จุฬาฯ เผยวิสัยทัศน์ Future of Jobs 2025 ชี้ทักษะแห่งอนาคต เตรียมพร้อมคนไทยสู่การแข่งขันระดับโลก
เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2568 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ World Economic Forum เปิดตัวรายงาน “The Future of Jobs 2025” เพื่อเสนอแนวทางรับมือการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานในปี 2568-2573 โดย ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงถึงผลสำรวจและข้อแนะนำที่สำคัญเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับแรงงานไทย รายงานนี้อ้างอิงการสำรวจจาก 1,000 บริษัทใน 22 อุตสาหกรรม และพนักงานกว่า 14 ล้านคนใน 55 ประเทศทั่วโลก โดยสรุปข้อมูลสำคัญดังนี้
การเปลี่ยนแปลงในตลาดแรงงาน:
- ตำแหน่งงานใหม่ 170 ล้านตำแหน่งจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
- 92 ล้านตำแหน่งงานจะหายไปเนื่องจากระบบอัตโนมัติและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
- การจ้างงานจะเติบโตสุทธิ 7% หรือประมาณ 78 ล้านตำแหน่งทั่วโลก
ปัจจัยเปลี่ยนแปลงตลาดแรงงานปี 2573:
- การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี: AI หุ่นยนต์ และนวัตกรรมพลังงาน
- การเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม: ความต้องการพลังงานหมุนเวียนและวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
- ความผันผวนทางเศรษฐกิจ: ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นและภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว
- การเปลี่ยนแปลงด้านประชากร: ผู้สูงอายุในประเทศรายได้สูงและแรงงานในประเทศรายได้ต่ำ
- การแบ่งแยกทางเศรษฐกิจ: ข้อจำกัดทางการค้าและความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์
ทักษะที่สำคัญแห่งอนาคต:
- ในประเทศไทย: ทักษะ AI และ Big Data, การคิดเชิงวิเคราะห์, การคิดสร้างสรรค์, ความปลอดภัยทางข้อมูล
- ระดับโลก: ทักษะการใช้งานเทคโนโลยี, ความคิดสร้างสรรค์, AI และความปลอดภัยทางข้อมูล
กลยุทธ์ 5 ประการ สร้างมนุษย์แห่งอนาคต (Future Human):
- Holistic Skill Change: ยกระดับการ Upskill ครบทุกมิติ
- Future-Ready Organization: สร้างระบบพัฒนาทักษะในองค์กร
- Human Replacement: ใช้ระบบ Automation ทดแทนงานซ้ำซาก
- Enhancing Dynamic Work Role: ส่งเสริมบทบาทงานที่ปรับเปลี่ยนได้
- Integration of New Technology: ผสานเทคโนโลยีล้ำสมัยเพื่อสร้างนวัตกรรม
เป้าหมาย The University of AI:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งเป้าสู่การเป็น “มหาวิทยาลัยแห่ง AI” พร้อมสร้างคนพันธุ์ใหม่ (Future Human) ที่มีทั้ง AI (Artificial Intelligence) และ II (Instinctual Intelligence) หรือปัญญาสัญชาตญาณ ที่ไม่เพียงเก่งด้านเทคโนโลยี แต่ยังมีหัวใจที่เปี่ยมด้วยคุณธรรม เพื่อสร้างประโยชน์แก่สังคมและโลกในอนาคต
ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ กล่าวสรุปว่า การเตรียมความพร้อมด้านทักษะแห่งอนาคตจะช่วยยกระดับขีดความสามารถของแรงงานไทย และสร้างความมั่นคงในเศรษฐกิจและสังคมระยะยาว พร้อมสร้างโอกาสให้ประเทศไทยเป็นผู้นำในเวทีโลกในยุคดิจิทัลนี้.
เครดิตภาพและข้อมูลจาก : World Economic Forum