Categories
AROUND CHIANG RAI NEWS UPDATE

เปิด 40 รายชื่อ สว. ผู้ได้รับเลือกระดับจังหวัดเชียงราย

 
เมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 67 ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ในฐานะประธานคณะกรรมการระดับจังหวัด จังหวัดเชียงราย นำคณะกรรมการฯ ร่วมสังเกตุการณ์พร้อมตรวจสอบความเรียบร้อยในการเลือกสมาชิกวุฒิสภาระดับจังหวัด ภาพรวมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และคึกคัก โดยมีคณะกรรมการประกอบด้วย ผศ.ดร. ศรชัย มุ่งไธสงค์มุ่งไธสง อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย น.ส.กาญจนา อุปะละ อัยการจังหวัดเชียงราย นายบัลลังก์ ไวทย์ศิริ ปลัดจังหวัดเชียงราย นายอาคม สุขพันธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ นายปรพล พูตระกูล ผู้ทรงคุณวุฒิ และนายชูชาติ สุขสงวน ผอ.กกต.จังหวัดเชียงราย ทำหน้าที่ผู้อำนวยการการเลือกระดับจังหวัด และสิบตำรวจเอก ถนอม วุฒิ ทำหน้าที่ประธานกรรมการประจำสถานที่เลือก พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ประจำสถานที่เลือก ดูแลบริหารจัดการการเลือกสมาชิกวุฒิสภาให้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว และถูกต้องตามกฎหมาย บรรยากาศโดยทั่วไปเป็นไปด้วยความคึกคัก
 
           สำหรับจังหวัดเชียงราย มีผู้ได้รับเลือกในระดับอำเภอทั้งหมด 457 คน และมารายงานตัวก่อนการลงคะแนนเลือกสมาชิกวุฒิสภาระดับจังหวัด 454 คน ขาด 3 คน จากกลุ่มที่ 3 กลุ่มการศึกษา กลุ่มที่ 7 กลุ่มพนักงานหรือลูกจ้างของบุคคลซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ผู้ใช้แรงงาน และกลุ่มที่ 19 กลุ่มผู้ประกอบการวิชาชีพ ผู้ประกอบการอาชีพอิสระ โดยมีกลุ่มที่ไม่ต้องเลือกในรอบแรกเนื่องจากมีผู้สมัครเพียง 4 คน มีจำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มที่ 12 กลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรม และกลุ่มที่ 13 กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร การพัฒนานวัตกรรม จังหวัดเชียงราย มียอดผู้สมัครดังนี้
 
กลุ่มที่ 1 ผู้สมัคร 27 คน กลุ่ม 2 ผู้สมัคร 14 คน กลุ่ม 3 ผู้สมัคร 38 คน ไม่มารายงานตัว 1 คน กลุ่ม 4 ผู้สมัคร 11 คน กลุ่ม 5 ผู้สมัคร 39 คน กลุ่ม 6 ผู้สมัคร 33 คน กลุ่ม 7 ผู้สมัคร 26 คน ไม่มารายงานตัว 1 คนทกลุ่ม 8 ผู้สมัคร 8 คน กลุ่ม 9 ผู้สมัคร 18 คน กลุ่ม 10 ผู้สมัคร 17 คน กลุ่ม 11 ผู้สมัคร 8 คน กลุ่ม 14 ผู้สมัคร 42 คน กลุ่ม 15 ผู้สมัคร 49 คน กลุ่ม 16 ผู้สมัคร 32 คน กลุ่ม 17 มีผู้สมัคร 39 คน กลุ่ม 18 ผู้สมัคร 7 คน กลุ่ม 19 ผู้สมัคร 31 คน ไม่มารายงานตัว 1 คน และกลุ่ม 20 มีผู้สมัคร 17 คน รวมผู้สมัครทั้งหมด 457 คน มีคนที่ไม่มารายงานตัว 3 คน มารายงานตัวทั้งหมด 454 คน
 
 
1.กลุ่มการบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง อันได้แก่ผู้เคยเป็นข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรืออื่น ๆในทำนองเดียวกัน

1.นายพินิจ หาญพาณิชย์

2.นายควร คำเหล็ก

 

2.กลุ่มกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมอันได้แก่ผู้เป็นหรือเคยเป็นผู้พิพากษา ตุลาการ อัยการ ตำรวจ ผู้ประกอบวิชาชีพต้านกฎหมาย หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

1.นายอาสา เม่นแย้ม

2.นายอุทิศ มณีจันสุข

 

3.กลุ่มการศึกษา อันได้แก่ผู้เป็นหรือเคยเป็นครู อาจารย์ นักวิจัย ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษา หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

1.นายปรีชา พัวนุกุลนนท์

2.นายศักดิ์ชัย คลี่ใบ

 

4.กลุ่มการสาธารณสุข อันได้แก่ผู้เป็นหรือเคยเป็นแพทย์ทุกประเภท เทคนิคการแพทย์ สาธารณสุข พยาบาล

เภสัชกร หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

1.น.ส.อนันทิตา บุตรตา

2.นายปลื้ม ศุภปัญญา

 

5.กลุ่มอาชีพทำนา ปลูกพืชล้มลุก หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

1.นายยงยุทธ์ อินทะรังษี

2.นายวิวัฒน์ สมวรรณ์

 

 

6.กลุ่มอาชีพทำสวน ปาไม้ ปศุสัตว์ ประมง หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

1.น.ส.กาญจนา คำพุฒ

2.นายกฤตย์ อินทรพรอุดม

 

7.กลุ่มพนักงานหรือลูกจ้างของบุคคลซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ผู้ใช้แรงงาน หรืออื่น ๆ

ในทำนองเดียวกัน

1.นางภัคชัญญา มะโนวัง

2.น.ส.เพลินทิพย์ คิดดี

 

8.กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาริมทรัพย์และสาธารณูปโภค ทรัพยากรธรรมชาติพลังงาน หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

1.นายสรณัฏฐ์ สาระสมบัติ

2.น.ส.กิ่งแก้ว ผสมทรัพย์

 

9.กลุ่มผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อมตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน

1.น.ส.มณีรัฐ เขมะวงศ์

2.นายเจริญ เหล่ารุ่งโรจน์

 

10. กลุ่มผู้ประกอบกิจการอื่นนอกจากกิจการตาม ข้อ 9

1.นางวาสนา ฮิลล์

2.ด.ต. เกตุ กลิ่นจันทร์

 

 

11.กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจหรืออาชีพด้านการท่องเที่ยว อันได้แก่ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว มัคคุเทศก์ ผู้ประกอบกิจการหรือพนักงานโรงแรม หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

1.น.ส.รัตนา บุญเลิศ

2.นางสุจิตตา วงศ์ไซยา

 

12.กลุ่มผู้ประกอบอุตสาหกรรม หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

1.นายพละวัต ตันศิริ

2.นายนพกร สุวรรณเตมีย์

 

13.กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร การพัฒนานวัตกรรม หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

1.นายเลิศวิทย์ วรพงศธร

2.นายเมธาพัฒน์ ศรีมนัส

 

14.กลุ่มสตรี

1.นางนิราภร มิยาซากิ

2.นางแววตา แสงบุญ

 

15.กลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

1.นายสมเกียรติ ปูกา

2.น.ส.จริยา กงจักร์

 

16.กลุ่มศิลปะ วัฒนธรรม นตรี การแสดงและบันเทิง นักกีฬา หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

1.นายณพลเดช มณีลังกา

2.นายเริงพล มุกดาสนิท

 

17.กลุ่มประชาสังคม กลุ่มองค์กรสาธารณประโยชน์ หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

1.น.ส.ศิขริน สิงห์สาคร

2.นายซาตรี ภิระบรรณ์

 

18.กลุ่มสื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

1.นายอภิชิต ศิริชัย

2.นายภูษิต กัลยา

 

19.กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

1.นายชีระศักดิ์ อรัญพิทักษ์

2.ร.ต.อ. สิงห์ทอง อุดม

 

 

20.กลุ่มอื่น ๆ

1.นายปรีดา จันทร์แจ่มศรี

2.น.ส.อลิสา เขื่อนขัน

 
 
         ทั้งนี้ กกต.เชียงราย ขอเชิญชวนร่วมติดตามและตรวจสอบประวัติ พฤติการณ์ ของผู้ได้รับเลือกในระดับจังหวัด หากคนใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม สามารถแจ้งได้ที่ ผู้อำนวยการการเลือกระดับจังหวัด ผู้ตรวจการเลือกตั้งประจำจังหวัด สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด หรือ application ตาสับปะรด
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
All

เลือก สว. 67 : ไขข้อสงสัยประชาชนมีส่วนสำคัญอย่างไรในการเลือก ‘สว.’ 

 

เชื่อว่าเป็นที่สงสัยของใครหลายๆคน ว่าประชาชนจะสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้ในส่วนไหนในการเลือก สว. เพราะความจริงแล้ว สว. ทั้ง 200 คนนี้ต่างก็เป็นตัวแทนจากประชาชนแต่ละภาคส่วน


แม้ว่าในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งวุฒิสภา พ.ศ. 2561 (พ.ร.ป.สว. ฯ) ที่กำหนดจำนวน สว. 200 คน ให้มาจากการ ‘เลือกกันเอง’ ของบุคคล ซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ อาชีพ ลักษณะหรือประโยชน์ร่วมกัน หรือทำงานหรือเคยทำงานด้านต่างๆ ที่หลากหลายของสังคม


แต่ประชาชนเองก็มีสิทธิที่จะรับรู้ว่าผู้สมัคร สว. ในครั้งนี้เป็นใคร มาจากไหน ซึ่งประเด็นนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (สำนักงาน กกต.) ได้ตระหนักถึง การรับรู้ และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือก สว. จึงได้จัดทำช่องทางอำนวยความสะดวกด้านข้อมูลข่าวสารการเลือก สว. รวมไปถึงช่องทางให้ประชาชนร่วมกันสอดส่องการเลือก สว. ให้เป็นไปอย่างสุจริต


รู้จักผู้สมัครรับเลือกสมาชิกวุฒิสภา


เมื่อผู้ที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตรงตามที่กฎหมายกำหนดทำการสมัครเข้าสู่กระบวนการเลือก สว. แล้วจะสามารถแนะนำตัวระหว่างผู้สมัครด้วยกันเองเพื่อให้ผู้สมัครรายอื่น ๆ ได้ทราบถึงประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงานที่ผ่านมา


เพื่อประโยชน์ในการแนะนำผู้สมัครให้เกิดความเท่าเทียมกัน และไม่มีการเลือกปฏิบัติหรืออำนวยความสะดวกให้เฉพาะผู้สมัครบางราย คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้จัดเตรียมช่องทางในการติดตามผู้สมัคร สว. ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงและร่วมกันตรวจสอบได้ ไว้ดังนี้


  • ปิดประกาศรายชื่อแยกเป็นรายกลุ่มไว้ ณ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด, ศาลากลางจังหวัด, ที่ว่าการอำเภอ และสถานที่เลือก
  • จัดทำข้อมูลเผยแพร่ทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น แอปพลิเคชัน ‘Smart Vote’ และ เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง www.ect.go.th


ในการเผยแพร่ข้อมูลผู้สมัครจะมีข้อมูลประกอบด้วย 

  • หมายเลขประจำตัวผู้สมัคร 
  • ชื่อตัวและชื่อสกุลผู้สมัคร 
  • อายุ 
  • อาชีพ 
  • วุฒิการศึกษาสูงสุด
  • กลุ่มที่สมัครรับเลือก 

นอกจากนี้ในการเผยแพร่ข้อมูลผู้สมัครผ่านทางแอปพลิเคชัน Smart Vote และ เว็บไซต์ของสำนักงาน กกต. จะมีแบบข้อมูลแนะนำตัวของผู้สมัคร (แบบ สว.3) เผยแพร่ไว้เพิ่มเติมด้วย 


เป็นหู-เป็นตาในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา


ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการเลือกวุฒิสภา ด้วยการตรวจสอบประวัติพฤติการณ์ ความเป็นกลางทางการเมืองของผู้สมัคร และ แจ้งเบาะแสเกี่ยวกับ

การกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกสมาชิกวุฒิสภา 


หากเบาะแสที่เป็นประโยชน์ต่อการสืบสวน ไต่สวนคดี จะได้รับเงินรางวัลตั้งแต่ 100,000 -1,000,000 บาท ขึ้นอยู่กับความสำคัญของข้อมูล ทั้งนี้ การแจ้งเบาะแสต้องไม่มีเจตนาหรือจงใจกลั่นแกล้ง เพื่อทำให้บุคคลอื่นได้รับความเสื่อมเสีย หรือ เสียหาย รวมทั้งต้องไม่แจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จ


การที่ทุกคนร่วมใจกันเป็นหูเป็นตาจะช่วยทำให้การเลือก สว. เป็นไปอย่างสุจริตและชอบด้วยกฎหมาย โดยเมื่อพบเห็นการทุจริต สามารถแจ้ง กกต. ซึ่งติดต่อได้หลายช่องทาง เช่น แอปพลิเคชัน ‘ตาสับปะรด’ ผู้อำนวยการการเลือก และ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ผู้ตรวจการเลือกตั้ง หรือ เจ้าหน้าที่ตำรวจ


ช่องทางติดตามข่าวสารการเลือกสมาชิกวุฒิสภา


ประชาชนผู้ที่สนใจสามารถสามารถติดตามข้อมูลข่าวสาร ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการเลือก สว. ระดับต่างๆ ได้จากช่องทางที่สำนักงาน กกต. จัดเตรียมไว้ ดังนี้


  • www.ect.go.th
  • LINE Official Account : @ect.thailand 
  • แอปพลิเคชัน : Smart Vote 
  • แอปพลิเคชัน : ตาสับปะรด
  • Facebook Fanpage : สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
  • Youtube : ECT Thailand
  • TikTok : ect.thailand
  • สายด่วน 1444

นอกจากนี้ กกต. ได้จัดให้มีการถ่ายทอดภาพการเลือก สว. ผ่านระบบโทรทัศน์วงจรปิดไว้บริเวณด้านหน้าสถานที่เลือกให้ประชาชนได้สังเกตการณ์อย่างใกล้ชิด ทั้ง 3 ระดับ คือ ระดับอำเภอในทุกสถานที่เลือก รวมจำนวน 928 แห่ง ระดับจังหวัดรวมกรุงเทพมหานคร 77 แห่ง และระดับประเทศ 1 แห่ง 


ท้ังนี้หากมีข้อสงสัยในประเด็นการมีส่วนร่วมในการเลือกสมาชิกวุฒิสภาสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง https://www.ect.go.th/ect_th/th/db_119_ect_th_6/2967 หรือสอบถามได้ที่สายด่วน 1444

 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News