Categories
SOCIETY & POLITICS

กระทรวงยุติธรรม เปิดสถาบันพัฒนาสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นทางการ

กระทรวงยุติธรรม เปิดสถาบันพัฒนาสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นทางการ

Facebook
Twitter
Email
Print

  ในวันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม 2566 เวลา 10.00 น. นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดสถาบันพัฒนาสิทธิมนุษยชน โดยมี นางพงษ์สวาท กายอรุณสุทธิ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม H.E.Mr. Jon Astrom Grondahl เอกอัครราชทูตสวีเดนประจำประเทศไทย นายเรืองศักดิ์ สุวารี อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ นางทัศนีย์ เปาอินทร์ อธิบดีกรมบังคับคดี พันตำรวจโท วรรณพงษ์ คชรักษ์ อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน นายไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านสิทธิมนุษยชน เข้าร่วมฯ ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร


          ในการนี้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “สถาบันพัฒนาสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคมไทย” โดยกล่าวใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า “สถาบันนี้จะทำหน้าที่ 4 ประการ คือ 

1. Reseach วิจัยในเรื่องสิทธิมนุษยชน 

2. Educate คือให้ความรู้เป็นการศึกษา 

3. Acadamic support คือ ให้การสนับสนุนทางวิชาการแก่กระบวนการสิทธิมนุษยชนทั้งหลาย และ 

4. Liaison office คือ หน่วยงานกลางที่จะประสานงานกับหน่วยงานทั้งหลายในเรื่องสิทธิมนุษยชนที่มีอยู่ในประเทศไทย รวมตัวย่อทั้งหมดคือ REAL แปลว่าความเป็นจริง ผมอยากเห็นสถาบันพัฒนาสิทธิมนุษยชนเป็น REAL เป็นความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคมไทย การที่จะทำบทบาทภารกิจ 4 ประการนี้สถาบันฯ จะเน้นไปในเรื่องการให้ความรู้ ให้การศึกษาอบรม จะเปิดหลักสูตรนักบริหารด้านสิทธิมนุษยชนระดับต้น นักบริหารด้านสิทธิมนุษยชนระดับกลาง และ นักบริหารด้านสิทธิมนุษยชนระดับสูง โดยจะเชิญข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานต่างๆ เข้ารับการฝึกอบรม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทำวิจัย ท่านจะได้รับรู้และนำไปประยุกต์ใช้ในงานของท่านได้ และผมเชื่อว่าถ้าสังคมไทยเดินไปในทิศทางนี้เราจะตระหนักในความสำคัญของสิทธิมนุษยชนมากยิ่งขึ้น และเราจะหวงแหน ป้องกัน ระงับยับยั้งไม่ให้มีการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งก็คือสิทธิของเราในฐานะที่เป็นมนุษย์” 


          พร้อมกันนี้ได้มอบรางวัลให้แก่ผู้ชนะการประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ และเข็มวิทยฐานะสถาบันพัฒนาสิทธิมนุษยชน และเยี่ยมชมบูธของหน่วยงานต่างๆ ที่จัดแสดงภายในงาน

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงยุติธรรม

 
Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
NEWS UPDATE
Categories
CULTURE

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ปีพุทธศักราช 2566

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ปีพุทธศักราช 2566

Facebook
Twitter
Email
Print

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ปีพุทธศักราช 2566 พระยาแรกนาได้เสี่ยงทายหยิบผ้าได้ 5 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำในปีนี้จะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้าในนา จะได้ผลบริบูรณ์ และผลาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี และพระโคกินหญ้าและเหล้า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี การคมนาคมสะดวกขึ้น การค้าขายกับต่างประเทศดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง 

 
          วันพุธที่ 17 พฤษภาคม 2566 เวลาประมาณ 08.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต มายังพลับพลาที่ประทับเพื่อเป็นองค์ประธานในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ปีพุทธศักราช 2566 ณ บริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวง
 
             พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประกอบด้วยพระราชพิธี 2 พิธีรวมกัน คือ พระราชพิธีพืชมงคล 
อันเป็นพิธีสงฆ์ ซึ่งเป็นการประกอบพระราชพิธีวันแรกที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง             ในวันอังคารที่ 16 พฤษภาคม 2566 เป็นพิธีทำขวัญพืชพันธุ์ธัญญาหารที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอธิษฐาน 
เพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ (วันไถหว่าน)    อันเป็นพิธีพราหมณ์ โดยประกอบพระราชพิธีในวันพุธที่ 17 พฤษภาคม 2566 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง 
พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพิธีการซึ่งกระทำขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคลและส่งเสริมบำรุงขวัญเกษตรกร เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการเพาะปลูก กำหนดจัดขึ้นในราวเดือนหกของทุกปี หรือเดือนพฤษภาคมที่มีฤกษ์ยามที่เหมาะสม    ต้องตามประเพณี ซึ่งเป็นระยะที่เหมาะสมที่จะเริ่มต้นการทำนาอันเป็นอาชีพหลักของประชาชนคนไทย 
 
           การจัดพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในปีนี้ ฤกษ์การไถหว่านอยู่ระหว่างช่วงเวลา 08.09 – 08.39 น. ผู้ทำหน้าที่ พระยาแรกนา คือ นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เทพีคู่หาบทอง ได้แก่ นางสาวดวงพร งามประดิษฐ์ นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ กรมวิชาการเกษตร และนางสาวชลธิชา ทองอ่อน นายสัตวแพทย์ชำนาญการ กรมปศุสัตว์ เทพีคู่หาบเงิน ได้แก่ นางสาวปนัดดา เปี่ยมมอญ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนางสาวภัทรปภา มินรินทร์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ กรมส่งเสริมการเกษตร ผู้เชิญเครื่องอิสริยยศ จำนวน 4 ราย และคู่เคียงในกระบวนแห่อิสริยยศพระยาแรกนา จำนวน 16 ราย ส่วนพระโคแรกนา ได้แก่ พระโคพอ และพระโคเพียง  
 
         สำหรับผลการพยากรณ์ถึงความสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารของประเทศ นายอภัย สุทธิสังข์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่ถวายรายงานการพยากรณ์ ผลการเสี่ยงทายผ้านุ่งแต่งกาย และพระโคกินเลี้ยง ในปี พ.ศ.2566 นี้ พระยาแรกนาได้ตั้งสัตยาธิษฐาน หยิบได้ผ้านุ่ง 5 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำในปีนี้จะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้าในนา จะได้ผลบริบูรณ์ และผลาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี 
 
ผลการเสี่ยงทายของกิน 7 สิ่ง ที่ตั้งเลี้ยงพระโค พระโคกินหญ้าและเหล้า ซึ่งผลเสี่ยงทายกล่าวว่า ถ้าพระโคกินหญ้า พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี และพระโคกินเหล้า พยากรณ์ว่า การคมนาคมสะดวกขึ้น การค้าขายกับต่างประเทศดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง 
 
           ในโอกาสเดียวกันนี้ ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน เกษตรกรและบุคคลทางการเกษตรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2565 จำนวน 3 ราย และเกษตรกร สถาบันเกษตรกร สหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ และปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจำปี 2566 จำนวน 33 ราย รวม 35 ราย ได้รับพระราชทานโล่เกียรติคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนี้ 
 
           ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน เกษตรกรและบุคคลทางการเกษตรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2565 จำนวน 3 ราย ที่เข้ารับโล่พระราชทานฯ ในปี พ.ศ. 2566 คือ 
1) ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรผู้ทรงภูมิปัญญาและมีคุณูปการต่อภาคการเกษตรไทย  
ได้แก่ นายอเนก สีเขียวสด จังหวัดอ่างทอง  
 2) เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ อาชีพเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ นายเกรียงศักดิ์ เสรีรัตน์ยืนยง จังหวัดยะลา  
 3) เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ อาชีพทำสวน ได้แก่ นายวีรวัฒน์ จีรวงส์ จังหวัดชุมพร  
 เกษตรกรและบุคคลทางการเกษตรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2566 จำนวน 16 ราย คือ 
1) อาชีพทำนา ได้แก่ นายพิชัย โสทะ จังหวัดนครสวรรค์ 
2) อาชีพทำสวน ได้แก่ นายจักรินทร์ โพธิ์พรม จังหวัดอุดรธานี  
3) อาชีพทำไร่ ได้แก่ นายชาญชัย ธนะกมลประดิษฐ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  
4) อาชีพไร่นาสวนผสม ได้แก่ นางสาวพนมรัตน์ รักเหล็ก จังหวัดสุราษฎร์ธานี  
5) อาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ได้แก่ นางเงินเหรียญ โสมนาม จังหวัดสกลนคร  
6) อาชีพเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ นายวุฒิศักดิ์ พรมแก้ว จังหวัดพังงา  
7) อาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ได้แก่ นายธนันชัย  เอกเผ่าพันธุ์ จังหวัดนครปฐม  
8) อาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกร่อย ได้แก่ นายสุชาติ ศรีประสม จังหวัดชลบุรี  
9) อาชีพเพาะเลี้ยงปลาสวยงามและพรรณไม้น้ำ ได้แก่ นายปกรณ์ วงศ์มโนพฌิช จังหวัดราชบุรี  
10) อาชีพปลูกสวนป่า ได้แก่ นายมนรัตน์ วิวิธธนากร จังหวัดปทุมธานี  
11) สาขาบัญชีฟาร์ม ได้แก่ นางบรรจง แสนยะมูล จังหวัดมหาสารคาม  
12) สาขาการพัฒนาที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้แก่ นายคำภีร์ หงษ์คำ จังหวัดเพชรบูรณ์  
13) สาขาการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช ได้แก่ นายสายชล จันทร์วิไร จังหวัดสุโขทัย  
14) สาขาเกษตรอินทรีย์ ได้แก่ นายธนิต สมแก้ว จังหวัดพัทลุง  
15) ที่ปรึกษายุวชนเกษตรกร ได้แก่ นางสาวสถาพร ตะวันขึ้น จังหวัดสมุทรสงคราม  
16) สมาชิกกลุ่มยุวชนเกษตรกร ได้แก่ นางสาวจิราพัชร คุ้มกุดขมิ้น จังหวัดชัยภูมิ 
 
  สถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2566 จำนวน 12 กลุ่ม คือ  
1) กลุ่มเกษตรกรทำสวน ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรทำนาบ้านร้องประดู่จังหวัดอุตรดิตถ์  
2) กลุ่มเกษตรกรทำสวน ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรสวนยาง ตำบลกันทรอม จังหวัดศรีสะเกษ  
3) กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ – แกะ จังหวัดแพร่  
4) กลุ่มเกษตรกรทำประมง หรือกลุ่มเกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรประมงพื้นบ้านปากพูน จังหวัดนครศรีธรรมราช  
5) กลุ่มเกษตรกรแปรรูปสัตว์น้ำ ได้แก่ วิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรสว่างวีระวงศ์จังหวัดอุบลราชธานี  
6) กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านนากอ จังหวัดนราธิวาส  
7) กลุ่มยุวเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนโนนกอกวิทยา จังหวัดชัยภูมิ  
8) กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านแฝก – โนนสำราญ  จังหวัดนครราชสีมา  
9) สถาบันเกษตรกรผู้ใช้น้ำชลประทาน ได้แก่ กลุ่มบริหารการใช้น้ำบางทรายนวล จังหวัดสุราษฎร์ธานี  
10) ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ประเภทข้าวหอมมะลิ ได้แก่ ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านมะยาง จังหวัดศรีสะเกษ  
11) ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ประเภท ข้าวอื่น ๆ ได้แก่ ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านบึงคล้าย – ชัยพัฒนา จังหวัดพิษณุโลก  
12) วิสาหกิจชุมชน ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชน ตำบลไร่มะขามจังหวัดเพชรบุรี 
สหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2566 จำนวน 3 สหกรณ์ คือ  
1) สหกรณ์การเกษตร ได้แก่ สหกรณ์การเกษตรด่านมะขามเตี้ย จำกัด จังหวัดกาญจนบุรี  
2) สหกรณ์ออมทรัพย์ ได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์ กรมการพัฒนาชุมชน จำกัด กรุงเทพมหานคร  
3) สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ได้แก่ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ศูนย์กลางละอาย จำกัด จังหวัดนครศรีธรรมราช 
ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจำปี 2566 จำนวน 2 สาขา คือ  
1) สาขาปราชญ์เศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ นายเมธี บุญรักษ์ จังหวัดนราธิวาส  
2) สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น ได้แก่ นายวีรวัฒน์ จีรวงส์ จังหวัดชุมพร

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : thaigov

 
Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
FEATURED NEWS NEWS

กรมธนารักษ์เปิดจ่ายแลกเหรียญกษาปณ์ ที่ระลึก 90 ปี กรมธนารักษ์

กรมธนารักษ์เปิดจ่ายแลกเหรียญกษาปณ์ ที่ระลึก 90 ปี กรมธนารักษ์

Facebook
Twitter
Email
Print

กรมธนารักษ์จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 90 ปี กรมธนารักษ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และเผยแพร่พระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวให้แผ่ไพศาลไปทั้งภายในประเทศประเทศ และเป็นที่ระลึก

กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 90 ปี กรมธนารักษ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และเผยแพร่พระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร  มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวให้แผ่ไพศาลไปทั้งภายในประเทศและนานาประเทศ และเป็นที่ระลึก รวมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ภารกิจของกรมธนารักษ์ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายทั่วไป
    
วันนี้ (18 พฤษภาคม 2566) ณ กรมธนารักษ์ นายจำเริญ โพธิยอด อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า เนื่องในโอกาสครบ 90 ปี กรมธนารักษ์ ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2566 กระทรวงการคลังได้อนุมัติให้กรมธนารักษ์จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 90 ปี กรมธนารักษ์ โดยจัดทำ จำนวน 2 ประเภท ดังนี้
• เหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล) ชนิดราคา 20 บาท ประเภทขัดเงา ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 15 กรัม จำนวนผลิตไม่เกิน 100,000 เหรียญ ราคาจำหน่ายเหรียญละ 200 บาท พร้อมตลับ ใบรับรองและกล่อง
• เหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล) ชนิดราคา 20 บาท ประเภทธรรมดา ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 15 กรัม จำนวนผลิตไม่เกิน 1,000,000 เหรียญ ราคาจ่ายแลกเหรียญละ 20 บาท พร้อมตลับ

โดยมีลวดลายของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกในโอกาสดังกล่าว ดังนี้
ด้านหน้า กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉลองพระองค์ชุดสากล ทรงประดับเหรียญที่ระลึกในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ภายในวงขอบเหรียญเบื้องล่าง       มีข้อความว่า “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว”
ด้านหลัง กลางเหรียญมีรูปเครื่องหมายราชการของกรมธนารักษ์ ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า “๙๐ ปี กรมธนารักษ์ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๖” เบื้องล่างมีข้อความบอกราคาว่า “๒๐ บาท” และข้อความว่า “ประเทศไทย” โดยมีลายไทยประดิษฐ์คั่นระหว่างข้อความเบื้องบนกับเบื้องล่างทั้งสองข้าง

ผู้ที่ประสงค์จะขอแลกเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกดังกล่าว สามารถติดต่อขอแลกได้ตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2566 เป็นต้นไป ตามช่องทางดังนี้
ส่วนกลาง
• กองบริหารเงินตรา ถนนพหลโยธิน จังหวัดปทุมธานี โทร. 0 2565 7944
• หน่วยรับและจ่ายแลกเหรียญกษาปณ์ ถนนจักรพงษ์ กรุงเทพมหานคร โทร. 0 2282 4109
• หน่วยจ่ายแลกเหรียญกษาปณ์ ถนนพระรามที่ 6 กรุงเทพมหานคร โทร. 0 2618 6340
ส่วนภูมิภาค
• สำนักงานธนารักษ์พื้นที่ทั่วประเทศ
ช่องทางออนไลน์
• www.treasury.go.th (บริการออนไลน์ระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ด้านเหรียญ) โดยการสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ ผู้สั่งซื้อเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการจัดส่งทั้งนี้

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กองบริหารเงินตรา โทร. 0 2565 7944 และ Call Center กรมธนารักษ์ โทร. 0 2059 4999

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กรมธนารักษ์

 
Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

ศอ.จอส.พระราชทาน มทบ.37 ร่วมกิจกรรม ทำฝายชะลอน้ำ(ฝายแอ่ง) อ.แม่สรวย

ศอ.จอส.พระราชทาน มทบ.37 ร่วมกิจกรรม ทำฝายชะลอน้ำ(ฝายแอ่ง) อ.แม่สรวย

Facebook
Twitter
Email
Print
วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม 2566 เวลา 09.30 น. ร.ท.โสภณ อุสาใจ ผช.สด.อ.แม่สรวย นำกำลังพลจิตอาสาพระราชทาน มทบ.37 ร่วมกิจกรรม จิตอาสาพัฒนา “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” ทำฝายชะลอน้ำ(ฝายแอ่ง) โดยมี ส่วนราชการ และประชาชนจิตอาสาในพื้นที่ ร่วมกิจกรรมประมาณ 100 คน ณ บ.ผาต้าย ม.20 ต.ท่าก๊อ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

มทบ.37 จัดกำลังพลสนับสนุนศูนย์การเรียนรู้ รร.บ้านแซววิทยาคม อ.เชียงแสน

มทบ.37 จัดกำลังพลสนับสนุนศูนย์การเรียนรู้ รร.บ้านแซววิทยาคม อ.เชียงแสน

Facebook
Twitter
Email
Print
วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม 2566 เวลา 08.00-14.00 น. มทบ.37 จัดกำลังพลสนับสนุนศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามโครงการเดินตามรอยเท้าพ่อ สืบสานงานเศรษฐกิจพอเพียง รร.บ้านแซววิทยาคม ต.บ้านแซว อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
 
โดยร.ต.วชิรศักดิ์ ตันชัยสิริมณีกุล หัวหน้าชุดประสานงานและคุ้มครองป้องกันชุมชน สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง ตามพระราชดำริ บ.ห้วยหยวกป่าโซ ต.แม่สลองใน อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย จัดกำลังพล ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อ.แม่ฟ้าหลวงฯ และ อสม. ในพื้นที่ ออกปฏิบัติงานการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำดื่มในครัวเรือนและชุมชน ตามโครงการพระราชดำริและเฉลิมพระเกียรติโครงการรักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดิน เพื่อลดการเจ็บป่วยจากโรคที่เกิดจากน้ำเป็นสื่อและโรคที่เกิดจากการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ได้ดำเนินสุ่มตรวจและการเก็บตัวอย่าง น้ำบริโภค จำนวน 36 ตัวอย่าง หมู่บ้านในพื้นที่โครงการ ณ บ.ห้วยหยวกป่าโซ ต.แม่สลองใน อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

มทบ.37 เชียงราย ร่วมปฏิบัติงานเฝ้าระวังคุณภาพ น้ำดื่มในครัวเรือนและชุมชน อ.แม่ฟ้าหลวง

มทบ.37 เชียงราย ร่วมปฏิบัติงานเฝ้าระวังคุณภาพ น้ำดื่มในครัวเรือนและชุมชน อ.แม่ฟ้าหลวง

Facebook
Twitter
Email
Print
วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม 2566 เวลา 11.00 น. มทบ.37 จัดกำลังพล ร่วมออกปฏิบัติงานการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำดื่มในครัวเรือนและชุมชน ตามโครงการพระราชดำริและเฉลิมพระเกียรติโครงการรักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดิน ณ บ.ห้วยหยวกป่าโซ ต.แม่สลองใน อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
โดยร.ต.วชิรศักดิ์ ตันชัยสิริมณีกุล หัวหน้าชุดประสานงานและคุ้มครองป้องกันชุมชน สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง ตามพระราชดำริ บ.ห้วยหยวกป่าโซ ต.แม่สลองใน อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย จัดกำลังพล ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อ.แม่ฟ้าหลวงฯ และ อสม. ในพื้นที่ ออกปฏิบัติงานการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำดื่มในครัวเรือนและชุมชน ตามโครงการพระราชดำริและเฉลิมพระเกียรติโครงการรักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดิน เพื่อลดการเจ็บป่วยจากโรคที่เกิดจากน้ำเป็นสื่อและโรคที่เกิดจากการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ได้ดำเนินสุ่มตรวจและการเก็บตัวอย่าง น้ำบริโภค จำนวน 36 ตัวอย่าง หมู่บ้านในพื้นที่โครงการ ณ บ.ห้วยหยวกป่าโซ ต.แม่สลองใน อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
CULTURE

โครงการกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น

โครงการกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น

Facebook
Twitter
Email
Print
วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม 2566 เวลา 09.00 น.(โครงการกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น)
 
จังหวัดเชียงราย โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง จัดโครงการกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น และจัดทำฐานข้อมูลชุมชน กลุ่มชาติพันธุ์ระดับตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมีนายบรรจง ขุนเพชร นายอำเภอเวียงป่าเป้า เป็นประธานเปิดกิจกรรมฯ, นายสราวุธ ชัยนาม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง กล่าวต้อนรับ, นางพัชรนันท์ แก้วจินดา ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ปฏิบัติราชการแทนวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย กล่าวรายงาน พร้อมด้วยประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอ ประธานสภาวัฒนธรรมตำบล ผู้นำชุมชน ผู้แทนชุมชนหมู่บ้านในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
 
เพื่อสร้างการรับรู้และลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น ในการจัดทำฐานข้อมูลชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ระดับตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ภายใต้โครงการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ต่อไป
 
ในการนี้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย โดยนายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้นางพัชรนันท์ แก้วจินดา ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม พร้อมข้าราชการ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย จัดกิจกรรมดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย

พัชรนันท์ แก้วจินดา, ยุทธนา สุทธสม : รายงาน 
วิชชากรณ์ กาศโอสถ : ภาพ 
อภิชาต กันธิยะเขียว : บรรณาธิการข่าว
Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
CULTURE

สืบสานบูชาเสาสะดือเมือง ประเพณีเดือน 8 เข้า เดือน 9 ออก ใส่ขันดอกเสาสะดือเมืองเชียงราย

สืบสานบูชาเสาสะดือเมือง ประเพณีเดือน 8 เข้า เดือน 9 ออก ใส่ขันดอกเสาสะดือเมืองเชียงราย

Facebook
Twitter
Email
Print
เมื่อวันพุธที่ 17 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา  จังหวัดเชียงราย จัดงานประเพณีเดือน 8 เข้า เดือน 9 ออก ใส่ขันดอกเสาสะดือเมืองเชียงราย ณ วัดกลางเวียง ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย โดยมี นางภัทราวดี สุทธิธนกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานเชิญขันหลวงเข้าหลักเมือง พร้อมด้วย พล.ต.ประพัฒน์ พบสุวรรณ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 37 นางสุภาเพ็ญ ศิริมาตย์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดเชียงราย และประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงราย นางอุบลรัตน์ พ่วงภิญโญ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดเชียงราย นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย นางสาวนันทวรรณ กันคำ ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย นางวรางคณา อุ่นบ้าน ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงราย หัวหน้าส่วนราชการ พุทธศาสนิกชน เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว
 
งานประเพณีเดือน 8 เข้า เดือน 9 ออก ใส่ขันดอกเสาสะดือเมืองเชียงราย เป็นการฟื้นฟูประเพณีท้องถิ่น และรักษาวัฒนธรรมอันดีงามให้คงอยู่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม โดยจะจัดในช่วงปลายเดือน 8 ต้นเดือน 9 (เดือนทางเหนือล้านนา) ตรงกับแรม ๑๓ ค่ำ เดือน 8 ไปถึงขึ้น 4 ค่ำ เดือน 9 รวม 7 วัน มีตำนานความเชื่อว่าเป็นเสาที่พระอินทร์ลงมาปัก แต่เดิมพื้นที่แถบล้านนาเป็นที่อยู่อาศัยของชาวลัวะ ได้เกิดอาเพศบ้านเมืองวิปริตแปรปรวนเป็นโรคห่าล้มตายจำนวนมาก จึงได้พากันถือศีลวิงวอนเทพ เทวาอารักษ์ ในตำนานกล่าวว่าพระอินทร์ลงมาฝังหลักอินทขีลหรือฝังหลักเมืองไว้ ขอให้หลักนี้นำมาซึ่งความร่วมเย็นเป็นสุข ใครปรารถนาสิ่งใดให้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ โดยกำหนดจัดในระหว่างวันที่ 17 – 23 พฤษภาคม 2566
 
งานประเพณีมีกิจกรรมที่น่าสนใจได้แก่
1) พิธีบอกกล่าวประตูเมืองเชียงราย 12 ประตู พิธีอัญเชิญน้ำศักดิ์สิทธิ์ พิธีอัญเชิญพระอุปคุต พิธีการเข้าหลักเมือง และขบวนแห่พระเจ้าฝนแสนห่า โดยเคลื่อนขบวนผ่านถนนธนาลัย สู่วัดกลางเวียง
 
2) กิจกรรม Workshop การเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องสักการะล้านนา การทำสวยดอกไม้ การทำต้นผึ้ง ของเด็กนักเรียนและครูจากโรงเรียนเชียงรายวิทยาคม รวมจำนวน 22 คน รวมทั้งนักเรียนและครูที่เข้าร่วมกิจกรรมได้นำเครื่องสักการะ (ต้นผึ้ง) และสวยดอกไม้ที่ทำเสร็จแล้วถวายสักการะเสาสะดือเมืองเชียงราย โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย จัดให้มีเกียรติบัตรมอบให้กับนักเรียนและครูที่เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว
 
3) การออกร้านเครือข่ายทางวัฒนธรรม “กาดก้อมกินลำ”
 
4) การแสดงการขับซอจากศิลปินจ่างซอ (อินโฟกราฟิกการแสดง https://shorturl.asia/DNbBI )
 
5) การแสดงศิลปะ การฟ้อน และการแสดงดนตรีพื้นเมือง จากช่างฟ้อน และผู้สนใจ โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย จัดให้มีเกียรติบัตรมอบให้กับผู้ร่วมแสดงในครั้งนี้

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย

พัชรนันท์ แก้วจินดา, สายรุ้ง สันทะบุตร : รายงาน 
อภิชาต กันธิยะเขียว : บรรณาธิการข่าว 
Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

อบจ.เชียงรายร่วมพมจ.เชียงราย เพิ่มศักยภาพช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมในทุกด้าน”

อบจ.เชียงรายร่วมพมจ.เชียงราย เพิ่มศักยภาพช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมในทุกด้าน”

Facebook
Twitter
Email
Print
วันที่ 18 พฤษภาคม 2566 เวลา 10.00 น. อบจ.เชียงราย ร่วมกับสำนักงาน พมจ.เชียงราย จัดโครงการสร้างเครือข่าย อพม. เพิ่มศักยภาพการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมในทุกด้าน โดยนางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้นางทรงศรี คมขำ รองนายกองค์การบริหารส่งนจังหวัดเชียงราย เป็นปะธานเปิดโครงการเสริมสร้างเครือข่ายอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงราย รุ่นที่ 6 ตำบลเทอดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง ณ หอประชุมสนามกลาง ตำบลเทอดไทย
.
การดำเนินโครงการเสริมสร้างเครือข่ายอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงราย เป็นการบูรณาการร่วมกันระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงราย และชมรมอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงราย โดยได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงราย (อพม.) เป็นกลุ่มจิตอาสาที่สมัครใจเข้ามาทำงานช่วยเหลือสังคมโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน โดยมีทบาทหน้าที่ในการชี้เป้าเฝ้าระวังปัญหาทางสังคมในพื้นที่ ให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ประสบปัญหาทางสังคม ให้คำปรึกษาเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิสวัสดิการทางสังคม และประสานส่งต่อการช่วยเหลือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบันจำนวนอาสาสมัครฯ ยังไม่ครบทุกหมู่บ้าน ทุกชุมชน ประกอบกับอาสาสมัครที่ได้รับการแต่งตั้งขาดการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างเครือข่ายอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงรายขึ้น เพื่อสร้างเครือข่ายอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงราย พร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครฯ และให้ผู้ประสบปัญหาทางสังคมในพื้นที่ได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้น ให้เข้าถึงบริการของรัฐอย่างทั่วถึงต่อไป

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : อบจ.เชียงราย

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE
Categories
HEALTH SOCIAL & LIFESTYLE

ข่าวปลอม ! เถารางจืด รากต้นแก้วและเปลือกแตงโมแห้ง นำมาต้มน้ำช่วยโรคไตอักเสบได้

เถารางจืด รากต้นแก้วและเปลือกแตงโมแห้ง นำมาต้มน้ำช่วยโรคไตอักเสบได้ **ไม่เป็นความจริง**

Facebook
Twitter
Email
Print

วันที่ 18 พฤษภาคม 2566  ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยข่าวปลอม อย่าแชร์! เถารางจืด รากต้นแก้วและเปลือกแตงโมแห้ง นำมาต้มน้ำช่วยโรคไตอักเสบได้ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข

ตามที่มีคำแนะนำด้านสุขภาพเกี่ยวกับเรื่องเถารางจืด รากต้นแก้วและเปลือกแตงโมแห้ง นำมาต้มน้ำช่วยโรคไตอักเสบได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

กรณีที่มีผู้โพสต์ข้อมูลแนะนำว่า เถารางจืด รากต้นแก้วและเปลือกแตงโมแห้ง นำมาต้มน้ำช่วยโรคไตอักเสบได้ ทางกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า พืชทั้ง 3 ชนิดดังกล่าวไม่พบในงานวิจัยที่เป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ว่า สามารถรักษาไตอักเสบให้หายขาดได้ ทั้งนี้ กรณีผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว คือ โรคไต ไม่ควรไปซื้อหาสมุนไพรมารับประทานเอง เพราะอาจเกิดผลเสียทำให้ไตมีการทำงานเลวลงกว่าเดิม และการใช้สมุนไพรจะต้องอยู่ในการควบคุมของแพทย์ผู้รักษา หรือปรึกษาแพทย์แผนไทยและเภสัชกรก่อนใช้

นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคไตอาจได้รับคำแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหาร ซึ่งช่วยในการควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ งดอาหารรสเค็ม หรืองดเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของโพแทสเซียมจำนวนมาก

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือประชาชนให้งดแชร์หรือส่งต่อข้อมูลที่เป็นเท็จไปในช่องทางสื่อโซเชียลต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สามารถติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ www.dtam.moph.go.th หรือโทร. 02 5917007

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : พืชทั้ง 3 ชนิดดังกล่าวไม่พบในงานวิจัยที่เป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ว่า สามารถรักษาไตอักสบให้หายขาดได้ ทั้งนี้ กรณีผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว คือ โรคไต ไม่ควรไปซื้อหาสมุนไพรมารับประทานเอง เพราะอาจเกิดผลเสียทำให้ไตมีการทำงานเลวลงกว่าเดิม

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก :  ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย 

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
NEWS UPDATE