Categories
AROUND CHIANG RAI

ปลุกพลังเยาวชนเชียงราย จัด”มหกรรมเยาวชนอำเภอแม่ฟ้าหลวง”

 

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน 2567 เวลา 10.00 น. นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย (อบจ.เชียงราย) ได้เดินทางไปยังหอประชุมสนามกีฬากลางบ้านเทอดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย เพื่อพบปะเยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงราย “Create Youth Empowerment of Mae Fah Luang” โดยมีนายฐิติวัชร ไลศิริพันธุ์ ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม อบจ.เชียงราย และคณะกรรมการศูนย์เยาวชน อบจ.เชียงราย ร่วมในพิธีเปิดโครงการครั้งนี้

ในการนี้ นางอทิตาธรได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากนายปิยะเดช เชิงพิทักษ์กุล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่สลองใน นางสาวชลธิชา มาเยอะ ประธานเยาวชนอาสาพัฒนาเชียงราย อำเภอแม่ฟ้าหลวง และสมาชิกเครือข่ายเยาวชนอาสาพัฒนาเชียงราย รวมถึงเยาวชนในพื้นที่ที่เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ด้วยความตั้งใจและความกระตือรือร้น

โครงการ “Create Youth Empowerment of Mae Fah Luang” จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมศักยภาพและความสามารถของเด็กและเยาวชนในจังหวัดเชียงราย โดยเน้นการสร้างสรรค์และการแสดงออกในรูปแบบที่หลากหลายและเป็นประโยชน์ ในงานมีการจัดกิจกรรมที่น่าสนใจหลากหลาย อาทิ การประกวดเดินแบบชุดชาติพันธุ์ และการแข่งขันเต้น Cover Dance ซึ่งได้รับความสนใจจากเยาวชนในพื้นที่อย่างล้นหลาม โดยในการประกวดเดินแบบชุดชาติพันธุ์นั้น ได้รับเกียรติจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ นางสาววันเพ็ญ จางวัน นางสาวรัชนี สุธิประภา และนายนนทพัทธ์ พงศ์พีเมียร์ เป็นผู้ตัดสินการแข่งขัน

โครงการนี้เป็นหนึ่งในโครงการที่สำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม อบจ.เชียงราย ได้ริเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อเปิดพื้นที่ให้เด็กและเยาวชนได้มีโอกาสแสดงออกซึ่งศักยภาพและความสามารถอย่างสร้างสรรค์ โดยเน้นการให้ความรู้ในเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่สามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตและพัฒนาตนเองในอนาคตได้

นอกจากนั้น โครงการดังกล่าวยังเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนนโยบาย “เชียงรายเมืองสร้างสรรค์” ซึ่งเป็นนโยบายที่มุ่งเน้นการสร้างสรรค์และพัฒนาเมืองเชียงรายให้เป็นเมืองที่มีความเจริญก้าวหน้าและยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการออกแบบ ซึ่งเชียงรายได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านการออกแบบของ UNESCO และยังเป็นส่วนหนึ่งในการเฉลิมฉลองการจัดตั้งศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือ NEW TCDC จังหวัดเชียงราย ที่เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาและส่งเสริมการออกแบบในพื้นที่นี้

นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายก อบจ.เชียงราย ได้กล่าวในโอกาสนี้ว่า “การที่เราเปิดพื้นที่ให้เยาวชนได้แสดงออกในทางสร้างสรรค์ เป็นการเตรียมพร้อมให้พวกเขาได้เป็นผู้นำที่ดีในอนาคต และการที่เชียงรายได้รับการยอมรับเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านการออกแบบจาก UNESCO ถือเป็นก้าวสำคัญที่เราทุกคนควรภาคภูมิใจ”

การจัดงานในครั้งนี้ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการพัฒนาเยาวชนของจังหวัดเชียงรายให้มีทักษะและความสามารถที่จำเป็นต่อการเผชิญหน้ากับความท้าทายของโลกในอนาคต และยังเป็นการส่งเสริมให้เยาวชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาและการสร้างสรรค์ในทุกมิติของชีวิต

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : อบจ.เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

แก้ปัญหาถนนหมู่บ้านอาโย๊ะใหม่ หลังเส้นทางชำรุดเดือดร้อนยาวนาน

 

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2567 นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ลงพื้นที่สำรวจเส้นทางสัญจรที่ชำรุดเสียหาย พร้อมด้วย นางอัญญลักษณ์ กายาไชย เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย นายชัยสิทธิ์ ชัยเนตร เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย และนายทวีศักดิ์ สะโง้ ณ หมู่บ้านอาโย๊ะใหม่ ตำบลแม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย

สำหรับเส้นทางดังกล่าว เป็นเส้นทางสัญจรของพี่น้องประชาชนที่เชื่อมโยงไปยัง 4 หมู่บ้าน เป็นเส้นทางที่สามารถยลระยะเวลาในการเดินทางเข้าตัวเมือง อำเภอแม่จัน ได้เป็นอย่างดี แต่ด้วยถนนเกิดการชำรุดเสียหาย ทำให้พี่น้องประชาชนได้รับความเดือดร้อนมาอย่างยาวนาน
 
 
ต่อมา นายก นก อทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ร่วมหารือและรับฟังปัญหาความเดือดร้อนพี่น้องประชาชน เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาดังกล่าวต่อไป
 
 
ซึ่งหมู่บ้านอาโย๊ะใหม่ อยู่ในตำบลแม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย มี 3 ฤดู เหมือนกับฤดูปกติของภาคเหนือ ในประเทศไทย มีลักษณะภูมิอากาศจัดอยู่ในเขตโซนร้อน แบบฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูกาลภูมิอากาศ ของภาคเหนือส่วนใหญ่เป็นแบบสะวันนา (Aw) คือ อากาศร้อนชื้นสลับกับฤดูแล้ง อุณหภูมิเฉลี่ยประจำปีอยู่ระหว่าง 24–29 องศาเซลเซียส หมู่บ้านที่มีอุณหภูมิต่ำสุด คือ ห้วยหก คือ 2 องศาเซลเซียส หมู่บ้านที่มีอุณหภูมิสูงสุดคือ อาแหละ คือ 33.5 องศาเซลเซียส หมู่บ้านที่มีสถิติฝนตกหนัก คือ ห้วยโย ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,230 มิลลิเมตร/ปี และมีสถิติฝนตกน้อยที่สุด คือ ห้วยกระ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 960 มิลลิเมตร/ปี โดยมีวันที่ฝนตกปีละประมาณ 110 วัน ลักษณะภูมิอากาศโดยภาพรวม ดังนี้
  • ฤดูฝน พฤษภาคม–กันยายน อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 23–29 องศาเซลเซียส
  • ฤดูหนาว ตุลาคม–กุมภาพันธ์ อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 6–21 องศาเซลเซียส
  • ฤดูร้อน มีนาคม–พฤษภาคม อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 25–35 องศาเซลเซียส
 
4 ลักษณะของดิน ลักษณะของดินในพื้นที่มีความหลากหลายเนื่องจากเป็นเทือกเขาสูงชัน บางพื้นที่เป็นดินแดง ดินร่วนปนทราย และดินเหนียว ที่มีสารอาหารสำหรับพืชอยู่มาก บนที่ราบสูงน้ำท่วมไม่ถึงเหมาะแก่การเพาะปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวไร่ (ข้าวพันธุ์ท้องถิ่น) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กาแฟอาราบิก้า ดอกเก๊กฮวย ชาอัสสัม (ชาพันธุ์ท้องถิ่น) และชาอู่หลง เป็นต้น
 
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

อบจ.เชียงราย ปลุกพลังเยาวชน“แม่ฟ้าหลวง” สร้างเครือข่ายเยาวชนอาสาพัฒนาเชียงราย

 
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น. นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายก อบจ.เชียงราย พบปะเยาวชนอำเภอแม่ฟ้าหลวง ในโครงการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงราย กิจกรรมที่ 3 อบรมเครือข่ายเยาวชนอาสาพัฒนาเชียงราย ณ ห้องประชุม องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย โดยมีนายฐิติวัชร ไลศิริพันธ์ ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

 

การอบรมเครือข่ายเยาวชนอาสาพัฒนาเชียงราย ในครั้งนี้ อบจ.เชียงราย ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักที่มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการจัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนในพื้นที่ พร้อมทั้งให้เป็นไปตามนโยบายที่ 5 สภาเยาวชนร่วมกำหนดอนาคตเชียงราย โดย อบจ.เชียงราย ได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์เยาวชน อบจ.เชียงราย เพื่อเป็นศูนย์กลางสำหรับให้บริการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงราย และจะจัดให้มีการสร้างเครือข่ายเยาวชนตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ระดับตำบล ระดับอำเภอและระดับจังหวัด ภายใต้ชื่อ “เยาวชนอาสาพัฒนาเชียงราย (CRPAO Youth)” หมู่บ้านละ 2 คน (คัดเลือกตัวแทนระดับหมู่บ้าน และคัดเลือกตัวแทนระดับอำเภอ) ตามแนวคิด “เด็กและเยาวชน คือ อนาคตของชาติ”

 

เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนได้มีบทบาทแสดงความคิดเห็น เสนอแนะ สะท้อนปัญหา ความต้องการในมุมมองของเยาวชน ก่อเกิดการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาท้องถิ่นอย่างเต็มรูปแบบ ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ ในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตผ่านการจัดตั้งสภาเยาวชน เครือข่ายเยาวชนและกลุ่มเยาวชน ซึ่งเยาวชนเหล่านั้น ได้มีบทบาทในการเชื่อมประสานการทำงานด้านการพัฒนาอันเป็นประโยชน์ ต่อชุมชน สังคม โดยชักชวนเยาวชนในหมู่บ้านได้เข้ามามีส่วนร่วม ก่อให้เกิดพลังจิตอาสานำพาสู่การเติบโตเป็นพลเมืองสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ชุมชนเข้มแข็งต่อไป

 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : อบจ.เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

รมว.ศึกษาธิการ ลงพื้นเชียงราย การดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล

 

เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2567 เวลา 10.00 น. พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตรวจเยี่ยมการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนบ้านห้วยไร่สามัคคี อ.แม่ฟ้าหลวง สังกัด สพป.เชียงราย เขต 3 โดยมี นายศุภโชค ปิยะสันติ์ ผอ.โรงเรียน คณะครูและนักเรียนให้การต้อนรับและรายงานผลการดำเนินงานการจัดการศึกษาตามนโยบายของรัฐบาล จุดที่ 1 ศูนย์การเรียนเกษตร จุดที่ 2 ห้องสมุด & ร้านกาแฟ (นักเรียนดำเนินการเอง) จุดที่ 3 การเรียนแบบจิตศึกษา สร้างสมาธิ (แก้ปัญหาการอ่าน การเขียน ภาษาไทย) จุดที่ 4 Art for Living จุดที่ 5 ห้องเรียนคหกรรมศาสตร์ โดยแต่ละจุดมีนักเรียนในระดับชั้นต่างๆ นำเสนอการเรียนการสอนที่เน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ตามนโยบายเรียนดี มีความสุข ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โอกาสนี้ นายวัลลภ ไม้จำปา รองศึกษาธิการภาค 17 พร้อมด้วย นายเกรียงศักดิ์ ยอดสาร ผอ.สพม.เชียงราย นายวิเศษ เชยกระรินทร์ ผอ.สพป.เชียงราย เขต 3 นายมรกต อนุเคราะห์ ผอ.สพป.เชียงราย เขต 1 นางกัญจนา สัตตรัตนำพร ผอ.สพป.เชียงราย เขต 4 และผู้เกี่ยวข้องร่วมให้การต้อนรับและรายงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง


โรงเรียนบ้านห้วยไร่สามัคคี เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2507 โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนที่ 61 ต่อมาได้โอนมาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ในปี พ.ศ. 2520 โรงเรียนได้ขยายโอกาสทางการศึกษาและได้เริ่มจัดการเรียนการสอนในระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย ตามแผนพัฒนาการศึกษาของโครงการพัฒนาดอยตุง(พื้นที่ทรงงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ) ตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างโอกาสให้แก่นักเรียนชาวเขา ในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุงฯ ได้เรียนจนจบการศึกษาชั้นพื้นฐาน และนำความรู้กลับมาพัฒนาท้องถิ่นของตน
 

ในระยะเริ่มต้นได้ดำเนินการโดยเปิดเป็นห้องเรียนในสาขาของโรงเรียนแม่จันวิทยาคม และใช้ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมป็นสถานที่ในการจัดการเรียนการสอน ต่อมาจึงได้รับอนุมัติให้เปิดขยายชั้นเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และจัดการเรียนการสอนด้วยตนเองตั้งแต่ปีการศึกษา 2549 เป็นต้นมา ปีการศึกษา 2550 ให้ย้ายสถานที่มายังโรงเรียนแห่งใหม่ซึ่งได้รับงบประมาณในการก่อสร้าง จำนวน 13 ล้านเศษ บนพื้นที่ 7 ไร่ 11 ตารางวา ซึ่งเป็นสำนักงานชั่วคราวของแขวงการทางลำปาง โรงเรียนได้จัดการศึกษาโดยยึดพระราชปณิธานของสมเด็จย่าที่ว่า “ช่วยเขา ให้เขาช่วยตัวเขา เอง” โดยมี นายศุภโชค ปิยะสันติ์ เป็นผู้อำนวยการ ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน มีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 34 คน นักเรียนระดับชั้นอนุบาล 1- มัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 426 คน
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News