Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

อบจ.เชียงราย ชวนเที่ยว 13 – 15 ส.ค. มหกรรมเปิดโลกอุทยานธรณีเพื่อการท่องเที่ยว

 

เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2567 นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ในฐานะผู้อำนวยการอุทยานธรณีเชียงราย ได้เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “มหกรรมเปิดโลกอุทยานธรณีเพื่อการท่องเที่ยว จังหวัดเชียงราย” ตอน “ธรณีมหัศจรรย์ สร้างสรรค์อัตลักษณ์เชียงราย” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 – 15 สิงหาคม 2567 ณ หอประวัติเมืองเชียงราย 750 ปี

พิธีเปิดได้รับเกียรติจาก นายพชิต สมบัติมาก อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย นางสาวศิรประภา ชาติประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 1 หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาคีเครือข่าย และประชาชนในพื้นที่ที่เข้าร่วมงาน

ในพิธีเปิด นายก อบจ.เชียงราย กล่าวต้อนรับผู้ร่วมงาน และชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของอุทยานธรณีเชียงราย ซึ่งเป็นอุทยานธรณีใหม่ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาจังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะในด้านการท่องเที่ยวและการเผยแพร่องค์ความรู้ทางธรณีวิทยา

“อุทยานธรณีเชียงรายมีศักยภาพที่จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาจังหวัดเชียงรายในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวและการเผยแพร่องค์ความรู้ทางธรณีวิทยา จังหวัดเชียงรายและองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายมีความมุ่งมั่นและพร้อมสนับสนุนอย่างเต็มที่” นายก อบจ.เชียงราย กล่าว

การจัดงานในครั้งนี้มุ่งเน้นการส่งเสริมการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่เชื่อมโยงเรื่องราวทางธรณีวิทยากับอัตลักษณ์เฉพาะตัวของจังหวัดเชียงราย ทั้งในด้านศิลปวัฒนธรรมและความหลากหลายของเรื่องราวในแต่ละชุมชน ซึ่งการจัดงานยังใช้กระบวนการบริหารจัดการ “จากล่างสู่บน” เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาและได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยว

“Geopark is people” คือแนวคิดหลักของการจัดงานครั้งนี้ ซึ่งมุ่งเน้นการให้ชุมชนมีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ โดยการจัดกิจกรรมและการพัฒนาต่าง ๆ จะต้องเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและหน่วยงานในท้องถิ่นเป็นหลัก การสร้างความตระหนักรู้และแรงบันดาลใจให้กับชุมชนจะช่วยให้เกิดการต่อยอดองค์ความรู้ไปสู่ศาสตร์แขนงอื่น ๆ และพัฒนาจังหวัดเชียงรายอย่างยั่งยืน

งานนี้จะเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาอุทยานธรณีเชียงรายให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายและเชื่อมโยงกับอัตลักษณ์ของจังหวัด ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชนและการพัฒนาที่ยั่งยืนของจังหวัดเชียงรายต่อไป

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : อบจ.เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
AROUND CHIANG RAI TRAVEL

เปิดโลกอุทยานธรณีให้เชียงราย เป็นหมุดหมายของนักท่องเที่ยว

 

เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2567 ที่โรงแรมไชยนารายณ์ ริเวอร์ไซด์ อำเภอเมืองเชียงราย นายธิติพันธ์ จูจันทร์โชติ รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี นายบุญเกิด ร่องแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดเชียงราย นายญาณาฤทธิ์ หนสมสุข รองปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ร่วมกันแถลงข่าวเตรียมความพร้อมจัดงานมหกรรมเปิดโลกอุทยานธรณี เพื่อการท่องเที่ยว จังหวัดเชียงราย ตอน “ธรณีมหัศจรรย์ สร้างสรรค์อัตลักษณ์เชียงราย” ในวันที่ 13 – 15 สิงหาคม 2567 ณ หอประวัติเมืองเชียงราย 750 ปี จังหวัดเชียงราย 

โดยกรมทรัพยากรธรณี ร่วมกับ จังหวัดเชียงราย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายและภาคีเครือข่าย จัดงานมหกรรมเปิดโลกอุทยานธรณีเพื่อการท่องเที่ยว จังหวัดเชียงราย ตอน “ธรณีมหัศจรรย์สร้างสรรค์อัตลักษณ์เชียงราย” เพื่อส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวชิงธรณีในพื้นที่แหล่งมรดกธรณี หรืออุทยานธรณี ผ่านนิทรรศการและกิจกรรม รวมทั้งเปิดโอกาสให้ชุมชนท้องถิ่นหรือหน่วยงานที่ร่วมพัฒนาแหล่งมรดกธรณีหรืออุทยานธรณี 

ได้มีพื้นที่นำเสนอกิจกรรมการให้บริการ และผลิตภัณฑ์ด้านการท่องเที่ยวที่เกี่ยวกับอุทยานธรณี อีกทั้งยังเป็นการสร้างการรับรู้ ด้านคุณค่าความสำคัญของแหล่งมรดกธรณี อุทยานธรณี รวมถึงเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงธรณีของจังหวัดเชียงราย ให้จังหวัดเชียงรายเป็นหมุดหมายของนักท่องเที่ยว ส่วนด้านรูปแบบและกิจกรรมภายในงาน จะมีการนำเสนอนิทรรศการและกิจกรรมต่าง ๆ ได้ความรู้ เนื้อหาสาระ เช่น นิทรรศการอุทยานธรณีประเทศไทย “What is geopark – Geopark is People” นิทรรศการเส้นทางท่องเที่ยวเชิงธรณี จังหวัดเชียงราย “Chiang Rai Geotrail” นิทรรศการ ตรวจสอบอัญมณีและวัตถุทางธรณีสายมู “หมอดูหิน” นิทรรศการ Dark sky “พาเธอมาดูดาว” นิทรรศการจากหน่วยงานพันธมิตร กิจกรรม Food & Products Market กิจกรรม Show case “Geofood” สับปะรดภูแล ข้าวเหนียวเขี้ยวงู และกิจกรรมบนเวทีลุ้นรับของรางวัลมากมาย

สำหรับจังหวัดเชียงรายมีแหล่งทางธรรมชาติที่สวยงาม วัฒนธรรม ประเพณี และเรื่องราวของชุมชนที่โดดเด่น มีแหล่งธรณีวิทยาในพื้นที่อุทยานธรณี อาทิ ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน และ ถ้ำเสาหินพญานาค อำเภอแม่สาย น้ำพุร้อนป่าตึง และเวียงหนองหล่ม อำเภอแม่จัน ซึ่งพื้นที่เหล่านี้สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว รูปแบบใหม่ที่เน้นการใช้แหล่งธรณี เชื่อมโยงกับวัฒนธรรม และเรื่องราวของชุมชน เป็นเครื่องมือในการสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนต่อไป

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

กรมทรัพยากรธรณี รำลึกเหตุแผ่นดินแม่ลาวไหวครบรอบ 1 ทศวรรษ

 
เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2567 นายพิชิต สมบัติมาก อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี เป็นประธานพิธีเปิดการจัดงานครบรอบ “1 ทศวรรษ แผ่นดินไหวแม่ลาว บทเรียนสำคัญสู่ความร่วมมือการจัดการธรณีพิบัติภัยอย่างยั่งยืน” ที่ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จังหวัดเชียงราย เพื่อสร้างความตระหนักและถอดบทเรียนจากแผ่นดินไหวสู่องค์ความรู้ในการป้องกันและเตรียมความพร้อมรับมือในอนาคต ตลอดจนพัฒนาขีดความสามารถของทุกภาคส่วน ไปสู่การขับเคลื่อน การจัดการธรณี พิบัติภัยอย่างเป็นรูปประธรรม โดยมี ดร.สมศักดิ์ วัฒนปฤดา ผู้อำนวยการกองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม นำหน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  หน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา ชุมชน เครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัยธรณีพิบัติภัย และประชาชนในจังหวัดเชียงราย กว่า 300 คน เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมรูปแบบการประชุม และการเสวนาถอดบทเรียน ในหัวข้อ “ถอดบทเรียน 10 ปี แผ่นดินไหวเชียงราย สู่ความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการป้องกันและลดผลกระทบจากพิบัติภัยทางธรรมชาติ” โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์ด้านแผ่นดินไหว มาร่วมบรรยายพิเศษ “บทบาทของสถาบันการศึกษาและภาคีเครือข่าย เยาวชน ในการร่วมขับเคลื่อนการบริหารจัดการภัย พิบัติทางธรรมชาติจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และ การอภิปลายบทเรียนสำคัญสู่ความร่วมมือการจัดการธรณีพิบัติภัยอย่างยั่งยืน โดยภายในงานจัดให้มีนิทาศการองค์ความรู้ด้านธรณีพิบัติภัย อีกด้วย
 

         นายพิชิต สมบัติมาก อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี เปิดเผยว่า จากสถานการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีข้อสั่งการมอบหมายให้กรมทรัพยากรธรณี เร่งสร้างความรู้ความเข้าใจและความเชื่อมั่นแก่ประชาชน โดยนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการแจ้งเตือนภัย เร่งติดตั้งเครื่องมือวัดแผ่นดินไหว จัดทำแผนที่แสดงจุดปลอดภัยและซักซ้อนแผนอพยพร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกรมทรัพยากรธรณี ได้นำองค์ความรู้ทางวิชาการด้านธรณีพิบัติภัยมาใช้ เพื่อลดความสูญเสียและลดผลกระทบต่อชุมชนบนหลักการ “อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยเสี่ยงธรณีพิบัติภัย อยู่อย่างไรให้ปลอดภัยอย่างยั่งยืน” โดยมีการถ่ายทอดความรู้สู่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยให้อาศัยอยู่อย่างมั่นใจและปลอดภัย เสริมสร้างศักยภาพของภาคีเครือข่ายและชุมชนให้พร้อมรับมือธรณีพิบัติภัย และสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วเมื่อประสบภัย รวมถึงประชาชนทั้งที่อยู่ในเขตเมืองที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวและประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่สูงที่เสี่ยงต่อการดินถล่ม จะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนแนวทางประสบการณ์การดำเนินชีวิตได้รับรู้วิธีการอยู่อาศัยในที่เสี่ยงธรณีพิบัติภัย สามารถนำไปปรับใช้ได้กับชีวิตประจำวัน และมีศักยภาพเพื่อเตรียมความพร้อมในการเผชิญภัยได้อย่างมีสติ 
 

        ดร.สมศักดิ์  วัฒนปฤดา ผู้อำนวยการกองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม กล่าวอีกว่า ถ้าหากย้อนกลับไป เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 เวลา 18.08 นาฬิกา เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดในประเทศไทย ขนาด 6.3 ริกเตอร์ ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่ตำบลดงมะดะ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย ด้วยเหตุการณ์ครั้งนั้นสร้างความเสียหายให้แก่ประชาชน บ้านเรือนประชาชนกว่า 10,000 หลังคาเรือน ศาสนสถานต่างๆ โรงเรียน ถนนเกิดรอยแยกเป็นทางยาวหลายพื้นที่ในจังหวัดเชียงราย และอาคารสูงในกรุงเทพฯสามารถรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนครั้งนี้ด้วย จะเห็นได้ว่าการเกิดธรณีพิบัติภัยในแต่ละครั้งส่วนมากจะเกิดขึ้นแบบฉับพลันยากต่อการคาดการณ์ล่วงหน้า สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหลายพื้นที่ และที่สำคัญมักจะก่อให้เกิดความตื่นตระหนกให้กับประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ ดังนั้นกรมทรัพยากรธรณี จึงได้จัดประชุมสัมมนา เรื่อง “๑ ทศวรรษแผ่นดินไหวแม่ลาว : บทเรียนสำคัญสู่ความร่วมมือการจัดการธรณีพิบัติภัยอย่างยั่งยืน” ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เพื่อเป็นการถอดบทเรียนจากการเกิดเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยที่สำคัญ นำมาสู่การเรียนรู้เกี่ยวกับธรณีพิบัติภัยและเพื่อจัดทำแนวทางการขับเคลื่อนความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในการจัดการธรณีพิบัติภัยอย่างบูรณาการ เพื่อบรรเทาลดผลกระทบและความสูญเสียทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News