Categories
AROUND CHIANG RAI NEWS UPDATE

พช.เชียงราย นำเครือข่ายเข้ารับโล่เชิดชูเกียรติในงาน “วันพัฒนาชุมชน”

 

เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2567 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “วันพัฒนาชุมชน” (CD Day 2024) ภายใต้ธีมงาน “เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน” ( Strengthened grassroots economy , resilient and sustainable communities) ณ อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) ชั้น 2 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร โดยมี นายสยาม ศิริมงคล อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การดำเนินงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย ผู้บริหารกรมการพัฒนาชุมชน ข้าราชการและประชาชนร่วมพิธีอย่างคับคั่ง 


       ในการนี้ นางอำไพ บัวระดก พัฒนาการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยนางสุรีย์ศรี แสงสุวรรณ ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน นายปรีชา ปวงคำ ผู้อำนวยการส่งเสริมการพัฒนาชุมชน ว่าที่ร้อยตรีอัครพล  จิตจักร์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานประสานและสนับสนุนการบริหารงานพัฒนาชุมชน นางเครือวรรณ สดใส ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน และข้าราชการในสังกัดสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยผู้นำชุมชน กลุ่ม/องค์การชุมชน เครือข่ายองค์กรชุมชน จังหวัดเชียงรายได้เข้าร่วมงานด้วย


        โอกาสนี้ นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้ นางอำไพ บัวระดก พัฒนาการจังหวัดเชียงราย เป็นผู้แทน เข้ารับประกาศเกียรติคุณการขับเคลื่อนหมู่บ้านป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยกองทุนแม่ของแผ่นดิน ตามนโยบายกระทรวงมหาดไทย ระดับจังหวัด และรางวัลเชิดชูเกียรติคนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ประจำปี 2567 ประเภทรางวัลสำนักงานเลขานุการคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ระดับจังหวัด ดีเด่นระดับเขตตรวจราชการที่ 16 ด้วย


       ทั้งนี้ พัฒนาการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยผู้บริหารงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย ได้ร่วมแสดงความยินดีกับผู้นำชุมชน ผู้นำองค์กรชุมชน เครือข่ายองค์กรชุมชน จากจังหวัดเชียงราย ที่เข้ารับโล่รางวัลเชิดชูเกียรติ ในครั้งนี้ ดังนี้
       1. รางวัลพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีประเภท ตำบลเข้มแข็งตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดีเลิศ ระดับจังหวัดเชียงราย ได้แก่ ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย
      2.รางวัลพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีประเภท รางวัลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง” อยู่เย็น เป็นสุข” ดีเด่น ระดับจังหวัดเชียงราย ได้แก่ บ้านยางคำนุ หมู่ที่ 5 ตำบลดอยฮาง อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย 
      3.รางวัลโล่สิงห์ทอง ประเภท ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (ชาย) ดีเด่น ระดับจังหวัดเชียงราย ได้แก่ นายธนกร โชคชัดชาญพัฒนา ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนตำบลแม่คำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
     4.รางวัลโล่สิงห์ทอง ประเภท ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (หญิง) ดีเด่น ระดับจังหวัดเชียงราย ได้แก่ นางรัตนาภรณ์ อุทธิยา ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนตำบลโรงช้าง อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย
     5.รางวัลโล่สิงห์ทอง ประเภท กลุ่ม/องค์กรแกนหลักสำคัญในการพัฒนาหมู่บ้านดีเด่น ระดับจังหวัดเชียงราย ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนปลูกหม่อนเลี้ยงไหมครบวงจร ตำบลโยนก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

มหกรรม “แก้จน คนเจียงฮาย” ความสำเร็จการขจัดความยากจน

 

เมื่อวันพุธที่ 7 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมเชียงรายแกรนด์รูม ตำบลสันทราย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย นางสุภาพรรณ หมั่นเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานเปิดงานมหกรรมความสำเร็จการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดเชียงราย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ภายใต้คอนเซป “มหกรรม Show case แก้จน คนเจียงฮาย” โดยมีนางอำไพ บัวระดก พัฒนาการจังหวัดเชียงราย กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้

ทั้งนี้สืบเนื่องจากรัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนทุกช่วงวัย การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมและลดความเหลื่อมล้ำ โดยการดึงเอาพลังของภาคส่วนต่าง ๆ มาร่วมขับเคลื่อนนโยบายขจัดความยากจนฯ เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาอย่างบูรณาการเป็นรูปธรรมและยั่งยืนได้ในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
 
จังหวัดเชียงรายได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน จึงได้กำหนดการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนอย่างต่อเนื่อง โดยผ่านกลไกศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ( ศจพ. ) ในทุกระดับ และมีการติดตามการให้ความช่วยเหลือครัวเรือนยากจนตามระบบ TPMAP จำนวนเป้าหมาย 7,281 ครัวเรือน รวมถึงกรบูรณาการให้ความช่วยหรือครัวเรือนยากจน ร่วมกับหน่วยงานภาคีในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย ได้จัดทำโครงการ 1 เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน 1 ครัวเรือนยากจน ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสครบรอบวันเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา 
 
โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 3 ประการคือ 
1. เพื่อหนุนเสริมกลไกในการเยี่ยมเยือน ดูแลชีวิต ให้ความช่วยเหลือครัวเรือนยากจนโดยยึดหลัก เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา 
2. เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของครัวเรือนยากจนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี 
3. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสครบรอบวันเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา
 
สำหรับการจัดกิจกรรม ” มหกรรม Show Case แก้จน คนเจืองฮาย ” ในวันนี้ มีผู้เข้าร่ามกิจกรรมได้แก่ พัฒนาการอำเภอ และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนทุกอำเภอ จำนวน 109 คน และกิจกรรมประกอบด้วยการจัดนิทรรศการเผยแพร่ผลสำเร็จผลการดำเนินงานขจัดความยากจนฯ และผลสำเร็จ Best Practice ตามโครงการ 1 เจ้าหน้าที่พัฒนาชุน 1 ครัวเรือนยากจน ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต จาก 18 อำเภอ กิจกรรมทุปกระปุกออมสิน ตามโครงการออมวันละบาท สร้างสุข สร้างรอยยิ้ม สร้างองค์กรคุณธรรม การมอบเงินสมทบทุนสร้างบ้านตามโครงการ เชียงรายสานฝัน ปันสุข สร้างรอยยิ้มปีที่ 7 และการประกวดการจัดการความรู้ ( KM ) ในรูปแบบแผนที่ความคิด ( Mind mapping )
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

เชียงราย ยึดแผนพัฒนา 5 ปี ส่งเสริมผ้าทอและผ้าพื้นถิ่น ด้วยอัตลักษณ์

 

เมื่อวันวันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม 2567 ณ ลานธรรม ลานศิลป์ ถิ่นพญามังราย (ศาลากลางจังหวัดเชียงรายหลังแรก) ได้มีจัดกิจกรรม ส่งเสริมผ้าทอและผ้าพื้นถิ่น ด้วยอัตลักษณ์จังหวัดเชียงราย ภายใต้โครงการการพัฒนากิจกรรมและการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งได้รัยเกียรติจากสุภาพรรณ หมั่นเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย มีนางอำไพ บัวระดก พัฒนาการจังหวัดเชียงราย ในนามผู้ดำเนินการจัดอบรมโครงการการพัฒนากิจกรรม และการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ กิจกรรม ส่งเสริมผ้าทอและผ้าพื้นถิ่นด้วยอัตลักษณ์จังหวัดเชียงราย

 

นางอำไพ กล่าวว่า ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันมีเป้าหมายให้ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น โดยกำหนดให้มีการสร้างความหลากหลาย ด้านการท่องเที่ยวและสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวโดยเฉพาะอย่างยิ่งการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม และเน้นการสร้างความหลากหลายด้านการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวทุกระดับ มุ่งพัฒนาธุรกิจ ด้านการท่องเที่ยวให้มีมูลค่าสูงเพิ่มมากขึ้น ด้วยอัตลักษณ์และวัฒนธรรมไทยและใช้ประโยชน์จากข้อมูล และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างสรรค์คุณค่าทางเศรษฐกิจและความหลากหลายของการท่องเที่ยวให้สอดรับ กับทิศทางและแนวโน้มของตลาดยุคใหม่การใช้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวให้เอื้อต่อผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อกระจายโอกาสในการสร้างรายได้ไปสู่ชุมชนอย่างทั่วถึงและยั่งยืน

 

โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวซึ่งจะนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและกระจายโอกาสในครั้งนี้ ถือเป็นการสร้างรายได้ไปสู่ชุมชนอย่างทั่วถึงและยั่งยืนโครงการนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญ และจะช่วยส่งเสริมในการพัฒนาจังหวัด ที่จะมาเน้นเรื่องการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงคุณค่าเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามแผนการพัฒนาจังหวัดในระยะ 5 ปี ในปี พ.ศ. 2566-2570

 

ซึ่งการส่งเสริมผ้าทอและผ้าพื้นถิ่น ด้วยอัตลักษณ์จังหวัดเชียงราย กิจกรรมที่ 4 เป็นการส่งเสริมการตลาดและประชาสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สนับสนุนการท่องเที่ยว เพิ่มรายได้และกระจายร้ายได้สู่ท้องถิ่นและชุมชน ดำเนินการระหว่าง วันที่ 12 – 14 กรกฎาคม 2567 เวลา 10.00 – 20.30 น. ของทุกวัน ภายในงานมีผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย ในจังหวัดเชียงราย เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้มากถึงจำนวน 31 บูท

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

เชียงราย เห็นชอบมอบทุนเด็ก กองทุนพัฒนาเด็กชนบทรายละ 1,500 บาท

 
เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2567 ที่ห้องประชุมพวงแสด ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดเชียงราย นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกองทุนพัฒนาเด็กชนบท ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดเชียงราย ประจำปี 2567 ครั้งที่ 2/2567 โดยมีคณะกรรมการกองทุนพัฒนาเด็กชนบทฯ เข้าร่วม เพื่อรับทราบผลการดำเนินงาน สถานะการเงิน และพิจารณาเรื่องการให้ความช่วยเหลือ และสนับสนุนการพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ปี ที่มีฐานะยากจน ด้อยโอกาส และรายได้ครัวเรือนตกเกณฑ์
 
 

โดยที่ประชุมนางอำไพ บัวระดก พัฒนาการจังหวัดเชียงราย ในฐานะเลขานุการ ได้แจ้งผลการดำเนินงานกิจกรรมทอดผ้าป่าสมทบกองทุนพัฒนาเด็ก ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดเชียงราย ที่ดำเนินการเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2567 ที่วัดพระแก้ว (พระอารามหลวง) ถนนไตรรัตน์ ต.เวียง อ.เมืองเชียงราย โดยมียอดเงินบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา ทั้งจากส่วนราชการ องค์กรต่างๆ และภาคเอกชน รวมทั้งสิ้น 403,198 บาท ซึ่งจำนวนเงินในส่วนนี้จะนำไปมอบให้กับเด็กที่อยู่ในครัวเรือนยากจน ตามข้อมูล THAI QM หรือ TP MAP อปท. ละ 1 คน ที่อยู่ในช่วงอายุแรกเกิด จนถึง 6 ปี ในพื้นที่ 15 อำเภอ จำนวน 142 ราย รายละ 1,500 บาท รวมถึงร่วมกันพิจาณาอนุมัติวงเงิน มอบให้เด็กที่อยู่ในครัวเรือนที่ตกเกณฑ์รายได้ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ในปี 2567 (รายได้ครัวเรือนเฉลี่ยต่ำกว่า 40,000 บาท ต่อคนต่อปี ) ในพื้นที่ 12 อำเภอ จำนวน 158 ราย รายละ 1,500 บาท

 

ทั้งนี้ในที่ประชุมมติเห็นชอบ และจะมอบทุนส่งให้นายอำเภอแต่ละอำเภอ เป็นผู้แทนมารับมอบในวันประชุมกรมการจังหวัดเชียงราย ประจำเดือนมิถุนายน 2567 โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นผู้มอบ และส่งต่อให้นายอำเภอเป็นผู้มอบทุนให้กับเด็กต่อไป

 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

เชียงราย เพิ่มประสิทธิภาพการออมทุนลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน

 

เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2567 ที่โรงแรมเชียงรายแกรนด์รูม ตำบลสันทราย อำเภอเมืองเชียงราย นางอุบลรัตน์ พ่วงภิญโญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานเปิดงานมหกรรมการออมทุนชุมชนขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก เนื่องในวันคล้ายวันก่อตั้งกลุ่มออมทรัพย์ เพื่อการผลิต ครบรอบ 50 ปี โดยมีนางอำไพ บัวระดก พัฒนาการจังหวัดเชียงราย นำหัวหน้าส่วนราชการ พัฒนาการอำเภอ นักวิชาการพัฒนาชุมชนจังหวัด อำเภอ คณะกรรมการเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตระดับอำเภอและสมาชิก กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต 18 อำเภอ กว่า 70 คน เข้าร่วม

 

 

นางอำไพ บัวระดก พัฒนาการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเป็นองค์กรการเงินสำคัญของกรมการพัฒนาชุมชน โดยกรมการพัฒนาชุมชนได้ส่งเสริมให้ประชาชนมารวมตัวกันออมเงินตามศักยภาพของตนเอง ซึ่งเป็นการสร้างหลักประกัน สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่สมาชิกในครัวเรือน ช่วยเหลือคนในชุมชน โดยในปีนี้เป็นปีการก่อตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ครบรอบ 50 ปี กรมการพัฒนาชุมชน เป็นองค์กรที่เป็นเครื่องมือสำคัญ ในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมของชุมชน ตามภารกิจของกรมการพัฒนาชุมชน และภารกิจของกระทรวงมหาดไทย ในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุขของประชาชน แก้ไขปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำของประชาชน และกล่าวต่อไปว่าปัจจุบันจังหวัดเชียงราย มีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ทั้งสิ้น 610 กลุ่ม สมาชิก 71,741 ราย เงินสัจจะสะสม 710,475,737 บาท (เจ็ดร้อยสิบล้านสี่แสนเจ็ดหมื่นห้าพันห้าร้อยสามสิบเจ็ดบาทถ้วน)
 
 
นางอุบลรัตน์ พ่วงภิญโญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เป็นองค์กรการเงินที่สำคัญของกรมการพัฒนาชุมชน ที่เป็นองค์กรส่งเสริมให้ประชาชนมารวมตัวกันออมเงิน ตามศักยภาพของตนเอง สร้างหลักประกัน สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่สมาชิกในครัวเรือน รวมถึงช่วยเหลือคนในชุมชน สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกัน และการมีความรู้ควบคู่คุณธรรม โดยยึดหลักคุณธรรม 5 ประการ ได้แก่ ความซื่อสัตย์ ความเสียสละ ความรับผิดชอบ ความเห็นอกเห็นใจ ความไว้วางใจกัน ตลอดจนวิถีการดำรงชีวิตของคนในชุมชน ซึ่งเป็นรากฐานในการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นต่อไป
 
 
จากนั้นรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้มอบเกียรติบัตรให้แก่กลุ่มออมทรัพย์ เพื่อการผลิตดีเด่น และสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ เพื่อการผลิตดีเด่น จำนวน 35 ราย เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่สมาชิกออมทรัพย์ นอกจากนี้ภายในงานยังมีกิจกรรมรณรงค์ให้กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต รับสมัครสมาชิกเพิ่ม ประชาสัมพันธ์เพิ่มเงินสัจจะสะสม 50บาท หรือฝากเงินสัจจะสะสมพิเศษ จำนวน ๕o บาทขึ้นไป เวทีเสวนา ในหัวข้อ “ความสำเร็จของการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต” 
 
 
บูธนิทรรศการแสดงถึงความสำเร็จของการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต รวมถึงจัดคลินิกให้คำแนะนำเรื่องการจัดทำบัญชี การดำเนินกิจกรรมเครือข่ายฯ การวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านการเงิน และบูธภาคีเครือข่ายจากสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย มูลนิธิไทยเครดิต ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และบริษัทไทยประกันชีวิต
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News