Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

รัฐมนตรีช่วยว่าการมหาดไทยเยี่ยมเชียงราย เร่งแก้ไขปัญหาน้ำท่วม

 

เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2567 นางสาวซาบีดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เดินทางมายังศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน ป้องกันและบรรเทาเหตุอุทกภัยและดินโคลนถล่ม ณ เทศบาลนครเชียงราย โดยมี ว่าที่ร้อยตรี ศราวุธ จันทวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย และนายวันชัย จงสุทธานามณี นายกเทศมนตรีนครเชียงราย พร้อมด้วยคณะผู้บริหารเทศบาลนครเชียงราย และเจ้าหน้าที่ส่วนงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันให้การต้อนรับ

การเดินทางครั้งนี้เป็นการติดตามและประเมินสถานการณ์น้ำท่วมในเขตพื้นที่เทศบาลนครเชียงราย ซึ่งได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมใน 52 ชุมชน มีผู้ได้รับความเสียหายมากกว่า 10,000 หลังคาเรือน โดยนางสาวซาบีดา ไทยเศรษฐ์ ได้กล่าวให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ที่ทำงานในการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัย และย้ำให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการฟื้นฟูพื้นที่ให้กลับเข้าสู่สภาวะปกติ

ในที่ประชุม นายวันชัย จงสุทธานามณี ได้รายงานสถานการณ์น้ำท่วมในเขตเทศบาลนครเชียงราย โดยสาเหตุหลักมาจากน้ำในแม่น้ำกกที่ไหลล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน รวมทั้งการไหลย้อนเข้าลำน้ำสาขาและท่อระบายน้ำขนาดใหญ่ในหลายจุด ทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ริมแม่น้ำกกที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด

ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาที่สำคัญคือการจัดการกับดินโคลนที่สะสมอยู่ในบ้านเรือนและท่อระบายน้ำ ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการระบายน้ำออกจากพื้นที่ หากฝนตกซ้ำในช่วงนี้ อาจทำให้เกิดน้ำท่วมซ้ำซากได้ จึงได้ขอความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีอุปกรณ์และรถดูดดินโคลนมาช่วยในการฟื้นฟูพื้นที่ดังกล่าว

นางสาวซาบีดา ไทยเศรษฐ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการช่วยเหลืออย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในด้านการผลิตน้ำประปาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน และในส่วนของการสนับสนุนรถดูดดินโคลน ได้มีการประสานงานกับสำนักงานโยธาธิการและผังเมือง รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้นำเครื่องจักรเข้ามาช่วยดำเนินการ คาดว่าจะสามารถเข้าถึงพื้นที่ได้ในวันศุกร์ที่จะถึงนี้ ซึ่งจะเริ่มดำเนินการดูดดินโคลนออกจากท่อระบายน้ำในเขตเทศบาลนครเชียงรายและจุดที่เกิดปัญหาต่างๆ เพื่อป้องกันการเกิดน้ำท่วมซ้ำอีก

นอกจากนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยยังได้กล่าวให้กำลังใจแก่พี่น้องประชาชน และขอให้ทุกคนร่วมมือกันผ่านพ้นวิกฤตน้ำท่วมในครั้งนี้ไปโดยเร็วที่สุด

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI NEWS UPDATE

ข้อมูลน้ำท่วมเชียงราย 9 -18 ก.ย. 67 เสียชีวิต 14 ราย กระทบแล้ว 53,209 ครัวเรือน

 
ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ฯ รายงานสถานการณ์อุทกภัย และดินถล่ม ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ประจำวันที่ 18 กันยายน 2567
ข้อมูลสะสมระหว่างวันที่ 9 -18 ก.ย. 2567 รวมทั้งสิ้น 9 อำเภอ 35 ตำบล 167 หมู่บ้าน 1 เทศบาลนคร (52 ชุมชน) โดยตลาดชุมชนเศรษฐกิจ ได้รับผลกระทบ 2 แห่ง ร้านค้า/สถานประกอบการ 92 แห่ง ราษฎรได้รับผลกระทบเบื้องต้น 53,209 ครัวเรือน เสียชีวิต 14 ราย บาดเจ็บ 2 ราย พื้นที่เกษตรได้รับผลกระทบ 14,138 ไร่ ปศุสัตว์ได้รับผลกระทบ ได้แก่ โค 894 ตัว กระบือ 141 ตัว สุกร 1 ตัว แพะ/แกะ 25 ตัว สัตว์ปีก 19,500 ตัว สุนัข 145 ตัว และแมว 154 ตัว ด้านสิ่งสาธารณประโยชน์ได้รับผลกระทบ ได้แก่ โรงเรียน จำนวน 31 แห่ง ถนน 7 จุด และคอสะพาน 4 จุด
 
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ผู้อำนวยการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าไปช่วยเหลือ ซึ่งได้เตรียมการมาเป็นอย่างดีทั้งเครื่องมือ อุปกรณ์เครื่องจักรกล ยุทโธปกรณ์ พร้อมกำลังพลในการเข้าไปช่วยเหลือ อย่างเร่งด่วน แต่เนื่องจากเกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง หลายวัน ทำให้วันนี้ (18 กันยายน 2567) ได้เกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะที่ ได้แก่ ได้แก่ อ.เมืองเชียงราย, อ.เชียงแสน, อ.เชียงของ, อ.แม่จัน, อ.แม่ฟ้าหลวง, อ.แม่สาย, อ.ดอยหลวง, อ.เทิง และอ.เวียงแก่น เกิดน้ำท่วมหนักในรอบหลายปี อย่างไรก็ตาม นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจ และเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน หากประชาชนต้องการขอความช่วยเหลือ หรือแจ้งเหตุ แจ้งได้ตลอด 24 ช่วยโมง ที่สายด่วน 1784
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย รายงานสถานที่เกิดเหตุ/ความเสียหาย/การให้ความช่วยเหลือ (เหตุต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 8 ก.ย. 67 และสถานการณ์ในวันนี้ (18 ก.ย. 67) ดังนี้
 
อ.เมืองเชียงราย ภาพรวมสถานการณ์คลี่คลาย ดำเนินการฉีดล้างทำความพื้นที่ที่น้ำลดลงแล้ว ยังคงมีสถานการณ์บางส่วนในพื้นที่ชุมชนป่าแดง ชุมชนฝั่งหมิ่น และชุมชนบ้านใหม่ (เขตเทศบาลนครเชียงราย)
เขตเทศบาลนครเชียงราย พื้นที่ได้รับผลกระทบสะสม 52 ชุมชน เสียชีวิต 1 ราย ปัจจุบัน (วันที่ 18 ก.ย. 67) สถานการณ์คลี่คลาย บางชุมชนมีน้ำผุดท่อเนื่องจากท่อระบายน้ำอุดตัน (ได้แก่ พื้นที่ชุมชนป่าแดง และชุมชนฝั่งหมิ่น) และยังมีน้ำท่วมขังส่งกลิ่นเน่าเหม็นในพื้นที่ชุมชนบ้านใหม่) / เทศบาลนครเชียงรายดำเนินการ Big Cleaning Day จุดที่น้ำลดลงแล้วตั้งแต่วันที่ 14 ก.ย. 67 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน
 
แจ้งปิดใช้สะพานเนื่องจากน้ำท่วมสูง จำนวน 5 จุด/ คลี่คลายแล้วทุกจุด รถสามารถสัญจรผ่านได้ อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหายโครงสร้าง จุดที่ 1 สะพานแม่ฟ้าหลวง (ศาลากลางจังหวัดเชียงราย) เปิดใช้งานทั้งสองเลนส์ ตั้งแต่วันที่ 13 ก.ย. 67 คอสะพานบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยวัยที่ 3 ชุมชนน้ำลัด ขาด ผ่านไม่ได้ จุดที่ 2 สะพานขัวพญาเม็งราย (แยกบ้านใหม่ถึงแยกสถานีตำรวจภูธรเชียงราย) คลี่คลายแล้ว ตั้งแต่วันที่ 14 ก.ย.67จุดที่ 3 สะพานข้ามแม่น้ำกก (แขวงทางหลวงเชียงรายที่ 1 ถึง 5 แยกพ่อขุนเม็งราย) คลี่คลายแล้ว ตั้งแต่วันที่ 14 ก.ย.67 จุดที่ 4 สะพานเฉลิมพระเกียรติ (เส้นทางสนามกีฬากลาง โรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย) คลี่คลายแล้ว ตั้งแต่วันที่ 14 ก.ย.67 จุดที่ 5 สะพานใหม่บ้านหนองด่าน (ฮ่องอ้อ) จากแยกวัดห้วยปลากั้ง ไปทางโรงเรียนสามัคคี 2) คลี่คลายแล้ว ตั้งแต่วันที่ 12 ก.ย. 67
โรงเรียนในเขตเทศบาลนครเชียงรายประกาศหยุดเรียนจนกว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ เบื้องต้น 11 โรงเรียน 1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล 1- 8/ ร.ร.สามัคคีวิทยาคม/ ร.ร.อนุบาลเชียงราย (สันต้นเปา)/ ร.ร.อบจ.เชียงราย และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านใหม่ ความคืบหน้าสถานศึกษาที่เปิดเรียน ดังนี้
 
วันที่ 17 ก.ย. 67 สถานศึกษาที่เปิดเรียน จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ร.ร.สามัคคีวิทยาคม และ ร.ร.อนุบาลเชียงราย (สันต้นเปา) วันที่ 18 ก.ย. 67 สถานศึกษาที่เปิดเรียน จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ร.ร.เทศบาล 3 ศรีทรายมูล และร.ร.เทศบาล 4 สันป่าก่อ วันที่ 19 ก.ย. 67 สถานศึกษาที่เปิดเรียน จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ร.ร. เทศบาล 1 ศรีเกิด และ ร.ร.เทศบาล 5 เด่นห้า วันที่ 20 ก.ย. 67 สถานศึกษาที่เปิดเรียน จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านใหม่, ร.ร.เทศบาล 2 หนองบัว, ร.ร.เทศบาล 7 ฝั่งหมิ่น และ ร.ร.เทศบาล 8 บ้านใหม่
 
การประปาส่วนภูมิภาคสาขาเชียงราย หยุดระบบการผลิตและระบบจ่ายน้ำ (ตั้งแต่วันที่ 11 ก.ย. 67 เวลา 15.59 น.) อำเภอเมืองเชียงรายและอำเภอเวียงชัย ได้รับผลกระทบเต็มพื้นที่
 
– วันที่ 18 ก.ย. 67 เวลา 11.30 น. โรงสูบน้ำแรงดันต่ำ สถานีสูบน้ำวังคำ ประสบปัญหา ความขุ่นน้ำสูงและน้ำท่วมทำให้ตะกอนตกค้างไม่สามารถสูบน้ำผลิตได้ ทีมช่างลงกวนโคลนเพื่อให้กลายเป็นเลนเพื่อสูบระบายออกและได้รับการสนับสนุนรถดูดโคลนจิตอาสาและบุคลากรจาก อบจ.เชียงราย ปฏิบัติการดูดตะกอนตกค้าง/ เวลา 16.00 น. สามารถเดินเครื่องสูบน้ำ ผลิตน้ำได้อย่างต่อเนื่อง จ่ายน้ำอำเภอเวียงชัยเกือบเต็มระบบ (ขยายการผลิตถึง ร.ร.บ้านเวียงชัย และบ้านไชยนารายณ์ ซอย 2) และโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ศรีบุรินทร์ ต.สันทราย อ.เมืองเชียงราย พร้อมนี้ กปภ.สาขาเชียงราย จัดรถบริการน้ำแจกจ่ายควบคู่กับการระบายน้ำ จำนวน 6 คัน (ให้บริการตั้งแต่วันที่ 17 ก.ย.67 เป็นต้นมา) จุดบริการ ดังนี้
– รถน้ำ สาขาพะเยา ให้บริการ รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ อ.เมืองเชียงราย
– รถน้ำ สาขาเชียงราย ให้บริการ รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ อ.เมืองเชียงราย
– รถน้ำ สาขาลำปาง ให้บริการ รพ.โรงพยาบาลสมเด็จพระญาณสังวร อ.เวียงชัย
– รถน้ำเขต 10 คันที่ 1 ให้บริการจุดจ่ายน้ำ โครงการ A-star ต.ท่าสุด อ.เมืองเชียงราย
– รถน้ำเขต 10 คันที่ 2 ให้บริการจุดจ่ายน้ำ 7-11 ต.ท่าสาย อ.เมืองเชียงราย
– รถน้ำเขต 10 คันที่ 3 ให้บริการบริเวณมูลนิธิแสงธรรมสาธารณกุศลเชียงราย สำนักงานใหญ่ (โค้งหนองเหียง ซอย 4 ต.รอบเวียง อ.เมืองเชียงราย)
 
ต.รอบเวียง หมู่ที่ 1 – 5 ลำน้ำกก ลำน้ำกรณ์ และลำน้ำลาว ระดับน้ำได้ล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน และในพื้นที่ของหาดเชียงราย/ สถานการณ์คลี่คลาย ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง
 
ต.ดอยฮาง หมู่ที่ 2,3,4,5,6 ลำน้ำกกล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนและพื้นที่เกษตร บางหมู่บ้าน ถูกตัดขาด ใช้การลำเลียงน้ำและอาหารโดยรถยกสูง และอากาศยาน (หมู่ที่ 6 บ้านเรือนราษฎรถูกน้ำป่าไหลหลากพัดหายไป จำนวน 9 หลัง)
 
ต.แม่ยาว หมู่ที่ 1 -20 ลำน้ำกกล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน เร่งอพยพประชาชนและขนย้ายทรัพย์สินขึ้นที่สูง /สะพานแขวนฮาแหล่จ่ะ (สะพานไม้) ขาด ไม่สามารถสัญจรได้/ บ้านกะเหรี่ยงรวมมิตร บ้านแคววัวดำ บ้านพนาสวรรค์ บ้านผาขวาง และบ้านอาดี่ (บ้านบริวารบ้านผาสุก หมู่ที่ 20) ใช้การลำเลียงน้ำและอาหาร หญิงตั้งครรภ์ และผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยอากาศยาน/ วันที่ 15 ก.ย. 67 ดำเนินการปรับเกลี่ยดินสไลด์เพื่อเปิดใช้เส้นทาง/ วันที่ 16 ก.ย. 67 สามารถใช้รถออฟโรดเข้าพื้นที่ได้ บางจุดต้องใช้จักรยานยนต์วิบากในการลำเลียงน้ำและอาหาร
 
ต.ห้วยชมภู หมู่ที่ 1,4,5,6,10,11,16 น้ำป่าไหลหลากและดินสไลด์ปิดทับเส้นทาง/ บ้านจะคือ หมู่ที่ 10 ใช้การลำเลียงน้ำและอาหาร หญิงตั้งครรภ์ และผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยอากาศยาน เนื่องจากเส้นทางถูกตัดขาดโดยสิ้นเชิง
 
ต.ริมกก หมู่ที่ 1-7 วันที่ 11 ก.ย. 67 น้ำกกล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนของราษฎร/ บ้านเมืองงิม ม.4 พนังกั้นน้ำถูกกัดเซาะ อบต.ริมกก ดำเนินการจัดทำแนวตลิ่งเพื่อกันน้ำไม่ให้ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนของราษฎร พร้อมทั้งอพยพคนออกจากพื้นที่ที่น้ำท่วมสูง วันที่ 12 ก.ย. 67 น้ำเพิ่มระดับสูงขึ้น ไหลเชี่ยวและแรง บางจุดไม่สามารถอพยพประชาชนออกมาได้ ต้องใช้การลำเลียงน้ำและอาหาร โดยใช้โดรน และเจ๊ตสกี / วันที่ 14 ก.ย. 67 สถานการณ์คลี่คลาย ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง ถนนสามารถสัญจรผ่านได้ ภาพรวมสามารถฉีดล้างทำความสะอาดบ้านเรือนได้แล้ว ยังคงท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำบางส่วน
 
ต.บ้านดู่ ม. 1,10,12,15,16,17,20 น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติ
 
ต.แม่ข้าวต้ม ม. 3,4 น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร สถานการณ์คลี่คลายบางส่วน
 
ต.นางแล ม. 1,4,5,6,11,16 น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร สถานการณ์คลี่คลาย
อ.เชียงแสน จำนวน 6 ตำบล 38 หมู่บ้าน โรงเรียน 1 แห่ง พื้นที่เกษตร 14,138 ไร่ ถนน 2 สาย สะพาน 1 จุด คอสะพาน 1 จุด น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร พื้นที่เกษตร และเกิดดินสไลด์ ในพื้นที่ ดังนี้ ต.เวียง ม.1, 2, 3 ,4 ,5 ,6 ,7 ,8 , 9 น้ำล้นตลิ่งและเกิดดินสไลด์บ้านสบรวก ร้านค้า จำนวน 16 ร้าน ต.โยนก ม.1 ,2 ,4 ,6 ,7 ต.บ้านแซว ม.7 ,8 ,10 ,14 ต.ป่าสัก ม.1 ,2, 3, 5, 6 ,7 ,11 ,12, 13 ต.ศรีดอนมูล ม.1, 2 ,3 ,5 ,9 ,10 ,12, 13 และ ต.แม่เงิน ม.1, 5, 10
 
ปิดเส้นทางสัญจร
ปิดเส้นทางสะพานโยนกนาคนคร ม.1 และ ม.4 ต.โยนก เส้นบายพาส เนื่องจากแม่น้ำกกหนุนสูงท่วมปิดเส้นทางไม่สามารถสัญจรได้/ วันที่ 14 ก.ย. 67/ วันที่ 14 ก.ย. 67 สถานการณ์ปกติ สามารถสัญจรผ่านได้
 
ปิดเส้นทางหมายเลข 1290 ตอนแม่สาย – กิ่วกาญจน์ ระหว่าง กม.20+000 – กม.20+500 บ้านเวียงแก้ว ม.5 ต.ศรีดอนมูล – บ้านวังลาว ม.4 ต.เวียง เนื่องจากแม่น้ำรวกล้นตลิ่งท่วมถนน รถทุกชนิดไม่สามารถผ่านได้/ อยู่ระหว่างดำเนินการซ่อมแซม
อ.เชียงของ จำนวน 2 ตำบล 1 หมู่บ้าน
 
ต.เวียง หมู่ที่ 1 แม่น้ำโขงล้นตลิ่งหลากเข้าท่วมพื้นที่บริเวณท่าเรือบั๊ค บริเวณสวนสาธารณะปลาบึก 7 สี และบ้านเรือนราษฎรติดริมฝั่งโขง / ทต.เวียง อพยพประชาชนและขนย้ายทรัพย์สินขึ้นที่สูง เรียบร้อยแล้ว และ ต.ศรีดอนไชย น้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร ได้รับผลกระทบ
 
อ.แม่จัน แม่น้ำจัน-คำ หลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตรเป็นวงกว้าง ในพื้นที่ 7 ตำบล 15 หมู่บ้าน โรงเรียนได้รับผลกระทบ 3 โรงเรียน/ สถานการณ์คลี่คลาย ยังคงค้างในพื้นที่ลุ่มต่ำของตำบลแม่คำ
 
อ.แม่ฟ้าหลวง จำนวน 4 ตำบล 12 หมู่บ้าน (เสียชีวิตจากสะสม 5 ราย เกิดจากน้ำป่าไหลหลาก 1 ราย/ดินสไลด์ 4 ราย) ถนนเสียหาย 4 จุด คอสะพาน 3 จุด โรงเรียนได้รับผลกระทบ 8 โรงเรียน (ดินสไลด์ปิดเส้นทางเข้า-ออก)/ บ้านจะตี ต.เทอดไทย ดินปิดสไลด์เส้นทาง ใช้อากาศยานในการขนส่ง / วันที่ 16 ก.ย. 67 ผช. ผรส. บ้านปูนะ ต.เทอดไทย ร่วมกับชาวบ้านตัดต้นไม้และเคลียร์พื้นที่ดินสไลด์ ใช้แบคโฮเปิดเส้นทาง สามารถใช้รถยนต์และจักรยานยนต์ผ่านได้ ยังต้องใช้ความระมัดระวังบางจุด เนื่องจากยังมีดินสไลด์ลงมาเป็นระยะ ยังดำเนินการกู้ระบบไฟฟ้า ใช้ได้เพียงบางจุด
ต.แม่ฟ้าหลวง ม. 12,16,17
ต.แม่สลองนอก ม.7
ต.แม่สลองใน ม.3,4,5,15
ต.เทอดไทย ม.6,7,15,16
 
วันที่ 17 ก.ย. 67 กองพันสัตว์ต่าง กรมการสัตว์ทหารบก ตั้ง บก.ช่วยเหลือ ตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย. 2567 ณ อบต.แม่ฟ้าหลวง กำลังพล ทหาร 15 นาย อุปกรณ์ ล่อ 3 ตัว ช่วยขนย้ายสิ่งของจำเป็นให้กับผู้ประสบภัย
อ.แม่สาย น้ำท่วมพื้นที่ตลาดสายลมจอย และพื้นที่เศรษฐกิจ จำนวน 4 ตำบล 37 หมู่บ้าน (ชุมชนได้รับผลกระทบรุนแรง ได้แก่ ชุมชนแม่สาย ชุมชนเหมืองแดง ชุมชนเกาะทราย ชุมชนไม้ลุงขน) จำนวน 4 ตำบล โรงเรียนได้รับผลกระทบ 8 โรงเรียน ต.แม่สาย ม.2,3,6,7,8,10 ต.เวียงพางคำ ม.1-10 ต.เกาะช้าง ม. 1-13
ต.ศรีเมืองชุม ม.1-8
 
วันที่ 18 ก.ย. 67 สถานีผลิตน้ำเกาะช้าง จ่ายน้ำในพื้นที่ในโซนถนนเส้นทางหลักของหมู่บ้าน ได้แก่ บ้านสันผักฮี้ บ้านสันทราย บ้านเอื้ออาทร 1 และ 2 บ้านเหมืองแดงใต้ บ้านเหมืองแดง หมู่ 1 และ 2 ทั้งนี้ ได้มีการผันน้ำไปพื้นที่โซนศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน และโรงพยาบาลแม่สาย นอกจากโซนดังกล่าวที่มีการจ่ายน้ำ จะเป็นเพียงการจ่ายน้ำเป็นเวลา กปภ.สาขาแม่สาย จึงขอให้ผู้ใช้น้ำเตรียมการสำรองน้ำไว้ใช้ในเวลาที่น้ำไม่ไหล ทั้งนี้กปภ.สาขาแม่สาย โดยการสนับสนุนของ บริษัท วิค วอเตอร์ จำกัด นำเครื่องผลิตน้ำสะอาดขนาด 3,000 ลิตร/ชั่วโมง หรือ 60,000 ลิตร/วัน เพื่อนำมาผลิตน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภค – บริโภค จากน้ำผิวดินที่มีอยู่ สามารถมารับบริการได้ที่ตำบลเวียงพางคำ (เลยสี่แยกไฟแดงสถานีขนส่งแม่สาย ได้ทุกวัน บริการถึงเวลา 17.00 น.)/ กฟภ.สาขาแม่สาย ดำเนินการจ่ายไฟได้เกือบทั่วพื้นที่ ยกเว้นบางส่วนของบริเวณชุมชนไม้ลุงขน ชุมชนเกาะทราย ตลาดลายลมจอย และบ้านหัวฝาย โดยมีประกาศหยุดจ่ายไฟในวันที่ 21 ก.ย. 67 เพื่อปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้าแรงสูง
 
อ.ดอยหลวง จำนวน 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ต.หนองป่าก่อ หมู่ที่ 8 น้ำกัดเซาะถนนชำรุด ไม่สามารถสัญจรได้ อยู่ระหว่างซ่อมแซม/ 16 ก.ย.67 บ้านที่อยู่ติดถนนถูกน้ำพัดพาได้รับความเสียหาย
 
อ.เทิง จำนวน 3 ตำบล 4 หมู่บ้าน (สถานการณ์คลี่คลาย อยู่ระหว่างการซ่อมแซม) ต.งิ้ว ม.7,18 น้ำล้นออกจากอ่างเก็บน้ำขอนซุง เข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร ต.ปล้อง ม.2 น้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร ต.ตับเต่า ม.8 เสาค้ำสะพานสะพานเบลีย์ชำรุด/ เวลาประมาณ 14.00 น. หมวดทางหลวงเทิง แขวงทางหลวงเชียงรายที่ 2 และศูนย์สร้างและบูรณะสะพานที่ 1 (พิจิตร) เข้ามาดำเนินการซ่อมแซม หากไม่มีมีฝนตกคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2 วัน (วันที่ 16 ก.ย. 67)/ วันที่ 16 ก.ย. 67 ยังคงดำเนินการอยู่ ใกล้แล้วเสร็จ
 
อ.เวียงแก่น จำนวน 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ต.ปอ ม.2 น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย
 
การให้ความช่วยเหลือ
– จังหวัดเชียงราย ได้จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ปี พ.ศ. 2567 เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ในการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย และจัดหาปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีพ ผ่านทางธนาคาร กรุงไทย สาขาเชียงราย เลขที่บัญชี 504-3-23-732-5 ชื่อบัญชี กองทุนช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ปี พ.ศ. 2567 โดยสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 1 เท่า ยอดเงินบริจาค ณ วันที่ 18 ก.ย. 67 เวลา 16.00 น. จำนวน 6,266,907.98 บาท
 
– กองทัพเรือสนับสนุนเรือและยุทโธปกรณ์ เครื่องมือเร่งดำเนินการติดตั้งเคลื่อนย้ายเรือผลักดันน้ำ JET จำนวน 10 ลำ ยกจากเครนวางตามแนวลำน้ำอิง ประสิทธิภาพการไหลได้ วันละ 1 ล้านลูกบาก์เมตร เริ่มดันน้ำได้วันที่11 ก.ย. 67 เวลา 15.00 น. ณ สะพานข้ามแม่น้ำอิง อ.เทิง จ.เชียงราย
 
– สภากาชาดไทย สนับสนุนครัวสนามเคลื่อนที่ 1 คัน จุดตั้งโรงครัว ณ วัดพระสิงห์ ถ.ท่าหลวง ต.เวียง อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย ประกอบเลี้ยงตั้งแต่วันที่ 12 ก.ย. 67 จะประกอบเลี้ยงถึงวันพุธที่ 18 ก.ย. 67 (มื้อกลางวัน)
 
– มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ตั้งครัวพระราชทานช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และ อบจ.เชียงราย สนับสนุนรถครัวประกอบเลี้ยงอาหาร ณ จุดเดียวกัน บริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 (ตะเคียนคู่) ต.สันทราย อ.เมืองเชียงราย ตั้งแต่วันที่ 13 ก.ย. 67 และสนับสนุนถุงยังชีพพระราชทาน จำนวน 3,500 ถุง ถุงยังชีพสำหรับพระภิกษุสงฆ์ 105 ถุง จะประกอบเลี้ยงถึงวันพุธที่ 18 ก.ย. 67 (มื้อกลางวัน)/ วันที่ 19 ก.ย. 67 ดำเนินโครงการ “ฟื้นฟุชุมชน บรรเทาทุกข์ บำรุงสุขให้ยั่งยืน ” โดยมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ณ ที่ว่าการอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยมีบริการสุขภาพกาย สุขภาพจิต จ่ายยาพื้นฐานเบื้องต้น, ให้คำปรึกษาเอกสิทธิ์ของกลุ่มเปราะบาง, Fix it จิตอาสา ซ่อมแซมรถจักรยานยนต์ เครื่องจักรกลการเกษตร เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, แจกจ่ายอุปกรณ์ทำความสะอาด และประกอบอาหาร โรงครัวพระราชทาน
 
– กองทัพเรือ/หน่วยซีล สนับสนุน เรือ 9 ลำ รถบรรทุก 4 คัน ถุงยังชีพ 1,000 ชุด (ของ 918 150 ชุด) กำลังพล 50 นาย
– ฮ.ปภ.32 สนับสนุนภารกิจขนย้ายผู้ประสบภัย ลำเลียงถุงยังชีพและอาหารแห้งส่งมอบให้แก่ผู้ประสบภัย ในพื้นที่ตำบลแม่ยาว อำเภอเมืองเชียงราย จำนวน 2 เที่ยว ถุงยังชีพรวมทั้งสิ้น 150 ชุด จุดจอดสนามกีฬากลางโรงเรียนผาขวางวิทยา ต.แม่ยาว (แจกจ่ายในพื้นที่บ้านพนาสวรรค์ หมู่ที่ 13 และบ้านบริวาร (200 ถุง)/ บ้านออบเสือแหวน หมู่ที่ 15 และบ้านบริวาร (27 ถุง)/ บ้านผาสุข หมู่ที่ 20 และบ้านบริวาร (43 ถุง))
 
– ฮ.กรมฝนหลวงและการบินเกษตร/ฮ.ทอ./ ฮ.ตชด. 327/ ฮ.ทส. เตรียมความพร้อมรอคำสั่ง/ไม่มีภารกิจบิน
– ศูนย์ ปภ.เขต 15 เชียงราย /เขต 1 ปทุมธานี/ เขต 2 สุพรรณบุรี /เขต 3 ปราจีนบุรี/ เขต 4 ประจวบคีรีขันธ์/ เขต 8 กำแพงเพชร /เขต 9 พิษณุโลก /เขต 11 สุราษฎร์ธานี และเขต 16 ชัยนาท สนับสนุนเครื่องจักรกลสาธารณภัยด้านปฏิบัติการ (อุทกภัย) และกำลังพล
 
วันที่ 16 ก.ย. 67 สนับสนุนภารกิจ Big Cleaning Day ในเขตเทศบาลนครเชียงราย / สนับสนุนรถบรรทุกน้ำอเนกประสงค์ขนาด 12,000 ลิตรรับน้ำแจกจ่ายน้ำสะอาดให้แก่โรงพยาบาลและพื้นที่ชุมชนในเขตอำเภอเมืองเชียงราย อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสน และอำเภอเวียงชัย/ ภารกิจวาง Big Bag จุดแนวกระสอบทรายชำรุดบริเวณจุดสะพานมิตรภาพแห่งที่ 1 ไทย – เมียนมา
 
ศูนย์พักพิง ที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวอยู่ ณ วันที่ 18 ก.ย. 67 รวมทั้งสิ้น 13 แห่ง
แบ่งตามขอบเขตการปกครอง ได้แก่ อ.เมืองเชียงราย 4 แห่ง/ อ.แม่สาย 8 แห่ง/ อ.เวียงชัย 1 แห่ง
ศูนย์พักพิงฯ ที่มีทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ เยียวยาจิตใจ แจกจ่ายยาและเวชภัณฑ์ จำนวน 7 แห่ง
ศูนย์พักพิงฯ ในความดูแลของกระทรวง พม. จำนวน 1 แห่ง (ได้แก่ ศูนย์พักพิงบ้านเอื้ออาทรแม่สาย 1 คงค้างพักพิงอยู่ จำนวน 17 คน)
 
รายละเอียดดังนี้
อำเภอเมืองเชียงราย ที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราว จำนวน 4 แห่ง
ในเขตเทศบาลนครเชียงราย ทน.เชียงราย จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวอยู่ ณ ปัจจุบัน จำนวน 2 แห่ง ได้แก่
จุดโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่* มีทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ เยียวยาจิตใจ แจกจ่ายยาและเวชภัณฑ์
 
จุดโรงเรียน อบจ. เชียงราย* มีทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ เยียวยาจิตใจ แจกจ่ายยาและเวชภัณฑ์
ศูนย์พักพิงชั่วคราว ช่วยเหลือผู้ประสบภัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย/ คงค้างจำนวน
18 ครอบครัว 50 คน ปิดศูนย์พักพิงฯ แล้ว ในวันที่ 18 ก.ย. 67
 
ตำบลแม่ยาว ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่ยาว กำกับดูแลโดย ทต.แม่ยาว
ตำบลดอยฮาง วันที่ 16 ก.ย. 67 เวลา 17.00 น. จัดตั้งศูนย์พักพิง ณ บ้านโป่งนาคำ มีผู้พักพิงประมาณ 50 คน มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้นำเต็นท์นอนพระราชทาน ขนาด 2 คน จำนวน 50 หลัง มอบให้แก่ราษฎรผู้ประสบอุทกภัยฯ (**เปิดใหม่**)
 
อำเภอแม่สาย ที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวอยู่ ณ ปัจจุบัน 8 แห่ง รวมทั้งสิ้น 994 คน (โดยเป็นศูนย์พักพิงฯ ที่มีทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการ จำนวน 5 แห่ง, ศูนย์พักพิงในความดูแลของกระทรวง พม. 1 แห่ง )
 
ศูนย์พักพิงเทศบาลตำบลแม่สาย* คงค้างจำนวน 51 ราย (ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.สต.เชียงแสน/ รพ.สต.ฮ่องแฮ่/ รพ.สต.บ้านด้าย)
 
ศูนย์พักพิงวัดพรหมวิหาร* คงค้างจำนวน 327 ราย (ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.แม่สาย, ทีม MCATT, รพ.ดอยหลวง, รพ.ค่ายเม็งรายมหาราช)
 
ศูนย์พักพิงวัดเหมืองแดง* คงค้างจำนวน 162 ราย (ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.พญาเม็งราย, ทีม MCATT จาก รพ.สวนปรุง, รพ.สต.แม่สาย)
ศูนย์พักพิง รพ.สต.เกาะช้าง* คงค้างจำนวน 56 ราย (ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการ
ด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.สต.เกาะช้าง)
 
ศูนย์พักพิงวัดมงคลธรรมกายาราม* คงค้างจำนวน 24 ราย (ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.สต.โป่งงาม และ รพ.สต.บ้านถ้ำ)
ศูนย์พักพิงโบสถ์คริสต์ คงค้างจำนวน 37 คน
ศูนย์พักพิงวัดถ้ำผาจม คงค้างจำนวน 320 คน
 
ศูนย์พักพิงบ้านเอื้ออาทรแม่สาย 1 คงค้างจำนวน 17 คน (ในความดูแลของกระทรวง พม.)
อำเภอเวียงชัย ที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวอยู่ ณ ปัจจุบัน จำนวน 1 แห่ง ศูนย์ศุภนิมิตรเพื่อการพัฒนา ต.เวียงเหนือ อ.เวียงชัย ปรับสภาพเป็นศูนย์พักคอยเนื่องจากประชาชนเริ่มกลับไปทำความสะอาดบ้านเรือนและมานอนที่ศูนย์ฯ ในตอนกลางคืน
 
นพค.31 /นพค.32/นพค.34 สนับสนุนกำลังพล รถครัวสนาม และรถสุขาเคลื่อนที่
มูลนิธิสมาคมกู้ชีพกู้ภัย อาสาสมัคร จิตอาสาภาคประชาชน ร้านค้า/ผู้ประกอบการ สนับสนุนปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย ให้ที่พักพิงชั่วคราว มอบอาหารปรุงสำเร็จ และถุงยังชีพ
 
จิตอาสาราชทัณฑ์ (จอส.รท.) จัดส่งเจ้าหน้าที่และนักโทษเด็ดขาดหรือผู้ต้องกักขังที่ได้รับอนุมัติจ่ายออกทำงานสาธารณะหรือได้รับอนุญาตให้ออกทำงานนอกเรือนจำ สนับสนุนภารกิจครัวสนาม และบรรจุถุงยังชีพ ณ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 15 เชียงราย จำนวน 10 นาย
 
วิทยาลัยอาชีวศึกษาและโรงเรียนในเครือ ดำเนินโครงการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน Fix It Center ตั้งจุดบริการและจัดชุดเคลื่อนที่ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม โดยจะช่วยซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ รวมถึงยานพาหนะที่เสียหาย เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 14 ก.ย. เป็นต้นมา /วันที่ 17 ก.ย. 67
 
รมว.ศึกษาธิการ เน้นย้ำให้ดูแลโรงเรียนก่อนเป็นลำดับแรก / สถานศึกษา สอศ. ที่ร่วมปฏิบัติงานจากทั่วประเทศ ประจำวันที่ 18 ก.ย. 67 จำนวน 43 แห่ง ปฏิบัติงานในพื้นที่ประสบอุทกภัย จ.เชียงราย 18 แห่ง
วันที่ 17 ก.ย. 67 ทภ.3 จัดตั้ง ศบภ.ทภ.3 ส่วนหน้า ณ ที่ว่าการอำเภอแม่สาย เพื่ออำนวยการประสานงานการให้ความช่วยเหลือประชาชนของหน่วยทหารทุกหน่วย ในพื้นที่ อ.แม่สาย
 
อบจ.เชียงราย ดำเนินการดังนี้ เปิดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย อบจ. เชียงราย ณ อาคารคชสาร (สนามกีฬากลาง อบจ.เชียงราย) ระหว่างวันที่ 18 – 22 กันยายน 2567 เวลา 08.00 – 16.00 น. โดยเป็นจุดให้บริการ ดังนี้ จุดรับน้ำดื่ม จุดโรงครัว (มื้อเช้า กลางวัน เย็น) จุดรับและมอบของบริจาค จุดปฐมพยาบาล (ทำแผล ฉีดบาดทะยัก คอตีบ และจ่ายยาสามัญ/เวชภัณฑ์)
 
ให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วม ด้านดำรงชีพ ดังนี้ ค่าใช้จ่ายด้านดำรงชีพ ได้แก่ ค่าเครื่องนุ่งห่ม รายละไม่เกิน 1,100 บาท ค่าเครื่องมือประกอบอาชีพ เท่าที่จ่ายจริง ครอบครัวละไม่เกิน 11,400 บาท ค่าเครื่องครัวและอุปกรณ์ในการประกอบอาหาร เท่าที่จ่ายจริง ครอบครัวละไม่เกิน 3,500 บาท ค่าเครื่องนอน รายละไม่เกิน 1,000 บาท
หลักฐานที่ต้องเตรียม ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนของเจ้าของบ้านที่ประสบภัย รูปภาพความเสียหาย
การขอรับความช่วยเหลือ ผ่าน อบต. หรือ ทต. ที่ประสบภัย ในวันและเวลาราชการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อบจ.เชียงราย ฝ่ายสงเคราะห์ผู้ประสบภัย โทร. 053175329 หรือ 053175333 ต่อ 1402 ในวันและเวลาราชการ สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร สนับสนุนรถดูดโคลน จำนวน 2 คัน พร้อมบุคลากรผู้เชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานฯ
 
กรมโยธาธิการและผังเมือง สนับสนุนบุคลากร สำรวจ/วางแผน บริหารจัดการให้เป็นไปตามระบบหลักเพื่อบรรเทาน้ำท่วมชุมชนเมือง
 
วันที่ 18 – 19 ก.ย. 67 นางสาวซาบีดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์และตรวจเยี่ยมประชาชนผู้ประสบอุทกภัย ในพื้นที่อำเภอแม่สาย และตรวจเยี่ยมผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงราย พร้อมทั้ง ร่วมกิจกรรม Big Cleaning Day ณ ชุมชนกกโท้ง ชุมชนบ้านไร่ และชุมชนวังดิน
วันที่ 18 ก.ย. 67 เวลา 10.00 น. นายปริญญา วงษ์เชิดขวัญ วุฒิสภาด้านการศึกษา ตรวจเยี่ยมศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยและดินถล่ม จังหวัดเชียงราย ณ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 15 เชียงราย พร้อมติดตามสถานการณ์และการให้ความช่วยเหลือ พร้อมทั้งได้ตั้งจุดบริการประชาชน โดยได้รับการสนับสนุนบุคลากรจากโรงเรียนเอกชน จำนวน 2 จุด บริการตัดผม อาหารปรุงสุก และแจกจ่ายสิ่งของจำเป็นสำหรับผู้ประสบภัย จุดที่ 1 บริเวณบ้านน้ำลัด อ.เมืองเชียงราย จุดที่ 2 ใกล้ด่านพรมแดนแม่สาย อ.แม่สาย
 
การอำนวยการ/สั่งการ ประจำวันที่ 18 ก.ย. 2567
จังหวัดเชียงราย กำหนด Big Cleaning Day ในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงราย ดังนี้ วันอาทิตย์ที่ 15 ก.ย. 2567 Kick Off ณ บริเวณศาลากลางจังหวัดเชียงราย (จุดที่ 1) และบริเวณอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช (จุดที่ 2) ระหว่างวันที่ 16 – 18 ก.ย. 67 กำหนดแผนปฏิบัติการทำความสะอาดพื้นที่เมืองเชียงราย โดยกำหนดโซนดำเนินการเป็น 4 โซน ดังนี้
โซนที่ 1 ได้แก่ ชุมชนร่องเสือเต้น ชุมชนบ้านใหม่ หากแล้วเสร็จดำเนินการต่อในพื้นที่ชุมชนสันตาลเหลือง ชุมชนสันต้นเปา และชุมชนป่าตึงริมกก
 
โซนที่ 2 ได้แก่ ชุมชนป่าแดง ชุมชนฝั่งหมิ่น หากแล้วเสร็จดำเนินการต่อในพื้นที่ชุมชนรั้วเหล็กใต้, ชุมชนรั้วเหล็กเหนือ ชุมชนกกโท้งใต้ และชุมชนกองยาว
 
โซนที่ 3 ได้แก่ ชุมชนน้ำลัด หากแล้วเสร็จดำเนินการต่อในพื้นที่ชุมชนเกาะลอย ชุมชนป่างิ้ว ชุมชนเทิดพระเกียรติ ชุมชนราชเดชดารง ชุมชนทวีรัตน์ ชุมชนบ้านไร่ ชุมชนฮ่องลี่ และชุมชนดอยทอง
 
โซนที่ 4 ได้แก่ ชุมชนแควหวาย ชุมชนมุสลิมกกโท้ง หากแล้วเสร็จดำเนินการต่อในพื้นที่ชุมชนบ้านไร่ ชุมชนเกาะทอง ชุมชนริมน้ำกก ชุมชน ชุมชนวังดิน และชุมชนร่องปลาค้าว)
 
แผนปฏิบัติการลำเลียงน้ำและอาหาร (อาหารแห้ง) สำหรับพื้นที่ถูกตัดขาดเส้นทางโดยสิ้นเชิง อยู่ระหว่างเปิดใช้เส้นทางและดำเนินการเรียบร้อยแล้วเป็นบางจุด ให้ใช้การสัญจรทางบกในการลำเลียงเป็นหลัก/ สำหรับพื้นที่อำเภอแม่ฟ้าหลวง หากมีการร้องขอเรื่องน้ำและอาหารเร่งด่วนฉุกเฉิน จำเป็นต้องใช้อากาศยาน มอบให้ ตชด.327
 
รับประสานการปฏิบัติ ทั้งนี้ สายทางที่ได้รับความเสียหาย ให้หน่วยงานเจ้าของสายทางและหน่วยงานสนับสนุนดำเนินการเร่งรัดเปิดใช้เส้นทางโดยเร็วที่สุด
 
การปฏิบัติการทางอากาศ ให้ใช้กรณีฉุกเฉินเร่งด่วน เช่น การลำเลียงผู้ป่วยวิกฤติ สำหรับการขนส่งน้ำและอาหารพิจารณาเป็นรายกรณี เนื่องจากเปิดใช้เส้นทางลำเลียงทางบกได้แล้ว ซึ่งบรรทุกได้เป็นจำนวนมากและประชาชนเข้าถึงการแจกจ่ายได้ง่ายกว่าการใช้อากาศยาน
 
ในระยะนี้เป็นช่วงฟื้นฟูบูรณะ และ Big Cleaning Day ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม มอบหมาย สนง.ปภ.จ.เชียงราย จัดสรรสิ่งของและอุปกรณ์ทำความสะอาดที่ได้รับบริจาคกระจายลงไปทั่วทุกจุด อปท.ที่ไม่ได้ประสบสาธารณภัยรวมทั้งหน่วยงานที่มีรถน้ำให้สนับสนุนภารกิจจนกว่าจะแล้วเสร็จ
 
ให้หน่วยบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข จัดชุดปฏิบัติการ “เคาะประตูบ้าน” เพื่อติดตามสถานการณ์โรคที่อาจมากับน้ำท่วม และเยียวยาจิตใจผู้ประสบภัย พร้อมทั้งให้จัดสรรยารักษาน้ำกัดเท้า ยากันยุง ยาแก้คัน และยารักษาโรคผิวหนัง เพิ่มเติมจากยาและเวชภัณฑ์เดิมที่เคยแจกจ่าย เนื่องจากประชาชนมีความต้องการเป็นอย่างมาก ให้ตำรวจสอดส่องและรักษาความปลอดภัยให้กับบ้านและทรัพย์สินของประชาชน เพื่อป้องกันโจรลักขโมย ให้ความสำคัญในการเร่งรัดดำเนินการให้ความช่วยเหลือด้านดำรงชีพของประชาชนเป็นอันดับแรก
 
(ที่อยู่อาศัย การดำรงชีวิต ผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต) ด้านเกษตรให้เร่งรัดการสำรวจความเสียหาย และจัดประชุม ก.ช.ภ.อ. และ ก.ช.ภ.จ. ต่อไป ให้เทศบาลนครเชียงราย จัดหายาเวชภัณฑ์ยากันยุง/ยาทาแก้น้ำกัดเท้า นำไปแจกจ่ายผู้ประสบภัย ให้สถาบันอาชีวะ ขอชมรมช่างฯ เปิดซ่อมสร้าง 5 จุด ได้แก่ สนง.ขนส่ง/ร.ร.เทศบาล 7/ร.ร.เทศบาล 8/ ฮ่องลี่/เกาะทอง ให้สำนักงาน ปภ.จ.เชียงราย จัดหาถุงมือสำหรับผู้ปฏิบัติงาน/ถุงมือแพทย์ และสนับสนุนน้ำมันสำหรับเครื่องจักรกลที่นำมาปฏิบัติงาน
 
แนวโน้มสถานการณ์ สถานการณ์อยู่ในระดับคลี่คลาย-เฝ้าระวัง ไม่มีฝนตก ระดับน้ำสาย/น้ำกกลดลง/น้ำโขง แนวโน้มลดลง
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

“ท่าน ว.วชิรเมธี” มอบถุงยังชีพ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ต.แม่ยาว

 

เมื่อวันพุธที่ 18 กันยายน 2567 เวลา 15.00 น. นายอภิรักษ์ อินต๊ะวัง นายกเทศมนตรีตำบลแม่ยาว พร้อมทีมงาน ได้เดินทางนำถุงยังชีพ ข้าวสาร อาหารแห้ง และเงินขวัญถุงจำนวน 500 บาทจากพระเมธีวชิโรดม (ว.วชิรเมธี) มอบให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัยน้ำท่วมในหลายหมู่บ้าน เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของชาวบ้านที่ประสบภัย ณ จุดแจกจ่ายที่โรงเรียนบ้านรวมมิตร โดยมีบ้านกะเหรี่ยงรวมมิตร บ้านแคววัวดำ บ้านผามูบ บ้านออบเสือแหวน บ้านอาเกอะ 1 บ้านอาเกอะ 2 บ้านสามเส้า บ้านอาดี่ บ้านหมอผี บ้านป่าแล บ้านจะสอป่า บ้านลอบือ บ้านห้วยสักกอง บ้านห้วยลุหลวง บ้านพนาสวรรค์ และบ้านใหม่พัฒนา เป็นพื้นที่ได้รับแจกจ่ายในครั้งนี้

นอกจากนี้ยังมีจุดแจกจ่ายถุงยังชีพอีกแห่งที่เทศบาลตำบลแม่ยาว ประกอบด้วย บ้านห้วยทรายขาว บ้านป่าอ้อใหม่ บ้านเกาะ บ้านป่าอ้อ และบ้านริมกก รวมทั้งหมด 1,500 ชุด ถุงยังชีพเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญในการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมอย่างหนัก ซึ่งส่งผลให้บ้านเรือนและทรัพย์สินเสียหายเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เป็นที่ลุ่มและติดแม่น้ำ การแจกจ่ายถุงยังชีพช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและมอบกำลังใจให้แก่ประชาชนในยามที่ต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติ

นายอภิรักษ์ อินต๊ะวัง นายกเทศมนตรีตำบลแม่ยาว กล่าวถึงความสำคัญของการร่วมมือกันในช่วงเวลาวิกฤต พร้อมทั้งขอบคุณพระเมธีวชิโรดมที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนและช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย ทั้งนี้ การช่วยเหลือในรูปแบบของถุงยังชีพ และเงินขวัญถุงช่วยให้ผู้ประสบภัยมีทรัพยากรเพียงพอในการฟื้นฟูชีวิตความเป็นอยู่ในเบื้องต้น

นอกจากนี้ ทีมงานของเทศบาลตำบลแม่ยาวยังได้ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อเร่งดำเนินการทำความสะอาดพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมและให้การสนับสนุนเพิ่มเติมในด้านความปลอดภัยและสุขอนามัย การช่วยเหลือในครั้งนี้ไม่เพียงแต่เป็นการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่ยังเป็นการสร้างความสามัคคีในชุมชนและเตรียมพร้อมฟื้นฟูชีวิตความเป็นอยู่ในระยะยาว

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : เทศบาลตำบลแม่ยาว

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI

วธ. รวมใจ 5 ศาสนา ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ จ.เชียงราย

 

เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2566 เวลา 08.00 น. นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เป็นประธานพิธีมอบเครื่องสมณบริขาร เครื่องอุปโภคบริโภค และของใช้ที่จําเป็น ช่วยเหลือ ผู้ประสบอุทกภัยจังหวัดเชียงราย โดยนําเครื่องสมณบริขาร เครื่องอุปโภค-บริโภค มอบให้แก่ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจังหวัด เชียงราย จํานวน 2 แห่ง ได้แก่ วัดพรหมวิหาร อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดย พระครูวิสุทธิธรรมภาณี เจ้าคณะอําเภอแม่สาย เจ้าอาวาสวัดวิเชตร์มณี เพื่อนําไปถวายให้พระภิกษุสงฆ์ สามเณรท่ีได้รับความเดือดร้อน และสํานักงาน วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย อําเภอเมือง มอบให้ศาสนิกชนผู้ประสบภัยน้ําท่วมในพ้ืนที่ ณ จังหวัดเชียงราย โดยมี นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายชัยพล สุขเอ่ียม อธิบดีกรมการศาสนา ผู้บริหารกระทรวง วัฒนธรรม พร้อมด้วย ผู้แทนองค์การทางศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ศาสนาซิกข์ และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมพิธี ณ อาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ กระทรวงวัฒนธรรม

 

นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วม น้ำป่าไหลหลากที่ อ.แม่สาย และอีกหลายอำเภอ ในพื้นที่ จ.เชียงราย ทําให้บ้านเรือนพี่น้องประชาชน สถานที่ราชการ หน่วยงานต่าง ๆ สถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ และศาสนสถานหลายแห่งได้รับความเสียหายอย่างหนัก กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา ร่วมกับ ดร. สมศักดิ์ คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล วัดและองค์กรเครือข่ายทางศาสนา 5 ศาสนา ประกอบด้วย องค์การทางศาสนา ทั้ง 15 องค์การ ได้แก่ องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) พุทธสมาคมแห่ง ประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ฯ สำนักจุฬาราชมนตรี สภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย สภาคริสตจักรในประเทศไทย สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย มูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ มูลนิธิคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย สำนักพราหมณ์พระราชครู ในสำนักพระราชวัง สมาคมฮินดูสมาช สมาคมฮินดูธรรมสภา สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา สมาคมนามธารีสังคัตแห่งประเทศไทย วัดชินวราราม วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก วัดวชิรธรรมสาธิต วัดหัวลำโพง วัดบำเพ็ญเหนือ วัดลาดปลาเค้า วัดคลองเตยนอก วัดเวฬุวนาราม วัดบรมสถล วัดโพธิ์ลอย วัดเทพสรธรรมาราม วัดสะพาน มูลนิธิวัดพระศรีมหาอุมาเทวี วิทยาลัยเทคโนโลยีตั้งตรงจิตรพณิชยการ บริษัท มาดามฟิน จำกัด และมูลพิธิพุทธไธสวรรย์ อยุธยา จัดพิธีมอบสมณบริขาร เครื่องอุปโภคบริโภค และของใช้ที่จำเป็น เพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนแก่พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ผู้นำ ศาสนา และศาสนิกชนผู้ประสบภัย เป็นการแสดงออกถึงความห่วงใยและเอื้ออาทรต่อกัน ถึงแม้อยู่ต่างพื้นที่ ต่างศาสนา หรือ ต่างความเชื่อในฐานะพี่น้องประชาชนคนไทยด้วยกัน

ทั้งนี้ จากการสำรวจเบื้องต้น พบว่า ศาสนสถานในพื้นที่อำเภอเมือง และอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ได้รับ ผลกระทบอย่างหนัก กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา ได้นำเครื่องสมณบริขาร จำนวน 200 ชุด ประกอบด้วย ผ้าไตร จีวร ผ้าห่ม ผ้าขนหนู อังสะไหมพรม ถุงเท้า ย่าม และสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น ประกอบด้วย ข้าวสาร จำนวน 3,000 ถุง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป จำนวน 500 ลัง อาหารกระป๋อง จำนวน 6,000 กระป๋อง น้ำดื่ม ไฟฉาย ยาสามัญประจำบ้าน เครื่องอุปโภคบริโภค และเสื้อผ้า ไปช่วยเหลือในครั้งนี้ เป็นการบรรเทาความเดือดร้อนจากภัยธรรมชาติในเบื้องต้นอีกด้วย

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวทิ้งท้ายว่า การจัดพิธีมอบเครื่องสมณบริขาร เครื่องอุปโภคบริโภค และ ของใช้ที่จำเป็น ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจังหวัดเชียงรายครั้งนี้แสดงถึงความห่วงใยของภาครัฐ องค์การทางศาสนา ทุกศาสนา และองค์กรเครือข่ายภาคเอกชนที่มีต่อประชาชนชาวไทย ซึ่งที่ผ่านมา องค์การทางศาสนาต่าง ๆ ในสังคม พหุวัฒนธรรม ได้ร่วมกันช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยมุ่งหวังที่จะบรรเทาความเดือดร้อนให้กับ ศาสนิกชน เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างหน่วยงานของรัฐและ ศาสนิกชนทุกศาสนา ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล ในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมแก่ประชาชน บนพื้นฐาน

 

หลักธรรมทางศาสนา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นการสร้างความรัก ความสามัคคีในสังคมไทย โดยทุกองค์การ ศาสนาในประเทศไทยต้องร่วมกันสร้างสังคม แห่งความเอื้ออาทร มีน้ำใจ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ส่งเสริมให้ศาสนิกชนนำ หลักธรรมทางศาสนาไปสู่การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ศาสนิกชนเป็นคนดี มีคุณธรรม ร่วมเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ร่วมทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีและความสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนต่าง ศาสนา ทำให้ประเทศมีความสงบร่มเย็นในมิติศาสนาอย่างยั่งยืนสืบไป

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงวัฒนธรรม

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI NEWS UPDATE

ผู้ว่าฯ เชียงราย เร่งฟื้นฟูชุมชนฮ่องลี่ พร้อมขนขยะวันละ 100 เที่ยว

 

เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2567 นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ปลัดจังหวัดเชียงราย และเจ้าหน้าที่จากส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมชุมชนฮ่องลี่ ซึ่งอยู่ในเขตเทศบาลนครเชียงราย เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากอุทกภัยครั้งนี้ โดยเฉพาะบริเวณที่อยู่ติดกับแม่น้ำกก ทำให้เกิดความเสียหายเป็นจำนวนมาก ประชาชนในหลายหลังคาเรือนยังคงได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วมขัง

ทั้งนี้ ประชาชนในชุมชนต้องเร่งทำความสะอาดพื้นที่บ้านของตนเอง โดยเฉพาะการล้างดินโคลนที่ทับถมอยู่ในตัวบ้าน ห้องนอน และบริเวณรอบ ๆ บ้าน สถานการณ์ในตอนนี้แม้ว่าน้ำจะลดลงแล้ว แต่ก็ยังคงมีการขนดินโคลนออกจากพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในแต่ละวันจะมีการใช้รถบรรทุก 6 ล้อในการขนดินโคลนและเศษขยะออกไปจากชุมชนมากกว่า 100 เที่ยว

เศษไม้และขยะต่าง ๆ ที่ถูกพัดมากับน้ำท่วมจะถูกขนไปทิ้งที่ศูนย์กำจัดขยะของเทศบาลนครเชียงราย เพื่อให้กระบวนการฟื้นฟูดำเนินไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ผู้ว่าราชการจังหวัดได้เน้นย้ำว่า ทุกชุมชนและทุกจุดที่ได้รับผลกระทบต้องได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะการจัดหาน้ำสะอาดเพื่อให้ประชาชนได้ใช้ในชีวิตประจำวัน

สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น ยังไม่สามารถประเมินค่าได้ชัดเจน เนื่องจากต้องรอการสำรวจเพิ่มเติมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ รัฐบาลและหน่วยงานในพื้นที่จะร่วมมือกันฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนให้กลับมาเป็นปกติโดยเร็วที่สุด

การทำความสะอาดพื้นที่และขนย้ายดินโคลนยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยมีเจ้าหน้าที่จิตอาสาและประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมด้วย ในช่วงนี้ เจ้าหน้าที่ของเทศบาลนครเชียงรายได้ระดมทรัพยากรและกำลังคนในการจัดการกับขยะและเศษซากที่ตกค้างอยู่ในชุมชน โดยการขนย้ายขยะเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคที่อาจเกิดขึ้นจากน้ำท่วม

ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ความร่วมมือของประชาชนและหน่วยงานท้องถิ่นจะเป็นสิ่งสำคัญในการเร่งฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบให้กลับมาสู่สภาพปกติ และเน้นให้ความสำคัญกับการจัดการขยะที่ถูกพัดมากับน้ำท่วม รวมถึงการเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพที่จะเกิดขึ้นจากสภาพน้ำท่วมขังในบางพื้นที่

นอกจากนี้ หน่วยงานในพื้นที่ยังคงทำงานอย่างหนักเพื่อสำรวจความเสียหายและจัดทำแผนฟื้นฟูในระยะยาว โดยเบื้องต้นจะเน้นไปที่การจัดหาน้ำสะอาดสำหรับใช้ในครัวเรือน และการจัดการกับปัญหาสุขภาพของประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบจากการท่วมขังของน้ำ ในขณะเดียวกัน ความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรจิตอาสา ยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่องเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในชุมชนฮ่องลี่และพื้นที่ใกล้เคียง.

มาตรการแก้ไขปัญหาที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพจะเป็นกุญแจสำคัญในการช่วยประชาชนให้ฟื้นตัวจากเหตุการณ์อุทกภัยในครั้งนี้ ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดและส่วนงานที่เกี่ยวข้องจะคอยติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและทั่วถึงในทุกชุมชนที่ได้รับผลกระทบ

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
NEWS UPDATE

ปลัด มท. ชี้น้ำท่วมพะเยาลด เตรียม Big Cleaning เตือนอย่าชะล่าใจ

 

เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2567 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยถึงความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยกล่าวว่า เมื่อคืนที่ผ่านมา (16 ก.ย. 67) ที่จังหวัดพะเยา บริเวณมหาวิทยาลัยพะเยา ได้เกิดน้ำป่าไหลหลากจากฝนตกหนัก ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมบริเวณพื้นที่โดยรอบ ซึ่งนายรัฐพล นราดิศร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ได้ลงพื้นที่บัญชาการเหตุการณ์ร่วมกับนายอำเภอเมืองพะเยา กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยได้โทรศัพท์รายงานทุกระยะ ทั้งนี้ ได้มีการระดมสรรพกำลัง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองท้องถิ่น อส. อปพร. ไปช่วยตั้งแต่ 05.00 น. กระทั่งเมื่อเช้าก่อน 10.00 น. ได้ยกหูโทรศัพท์สอบถามท่านผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ซึ่งยังอยู่ในพื้นที่เกิดเหตุ ทำให้ทราบข้อมูลเพิ่มเติมว่า ฝนจำนวนมากตกอยู่บริเวณพื้นที่ป่าจังหวัดลำปางเขตติดต่อจังหวัดพะเยา แต่เนื่องจากอยู่บนพื้นที่สูงกว่า จึงกลายเป็นน้ำป่าไหลลงมาท่วมขัง เพราะจริง ๆ แล้วบริเวณพื้นที่มหาวิทยาลัยพะเยาไม่เคยมีน้ำท่วมเพราะอยู่ที่สูง แต่คราวนี้น้ำมันไหลมาจากที่สูงกว่า แต่อย่างไรก็ตามขณะนี้สถานการณ์เริ่มคลี่คลายแล้ว และผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาจะระดมสรรพกำลังทุกภาคส่วนไป Big Cleaning ทันทีต่อไป

“ในขณะเดียวกันทางจังหวัดเชียงราย จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดนครพนม และจังหวัดพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนนี้สถานการณ์ดีขึ้นมากจนเข้าใกล้ที่จะไว้วางใจได้ แต่ก็ยังคงต้องเฝ้าระวังระดับน้ำในแม่น้ำโขงที่ยังมีระดับน้ำสูงอยู่อย่างใกล้ชิด เพราะถ้าบังเกิดฝนฟ้าตกลงมาหนักอีก อาจส่งผลให้เกิดสถานการณ์ซ้ำ อย่างไรก็ตามเมื่อวานนี้ กรมอุตุนิยมวิทยารายงานว่าปริมาณฝนไม่มาก จะเป็นฝนที่ตกตามฤดูกาลปกติ แต่ก็อาจจะมีฝนที่เกิดจากการก่อตัวของกลุ่มเมฆที่เราไม่คาดคิดได้ ก็ขอให้พี่น้องประชาชนได้ระแวดระวังป้องกันด้วยการยกเครื่องใช้ไฟฟ้า ยกข้าวของที่จำเป็น รวมถึงเอกสารสำคัญขึ้นที่สูงได้ก็จะเป็นการเตรียมการที่ดี และที่สำคัญ ขอให้เชื่อการแจ้งเหตุของท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ท่านนายอำเภอ อปพร. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ้าแจ้งเตือนอย่างไรขอให้เชื่อกัน และขอย้ำว่า กันไว้ดีกว่าแก้ พอฝนเริ่มตกก็อย่าชะล่าใจว่ารอให้มันหนักกว่านี้แล้วถึงจะยก” นายสุทธิพงษ์ กล่าวในช่วงต้น
 
นายสุทธิพงษ์ กล่าวต่ออีกว่า อย่างไรก็ดีในเชิงระบบ เป็นที่น่าดีใจที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้รับบัญชาจากท่านแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และท่านอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในการที่จะเพิ่มการแก้ไขในจุดอ่อนของการป้องกันสถานการณ์ภัย คือ “การเตือนภัยด้วยการทำระบบ Cell Broadcast” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการส่งข้อความไปยังผู้ใช้โทรศัพท์มือถือหลายรายในพื้นที่ที่กำหนดพร้อมกันได้อย่างทั่วถึงเป็นรายบุคคล เพราะตอนนี้เรายังใช้ลักษณะเตือนภัยแบบภาพรวมด้วยการใช้คนออกวิทยุกระจายเสียง ออกหอกระจายข่าว หรือใช้คนวิ่งไปบอก ซึ่งมันไม่ทันการณ์ โดยแต่เดิมตามแผนระบบดังกล่าวจะแล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม 2568 
 
แต่ท่านนายกรัฐมนตรีได้ให้นโยบายว่าต้องทำให้เร็วที่สุดก่อนแผน ซึ่งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สายงานโทรคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กรมอุตุนิยมวิทยา สำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) ในการขอความร่วมมือผู้ให้บริการเครือข่าย AIS True และบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ร่วมกันดำเนินการส่งข้อความแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าผ่านโทรศัพท์มือถือ (SMS) ทั้งการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้า 12-24 ชั่วโมง และการแจ้งเตือนภัยแบบฉุกเฉิน 6 -12 ชั่วโมง เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยได้รับข้อมูลการแจ้งเตือนภัยและสามารถเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์อย่างทันท่วงทีและลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น
 
“ถึงอย่างไรเสีย ตอนนี้สังคมต้องคุยกันให้ชัดว่าที่ทำอยู่นี้มันเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนหรือการแก้ปัญหาที่จะเกิดประโยชน์ในระยะยาว เราต้องเอาจริงเอาจังกับการเพิ่มจำนวนต้นไม้ เพิ่มจำนวนป่าไม้ให้เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เพราะพื้นที่ที่ประสบปัญหารุนแรงส่วนใหญ่จะอยู่พื้นที่ที่อยู่ติดกับเชิงเขา เพราะตอนนี้ภูเขาในทุกภูมิภาคของไทยเราต้องยอมรับสภาพว่า “ต้นไม้ยืนต้นมันหายไปเยอะ” ถูกแปลงจากป่าที่อุดมสมบูรณ์กลายเป็นสวนยาง เป็นไร่ข้าวโพดก็เยอะ เพราะฉะนั้น ถึงเวลาแล้วที่เราต้องเอาภัยอันตรายที่เกิดขึ้นมาเป็นเครื่องกระตุ้น ทำให้คนในสังคมช่วยกันให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูป่าไม้ให้มากขึ้นอย่างจริงจัง และอย่างได้ผลจริง ไม่ใช่ว่าระดมกันไปปลูกแล้วก็ทิ้ง ต้นที่ปลูกไว้ก็จะตาย” นายสุทธิพงษ์ กล่าวเน้นย้ำ
 
นายสุทธิพงษ์ กล่าวต่ออีกว่า ส่วนในการแก้ไขปัญหาเชิงภูมิประเทศพื้นที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้มีบัญชาเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2567 ในขณะลงพื้นที่เยี่ยมเยียนประชาชน ท่านชัยยนต์ ศรีสมุทร นายกเทศมนตรีตำบลแม่สาย นายกเทศมนตรีตำบลแม่สาย ซึ่งเป็นคนในพื้นที่ได้จัดทำเอกสารเสนอต่อนายกรัฐมนตรีในการที่จะนำข้อมูลแต่ละพื้นที่ ทั้งแม่สายและพื้นที่ต่าง ๆ ไปปรับปรุงในเชิงระบบ ซึ่งเมื่อวานนี้ได้เห็นข่าวที่เป็นผลต่อเนื่องหลังจากท่านนายกรัฐมนตรี ได้ลงพื้นที่แม่สาย ก็คือ ท่านมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 
 
ได้ประสานงานไปที่สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ในการนำข้อเสนอแนะของนายกเทศมนตรีตำบลแม่สาย นายอำเภอแม่สาย และผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายไปสู่การปฏิบัติโดยทันที เพราะว่าน้ำที่แม่สายต้นทางมาจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และแม่น้ำแม่สายเป็นแม่น้ำระหว่างสองประเทศ แสดงให้เห็นว่าบัญชาของท่านนายกรัฐมนตรีจะนำไปสู่การตั้งโต๊ะนั่งคุยกันว่าประเทศไทยจะช่วยเมียนมาได้อย่างไร ร่วมกันได้อย่างไร และจะพัฒนาพื้นที่ฝั่งไทยตรงเขตแดนระหว่างประเทศได้อย่างไร
 
นายสุทธิพงษ์ กล่าวในช่วงท้ายว่า สำหรับประเด็นการแก้ไขปัญหาสถานการณ์อุทกภัยในด้านการช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ท่านนายกรัฐมนตรีก็เน้นย้ำให้ช่วยเหลืออย่างรวดเร็วและเพิ่มเติม top up เข้าไป เพราะตามระเบียบราชการช่วยได้น้อย และช่วงสายวันนี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติอนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 3,045.519 ล้านบาท เพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝนปี 2567 
 
ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีจ่ายเงินที่ ครม. กำหนด โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จะเป็นหน่วยรับงบประมาณและดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยผ่านธนาคารออมสิน ซึ่งทางธนาคารจะจ่ายเงินให้แก่ผู้ประสบภัยที่มีสิทธิโดยตรงผ่านระบบพร้อมเพย์ต่อไป นอกจากนี้ เมื่อวานนี้ ท่านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ก็ได้นำเสนอเรื่องการบรรเทาความเดือดร้อนค่าไฟและค่าน้ำ 
 
ซึ่งที่ประชุมก็ได้เห็นชอบที่จะช่วยเหลือและเยียวยา และในส่วนข้อเสนออื่น ๆ ท่านนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ทุกพื้นที่ให้นำเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงต่อนายกรัฐมนตรีเลยว่า ปัญหานี้จะแก้อย่างไร มีแนวทางข้อแนะนำจากพื้นที่อย่างไรให้เสนอมา ซึ่งถือเป็นเรื่องดี เพราะทำให้การแก้ปัญหาตรงจุด เป็นการแก้ปัญหาที่ถูกต้องด้วยการใช้แนวทาง Bottom Up แล้วท่านนายกรัฐมนตรีก็จะช่วยสนับสนุนในลักษณะ Top Down ระดมกำลังของทุกกระทรวงทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI TOP STORIES

สรุปน้ำท่วม 7 วัน ใน จ.เชียงราย 53,209 ครัวเรือน ได้รับผลกระทบ

 

เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2567 ข้อมูลสะสมระหว่างวันที่ 9 -15 ก.ย. 2567 ทั้งสิ้น 9 อำเภอ 35 ตำบล 167 หมู่บ้าน 1 เทศบาลนคร (52 ชุมชน) ได้แก่ โดยตลาดชุมชนเศรษฐกิจ ได้รับผลกระทบ 2 แห่ง ร้านค้า/สถานประกอบการ 92 แห่ง ราษฎรได้รับผลกระทบเบื้องต้น 53,209 ครัวเรือน พื้นที่เกษตรได้รับผลกระทบ 14,138 ไร่ เสียชีวิต 12 ราย บาดเจ็บ 2 ราย โรงเรียน จำนวน 31 แห่ง ถนน 7 จุด และคอสะพาน 4 จุด

ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ผู้อำนวยการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าไปช่วยเหลือ ซึ่งได้เตรียมการมาเป็นอย่างดีทั้งเครื่องมือ อุปกรณ์เครื่องจักรกล ยุทโธปกรณ์ พร้อมกำลังพลในการเข้าไปช่วยเหลือ อย่างเร่งด่วน แต่เนื่องจากเกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง หลายวัน ทำให้วันนี้ (15 กันยายน 2567) ได้เกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะที่ อ.เมืองเชียงราย, อ.เชียงแสน, อ.เชียงของ, อ.แม่จัน, อ.แม่ฟ้าหลวง, อ.แม่สาย, อ.ดอยหลวง, อ.เทิง และอ.เวียงแก่น เกิดน้ำท่วมหนักในรอบหลายปี อย่างไรก็ตาม นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจ และเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน หากประชาชนต้องการขอความช่วยเหลือ หรือแจ้งเหตุ แจ้งได้ตลอด 24 ช่วยโมง ที่สายด่วน 1784
 
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย รายงานสถานที่เกิดเหตุ/ความเสียหาย/การให้ความช่วยเหลือ (เหตุต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 8 ก.ย. 67 และสถานการณ์ในวันนี้ (15 ก.ย. 67) ดังนี้
อ.เมืองเชียงราย ได้รับผลกระทบ 3 ตำบล 6 หมู่บ้าน (ในเขตเทศบาลนครเชียงราย สถานการณ์คลี่คลาย) เขตเทศบาลนครเชียงราย พื้นที่ได้รับผลกระทบสะสม 52 ชุมชน เสียชีวิต 1 ราย สถานการณ์คลี่คลาย ระดับน้ำจนเกือบเข้าสู่ภาวะปกติ บางชุมชนมีน้ำผุดท่อเนื่องจากท่อระบายน้ำอุดตัน เทศบาลนครเชียงรายดำเนินการ Big Cleaning Day จุดที่น้ำลดลงแล้วตั้งแต่วันที่ 14 ก.ย. 67 เป็นต้นมา
 
– แจ้งปิดใช้สะพานเนื่องจากน้ำท่วมสูง จำนวน 5 จุด/ คลี่คลายแล้วทุกจุด รถสามารถสัญจรผ่านได้ อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหายโครงสร้าง จุดที่ 1 สะพานแม่ฟ้าหลวง (ศาลากลางจังหวัดเชียงราย) เปิดใช้งานทั้งสองเลนส์ ตั้งแต่วันที่ 13 ก.ย. 67 คอสะพานบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยวัยที่ 3 ชุมชนน้ำลัด ขาด ผ่านไม่ได้ จุดที่ 2 สะพานขัวพญาเม็งราย (แยกบ้านใหม่ถึงแยกสถานีตำรวจภูธรเชียงราย) คลี่คลายแล้ว ในวันที่ 14 ก.ย.67 จุดที่ 3 สะพานข้ามแม่น้ำกก (แขวงทางหลวงเชียงรายที่ 1 ถึง 5 แยกพ่อขุนเม็งราย) คลี่คลายแล้ว ในวันที่ 14 ก.ย.67 จุดที่ 4 สะพานเฉลิมพระเกียรติ (เส้นทางสนามกีฬากลาง โรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย
 
ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย) คลี่คลายแล้ว ในวันที่ 14 ก.ย.67 จุดที่ 5 สะพานใหม่บ้านหนองด่าน (ฮ่องอ้อ) จากแยกวัดห้วยปลากั้ง ไปทางโรงเรียนสามัคคี 2) คลี่คลายแล้ว ตั้งแต่วันที่ 12 ก.ย. 67
 
– โรงเรียนในเขตเทศบาลนครเชียงรายประกาศหยุดเรียนจนกว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ เบื้องต้น 11 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล 1- 8/ รร.สามัคคีวิทยาคม/ รร.อนุบาลเชียงราย (สันต้นเปา)/ รร.อบจ.เชียงราย (ปัจจุบันยงคงปิดการเรียนการสอนอยู่)
 
– การประปาส่วนภูมิภาคสาขาเชียงราย หยุดระบบการผลิตและระบบจ่ายน้ำ (ตั้งแต่วันที่ 11 ก.ย. 67 เวลา 15.59 น.) อำเภอเมืองเชียงรายและอำเภอเวียงชัย ได้รับผลกระทบเต็มพื้นที่/ วันที่ 15 ก.ย. 67 กปภ. สาขาเชียงราย เริ่มจ่ายน้ำในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงรายและอำเภอเวียงชัยบางส่วน ประชาชนจะได้ใช้น้ำประมาณ 48,109 ราย
 
ต.รอบเวียง หมู่ที่ 1 – 5 ลำน้ำกก ลำน้ำกรณ์ และลำน้ำลาว ระดับน้ำได้ล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน และในพื้นที่ของหาดเชียงราย/ สถานการณ์คลี่คลาย ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง ต.ดอยฮาง หมู่ที่ 2,3,4,5,6 ลำน้ำกกล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนและพื้นที่เกษตร บางหมู่บ้าน ถูกตัดขาด ใช้การลำเลียงน้ำและอาหารโดยรถยกสูง และอากาศยาน ต.แม่ยาว หมู่ที่ 1 -20 ลำน้ำกกล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน เร่งอพยพประชาชนและขนย้ายทรัพย์สินขึ้นที่สูง /สะพานแขวนฮาแหล่จ่ะ (สะพานไม้) ขาด ไม่สามารถสัญจรได้/ บ้านกะเหรี่ยงรวมมิตร บ้านแคววัวดำ และบ้านอาดี่ (บ้านบริวารบ้านผาสุก หมู่ที่ 20) ใช้การลำเลียงน้ำและอาหาร หญิงตั้งครรภ์ และผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยอากาศยาน
 
วันที่ 15 ก.ย. 67 ดำเนินการปรับเกลี่ยดินสไลด์เพื่อเปิดใช้เส้นทาง ต.ห้วยชมภู หมู่ที่ 1,4,5,6,10,11,16 น้ำป่าไหลหลากและดินสไลด์ปิดทับเส้นทาง/ บ้านจะคือ หมู่ที่ 10 ใช้การลำเลียงน้ำและอาหาร หญิงตั้งครรภ์ และผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยอากาศยาน เนื่องจากเส้นทางถูกตัดขาดโดยสิ้นเชิงต.ริมกก หมู่ที่ 1-7 วันที่ 11 ก.ย. 67 น้ำกกล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนของราษฎร/ บ้านเมืองงิม ม.4 พนังกั้นน้ำถูกกัดเซาะ อบต.ริมกก ดำเนินการจัดทำแนวตลิ่งเพื่อกันน้ำไม่ให้ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนของราษฎร พร้อมทั้งอพยพคนออกจากพื้นที่ที่น้ำท่วมสูง วันที่ 12 ก.ย. 67 น้ำเพิ่มระดับสูงขึ้น ไหลเชี่ยวและแรง บางจุดไม่สามารถอพยพประชาชนออกมาได้ ต้องใช้การลำเลียงน้ำและอาหาร 
 
โดยใช้โดรน และเจ๊ตสกี / วันที่ 14 ก.ย. 67 สถานการณ์คลี่คลาย ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง ถนนสามารถสัญจรผ่านได้ ภาพรวมสามารถฉีดล้างทำความสะอาดบ้านเรือนได้แล้ว ยังคงท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำบางส่วน ต.บ้านดู่ ม. 1,10,12,15,16,17,20 น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ต.แม่ข้าวต้ม ม. 3,4 น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร สถานการณ์คลี่คลายบางส่วน ต.นางแล ม. 1,4,5,6,11,16 น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร สถานการณ์คลี่คลาย
 
อ.เชียงแสน จำนวน 6 ตำบล 38 หมู่บ้าน โรงเรียน 1 แห่ง พื้นที่เกษตร 14,138 ไร่ ถนน 2 สาย สะพาน 1 จุด คอสะพาน 1 จุด น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร พื้นที่เกษตร และเกิดดินสไลด์ ในพื้นที่ ดังนี้ ต.เวียง ม.1, 2, 3 ,4 ,5 ,6 ,7 ,8 , 9 น้ำล้นตลิ่งและเกิดดินสไลด์บ้านสบรวก ร้านค้า จำนวน 16 ร้าน ต.โยนก ม.1 ,2 ,4 ,6 ,7 ต.บ้านแซว ม.7 ,8 ,10 ,14 ต.ป่าสัก ม.1 ,2, 3, 5, 6 ,7 ,11 ,12, 13
 
ต.ศรีดอนมูล ม.1, 2 ,3 ,5 ,9 ,10 ,12, 13 ต.แม่เงิน ม.1, 5, 10 ปิดเส้นทางสัญจร ปิดเส้นทางสะพานโยนกนาคนคร ม.1 และ ม.4 ต.โยนก เส้นบายพาส เนื่องจากแม่น้ำกกหนุนสูง ท่วมปิดเส้นทางไม่สามารถสัญจรได้/ วันที่ 14 ก.ย. 67/ วันที่ 14 ก.ย. 67 สถานการณ์ปกติ สามารถสัญจรผ่านได้
 
ปิดเส้นทางหมายเลข 1290 ตอนแม่สาย – กิ่วกาญจน์ ระหว่าง กม.20+000 – กม.20+500 บ้านเวียงแก้ว ม.5 ต.ศรีดอนมูล – บ้านวังลาว ม.4 ต.เวียง เนื่องจากแม่น้ำรวกล้นตลิ่งท่วมถนน รถทุกชนิดไม่สามารถผ่านได้/ อยู่ระหว่างดำเนินการซ่อมแซม
อ.เชียงของ จำนวน 2 ตำบล 1 หมู่บ้าน ต.เวียง หมู่ที่ 1 แม่น้ำโขงล้นตลิ่งหลากเข้าท่วมพื้นที่บริเวณท่าเรือบั๊ค บริเวณสวนสาธารณะปลาบึก 7 สี และบ้านเรือนราษฎรติดริมฝั่งโขง / ทต.เวียง อพยพประชาชนและขนย้ายทรัพย์สินขึ้นที่สูง เรียบร้อยแล้ว และต.ศรีดอนไชย น้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร ได้รับผลกระทบ
 
อ.แม่จัน แม่น้ำจัน-คำ หลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตรเป็นวงกว้าง ในพื้นที่ 7 ตำบล 15 หมู่บ้าน โรงเรียนได้รับผลกระทบ 3 โรงเรียน/ สถานการณ์คลี่คลาย ยังคงค้างในพื้นที่ลุ่มต่ำของตำบลแม่คำ
 
อ.แม่ฟ้าหลวง จำนวน 4 ตำบล 12 หมู่บ้าน (เสียชีวิตจากสะสม 5 ราย เกิดจากน้ำป่าไหลหลาก 1 ราย/
ดินสไลด์ 4 ราย) ถนนเสียหาย 4 จุด คอสะพาน 3 จุด โรงเรียนได้รับผลกระทบ 8 โรงเรียน (ดินสไลด์ปิดเส้นทางเข้า-ออก)/ บ้านจะตี ต.เทอดไทย ดินปิดสไลด์เส้นทาง ใช้อากาศยานในการขนส่ง ต.แม่ฟ้าหลวง ม. 12,16,17 ต.แม่สลองนอก ม.7 ต.แม่สลองใน ม.3,4,5,15 และ ต.เทอดไทย ม.6,7,15,16
 
อ.แม่สาย น้ำท่วมพื้นที่ตลาดสายลมจอย และพื้นที่เศรษฐกิจ จำนวน 4 ตำบล 37 หมู่บ้าน (ชุมชนได้รับผลกระทบรุนแรง ได้แก่ ชุมชนแม่สาย ชุมชนเหมืองแดง ชุมชนเกาะทราย ชุมชนไม้ลุงขน) จำนวน 4 ตำบล โรงเรียนได้รับผลกระทบ 8 โรงเรียน ต. แม่สาย ม.2,3,6,7,8,10 ต.เวียงพางคำ ม.1-10 ต.เกาะช้าง ม. 1-13 และต.ศรีเมืองชุม ม.1-8 วันที่ 15 ก.ย. 67 สถานการณ์คลี่คลาย ระดับแม่น้ำสายลดลงจากเดิมประมาณ 50 เซนติเมตร พื้นที่วิกฤติ ได้แก่ ชุมชนเกาะทราย ซ.7, ชุมชนไม้ลุงขน, ชุมชนเกาะสวรรค์ ซ.4,5,6 ระดับน้ำลดลง บางจุดยังมีน้ำท่วมขังแต่สามารถเดินเท้าผ่านได้ ยังคงค้างตะกอนดินโคลนเป็นจำนวนมาก สามารถลำเลียงน้ำ/อาหาร และเคลื่อนย้ายประชาชนโดยใช้รถทหาร(FTS) ได้แล้ว ไม่ต้องใช้เรือ/ อำเภอแม่สายดำเนินการ Big Cleaning Day จุดที่น้ำลดลงแล้วตั้งแต่วันที่ 14 ก.ย. 67 เป็นต้นมา
 
อ.ดอยหลวง จำนวน 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ต.หนองป่าก่อ หมู่ที่ 8 น้ำกัดเซาะถนนชำรุด ไม่สามารถสัญจรได้ อยู่ระหว่างซ่อมแซม
 
อ.เทิง จำนวน 3 ตำบล 4 หมู่บ้าน (สถานการณ์คลี่คลาย อยู่ระหว่างการซ่อมแซม) ต.งิ้ว ม.7,18 น้ำล้นออกจากอ่างเก็บน้ำขอนซุง เข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร ต.ปล้อง ม.2 น้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร และต.ตับเต่า ม.8 เสาค้ำสะพานสะพานเบลีย์ชำรุด/ เวลาประมาณ 14.00 น. หมวดทางหลวงเทิง แขวงทางหลวงเชียงรายที่ 2 และศูนย์สร้างและบูรณะสะพานที่ 1 (พิจิตร) เข้ามาดำเนินการซ่อมแซม หากไม่มีมีฝนตกคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2 วัน (วันที่ 16 ก.ย. 67)
 
อ.เวียงแก่น จำนวน 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ต.ปอ ม.2 น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย
 
การให้ความช่วยเหลือ
– กองทัพเรือสนับสนุนเรือและยุทโธปกรณ์ เครื่องมือเร่งดำเนินการติดตั้งเคลื่อนย้ายเรือผลักดันน้ำ JET จำนวน 10 ลำ ยกจากเครนวางตามแนวลำน้ำอิง ประสิทธิภาพการไหลได้ วันละ 1 ล้านลูกบาก์เมตร เริ่มดันน้ำได้วันที่11 ก.ย.67 เวลา15.00 น. ณ สะพานข้ามแม่น้ำอิง อ.เทิง จ.เชียงราย
– สภากาชาดไทย สนับสนุนครัวสนามเคลื่อนที่ 1 คัน จุดตั้งโรงครัว ณ วัดพระสิงห์ ถ.ท่าหลวง ต.เวียง
อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย ประกอบเลี้ยงตั้งแต่วันที่ 12 ก.ย. 67 จะประกอบเลี้ยงถึงวันอังคารที่ 17 ก.ย. 67 (มื้อกลางวัน)
– มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ตั้งครัวพระราชทานช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และ อบจ.เชียงราย สนับสนุนรถครัวประกอบเลี้ยงอาหาร ณ จุดเดียวกัน บริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 (ตะเคียนคู่) ต.สันทราย อ.เมืองเชียงราย ตั้งแต่วันที่ 13 ก.ย. 67 และสนับสนุนถุงยังชีพพระราชทาน จำนวน 3,500 ถุง ถุงยังชีพสำหรับพระภิกษุสงฆ์ 105 ถุง จะประกอบเลี้ยงถึงวันอังคารที่ 17 ก.ย. 67 (มื้อกลางวัน)
 
– กองทัพเรือ/หน่วยซีล สนับสนุน เรือ 9 ลำ รถบรรทุก 4 คัน ถุงยังชีพ 1,000 ชุด (ของ 918 150 ชุด) กำลังพล 50 นาย
– ฮ.ปภ.32 สนับสนุนภารกิจขนย้ายผู้ประสบภัย ลำเลียงน้ำและอาหารส่งมอบให้แก่ผู้ประสบภัย ในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงรายและอำเภอแม่ฟ้าหลวง
– ฮ.กรมฝนหลวงและการบินเกษตร/ฮ.ทอ./ ฮ.ตชด. 327/ ฮ.ทส. ปฏิบัติภารกิจลำเลียงน้ำและอาหาร อำเภอเมืองเชียงรายและอำเภอแม่ฟ้าหลวง
– ศูนย์ ปภ.เขต 15 เชียงราย /เขต 1 ปทุมธานี/ เขต 2 สุพรรณบุรี /เขต 3 ปราจีนบุรี/ เขต 4 ประจวบคีรีขันธ์/ เขต 8 กำแพงเพชร /เขต 9 พิษณุโลก /เขต 11 สุราษฎร์ธานี และเขต 16 ชัยนาท สนับสนุนเครื่องจักรกลสาธารณภัยด้านปฏิบัติการ (อุทกภัย) และกำลังพล / วันที่ 15 ก.ย. 67 สนับสนุน Big Cleaning Day สูบน้ำท่วมขัง ลำเลียงน้ำและอาหารให้แก่ผู้ประสบภัย และศูนย์ ปภ. เขต 15 เชียงราย สนับสนุนชุดปฏิบัติการ ERT ภารกิจวาง Big Bag จุดแนวกระสอบทรายชำรุดบริเวณจุดสะพานมิตรภาพแห่งที่ 1 ไทย – เมียนมา
 
– เทศบาลนครเชียงราย จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ทน.เชียงราย ที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวอยู่ ณ ปัจจุบัน จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ จุดโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ และจุดโรงเรียน อบจ. เชียงราย โดยมีทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ เยียวยาจิตใจ แจกจ่ายยาและเวชภัณฑ์
– ศูนย์พักพิง อ.แม่สาย ที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวอยู่ ณ ปัจจุบัน 17 แห่ง รวมทั้งสิ้น 1,343 ราย (โดยเป็นศูนย์พักพิงฯ ที่มีทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการ จำนวน 7 ศูนย์)
ศูนย์พักพิงเทศบาลตำบลแม่สาย จำนวน 53 ราย* (ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.สต.เชียงแสน/ รพ.สต.ฮ่องแฮ่/ รพ.สต.บ้านด้าย)
ศูนย์พักพิงวัดพรหมวิหาร จำนวน 341 ราย* (ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.แม่สาย, ทีม MCATT,
 
รพ.ดอยหลวง, รพ.ค่ายเม็งรายมหาราช)
ศูนย์พักพิงเทศบาลตำบลแม่สายมิตรภาพ จำนวน 16 ราย* (ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.สต.แม่สาย)
 
ศูนย์พักพิงวัดน้ำจำ จำนวน 61 ราย* (ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.สต.โป่งผา)
ศูนย์พักพิง รพ.สต.เกาะช้าง จำนวน 56 ราย* (ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.สต.เกาะช้าง)
 
ศูนย์พักพิงวัดมงคลธรรมกายาราม จำนวน 14 ราย* (ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.สต.โป่งงาม และ รพ.สต.บ้านถ้ำ)
 
ศูนย์พักพิงวัดเจติยาราม*(ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.สต.ศรีเมืองชุม)
– ศูนย์พักพิงวัดป่าซางงาม จำนวน 150 ราย
– ศูนย์พักพิงวัดป่าแดง จำนวน 80 ราย
– ศูนย์พักพิงบ้านป่าแดง จำนวน 70 ราย
– ศูนย์พักพิงโบสถ์คริสต์ จำนวน 40 ราย
– ศูนย์พักพิงบ้านสันหลวงใต้ จำนวน 50 ราย
– ศูนย์พักพิงวัดสันหลวง จำนวน 48 ราย
– ศูนย์พักพิงวัดหิรัญญาวาส จำนวน 60 ราย
– ศูนย์พักพิงวัดสันธาตุ จำนวน 83 ราย
– ศูนย์พักพิงหอประชุม อบต.โป่งผา จำนวน 61 ราย
– ศูนย์พักพิงวัดถ้ำผาจม จำนวน 160 ราย
 
– นพค.31 /นพค.32/นพค.34 สนับสนุนกำลังพล รถครัวสนาม และรถสุขาเคลื่อนที่
– มูลนิธิสมาคมกู้ชีพกู้ภัย อาสาสมัคร จิตอาสาภาคประชาชน ร้านค้า/ผู้ประกอบการ สนับสนุนปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย ให้ที่พักพิงชั่วคราว มอบอาหารปรุงสำเร็จ และถุงยังชีพ
 
– กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บกปภ.ช.) ประชุมติดตามสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ณ ห้องประชุม 1 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Webex) โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุม และนายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานการประชุมจังหวัดเชียงราย
 
– จิตอาสาราชทัณฑ์ (จอส.รท.) จัดส่งเจ้าหน้าที่และนักโทษเด็ดขาดหรือผู้ต้องกักขังที่ได้รับอนุมัติจ่ายออกทำงานสาธารณะหรือได้รับอนุญาตให้ออกทำงานนอกเรือนจำ สนับสนุนภารกิจลำเลียงน้ำและอาหาร รวมทั้งร่วมกิจกรรม Big Cleaning Day รวมทั้งสิ้น 35 นาย
 
การอำนวยการ/สั่งการ
จังหวัดเชียงราย กำหนด Big Cleaning Day ในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงราย ดังนี้ วันอาทิตย์ที่ 15 ก.ย. 2567 Kick Off ณ บริเวณศาลากลางจังหวัดเชียงราย (จุดที่ 1) และบริเวณอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช (จุดที่ 2) ระหว่างวันที่ 16 – 18 ก.ย. 67 กำหนดแผนปฏิบัติการทำความสะอาดพื้นที่เมืองเชียงราย โดยกำหนดโซนดำเนินการเป็น 4 โซน ดังนี้ โซนที่ 1 ได้แก่ ชุมชนร่องเสือเต้น ชุมชนบ้านใหม่ หากแล้วเสร็จดำเนินการต่อในพื้นที่ชุมชนสันตาลเหลือง ชุมชนสันต้นเปา และชุมชนป่าตึงริมกก โซนที่ 2 ได้แก่ ชุมชนป่าแดง ชุมชนฝั่งหมิ่น 
 
หากแล้วเสร็จดำเนินการต่อในพื้นที่ชุมชนรั้วเหล็กใต้, ชุมชนรั้วเหล็กเหนือ ชุมชนกกโท้งใต้ และชุมชนกองยาว โซนที่ 3 ได้แก่ ชุมชนน้ำลัด หากแล้วเสร็จดำเนินการต่อในพื้นที่ชุมชนเกาะลอย ชุมชนป่างิ้ว ชุมชนเทิดพระเกียรติ ชุมชนราชเดชดารง ชุมชนทวีรัตน์ ชุมชนบ้านไร่ ชุมชนฮ่องลี่ และชุมชนดอยทอง โซนที่ 4 ได้แก่ ชุมชนแควหวาย ชุมชนมุสลิมกกโท้ง หากแล้วเสร็จดำเนินการต่อในพื้นที่ ชุมชนบ้านไร่ ชุมชนเกาะทอง ชุมชนริมน้ำกก ชุมชน ชุมชนวังดิน และชุมชนร่องปลาค้าว) แผนปฏิบัติการลำเลียงน้ำและอาหาร (อาหารแห้ง) สำหรับพื้นที่ถูกตัดขาดเส้นทางโดยสิ้นเชิง บ้านจะคือ หมู่ที่ 10 ต.ห้วยชมภู อ.เมืองเชียงราย ให้อำเภอเมืองเชียงรายสำรวจหย่อมบ้านที่ยังคงมีความต้องการ และร้องขอผ่านศูนย์บัญชาการฯ โดยให้อำเภอเมืองเชียงรายลำเลียงเสบียงไปส่งยังตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย 
 
เพื่อใช้รถเดินทางต่อไปยังบ้านจะคือ/ บ้านกะเหรี่ยงรวมมิตร บ้านอาดี่ บ้านแคววัวดำ ต.แม่ยาว อ.มืองชร. และบ้านจะเด้อ ต.ดอยฮาง อยู่ระหว่างเปิดใช้เส้นทางและดำเนินการเรียบร้อยแล้วเป็นบางจุด ให้ใช้การสัญจรทางบกในการลำเลียงเป็นหลัก/ สำหรับพื้นที่อำเภอแม่ฟ้าหลวง ได้มีการกระจายเสบียงไปก่อนล่วงหน้านี้แล้ว คาดว่าเพียงพอและทั่วถึง หากมีการร้องขอเรื่องน้ำและอาหารเร่งด่วนฉุกเฉิน จำเป็นต้องใช้อากาศยาน มอบให้ ตชด.327 รับประสานการปฏิบัติ ทั้งนี้ สำหรับพื้นที่ที่ถูกตัดขาดเส้นทางโดยสิ้นเชิงนั้น ให้เจ้าของสายทางและหน่วยงานสนับสนุนดำเนินการเร่งรัดเปิดใช้เส้นทางโดยเร็วที่สุด
 
การปฏิบัติการทางอากาศ ให้ใช้กรณีฉุกเฉินเร่งด่วน เช่น การลำเลียงผู้ป่วยวิกฤติ สำหรับการขนส่งน้ำและอาหารพิจารณาเป็นรายกรณีเนื่องจากจัดสรรลงไปอย่างเพียงพอและทั่วถึงแล้ว
 
ในระยะนี้เป็นช่วงฟื้นฟูบูรณะ และ Big Cleaning Day ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม มอบหมาย สนง.ปภ.จ.เชียงราย จัดสรรสิ่งของและอุปกรณ์ทำความสะอาดที่ได้รับบริจาคกระจายลงไปทั่วทุกจุด อปท.ที่ไม่ได้ประสบสาธารณภัยรวมทั้งหน่วยงานที่มีรถน้ำให้สนับสนุนภารกิจจนกว่าจะแล้วเสร็จ ให้ตำรวจสอดส่องและรักษาความปลอดภัยให้กับบ้านและทรัพย์สินของประชาชน เพื่อป้องกันโจรลักขโมย ด้านเกษตรให้เร่งรัดการสำรวจความเสียหาย และจัดประชุม ก.ช.ภ.อ. และ ก.ช.ภ.จ. ต่อไป
 
แนวโน้มสถานการณ์
สถานการณ์อยู่ในระดับคลี่คลาย-เฝ้าระวัง ไม่มีฝนตก ระดับน้ำสาย/น้ำกกลดลง/น้ำโขง แนวโน้มลดลง กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังนี้
 
แจ้งเตือนทุกอำเภอเฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์ น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากน้ำล้นตลิ่งอย่างต่อต่อเนื่อง เตรียมความพร้อม เครื่องมืออุปกรณ์ เครื่องจักรกล ยุทโธปกรณ์ กำลังพลพร้อมให้ความช่วยเหลือทันที ตลอด 24 ชั่วโมงเมื่อได้รับการร้องขอ และเตรียมการทำความสะอาดพื้นที่ประสบภัย สำหรับ อปท. ที่ไม่ได้ประสบภัยให้สนับสนุนภารกิจ เร่งสำรวจความเสียหายและให้ความช่วยเหลือตามระเบียบต่อไป
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

ถุงพระราชทานช่วยเหลือ ผู้ประสบอุทกภัยเชียงราย

 

เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2567 เวลา 13.30 น. ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย (ศูนย์บ้านน้ำลัด) ตำบลริมกก อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าที่ปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ทรงพระกรุณาโปรดให้นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เชิญถุงพระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภคมอบแก่ราษฎรที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย

ภายในพิธี นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ได้เชิญถุงพระราชทานเพื่อมอบให้กับราษฎรผู้ประสบอุทกภัยจำนวน 100 ราย ซึ่งเป็นราษฎรในเขตเทศบาลนครเชียงราย โดยถุงพระราชทานที่ได้รับประกอบไปด้วยเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้

ในพิธีมอบถุงพระราชทานครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วนที่มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ อาทิ นายบุญส่ง ตินารี นายอำเภอเมืองเชียงราย, พ.อ. อัศม์พงษ์ นิลพันธ์ ผู้แทนมณฑลทหารบกที่ 37, นางบังอร มะลิดิน รองนายกเทศมนตรีนครเชียงราย และพระครูสุตวัฒนบัณฑิต ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระแก้ว พระอารามหลวง ซึ่งทั้งหมดนี้ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในพิธีมอบถุงพระราชทาน เพื่อแสดงความห่วงใยและช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่

นอกจากนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย และทีมงานเจ้าหน้าที่กลุ่มพิธีการฯ ได้มอบหมายให้ นายพิพัฒน์ สุ่มมาตย์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ และนายภัทรพงษ์ มะโนวัน นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ เป็นผู้แทนในการปฏิบัติพิธีมอบถุงพระราชทานให้แก่ประชาชน

เหตุการณ์อุทกภัยครั้งนี้ส่งผลกระทบอย่างหนักในหลายพื้นที่ของจังหวัดเชียงราย ซึ่งเทศบาลนครเชียงรายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างเร่งดำเนินการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในเขตเทศบาลนครเชียงรายอย่างเต็มที่ เพื่อให้ผู้ประสบภัยสามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อย่างเร็วที่สุด

นอกจากการมอบถุงพระราชทานแล้ว ทางศูนย์จิตอาสายังได้จัดเตรียมข้าวกล่องจำนวนมากเพื่อแจกจ่ายให้แก่ผู้ประสบอุทกภัย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการบรรเทาความเดือดร้อนในด้านอาหารและสิ่งของที่จำเป็น

ทั้งนี้ การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในครั้งนี้ เป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคประชาชน โดยมีการประสานงานและบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้การช่วยเหลือเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และครอบคลุมทุกพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการฟื้นฟูและการให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ชุมชนต้องการความช่วยเหลือจากเหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น ทั้งในด้านอาหาร น้ำดื่ม และสิ่งของจำเป็นอื่น ๆ เพื่อให้ประชาชนสามารถฟื้นฟูบ้านเรือนและชีวิตประจำวันได้อย่างรวดเร็วที่สุด

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงรายได้จากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง หรือติดต่อสอบถามได้ที่เทศบาลนครเชียงราย

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI NEWS UPDATE

ตลาดอสังหาฯ เชียงรายทรุดหนัก พิษน้ำท่วมหนักคาดฟื้นตัวปี 2569

 

เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2567 กรุงเทพธุรกิจได้ให้ข้อมูลว่า นายชินะ สุทธาธนโชติ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์เชียงราย เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดเชียงราย โดยระบุว่า จากข้อมูลของสำนักงานที่ดินพบว่า ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2567 (ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงสิงหาคม) มูลค่าและจำนวนการโอนกรรมสิทธิ์ในจังหวัดเชียงรายลดลงประมาณ 20-25% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา รวมทั้งตัวเลขการปฏิเสธสินเชื่อของสถาบันการเงินที่สูงถึง 70-80% ของผู้ที่ยื่นขอสินเชื่อ ส่งผลให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดเชียงรายซบเซาอย่างชัดเจน

เชียงรายถือเป็นจังหวัดเมืองรองที่มีขนาดเศรษฐกิจเล็ก ต้องพึ่งพาการท่องเที่ยวและเกษตรกรรมเป็นหลัก เมื่อเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในการขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและไม่กล้าตัดสินใจเป็นหนี้ระยะยาว โดยเฉพาะกลุ่มบ้านระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาทที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ซึ่งปัจจุบันผลกระทบเริ่มลุกลามไปถึงกลุ่มบ้านระดับราคา 4-5 ล้านบาทแล้ว

นายชินะกล่าวว่า เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ที่เกิดขึ้นในจังหวัดเชียงรายในปีนี้ ซึ่งถือว่าหนักที่สุดในรอบ 70 ปี เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะในแง่ของผลกระทบเชิงจิตวิทยาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลา 3-6 เดือนข้างหน้า อย่างไรก็ตาม ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดเชียงรายคาดว่าน่าจะทรงตัวได้ในปี 2568 และอาจฟื้นตัวกลับมาอีกครั้งในปี 2569

จากการสำรวจของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) ในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 พบว่ามีจำนวนที่อยู่อาศัยในจังหวัดเชียงรายที่เสนอขายทั้งสิ้น 2,758 หน่วย ลดลงร้อยละ 11.9 จากปีที่แล้ว มูลค่ารวมอยู่ที่ 10,872 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 13.0 ทั้งหมดเป็นโครงการบ้านจัดสรร โดยไม่มีการเปิดขายโครงการอาคารชุดใหม่ในช่วงนี้ ในจำนวนดังกล่าว พบว่ามีโครงการที่เปิดขายใหม่เพียง 47 หน่วย ลดลงถึงร้อยละ 90.3 คิดเป็นมูลค่า 155 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 92.2 หน่วยขายใหม่มีเพียง 102 หน่วย ลดลงร้อยละ 55.5 มูลค่า 372 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 61.1

สถานการณ์เช่นนี้ทำให้ที่อยู่อาศัยเหลือขายในจังหวัดเชียงรายมีจำนวนถึง 2,656 หน่วย ลดลงร้อยละ 8.5 คิดเป็นมูลค่า 10,499 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.0 ทำเลที่อยู่อาศัยที่เสนอขายสูงสุดในจังหวัดเชียงรายคือ โซนอำเภอเมืองเชียงราย มีจำนวน 1,338 หน่วย มูลค่า 5,884 ล้านบาท ตามด้วยโซนสนามบิน-มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มีจำนวน 1,245 หน่วย มูลค่า 4,377 ล้านบาท และโซนอำเภอแม่สาย มีจำนวน 159 หน่วย มูลค่า 543 ล้านบาท ทั้งหมดอยู่ในกลุ่มระดับราคา 2-5 ล้านบาท โดยเป็นที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว ไม่มีโครงการอาคารชุดเสนอขายในพื้นที่เลย

นายชินะกล่าวปิดท้ายว่า แม้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดเชียงรายจะซบเซาลงในช่วงนี้ แต่ยังมีความหวังว่าตลาดจะเริ่มฟื้นตัวในอีก 1-2 ปีข้างหน้า ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศที่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางของตลาดในอนาคต

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สมาคมอสังหาริมทรัพย์เชียงราย / กรุงเทพธุรกิจ

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI NEWS UPDATE

เทศบาลนครเชียงรายเร่งช่วยน้ำท่วมมอบเงินครอบครัวละ 2,500 บาท

 

เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2567 นายวันชัย จงสุทธานามณี นายกเทศมนตรีนครเชียงราย ได้เปิดเผยถึงการดำเนินการเร่งด่วนในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในเขตเทศบาลนครเชียงราย ซึ่งมีทั้งหมด 52 ชุมชน โดยมีบ้านเรือนประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมมากกว่า 10,000 หลังคาเรือน เบื้องต้น เทศบาลได้อนุมัติการช่วยเหลือครอบครัวละ 2,000 บาทสำหรับการฟื้นฟูและทำความสะอาดบ้านเรือน พร้อมมอบค่ายารักษาโรคอีก 500 บาท รวมเป็นการช่วยเหลือเบื้องต้นครอบครัวละ 2,500 บาท

นายวันชัย กล่าวว่า เทศบาลนครเชียงรายได้ดำเนินการป้องกันและช่วยเหลือประชาชนมาตั้งแต่เริ่มเกิดอุทกภัยน้ำท่วม โดยได้ตั้งศูนย์พักพิงและศูนย์กระจายอาหารและน้ำให้กับผู้ประสบภัยในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก ทั้งนี้ ศูนย์ช่วยเหลือยังคงเปิดให้บริการต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายลง

ในระหว่างนี้ ภาครัฐและเอกชน รวมถึงพี่น้องประชาชน ต่างร่วมแรงร่วมใจนำสิ่งของมาบริจาคที่ศูนย์ช่วยเหลือที่สถานีดับเพลิง เพื่อส่งต่อความช่วยเหลือไปยังผู้ประสบภัย โดยเจ้าหน้าที่ได้ลงพื้นที่เพื่อเปิดศูนย์รับเรื่องร้องเรียนและลงทะเบียนรับความช่วยเหลือแล้ว

นายวันชัยยังได้แจ้งให้ประชาชนในทั้ง 52 ชุมชนที่ถูกน้ำท่วมให้นำขยะจากน้ำท่วมมาวางรวมไว้ริมถนนหรือบนฟุตบาท และจุดที่เทศบาลกำหนด เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้ามาเก็บขยะเหล่านั้นได้ ซึ่งคาดว่าจะสามารถเก็บขยะทั้งหมดให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน โดยมีการระดมกำลังเจ้าหน้าที่จากเทศบาลและภาคส่วนต่าง ๆ มาช่วยกันฟื้นฟูพื้นที่

ทั้งนี้ เทศบาลนครเชียงรายยังได้จัดส่งจิตอาสาและเจ้าหน้าที่เข้าทำความสะอาดถนนในเขตเทศบาล รวมถึงบ้านเรือนประชาชนที่ถูกน้ำท่วมและได้รับความเสียหาย ทรัพย์สินภายในบ้านหลายแห่งได้รับความเสียหายอย่างหนักเนื่องจากไม่สามารถขนย้ายขึ้นที่สูงได้ทัน นายกเทศมนตรีฯ จึงได้ประสานให้มีการจัดเก็บขยะและสิ่งของเสียหายให้ครบถ้วนภายในกรอบเวลาที่กำหนด

ภายหลังจากที่น้ำลดลง สถานการณ์ในเขตเทศบาลนครเชียงรายเริ่มฟื้นตัว แต่ยังคงต้องมีการทำความสะอาดและฟื้นฟูเพิ่มเติมเพื่อคืนสภาพเดิมให้กับเมืองเชียงราย โดยทางเทศบาลและชุมชนจะร่วมมือกันต่อไปในการฟื้นฟูพื้นที่และให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง.

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : เทศบาลนครเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News