Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

‘วันชัย’ ดันกลไกชุมชนแก้ปัญหา”จากล่างขึ้นบน” คือ “ชุมชนสู่ระดับประเทศ”

 

เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2567 ที่อาคารอิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ จัดเวที “สานพลัง สร้างนวัตกรรม สู่สุขภาวะชุมชนที่ยั่งยืน ปี 2567” วาระ: ชุมชนท้องถิ่นร่วมแก้ปัญหาประเทศ” มุ่งเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น ร่วมแก้ไขปัญหาจากชุมชนสู่ระดับประเทศ โดยมี ดร.วันชัย จงสุทธานามณี นายกเทศมนตรีนครเชียงราย  ดร.นุชากร มาศฉมาดล รองนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด นายประทุม ไทรแช่มจันทร์ ประธานชุมชนหน้าสมาคมธรรมศาสตร์ กทม. นายประภัสสร ผลวงษ์ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี และ นางเยาวลักษณ์ บุญตามชู นักวิชาการสาธารณสุขเทศบาลหาดใหญ่ ร่วมเสวนาในหัวข้อ “อัตลักษณ์การเสริมสร้างความเข็มแข็งของชุมชนท้องถิ่นร่วมแก้ปัญหาประเทศ”

 

ดร.วันชัย จงสุทธานามณี นายกเทศมนตรีนครเชียงราย  กล่าวว่า เชียงรายเป็นเมืองที่มีปัญหาน้ำเสีย ปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆมากมาย การที่มาทำงานจากการสัมผัสด้วยตัวเอง มองว่าการจะแก้ปัญหาสู่การพัฒนาสิ่งสำคัญที่สุดคือเป็นการสร้างภาคีเครือข่ายสร้างมุมมองคนร่วมคิดร่วมทำ การที่เราจะสะท้อนปัญหาและแก้ไขที่ชัดเจนหรือภาคประชาชนสร้างมุมมองสู่ท้องถิ่น รวมถึงการจัดวางแผนงบประมาณ เชื่อมั่นว่ากระทรวง ทบวง กรม ต่างมีงบประมาณค่อนข้างมากและกระบวนการที่เราจะคิดและปัญหาที่เราจะแก้ไขได้ เราจะเชิญชวนดึงมาปรับแผนเข้าหากัน มองว่าอยากสร้างให้เป็นชุมชนท้องถิ่นที่ยั่งยืนชุมชนที่เป็นเมืองแห่งความสุขเป็นเมืองสุขภาพดี ดังนั้นการขับเคลื่อนรวมถึงการร่วมมือกับหน่วย อสม.จึงสำคัญ

 

นอกจากนี้ ยังมีการเสริมสร้างสุขภาพและพัฒนาในเรื่องของอาหารปลอดภัย “เชื่อมั่นว่าถ้าเราปลอดภัยแข็งแรงไม่เจ็บไข้ได้ป่วยไม่ทำให้ไม่มีค่าใช้จ่าย” ทำให้คนในครอบครัวไม่ต้องกังวลใจในภาระต่างๆ เชียงรายโชคดีเมื่อทำงานเรามีภาคีเครือข่ายที่เป็นท้องถิ่นต่างๆรวมถึงเทศบาลและโรงพยาบาลเชียงราย โรงพยาบาลภาคเอกชน รวมถึงกระทรวงสาธารณสุข การที่มีสุขภาพวะตามทิศทางของนโยบาย กลยุทธ์ของผู้ว่าราชการจังหวัดสิ่งต่างๆสะท้อนออกมาเมื่อขับเคลื่อนไปจะทำให้เกิดภาคประชาชนแข็งแรง

 

ดร.นุชากร มาศฉมาดล รองนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า การทำงานคือคิดจากข้างล่างไปข้างบน เพราะการทำงานจากข้างล่างไปข้างบนชุมชนมีส่วนร่วมความยั่งยืนเกิดขึ้นแน่นอน  ร้อยเอ็ดทำ 8 เรื่อง ทั้ง สิ่งแวดล้อม ผู้สูงอายุ เด็กและเยาวชน เศรษฐกิจ เป็นต้น อย่างเรื่องปัญหาเด็กและเยาวชนเป็นสิ่งสำคัญ เพราะปัจจุบันพบมีเด็กออกนอกระบบการศึกษาประมาณ 1,025,115 คน แต่ปี 66 ออกนอกระบบประมาณ 1,000,000 คน  โดยจังหวัดร้อยเอ็ดมีเด็กออกนอกระบบ 6,000 คน ซึ่งเรามีการพาเด็กกลุ่มนี้ไปเรียนฝึกอาชีพซึ่งผลปรากฎว่า เด็กกลุ่มนี้สามารถเปิดร้านเสริมสวยได้ เปิดร้านซ่อมรถได้ ฯลฯ ทุกวันนี้เด็กไม่อยากไปโรงเรียนเพราะไม่รู้เรียนไปแล้วจะทำอาชีพอะไร ฉะนั้นชุมชนจึงสำคัญ  และต้องมาคิดว่าจะทำอย่างไรให้เด็กกับชุมชนอยู่ด้วยกันได้ 

 

นายประทุม ไทรแช่มจันทร์ ประธานชุมชนหน้าสมาคมธรรมศาสตร์ กทม. กล่าวว่า ตอนนี้ในประเทศไทย กลุ่มผู้สูงอายุมีเยอะมาก ในพื้นที่เรามีการประชาสัมพันธ์กับผู้สูงอายุว่า “การชราภาพเป็นเรื่องปกติ แต่เราจะชราภาพให้มีคุณภาพอย่างไร” ซึ่งเรามีการทำกิจกรรมออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเป็นการพบปะสังสรรค์ ใช้แบบสังคมบำบัด นอกจากนี้ยังมีการพูดคุยกัน 5-10 นาที และสำหรับกลุ่มเปราะบางกับผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้พิการจะออกกำลังกายในกลุ่มของเราไม่ได้ เราก็ต้องให้ผู้สูงอายุมาเยี่ยมพบปะพูดคุย

 

อีกเรื่องคือกลุ่มเยาวชน กลุ่มเยาวชนในชุมชนปทุมธานีเป็นพื้นที่สีแดงรองจากคลองเตย เป็นชุมชนที่ยาเสพติดค่อนข้างรุนแรงจนไม่มีใครเอาอยู่คณะกรรมการไม่มีใครเอาอยู่ จึงมีการเข้าห้ามปรามได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้าง เยาวชนเก่าหายไปหมดติดคุกบ้างไปเล่นยาบ้าง ตอนนี้มีการสร้างเยาวชนรุ่นใหม่เป็นเยาวชนของชุมชนและมีการประชุมการบอกโทษของยาเสพติดหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ยาบ้า กัญชา กระท่อม เฮโรอีน ยาไอซ์ เรามีการประชาสัมพันธ์เรียกกลุ่มเยาวชนมาประชุมเพื่อให้ห่างไกลยาเสพติด เพราะยาเสพติดอันตรายไม่ใช่อันตรายกับชุมชนไม่ใช่อันตรายกับครอบครัวแต่อันตรายต่อประเทศชาติ เราจึงจำเป็นต้องให้เขารับรู้ว่าเป็นสิ่งไม่ดี  จึงเปิดพื้นที่เขาสร้างกิจกรรมเอง ไม่ว่าจะเป็น การทาสีกำแพงบ้าน เป็นต้น

 

นางเยาวลักษณ์ บุญตามชู นักวิชาการสาธารณสุขเทศบาลหาดใหญ่ กล่าวว่า มีชุมชนทั้งสิ้น 103 ชุมชน มีประชากร 150,000 คน รวมประชากรแฝงที่เข้ามาทำงานเข้ามาเพื่อการศึกษาการท่องเที่ยวประมาณ 150,000 คน   ในพื้นที่หาดใหญ่เป็นพื้นที่หลายวัฒนธรรม ทั้งไทย จีน เมืองหาดใหญ่จะเจอปัญหาต่างๆที่กระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่เหมือนเมืองอื่นๆ ภายใต้การดำเนินนโยบายของเทศบาลนครหาดใหญ่และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนหรือทุนทางสังคมในพื้นที่เพื่อขับเคลื่อนสู่เมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน ซึ่งมีในพื้นที่มากมาย ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของหน่วยงานภาครัฐในหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่มีโรงพยาบาลเอกชน มีสถาบันการศึกษาต่างๆ

 

นางเยาวลักษณ์ กล่าวต่อว่า หาดใหญ่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ โดยมีผู้สูงอายุร้อยละ 19.19 ซึ่งถ้าไม่มองในเรื่องของดูแลผู้สูงอายุจะทำให้การพัฒนาด้านอื่นเป็นไปไม่ได้ด้วย ฉะนั้นเทศบาลหาดใหญ่มีนโยบายเรื่อง “แก่แต่เก๋า สูงวัยแต่ฉลาด” โดยมีกิจกรรมต่างๆเพื่อทำให้ผู้สูงอายุเป็นผู้สูงอายุที่ทรงพลังทางด้านสุขภาพและการมีความพร้อมช่วยเหลือตนเองได้ ไม่นั่งนึกถึงก่อนวัยอันควรหรือในเรื่องของการส่งเสริมการรวมกลุ่มของชมรมผู้สูงอายุเพื่อให้ดูแลการการสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต การจัดตั้งมีผู้สูงอายุที่จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง การจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 

 

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการสร้างเพิ่มขีดความสามารถอย่างน้อยใน 6 ประการ 1. การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้นำและบุคลากรทุกฝ่ายของเทศบาลนครหาดใหญ่และหน่วยงานองค์กรทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง  2. การเพิ่มคุณภาพการจัดระบบข้อมูล  3. การพัฒนาศักยภาพระบบและกลไก 4. การสร้างการมีส่วนร่วมของเทศบาลนครหาดใหญ่   5. การนำเทคโนโลยีดิจิตอลมาใช้ในการพัฒนาและแอพพลิเคชั่นต่างๆ  6. การสร้างนวัตกรรมโดยบริหารจัดการให้เกิดรูปธรรมการพัฒนาสร้างสรรและความเชี่ยวชาญในการจัดการความรู้

 

สสส.เข้ามาสอนเราในเรื่องของการพัฒนาศักยภาพของกลุ่มและทำให้ค้นพบผู้นำรุ่นใหม่ที่จะต่อยอดการพัฒนาชุมชนซึ่งเราเน้นชุมชนเป็นฐาน นางเยาวลักษณ์ กล่าวทิ้งท้าย

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME