Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

วช. รำลึก “1 ทศวรรษ แผ่นดินไหวแม่ลาว” “สิบปีผ่านไป แผ่นดินไหว เราไหวอยู่”

 
เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ ศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ มูลนิธิมดชนะภัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันจัดกิจกรรมรำลึกถึง “1 ทศวรรษ แผ่นดินไหวแม่ลาว” จัดให้มีบรรยายพิเศษ “รู้ทันแผ่นดินไหว” และการเสวนาในหัวข้อ “สืบปีผ่านไปปีผ่านไป แผ่นดินไหว เราไหวอยู่ และผู้เชี่ยวชาญด้านภัยพบัติได้มาร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ พร้อมทั้งนิทรรศการพิเศษแผ่นดินไหว ณ บ้านสิงคไคล อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย โดยมี นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานในพิธี และยังมี รองศาสตราจารย์ ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ประธานมูลนิธิมดชนะภัย พร้อมทั้งหน่วยงานกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมอุตุนิยมวิทยา กรมทรัพยากรธรณี กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมชลประทาน และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรม 
 

         นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า จังหวัดเชียงราย ถือว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหว เนื่องจากตั้งอยู่ในแนวเขตรอยเลื่อนของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ โดยเฉพาะรอยเลื่อนแม่จัน ที่เป็นรอยเลื่อนขนาดใหญ่อันดับต้นๆ ของประเทศไทย และยังมีรอยเลื่อนพะเยาที่อยู่พื้นที่ข้างเคียงและยังมีพลัง โดยเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 รอยเลื่อนพะเยาได้เกิดแรงสั่น ทำให้เกิดแผ่นดินไหวที่อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ขนาด 6.3 ริกเตอร์ ศูนย์กลางอยู่ลึกประมาณ 7 กิโลเมตร ส่งผลทำให้ส่งผลทำให้ครั้งนั้นเส้นทางคมนาคม โบราณสถาน และบ้านเรือนของประชาชนในพื้นที่ และจังหวัดใกล้เคียงได้รับผลกระทบ ทั้งหมด 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา น่าน แพร่ ลำปาง และจังหวัดกำแพงเพชร อีกทั้งถนนหลายสายเกิดการทรุดตัวและเกิดรอยแยกเป็นทางยาว ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นการรำลึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวแม่ลาว  ครบรอบ 10 ปี และสร้างความตระหนักรู้ ถอดบทเรียนจากประสบการณ์ตรง ทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้น ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จนนำไปสู่การเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน
 

          รองศาสตราจารย์ ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ประธานมูลนิธิมดชนะภัย กล่าวอีกว่า มูลนิธิมดชนะภัย ตั้งอยู่บ้านสิงหไคล อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร เพื่อร่วมส่งเสริมสังคมและศิลปวัฒนธรรมให้จังหวัดเชียงราย เป็นเมืองน่าอยู่ และเป็นเมืองศิลปะ รวมทั้งมุ่งเน่นการใช้วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ เข้ามาช่วยเหลือประชาชนให้ปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ โดยทางมูลนิธิมดชนะภัย ได้ร่วมจัดกิจกรรม “1 ทศวรรษแผ่นดินไหว” เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านภัยพิบัติแผ่นดินไหว ผ่านสื่อศิลปะและวิทยาศาสตร์ ให้กับผู้ที่สนใจตลอดเดือนพฤษภาคมนี้ และเป็นจุดเชื่อมต่อไปสู่เรื่องราวเหตุการณ์แผ่นดินไหวแม่ลาว ระหว่างภาคประชาสังคม ภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อเป็นการสะท้อนให้ประชาชนได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดการภัยพิบัติที่ดีร่วมกัน ภายใต้ชื่อว่า “แผ่นดินไหว เราไหวอยู่” 
 

          สำหรับกิจกรรมภายในงานจัดให้มีการบรรยายพิเศษ “รู้ทันแผ่นดินไหว” และการเสวนาในหัวข้อ “สิบปีผ่านไปแผ่นดินไหว เราไหวอยู่” โดยมี นายประจญ ปรัชญ์สกุล อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ตลอดจนผู้บริหารหน่วยงาน ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ได้ให้ข้อมูลความรู้ดังกล่าว จะเห็นได้ว่าแผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ดังนั้นจึงควรศึกษาเพื่อให้เข้าใจถึงกระบวนการเกิดของแผ่นดินไหวที่แท้จริง เพื่อเป็นแนวทางในการลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้นิทรรศการพิเศษ “1 ทศวรรษ แผ่นดินไหวแม่ลาว” ได้จัดให้มีการออกนิทรรศการภาพเล่าเรื่อง นิทรรศการเชิงศิลปะสะท้อนภาพเหตุการณ์ และ นิทรรศการเชิงวิทยาศารต์ การสาธิตการเกิดเหตุแผ่นดินไหว ซึ่งจะจัดขึ้นตลอดเดือนพฤษภาคม ณ บ้านสิงหไคล มูลนิธิมดชนะภัย อำเภอเมืองเชียงราบ จังหวัดเชียงราย ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าชมได้ฟรี ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
WORLD PULSE

รัฐบาลทหารเมียนมาสกัดคนหนีเกณฑ์ทหาร ประกาศสั่งห้ามพลเมืองชายไปทำงานต่างประเทศ

 

เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 สำนักข่าว Myanmar Now รายงานว่า การเตรียมการในพม่ากำลังมีการห้ามชายที่มีอายุระหว่าง 18 – 35 ปี ซึ่งต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหาร ไม่อนุญาตให้ออกจากประเทศเพื่อมุ่งหางานทำต่อไป คำสั่งนี้ได้เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 แต่มีการยืนยันจากนายยุ้นวิน ปลัดกระทรวงแรงงานของรัฐบาลทหารพม่าว่าคำสั่งดังกล่าวจะไม่มีผลต่อบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ออกจากประเทศก่อนหน้านี้ และจะยกเลิกคำสั่งนี้เมื่อสถานการณ์ในประเทศอนุญาตให้เช่นนั้น แม้ว่ายังไม่มีการประกาศอย่างเป็นทางการ

 

Myanmar Now รายงานว่า แม้ว่ายังไม่มีการประกาศอย่างเป็นทางการ แต่ได้รับรายงานจากบุคคลที่เข้าร่วมประชุมระหว่างนายมิ้นหน่อง รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานของพม่า และเจ้าหน้าที่ของสมาคมจัดหางานในย่างกุ้งต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างการประชุม รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานของพม่าได้ระบุว่า เตรียมที่จะออกกฎห้ามผู้ชายเดินทางออกจากประเทศเพื่อหลีกเลี่ยงการเป็นทหาร โดยมาจากเบื้องบน

ในระหว่างนี้ ผู้ชายหนุ่มจากเขตอิระวดีกล่าวว่า กองทัพกำลังทำให้คนหนุ่มสาวมีทางเลือกเพียงอย่างเดียว คือการเข้าร่วมกับกลุ่มต่อต้าน นอกจากนี้ยังมีข้อมูลว่า คำสั่งนี้จะเพิ่มจำนวนผู้ออกจากประเทศอย่างผิดกฎหมายเพื่อหางานทำอีกด้วย

ในขณะเดียวกัน สมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมืองพม่า (Assistance Association for Political Prisoners) ระบุว่า ตั้งแต่เผด็จการทหารยึดอำนาจมา กองทัพพม่าได้สังหารพลเรือนทั้งสิ้น 4,957 คน ในเดือนเมษายนเพียงเดือนเดียว ซึ่งมีจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด 121 คน เป็นชาย 88 ราย และหญิงอีก 33 ราย  ซึ่งรวมไปถึงเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีและผู้สูงอายุ ผู้ร้องขอความช่วยเหลือกล่าวว่า การประชุมระหว่างนายมิ้นหน่อง รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานของพม่า และเจ้าหน้าที่ของสมาคมจัดหางานในย่างกุ้งได้สร้างความกังวลในประเทศอย่างมาก และเป็นอีกหนึ่งอุปสรรคที่จะเสริมสร้างความเจ็บปวดในชุมชนนั้น ซึ่งสถานการณ์ยังคงเป็นอย่างวิกฤตต่อไป โดยจำนวน 42 รายนั้นเสียชีวิตจากสาเหตุปฏิบัติการโจมตีทางอากาศโดยกองทัพพม่า และเขตสะกาย ซึ่งเป็นฐานที่มั่นที่แข็งแกร่งที่สุดของฝ่ายต่อต้านกองทัพพม่าและเป็นพื้นที่ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุด กองทัพพม่าที่กำลังสูญเสียกำลังพลเป็นจำนวนมาก เนื่องจากต้องรับมือสงครามกับฝ่ายต่อต้านทั่วประเทศ ทำให้กองทัพพม่าตอบโต้ด้วยการโจมตีและสังหารพลเรือน

 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักข่าว Myanmar Now

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE SOCIETY & POLITICS

จัดอบรมคุณธรรมจริยธรรมเด็กและเยาวชนมุสลิม

 

เมื่อวันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม 2567 ณ มัสยิดอันนูร แม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย นายชัยยนต์ ศรีสมุทร นายกเทศมนตรีตำบลแม่สาย เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการจัดอบรมคุณธรรมจริยธรรมเด็กและเยาวชนมุสลิม ภาคฤดูร้อน ประจำปี พ.ศ. 2567 โดยมี นายสมจิตร มุณีกร ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดอันนูร แม่สาย เป็นผู้กล่าวรายงาน และอิหม่ามอรุณ จินดาอภิรักษ์กุล กล่าวดุอา (การอวยพร) นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มาพบปะและกล่าวถึงความสำคัญ และติดตามประเมินผลโครงการ เพื่อนำผลไปพัฒนา ส่งเสริม และขยายผลต่อไป

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ร่วมกับ คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดอันนูร แม่สาย โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อจัดโครงการจัดอบรมคุณธรรมและจริยธรรมเด็กและเยาวชนมุสลิม ภาคฤดูร้อน ประจำปี พ.ศ. 2567 ในระหว่างวันที่ 1 – 5 พฤษภาคม 2567 ณ อาคารเอนกประสงค์มัสยิดอันนูร แม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็ก เยาวชน และประชาชนในอำเภอแม่สาย จำนวน 200 คน

 

ในการนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นายสุพจน์ ทนทาน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายวิชชากรณ์ กาศโอสถ นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ นายอภิชาต กันธิยะเขียว นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ นางสาวสุทธิดา ตราชื่นต้อง นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ และนายพร้อมพงษ์ ทาสิทธิ์ ข้าราชการและบุคลากรสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ลงพื้นที่เพื่อติดตามประเมินผลโครงการฯ โดยมีกิจกรรมสำคัญดังนี้

 

  1. การอบรมให้ความรู้ด้านศาสนา จริยธรรม และวัฒนธรรม รวมทั้งการดำเนินชีวิตตามแบบเศรษฐกิจพอเพียง
  2. การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและกฎจราจร
  3. การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโทษภัยของยาเสพติด
  4. การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รัชกาลที่ 9
  5. การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการรู้จักป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโรโรนา 2019
  6. กิจกรรมนันทนาการและการปฏิบัติศาสนกิจทางศาสนาอิสลาม
  7. การบำเพ็ญประโยชน์จิตอาสา และทำความสะอาดสถานที่ต่าง ๆ
  8. การทัศนศึกษาของเด็กและเยาวชน

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย, สุพจน์ ทนทาน : รายงาน

พร้อมพงษ์ ทาสิทธิ์ : ภาพ
อภิชาต กันธิยะเขียว : บรรณาธิการข่าว
 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
ECONOMY

ไทยเงินยังเหลือเที่ยว “ญี่ปุ่น” และ “จีน” เพิ่มขึ้น 150% เมื่อเทียบจากปีที่แล้ว

 

เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2567 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ซึ่งเป็นวันหยุดยาวที่ผ่านมา ข้อมูลจาก “YouTrip” ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านดิจิทัลวอลเล็ตรองรับสกุลเงินที่หลากหลายพบว่า การเดินทางของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางไปต่างประเทศในช่วงเวลาดังกล่าวของปี 2567 ที่ผ่านมา พบว่ามีการเติบโตเพิ่มมากขึ้นถึง 150% จากช่วงเวลาเดียวกันเมื่อปี 2566 โดยมี “ญี่ปุ่น” และ “จีน” เป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยม ซึ่งมี “การช้อปปิง”เป็นกิจกรรมยอดฮิต

 

จุฑาศรี คูวินิชกุล ผู้ร่วมก่อตั้ง YouTrip ประเทศไทย ระบุว่า เป็นครั้งแรกที่ YouTrip จัดงานเสวนาเพื่อนำเสนอรายละเอียดเชิงลึกเกี่ยวกับนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศในช่วงหยุดยาว ซึ่งครั้งนี้มีตัวแทนจากผู้นำในแวดวงอุตสหกรรมท่องเที่ยวมาร่วมให้ข้อมูลเพื่อให้เข้าใจในเทรนด์ล่าสุดและแรงจูงใจว่าอะไรคือตัวกำหนดลักษณะของนักท่องเที่ยวยุคใหม่อีกด้วย เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการวางแผนสานต่อความร่วมมือกับผู้เล่นหลักในภาคการท่องเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางได้อย่างสนุกสนาน สบายใจ คนทุกช่วงวัยสามารถมีส่วนร่วมได้ รวมทั้งเสริมสร้างศักยภาพให้ทุกคนสามารถเดินทางออกไปท่องเที่ยวได้อย่างมั่นใจ

 

ล่าสุดญี่ปุ่นยังคงเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยวชาวไทย โดย 1 ใน 3 ของผู้ใช้บริการ YouTrip ที่เดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ และที่ผ่านมาปัจจัยหลักที่ทำให้นักท่องเที่ยวส่วนมากนิยมเดินทางไปญี่ปุ่นก็คือมีวัฒนธรรม สถานที่ท่องเที่ยว และอาหารท้องถิ่นที่มีความหลากหลาย ที่สำคัญยังมีย่านช้อปปิงที่ได้รับความนิยมอีกด้วย ประกอบกับค่าเงินเยนของญี่ปุ่นอ่อนตัวลง ทำให้กลายเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้กลายเป็นประเทศที่ได้รับความนิยม

 

จากข้อมูลการใช้จ่ายของผู้ใช้บริการ YouTrip พบว่า การใช้จ่ายเพื่อการช้อปปิงสูงถึงร้อยละ 58 นำมาเป็นอันดับหนึ่ง ส่วนสินค้าที่นักท่องเที่ยวนิยมซื้อมากที่สุดเมื่อไปญี่ปุ่นก็คือสินค้าแบรนด์หรูที่มียอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้นรวมแล้วมากกว่า 2 เท่าจากปีที่แล้วในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการซื้อของมากกว่าและให้ความสำคัญกับเรื่องของอาหารน้อยลงจนทำให้ฟาสต์ฟู้ดได้รับความนิยมมากขึ้น นอกจากนี้ YouTrip ยังพบว่าพฤติกรรมของผู้ใช้มีการแลกเงินบาทเป็นเงินเยน ผ่านกระเป๋าเงิน JPY ภายในแอปพลิเคชัน YouTrip เพิ่มมากขึ้นถึง 3 เท่าจากปีก่อน

 

ภิรมย์ทิศ ทองแถม ณ อยุธยา หัวหน้ากลุ่มงานการตลาดผลิตภัณฑ์ บมจ. การบินไทย กล่าวเพิ่มเติมว่าปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวซื้อตั๋วจากทางเว็บไซต์เพื่อเดินทางไปญี่ปุ่นโดยตรงมากขึ้น จากที่เมื่อก่อนนักท่องเที่ยวมักจะซื้อผ่านทัวร์ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะรูปแบบการท่องเที่ยวด้วยตัวเองหรือ FIT ได้รับความนิยมมากขึ้น

 

ด้านมิเชล โฮ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท Klook ประจำประเทศไทยและฟิลิปปินส์ เปิดเผยว่า “จุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวของคนไทยส่วนใหญ่จะเป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียที่มีอากาศเย็น ซึ่งญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ได้รับความนิยมสูงสุด เพราะมีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลาย ซึ่งแต่ละพื้นที่มีเสน่ห์แตกต่างกันไป เน้นสถานที่ที่ถ่ายรูปสวย รวมถึงมีความนิยมเที่ยวตามคอนเทนต์และการรีวิวจากโซเชียลมีเดีย”

 

ไม่ใช่แค่ญี่ปุ่นเท่านั้นแต่จีนเองก็ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือน พ.ย. 2566 ซึ่งเป็นช่วงหลังจากมีการประกาศข้อตกลงเดินทางปลอดวีซ่าระหว่างไทยและจีน ในเดือนเมษายน 2567 YouTrip พบว่า มีปริมาณการทำธุรกรรมเพิ่มขึ้นถึง 466% และจีนกลายเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมอันดับ 2 ที่มีการเดินทางไปเที่ยวมากที่สุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยเมืองยอดนิยมที่ผู้ใช้ YouTrip ชื่นชอบ ได้แก่ เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง เซินเจิ้น และเอิงตู

 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : YouTrip

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
LIFESTYLE

#ฅนเจียงฮาย EP.05 : เคยโดนว่า “เต้นกินรำกิน” ตอนนี้มันเป็นอาชีพไปแล้ว

 

คอลัมน์ #ฅนเจียงฮาย EP.05 : เคยโดนว่า “เต้นกินรำกิน” ตอนนี้มันเป็นอาชีพไปแล้ว

ฅนเจียงฮาย : ครูกร้อ ครูสอนเต้น

เป็นใครมาจากไหน เล่าให้ฟังหน่อย? : ชื่อ “ครูก้อ” ครับ หรือว่าตะกร้อครับ เคยเรียนที่ ท.6 (โรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย) มาก่อน แล้วก็ย้ายไปที่ มฟล. หรือ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ก็จบเป็นนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศครับ เกี่ยวกับไอที ไม่ได้เกี่ยวกับสายเต้นเลย เราเรียนไม่ได้เป็นความชอบส่วนตัว แต่เป็นความชอบของพี่สาวครับ แบบครอบครัวเมื่อก่อนก็คือเรารู้สึกว่า พี่เรียนสายอาชีพทางบ้านก็คิดว่าน่าจะทำงานได้ดีในสายนี้เราก็เลยเรียนแต่พอเราเข้ามหาวิทยาลัยเราก็รู้สึกว่าตัวเองชอบสิ่งอื่นที่น่าสนใจมากกว่านั้น ซึ่งมันก็คือ ‘การเต้น’ ที่เรารู้สึกว่าเราหลงรักเสียงเพลง ก็เลยผันตัวเองมาลองเต้นดูครับ

 

ที่บ้านก็มีไม่เข้าบ้างครับ เราเต้นเพื่ออะไรหรือว่าจุดมุ่งหมายเราที่เราจริงจังเนี่ยเพื่ออะไร? แบบนี้ครับ มันก็เหมือนมีคนบอกว่าเป็นการ ‘เต้นกินรำกิน’ ยังมีคำนี้อยู่นะครับมันมีมาตั้งแต่เมื่อก่อนแล้ว เรารู้สึกว่าจริง ๆ แล้วมันก็เป็นอาชีพได้นะในวันนึง แต่เมื่อก่อนคุณพ่อคุณแม่อาจจะยังไม่เข้าใจครับ

เราก็พิสูจน์ตัวเองแล้วก็เต้นมาเรื่อย ๆ จนเราได้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่ง Hip Hop International ครับ ปี 2014 ได้รางวัล รองชนะเลิศอันดับ 1 ครับ ได้ร่วมเป็นตัวแทนประเทศในทีมใหญ่ที่เป็นการรวมตัวกันของหลาย ๆ ทีม แข่งที่ Las Vegas ปี 2015 ได้รางวัล อันดับที่ 4 ครับ ได้เป็นตัวแทนไปแข่งที่ San Diego

พอได้รางวัลมาพ่อแม่ก็เข้าใจ ก็ปล่อยให้ทำเต็มที่เลยครับ เราได้แชมป์เราก็จะไปแข่งที่อเมริกามาอีกสองปี กับครูยุ้ย ครูเมฆ เจ้าของสถาบัน MY DANCE นี่แหละ แต่ก็ไม่ได้รางวัลครับ เพราะที่อเมริกา การแข่งขันมันสูงมากครับ ตอนนี้เราเริ่มผันตัวเองมาเป็นโค้ชด้วย ลงแข่งบ้างบางครั้งบางคราวครับ


คือผมเป็นคนเชียงรายมาดั้งเดิม แต่ว่ามันมีช่วงที่เราไปทำงาน คิดจะไปเต้นที่กรุงเทพฯ เป็นแบบผู้ช่วยพวกในบริษัทค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ อย่างแกรมมี่ครับ เป็นผู้ช่วยของพี่ที่ทำงานสายเต้นด้วยกันนี่แหละ แต่เราก็อยู่ได้ ประมาณเดือนนึงแล้วก็กลับ ด้วยความรู้สึกว่าพอเราไปอยู่เบื้องหลังอะมันยังไม่ใช่ตัวตนเราครับ เพราะเราอาจจะชอบเต้นมาก ๆ ด้วยแหละ ชอบสอนด้วย เลยรู้สึกว่ามาทำสิ่งที่เราชอบตั้งแต่ต้นดีกว่า แล้วสอนเต้นนี่ประมาณเกือบจะสองปีแล้วครับ มีทั้งวัยเด็กน้อยสุดก็ประมาณ 3 ขวบ มากสุดอยู่ที่ 47 ปี เกือบ 50 ปี ก็คิดว่าจะทำไปเรื่อย ๆ เพราะชีวิตเราอยู่กับการเต้นและเราก็ชอบมากครับ
 

ปกติตอนแรกเรารู้สึกว่าเราไม่ชอบการสอนตั้งแต่แรก แต่พอทำไปเรื่อย ๆ ก็รู้สึกว่าการสอนผู้คนมันเปลี่ยนผู้คนได้ เราเห็นเขายิ้ม ได้เห็นเขามีความสุขกับการเต้น เราพอใจละ เราไม่ต้องการอะไร ไม่ต้องเก่งก็ได้แต่ให้เขาได้เปลี่ยนไปทำในสิ่งที่เขาชอบ เพลงที่เขาชอบ เหมือนเดี๋ยวนี้คนชอบที่จะได้ฟังเสียงเพลงหรือว่าอยากให้การเต้นมาช่วยบําบัดเพื่อให้ตัวเองมีความสุขมากขึ้น สิ่งนี้ทำให้เรารู้สึกว่า เออ เขามีความสุขขึ้นจริง ๆ กับเสียงเพลงและการที่ได้มาเต้นกับเรา มันทำให้คนดีขึ้นได้ ผมก็โอเคแล้ว มันมีความสุข รู้สึกถูกเติมเต็มมาก ๆ เลยครับ
 

อย่างเช่นเคสนึง มีนักเรียนเขามาเรียนกับเรา คือเขาอกหัก แล้วเขาบอกว่าอยู่คนเดียวไม่ไหว รู้สึกว่าเหมือนจะมีอาการซึมเศร้า เขาก็เลยออกมาเรียนเต้น ออกมาแสดงตัวตน สุดท้ายเขาก็มีความสุขขึ้น รู้สึกหลุดพ้นไม่ต้องคิดอะไร ดังนั้นตรงนี้มันโอเคที่สุดแล้วสําหรับเราครับ
 

สิ่งที่อยากเปลี่ยนมากที่สุด? : ถ้าถามว่าอยากจะเปลี่ยนอะไร อยากเปลี่ยนให้ทุกคนยอมรับในการเต้นมากขึ้นครับ เพราะว่ามันยุคใหม่แล้วมันต่างจากเมื่อก่อนเยอะ ไม่มีใครมาดูถูกแล้วว่าการเต้นมันไม่มีคุณค่า ทุกอย่างทุกอาชีพมันมีคุณค่าของมันอยู่แล้ว การเต้นก็เหมือนกันครับ


ฅนเดินเรื่องโดย : ครูกร้อ ครูสอนเต้น
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : MY Dance Academy

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
NEWS UPDATE

นายกฯ จับตาสถานการณ์ภัยแล้ง สั่งบูรณาการ จัดการอย่างเป็นระบบ

 

เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2567 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ห่วงสถานการณ์ภัยแล้งที่จะส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งภาคเกษตรกรรม ความเป็นอยู่ การลงทุน รวมทั้งการท่องเที่ยว เล็งภาคใต้จะกระทบหนัก สั่งการทุกหน่วยงานวางแผนบริหารการอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมเพื่อรับมือและบรรเทาสถานการณ์ และช่วยเหลือประชาชน โดยได้สั่งการให้ทุกหน่วยงาน เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ดูแลเรื่องน้ำ กระทรวงมหาดไทยที่ดูแล บรรเทาสาธารณภัยรวมทั้งเหล่าทัพ ที่นำสรรพกำลังเข้าช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ภัยแล้ง รวมถึงภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมด้วยช่วยกัน ในส่วนที่ทำได้อำนวยความสะดวก ดูแล แบ่งเบาความทุกข์ ประชาชน และกำชับหน่วยกองทัพร่วมเข้าช่วยเหลือแก้ปัญหาภัยแล้ง ดูแลการขาดน้ำอุปโภค บริโภค ของประชนให้ทันท่วงทีและรายงานนายกรัฐมนตรีทุกระยะ เพื่อพิจารณาปรับแผนการดำเนินการที่เหมาะสม

 

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ซึ่งจากการสั่งงานของนายกรัฐมนตรี ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องน้ำ กษ. มท. เหล่าทัพ เร่งหามาตรการบรรเทา และเป็นการแก้ไขสถานการณ์ทั้งระบบเพื่อให้เกิดผลกระทบต่อเกษตรกรและประชาชนน้อยที่สุด โดยขณะนี้มี รถผลิตน้ำดื่มเคลื่อนที่ รถขนน้ำ การขุดลอกแหล่งน้ำ และซ่อมบำรุงระบบปะปาแก่ชุมชน
 
 
“ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนจัดนี้ นายกรัฐมนตรีวางแผนการทำงานล่วงหน้าเพื่อบรรเทาน้ำแล้งทั้งระบบ ไม่ให้เกิดผลกระทบกับประชาชน ภารการเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ที่รับรายงานว่าเกิดปัญหาขาดน้ำแล้วโดยขอทุกหน่วยงานแบ่งงานกันดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องและรายงานนายกรัฐมนตรีเป็นระยะเพื่ออาจพิจารณาปรับเปลี่ยนการทำงานเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ตรงความต้องการ” นายชัย กล่าว
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักนายกรัฐมนตรี

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

เตรียมสร้างอ่างเก็บน้ำแม่คำ ปี 2570 แก้ปัญหาภัยแล้ง-น้ำท่วมซ้ำซาก

 

เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2567นายพิเชษฐ รัตนปราสาทกุล ผู้อำนวยการสำนักออกแบบและสถาปัตยกรรม กรมชลประทาน กล่าวว่า “โครงการอ่างเก็บน้ำแม่คำ” จังหวัดเชียงราย เป็นพื้นที่ในลุ่มน้ำคำ ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแม่คำ จะสามารถช่วยพื้นที่การเกษตรกว่า 75,000 ไร่ ที่มีทั้งปัญหาน้ำแล้งและน้ำท่วมหลากซ้ำซากในพื้นที่เศรษฐกิจและพื้นที่การเกษตรในอำเภอแม่จัน โครงการอ่างเก็บน้ำแม่คำ ตั้งอยู่บ้านสามัคคีใหม่ ตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย

 

“ขณะนี้โครงการอยู่ในขั้นตอนของการสำรวจและออกแบบรายละเอียดโครงการ และจะดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2567 อ่างเก็บน้ำแม่คำมีความจุประมาณ 51.73 ล้าน ลบ.ม. และคาดว่าจะได้รับงบประมาณก่อสร้างประมาณปลายปี 2569 หรือ 2570 โดยใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปีครึ่ง”

 

       เมื่อดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแม่คำแล้วเสร็จ จะช่วยให้การทำการเกษตรมีแหล่งน้ำถาวรเพิ่มขึ้น ทำการเพาะปลูกในฤดูฝนได้เต็มประสิทธิภาพประมาณ 67,000 ไร่ ลดปัญหาฝนทิ้งช่วง ส่วนฤดูแล้งจะสามารถทำการเกษตรเพิ่มขึ้นได้ประมาณ 48,900 ไร่ สามารถส่งน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภคได้ประมาณ 1.8 ล้าน ลบ.ม./ปี ช่วยบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มริมน้ำแม่คำ ประมาณ 1,200 ไร่ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำของท้องถิ่น เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และ รักษาสมดุลนิเวศท้ายน้ำ โดยระบายน้ำในฤดูแล้งลงลำน้ำเดิม

 

      ทางด้าน นายธนพล สงวนตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้าง ชลประทานขนาดกลางที่ 2 กล่าวว่า การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแม่คำ จะกระทบพื้นที่ทำกินของราษฎร จำนวน 175 ราย รวม 267 แปลง ประมาณ 1,207 ไร่ และกระทบที่อยู่อาศัยจำนวน 16 หลัง ซึ่งจะได้การชดเชยที่ดินและทรัพย์สินทั้งกรณีที่ดินมีเอกสารสิทธิ์และที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อปี 2532 รวมทั้งการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแม่คำ จะทำให้ระดับน้ำสูงสุดท่วมถนนในบางช่วงจากบ้านสามัคคีใหม่ไปบ้านห้วยหม้อ และจากบ้านห้วยหม้อไปบ้านห้วยมุ ก็จะสร้างถนนทดแทนให้ การก่อสร้างจะใช้วัสดุก่อสร้างเขื่อนจากภายในอ่างให้มากที่สุด เพื่อลดการขนส่งวัสดุจากภายนอกเข้ามาในพื้นที่ ซึ่งจะมีผลกระทบด้านเสียง ฝุ่น และการสัญจร รวมทั้งมีการลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชุมชนใกล้เคียง โดยปฏิบัติตามรายงานแผนปฏิบัติการป้องกันแก้ไขและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIMP) ที่กรมชลประทานได้จัดทำรายงานและผ่านการเห็นชอบของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) แล้ว “ผลกระทบในแง่ชีวิตและสิ่งแวดล้อม กรมชลประทานมีแผนปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข และติดตาม โดยจะดำเนินการควบคู่ไปกับการก่อสร้าง เป็นระยะเวลา 15 ปี อย่างเช่น ป่าไม้ที่ถูกน้ำท่วมก็จะปลูกป่าชดเชยให้ 2 เท่า”

 

      ดร.สมชาย ประยงค์พันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน กล่าวว่า อ่างเก็บน้ำแม่คำตั้งอยู่ห่างจากรอยเลื่อนแม่จัน 13 กิโลเมตร จึงต้องออกแบบเขื่อนให้สามารถต้านแรงแผ่นดินไหวได้ที่ขนาด 6.8 โดยออกเเบบตามมาตรฐานต้านแผ่นดินไหวทั้งของกรมชลประทานเเละมาตรฐานระดับโลก

 

       นายทวีชัย โค้วตระกูล ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงราย กล่าวว่า จังหวัดเชียงราย มักมีปัญหาน้ำท่วมในช่วงฤดูฝนที่มีฝนตกหนัก น้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่เกษตรและบ้านเรือนอยู่เสมอ โดยเฉพาะในเขตอำเภอพาน, อำเภอแม่จัน, อำเภอแม่ลาว ส่วนในช่วงเดือนตุลาคม-พฤษภาคม จะเป็นช่วงที่ขาดฝนทำให้แม่น้ำและลำห้วยต่างๆ มีปริมาณน้ำลดลง บางแห่งน้ำขอด อย่างเช่นที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ ทำให้ขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และทำการเกษตร โดยพื้นที่ที่มักจะประสบปัญหาภัยแล้งซ้ำซาก คือ อำเภอแม่จัน อำเภอเชียงแสน อำเภอเชียงของ อำเภอพญาเม็งราย อำเภอเวียงป่าเป้า และอำเภอแม่สรวย

 

       เมื่อมีการพัฒนาโครงการอ่างเก็บน้ำแม่คำแล้วเสร็จ จะสามารถส่งน้ำให้พื้นที่เพาะปลูกได้สม่ำเสมอตลอดปี ช่วยลดปัญหาการขาดแคลนน้ำใช้เพื่อการเกษตรในช่วงฤดูแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำคำ สามารถดูแลผลผลิตจากการปลูกพืชให้มีผลผลิตมากขึ้น และจะบริการจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วมกับกลุ่มผู้ใช้น้ำใน รวมทั้งช่วยบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่อำเภอแม่จัน และอำเภอเชียงแสนได้อีกด้วย

 

    ขณะที่นายผาย วงศ์ฝั่น ประธานฝายผาม้าและประธานเครือข่ายลุ่มน้ำคำ บอกว่า ในพื้นที่มักจะประสบปัญหาแล้งและท่วมสาหัส อยู่เสมอ อย่างเช่น ในขณะนี้เกิดภาวะภัยแล้งรุนแรงจากอากาศที่ร้อนจัด ทำให้ ไร่นาเสียหาย โดยเฉพาะปีนี้ไร่นาในอำเภอเชียงแสนเสียหายหนักมาก จึงรอความหวังให้กรมชลประทานเร่งก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแม่คำให้ได้โดยเร็ว

 

        ด้านนายเขียว วิยาพร้าว กรรมการลุ่มน้ำคำ ตำบลศรีดอนมูล อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย บอกว่ารอคอยการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแม่คำมานานกว่า 30 ปี ปีนี้ ในตำบลศรีดอนมูล นาข้าวยืนต้นตายจากปัญหาภัยแล้งกว่า 2,000 ไร่ เพราะน้ำในคลองส่งน้ำแห้งขอด อ่างเก็บน้ำแม่คำจึงเป็นความหวังของชาวบ้านที่จะสามารถเพิ่มรายได้จากการทำการเกษตรและน้ำกินน้ำใช้ก็จะดีขึ้นตามไปด้วย 

 

 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

พิจารณาสุดยอดผ้าเชียงราย ปี 67 ผ้าพื้นถิ่น ผ้าทอมือ ผ้าที่ทำจากมือ

 
เมื่อวันที่ศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม 2567 ณ ห้องประชุมพวงแสด ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดเชียงรายจังหวัดเชียงราย โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย จัดการประชุมคณะกรรมการประกวดสุดยอดผ้าเชียงราย ประจำปี 2567 พิจารณาคัดเลือกสุดยอดผ้าจังหวัดเชียงราย เพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

 

ในการนี้ นางสุภาเพ็ญ ศิริมาตย์ ประธานแม่บ้านมหาดไทย เป็นประธานการประชุมฯ พร้อมด้วย นางสุภาพรรณ หมั่นเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย นางจิราภรณ์ โมสิกรัตน์ อุปนายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย คณะกรรมการฯ ที่ได้รับการแต่งตั้งจากจังหวัดเชียงราย และ คุณจินตนา จิตรสกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท โตโยต้าเชียงราย จำกัด เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว

 

ทั้งนี้ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP หรือ ช่างทอจังหวัดเชียงรายได้ให้ความร่วมมือจัดส่งผ้าเข้าร่วมการประกวดฯ เป็นจำนวนมาก โดยคณะกรรมการฯ พิจารณาจากผ้าพื้นถิ่น ผ้าทอมือ ผ้าที่ทำจากมือ (Hand Made) และควรเป็นสีธรรมชาติ เส้นใยที่ใช้ทอ หรือผลิต ต้องเป็นเส้นใยฝ้ายหรือเส้นใยไหมที่เป็นเส้นใยแท้ ไม่ใช้เส้นใยประดิษฐ์หรือเส้นใยผสม

 

ในโอกาสนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้ นางสาวณพิชญา นันตาดี นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว

 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
NEWS SOCIETY & POLITICS

คุณตัน มอบเงินแสนให้ 54 หมู่บ้านหลังจบ ภารกิจท้าชาวเชียงใหม่ลด “จุดความร้อน”

 

เมื่อวันที่  2 พ.ค.2567 ที่ผ่านมา หอประชุมที่ว่าการอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ คุณตัน ภาสกรนที หรือ “ตัน อิชิตัน” นักธุรกิจเจ้าของเครื่องดื่มชื่อดังของเมืองไทย ได้เดินทางมามอบเงินรางวัลให้กับหมู่บ้านที่สามารถลดจุดความร้อนได้ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ตามเงื่อนไขที่ได้มีการลงนาม MOU ร่วมกันระหว่างมูลนิธิตันปัน กับ มูลนิธิป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นควัน จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ในฐานะประธานมูลนิธิป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นควันจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วย นายอำเภอแม่ริมและนายอำเภอหางดง ร่วมเป็นสักขีพยาน

หลังมูลนิธิตันปัน นำโดย คุณตัน ภาสกรนที ได้มาร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับมูลนิธิป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นควัน จังหวัดเชียงใหม่ โดยเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2567  เพื่อบูรณาการความร่วมมือ และทดสอบความท้าทายในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ร่วมกับ 69 หมู่บ้าน โดยเริ่มเก็บสถิติเป็นเวลา 40 วัน เงื่อนไขให้ลดจำนวนจุดความร้อนให้ได้ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับจำนวนจุดความร้อนในช่วงระยะเวลาเดียวกันในปี 2566  ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม – 30 เมษายน 2567 หากสามารถทำได้ตามเงื่อนไขได้ จะมอบงบประมาณสนับสนุนเป็นเงินรางวัลให้หมู่บ้านละ 100,000 บาท

ซึ่งผลปรากฏว่า มี 54 หมู่บ้าน จากทั้งหมด 69 หมู่บ้าน ที่สามารถก้าวข้ามความท้าทายและดำเนินการตามเงื่อนไขได้สำเร็จ ประกอบไปด้วย หมู่บ้านในอำเภอแม่ริม 36 หมู่บ้าน และ หมู่บ้านในอำเภอหางดง 18 หมู่บ้าน ส่งผลให้จำนวนจุดความร้อนใน 2 อำเภอ ลดลงเป็นจำนวนมาก จากเดิมในปี 2566 เกิดจุดความร้อนทั้งหมด 324 จุด ส่วนปีนี้ลดลงเหลือเพียง 111 จุด หรือลดลงจากเดิมกว่า 65 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม คุณตัน ยังได้มอบเงินรางวัลปลอบใจให้กับอีก 15 หมู่บ้าน ที่ไม่สามารถทำได้ตามเป้าอีกหมู่บ้านละ 10,000 บาท รวมเป็นยอดเงินสนับสนุนในครั้งนี้กว่า 5.5 ล้านบาท

โดย คุณตัน ภาสกรนที เปิดเผยว่า การดำเนินการดังกล่าวถือว่าประสบผลอย่างมาก ทั้งสองอำเภอสามารถช่วยกันลดจุดความร้อนได้กว่า 65 เปอร์เซ็นต์ ในระยะเวลาเพียง 40 วัน ทั้งที่อยู่ในช่วงที่เป็นจุดพีคของการเกิดไฟป่า อย่างไรก็ตามหากจะให้เกิดความยั่งยืน ประชาชนทุกคนจะต้องให้ความร่วมมือแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่น PM2.5 อย่างจริงจัง ส่วนในปีหน้าก็พร้อมที่จะให้การสนับสนุนอีก แต่เพียงตนเองอาจจะมีกำลังไม่มากพอ ดังนั้น อาจจะต้องร่วมมือกับกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจ โรงแรม ห้างร้าน และหน่วยงานภาคเอกชนอื่นๆ เข้ามาร่วมสนับสนุน เพื่อให้ครอบคลุมทั่วทั้งจังหวัด ถือเป็นการคืนความสุขให้กับประชาชน

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
NEWS

สภาเด็กเเละเยาวชนเเห่งประเทศไทย พบนายกรัฐมนตรีนำเสนอมติ ปี 2566

 
เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2567 สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทยนำโดย นางสาวนดา บินร่อหีม ประธานสภาเด็กเเละเยาวชนเเห่งประเทศไทย พร้อมด้วยคณะผู้บริหารเเละคณะทำงาน เข้าพบนายรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอมติสมัชชาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ปี2566
 
 
สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทยในฐานะองค์กรกลางตามกฎหมายของเด็กและเยาวชนได้ร่วมกับ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF)
 
 
 จัดงานสมัชชาเด็กและเยาวชนแห่งชาติประจำปี 2566 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และเปิดพื้นที่ให้เด็กและเยาวชนได้แสดงความคิดเห็น ต่อสถานการณ์ปัญหาต่างๆ ในพื้นที่ โดยกิจกรรมประกอบด้วย การจัดทำแบบสำรวจออนไลน์ สถานการณ์เด็กและเยาวชน จำนวน 33,580 คน การจัดเวทีสมัชชาเด็กและเยาวชนในวันที่ 22 – 24 กรกฎาคม 2566 โดยมีผู้แทนจากเด็กและเยาวชนทั่วประเทศ เข้าร่วมจำนวน 200 คน และได้จัดทำเป็นรายงานมติสมัชชาและข้อเสนอเชิงนโยบายที่มาจากเสียงสะท้อนของเด็กและเยาวชน ใน 6 ประเด็น ได้แก่ ประเด็น
– การศึกษา ประเด็นสุขภาพ 
– ประเด็นสิ่งแวดล้อม 
– ประเด็นการมีส่วนร่วม 
– ประเด็นเศรษฐกิจ 
– และประเด็นความรุนแรงต่อเด็กและเยาวชน
 
 
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า “สำหรับการนำเสนอข้อมูลของน้อง ๆ วันนี้สะท้อนความต้องการที่แท้จริงของน้อง ๆ ที่มาจากสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย ซึ่งการเรียนรู้และการยอมรับในมุมมองของเยาวชน นับเป็นก้าวแรกในการสร้างสังคมที่ทุกคนมีส่วนร่วมภายใต้ความหลากหลาย โดยเชื่อมั่นว่าด้วยความร่วมมือและความพยายามร่วมกันของทุกคน เราสามารถสร้างประเทศไทยให้เป็นสังคมที่เต็มไปด้วยโอกาสที่ดีและความคิดสร้างสรรค์ได้”
 
 
นายกรัฐมนตรีย้ำว่า “รัฐบาลให้ความสำคัญกับทุก ๆ ข้อเสนอที่ถูกนำมาเสนอ ซึ่งถือเป็นเสียงสำคัญของเยาวชนของชาติ โดยจะร่วมมือกับทุกภาคส่วนสร้างอนาคตที่ดีให้กับเยาวชนของเรา พร้อมฝากสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทยทุกคนในฐานะที่เป็นกำลังสำคัญในการสร้างความเจริญก้าวหน้าของประเทศ ขอให้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดี ทำหน้าที่ของตนเองในทุกบทบาทให้เต็มที่บนพื้นฐานความถูกต้อง ดีงามและสร้างสรรค์ เคารพในความคิดเห็นที่หลากหลาย เพื่อทำให้สังคมไทยมีแต่ความรัก ความสามัคคีและเหนือสิ่งอื่นใดคือการยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ”
 
 
 สภาเด็กและเยาวชนเรามุ่งมั่นที่จะเป็นพลังสำคัญ ในการพัฒนาประเทศร่วมเป็นหุ้นส่วนในการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของประเทศ
 

สมัชชาเด็กและเยาวชนแห่งชาติเป็นพื้นที่สำคัญสำหรับเด็กและเยาวชนในการส่งเสียง แสดงความคิดเห็น และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นต่าง ๆ ที่เป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนของคนรุ่นใหม่ ภายใต้แนวคิด “เด็กคิด เด็กทำ   เด็กนำ ผู้ใหญ่หนุน” โดยใช้กลไกการมีส่วนร่วมของทุกคน ทุกภาคีเครือได้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมประเมิน และร่วมรับผิดชอบในการพัฒนาเด็กและเยาวชน

รายงานฉบับนี้เป็นความร่วมมือของสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย, กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ที่ได้ร่วมกันจัดงานสมัชชาเด็กและเยาวชนแห่งชาติประจำปี 2566 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและเปิดพื้นที่ให้เด็กและเยาวชนได้แสดงความคิดเห็นต่อสถานการณ์ปัญหาต่าง ๆ  รอบตัว 

รายงานฉบับนี้ได้รวบรวมและนำเสนอเสียงสะท้อนของเด็กและเยาวชนไทย จากแบบสำรวจออนไลน์ในช่วงวันที่ 15 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน 2566 โดยมีเด็กและเยาวชนอายุ 10 – 25 ปีจำนวน 33,580 คนจากทั่วประเทศร่วมให้ความคิดความเห็น และได้จัดเวทีสมัชชาเด็กและเยาวชนเมื่อวันที่ 22 – 24 กรกฏาคม 2566 เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 6 ประเด็นปัญหาสำคัญ ได้แก่ 1) ประเด็นด้านเศรษฐกิจและการมีงานทำ 2) ประเด็นด้านการศึกษา 3) ประเด็นสุขภาพ 4) ประเด็นความรุนแรง 5) ประเด็นสิ่งแวดล้อม และ 6) ประเด็นการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย – The Children and Youth Council of Thailand

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News