Categories
NEWS UPDATE

อินไซต์นักช้อปครึ่งปีแรก ‘ร้านค้าหรู’ โต 4 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนโควิด จับตาตลาดบิวตี้

 

เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2567 The 1 Insight เผยผลวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้จ่ายกลุ่มสินค้า Luxury ในช่วงครึ่งปีแรก 2567 แม้ในสภาพเศรษฐกิจผันผวน ภาพรวมกำลังซื้อตลาด Luxury Retail ยังเติบโตสูง 4 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนโควิด โดยสินค้าบิวตี้เติบโตแรงกว่าสินค้าแฟชั่น โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่

ผลการวิเคราะห์ภาพรวมการใช้จ่ายกลุ่มสินค้า Luxury จาก The 1 Insight ในช่วงเดือนมกราคม – มิถุนายน 2567 พบว่า การใช้จ่ายสินค้าบิวตี้มีการเติบโตสูงกว่าสินค้าแฟชั่น 10%  ซึ่งตรงกับทฤษฎี “Lipstick Effect” ที่ใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกในช่วงที่กำลังซื้อภาพรวมลดลง

ทว่ายอดการใช้จ่ายสินค้าบิวตี้กลับเติบโตสวนทาง เนื่องจากเป็นสินค้าที่ชุบชูจิตใจได้ไม่แพ้สินค้าแฟชั่นแบรนด์หรู แต่มาในงบประมาณที่เข้าถึงได้สำหรับคนส่วนใหญ่นั่นเอง โดยสินค้าที่ยอดขายเติบโตสูงสุดในหมวดบิวตี้ ได้แก่ ลิปสติก พาเลตต์แต่งหน้า น้ำหอม ส่วนในหมวดแฟชั่น สินค้าที่มียอดขายเติบโตสูงสุด ได้แก่ กระเป๋าถือ แอ็กเซสเซอรี่ รองเท้า

การใช้จ่ายกับสินค้าแต่ละประเภทในสัดส่วนที่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

  • กลุ่ม Gen Z” ใช้จ่ายกับเครื่องสำอาง น้ำหอม และสกินแคร์
  • กลุ่ม Gen Y” ใช้จ่ายกับสินค้าแฟชั่น สกินแคร์ และน้ำหอม
  • กลุ่ม Gen X” ใช้จ่ายกับสกินแคร์และสินค้าแฟชั่น เมกอัพ และน้ำหอม
  • กลุ่ม Baby Boomers” ใช้จ่ายกับสกินแคร์ สินค้าแฟชั่น และเมกอัพ

สอดคล้องกับพฤติกรรมและความสนใจของคนแต่ละช่วงวัยอย่างเห็นได้ชัด

สิ่งที่น่าจับตาคือ “กลุ่ม Gen Z” มีการใช้จ่ายในกลุ่มสินค้า Luxury เติบโตสูงสุดจากทุกช่วงวัย เป็นผลให้แบรนด์ระดับโลกที่เล็งเห็นโอกาสเริ่มดำเนินกลยุทธ์ในการดึงดูดกลุ่ม Gen Z มากขึ้น ชัดเจนในช่วง 2-3 ปีให้หลังนี้ อาทิเช่น การใช้ดาราและอินฟลูเอนเซอร์ที่กลุ่ม Gen Z ติดตาม รวมถึง Storytelling ของแบรนด์ต่างๆ ที่เน้นการแสดงตัวตนที่ authentic และมุมมองต่อ sustainability ซึ่งเป็นเรื่องหลักที่กลุ่มช่วงวัยดังกล่าวให้ความสำคัญ

อย่างไรก็ดี กลุ่มลูกค้าอื่นๆ ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เนื่องจากกำลังซื้อส่วนใหญ่ยังอยู่ที่ Gen Y, Gen X และ Baby Boomer ตามลำดับ

โดยทั้ง 3 ช่วงวัยนั้นยังถือว่าเป็นลูกค้ากลุ่มสำคัญของแบรนด์ นอกจากจะมีสัดส่วนการใช้จ่ายสูงแล้ว โดยเฉพาะในกลุ่ม Gen Y พบว่าคนกลุ่มนี้มีความภักดีต่อแบรนด์ (Brand Loyalty) สูงกว่ากลุ่ม Gen Z ที่เปิดกว้างมากกว่าและพร้อมเปลี่ยนแบรนด์ที่ชื่นชอบตลอดเวลา

“ช่องทางออนไลน์” ที่เติบโตขึ้นไม่ว่าจะเป็น E-Commerce หรือ Social Commerce ช่องทางหน้าร้านก็ยังคงมีความสำคัญอย่างมาก ไม่เพียงในกลุ่ม Gen X และ Baby Boomer ที่นิยมการใช้จ่ายที่หน้าร้านมากกว่าเท่านั้น

ผลสำรวจจาก CRC VoiceShare ในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2567 พบว่า 50% ของผู้ตอบแบบสอบถาม ซื้อสินค้าในหมวดแฟชั่นและบิวตี้อย่างน้อย 1 รายการในช่วงเวลา 1 เดือน และนักช้อปสายลักชัวรี่ส่วนใหญ่ยังคงนิยมใช้จ่ายที่หน้าร้าน เนื่องจากสามารถมอบ Customer Experience ที่สะดวกสบายและมอบความรู้สึกพิเศษให้ได้มากกว่า

ซึ่งแบรนด์และห้างสรรพสินค้าต่างๆ ทราบในจุดนี้ดี ล่าสุด เห็นได้ชัดจากการเปิดตัว Luxe Galerie พื้นที่แฟชั่นแห่งใหม่ใจกลางกรุง ณ ห้างเซ็นทรัล ชิดลม ที่นำเสนอแบรนด์ชั้นนำระดับโลกในรูปแบบบูทีค พร้อมไฮไลท์สำคัญอย่าง ‘Shoes Avenue’ ครั้งแรกในประเทศไทยด้วย

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : The 1 Insight

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
NEWS NEWS UPDATE

เปิดลิสต์ 10 อันดับสินค้าขายดี รับช่วงสงกรานต์ 67 จาก The 1 Insight

 
เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2567 ข้อมูลจาก The 1 Insight เผยสินค้าที่ได้รับความนิยมสูงขึ้นในช่วงวันที่ 1-15 เมษายน 2566 ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าที่เป็นที่มีแนวโน้มเติบโตโดดเด่นในช่วงสงกรานต์ในทุก ๆ ปี ได้แก่
  • กระเป๋ากันน้ำ +260
  • พัดลม +250%
  • เครื่องปรับอากาศ +230%
  • เสื้อลายดอก +110%
  • น้ำแข็ง +70%
  • ไอศกรีม +60%
  • แป้งทาตัว +50%
  • ครีมกันแดด +40%
  • ยาดม +30%
  • น้ำยาเปลี่ยนสีผม +20%

ซึ่งจะเห็นได้ว่าสินค้าที่ยอดขายเติบโตได้ดี มีทั้งสินค้าจำเป็นในการช่วยดับร้อนในช่วงเดือนเมษายนที่อุณหภูมิสูงสุดในช่วงปี และสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการฉลองเทศกาลสงกรานต์

รวมถึงทาง CRC VoiceShare ยังเผยผลสำรวจพฤติกรรมการเดินทางของผู้บริโภคในช่วงสงกรานต์ พบว่าคนไทยกว่า 60% มีแผนที่จะเดินทางในประเทศไทยเพื่อท่องเที่ยวหรือกลับภูมิลำเนา โดยนิยมไปเที่ยวทะเลเป็นอันดับหนึ่ง จังหวัดยอดนิยมได้แก่ ชลบุรี ระยอง และภูเก็ต โดยส่วนใหญ่วางแผนเดินทางช่วงก่อนสงกรานต์จนถึงช่วงเทศกาลระหว่างวันที่ 12-16 เมษายน และมักเดินทางในช่วงสงกรานต์เป็นประจำทุกปี

ในส่วนของค่าใช้จ่าย โดยรวมอยู่ระหว่างช่วง 9,000-18,000 บาท แบ่งเป็น 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่ 1.ค่าเดินทาง 5,000-10,000 บาท โดยส่วนใหญ่ 72% เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว 15% เดินทางโดยขนส่งสาธารณะ และ 13% เดินทางโดยเครื่องบิน 2.ค่าที่พัก 1,000-3,000 บาท 3.ค่ากิน-เที่ยว 3,000-5,000

ส่วนคนไทยอีก 30% ที่เลือกพำนักอยู่ที่อยู่อาศัยในจังหวัดเดิม มักมีกิจกรรมหลัก ๆ คือการใช้เวลากับครอบครัว เดินเล่นในห้างสรรพสินค้าเยี่ยมเยียนและรดน้ำดำหัวญาติผู้ใหญ่ นอกจากนี้ยังมี 10% วางแผนท่องเที่ยวต่างประเทศ โดยกว่าครึ่งตั้งเป้าไปประเทศญี่ปุ่น ตามมาด้วยประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย อาทิ จีน ไต้หวัน เวียดนาม

จากฐานข้อมูล The 1 ยังบ่งชี้ถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายจากนักท่องเที่ยวในปี 2566 ซึ่งภาพรวมเติบโตอย่างมีนัยสำคัญถึง 200% ในปี 2566 เมื่อเทียบกับปี 2565 และมีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้นอีกในปี 2567 นี้ โดย 3 ประเทศที่ใช้จ่ายสูงสุดได้แก่ จีน มาเลเซีย และรัสเซีย

โดยการใช้จ่ายจากนักท่องเที่ยวจีนเติบโตอย่างก้าวกระโดดถึง 10 เท่า ในปี 2566 เมื่อเทียบกับปี 2565 และมีแนวโน้มเติบโตแตะระดับก่อนเหตุการณ์โควิด-19 เนื่องด้วยนโยบายวีซ่าฟรี ไทย-จีน ที่มีส่วนช่วยในการกระตุ้นการท่องเที่ยว

นอกจากนี้ CRC VoiceShare ยังได้เผยผลสำรวจความเห็นผู้บริโภคในหัวข้อ “เมื่อนึกถึงสงกรานต์ คนแต่ละช่วงวัยนึกถึงอะไร” โดย Gen Z นึกถึง “การเล่นน้ำ” ด้วยความเป็นวัยรักสนุกที่เพิ่งพ้นผ่านช่วงวัยรุ่นมาไม่นาน Gen Y นึกถึง “วันหยุดเทศกาล”

สะท้อนความต้องการ Work-Life Balance เพื่อผ่อนคลายจากการทำงาน Gen X นึกถึง “วันขึ้นปีใหม่” เรียกได้ว่าเป็นโอกาสรวมญาติครั้งสำคัญแห่งปีสำหรับช่วงวัยที่ให้ความสำคัญกับการสร้างครอบครัวอบอุ่น ส่วน Baby Boomers นึกถึง “การรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่” สะท้อนการให้คุณค่าของผู้สูงวัยต่อธรรมเนียมปฏิบัติของเทศกาลสงกรานต์

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : The 1 Insight

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News