Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

หนังสือธรรมนาวา “วัง” พระราชทาน เป็นธรรมทาน โดยมุ่งให้เกิดประโยชน์สุข

 

เมื่อวันพุธ ที่ 4 กันยายน 2567 เวลา 10.00 น. ณ สำนักศึกษาธรรมดอยธรรมนาวา ตำบลนางแล อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงรายพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พล.อ.ปุรณิทธิ์ บุณยมานพ ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ระดับ 10 เชิญชุดหนังสือธรรมนาวา “วัง” พระราชทาน ถวายแด่ พระทวีวัฒน์ จารุวณฺโณ (พระอาจารย์ต้น) ประธานสำนักศึกษาธรรมดอยธรรมนาวา ใน

  

โดยพระราชวชิรคณี (ประเสริฐ ปญฺญาวชิโร) เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย (ม.) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุผาเงา อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เป็นฝ่ายประธานสงฆ์ พร้อมด้วยพระราชสิริวชิโรดม” (สุขเลิศ กนฺตธมฺโม) เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย (ธ.) เจ้าอาวาสวัดบ้านเหล่า อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย  พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ พระเถรานุเถระ พระภิกษุสามเณร ร่วมพิธีฯ 

 

นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นางสุภาเพ็ญ ศิริมาตย์ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงราย นายบุญส่ง ตินารี นายอำเภอเมืองเชียงราย นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย นายโสไกร ใจหมั้น ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงราย นายเสน่ห์ ภักดี นายกเทศมนตรีตำบลนางแล กำนันตำบลนางแล ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 8 ตำบลนางและ ผู้นำท้องถิ่น/ท้องที่ และพุทธศาสนิกชน ศิษยานุศิษย์ ร่วมพิธีฯ

 

โอกาสมงคลนี้ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยนางวนิดาพร ธิวงศ์ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม นายพิพัฒน์ สุ่มมาตย์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายสานุพงศ์ สันทราย นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธี และบุคลากรสำนักวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ร่วมกับข้าราชการสำนักงานจังหวัดเชียงราย, สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงรายปฏิบัติงานอำนวยความสะดวกแด่คณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชน ทั้งนี้ การดำเนินงานพิธีฯ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุผลสำเร็จทุกประการ

โดยชุดหนังสือธรรมนาวา “วัง” พระราชทาน ที่เขียนโดยพระทวีวัฒน์ จารุวณฺโณ (พระอาจารย์ต้น) ประธานสำนักศึกษาธรรมดอยธรรมนาวา เป็นพระสุปฏิปันโนที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชศรัทธาเลื่อมใสในปฏิปทาวัตร ตลอดจนวิธีการสอน และการถ่ายทอดการปฏิบัติให้กับพุทธบริษัทในทุกภาคส่วนได้เข้าถึงพระธรรมแห่งพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง อีกทั้งยังทรงมีพระราชศรัทธาเพียรปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ตามขั้นตอนที่พระอาจารย์ได้วางไว้ จึงทรงเห็นถึงความสำคัญในการพระราชทานเผยแพร่หนังสืออันทรงคุณค่า ให้พุทธศาสนิกชน ตลอดจนประชาชนพลเมืองทุกหมู่เหล่าได้ศึกษา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์หนังสือ ธรรมนาวา “วัง” พระราชทาน เป็นชุดหนังสือที่มีหนังสือ จำนวน 4 เล่ม บรรจุในกล่องสวยงาม ประกอบด้วย

  1. หนังสือ หลักการชาวพุทธ
  2. หนังสือ อริยสัจภาวนา
  3. หนังสือ หลักปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์
  4. หนังสือ แนวปฏิบัติธรรมนาวา “วัง”

พระราชทานเป็นธรรมทาน โดยมุ่งให้เกิดประโยชน์สุขอันพึงจะได้รับจากพระพุทธศาสนา ผ่านหลักการปฏิบัติอย่างถูกต้องตรงตามพุทธบัญญัติ เพื่อถวายเป็น พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา มาตาปิตุบูชา อาจริยบูชา และถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระมหาบูรพกษัตริยาธิราชเจ้าทุกๆ พระองค์

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
AROUND CHIANG RAI TOP STORIES

ชาวตำบลนางแลกว่า 70 ครัวเรือน ยื่นขอพิสูจน์ครอบครองที่ดินเชียงราย

 

เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2567 ที่ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ตำบลริมกก อำเภอเมืองเชียงราย นายสุชาติ สมประสงค์ กำนันตำบลนางแล พร้อมด้วย นางเตียนทอง เรือนคำ ผู้ใหญ่บ้านบ้านนางแลใน หมู่ที่ 7 และนายไพโรจน์ ทวีสุข ผู้ใหญ่บ้านบ้านใหม่นางแล หมู่ที่ 17 พร้อมด้วยประชาชนทั้ง 2 หมู่บ้าน รวมตัวกันเข้ายื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายเพื่อยื่นขอพิสูจน์สิทธิ์การครอบครองที่ดินของบุคคล กว่า 70 ครัวเรือน ที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนไม่มีกรรมสิทธิ์ที่ดินในที่อยู่อาศัย และที่ดินทำกินมายาวนาน ทั้งนี้ชาวบ้านขอยืนยันว่าพวกตนได้อาศัยอยู่ในพื้นที่มาหลายชั่วอายุคน มีเอกสารสิทธิ์ในการครอบครองการอยู่อาศัยและประกอบอาชีพมาก่อน ขณะที่บางรายก็ไม่มีเอกสารสิทธิ์ในพื้นที่ ต่างได้รับความเดือดร้อนต้องประกอบอาชีพโดยไม่ได้มีกระบวนการพิสูจน์สิทธิ์ให้ชาวบ้านได้เอกสารสิทธิ์แต่อย่างใดเพื่อยืนยันการถือครองที่ดินในปัจจุบัน เสนอต่อนายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย โดยมี นายลิขิต มีเสรี ผู้อำนวยการกลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดเชียงราย เป็นผู้รับเรื่องเพื่อพิจารณานำเสนอรายงานต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ตามลำดับขั้นตอน

 

จากกรณีดังกล่าว ประชาชนในพื้นที่ต้องการดำเนินการพิสูจน์สิทธิในที่ดินทำกินที่ประชาชนครอบครองอยู่ตามเอกสารที่กฎหมายกำหนด ให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการมีประชาชนมีส่วนร่วมขึ้นมาเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการพิสูจน์สิทธิในที่ดินทำกินของประชาชน โดยมีรายชื่อประชาชนบ้านนางแลใน หมู่ที่ 7 และบ้านใหม่นางแล หมู่ที่ 17 ที่ขอพิสูจน์สิทธิ์ครอบครองที่ดินในเขตที่ดินของรัฐ (สปก.) ตามที่คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติมีคำสั่งที่ 1/2564 ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2564 แต่งตั้งณะอนุกรรมการพิสูจน์สิทธิในที่ดินของรัฐจังหวัด (คพร.จังหวัด) ให้มีอำนาจและหน้าที่ในการพิสูจน์สิทธิการครอบครองที่ดินของบุคคลในเขตที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินทุกประเภท ซึ่งประสบปัญหาความเดือดร้อนไม่มีกรรมสิทธิ์ที่ดินในที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินมายาวนาน และถูกประกาศให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน (สปก.) ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในท้องที่ตำบลนางแล ตำบลแม่ข้าวต้ม ตำบลริมกก และตำบลบ้านดู่ นับตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2537 เป็นต้นมา 
 
 
แม้ที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินจะถูกประกาศให้อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินแต่ประชาชนทั้งหมดไม่ประสงค์ขอรับการจัดที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่อยู่อาศัย หรือกิจการอื่นที่เป็นการสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ในรูปแบบหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01) เนื่องจากเชื่อมั่นว่า ได้มาทำประโยชน์ในที่ดินก่อนการเป็นที่ดินของรัฐครั้งแรกผ่านมามากกว่า 10 ปี จึงได้ทำหนังสือร้องเรียนไปยังหน่วยงานต่างๆ เพื่อเรียกร้องให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องได้มาดำเนินการออกเอกสารสิทธิ์ในที่ดิน แต่ปรากฎว่าไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินและเมื่อคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติมีคำสั่งที่ 1/2564 ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2564 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิสูจน์สิทธิในที่ดินของรัฐจังหวัด (คพร.จังหวัด) ให้มีอำนาจและหน้าที่ในการพิสูจน์สิทธิการครอบครองที่ดินของบุคคลในเขตที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินทุกประเภท และได้กำหนดมาตรการเรื่องการพิสูจน์สิทธิ์การครอบครองที่ดินของบุคคลในเขตที่ดินของรัฐไว้อย่างชัดเจน 
 
 
จึงได้ศึกษารายละเอียดและได้ทำการรวบรวมพยานหลักฐานเกี่ยวกับที่ดิน เพื่อแสดงให้เห็นว่าได้ครอบครองทำประโยชน์อย่างต่อเนื่องมาก่อนการเป็นที่ดินของรัฐครั้งแรกหมู่บ้านนางแลใน หมู่ที่ 7 ก่อตั้งหมู่บ้านมาก่อน พ.ศ. 2460 โดยปรากฎวัตถุพยานเป็นที่ประจักษ์คือการก่อตั้งวัดนางแลใน มีรายชื่อเจ้าอาวาสและผู้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านนับตั้งแต่ พ.ศ. 2460 เป็นต้นมา ที่สามารถพิสูจน์ได้จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของราชการได้การครอบครองที่ดินปรากฎชัดเจนในภาพถ่ายทางอากาศของกรมแผนที่ทหาร และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2513 ให้รักษาป่าดอยนางแล ป่าดอยยาว และป่าดอยพระบาท ไว้เป็นพื้นที่ป่าไม้ถาวร และได้ประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2521 
 
 
 
และประกาศเป็นเขตปฏิรูปที่ดินตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในท้องที่ตำบลนางแล ตำบลแม่ข้าวต้ม ตำบลริมกก และตำบลบ้านดู่ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2537มีข้อโต้แย้งสิทธิครอบครองที่ดินประกอบด้วย พยานบุคคล พยานวัตถุ และภาพาถ่ายทางอากาศของกรมแผนที่ทหาร ที่ถ่ายภาพพื้นที่นั้นไว้เป็นครั้งแรกจากเป็นที่ดินของรัฐ ซึ่งเป็นภาพถ่ายที่ได้รับการรับรองจากกรมแผนที่ทหาร โดยเป็นภาพถ่ายซึ่งถ่ายขึ้น ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2497 วันที่ 30 มกราคม 2513 และวันที่ 15 มกราคม 2519 ตลอนจนพยานหลักฐานอื่น ๆ ที่พร้อมสำหรับการพิสูจนฒสิทธิ์ฯ ดังนั้นจึงเรียนมายังประธานอนุกรรมการพิสูจน์สิทธิในที่ดินของรัฐจังหวัด (คพร.จังหวัด) จังหวัดเชียงราย เพื่อขอใช้สิทธิ์ตามมติคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2564 ขอพิสูจน์การครอบครองที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินว่าได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวก่อนการเป็นที่ดินของรัฐครั้งแรก
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News