Categories
FEATURED NEWS

เปิดประชุมบอร์ด กสว. นัดแรกทำงานบูรณาการแบบไร้รอยต่อ

 
เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2567 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)    จัดการประชุม คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) หรือ “บอร์ด กสว.” ครั้งที่ 1/2567 ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง กสว. ชุดใหม่ เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2567 นำโดย ศาสตราจารย์ นพ.ดร.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานกรรมการ พร้อมด้วยคณะกรรม กสว. ร่วมประชุมนัดแรก โดยประเด็นสำคัญของการประชุมในวันนี้คือ การหารือแนวทางการดำเนินงานทำงานแบบบูรณาการแบบไร้รอยต่อ มุ่งเน้นการขับเคลื่อนงานวิจัยตอบโจทย์การพัฒนาประเทศพร้อมหนุนเสริมงานวิจัยพื้นฐานและประยุกต์ เสริมแกร่งเพื่อให้เกิดความยั่งยืน
 
 

ศาสตราจารย์ นพ.ดร.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธาน กสว. กล่าวว่า การทำงานของ กสว.ชุดปัจจุบันเป็นการดำเนินงานบนฐานที่เกิดขึ้นแล้ว โดยใน 4 ปีนับจากนี้ กสว.จะปั้นให้ชัดคมมากขึ้น มีการพัฒนาที่ต่อเนื่อง จากการหารือกับ Stakeholder ด้าน ววน. ในช่วงที่ผ่านมา เชื่อว่าจะทำให้ระบบวิจัยของประเทศเกิดผลกระทบที่สำคัญและพัฒนาต่อไปได้ จุดนี้ต้องอาศัยโมเมนตัมระบบวิจัยของประเทศ ที่ต้องตั้งเป้าให้ชัดเจนว่าในการปฏิบัติหน้าที่ของ กสว.ชุดนี้ จะเกิดอะไรขึ้น เห็นผลอย่างไร ภายใต้การกำหนดเป้าหมายที่อยู่บนพื้นฐานของหลักคิด ความเชื่อในวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ ววน. ที่เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

โดยเป้าหมายสำคัญที่สุด คือ ทำให้สังคมเชื่อถือระบบวิจัย นักวิจัยเชื่อมั่นระบบขับเคลื่อนการวิจัย เกิดประโยชน์จากงานวิจัย กองทุน ววน.ใช้ทรัพยากรราว 1.7 – 1.9 หมื่นล้านบาท/ปี ใน 5 ปี นี้ กสว. ได้มองเห็นภาพบริหารจัดการ การดูแลทิศทางงบประมาณของประเทศในภาพรวม ขับเคลื่อนอย่างมีทิศทางตามที่ประเทศต้องการ ประกอบด้วย

  1. กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน มีกลไกขับเคลื่อนและสร้างความสำเร็จเห็นผลสัมฤทธิ์ ประชาคมวิจัยมีความเชื่อมั่นในระบบ ววน. เน้นการร่วมหารืออย่างต่อเนื่องกับทุกภาคส่วน การมีส่วนร่วมของเครือข่ายและประชาคมที่เพิ่มเติมจากที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง
  2. กำหนดสัดส่วนงบประมาณที่เหมาะสม เกิดการใช้ประโยชน์ทั้งในระยะสั้น กลาง และยาว ผสานการสร้างประโยชน์และเสริมสร้างความเข้มแข็ง มีความโปร่งใส อยู่บนพื้นฐานสร้างความเสมอภาค แม้อยู่ในสภาวะงบประมาณจำกัด มุ่งให้ทุกภาคส่วนที่เป็นการลงทุนของระบบ ววน. ทั้งประชาชน ประเทศ อุตสาหกรรมได้ประโยชน์ และเห็นความสำเร็จของโครงการสำคัญของประเทศ เช่น แก้ปัญหาสภาพแวดล้อม การสร้างความมั่นคงทางสุขภาพ สนับสนุนให้เกิดรายได้ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการเกษตรสมัยใหม่ เป็นต้น
  3. สร้างการเจริญเติบโตและความเสถียรของกองทุน ววน. ด้วยกลไกของการกำหนดทรัพยากรส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนกิจกรรมที่สำคัญ เป็นชุดโครงการขนาดใหญ่ที่ขับเคลื่อนทั้งห่วงโซ่อุปทาน อาศัยการมีส่วนร่วม demand side approach เช่น แก้ปัญหาเรื่องฝุ่น PM 2.5 ยาและเคมีภัณฑ์ มีวัคซีนเพียงพอ น้ำท่วมน้ำแล้ง โดยระบุระยะเวลาความสำเร็จที่ชัดเจน
  4. มุ่งสร้างการยอมรับให้กับ กองทุน ววน.ให้เป็นที่ประจักษ์ด้วย เข้าถึงและจับต้องได้ ด้วยการมีกลยุทธ์การสื่อสารที่ชัดเจน มีการสื่อสารแบบสองทางที่พร้อมตอบคำถามสำคัญ
  5. ทำให้เกิดความร่วมมือกับกลไกอื่นของประเทศ เช่น ความร่วมมือโดยตรงระหว่างกองทุน ววน.กับกองทุนอื่นๆ ราชบัณฑิตยสภา มหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดผลกระทบที่มากขึ้น รวมถึงมีแนวทางที่ชัดเจนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วยการทำแผนการปฏิบัติงานที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลง ครบถ้วน และเหมาะสมทั้งกรอบของกระบวนการ กรอบเวลาที่แน่นอน เพื่อให้มหาวิทยาลัยและหน่วยงานวิจัยได้รับผลกระทบจากการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
  6. การปรับปรุง/แก้ไข กฎระเบียบสำคัญเพื่อให้มีความคล่องตัวมุ่งเน้นการดำเนินงานเป็นสำคัญ และการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ประธาน กสว.กล่าวเสริม

รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรณ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กสว. กล่าวว่า การใช้งบประมาณการวิจัยที่เป็นเครื่องมือสำคัญของการพัฒนา คือ การสร้างภูเขา ไม่ใช่การเทพื้นในแนวราบ จะเห็นความชัดเจน ต้องมีการปักหมุดแบบ Top Down แต่ในขณะเดียวกันก็มีแบบ Bottom Up ได้ด้วย มุ่งที่ผลลัพธ์ผลสัมฤทธิ์มากกว่าการจัดกิจกรรม ผลของการดำเนินงานต้องระบุได้ว่า เกิดผลอย่างไร มากกว่าที่จะระบุว่า ทำอะไรไปแล้ว ที่สำคัญคือ มุ่งการทำงานแบบเชื่อมต่อกับสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และหน่วยบริหารและจัดการทุน (PMU) ซึ่งทุกหน่วยมีบอร์ด เสนอว่าให้ทำงานแบบใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น

ด้านของ ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กสว. ภายหลังจากที่รับทราบแนวทางการดำเนินงานสภานโยบายฯแล้ว กสว.มีหน้าที่ทำให้มีภาพของการวิจัยที่ชัดเจนขึ้น และทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องพึงพอใจ ในปัจจุบันเรามีฐานพื้นฐานมาดีในระดับหนึ่งแล้ว สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อการโฟกัส เพื่อให้ฉายภาพได้ว่าจะช่วยสร้างความเข้มแข็งของชาติได้อย่างไร

นอกจากนี้ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ กรรมการผู้แทนหน่วยงาน กล่าวว่า ประเด็นสำคัญของ สกสว.คือการร่วมงานกับ สอวช. อย่างไร้ร้อยต่อ เสนอให้ สกสว. ทำงานอย่างใกล้ชิด เชื่อมการทำงานกับบอร์ด สอวช. เป็นระยะๆ รวมถึงเสนอให้มีกลไกการทำงานขาขึ้นและขาลงเพื่อรับลูกต่อจากสภานโยบาย  โดยมี กสว.ทำหน้าที่ขับเคลื่อนนโยบายตามที่สภานโยบายได้มอบหมาย

ในการนี้ รศ.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ในฐานะกรรมการและเลขานุการ กสว. ให้ข้อมูลว่า คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 รวมจำนวน 19,033,6729 ล้านบาท เป็นงบประมาณที่จัดสรรให้แก่หน่วยรับงบประมาณ 186 หน่วยงาน จำแนกเป็นงบประมาณด้านวิจัยและนวัตกรรม 18,300 ล้านบาท โดยเป็นงบการวิจัยและนวัตกรรม 16,219.14 ล้านบาท ที่สนับสนุนงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Fund) 9,943.41 ล้านบาท และงบประมาณเพื่อสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund) 6,275.72 ล้านบาท และงบการนำงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ (RU) 2,160.86 ล้านบาท ทั้งนี้ในส่วนของงบประมาณโครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ได้รับการจัดสรร 653.67 ล้านบาท

ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล กรรมการผู้แทนหน่วยงาน เสนอว่า การจัดการงบประมาณในปี 2567 ควรขับเคลื่อนให้ PMU ทำให้ครบตั้งแต่ต้นจนถึงปลาย เป็นเรื่องท้าทาย สิ่งที่อยากให้มุ่งเน้นทำ 15 แผน ให้มีโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากอาจเสนอเป็น Multiyear งบผูกพันโดยเริ่มตั้งแต่ปีนี้เลย ซึ่งน่าจะมีความเป็นไปได้ ในส่วนของการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ (RU) ควรเสนอโครงการที่ใกล้เคียงความจริงเชื่อมโยงโดยตรงกับการวิจัยเชิงกลยุทธ์ (SF) พร้อมเสนอโมเดลรวม RU กับโครงการ SF ทั้งหมด โครงการไหนที่ควรต่อยอดกับยุทธศาสตร์ประเทศได้ เช่นในปี 2567 ถ้าชุดโครงการไหนพร้อมใช้ ก็มีความคุ้มค่าที่จะลงทุนต่อ แต่หากยังอยู่ในห้องแล็บก็อาจยังไม่คุ้มค่านัก และเสนอว่าในปีถัดไปควรมีการติดตามประเมินผลเพิ่มเติมให้คมชัดขึ้นอีก

ทั้งนี้จากการประชุมวันนี้ คณะกรรมการ กสว. มีมติเห็นชอบแนวทางการดำเนินงานตามที่ได้เสนอต่อสภาฯ โดยมีข้อสังเกตตามที่คณะกรรมการ กสว.ได้ให้แนวทางไว้ ทั้งนี้เพื่อการขับเคลื่อนทิศทางตาม Flagship สำคัญ ขอให้มุ่งเน้น  5-10 เรื่องเป็นสำคัญ โดยปรับให้เริ่มดำเนินการได้เลย และเตรียมการสำหรับปี 2568 ในขั้น pre-ceiling ต่อไป

กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเป็นเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนระบบ วิทยาศาสตร์และวิจัยของประเทศ ทำให้เกิดการวิจัยที่ตรงเป้าตรงกับความต้องการของประเทศทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว  โดยมีคณะกรรมการ กสว. ดูแลกำกับทิศทางการขับเคลื่อนที่ทำให้เกิดระบบ เกิดกลไกต่างๆในการจัดสรรทรัพยากรการวิจัย เพื่อที่จะสามารถตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืนในขณะเดียวกันก็ทำให้นักวิจัยต่างๆมีความคล่องตัวในการปฏิบัติงานรวมทั้งการสร้างฐานวิชาการและการใช้ประโยชน์ โดยต้องทำทั้งในการกำหนดนโยบายและการขับเคลื่อนให้เกิดผล ตลอดจนติดตามและประเมินผลได้ทั้งระบบ รวมทั้งให้ดำเนินการในแต่ละส่วนให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
FEATURED NEWS

สกสว. ร่วมมือ สมาชิกวุฒิสภา ขับเคลื่อน งานวิจัยท่องเที่ยวเชิงพักผ่อนล้านนา

 

เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 คณะกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ (ตอนบน) นำโดย พลเอก สกนธ์ สัจจานิตย์ พร้อมด้วย นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ผศ.สุภาวดี โพธิยะราช ผู้แทนผู้อำนวยการ สกสว.และผู้แทนผู้อำนวยการ บพข. ศาสตราจารย์ปฏิบัติ ดร.เอกชัย มหาเอก รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผศ.ดร.วรวิชญ์ จันทร์ฉาย คณบดีวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะนักวิจัยมหาลัยเชียงใหม่ ร่วมแถลงข่าวเปิดตัวแพลตฟอร์มล้านนาสร้างสรรค์ (Creative Lanna Platform) ณ ห้องพระยาศรีวิสารวาจา อาคารสำนักงานอธิการบดี ชั้น 1 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

        พลเอก สกนธ์ สัจจานิตย์ รองประธานกรรมการฯ คนที่หนึ่ง กล่าวว่า แพลตฟอร์มล้านนาสร้างสรรค์ (Creative Lanna Platform) เกิดจากความร่วมมือของคณะกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ (ตอนบน) โดยการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ร่วมด้วยวิทยาลัยสื่อ ศิลปะ และเทคโนโลยี (CAMT) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้คิดค้นจัดทำแพลตฟอร์มดังกล่าว โดยวุฒิสภาเล็งเห็นโอกาสในการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ผ่านการใช้ Soft Power จาก “อัตลักษณ์ประจำถิ่น” ที่โดดเด่น เช่น การท่องเที่ยว อาหาร แฟชั่น เทศกาลและประเพณีของ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน และน่าน โดยเลือกจังหวัดเชียงใหม่เป็นพื้นที่นำร่องและจะขยายผลต่อยอดการใช้งานแพลตฟอร์มดังกล่าวให้ครอบคลุม 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนผ่านการบูรณาการการทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างโอกาสและรายได้จากการท่องเที่ยวให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น

 
         นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ สมาชิกวุฒิสภา กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังขับเคลื่อน Soft Power โดยใช้พลังสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมไทย นำภูมิปัญญาเดิมที่มีอยู่มาทำให้เกิดความสร้างสรรค์และทันสมัย เกิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนได้ ซึ่งวิทยาลัยสื่อ ศิลปะ และเทคโนโลยี (CAMP) ที่สร้างแพลตฟอร์มล้านนาสร้างสรรค์ (Creative Lanna Platform) ออกแบบแผนที่ท่องเที่ยวสร้างสรรค์ผ่านการเล่นเกม หรือมูเตลูก็ตาม ได้แสดงถึงอัตลักษณ์ของสถานที่ท่องเที่ยวเหล่านั้น และการสร้างระบบ “PLAY EARN TRAVEL and E-commerce” ให้กับสินค้าและการท่องเที่ยวชุมชนล้านนาสามารถสร้างรายได้ให้กับ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการพัฒนาล้านนาไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

    

        ผศ.สุภาวดี โพธิยะราช ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สกสว. และประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บพข. ในฐานะผู้แทนผู้อำนวยการ สกสว.และผู้แทนผู้อำนวยการ บพข. กล่าวว่า ในภาคของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ กองทุนส่งเสริม ววน. และสกสว. ได้มอบหมายภารกิจให้ บพข. บริหารจัดการแผนงานวิจัยการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งแบ่งออกเป็นแผนงานย่อย 2 แผนงาน 

(1) การพัฒนาและยกระดับการท่องเที่ยวโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่เน้นคุณค่า สร้างความยั่งยืน และเพิ่มรายได้ของประเทศ หรือแผนงานการท่องเที่ยวมูลค่าสูง ซึ่งมีกรอบการดำเนินการภายใต้แผนงานย่อย
จำนวน 3 ประเด็น ได้แก่ (1.1) การท่องเที่ยวบนฐานมรดกทางธรรมชาติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและ
การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (1.2) การยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (1.3) การยกระดับความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ และ (2) การพัฒนาการและยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่เน้นคุณค่า สร้างความยั่งยืน และเพิ่มรายได้ของประเทศ หรือแผนงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งมีกรอบการดำเนินการเพื่อการยกระดับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เน้นการทำงานแบบแผนงานวิจัยเพื่อร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจการท่องเที่ยว สร้างรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชนและผู้ให้บริการในภาคการท่องเที่ยว มุ่งตอบเป้าหมายสำคัญ เพื่อให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยวที่เน้นคุณค่า ความยั่งยืน เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ

        สกสว. บพข. และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้บูรณาการการทำงานและขับเคลื่อนงานวิจัยแผนงานการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จึงได้สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดำเนินการวิจัย “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างมูลค่าและคุณค่าแก่การท่องเที่ยวเชิงพักผ่อนล้านนา” ประยุกต์แนวคิดของ PLAY TRAVEL and EARN เพื่อสร้างโอกาสในการใช้เทคโนโลยีและะนวัตกรรม หนุนเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และพื้นที่เชื่อมโยง ผ่านแอพพลิเคชั่นที่ครอบคลุมการสร้างกิจกรรมการท่องเที่ยวออนไลน์ในรูปแบบเกม ประกอบการท่องเที่ยวอย่างสนุกสนานได้ความรู้ และสามารถนำเอาคะแนนที่ได้จากการเล่มเกมมาเปลี่ยนเป็นคะแนนเพื่อแลกส่วนลดในร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ

         

        ศาสตราจารย์ปฏิบัติ ดร.เอกชัย มหาเอก รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีแผนพัฒนาการดำเนินงานล้านนาสร้างสรรค์ (Creative Lanna) มาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 4  นำเอาภูมิปัญญาและต้นทุนที่มีอยู่ภายใต้ 5F ของ Soft Power มาต่อยอดในเชิงคุณค่าและเชิงมูลค่า
ซึ่งแพลตฟอร์มล้านนาสร้างสรรค์ (Creative Lanna Platform) สอดคล้องกับแผนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย โดยมีวิทยาลัยสื่อ ศิลปะ และเทคโนโลยี (CAMT) เป็นแรงขับเคลื่อนและผลักดันที่สำคัญในการสร้างมูลค่าให้กับกระบวนการท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรมล้านนาในเขตพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือ เกิดการใช้ประโยชน์จากโครงการของ CAMT ที่ดำเนินการมาก่อนหน้านำไปสู่การสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชนในเขตพื้นที่ 8 จังหวัดล้านนาได้

                ผศ.ดร.วรวิชญ์ จันทร์ฉาย คณบดีวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี (CAMT) กล่าวว่า CAMT ในฐานะผู้ดูแลจะใช้ “Leisure Lanna Super App”ภายใต้ตัวแบบธุรกิจ “PLAY TRAVEL EARN” สนับสนุนการท่องเที่ยว การเดินทาง การแนะนำสถานที่ ร้านค้า ที่พัก หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอข้อมูลเชิงการท่องเที่ยว การค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงพื้นที่ตลาด (Market Place) ให้กับสินค้ากับแหล่งท่องเที่ยวชุมชน จะยกระดับสู่การเป็นพื้นที่กลางเพื่อเป็นช่องทางสำหรับ “การท่องเที่ยวชุมชน” โดยเปิดพื้นที่กลางให้กับแหล่งท่องเที่ยวชุมชนสามารถสร้างข้อมูลและเส้นทางการท่องเที่ยว อัตลักษณ์และสินค้าชุมชนเข้าสู่แพลตฟอร์ม “Super App” กระบวนการนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ “ท่องเที่ยวชุมชน” ต้องเรียนรู้วิธีการสร้างเรื่องราวท่องเที่ยว และพัฒนาสินค้าชุมชนเพื่อนำเสนอผ่านแพลตฟอร์ม “Leisure Lanna Super App” ในการนี้วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยีจึงได้วางแนวทางต่อยอดในอนาคต โดยออกแบบ พัฒนาหลักสูตร และจัดอบรมเชิงปฏิบัติการด้านสื่อสร้างสรรค์ (Creative Content) ทั่วประเทศไทย 4 ภูมิภาค ให้กับ SMEs และท่องเที่ยวชุมชนจำนวน 120 ราย เพื่อพัฒนาทักษะการใช้ Generative AI มาใช้กับการสร้างคอนเทนท์และ Character สินค้าชุมชน เป็นรูปแบบการต่อยอดการใช้ทุนทางวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่มาใช้ออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวและนำอัตลักษณ์ชุมชนมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถจำหน่ายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ได้
             ทั้งนี้งานวิจัยแผนงาน “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างมูลค่าและคุณค่าแก่การท่องเที่ยวเชิงพักผ่อนล้านนา” โดยมี ดร.ดนัยธัญ พงษ์พัชราธรเทพ และคณะ สังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สนับสนุนทุนโดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ได้จัดทำแอพพลิเคชั่นด้วยแนวคิด PLAY TRAVEL and EARN ออกเป็นสามแอพพลิเคชั่น ได้แก่
 

        1) แอพพลิเคชั่น “โลกเสมือนสามมิติสนับสนุนการท่องเที่ยวในรูปแบบประสบการณ์เชิงประวัติศาสตร์ เขตเมืองเก่าเชียงใหม่” ซึ่งจัดเก็บข้อมูลกับนักท่องเที่ยว เพื่อระบุกิจกรรมเชิงพักผ่อนและสถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่ย่านเมืองเก่าเชียงใหม่ นำมาพัฒนาและทดสอบระบบความจริงเสมือนและดิจิทัลเกมอย่างง่าย เก็บข้อมูลกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ประวัติศาสตร์ของวัฒนธรรมล้านนา ในพื้นที่คูเมืองจังหวัดเชียงใหม่ วิเคราะห์ข้อมูลกิจกรรมท่องเที่ยว พฤติกรรมนักท่องเที่ยว และเนื้อหาเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมล้านนา ออกแบบรูปแบบการใช้งานแอปพลิชันเกมอย่าง่ายและระบบตัวตนเสมือนจริง วิเคราะห์และออกแบบโลกเสมือนสำหรับการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ประวัติศาสตร์ของวัฒนธรรมล้านนา และสร้างกราฟิกสามมิติของโลกเสมือน และสร้างระบบของโลกเสมือน

        2) แอพพลิเคชั่น “สนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงความศรัทธาด้วยเทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกแห่งความจริง” ภายใต้แนวความคิดที่จะพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่มีเทคโนโลยี AR เป็นส่วนประกอบเพื่อสร้างความแตกต่างและมอบประสบการณ์แปลกใหม่ให้แก่นักท่องเที่ยว ด้วยเนื้อหาที่น่าสนใจเชิงความเชื่อและความศรัทธา เช่น เส้นทางแห่งความรัก และเส้นทางเสริมบารมี เมื่อผู้ใช้งานอยู่บริเวณโบราณสถานและมองผ่านกล้องดิจิทัล ระบบจะทำการแสดงฟังก์ชันแสดงผลโลกเสมือนจริงให้นักท่องเที่ยวได้ทำกิจกรรมเพื่อเพิ่มประสบการณ์ในการท่องเที่ยว และกระตุ้นนักท่องเที่ยวให้เกิดการเดินทางมายังสถานที่จริง

        3) แอพพลิเคชั่น “เส้นทางเดินชมเมือง (Chiang Mai Old Town Trail) ในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ผ่านเทคโนโลยี AR ผ่านมุมมอง 360 องศา รองรับกิจกรรมท่องเที่ยวกายภาพ” ภายใต้ชื่อ Lanna Passport มุ่งหวังให้ใช้เป็นเครื่องมือเสริมประสบการณ์ท่องเที่ยวที่ใช้แนวคิด Gamification การล่าเหรียญสมบัติในเมืองเก่า ใช้เทคโนโลยี AR ร่วมกับ AI Image recognition นำเสนอเรื่องราวได้ 3 ภาษา (ไทย จีน อังกฤษ) ก่อให้เกิดกิจกรรมทางกาย (Wellness) ผ่านการ เดิน วิ่ง ปั่น เพื่อคำนวณเป็นเหรียญรางวัลสำหรับกิจกรรมทางกาย นอกจากนี้ระบบที่ใช้เทคโนโลยี AR ได้นำเสนอเรื่องราวสถานที่ท่องเที่ยวในมุมมอง 360 องศาผ่านสายตาผู้ใช้งานในช่วงเวลาต่าง ๆ พร้อมกับการนำเสนอภูมิทัศน์เสียง หรือดนตรีที่แสดงอัตลักษณ์ความเป็นล้านนา จากสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ

        สำหรับแอพพลิเคชั่น “Leisure Lanna Super App” นอกเหนือจากเป็นแอพฯ หลักสำหรับเป็น Platform กลางสำหรับแอพพลิเคชั่นทั้งสามที่พัฒนาขึ้น ร่วมกับการเป็นพื้นที่นำเสนอข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวร้านค้าที่เข้าร่วมแล้ว ยังสามารถนำมาใช้เป็นพื้นที่สำหรับแพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน เพื่อต่อยอดสำหรับจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องของแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ต่อไป ทั้งนี้วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ร่วมสมทบงบประมาณในการพัฒนา “Super App” มอบส่วนลดให้กับผู้เล่นได้รับเหรียญรางวัลสะสมจากการพิชิตกิจกรรมที่กำหนดในแต่ละแอพพลิเคชั่น สามารถนำมาใช้เพื่อแลกเป็นส่วนลดเพื่อใช้บริการได้ เพื่อใช้เป็นฐานสำหรับรองรับแอพพลิเคชั่นอื่นที่อยู่ในรูปแบบสนับสนุนการเรียนรู้ และการท่องเที่ยวชุมชน

 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI FEATURED NEWS

ผู้อบรมหลักสูตรวิเคราะห์ข่าวระเบียบโลก ศึกษาดูงาน จ.เชียงราย – สปป.ลาว

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือสกสว.และ สภาการการสื่อมวลชนแห่งชาติ จัดกิจกรรมศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านตลาดการค้าชายแดน สปป.ลาว – ประเทศไทย ” ระหว่างวันศุกร์ที่ 26 – วันเสาร์ที่ 27 มกราคม 2567

 

เมื่อวันที่ 26 – 27 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของระเบียบโลกให้กับสื่อมวลชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงความสามารถของสื่อมวลชนในการรายงานและวิเคราะห์ข่าว ความเคลื่อนไหวในมุมต่างๆ ของระเบียบโลกได้อย่างถูกต้อง รอบด้าน และเป็นไปตามหลักจริยธรรมสื่อมวลชน ที่ซึ่งจัดโดย สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ โดยการสนับสนุนของ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) โดยได้ ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แลนายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ เข้าร่วมเดินทางในครั้งนี้ด้วย

 

 

 

โครงการได้คัดเลือกในรูปแบบของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ตามสัดส่วนของทั้งสื่อมวลชน องค์กรภาครัฐและเอกชนรวม จำนวน 31 คน นอกจากจะมีการศึกษาดูงานในส่วนกลางที่กระทรวงการต่างประเทศ และสหประชาชาติใน ประเทศไทย นอกจกานี้ยังจะมีในส่วนภูมิภาคที่จังหวัดเชียงราย เพื่อศึกษาดูงานการค้าขายชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านทั้ง ลาว – เมียนมา – จีน เพื่อให้ได้รับข้อมูลและความรู้โดยตรงจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการจัดทำรายงานกลุ่มเพื่อร่วมกันออกแบบการสื่อสารเกี่ยวกับระเบียบโลกที่เปลี่ยนแปลงไปให้น่าสนใจและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ผู้รับสาร ต้องขอบคุณ สกสว. กองทุน ววน.ที่เห็นความสำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้ในครั้งนี้

 

 

ซึ่งทาง สำนักข่าว นครเชียงรายนิวส์ หรือเดิมชื่อหนังสือพิมพ์นครเชียงราย มีนายกันณพงศ์ ก.บัวเกษร ผู้ก่อตั้งนครเชียงรายนิวส์ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งท่านในโครงการอบรมครั้งนี้ด้วย

 

ในวันที่ 26 มกราคม 2567  ผู้เข้ารับการอบรม โครงการ “เพิ่มองค์ความรู้สื่อมวลชนเรื่อง : โลกาภิวัตน์ในกระบวนทัศน์ใหม่ของสื่อ” จัดโดยสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ โดยการสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้เดินทางไปศึกษาดูงานในส่วนภูมิภาค ที่จังหวัดเชียงราย

 

โดยมี นายเกรียงศักดิ์ วันไชยธนวงศ์ รองนายก อบจ. เชียงราย ให้การต้อนรับ และนางสาวผกายมาศ เวียร์รา รองประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย ได้บรรยาย สถานการณ์การเมือง-เศรษฐกิจชายแดน แก่ผู้เข้ารับการอบรมทราบ

 

จากนั้น คณะฯ เดินทางไปสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) เพื่อศึกษาดูงานแขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว  โดยมี ท่านไพบูน พิลาทอง รองอธิบดีกรมสื่อมวลชน กระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว แห่ง สปป.ลาว ให้การต้อนรับ และนายสีสุพรรณ สีลิวงศ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมและการค้า แขวงบ่อแก้ว บรรยายสรุปอุตสาหกรรมและการค้าแขวงบ่อแก้ว ให้ผู้เข้ารับการอบรมทราบ และนมัสการพระธาตุสุวรรณผ้าคำ เมืองห้วยทราย 

 

โดยในวันที่ 27 มกราคม คณะฯ ได้เยี่ยมชมหอศิลป์ร่วมสมัยเมืองเชียงราย ในช่วงการจัดงาน ไทยแลนด์ เบียนนาเล่ เชียงราย 2023 มหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ ครั้งที่ 3 ซึ่งนายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้นางสุภัสสร ประภาเลิศ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ ร่วมต้อนรับ มีนางสาววัจนีย์ บุญเจ็น ผู้จัดการขัวศิลปะ กล่าวต้อนรับและนำชมงาน นอกจากนี้ คณะฯ มีโอกาสได้ไปเยี่ยมกิจการสิงห์ปาร์ค วัดร่องเสือเต้น และถนนคนเดินเมืองเชียงรายด้วย

โดยสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ ได้ประกาศรับสมัครผู้เข้ารับการอบรบโครงการ “เพิ่มองค์ความรู้สื่อมวลชนเรื่อง : โลกาภิวัตน์ในกระบวนทัศน์ใหม่ของสื่อ” ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2566 – 25 ตุลาคม 2566 นั้น บัดนี้ สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ ได้ดำเนินการพิจารณาแล้ว ผลปรากฎว่ามีผู้มีสิทธิ์เข้ารับการอบรมจำนวน 31 คน ดังนี้

1. นายกันณพงศ์ ก.บัวเกษร ผู้ก่อตั้งสำนักข่าวออนไลน์ นครเชียงรายนิวส์

2. นายกิตติกร แสงทอง ผู้สื่อข่าว สำนักข่าวอิศรา

3. นางสาวจารุพร โอภาสรัตน์ ผู้สื่อข่าว องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย

4. ดร.ฉัตรฉวี คงดี ผู้ช่วยผู้อำนวยการหน่วยข้อมูลและสำนักงานผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

5. นายชนาภัทร กำลังหาญ ผู้สื่อข่าว The Nation (บริษัท เนชั่น กรุ๊ป (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน))

6. นายณรงค์กร มโนจันทร์เพ็ญ คอนเทนต์ ครีเอเตอร์ บริษัท เดอะสแตนดาร์ด จำกัด (The Standard)

7. นายณัฐพล สมุหเสนีโต นักสื่อสารมวลชนชำนาญการ กรมประชาสัมพันธ์

8. นางสาวณัฐยา เมืองแมน รองผู้อำนวยการอาวุโส ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

9. นางสาวดวงกมล เจนจบ ผู้สื่อข่าว-เว็บไซต์ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย

10. นางสาวดารินทร์ หอวัฒนกุล ผู้สื่อข่าวอาวุโส บริษัท เนชั่น ทีวี จำกัด (เนชั่น ทีวี)

11. อาจารย์ต้นฝน ทรัพย์นิรันดร์ อาจารย์ประจำ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

12. นางธัญดา วาณิชฤดี ผู้วิเคราะห์อาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย

13. นายนครินทร์ ศรีเลิศ หัวหน้าข่าวเศรษฐกิจ – นโยบายสาธารณะ บริษัท กรุงเทพธุรกิจ จำกัด (หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ)

14. นางสาวนิธิปรียา จันทวงษ์ นักวิชาการอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

15. นางสาวเนาวรัตน์ เสือสอาด ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารองค์กร แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

16. นายปรัชญา ชีพเจริญรัตน์ บรรณาธิการบริหารข่าวออนไลน์ (Onenews) บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) (ช่อง ONE)

17. นายพงษ์ธร กิจเจริญยิ่ง ผู้สื่อข่าว บริษัท ไทย เวิลด์ มีเดีย จำกัด (ผู้จัดการออนไลน์)

18. นางสาวมนกนก ภาณุสิทธิกร ผู้จัดการ – Public Relations บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)

19. นางสาววนิดา เพ็งจันทร์ ผู้ชำนาญการ ขั้นพิเศษ ส่วนสารนิเทศและกิจกรรมสังคม ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

20. นายวรพล เพชรสุทธิ์ หัวหน้าข่าวภูมิภาค บริษัท สี่พระยาการพิมพ์ จำกัด(หนังสือพิมพ์เดลินิวส์)

21. นางสาววรางคณา จำปาทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท เซียน ทีวี จำกัด

22. นายวิชัย สอนเรือง หัวหน้าข่าวออนไลน์ บริษัท สยามรัฐ จำกัด (หนังสือพิมพ์สยามรัฐ)

23. ผศ.วิภาวี วีระวงศ์ อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

24. นายวีรยุทธ แก้วจินดา ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตรายการ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)

25. นายวีระพันธ์ โตมีบุญ ผู้ดำเนินรายการวิทยุ สถานีวิทยุศึกษา

26. นายศราวุธ ดีหมื่นไวย์ ผู้สื่อข่าวอาวุโส เจาะประเด็น บริษัท เทรนด์วีจี 3 จำกัด (ไทยรัฐออนไลน์)

27. นางสาวศิดาพักตร์ ศักดิ์บุญญารัตน์ บรรณาธิการการเมือง บริษัท ไทย นิวส์ เน็ตเวิร์ค (ทีเอ็นเอ็น 16)

28. นายศุภเกษม เกษมศรี ณ อยุธยา นักวิจัย มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

29. นางสาวสราลี แซ่เตี๋ยว กรรมการบริหารฝ่ายปฏิบัติการ บจก.เชียงใหม่รายวัน จำกัด (สำนักข่าวเชียงใหม่นิวส์)

30. นางสาวสุมนชยา จึงเจริญศิลป์ ผู้จัดการแผนก บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)

31. นางสาวอาทิตญา ทาแป้ง ผู้สื่อข่าวต่างประเทศ บริษัท วัชรพล จำกัด (หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ)

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News