นางสาวสุนันทา กังวาลกุลกิจ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่าการประชุมสัมมนา ว่ารัฐบาลให้ความสําคัญ ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าชายแดนและสร้างความหลากหลายด้านการท่องเที่ยว เพื่อสร้างรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนในทุกภูมิภาค กระทรวงพาณิชย์จึงได้กําหนดนโยบายในการพัฒนาการค้าชายแดนหลายประการอันจะได้ประโยชน์ร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน (ราชอาณาจักรไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา) โดยได้มีการกําหนดยุทธศาสตร์การส่งเสริมการค้า การลงทุน การค้าชายแดนและผ่านแดน ปี 2567 – 2570 ประกอบด้วย
- พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยเพื่อเพิ่มมูลค่าการค้า
2. ยกระดับศักยภาพและการอํานวยความสะดวกของด่านชายแดน
3. ส่งเสริมและใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลงและกรอบความร่วมมือต่าง ๆ
4. ส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ชายแดนและประเทศเพื่อนบ้าน
ซึ่งการสัมมนาร่วมภาครัฐและเอกชนภาคเหนือของประเทศไทย กับประเทศเพื่อนบ้านในครั้งนี้ นับเป็นโอกาสอันดีที่จะส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ การค้า และใช้ประโยชน์จากความตกลงทางการค้าในภูมิภาค ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการและนักธุรกิจใช้โอกาสจากเขตเศรษฐกิจพิเศษและการเชื่อมโยงกับอนุภูมิภาค GMS, BIMSTEC และ AEC ขยายฐานเศรษฐกิจของภาคเหนือ รวมถึงเป็นการขยายช่องทางและโอกาสทางการตลาดของสินค้าและบริการ มุ่งสู่การเพิ่มมูลค่าการค้าชายแดนของภาคเหนือ
ด้านนางณัฐพร มหาไพบูลย์ พาณิชย์จังหวัดเชียงราย กล่าวถึงรายละเอียของโครงการว่าได้จัดทำขึ้นทั้งหมด 5 โครงการดังนี้
- การอบรมสัมมนาผู้ประกอบการ Boost Up Trader to Overseas ซึ่งได้จัดไปเมื่อวันที่ 21-22 มีนาคม 2567 ณ โรงแรมไชยนารายณ์ ริเวอร์ไซด์ จ.เชียงราย ผู้ประกอบการเข้าร่วม 84 ราย
- การศึกษาดูงานการค้าชายแดน สปป.ลาว (เส้นทางท่าลี่ จังหวัดเลย-จังหวัดหนองคาย) ระหว่างวันที่ 5-7 เมษายน 2567 มีผู้ประกอบการเข้าร่วมดูงาน 40 ราย
- การศึกษาดูงานการค้าชายแดน เมียนมา อ าเภอแม่สอด จังหวัดตาก ระหว่างวันที่ 24-27 เมษายน 2567 ผู้ประกอบการดูงานจำนวน 40 ราย
- การประชุม/ สัมมนาร่วมภาครัฐ และเอกชนกลุ่มภาคเหนือของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ระหว่างวันที่ 1-2 พฤษภาคม 2567 ณ โรงแรมเดอะเฮอริเทจ แกรนด์คอนเวนชั่น เชียงราย
- กิจกรรมเสวนากลุ่มย่อย (Focus Group) ธุรกิจการค้า การบริการ การท่องเที่ยว และ โลจิสติกส์เพื่อสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการไทย-เมียนมา-สปป.ลาว เพื่อสร้างมูลค่าทางการค้าในวันที่ 3พฤษภาคม 2567 ณ โรงแรมเดอะเฮอริเทจ แกรนด์คอนเวนชั่น
ทางด้านนางอุบลรัตน์ พ่วงภิญโญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า จังหวัดเชียงราย เป็นหนึ่งในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone : SEZ) ในปี พ.ศ. 2558 โดยมีพื้นที่เป้าหมาย
3 อำเภอ ประกอบด้วย
(1) อำเภอแม่สาย : ศูนย์การค้าและการเงิน (Trading City)
(2) อำเภอเชียงแสน : ศูนย์ท่องเที่ยวเชิงคุณภาพและท่าเรือเทียบนานาชาติ (Port City)
และ (3) อำเภอเชียงของ : ศูนย์โลจิสติกส์ อุตสาหกรรมเชิงนิเวศและการแปรรูปสินค้าเกษตร (Logistic City) โดยได้ดำเนินการขับเคลื่อนการดำเนินงานเขตเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 3 แห่งมาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้วิสัยทัศน์ “ประตูการค้าและศูนย์กลางโลจิสติกส์เชื่อมโยง สู่อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดดเด่นการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ ประชาชน อยู่ดีมีสุข”
ปี 2566 จังหวัดเชียงรายมีมูลค่าการค้าชายแดนกับเมียนมา และสปป.ลาว และการค้าผ่านแดนไปจีน มีมูลค่าการค้ารวม 100,951.88 ล้านบาท เป็นการส่งออก 79,517.60 ล้านบาท และการนำเข้า 21,434.28 ล้านบาท มูลค่าการค้าสูงขึ้นจากปี 2565 คิดเป็นร้อยละ 3.11 จากสถิติการค้าที่ผ่านมาพบว่ามูลค่าการค้ามีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการค้าผ่านแดนไปจีนมีมูลค่าสูงสุด
ซึ่งทางนางอุบลรัตน์ พ่วงภิญโญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวย้ำว่ายินดีที่ได้เห็นรูปแบบการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ทางวิชาการด้านการตลาด การค้าขายแดน มาผสานในการจัดงานที่หลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะการจัดทำFocus Group ที่ทุกท่านจะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้กันในหลากหลายมิติ ทั้งเรื่องการค้าการลงทุน การท่องเที่ยว และ Wellness ซึ่งเป็นนโยบายท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย(นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์) ที่จะขับเคลื่อนเชียงราย เป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Chiang Rai Wellness City)3 ด้าน คือ Wellness Food การพัฒนาสู่ เมืองแห่งอาหารสุขภาพ Wellness Health Careเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทางกายภาพ เพื่อความเป็นเลิศในการบริการสุขภาพการพัฒนาบริการทางการแพทย์ และ Wellness Tourism ส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การส่งเสริมการตลาดและการประชาสัมพันธ์
รัฐบาลให้ความสำคัญต่อ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดเชียงราย ถือเป็นจังหวัดสำคัญในแผน ยุทธศาสตร์ทั้ง 4 ด้านของรัฐบาล เนื่องจากมีชัยภูมิที่เหมาะสมในการเป็นจุดเชื่อมโยงการค้า ชายแดน มีข้อได้เปรียบจากศักยภาพต้านพื้นที่ เป็นประตูสู่การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และโลจิสติกส์ (Logistics) โดยมีเส้นทางเชื่อมโยงการค้าชายแดนกับสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว และสาธารณัฐประชาชนจีน (เส้นทาง R3A) และมีเส้นทางเชื่อมโยงกับสาธารณรัฐ แห่งสหภาพเมียนมา (เส้นทาง R3B) ซึ่งเป็นช่องทางการค้าขายแดน การค้าผ่านแดนที่สำคัญ
เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์