Categories
AROUND CHIANG RAI NEWS UPDATE

น้ำท่วมเชียงราย กระทบพื้นที่เกษตรไปแล้ว 14,138 ไร่ และ โรงเรียนอีก 31 แห่ง

 

เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2567 จากข้อมูลสะสมระหว่างวันที่ 9 -21 ก.ย. 2567 ทั้งสิ้น 10 อำเภอ 41 ตำบล 358 หมู่บ้าน 1 เทศบาลนคร (52 ชุมชน) โดยตลาดชุมชนเศรษฐกิจ ได้รับผลกระทบ 2 แห่ง ร้านค้า/สถานประกอบการ 92 แห่งราษฎรได้รับผลกระทบเบื้องต้น53,236 ครัวเรือน เสียชีวิต 12 ราย บาดเจ็บ 2 รายพื้นที่เกษตรได้รับผลกระทบ 14,138 ไร่ ปศุสัตว์ได้รับผลกระทบ 48,180 ตัว (ได้แก่ โค 894 ตัว กระบือ 141 ตัว สุกร 5 ตัว แพะ/แกะ 25 ตัว สัตว์ปีก 47,115 ตัว) สัตว์เลี้ยง 299 ตัว (ได้แก่ สุนัข 145 ตัว และแมว 154 ตัว)ด้านสิ่งสาธารณประโยชน์ได้รับผลกระทบ ได้แก่ โรงเรียน จำนวน 31 แห่ง ถนน 7 จุด และคอสะพาน 4 จุด

 

ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ผู้อำนวยการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าไปช่วยเหลือ ซึ่งได้เตรียมการมาเป็นอย่างดีทั้งเครื่องมือ อุปกรณ์เครื่องจักรกล ยุทโธปกรณ์ พร้อมกำลังพลในการเข้าไปช่วยเหลือ อย่างเร่งด่วน แต่เนื่องจากเกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง หลายวัน ทำให้วันนี้ (21 กันยายน 2567) ได้เกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะที่ ได้แก่ อ.เมืองเชียงราย, อ.เชียงแสน, อ.เชียงของ, อ.แม่จัน, อ.แม่ฟ้าหลวง, อ.แม่สาย, อ.ดอยหลวง, อ.เทิง อ.เวียงแก่นและ อ.เวียงป่าเป้า เกิดน้ำท่วมหนักในรอบหลายปี อย่างไรก็ตาม นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจ และเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน หากประชาชนต้องการขอความช่วยเหลือ หรือแจ้งเหตุ แจ้งได้ตลอด 24 ช่วยโมง ที่สายด่วน 1784
 
 
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย รายงานสถานที่เกิดเหตุ/ความเสียหาย/การให้ความช่วยเหลือ (เหตุต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 8 ก.ย. 67 และสถานการณ์ในวันนี้ (21 ก.ย. 67) ดังนี้
 
อ.เมืองเชียงราย(ข้อมูลสะสม 8 ตำบล 59 หมู่บ้าน 52 ชุมชน)ปัจจุบัน ภาพรวมสถานการณ์คลี่คลาย ดำเนินการฉีดล้างทำความพื้นที่ที่น้ำลดลงแล้ว ยังคงมีสถานการณ์
 
เขตเทศบาลนครเชียงราย พื้นที่ได้รับผลกระทบสะสม 52 ชุมชน เสียชีวิต 1 ราย ปัจจุบัน (วันที่ 21 ก.ย. 67) สถานการณ์คลี่คลาย บางชุมชนมีน้ำผุดท่อเนื่องจากท่อระบายน้ำอุดตัน(ได้แก่ พื้นที่ชุมชนป่าแดง และชุมชนฝั่งหมิ่น) และยังมีน้ำท่วมขังส่งกลิ่นเน่าเหม็นในพื้นที่ชุมชนเกาะลอย และชุมชนบ้านใหม่)/ เทศบาลนครเชียงรายดำเนินการ Big Cleaning Day จุดที่น้ำลดลงแล้วตั้งแต่วันที่ 14 ก.ย. 67 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
 
โรงเรียนในเขตเทศบาลนครเชียงรายประกาศหยุดเรียนจนกว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ เบื้องต้น 11 โรงเรียน 1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล 1- 8/ ร.ร.สามัคคีวิทยาคม/ ร.ร.อนุบาลเชียงราย (สันต้นเปา)/ ร.ร.อบจ.เชียงราย และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านใหม่ ความคืบหน้าสถานศึกษาที่เปิดเรียน ดังนี้
 
วันที่ 17 ก.ย. 67 สถานศึกษาที่เปิดเรียน จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ร.ร.สามัคคีวิทยาคม และร.ร.อนุบาลเชียงราย (สันต้นเปา) วันที่ 18 ก.ย. 67 สถานศึกษาที่เปิดเรียน จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ร.ร.เทศบาล 3 ศรีทรายมูล,ร.ร.เทศบาล 6 นครเชียงราย และร.ร.เทศบาล 4 สันป่าก่อ วันที่ 19 ก.ย. 67 สถานศึกษาที่เปิดเรียน จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ร.ร. เทศบาล 1 ศรีเกิด และ ร.ร.เทศบาล 5 เด่นห้า วันที่ 20 ก.ย. 67 สถานศึกษาที่เปิดเรียน จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านใหม่, ร.ร.เทศบาล 2 หนองบัว,และ ร.ร.เทศบาล 8 บ้านใหม่ วันที่ 23 ก.ย. 67 สถานศึกษาที่เปิดเรียน จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ ร.ร.เทศบาล 7 ฝั่งหมิ่น
 
การประปาส่วนภูมิภาคสาขาเชียงราย หยุดระบบการผลิตและระบบจ่ายน้ำ (ตั้งแต่วันที่ 11 ก.ย. 67 เวลา 15.59 น.) อำเภอเมืองเชียงรายและอำเภอเวียงชัย ได้รับผล
วันที่ 20 ก.ย. 67 กปภ.สาขาเชียงราย มีประกาศไม่สามารถจ่ายน้ำได้ตามปกติ ในวันที่ 24 ก.ย. 67 เวลา 13.00 – 16.00 น. เนื่องจากซ่อมแซมตู้มอเตอร์เครื่องสูบน้ำแรงสูง
 
กปภ.สาขาเชียงราย จัดรถบริการน้ำแจกจ่ายควบคู่กับการกระจายน้ำ จำนวน 5 จุดบริการ ดังนี้
(1) รถน้ำสาขาพะเยา ให้บริการ รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ อ.เมืองเชียงราย 
(2) รถน้ำสาขาเชียงรายให้บริการ ชุมชนกกโท้ง (ทน.เชียงราย) อ.เมืองเชียงราย 
(3) รถน้ำสาขาลำปาง ให้บริการ รพ.โรงพยาบาลสมเด็จพระญาณสังวร อ.เวียงชัย
(4) รถน้ำเขต 10 คันที่ 1 ให้บริการจุดจ่ายน้ำ โครงการ A-star ต.ท่าสุด อ.เมืองเชียงราย 
(5) รถน้ำเขต 10 คันที่ 2 ให้บริการจุดจ่ายน้ำตลาดผลไสว ต.ท่าสาย อ.เมืองเชียงราย
 
วันที่ 21 ก.ย. 67 กปภ. ได้กำหนดมาตรการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ดังนี้ สนับสนุนน้ำดื่มบรรจุขวดและน้ำประปา เพื่ออุปโภคบริโภคให้เพียงพอ ช่วยเหลือน้ำประปาฟรี เพื่อทำความสะอาดบ้านเรือนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ยกเว้นการเก็บค่าน้ำประปาและค่าบริการทั่วไป ในเดือนที่ประสบอุทกภัย ซึ่งหน่วยงานราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติอุทกภัย ให้แก่ผู้ใช้น้ำประเภทที่ 1 ที่อยู่อาศัยและอื่น ๆ (รหัส 11 12 13 และ 16) เช่น บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ สถานที่พักอาศัยของรัฐ สถานที่พักอาศัยที่มีการค้าขายเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ดำเนินการเอง หอพัก แฟลต คอนโดมิเนียม อพาร์ทเมนท์ อาคารชุด ห้องแถว เป็นต้น และผู้ใช้น้ำประเภทที่ 2 ธุรกิจขนาดเล็ก (รหัส 29) เช่น สถานที่ที่อาจมีการอยู่อาศัยและมีการค้าขาย ประกอบการหรือรับจ้าง ที่มีขนาดใหญ่กว่าผู้ใช้น้ำประเภทที่อยู่อาศัย อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว (โฮมสเตย์) เป็นต้น
 
ต.รอบเวียง หมู่ที่ 1 – 5 ลำน้ำกก ลำน้ำกรณ์ และลำน้ำลาว ระดับน้ำได้ล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน และในพื้นที่ของหาดเชียงราย/ สถานการณ์คลี่คลาย ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง
 
ต.ดอยฮาง หมู่ที่ 2,3,4,5,6 ลำน้ำกกล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนและพื้นที่เกษตร บางหมู่บ้าน ถูกตัดขาด ใช้การลำเลียงน้ำและอาหารโดยรถยกสูง และอากาศยาน (หมู่ที่ 6 บ้านเรือนราษฎรถูกน้ำป่าไหลหลาก
 
พัดหายไป จำนวน 9 หลัง)/ สำนักงานเทศบาลตำบลดอยฮาง ได้รับความเสียหาย ตั้งสำนักงานชั่วคราว ณ ศาลาเอนกประสงค์หน้าวัดดอยฮางใหม่หมู่ที่ 3 ตำบลดอยฮาง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย วันที่ 19 ก.ย. 67 เปิดใช้เส้นทางได้บางส่วน
 
ต.ริมกก หมู่ที่ 1-7วันที่ 11 ก.ย. 67 น้ำกกล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนของราษฎร/ บ้านเมืองงิม ม.4
พนังกั้นน้ำถูกกัดเซาะ อบต.ริมกก ดำเนินการจัดทำแนวตลิ่งเพื่อกันน้ำไม่ให้ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนของราษฎร พร้อมทั้งอพยพคนออกจากพื้นที่ที่น้ำท่วมสูง วันที่ 14 ก.ย. 67 สถานการณ์คลี่คลาย ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง ถนนสามารถสัญจรผ่านได้
 
ต.บ้านดู่ ม. 1,10,12,15,16,17,20 น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติ
ต.แม่ข้าวต้ม ม. 3,4 น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร สถานการณ์คลี่คลายบางส่วน
ต.นางแล ม. 1,4,5,6,11,16 น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร สถานการณ์คลี่คลาย
 
อ.เชียงแสน จำนวน 6 ตำบล 38 หมู่บ้าน โรงเรียน 1 แห่ง พื้นที่เกษตร 14,138 ไร่ ถนน 2 สาย สะพาน 1 จุด คอสะพาน 1 จุด น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร พื้นที่เกษตร และเกิดดินสไลด์ ในพื้นที่ ดังนี้ ต.เวียง ม.1, 2, 3 ,4 ,5 ,6 ,7 ,8น้ำล้นตลิ่งและเกิดดินสไลด์บ้านสบรวก ร้านค้า จำนวน 16 ร้าน ต.โยนก ม.1 ,2 ,4 ,6 ,7 ต.บ้านแซว ม.7 ,8 ,10 ,14 ต.ป่าสัก ม.1 ,2, 3, 5, 6 ,7 ,11 ,12, 13 ต.ศรีดอนมูล ม.1, 2 ,3 ,5 ,9 ,10 ,12, 13 ต.แม่เงิน ม.1, 5, 10 ปิดเส้นทางสัญจร ปิดเส้นทางสะพานโยนกนาคนคร ม.1 และ ม.4 ต.โยนก เส้นบายพาส ปัจจถบะน สามารถสัญจรผ่านได้ ปิดเส้นทางหมายเลข 1290 ตอนแม่สาย – กิ่วกาญจน์ ระหว่าง กม.20+000 – กม.20+500 บ้านเวียงแก้วม.5 ต.ศรีดอนมูล – บ้านวังลาว ม.4 ต.เวียง เนื่องจากแม่น้ำรวกล้นตลิ่งท่วมถนน รถทุกชนิดไม่สามารถผ่านได้ อยู่ระหว่างดำเนินการซ่อมแซม
 
อ.เชียงของ (ข้อมูลสะสมจำนวน 4 ตำบล 34 หมู่บ้าน)/ ปัจจุบันสถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ต.เวียง หมู่ที่ 1 -14 แม่น้ำโขงล้นตลิ่งหลากเข้าท่วมพื้นที่บริเวณท่าเรือบั๊ค บริเวณสวนสาธารณะปลาบึก 7 สี และบ้านเรือนราษฎรติดริมฝั่งโขง / ทต.เวียง อพยพประชาชนและขนย้ายทรัพย์สินขึ้นที่สูง เรียบร้อยแล้ว ต.ริมโขง หมู่ที่ 1,2,3,4,5,7, 8 ต.สถาน หมู่ที่ 2,4,5,6,8,13,15 และต.ศรีดอนไชย หมู่ที่ 4,7,8,12,14,16
 
อ.แม่จัน (ข้อมูลสะสมจำนวน 11 ตำบล 125 หมู่บ้านโรงเรียนได้รับผลกระทบ 3 โรงเรียน/ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลาย ยังคงค้างในพื้นที่ลุ่มต่ำของตำบลแม่คำ ต.ป่าตึงหมู่ที่ 1-20 ต.แม่คำ หมู่ที่ 1,4,7-14 ต.ท่าข้าวเปลือก หมู่ที่ 1-14 ต.ศรีค้ำ หมู่ที่ 1-5,7,10 ต.ป่าซาง หมู่ที่ 4,7,11,15 ต.จันจว้า หมู่ที่ 1-11 ต.จันจว้าใต้ หมู่ที่ 1-12 ต.จอมสวรรค์ หมู่ที่ 1,2,4,6,8-10 ต.แม่จัน หมู่ที่ 1-3, 6,8-14 ต.แม่ไร่ หมู่ที่ 1-9 และ ต.สันทราย หมู่ที่ 1-9
 
อ.แม่ฟ้าหลวง ข้อมูลสะสมจำนวน 4 ตำบล 58 หมู่บ้าน (เสียชีวิตจากสะสม 5 ราย) ถนนเสียหาย 4 จุด คอสะพาน 3 จุด โรงเรียนได้รับผลกระทบ 8 โรงเรียน (ดินสไลด์ปิดเส้นทางเข้า-ออก)/บ้านจะตี ต.เทอดไทย ดินปิดสไลด์เส้นทาง ใช้อากาศยานในการขนส่ง/ วันที่ 16 ก.ย. 67 ผช. ผรส. บ้านปูนะ ต.เทอดไทย ร่วมกับชาวบ้านตัดต้นไม้และเคลียร์พื้นที่ดินสไลด์ ใช้แบคโฮเปิดเส้นทาง สามารถใช้รถยนต์และจักรยานยนต์ผ่านได้ ยังต้องใช้ความระมัดระวังบางจุด เนื่องจากยังมีดินสไลด์ลงมาเป็นระยะ ยังดำเนินการกู้ระบบไฟฟ้า ใช้ได้เพียงบางจุด/ วันที่ 17 ก.ย. 67 กองพันสัตว์ต่าง กรมการสัตว์ทหารบก ตั้ง บก.ช่วยเหลือ ตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย. 2567
 
ณ อบต.แม่ฟ้าหลวง กำลังพล ทหาร 15 นาย อุปกรณ์ ล่อ 3 ตัว ช่วยขนย้ายสิ่งของจำเป็นให้กับผู้ประสบภัย/ วันที่ 21 ก.ย. 67 ขยายเขตจ่ายกระแสไฟฟ้า 95% ของพื้นที่ประสบภัย ต.แม่ฟ้าหลวง หมู่ที่ 1-19 ต.แม่สลองนอก หมู่ที่ 1,2,6,7,9,10,11 ต.แม่สลองใน หมู่ที่ 1,3,4,5,6,7,9,10,11,12,14,15,18,20,21,22 และ ต.เทอดไทย หมู่ที่ 1-10, 13-17,19
 
อ.แม่สาย น้ำท่วมพื้นที่ตลาดสายลมจอย และพื้นที่เศรษฐกิจ ข้อมูลสะสมจำนวน 8 ตำบล 74 หมู่บ้าน (ชุมชนได้รับผลกระทบรุนแรง ได้แก่ ชุมชนแม่สาย ชุมชนเหมืองแดง ชุมชนเกาะทราย ชุมชนไม้ลุงขน)โรงเรียนได้รับผลกระทบ 8 โรงเรียน ปศุสัตว์ได้รับผลกระทบ ได้แก่ สุกร 4 ตัว สัตว์ปีก 27,615 ตัว ต.แม่สาย หมู่ที่ ม.1-13ต.เวียงพางคำ หมู่ที่ 1-10 ต.เกาะช้างหมู่ที่ 1-13 ต.ศรีเมืองชุม หมู่ที่ 1-9 ต.บ้านด้าย หมู่ที่ 1-8 ต.โป่งผาหมู่ที่ 1,2,3,4,5,9,10,11 ต.โป่งงาม หมู่ที่ 1,2,3,6,8,9,11,12 และ ต.ห้วยไคร้ หมู่ที่ 2,3,4,8,9
 
วันที่ 21 ก.ย. 67 กปภ. สาขาแม่สาย ขยายขอบเขตการจ่ายน้ำประปา ประชาชนได้รับบริการ จำนวน 11,698 ราย ยังไม่ได้รับบริการ จำนวน 723 ราย ติดตั้งจุดให้บริการประปาสนาม จำนวน 5 จุดภารกิจปิดจุดรอยรั่ววางแนวพนังกั้นน้ำโดยใช้บิ๊กแบ็ค จำนวน 5 จุด โดย ฉก.ทัพเจ้าตาก สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 (ลำปาง) และมูลนิธิเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทยดำเนินการแล้วเสร็จจำนวน 5 จุด งานกู้คืนบ้านกลุ่มเปราะบาง (โซน A สีแดง)จำนวน 47 หลัง เข้าดำเนินการ 7 หลัง คงเหลือ 40 หลัง แผนงานกู้คืนบ้านพักอาศัยที่เจ้าของสามารถดำเนินการได้(เทกองหน้าบ้านมีบริการจัดเก็บให้) จำนวน 6,980 หลัง / อำเภอป่าแดด ฝ่ายปกครอง/อปท. ประชาชนจิตอาสา ร่วมทำความสะอาดถนนสาธารณะ กำจัดาดินโคลนออกจากบ้านเรือนของประชาชนกลุ่มเปราะบาง ผู้สูงอายุที่ประสบอุทกภัยน้ำท่วม ณ บ้านเหมืองแดง ตำบลแม่สายอำเภอแม่สาย/ ศบภ.ทภ.3 จัดกำลัง 245 นายสนับสนุน ศภบ.ทบ. ส่วนหน้า ปฏิบัติการฟื้นฟูพื้นที่และทำความสะอาดพื้นที่แม่สาย (ร.17/ ร.17 พัน.2/ร.17 พัน.3/ ร.17 พัน4/ ป.4 พัน.17)
 
อ.ดอยหลวง จำนวน 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ต.หนองป่าก่อ หมู่ที่ 8 น้ำกัดเซาะถนนชำรุด ไม่สามารถสัญจรได้ อยู่ระหว่างซ่อมแซม/ 16 ก.ย.67 บ้านที่อยู่ติดถนนถูกน้ำพัดพาได้รับความเสียหาย
 
อ.เทิง จำนวน 3 ตำบล 4 หมู่บ้าน ต.งิ้ว ม.7,18 น้ำล้นออกจากอ่างเก็บน้ำขอนซุง เข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร ต.ปล้อง ม.2 น้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร และต.ตับเต่า ม.8 เสาค้ำสะพานสะพานเบลีย์ชำรุด/ เวลาประมาณ 14.00 น. หมวดทางหลวงเทิงแขวงทางหลวงเชียงรายที่2 และศูนย์สร้างและบูรณะสะพานที่ 1 (พิจิตร) เข้ามาดำเนินการซ่อมแซม หากไม่มีมีฝนตกคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2 วัน (วันที่ 16 ก.ย. 67)/ วันที่ 21 ก.ย. 67 สามารถสัญจรผ่านได้
 
อ.เวียงแก่น จำนวน 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ต.ปอ ม.2 น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย
 
อ.เวียงป่าเป้า จำนวน 1 ตำบล 2 หมู่บ้าน วันที่ 19 ก.ย. 67 เกิดสถานการณ์วาตภัยในพื้นที่ บ้านขุนลาว หมู่ที่ 7 ต.แม่เจดีย์ใหม่ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย ต้นไม้หักทับบ้านเรือนประชาชน ได้รับความเสียหายบางส่วน จำนวน 2 หลัง วันที่ 21 ก.ย. 67เกิดเหตุอุทกภัยบ้านโป่งป่าตอง หมู่ที่ 14 ต.แม่เจดีย์ใหม่ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย
น้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร ได้รับผลกระทบ
 
การให้ความช่วยเหลือ
– จังหวัดเชียงราย ได้จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ปี พ.ศ. 2567 เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ในการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย และจัดหาปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีพ ผ่านทางธนาคาร กรุงไทย สาขาเชียงราย เลขที่บัญชี 504-3-23-732-5 ชื่อบัญชี กองทุนช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ปี พ.ศ. 2567 โดยสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 1 เท่ายอดเงินบริจาค ณ วันที่ 20 ก.ย. 67 เวลา 16.30 น. จำนวน 7,368,788.57 บาท
 
– กองทัพเรือสนับสนุนเรือและยุทโธปกรณ์ เครื่องมือเร่งดำเนินการติดตั้งเคลื่อนย้ายเรือผลักดันน้ำ JET จำนวน 10 ลำ ยกจากเครนวางตามแนวลำน้ำอิง ประสิทธิภาพการไหลได้ วันละ 1 ล้านลูกบาศก์เมตร เริ่มดันน้ำได้วันที่11 ก.ย.67 เวลา15.00 น. ณ สะพานข้ามแม่น้ำอิง อ.เทิง จ.เชียงราย
 
– มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย
วันที่ 19 ก.ย. 67 ดำเนินโครงการ “ฟื้นฟูชุมชน บรรเทาทุกข์ บำรุงสุขให้ยั่งยืน ” โดยมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ณ ที่ว่าการอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยมีบริการสุขภาพกาย สุขภาพจิต จ่ายยาพื้นฐานเบื้องต้น, ให้คำปรึกษาเอกสิทธิ์ของกลุ่มเปราะบาง, Fix it จิตอาสา ซ่อมแซมรถจักรยานยนต์ เครื่องจักรกลการเกษตร เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, แจกจ่ายอุปกรณ์ทำความสะอาด และประกอบอาหาร โรงครัวพระราชทาน
 
วันที่ 20 ก.ย. 67 รถประกอบอาหารเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) จัดตั้งโรงครัวพระราชทาน ณ ที่ว่าการอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายพร้อมด้วยหน่วยงานราชการ และจิตอาสาพระราชทาน ร่วมกันประกอบอาหาร ต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 จำนวน 2 มื้อ จำนวน 1,800 กล่อง เพื่อแจกจ่ายให้กับผู้ประสบอุทกภัยอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
 
วันที่ 21 ก.ย. 67 รถประกอบอาหารเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) จัดตั้งโรงครัวพระราชทาน ณ ที่ว่าการอำเภอแม่สาย มีกำหนดดำเนินการต่อเนื่องถึงวันเสาร์ที่ 28 ก.ย. 67
 
– กองทัพเรือ/หน่วยซีล สนับสนุน เรือ 9 ลำ รถบรรทุก 4 คัน ถุงยังชีพ 1,000 ชุด (ของ 918 150 ชุด) กำลังพล 50 นาย
– ฮ.ปภ.32/ฮ.กรมฝนหลวงและการบินเกษตร/ฮ.ทอ./ ฮ.ตชด. 327/ ฮ.ทส. เตรียมความพร้อมรอคำสั่ง/ไม่มีภารกิจบิน
– ศูนย์ ปภ.เขต 15 เชียงราย /เขต 1 ปทุมธานี/ เขต 2 สุพรรณบุรี /เขต 3 ปราจีนบุรี/ เขต 4 ประจวบคีรีขันธ์/ เขต 8 กำแพงเพชร /เขต 9 พิษณุโลก /เขต 11 สุราษฎร์ธานี และเขต 16 ชัยนาท สนับสนุนเครื่องจักรกลสาธารณภัยด้านปฏิบัติการ (อุทกภัย) และกำลังพล
 
วันที่ 21 ก.ย. 67สนับสนุนรถปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย รถล้อยางยกสูง รถขุดตักไฮดรอลิก รถแบคโฮ และรถบรรทุกเทท้าย ปฏิบัติภารกิจตักดินโคลนและปรับเกลี่ยถนน แจกจ่ายอุปกรณ์ทำความสะอาดและน้ำดื่มบรรจุขวดพื้นที่อำเภอแม่สาย /รถปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย ลำเลียงอาหารแห้ง น้ำดื่ม เสื้อผ้า และอื่นๆ ที่จำเป็น ส่งให้ผู้ประสบภัย ณ ศาลาอเนกประสงค์บ้านน้ำลัดและโบสถ์คริสต์บ้านใหม่น้ำลัด ต.ริมกก ต.เมืองชร. และเทศบาลตำบลแม่ยาว ต.แม่ยาว อ.เมือง จ.เชียงรายบรรทุกสิ่งของที่มีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย จากที่ทำการไปรษณีย์บ้านดู่ มาเก็บไว้ที่ศูนย์รับบริจาค ศูนย์ ปภ. เขต 15 เชียงราย เพื่อนำจ่ายให้ผู้ประสบภัยในพื้นที่ต่างๆ ต่อไป/ สนับสนุนรถบรรทุกน้ำช่วยดับเพลิง 10,000 ลิตรรถบรรทุกน้ำอเนกประสงค์ขนาด 12,000 ลิตร พร้อมด้วยชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤติ ERT สูบน้ำจากหนองปึ๋ง แจกจ่ายให้หน่วยงานและบ้านเรือนราษฎรในพื้นที่ต.รอบเวียง อ.เมืองเชียงรายและโรงพยาบาลสมเด็จพระญาณสังวร อ.เวียงชัย/ รถปฏิบัติการบรรเทาอุทกภัย สูบน้ำท่วมขังพื้นที่ของ มณฑลทหารบกที่ 37 อ.เมืองชร. จ.เชียงราย
– ศูนย์พักพิงที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวอยู่ ณ วันที่ 21 ก.ย. 67 รวมทั้งสิ้น 10 แห่ง
แบ่งตามขอบเขตการปกครอง ได้แก่ อ.เมืองเชียงราย 4 แห่ง/ อ.แม่สาย 6 แห่ง
 
ศูนย์พักพิงฯ ที่มีทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ เยียวยาจิตใจ แจกจ่ายยาและเวชภัณฑ์ จำนวน 4 แห่ง
ศูนย์พักพิงฯ ในความดูแลของกระทรวง พม. จำนวน 1 แห่ง (ได้แก่ ศูนย์พักพิงบ้านเอื้ออาทรแม่สาย 1 คงค้างพักพิงอยู่ จำนวน 17 คน)
 
รายละเอียดดังนี้
อำเภอเมืองเชียงรายที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวจำนวน 4 แห่ง
ในเขตเทศบาลนครเชียงราย ทน.เชียงราย จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวอยู่ ณ ปัจจุบัน จำนวน2 แห่ง ได้แก่
 
จุดโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ มีทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ เยียวยาจิตใจ แจกจ่ายยาและเวชภัณฑ์
จุดโรงเรียน อบจ. เชียงราย*มีทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ เยียวยาจิตใจ แจกจ่ายยาและเวชภัณฑ์
ตำบลแม่ยาว ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่ยาว กำกับดูแลโดย ทต.แม่ยาว/ วันที่ 20 ส.ค. 67 ย้ายศูนย์พักพิงไปที่สำนักงานเทศบาลตำบลแม่ยาว
 
ตำบลดอยฮาง วันที่ 16 ก.ย. 67 เวลา 17.00 น. จัดตั้งศูนย์พักพิง ณ บ้านโป่งนาคำ มีผู้พักพิงประมาณ 50 คน มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้นำเต็นท์นอนพระราชทาน ขนาด 2 คน จำนวน 50 หลัง มอบให้แก่ราษฎรผู้ประสบอุทกภัยฯ (**เปิดใหม่**)
 
อำเภอแม่สายที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวอยู่ ณ ปัจจุบัน 6 แห่ง รวมทั้งสิ้น 501 คน(โดยเป็นศูนย์พักพิงฯ ที่มีทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการ จำนวน 4แห่ง, ศูนย์พักพิงในความดูแลของกระทรวง พม. 1 แห่ง และศูนย์พักพิงชั่วคราว จำนวน 1 แห่ง)
 
ศูนย์พักพิงเทศบาลตำบลแม่สาย คงค้างจำนวน 49 ราย(ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแลได้แก่ รพ.ป่าแดด/ รพ.สต.ฮ่องแฮ่/ รพ.สต.บ้านด้าย)
 
ศูนย์พักพิงวัดพรหมวิหาร คงค้างจำนวน 119 ราย(ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.สมเด็จพระญาณสังวร, ร.พ.แม่สาย, ทีม MCATT, รพ.สวนปรุง)
 
ศูนย์พักพิงวัดเหมืองแดง คงค้างจำนวน 162 ราย (ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.พญาเม็งราย, ทีม MCATT จาก รพ.สวนปรุง, รพ.สต.แม่สาย)
 
ศูนย์พักพิงวัดถ้ำผาจม คงค้างจำนวน 117 ราย(ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.แม่ลาว, ทีม MCATT, รพ.เชียงแสน, รพ.ดอยหลวง)
 
ศูนย์พักพิงโบสถ์คริสต์บ้านผาฮี้ คงค้างจำนวน 37 ราย
ศูนย์พักพิงบ้านเอื้ออาทรแม่สาย 1 คงค้างจำนวน 17 คน(ในความดูแลของกระทรวง พม.)
อำเภอเวียงชัย ที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวอยู่ ณ ปัจจุบัน จำนวน 1 แห่ง
ศูนย์ศุภนิมิตรเพื่อการพัฒนา ต.เวียงเหนือ อ.เวียงชัย ปรับสภาพเป็นศูนย์พักคอยเนื่องจากประชาชนเริ่มกลับไปทำความสะอาดบ้านเรือนและมานอนที่ศูนย์ฯ ในตอนกลางคืน คงค้างจำนวน 21 ราย/ วันที่ 20 ก.ย. 67
 
ปิดศูนย์ฯ
– นพค.31 /นพค.32/นพค.34 สนับสนุนกำลังพล รถครัวสนาม และรถสุขาเคลื่อนที่
– มูลนิธิสมาคมกู้ชีพกู้ภัย อาสาสมัคร จิตอาสาภาคประชาชน ร้านค้า/ผู้ประกอบการ สนับสนุนปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย ให้ที่พักพิงชั่วคราว มอบอาหารปรุงสำเร็จ และถุงยังชีพ
 
– วิทยาลัยอาชีวศึกษาและโรงเรียนในเครือ ดำเนินโครงการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน Fix It Center
ตั้งจุดบริการและจัดชุดเคลื่อนที่ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม โดยจะช่วยซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ รวมถึงยานพาหนะที่เสียหาย เริ่มดำเนินกา
 
– สถานศึกษา สอศ. ที่ร่วมปฏิบัติงานจากทั่วประเทศ ประจำวันที่ 21 ก.ย. 67 จำนวน 43 แห่ง ตั้งจุดบริการ Fix It Center7 แห่ง ดังนี้ จุดบริการ โรงเรียนสันติวิทยา ดำเนินการโดย วท.อุทัยธานี จุดบริการ โรงเรียนบ้านน้ำลัด ดำเนินการโดย วก.เชียงราย, วก.ลอง จุดบริการ วอศ.เชียงราย ดำเนินการโดย วก.เวียงสา จุดบริการ ฮ่องลี่-ป่างิ้ว ดำเนินการโดย วท.ตาก จุดบริการ วท.เชียงราย ดำเนินการโดย วท.เชียงราย จุดบริการ หมู่บ้านธนารักษ์ ดำเนินการโดย วท.เทิง และจุดบริการ ชุมชนเวียงกือนา ดำเนินการโดย วก.เวียงเชียงรุ้ง
 
แผนกำหนดจุดบริการ Fix It Center ที่จะออกบริการวันที่ 22 ก.ย. 67จำนวน 8 แห่ง จุดบริการ โรงเรียนสันติวิทยา ดำเนินการโดย วท.อุทัยธานี (ระหว่างวันที่ 21- 22 ก.ย. 67) จุดบริการ วัดพรหมวิหาร อ. แม่สาย ดำเนินการโดย วท. สุโขทัย และ วก.ศรีสัชนาลัย (ระหว่างวันที่ 21- 22 ก.ย. 67) จุดบริการ วอศ.เชียงราย ดำเนินการโดย วก.เวียงสา (ระหว่างวันที่ 21- 22 ก.ย. 67) จุดบริการ ฮ่องลี่-ป่างิ้ว ดำเนินการโดย วท.ตาก (ระหว่างวันที่ 21- 22 ก.ย. 67) จุดบริการ วท.เชียงราย ดำเนินการโดย วท.เชียงราย จุดบริการ โรงเรียนเทศบาล 7 ฝั่งหมิ่นดำเนินการโดย สอน. 1 (ระหว่างวันที่ 22- 25 ก.ย. 67) จุดบริการ โรงเรียนเทศบาล8 บ้านใหม่ดำเนินการโดย สอน. 1 (ระหว่างวันที่ 22- 25 ก.ย. 67) และจุดบริการ ชุมชนเกาะทอง ดำเนินการโดย สอน.3 (ระหว่างวันที่ 22- 25 ก.ย. 67)
 
วันที่ 17 ก.ย. 67 ทภ.3 จัดตั้ง ศบภ.ทภ.3 ส่วนหน้า ณ ที่ว่าการอำเภอแม่สาย เพื่ออำนวยการประสานงานการให้ความช่วยเหลือประชาชนของหน่วยทหารทุกหน่วย ในพื้นที่ อ.แม่สาย
 
– อบจ.เชียงราย ดำเนินการดังนี้ เปิดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย อบจ. เชียงราย ณ อาคารคชสาร (สนามกีฬากลาง อบจ.เชียงราย) ระหว่างวันที่ 18 – 22 กันยายน 2567 เวลา 08.00 – 16.00 น. โดยเป็นจุดให้บริการ ดังนี้ จุดรับน้ำดื่ม จุดโรงครัว (มื้อเช้า กลางวัน เย็น) จุดรับและมอบของบริจาค จุดปฐมพยาบาล (ทำแผล ฉีดบาดทะยัก คอตีบ และจ่ายยาสามัญ/เวชภัณฑ์)
 
ให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วม ด้านดำรงชีพ ดังนี้ ค่าใช้จ่ายด้านดำรงชีพ ได้แก่ ค่าเครื่องนุ่งห่ม รายละไม่เกิน 1,100 บาท ค่าเครื่องมือประกอบอาชีพ เท่าที่จ่ายจริง ครอบครัวละไม่เกิน 11,400 บาท ค่าเครื่องครัวและอุปกรณ์ในการประกอบอาหาร เท่าที่จ่ายจริง ครอบครัวละไม่เกิน 3,500 บาท ค่าเครื่องนอน รายละไม่เกิน 1,000 บาท หลักฐานที่ต้องเตรียม ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนของเจ้าของบ้านที่ประสบภัย รูปภาพความเสียหาย
 
การขอรับความช่วยเหลือ ผ่าน อบต. หรือ ทต. ที่ประสบภัย ในวันและเวลาราชการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อบจ.เชียงราย ฝ่ายสงเคราะห์ผู้ประสบภัย โทร. 053175329 หรือ 053175333 ต่อ 1402 ในวันและเวลาราชการ
 
– กรุงเทพมหานคร โดยสำนักการระบายน้ำและกองโรงงานช่างกล สำนักการคลังสนับสนุนรถดูดโคลนขนาดความจุถัง 14 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 2 คัน รถตรวจการณ์ จำนวน 1 คัน รถหน่วยซ่อมเคลื่อนที่เร็ว (BEST) จำนวน 1 คัน รถบรรทุกติดตั้งเครนขนาด 65 ตัน จำนวน 1 คัน รถไฟส่องสว่าง จำนวน 1 คัน และรถตู้ 12 ที่นั่ง จำนวน 1 คันพร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญ/บุคลากร 28 คน ปฏิบัติการดูดโคลนเลนที่อุดตันบริเวณท่อระบายน้ำ ตามตรอก ถนน และจุดต่าง ๆ ที่กีดขวางทางระบายน้ำพื้นที่ประสบอุทกภัยในเขตพื้นที่ในเขตพื้นที่เทศบาลนครเชียงราย เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 20 ก.ย. 67 เป็นต้นไป
 
วันที่ 20 ก.ย. 67 (วันแรกของการปฏิบัติงาน) ดำเนินการดูดโคลนเลนจากท่อระบายน้ำ (ใช้วิธีเปิดฝาท่อระบายน้ำ) ถนนเจ้าฟ้า ฝั่งตรงข้ามศาลจังหวัดเชียงราย ริมแม่น้ำกก โดยดำเนินการทำความสะอาดท่อระบายน้ำ ขนาด 1.20 เมตร ดำเนินการได้ความยาว 100 เมตร ดูดเลนได้จำนวน 84 ลูกบาศก์เมตร / พบอุปสรรค ดินเลนเป็นดินเหนียวและมีขยะในท่อระบายน้ำ
วันที่ 21 ก.ย. 67 ดำเนินการดูดโคลนเลนจากท่อระบายน้ำ (ใช้วิธีเปิดฝาท่อระบายน้ำ) ถนนเจ้าฟ้า ฝั่งตรงข้ามศาลจังหวัดเชียงราย (บริเวณสถานีผลิตน้ำวังคำ ของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาเชียงราย) ท่อขนาด 1.20 เมตร ดำเนินการได้ความยาว 200 เมตร และทำความสะอาดรางระบายน้ำ(ตัววี) ขนาด 0.30 เมตรดำเนินการได้ความยาว 100 เมตรดูดเลนได้จำนวน 56 ลูกบาศก์เมตร/ แผนดูดโคลนเลนวันที่ 22 ก.ย. 67 ดำเนินการต่อจากจุดเดิมถึงบริเวณ 3 แยก สห. (วัดพระธาตุดอยจอมทอง)
– กรมโยธาธิการและผังเมือง สนับสนุนบุคลากร สำรวจ/วางแผน บริหารจัดการให้เป็นไปตามระบบหลักเพื่อบรรเทาน้ำท่วมชุมชนเมือง
 
– บริษัท วอชแอนด์โก Code Clean ให้บริการ ซัก อบ ผ้า น้ำยา ฟรี แก่ผู้ได้รับผลกระทบน้ำท่วมตลอด24 ชั่วโมง ณ ลานธรรมลานศิลป์ถิ่นพญามังรายหรือลานรัชกาลที่ 5 (ศาลากลางจังหวัดหลังแรก) ตั้งแต่วันที่ 18 ก.ย. 67 เป็นต้นไป
– เทศบาลตำบลแม่สายจัดชุดเคลื่อนที่ลงพื้นที่รับคำร้องช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยและลงทะเบียนขอลดหรือยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอันเนื่องมาจากเหตุอันพ้นวิสัยที่จะป้องกันได้โดยทั่วไป (กรณีอุทกภัย) ในเขตเทศบาลตำบลแม่สายระหว่างวันที่ 21-27 ก.ย. 67 ในพื้นที่ชุมชนแม่สาย-ดอยเวา, ชุมชนไม้ลุงขน, ชุมชนเหมืองแดง,ชุมชนป่ายาง และชุมชุมชนเกาะทราย
 
– งานบริการถ่ายบัตรประชาชน กรมการปกครอง สนับสนุนหน่วยบริการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนเคลื่อนที่ (Mobile Unit) ให้บริการตั้งแต่วันที่ 20 – 27 กันยายน 2567 ตั้งแต่เวลา 08.30 – 21.00 น. ณ วัดเวียงหอม (สามารถถ่ายได้เพียงบัตรประชาชนเท่านั้น) ยกเว้นค่าธรรมเนียม 100 บาท
 
– สำนักทะเบียนอำเภอแม่สาย ให้บริการงานถ่ายบัตรประชาชนทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ตั้งแต่วันที่ 19 – 30 กันยายน 2567 ตั้งแต่เวลา 08.30 – 17.00 น. ณ ห้องทะเบียนที่ว่าการอำเภอแม่สาย
 
– กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มอบเงินอุดหนุนช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมกรณีฉุกเฉิน เพื่อช่วยเหลือครอบครัวผู้ประสบอุทกภัย กลุ่มครัวเรือนเปราะบาง ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ห้วงอุทกภัยเดือนสิงหาคม-กันยายน 2567 จำนวน 234 ราย เป็นเงิน 700,000 บาท ดังนี้
 
– มอบเงินสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อยและไร้ที่พึ่ง เพื่อช่วยเหลือ ครัวเรือนเปราะบาง ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย จำนวน 167 ราย เป็นเงิน 500,000 บาท
 
มอบเงินปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ครัวเรือนเปราะบาง ที่ได้รับผลกระทบ จากอุทกภัย ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย จำนวน 216 หลังเป็นเงิน 3,888,000 บาท
 
– มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาขาดไทย เชิญถุงยังชีพพระราชทานมอบแก่ประชาชน
ผู้ประสบอุทกภัย ณ พื้นที่จังหวัดเชียงราย/ วันที่ 21 ก.ย. 2567 ณ ศาลาการเปรียญ วัดร่องเสือเต้น บ้านร่องเสือเต้น ตำบลริมกก อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานในพิธีมอบสิ่งของพระราชทานมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย แก่ประชาชนผู้ประสบอุทกภัย จำนวน 3,500 ถุง และถุงยังชีพพระราชทานแด่พระสงฆ์ จำนวน 105 ถุง และมอบเงินให้แก่ครอบครัวผู้เสียชีวิตจากเหตุอุทกภัย รายนายอุดมศักดิ์ เชื้อเมืองพาน บ้านเลขที่ 97 หมู่ 7 ชุมชนบำงิ้ว ต.รอบเวียง อเมืองเชียงราย จำนวน 20,000 บาท มอบให้แก่นางกนกวรรณ เชื้อเมืองพาน มารดาของผู้เสียชีวิต โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายเป็นผู้แทนมอบ
 
– นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.1) นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.พม. นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รมช.มท.(มท.4) นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการปกครองนายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดินและประธานกรรมการการประปาส่วนภูมิภาค และนายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ตรวจติดตามและให้กำลังใจประชาชนผู้ประสบอุทกภัย/เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในการฟื้นฟูช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่วัดเหมืองแดงเทศบาลตำบลแม่สาย อ.แม่สาย จ.เชียงราย และชุมชนป่าแดง ต.ริมกก อ.เมืองชร. จ.เชียงราย เพื่อตรวจเยี่ยมการกู้คืนระบบประปา ไฟฟ้า และระบบการระบายน้ำในเขตเทศบาลนครเชียงราย
 
แนวโน้มสถานการณ์ สถานการณ์อยู่ในระดับคลี่คลายมีฝนอ่อน- หนักในพื้นที่อำเภอเวียงป่าเป้า และอำเภอพานระดับน้ำสาย/น้ำกกลดลง/น้ำโขง ทรงตัว(ไม่เกินระดับวิกฤติ)
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME