Categories
SOCIETY & POLITICS

นายกฯ ตามติดสถานการณ์น้ำ ห่วงน้ำท่วม ลำปาง แพร่ และอุบลฯ

 

  เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2566 เวลา 19.00 น. ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมศูนย์ปฎิบัติการน้ำอัจฉริยะ กรมชลประทาน ถนนสามเสน กรุงเทพฯ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีติดตามสถานการณ์น้ำ พร้อมรับฟังบรรยายสรุปสภาพอากาศ จากว่าที่ร้อยตรี ธนะสิทธิ์ เอี่ยมอนันชัย รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาและรับฟังบรรยายสรุปภาพรวมสถานการณ์น้ำ

ว่าที่ร้อยตรี ธนะสิทธิ์ กล่าวรายงานสรุปสภาพอากาศว่า ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจากร่องมรสุมพุดผ่านส่งผลให้ให้ภาคเหนือ และภาคอีสานได้รับผลกระทบจากน้ำฝน มีน้ำท่วมขัง และดินสไลด์บางพื้นที่ หลังจากนี ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคมจนถึงวันที่ 7 ตุลาคม
 
น้ำฝนจะลดน้อยลง มวลอากาศเย็นเข้ามาแทนที่ และฝนกลับมาตกจำนวนมากอีกครั้ง ตั้งแต่ 7 ตุลาคมเป็นต้นไป สำหรับข้อกังวลเรื่องพายุโคอินุ ประเทศไทยจะไม่ได้รับผลกระทบ
 
 
ทางด้านนายสุริยพล นุชอนงค์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวบรรยายสรุปสถานการณ์น้ําว่า ภาพรวมจากปริมาณฝนที่ตกหนักอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ตอนบนของประเทศ โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากอิทธิพลของร่องมรสุมที่พาดผ่านประเทศไทย ตั้งแต่กลางเดือนกันยายน 2566 เป็นต้นมา ทําให้หลายพื้นที่ได้รับผลกระทบจากปริมาณ น้ําล้นตลิ่งและน้ําท่วมขังในพื้นที่ เช่น ลุ่มน้ําวัง มีพื้นที่ น้ําท่วมเนื่องจากปริมาณน้ําในแม่น้ําวังล้นตลิ่ง ส่งผลกระทบกับจังหวัดลําปาง และจังหวัดตากบางส่วน ลุ่มน้ํา ยม-น่าน
 
 
จากปริมาณฝนที่ตกในเขตจังหวัดแพร่ ทําให้ปริมาณน้ําในแม่น้ํายมเพิ่มสูงขึ้น เริ่มมีผลกระทบกับ จังหวัดสุโขทัยบางส่วน ลุ่มน้ําเจ้าพระยา ปริมาณน้ําที่จังหวัดนครสวรรค์ยังคงเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง เนื่องจากปริมาณน้ําในแม่น้ําปิงและแม่น้ําน่านยังคงสูงขึ้น ทําให้ต้องมีการบริหารจัดการน้ําและจัด จราจรน้ําในพื้นที่ลุ่มน้ําเจ้าพระยาตอนล่าง
 
 
โดยควบคุมปริมาณน้ําไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาให้มีผลกระทบ ต่อพื้นที่ท้ายน้ําน้อยที่สุด ในส่วนลุ่มน้ําชี-มูล พื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ําชีปริมาณน้ําเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนในพื้นที่แม่น้ําชีตอนล่างยังคงมีน้ําล้นตลิ่งบริเวณจังหวัดกาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด และจังหวัดยโสธร แต่มีแนวโน้ม ลดลง และในส่วนของลุ่มน้ํามูล มีน้ําท่วมบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี เนื่องจากปริมาณน้ําล้นตลิ่งบริเวณสถานี M.7 อําเภอวารินชําราบ โดยปริมาณน้ําดังกล่าวจะไหลลงสู่แม่น้ําโขง ซึ่งปัจจุบันสามารถระบายน้ําได้อย่างต่อเนื่อง
 
 
ทางด้าน ว่าที่ร้อยตรี ธนะสิทธิ์ กล่าวรายงานสรุปสภาพอากาศว่า ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจากร่องมรสุมพุดผ่านส่งผลให้ให้ภาคเหนือ และภาคอีสานได้รับผลกระทบจากน้ำฝน มีน้ำท่วมขัง และดินสไลด์บางพื้นที่ หลังจากนี ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคมจนถึงวันที่ 7 ตุลาคมน้ำฝนจะลดน้อยลง มวลอากาศเย็นเข้ามาแทนที่ และฝนกลับมาตกจำนวนมากอีกครั้ง ตั้งแต่ 7 ตุลาคมเป็นต้นไป สำหรับข้อกังวลเรื่องพายุโคอินุ ประเทศไทยจะไม่ได้รับผลกระทบ
 
 
ภายหลังรับฟังบรรยายสรุป นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณเจ้าหน้าที่ จากทุกหน่วยงาน ที่ ร่วมกันทำงานอย่างหนัก ตลอด 24 ชั่วโมง ในช่วงที่ผ่านมา เพื่อติดตามสถานการณ์และดูแลพี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน
 
 
อย่างเต็มที่ ตนเองได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดมาตลอด และเป็นห่วงพี่น้องประชาชน วันนี้ต้องมาดูด้วยตัวเองที่ศูนย์ปฏิบัติการน้ำแห่งนี้ ทั้งเพื่อติดตามสถานการณ์น้ำแบบ Real-time รับฟังข้อติดขัดในการปฏิบัติงาน เพื่อช่วยให้ท่านได้ทำงานอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพที่สุด ที่สำคัญก็อยากมาให้กำลังใจผู้ปฏิบัติงานทุกท่าน
นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า ในวันนี้ ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาประชุมร่วมกันผ่านระบU Video conference เพื่อไม่เป็นการรบกวนหน้างานของท่านที่ทำงานหนักอยู่ในพื้นที่ โดยวันนี้มีสำนักงานชลประทานทั่วประเทศ กรมอุตุฯ และ ปภ. มาร่วมกันประเมินสถานการณ์น้ำและร่วมกันแก้ปัญหา เพื่อให้การทำงานคล่องตัวที่สุด ซึ่งเบื้องต้น จากที่ได้รับฟังรายงาน เป็นห่วงสถานการณ์ในจังหวัดลำปาง แพร่ และอุบลฯ ที่ถึงแม้สถานการณ์จะคลี่คลายลงบ้าง แต่ก็ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด รวมทั้งต้องดูแล ฟื้นฟูและซ่อมแชมบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของพี่น้องประชาชนอย่างเรงด่วน โดยเฉพาะ ณ ขณะนี้จังหวัดสุโขทัย น่าเป็นห่วงที่สุด เพราะต้องรองรับมวลน้ำที่ไหลลงมาจากจังหวัดแพร่ ซึ่งไหลเข้าท่วมทั้งในพื้นที่เกษตรกรรมและตัวเมืองบางส่วนแล้ว
 
 
นายกรัฐมนตรีย้ำ เรื่องสำคัญที่ต้องหารือ คือการวางแผนรับมือกับมวลน้ำที่จะเข้ามาอีกระลอก ซึ่งจะซ้ำเติมสถานการณ์ให้แย่ลงไปกว่าเดิม การประชุมวันนี้ขอให้ทุกท่านให้ความเห็นอย่างเต็มที่ ติดขัดอะไร
ขอให้พูดกันตรง ๆ เพื่อแก้ปัญหาได้ตรงจุดและทันสถานการณ์
 
นายกรัฐมนตรีสั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5 ด้าน ประกอบด้วย 
 
1. สถานการณ์น้ำ ให้กรมชลประทานบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดจราจรน้ำในลุ่มน้ำชี-มูล ลุ่มน้ำยม-น่าน และลุ่มน้ำเจ้าพระยา
2. ให้หน่วยงาน ได้แก่ จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ กรมชลประทาน ตรวจสอบความมั่นคงของพนังกั้นน้ำ สะพาน และอาคารชลประทาน ให้มีความมั่นคง และพร้อมใช้งานตลอด
ช่วงฤดูน้ำหลาก
3. การช่วยเหลือ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานร่วมกันช่วยเหลือผู้ประสบภัยและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเช่น เร่งซ่อมแชมที่ อยู่อาศัย กำจัดขยะที่ มากับน้ำ และตามที่ประชาชนร้องขอ
โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย บูรณาการระดมสรรพกำลังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กองทัพ
หน่วยงานท้องถิ่น
4. พยากรณ์อากาศ ให้กรมอุตุวิทยาติดตามสภาพอากาศ และแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและแจ้งเตือนสภาพอากาศกับประชาชน เพื่อเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำทั่วประเทศอย่างใกล้ชิด
5. และการแจ้งเตือน ให้กรมชลประทานร่วมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมประชาสัมพันธ์ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประชาสัมพันธ์ไปยังประชาชนในพื้นที่ให้ทราบสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
FEATURED NEWS

‘ธรรมนัส’ ลุย 3 จังหวัด ‘ลำปาง แพร่ สุโขทัย’

 
   ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่รับฟังปัญหาและร่วมหาแนวทางแก้ไขปัญหาสถานการณ์น้ำ พร้อมทั้งแจกถุงยังชีพแก่พี่น้องประชาชนที่เดือดร้อนจากอุทกภัย ณ เทศบาลตำบลแม่ปุ อ.แม่พริก และบ้านต้นธง อ.เมือง จ.ลำปาง

        สำหรับจังหวัดลำปาง มีพื้นที่ 7,833,726 ไร่ เป็นพื้นที่เกษตรกรรม 1,036,512 ไร่ หรือร้อยละ 13.23 พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง สับปะรด ส้มเกลี้ยง และยางพารา ซึ่งในช่วง 27 – 30 ก.ย. 66 ที่ผ่านมา เกิดในตกหนัก น้ำล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนและพื้นที่เกษตร จำนวน 8 อำเภอ 35 ตำบล 144 หมู่บ้าน ปัจจุบันมีการประการเขตภัยพิบัติ จำนวน 5 อำเภอ

        “สิ่งสำคัญที่ต้องกลับมาคิดคือการแปรรปรวนของสภาพภูมิอากาศ ที่ต้องเร่งหาแนวทางแก้ไขปัญหา ทั้งในเรื่องภัยแล้งและน้ำท่วม อย่างไรก็ตาม สำหรับสถานการณ์อุทกภัยในครั้งนี้ ได้มอบหมายกรมชลประทานจัดเตรียมเครื่องจักร-เครื่องมือ พร้อมเจ้าหน้าที่คอยให้ความช่วยเหลือราษฎรแต่ละพื้นที่ และบูรณาร่วมกับส่วนท้องถิ่น และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เข้าช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน พร้อมสั่งให้จัดทำแผนการดำเนินงานในแต่ละพื้นที่ และในภาพรวมของจังหวัด ตรงไหนที่สามารถเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำได้ให้ดำเนินการทันที” ร้อยเอก ธรรมนัส กล่าว

         ทั้งนี้ ในปี 2567 กรมชลประทานมีแผนดำเนินการในการสร้างอ่างเก็บน้ำ จำนวน 2 แห่ง และแก้มลิ้ง 2 แห่ง เพื่อเก็บกักน้ำในพื้นที่ต้นน้ำและลุ่มน้ำสาขา อีกทั้งยังเป็นการช่วยเหลือทางด้านการเกษตรและบรรเทาอุทกภัย
        นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังได้ลงพื้นที่เพื่อรับฟังปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและแจกถุงยังชีพ ณ อ่างเก็บน้ำแม่แย้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.แพร่ และประตูระบายน้ำ หาดสะพานจันทร์ จ.สุโขทัย ด้วย
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News