Categories
AROUND CHIANG RAI TOP STORIES

ครู-ผู้บริหาร ร้องศูนย์ดำรงธรรม ขอย้ายผู้บริหารออกจากตำแหน่ง

 

เมื่อวันที่ 16 ก.ค. 67 ที่ผ่านมศูนย์ดำรงค์ธรรม จ.เชียงราย นายสุรพงค์ สันติพงค์ รองผู้อำนวยการ ฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษา วิทยาลัยเทคนิคเชียงราย พร้อมด้วยผู้บริหารอีกหลายคนได้เดินทางไปยื่นหนังสือต่อศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดเชียงราย เพื่อขอให้พิจารณาย้าย ดร.ศรากร บุญปถัมภ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคเชียงราย ออกไปอย่างเร่งด่วน โดยนายสุรพงศ์ และคณะได้ยื่นหนังสือมีเนื้อหาว่าผู้อำนวยการได้ย้ายมาจาก จ.สุพรรณบุรี ไปอยู่ที่ จ.เชียงราย เมื่อเดือน ต.ค. 2565 หรือได้ 1 ปีกว่าแล้ว แต่เพราะเป็นผู้บริหารมือใหม่ที่ไม่มีฝีมือในการบริหารและทำงานล่าช้า


       หนังสือยังระบุอีกว่า ผู้อำนวยการทำงานไม่ตอบสนองนโยบายของวิทยาลัย เช่น ไม่อนุมัติเงินเพื่อทำกิจกรรมของชมรมวิชาชีพต่างๆ ไม่ส่งเสริมการทำกิจกรรม ฯลฯ ทั้งๆ ที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้จัดสรรงบประมาณอุดหนุนให้ทำกิจกรรมจึงทำให้การเด็ดขาดการพัฒนาไม่ตอบสนองการพัฒนาทักษะวิชาชีพแต่กลับเพิ่มภาระให้ผู้ปกครองและนักเรียนด้วยการเก็บเงินคนละ 500 บาท ได้ภาคเรียน 1 ล้านกว่าบาท เพื่อจ้างคนต่างชาติเพียง 1 คน และนักเรียนไม่ได้เรียนกับครูต่างชาติทุกคนทำให้เสียโอกาส ไม่ลงนามอนุญาตให้ดำเนินโครงการของนักเรียน นักศึกษาองค์การวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย (อวท.) และชมรมต่างๆ โดยอ้างว่าเอกสารไม่ถูกต้องและไม่ชัดเจน ไม่มีการแก้ปัญหาที่จอดรถของนักเรียน อนุมัติการใช้รถราชการเพื่อประโยชน์ส่วนตน เช่น ให้รถไปราชการที่ จ.แม่ฮ่องสอน และ จ.ร้อยเอ็ด เพื่อรับส่งบุคคลภายนอก ฯลฯ การเดินทางไปราชการกลับไม่สนับสนุนเท่าที่ควร ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีข้อร้องเรียนต่างๆ อีกมากมาย


      ท้ายหนังสือแจ้งว่าคณะผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรรวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องไม่อยากให้เรื่องนี้เป็นข่าวจนสร้างความเสื่อมเสียชื่อเสียง แต่ก็ทนเห็นพฤติกรรมในการบริหารเช่นนี้ไม่ได้ โดยได้พากันอดทนมานาน 1 ปีกว่าแล้ว จึงขอทางผู้บริหารจังหวัดได้เร่งพิจารณาเพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป เพราะผู้อำนวยการจะต้องเป็นผู้สนับสนุนไม่ใช่ถ่วงเวลาในการพัฒนา ฯลฯ ลงนามโดยนายสุรพงค์ สันติพงค์ รองผู้อำนวยการ ฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษา วิทยาลัยเทคนิคเชียงราย ซึ่งทางศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดเชียงราย โดยนายลิขิต มีเสรี ผู้อำนวยการกลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดเชียงราย ได้รับเรื่องไว้เพื่อพิจารณา ต่อไป


       ด้าน นายสุรพงศ์ กล่าวว่า คณะครูและนักเรียนนักศึกษา ไม่ได้รับการอนุเคราะห์จากผู้อำนวยการเลยทำให้ตนเป็นตัวแทนของผู้บริหารเข้ายื่นหนังสือต่อศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดเชียงราย เพื่อแสดงจุดยืน เพราะที่ผ่านมาเกิดปัญหาเกือบทุกๆ เรื่อง ที่คณะครูอาจารย์แจ้งถึงตนว่าไม่ได้รับการสนับสนุน จึงหวังว่าศูนย์ดำรงค์ธรรมจังหวัดเชียงรายจะช่วยพิจารณาให้ย้ายผู้อำนวยการคนนี้ออกไปอยู่ที่อื่นเสียเพื่อจะได้กลับมาพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป โดยคนใหม่ที่จะเข้ามาขอให้เป็นคนดี เห็นอกเห็นใจและให้เกียรติครูอาจารย์ ไม่ลุแก่อำนาจ เห็นใจนักเรียนนักศึกษา และมีความโปร่งใส ซึ่งก่อนหน้านี้วงการการศึกษาโดยเฉพาะสังกัดกรมอาชีวศึกษาใน จ.เชียงราย ไม่เคยเกิดปัญหาการร้องเรียนถึงขั้นที่ผู้บริหารหรือคณะครูออกมาเรียกร้องให้ย้ายผู้บริหารระดับสูงออกจากตำแหน่งเช่นนี้มาก่อน โดยเฉพาะวิทยาลัยเทคนิคเชียงรายถือเป็นองค์กรการศึกษาที่อยู่คู่กับ จ.เชียงราย และมีประวัติความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับชาวเชียงรายมาช้านาน

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
AROUND CHIANG RAI TOP STORIES

ชาวตำบลนางแลกว่า 70 ครัวเรือน ยื่นขอพิสูจน์ครอบครองที่ดินเชียงราย

 

เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2567 ที่ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ตำบลริมกก อำเภอเมืองเชียงราย นายสุชาติ สมประสงค์ กำนันตำบลนางแล พร้อมด้วย นางเตียนทอง เรือนคำ ผู้ใหญ่บ้านบ้านนางแลใน หมู่ที่ 7 และนายไพโรจน์ ทวีสุข ผู้ใหญ่บ้านบ้านใหม่นางแล หมู่ที่ 17 พร้อมด้วยประชาชนทั้ง 2 หมู่บ้าน รวมตัวกันเข้ายื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายเพื่อยื่นขอพิสูจน์สิทธิ์การครอบครองที่ดินของบุคคล กว่า 70 ครัวเรือน ที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนไม่มีกรรมสิทธิ์ที่ดินในที่อยู่อาศัย และที่ดินทำกินมายาวนาน ทั้งนี้ชาวบ้านขอยืนยันว่าพวกตนได้อาศัยอยู่ในพื้นที่มาหลายชั่วอายุคน มีเอกสารสิทธิ์ในการครอบครองการอยู่อาศัยและประกอบอาชีพมาก่อน ขณะที่บางรายก็ไม่มีเอกสารสิทธิ์ในพื้นที่ ต่างได้รับความเดือดร้อนต้องประกอบอาชีพโดยไม่ได้มีกระบวนการพิสูจน์สิทธิ์ให้ชาวบ้านได้เอกสารสิทธิ์แต่อย่างใดเพื่อยืนยันการถือครองที่ดินในปัจจุบัน เสนอต่อนายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย โดยมี นายลิขิต มีเสรี ผู้อำนวยการกลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดเชียงราย เป็นผู้รับเรื่องเพื่อพิจารณานำเสนอรายงานต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ตามลำดับขั้นตอน

 

จากกรณีดังกล่าว ประชาชนในพื้นที่ต้องการดำเนินการพิสูจน์สิทธิในที่ดินทำกินที่ประชาชนครอบครองอยู่ตามเอกสารที่กฎหมายกำหนด ให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการมีประชาชนมีส่วนร่วมขึ้นมาเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการพิสูจน์สิทธิในที่ดินทำกินของประชาชน โดยมีรายชื่อประชาชนบ้านนางแลใน หมู่ที่ 7 และบ้านใหม่นางแล หมู่ที่ 17 ที่ขอพิสูจน์สิทธิ์ครอบครองที่ดินในเขตที่ดินของรัฐ (สปก.) ตามที่คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติมีคำสั่งที่ 1/2564 ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2564 แต่งตั้งณะอนุกรรมการพิสูจน์สิทธิในที่ดินของรัฐจังหวัด (คพร.จังหวัด) ให้มีอำนาจและหน้าที่ในการพิสูจน์สิทธิการครอบครองที่ดินของบุคคลในเขตที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินทุกประเภท ซึ่งประสบปัญหาความเดือดร้อนไม่มีกรรมสิทธิ์ที่ดินในที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินมายาวนาน และถูกประกาศให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน (สปก.) ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในท้องที่ตำบลนางแล ตำบลแม่ข้าวต้ม ตำบลริมกก และตำบลบ้านดู่ นับตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2537 เป็นต้นมา 
 
 
แม้ที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินจะถูกประกาศให้อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินแต่ประชาชนทั้งหมดไม่ประสงค์ขอรับการจัดที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่อยู่อาศัย หรือกิจการอื่นที่เป็นการสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ในรูปแบบหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01) เนื่องจากเชื่อมั่นว่า ได้มาทำประโยชน์ในที่ดินก่อนการเป็นที่ดินของรัฐครั้งแรกผ่านมามากกว่า 10 ปี จึงได้ทำหนังสือร้องเรียนไปยังหน่วยงานต่างๆ เพื่อเรียกร้องให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องได้มาดำเนินการออกเอกสารสิทธิ์ในที่ดิน แต่ปรากฎว่าไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินและเมื่อคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติมีคำสั่งที่ 1/2564 ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2564 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิสูจน์สิทธิในที่ดินของรัฐจังหวัด (คพร.จังหวัด) ให้มีอำนาจและหน้าที่ในการพิสูจน์สิทธิการครอบครองที่ดินของบุคคลในเขตที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินทุกประเภท และได้กำหนดมาตรการเรื่องการพิสูจน์สิทธิ์การครอบครองที่ดินของบุคคลในเขตที่ดินของรัฐไว้อย่างชัดเจน 
 
 
จึงได้ศึกษารายละเอียดและได้ทำการรวบรวมพยานหลักฐานเกี่ยวกับที่ดิน เพื่อแสดงให้เห็นว่าได้ครอบครองทำประโยชน์อย่างต่อเนื่องมาก่อนการเป็นที่ดินของรัฐครั้งแรกหมู่บ้านนางแลใน หมู่ที่ 7 ก่อตั้งหมู่บ้านมาก่อน พ.ศ. 2460 โดยปรากฎวัตถุพยานเป็นที่ประจักษ์คือการก่อตั้งวัดนางแลใน มีรายชื่อเจ้าอาวาสและผู้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านนับตั้งแต่ พ.ศ. 2460 เป็นต้นมา ที่สามารถพิสูจน์ได้จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของราชการได้การครอบครองที่ดินปรากฎชัดเจนในภาพถ่ายทางอากาศของกรมแผนที่ทหาร และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2513 ให้รักษาป่าดอยนางแล ป่าดอยยาว และป่าดอยพระบาท ไว้เป็นพื้นที่ป่าไม้ถาวร และได้ประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2521 
 
 
 
และประกาศเป็นเขตปฏิรูปที่ดินตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในท้องที่ตำบลนางแล ตำบลแม่ข้าวต้ม ตำบลริมกก และตำบลบ้านดู่ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2537มีข้อโต้แย้งสิทธิครอบครองที่ดินประกอบด้วย พยานบุคคล พยานวัตถุ และภาพาถ่ายทางอากาศของกรมแผนที่ทหาร ที่ถ่ายภาพพื้นที่นั้นไว้เป็นครั้งแรกจากเป็นที่ดินของรัฐ ซึ่งเป็นภาพถ่ายที่ได้รับการรับรองจากกรมแผนที่ทหาร โดยเป็นภาพถ่ายซึ่งถ่ายขึ้น ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2497 วันที่ 30 มกราคม 2513 และวันที่ 15 มกราคม 2519 ตลอนจนพยานหลักฐานอื่น ๆ ที่พร้อมสำหรับการพิสูจนฒสิทธิ์ฯ ดังนั้นจึงเรียนมายังประธานอนุกรรมการพิสูจน์สิทธิในที่ดินของรัฐจังหวัด (คพร.จังหวัด) จังหวัดเชียงราย เพื่อขอใช้สิทธิ์ตามมติคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2564 ขอพิสูจน์การครอบครองที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินว่าได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวก่อนการเป็นที่ดินของรัฐครั้งแรก
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News