณ ลานธรรมลานศิลป์ถิ่นพญามังรายหรือลานรัชกาลที่ 5 (ศาลากลางจังหวัดหลังแรก) ตั้งแต่วันที่ 18 ก.ย. 67 เป็นต้นไป
– เทศบาลตำบลแม่สายจัดชุดเคลื่อนที่ลงพื้นที่รับคำร้องช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยและลงทะเบียนขอลดหรือยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอันเนื่องมาจากเหตุอันพ้นวิสัยที่จะป้องกันได้โดยทั่วไป (กรณีอุทกภัย) ในเขตเทศบาลตำบลแม่สายระหว่างวันที่ 21-27 ก.ย. 67 ในพื้นที่ชุมชนแม่สาย-ดอยเวา, ชุมชนไม้ลุงขน, ชุมชนเหมืองแดง,ชุมชนป่ายาง และชุมชุมชนเกาะทราย
 
– งานบริการถ่ายบัตรประชาชน กรมการปกครอง สนับสนุนหน่วยบริการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนเคลื่อนที่ (Mobile Unit) ให้บริการตั้งแต่วันที่ 20 – 27 กันยายน 2567 ตั้งแต่เวลา 08.30 – 21.00 น. ณ วัดเวียงหอม (สามารถถ่ายได้เพียงบัตรประชาชนเท่านั้น) ยกเว้นค่าธรรมเนียม 100 บาท
 
– สำนักทะเบียนอำเภอแม่สาย ให้บริการงานถ่ายบัตรประชาชนทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ตั้งแต่วันที่ 19 – 30 กันยายน 2567 ตั้งแต่เวลา 08.30 – 17.00 น. ณ ห้องทะเบียนที่ว่าการอำเภอแม่สาย
 
– กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มอบเงินอุดหนุนช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมกรณีฉุกเฉิน เพื่อช่วยเหลือครอบครัวผู้ประสบอุทกภัย กลุ่มครัวเรือนเปราะบาง ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ห้วงอุทกภัยเดือนสิงหาคม-กันยายน 2567 จำนวน 234 ราย เป็นเงิน 700,000 บาท ดังนี้
 
– มอบเงินสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อยและไร้ที่พึ่ง เพื่อช่วยเหลือ ครัวเรือนเปราะบาง ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย จำนวน 167 ราย เป็นเงิน 500,000 บาท
 
มอบเงินปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ครัวเรือนเปราะบาง ที่ได้รับผลกระทบ จากอุทกภัย ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย จำนวน 216 หลังเป็นเงิน 3,888,000 บาท
 
– มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาขาดไทย เชิญถุงยังชีพพระราชทานมอบแก่ประชาชน
ผู้ประสบอุทกภัย ณ พื้นที่จังหวัดเชียงราย/ วันที่ 21 ก.ย. 2567 ณ ศาลาการเปรียญ วัดร่องเสือเต้น บ้านร่องเสือเต้น ตำบลริมกก อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานในพิธีมอบสิ่งของพระราชทานมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย แก่ประชาชนผู้ประสบอุทกภัย จำนวน 3,500 ถุง และถุงยังชีพพระราชทานแด่พระสงฆ์ จำนวน 105 ถุง และมอบเงินให้แก่ครอบครัวผู้เสียชีวิตจากเหตุอุทกภัย รายนายอุดมศักดิ์ เชื้อเมืองพาน บ้านเลขที่ 97 หมู่ 7 ชุมชนบำงิ้ว ต.รอบเวียง อเมืองเชียงราย จำนวน 20,000 บาท มอบให้แก่นางกนกวรรณ เชื้อเมืองพาน มารดาของผู้เสียชีวิต โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายเป็นผู้แทนมอบ
 
– นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.1) นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.พม. นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รมช.มท.(มท.4) นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการปกครองนายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดินและประธานกรรมการการประปาส่วนภูมิภาค และนายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ตรวจติดตามและให้กำลังใจประชาชนผู้ประสบอุทกภัย/เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในการฟื้นฟูช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่วัดเหมืองแดงเทศบาลตำบลแม่สาย อ.แม่สาย จ.เชียงราย และชุมชนป่าแดง ต.ริมกก อ.เมืองชร. จ.เชียงราย เพื่อตรวจเยี่ยมการกู้คืนระบบประปา ไฟฟ้า และระบบการระบายน้ำในเขตเทศบาลนครเชียงราย
 
แนวโน้มสถานการณ์ สถานการณ์อยู่ในระดับคลี่คลายมีฝนอ่อน- หนักในพื้นที่อำเภอเวียงป่าเป้า และอำเภอพานระดับน้ำสาย/น้ำกกลดลง/น้ำโขง ทรงตัว(ไม่เกินระดับวิกฤติ)
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI FOOD

‘ร้านชีวิตธรรมดา’ เชียงราย กับวันที่ต้องรับมือแบบ ‘ไม่ธรรมดา’

 

เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2567 ผู้สื่อข่าว “สำนักข่าว นครเชียงรายนิวส์” ได้รายงานสถานการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในพื้นที่เศรษฐกิจของอำเภอเมืองเชียงรายและอำเภอแม่สาย ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 10 – 13 กันยายน 2567 น้ำท่วมครั้งนี้ได้สร้างความเสียหายต่อธุรกิจหลายแห่ง รวมถึงร้านอาหารและร้านกาแฟชื่อดังในพื้นที่ หนึ่งในร้านที่ได้รับผลกระทบหนักคือ “ชีวิตธรรมดา คอฟฟี่เฮาส์ บิสโทร บาร์” ร้านอาหารและร้านกาแฟยอดนิยมที่ตั้งอยู่ริมน้ำกก จังหวัดเชียงราย

ร้านชีวิตธรรมดาเป็นที่รู้จักในฐานะร้านอาหารและร้านกาแฟที่มีบรรยากาศไม่ธรรมดาเหมือนชื่อร้าน ด้วยการตกแต่งสไตล์วินเทจแบบบ้านไม้สีขาว ร่มรื่นด้วยต้นไม้เขียวขจีและสวนอังกฤษ พื้นที่ภายในร้านกว้างขวางและหลากหลายโซน ทั้งห้องแอร์ โอเพ่นแอร์ โซนสวน ห้องกระจก ห้องสมุด และระเบียงริมน้ำ ร้านนี้กลายเป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยวที่มาเยือนเชียงราย

 อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากน้ำท่วมในครั้งนี้ทำให้ร้านชีวิตธรรมดาเสียหายอย่างหนัก โดยมีน้ำท่วมสูงถึงเมตรครึ่ง พื้นที่ภายในร้านส่วนใหญ่ถูกปกคลุมด้วยดินโคลน เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ต่างๆ ภายในร้านเสียหายไปหลายรายการ แม้ว่าทางร้านจะพยายามย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง แต่ระดับน้ำที่ไหลเข้ามาอย่างรวดเร็วทำให้ไม่สามารถป้องกันความเสียหายได้ทัน พนักงานในร้านกว่า 100 ชีวิตต้องรีบอพยพหนีออกจากพื้นที่เพื่อความปลอดภัย
 

จากการสัมภาษณ์กับทางร้าน ทางร้านชีวิตธรรมดาเปิดเผยว่า “ตอนนี้ทางร้านกำลังเร่งฟื้นฟูและทำความสะอาดพื้นที่ รวมถึงการเคลื่อนย้ายดินโคลนที่หนาและเหนียวออกจากพื้นที่ ทั้งในร้านและที่พักพนักงาน แม้จะได้รับความเสียหายอย่างหนัก แต่ทางร้านยังคงมีความตั้งใจที่จะเปิดโซนเล็กๆ ก่อน เพื่อให้พนักงานสามารถทำงานและได้รับเงินเดือนเต็มจำนวน” ทางร้านยังคาดหวังว่าจะสามารถเปิดให้บริการบางส่วนได้ในวันที่ 25 กันยายนนี้

ในเชิงเศรษฐกิจ น้ำท่วมครั้งนี้ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อธุรกิจร้านอาหารและคาเฟ่ริมแม่น้ำกกหลายแห่ง ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของเชียงราย การปิดให้บริการชั่วคราวและการฟื้นฟูที่ต้องใช้เวลาย่อมส่งผลต่อการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในพื้นที่ อย่างไรก็ตาม ร้านชีวิตธรรมดายังคงมุ่งมั่นฟื้นฟูธุรกิจของตนและคาดหวังว่าจะกลับมาเปิดให้บริการได้ในอนาคตอันใกล้

สำหรับลูกค้าที่ต้องการเยี่ยมเยียนร้านชีวิตธรรมดา ร้านตั้งอยู่ที่ 179 หมู่ 2 ซอยร่องเสือเต้น 3 ตำบลริมกก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย 57100 สามารถเดินทางโดยข้ามสะพานแม่น้ำกก เมื่อเจอแยกไฟแดงแรกให้เลี้ยวซ้าย ร้านเปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 08:00 น. ถึง 21:00 น. และสามารถติดต่อสอบถามได้ที่เบอร์โทร 081-984-2925 หรือ 053-166-967
 

ผลกระทบที่เกิดขึ้นนี้เป็นเครื่องเตือนใจให้ธุรกิจในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมต้องวางแผนรับมือกับเหตุการณ์ธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การมีแผนป้องกันและการเตรียมความพร้อมของชุมชนในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้สามารถฟื้นฟูธุรกิจและเศรษฐกิจของท้องถิ่นได้อย่างรวดเร็ว และลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

รัฐมนตรีช่วยว่าการมหาดไทยเยี่ยมเชียงราย เร่งแก้ไขปัญหาน้ำท่วม

 

เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2567 นางสาวซาบีดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เดินทางมายังศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน ป้องกันและบรรเทาเหตุอุทกภัยและดินโคลนถล่ม ณ เทศบาลนครเชียงราย โดยมี ว่าที่ร้อยตรี ศราวุธ จันทวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย และนายวันชัย จงสุทธานามณี นายกเทศมนตรีนครเชียงราย พร้อมด้วยคณะผู้บริหารเทศบาลนครเชียงราย และเจ้าหน้าที่ส่วนงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันให้การต้อนรับ

การเดินทางครั้งนี้เป็นการติดตามและประเมินสถานการณ์น้ำท่วมในเขตพื้นที่เทศบาลนครเชียงราย ซึ่งได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมใน 52 ชุมชน มีผู้ได้รับความเสียหายมากกว่า 10,000 หลังคาเรือน โดยนางสาวซาบีดา ไทยเศรษฐ์ ได้กล่าวให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ที่ทำงานในการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัย และย้ำให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการฟื้นฟูพื้นที่ให้กลับเข้าสู่สภาวะปกติ

ในที่ประชุม นายวันชัย จงสุทธานามณี ได้รายงานสถานการณ์น้ำท่วมในเขตเทศบาลนครเชียงราย โดยสาเหตุหลักมาจากน้ำในแม่น้ำกกที่ไหลล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน รวมทั้งการไหลย้อนเข้าลำน้ำสาขาและท่อระบายน้ำขนาดใหญ่ในหลายจุด ทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ริมแม่น้ำกกที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด

ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาที่สำคัญคือการจัดการกับดินโคลนที่สะสมอยู่ในบ้านเรือนและท่อระบายน้ำ ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการระบายน้ำออกจากพื้นที่ หากฝนตกซ้ำในช่วงนี้ อาจทำให้เกิดน้ำท่วมซ้ำซากได้ จึงได้ขอความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีอุปกรณ์และรถดูดดินโคลนมาช่วยในการฟื้นฟูพื้นที่ดังกล่าว

นางสาวซาบีดา ไทยเศรษฐ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการช่วยเหลืออย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในด้านการผลิตน้ำประปาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน และในส่วนของการสนับสนุนรถดูดดินโคลน ได้มีการประสานงานกับสำนักงานโยธาธิการและผังเมือง รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้นำเครื่องจักรเข้ามาช่วยดำเนินการ คาดว่าจะสามารถเข้าถึงพื้นที่ได้ในวันศุกร์ที่จะถึงนี้ ซึ่งจะเริ่มดำเนินการดูดดินโคลนออกจากท่อระบายน้ำในเขตเทศบาลนครเชียงรายและจุดที่เกิดปัญหาต่างๆ เพื่อป้องกันการเกิดน้ำท่วมซ้ำอีก

นอกจากนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยยังได้กล่าวให้กำลังใจแก่พี่น้องประชาชน และขอให้ทุกคนร่วมมือกันผ่านพ้นวิกฤตน้ำท่วมในครั้งนี้ไปโดยเร็วที่สุด

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

ถุงพระราชทานช่วยเหลือ ผู้ประสบอุทกภัยเชียงราย

 

เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2567 เวลา 13.30 น. ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย (ศูนย์บ้านน้ำลัด) ตำบลริมกก อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าที่ปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ทรงพระกรุณาโปรดให้นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เชิญถุงพระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภคมอบแก่ราษฎรที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย

ภายในพิธี นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ได้เชิญถุงพระราชทานเพื่อมอบให้กับราษฎรผู้ประสบอุทกภัยจำนวน 100 ราย ซึ่งเป็นราษฎรในเขตเทศบาลนครเชียงราย โดยถุงพระราชทานที่ได้รับประกอบไปด้วยเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้

ในพิธีมอบถุงพระราชทานครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วนที่มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ อาทิ นายบุญส่ง ตินารี นายอำเภอเมืองเชียงราย, พ.อ. อัศม์พงษ์ นิลพันธ์ ผู้แทนมณฑลทหารบกที่ 37, นางบังอร มะลิดิน รองนายกเทศมนตรีนครเชียงราย และพระครูสุตวัฒนบัณฑิต ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระแก้ว พระอารามหลวง ซึ่งทั้งหมดนี้ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในพิธีมอบถุงพระราชทาน เพื่อแสดงความห่วงใยและช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่

นอกจากนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย และทีมงานเจ้าหน้าที่กลุ่มพิธีการฯ ได้มอบหมายให้ นายพิพัฒน์ สุ่มมาตย์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ และนายภัทรพงษ์ มะโนวัน นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ เป็นผู้แทนในการปฏิบัติพิธีมอบถุงพระราชทานให้แก่ประชาชน

เหตุการณ์อุทกภัยครั้งนี้ส่งผลกระทบอย่างหนักในหลายพื้นที่ของจังหวัดเชียงราย ซึ่งเทศบาลนครเชียงรายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างเร่งดำเนินการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในเขตเทศบาลนครเชียงรายอย่างเต็มที่ เพื่อให้ผู้ประสบภัยสามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อย่างเร็วที่สุด

นอกจากการมอบถุงพระราชทานแล้ว ทางศูนย์จิตอาสายังได้จัดเตรียมข้าวกล่องจำนวนมากเพื่อแจกจ่ายให้แก่ผู้ประสบอุทกภัย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการบรรเทาความเดือดร้อนในด้านอาหารและสิ่งของที่จำเป็น

ทั้งนี้ การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในครั้งนี้ เป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคประชาชน โดยมีการประสานงานและบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้การช่วยเหลือเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และครอบคลุมทุกพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการฟื้นฟูและการให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ชุมชนต้องการความช่วยเหลือจากเหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น ทั้งในด้านอาหาร น้ำดื่ม และสิ่งของจำเป็นอื่น ๆ เพื่อให้ประชาชนสามารถฟื้นฟูบ้านเรือนและชีวิตประจำวันได้อย่างรวดเร็วที่สุด

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงรายได้จากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง หรือติดต่อสอบถามได้ที่เทศบาลนครเชียงราย

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

ผู้ว่าฯ ลงตรวจปฏิบัติการแพทย์ทหาร ฝูงบิน 416 เชียงราย

 

เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2567 เวลา 14.30 น. นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้เดินทางไปยังฝูงบิน 416 อำเภอเมืองเชียงราย เพื่อเข้าเยี่ยมและให้กำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในการลำเลียงอาหารและถุงยังชีพ รวมถึงทีมแพทย์ทหารที่เตรียมออกปฏิบัติภารกิจโดยใช้เฮลิคอปเตอร์ KA-32 ในการส่งมอบอาหารและให้บริการทางการแพทย์แก่ชาวบ้านที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่เป้าหมายบ้านเทอดไทยและบ้านจะตี อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย

สถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดเชียงรายจากฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายวันที่ผ่านมา ส่งผลให้หลายพื้นที่ประสบปัญหาน้ำป่าไหลหลาก ทำให้หลายหมู่บ้านถูกตัดขาดจากเส้นทางคมนาคม ส่งผลให้การส่งอาหารและสิ่งของบรรเทาทุกข์ต้องอาศัยการขนส่งทางอากาศ โดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกลในอำเภอแม่ฟ้าหลวง เช่น บ้านเทอดไทยและบ้านจะตี ที่ถูกน้ำป่าล้อมรอบจนไม่สามารถเดินทางเข้าถึงได้

ในระหว่างการลงพื้นที่ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายได้รับรายงานจากชุดปฏิบัติการทางอากาศว่าภารกิจการขนส่งอาหารและสิ่งของบรรเทาทุกข์ในพื้นที่อำเภอแม่สายเมื่อวันที่ผ่านมาเป็นไปด้วยความสำเร็จ โดยเฮลิคอปเตอร์ได้ลำเลียงอาหารไปถึงชาวบ้านที่ติดอยู่ในพื้นที่น้ำท่วม นอกจากนี้ ทีมแพทย์ทหารยังสามารถนำตัวผู้ป่วยจำนวน 3 ราย ซึ่งติดอยู่ในบ้านอันเป็นผลจากน้ำท่วมหนักออกจากพื้นที่น้ำท่วมมารักษาตัวในพื้นที่ปลอดภัยได้อย่างปลอดภัย

สำหรับภารกิจในวันนี้ ทีมเฮลิคอปเตอร์ KA-32 ได้เตรียมพร้อมลำเลียงอาหารและยารักษาโรคไปยังบ้านเทอดไทยและบ้านจะตี ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ยังคงประสบปัญหาการขาดแคลนอาหารและการรักษาพยาบาล เนื่องจากเส้นทางคมนาคมถูกน้ำป่าตัดขาด ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่ได้

ทั้งนี้ นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ห่างไกล พร้อมกล่าวขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานที่ร่วมกันทำงานอย่างเต็มที่เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในจังหวัดเชียงราย

จังหวัดเชียงรายยังคงติดตามสถานการณ์น้ำท่วมอย่างใกล้ชิด โดยได้เตรียมพร้อมรับมือกับการระบายน้ำและการให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยอย่างต่อเนื่อง

สำหรับประชาชนที่ต้องการขอความช่วยเหลือ สามารถติดต่อศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดเชียงราย หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อขอความช่วยเหลือเพิ่มเติม

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติกู้ระบบประปาเชียงรายหลังน้ำท่วม

 

เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2567 ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) พร้อมคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจติดตามการปรับปรุงระบบจ่ายน้ำของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาเชียงราย เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วม ทำให้ไม่สามารถจ่ายน้ำให้กับประชาชนในพื้นที่ตั้งแต่เวลา 15.30 น. ของวันที่ 11 กันยายนที่ผ่านมา โดยมี นายทวีศักดิ์​ สุขก้อน​ ผู้จัดการการประปาส่วนภูมิภาคสาขาเชียงราย​ ได้รายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการฟื้นฟูระบบประปา รวมถึงแผนการบริหารจัดการที่กำลังดำเนินอยู่

ดร.สุรสีห์ ได้กล่าวถึงความสำคัญของการฟื้นฟูระบบจ่ายน้ำ โดยได้กล่าวว่า หลังจากที่นายกรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ได้ลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์น้ำที่จังหวัดเชียงรายเมื่อวันที่ผ่านมา ทางสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้ถูกมอบหมายให้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อเร่งกู้คืนระบบประปาให้กลับมาใช้งานได้อย่างรวดเร็ว โดยในการประชุมวานนี้ มีการขอความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน เช่น กรมทรัพยากรน้ำ กองทัพพัฒนาภาคที่ 3 กรมชลประทาน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกรมทางหลวง เพื่อจัดหาเครื่องสูบน้ำเร่งระบายน้ำออกจากบ่อพักของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาเชียงราย ซึ่งทางกรมทางหลวงยังได้สนับสนุนรถน้ำเพื่อให้บริการน้ำสะอาดแก่โรงพยาบาลในพื้นที่จังหวัดเชียงรายเป็นการชั่วคราว

ในขณะนี้ทางการประปาส่วนภูมิภาคกำลังระดมกำลังเร่งฟื้นฟูระบบ โดยเฉพาะในส่วนของระบบไฟฟ้าที่จะทำให้ระบบปั๊มน้ำสามารถกลับมาทำงานได้ ดร.สุรสีห์ ได้คาดการณ์ว่าการจ่ายน้ำจะสามารถเริ่มได้ในช่วงเย็นของวันนี้ โดยเริ่มต้นที่พื้นที่ใกล้เคียงกับการประปาส่วนภูมิภาคเชียงรายก่อน อย่างไรก็ตาม สำหรับการจ่ายน้ำในพื้นที่เมืองเชียงรายทั้งหมด อาจต้องใช้เครื่องส่งน้ำที่มีกำลังสูง ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการเร่งติดตั้ง คาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในคืนนี้หรืออย่างช้าในวันพรุ่งนี้ ทั้งนี้หากระบบส่งน้ำประปาพร้อมใช้งาน การประปาส่วนภูมิภาคสาขาเชียงรายจะเร่งดำเนินการจ่ายน้ำให้กับประชาชนโดยเร็วที่สุด

สำหรับมาตรการที่ได้ดำเนินการในขณะนี้ การประปาส่วนภูมิภาคเชียงรายยังได้จัดส่งรถน้ำเคลื่อนที่ไปให้บริการน้ำสะอาดแก่ชุมชนที่ได้รับผลกระทบ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น ขณะเดียวกัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังคงติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่อย่างใกล้ชิด โดยหากมีเหตุการณ์ใดๆ เพิ่มเติมหรือระบบส่งน้ำเกิดปัญหา การประปาจะเร่งดำเนินการแก้ไขทันที เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้น้ำประปาได้อย่างสะดวกและปลอดภัย

ด้านการประปาส่วนภูมิภาคยังได้แสดงความขอบคุณต่อความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงชุมชนที่ให้ความร่วมมือในการอพยพออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม โดยขอให้ประชาชนติดตามข่าวสารจากทางราชการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถรับทราบข้อมูลและเตรียมตัวได้ทันท่วงที

การฟื้นฟูระบบน้ำประปาในครั้งนี้ ถือเป็นภารกิจสำคัญในการดูแลชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงราย และเป็นส่วนหนึ่งในการฟื้นฟูความเสียหายที่เกิดจากเหตุอุทกภัยที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง

ทั้งนี้ หาก กปภ.เชียงราย ดำเนินการจ่ายน้ำแล้ว ถ้าพบเห็นท่อน้ำแตกในเขตอำเภอเมืองเชียงราย แจ้งได้ที่การประปาส่วนภูมิภาคสาขาเชียงราย 053-711655

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

ลงพื้นที่น้ำท่วมบ้านปางหัด อ.เวียงแก่น ส่งมอบถังเก็บน้ำช่วยเหลือชาวบ้าน

 

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2567 เวลา 13.00 น. นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยคณะสภาเยาวชน อบจ.เชียงราย และทีมงาน ซึ่งประกอบด้วย นายชัยสิทธิ์ ชัยเนตร เลขานุการนายก อบจ.เชียงราย, นางนิตยา ยาละ สมาชิกสภา อบจ. เชียงราย เขตอำเภอเวียงแก่น และ นายวิชาญ กาวี ปลัดอำเภอเวียงแก่น ได้เดินทางลงพื้นที่บ้านปางหัด ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย เพื่อส่งมอบ ถุงยังชีพ และอุปกรณ์สนับสนุนด้านการเกษตรให้แก่ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากน้ำป่าไหลหลาก

ของที่มอบในครั้งนี้ประกอบด้วย ถังเบ๊าท์เพื่อการเกษตรขนาด 1,000 ลิตร จำนวน 4 ใบ และ ถังสแตนเลสสำหรับสำรองน้ำดื่มขนาด 2,000 ลิตร จำนวน 1 ใบ โดยเป็นการตอบสนองต่อความต้องการเร่งด่วนของชาวบ้านที่ร้องขอความช่วยเหลือเข้ามาเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567

 

การสนับสนุนจาก อบจ.เชียงราย

นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ กล่าวในระหว่างการลงพื้นที่ว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายพร้อมสนับสนุนอุปกรณ์และเครื่องจักรเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม รวมถึงการจัดส่ง รถฉีดน้ำแรงดันสูง และ รถตัก พร้อมทั้งบุคลากรที่มีความชำนาญในการดำเนินการฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในครั้งนี้ ซึ่งจะเร่งบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนในพื้นที่ให้ได้เร็วที่สุด

นอกจากนี้ ยังมีการเตรียมพร้อมในการสนับสนุนด้านการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภาครัฐ เพื่อช่วยบรรเทาภาระที่ชาวบ้านต้องเผชิญจากสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

การสนับสนุนจากภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ในงานนี้ สภาเยาวชน อบจ. เชียงราย ยังได้แสดงความขอบคุณต่อผู้สนับสนุนจากภาคเอกชนที่มีส่วนร่วมในการจัดหาถังเบ๊าท์และถังสแตนเลสสำหรับการเก็บน้ำในราคาพิเศษ โดยเฉพาะร้าน เชียงรายค้าถัง ที่สนับสนุนถังเบ๊าท์ขนาด 1,000 ลิตรในราคาพิเศษ และห้าง ดูโฮมเชียงราย ที่สนับสนุนถังสแตนเลสขนาด 2,000 ลิตร พร้อมการติดตั้งวาล์วสำหรับกรอกน้ำดื่ม ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่มีแหล่งน้ำสำรองเพียงพอในช่วงวิกฤตน้ำท่วม

 

สถานการณ์น้ำป่าที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง

พื้นที่บ้านปางหัด ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น ได้รับผลกระทบจากน้ำป่าไหลหลากเป็นครั้งที่ 3 แล้วในปีนี้ ชาวบ้านจึงต้องการการสนับสนุนทั้งในด้านอาหาร น้ำดื่ม และอุปกรณ์เพื่อการฟื้นฟูความเสียหายที่เกิดขึ้นจากน้ำท่วมอย่างเร่งด่วน การส่งมอบถุงยังชีพและอุปกรณ์ในครั้งนี้จึงเป็นส่วนสำคัญในการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัย

 

การประสานงานและความร่วมมือในการฟื้นฟู

นายก อบจ.เชียงรายยังได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้การช่วยเหลือชาวบ้านในพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการขนส่งถังเบ๊าท์และถังสแตนเลสครั้งนี้ ได้รับการประสานงานจาก สำนักช่าง และ กองป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อบจ.เชียงราย ที่ได้จัดส่งรถบรรทุกและทีมงานเข้ามาช่วยในการขนส่ง

 

การเชิญชวนให้ร่วมสนับสนุนการฟื้นฟูน้ำท่วม

นอกจากนี้ สภาเยาวชน อบจ.เชียงรายยังเปิดรับการสนับสนุนจากผู้ใจบุญและหน่วยงานต่างๆ ที่ต้องการเข้าร่วมในการช่วยเหลือชาวบ้านที่ประสบภัยน้ำท่วมครั้งนี้ โดยสามารถประสานงานผ่านทาง สภาเยาวชน อบจ.เชียงราย ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการส่งต่อความช่วยเหลือไปยังพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบต่อไป

 

สรุป

การลงพื้นที่บ้านปางหัดของทีมงาน อบจ.เชียงราย และสภาเยาวชนในครั้งนี้ เป็นการแสดงถึงความร่วมมือในการช่วยเหลือฟื้นฟูชุมชนหลังเกิดน้ำท่วม ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งการสนับสนุนในครั้งนี้ไม่เพียงแต่ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนในทันที แต่ยังเป็นการเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ศูนย์เยาวชนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย – CR – PAO Youth Center

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI TOP STORIES

เชียงราย จัดตั้งกองทุนฯ ฟื้นฟูผู้ประสบอุทกภัย สูงสุด 150,000 บาท

 

เมื่อวันศุกร์ที่ 6 กันยายน 2567 ณ ห้องจอมกิตติ ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดเชียงราย นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานการแถลงข่าว การช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเรียงรายฯ โดยมี นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ ว่าที่ร้อยตรี ศราวุธ จันทวงศ์ รองรู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย นายครรชิต ชมภูแดง หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย และนายวรายุทธ ค่อมบุญ นายอำเภอเทิง เป็นผู้ร่วมแถลงข่าว โดยมีนางอุบลรัตน์ พ่วงภิญโญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้ววยหัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสื่อมวลชน เข้าร่วมการแถลงข่าวในครั้งนี้

นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้กล่าวว่า จังหวัดเชียงราย ได้จัดตั้งกองทุนฯ ในการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย และจัดหาปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีพให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ผ่านบัญชีธนาคาร กรุงไทย สาขาเชียงราย เลขที่บัญชี 504-3-23-732-5 ชื่อบัญชี กองทุนช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ปี พ.ศ.2567 โดยยอดบริจาคสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 1 เท่า ซึ่งการจัดตั้งกองทุนในครั้งนี้เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะบ้านที่อยู่อาศัยที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย สำหรับการช่วยเหลือด้านสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนัก ก็ได้มีส่วนราชการ ภาคีเครือข่าย ภาคเอกชน ภาคสังคมสงเคราะห์ เหล่ากาชาด ในการแจกจ่ายสิ่งของเครื่องใช้ เพื่อใช้เป็นปัจจัยในการดำรงชีพพื้นฐาน ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของการช่วยเหลือ

นายครรชิต ชมภูแดง หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย ได้กล่าวถึงภาพรวมสถานการณ์จังหวัดเชียงราย ซึ่งตั้งแต่วันที่ 12 ส.ค. 67 เป็นต้นมา เกิดอุทกภัยและดินถล่มในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ในระหว่างวันที่ 14 ส.ค. – 5 ก.ย. 67 จำนวน 18 อำเภอ 106 ตำบล 925 หมู่บ้าน และบางส่วนในเขตเทศบาลนครเชียงราย จำนวน 27 ชุมชน ราษฎรได้รับผลกระทบ 34,131 ครัวเรือน 127,809 คน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 31 หลัง บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 2,861 หลัง ซึ่งเกิดจากน้ำป่าและดินสไลด์ สำหรับภาคการเกษตรได้รับผลกระทบภาพรวม 189,275 ไร่ ส่วนใหญ่ได้แก่ นาข้าว ไร่ข้าวโพด ไร่มัน พืชสวน พืชยืนต้น ด้านปศุสัตว์ได้รับผลกระทบ 356,000 ตัว ด้านประมง มีพื้นที่ได้รับผลกระทบทั้งบ่อปลาและบ่อกุ้ง รวม 4,137 ไร่ ถนนได้รับความเสียหาย 499 จุด สะพานและคอสะพาน 13 แห่ง ฝาย 69 แห่ง อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก 3 แห่ง ศาสนสถานและวัด 34 แห่ง สถานศึกษาได้รับผลกระทบ 30 แห่ง สำหรับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงมี 4 อำเภอได้แก่อำเภอเทิง อำเภอเวียงแก่น อำเภอพญาเม็งราย และอำเภอขุนตาล ซึ่งทั้ง 4 อำเภอนอกจากได้รับผลกระทบจากน้ำป่าไหลหลากแล้ว ยังได้รับผลกระทบจากน้ำอิงเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมทั้งพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่การเกษตรบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำของลำน้ำอิงด้วย

นายวรายุทธ ค่อมบุญ นายอำเภอเทิง ได้กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม จนถึงปัจจุบันนี้ อำเภอเทิงได้เกิดอุทกภัยขึ้น ได้รับผลกระทบ 10 ตำบล 156 หมู่บ้าน 713 ครัวเรือน มีผู้อพยพมายังศูนย์พักพิงรวมกว่า 105 ราย ซึ่งขณะนี้ทุกคนได้กลับบ้านแล้ว บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 7 หลังคาเรือน แต่ยังถือว่าเป็นเรื่องดีที่สถานการณ์เกิดในช่วงเวลากลางวัน ทำให้ไม่มีผู้เสียชีวิต มีเพียงผู้ได้รับบาดเจ็บเพียงแค่ 1 รายเท่านั้น

นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้กล่าวถึงกรณีการเยียวยาผู้เสียชีวิตจากเหตุอุทกภัยจำนวน 2 ราย คือ รายที่ 1 นายสุรชัย อายุ 56 ปี เป็นราษฎร ต.ปอ อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย ถูกน้ำป่าพัดร่างขณะขี่จักรยานยนต์เข้าไปทำงานในไร่ ในส่วนของการให้ความช่วยเหลือ องค์การบริหารส่วนตำบลปอ ได้มอบค่าจัดการศพและเงินสงเคราะห์ครอบครัว เป็นเงิน 59,400 บาท และสำนักงานประกันสังคมจังหวัดเชียงราย มอบเงินสงเคราะห์กรณีผู้ประกันตน มาตรา 33 เสียชีวิตให้แก่ทายาทนายสุรชัยฯ เป็นเงิน 87,353.97 บาท และ คปภ. เยียวยาให้อีก 35,000 บาท รายที่ 2 นายชวฤทธิ์ อายุ 49 ปี เป็นราษฎรบ้านป่าตาลแดง หมู่ที่ 3 ต.ป่าตาล อ.ขุนตาล จ.เชียงราย ถูกน้ำป่าพัดร่างสูญหายตั้งแต่วันที่ 21 ส.ค. 67 เวลา 09.00 น. พบร่างในวันที่ 24 ส.ค. 67 โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มอบค่าจัดการศพ 29,700 บาท และสำหรับพี่น้องประชาชนที่บ้านเรือนเสียหาย จะได้รับเงินเยียวยาตามระเบียบหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2563 หลักเกณฑ์ ค่าซ่อมแซมที่พักอาศัยเนื่องจากเสียหายทั้งหลังไม่เกิน 49,500 บาท หลังที่เสียหายบางส่วนเท่าที่เสียหายจริงไม่เกิน 49,500 บาท  
.
ว่าที่ร้อยตรี ศราวุธ จันทวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้กล่าวถึงหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือ ของกองทุนฯ ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย และจัดหาปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีพให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งบ้านที่ได้รับถวามเสียหายทั้งหลัง และมีการประเมินความเสียหายเกินกว่า 1 ล้านบาท  จะได้รับเงินช่วยเหลือจากกองทุนฯ 150,000 บาท ความเสียหาย 700,000 – 1 ล้านบาท จะได้รับเงินช่วยเหลือจากกองทุนฯ 125,000 บาท ความเสียหาย 500,000 – 700,000 บาท จะได้รับเงินช่วยเหลือจากกองทุนฯ 100,000 บาท ความเสียหาย 300,000 – 500,000 บาท  จะได้รับเงินช่วยเหลือจากกองทุนฯ  75,000 บาท ความเสียหายตำกว่า 300,000 บาท จะได้รับเงินช่วยเหลือจากกองทุนฯ 50,000 บาท สำหรับที่อยู่อาศัยที่ได้รับความเสียหายบางส่วน และมีการประเมินความเสียหายเกิน 500,000 บาท จะได้รับเงินช่วยเหลือจากกองทุนฯ 75,000 บาท ความเสียหาย 300,000 – 500,000 บาท จะได้รับเงินช่วยเหลือจากกองทุนฯ ร้อยละ 10 ของประมาณการความเสียหายแต่ไม่เกิน 50,000 บาท ความเสียหาย 100,000 – 300,000 บาท จะได้รับเงินช่วยเหลือจากกองทุนฯ ร้อยละ 5 ของประมาณการความเสียหายแต่ไม่เกิน 15,000 บาท หากความเสียหายต่ำกว่า 100,000 บาท จะใช้งบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเยียวยา
.
นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า การเยียวยาของทาง กองทุนฯ จะสมทบกับการเยียวยาของราชการ เพื่อให้ผู้ประสบภัยกลับมาลุกขึ้นสู้ได้อีกครั้ง ด้วยความร่วมมือร่วมใจของชาวเชียงราย และในวันที่ 7-9 กันยายน นี้ ก็ต้องเฝ้าระวังเรื่องของผลกระทบจากพายุฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ซึ่งทางจังหวัดเชียงราย ได้ตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย และดินโคลนถล่ม จังหวัดเชียงราย ที่ภายในหอประชุมคชสาร องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เราต้องร่วมกันเตรียมความพร้อม ถอดบทเรียนจากเหตุการณ์ที่ผ่านมา เพราะหากเกิดเหตุภัยพิบัติขึ้นอีก เราต้องทำให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ และทางจังหวัดได้สั่งการให้ทุกอำเภอจัดเวรยามเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เราทุกคนต้องดูแลซึ่งกันและกัน เพราะเราชาวเชียงรายจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังอย่างเด็ดขาด
จากนั้น ผู้เข้าร่วมแถลงข่าวได้รับชมคลิปวีดีโอสรุปสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือในจังหวัดเชียงราย และผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้รับมอบเงินและสิ่งของจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ร้านค้า เข้าสู่กองทุนฯ เพื่อนำไปช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบอุทกภัยในจังหวัดเชียงรายต่อไป

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI FEATURED NEWS

“จากใจคนใต้ ถึงใจพี่น้องคนเหนือ” ร่วมช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยเชียงราย

 

เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2567 เวลา 13.00 น. ที่อาคารปฏิบัติการไปรษณีย์เชียงราย โครงการ “จากใจคนใต้ ถึงใจพี่น้องคนเหนือ” ได้รับการสนับสนุนจากหลายภาคส่วนของชุมชนเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ / นครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในการส่งมอบสิ่งของบริจาคเพื่อนำไปช่วยเหลือพี่น้องผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยความร่วมมือจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย (อบจ.เชียงราย) นำโดยนางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ได้มอบหมายให้กองป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อบจ.เชียงราย เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์เชียงราย และกำลังพลจาก มณฑลทหารบกที่ 37 (มทบ.37) ร่วมกันรับของบริจาคเพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

การบริจาคที่เริ่มต้นจากใจคนใต้

โครงการนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 – 31 สิงหาคม 2567 โดยความร่วมมือของหลายหน่วยงานในจังหวัดสงขลา เช่น สมาคมชุมชนสร้างสรรค์, สมาคมชาวเหนืออีสานจังหวัดสงขลา, ศูนย์การค้าไดอาน่าคอมเพล็กซ์ , เคแอนด์เคชุปเปอร์สโตร์ , สงขลาโฟกัส, นครเชียงรายนิวส์ , พะเยาน่าอยู่ ,ไปรษณีย์เขต9 , มูลนิธิร่วมพัฒนาภาคใต้, โดยเป็นการเปิดโอกาสให้พี่น้องชาวใต้ร่วมบริจาคสิ่งของ ข้าวสาร อาหารแห้ง และสิ่งของจำเป็นต่างๆ การบริจาคครั้งนี้ไม่รับเงินบริจาค เพื่อให้มั่นใจว่าสิ่งของที่ได้รับจะส่งตรงไปยังผู้ที่ต้องการในทันที จุดรับบริจาคตั้งอยู่ที่ เคแอนด์เค ชุปเปอร์สโตร์ ถนนนวลแก้ว และ ลานจอดรถหน้าห้างไดอาน่า ถนนศรีภูวนารถ มีการรับบริจาคตั้งแต่เวลา 08.00 น. จนถึง 20.00 น.

การตอบรับจากชุมชนในสงขลาเป็นอย่างดี พี่น้องคนใต้ต่างนำสิ่งของมาร่วมบริจาคกันอย่างล้นหลาม ซึ่งของบริจาคเหล่านี้ได้ถูกจัดส่งมายังเชียงราย เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำอิง ซึ่งได้รับผลกระทบหนักจากน้ำท่วม น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนที่ทับถมในหลายหมู่บ้าน

สถานการณ์น้ำท่วมในเชียงราย

ในช่วงต้นเดือนกันยายน 2567 หลายพื้นที่ในจังหวัดเชียงราย เช่น อำเภอเทิง, อำเภอพญาเม็งราย, อำเภอขุนตาล, และ อำเภอเชียงของ ยังคงมีน้ำท่วมสูง แม้ระดับน้ำจะลดลงวันละประมาณ 10-15 เซนติเมตร แต่ก็ยังคงต้องเฝ้าระวังการมาของมวลน้ำรอบใหม่ที่คาดว่าจะถูกปล่อยมาจากกว๊านพะเยา ซึ่งเป็นต้นน้ำของแม่น้ำอิง มวลน้ำดังกล่าวอาจจะทำให้สถานการณ์กลับมารุนแรงอีกครั้งในไม่ช้า

เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำอิง ทางจังหวัดเชียงรายได้จัดการแจกถุงยังชีพและตั้งโรงครัวพระราชทานในหลายพื้นที่ พร้อมทั้งทำความสะอาดบ้านเรือนที่ถูกน้ำท่วม กรมชลประทานเองก็เร่งระบายน้ำจากแม่น้ำอิงลงสู่แม่น้ำโขงอย่างรวดเร็ว เพื่อคลี่คลายปัญหาที่ชาวบ้านประสบอยู่

การรับมอบสิ่งของบริจาคในเชียงราย

ทางด้านเชียงราย สิ่งของบริจาคจากโครงการ “จากใจคนใต้ ถึงใจพี่น้องคนเหนือ” ได้ถูกส่งมอบของบริจาคมายังทางจังหวัดเชียงราย โดยมีนายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย และนายครรชิต ชมภูแดง หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย เป็นผู้รับมอบสิ่งของและจัดสรรไปยังพื้นที่ที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน

นอกจากทางส่วนกลางจังหวัดเชียงรายแล้ว ยังได้รับสิ่งเพิ่มเติมอีกส่วนหนึ่ง มอบให้กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย โดยมีนายกนก อทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายก อบจ.เชียงราย พร้อมด้วยนายวิญญู ทองทัน เลขานุการนายก อบจ.เชียงราย เป็นผู้ดูแลการรับมอบ นอกจากนี้ นางวรินทร ยานะนวล หัวหน้าฝ่ายสงเคราะห์และฟื้นฟูผู้ประสบภัย กองป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมไปถึงนายจิราวุฒิ แก้วเขื่อน ที่ปรึกษานายก อบจ.เชียงราย และเจ้าหน้าที่การกองป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ร่วมกันประสานงานเพื่อส่งมอบของบริจาคไปยังพื้นที่ประสบภัยที่ยังต้องการความช่วยเหลือ

การร่วมแรงร่วมใจจากทุกภาคส่วน

กิจกรรมในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงานและภาคส่วนในจังหวัดเชียงราย ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์เชียงราย และกำลังพลจาก มณฑลทหารบกที่ 37 (มทบ.37) ทุกฝ่ายได้ร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ทั้งการแจกจ่ายถุงยังชีพ การจัดตั้งโรงครัวพระราชทาน และการประสานงานกับกรมชลประทานในการเร่งระบายน้ำเพื่อลดระดับน้ำท่วมในพื้นที่

การตอบสนองต่อวิกฤตน้ำท่วมในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือของคนไทยจากทุกภูมิภาค พี่น้องคนใต้ที่ร่วมบริจาคสิ่งของเพื่อช่วยเหลือพี่น้องภาคเหนือ และหน่วยงานต่างๆ ที่ทำงานอย่างเต็มที่เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ โครงการ “จากใจคนใต้ ถึงใจพี่น้องคนเหนือ” นับเป็นตัวอย่างที่ดีของความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนไทยในการเผชิญกับภัยพิบัติ

ขอขอบคุณพี่น้องคนใต้

ทางสำนักข่าว นครเชียงรายนิวส์ ในฐานะสื่อท้องถื่นในการประสานงานโครงการ ขอขอบคุณพี่น้องชาวใต้ที่ได้ร่วมบริจาคสิ่งของเพื่อช่วยเหลือพี่น้องภาคเหนือในครั้งนี้ โดยหวังว่าความร่วมมือเช่นนี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้คนไทยทั่วประเทศร่วมแรงร่วมใจกันในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในยามวิกฤต

โครงการ “จากใจคนใต้ ถึงใจพี่น้องคนเหนือ” จึงแสดงให้เห็นถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนไทยในการเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นจากภาคใต้หรือภาคเหนือ ล้วนมีส่วนช่วยให้การช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบภัยเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ ในภาวะที่ประเทศต้องเผชิญกับภัยพิบัติ ความสามัคคีจะทำให้เราสามารถผ่านพ้นวิกฤตไปได้อย่างเข้มแข็ง

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News