Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

เครือข่ายคนฮักแม่น้ำโขง 8 จังหวัด หารือฟื้นฟูแม่น้ำโขงให้สมบูรณ์

 
เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 67 ที่โรงแรมทีคการ์เดน อ.เชียงของ จ.เชียงราย นายวีรวิชญ์ เธียรชัยนันท์อำนวยการโครงการแม่โขงเพื่ออนาคต Mekong for the future องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) และนายธนวัจน์ คีรีภาส รองผู้อำนวยการโครงการแม่โขงเซฟการ์ด มูลนิธิเอเชีย  Asia Foundation เป็นประธานการประชุมรายงานผลการดำเนินงาน โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุ่มชนลุ่มน้ำโขงในภาคเหนือ และการประชุมสัญจรเครือข่ายคนฮักแม่น้ำโขง (Hug Mekong Network) ครั้งที่ 3 โดยมี นายธีระพงศ์ โพธิ์มั่น  ผู้อำนวยการสถาบันชุมชนลุ่มน้ำโขง นายสมเกียติ เขื่อนเชียงสา นายกสมคมแม่น้ำเพื่อชีวิต เจ้าหน้าที่จาก  Asia Foundation WWF นางอ้อมบุญ ทิพย์สุนา เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน  เครือข่ายชาวบ้านริมแม่น้ำโขงจาก 8 จังหวัดริมแม่น้ำโขง และเครือข่ายสมาคมชุมชนสีเขียว สปป.ลาว เข้าร่วมการประชุม
 

        โดยการประชุมครั้งนี้เป็นการรายงานผลการวิจัย เรื่องผลกระทบจากการพัฒนาเกินความพอดีที่ส่งผลต่อวิถีชีวิต ผู้คนและวัฒนธรรมของชุมชนในลุ่มแม่น้ำโขง และกดำเนินโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนลุ่มน้ำโขง โดย นายธีระพงษ์ โพธิ์มั่น ผศ.ดร.สหัทยา วิเศษ  
 

        นายธีรพงษ์ กล่าวว่า โครงการได้มีการเปิดโครงการครบรอบแล้ว 1 ปี โดยหวังว่าผลลัพของโครงการจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชน สิ่งที่เราร่วมมือกันมากว่า 1 ปี เราได้ทำงานในพื้นที่ อ.เชียงแสน อ.เชียงของ อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย โดยได้รับความสนับสนุนจาก แม่โขงเซฟการ์ด และแม่โขงฟอร์เดอะฟิวเจอร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอสิ่งที่เกิดขึ้นกกับแม่น้ำโขง ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ลุ่มแม่น้ำโขง
 

        การดำเนินการของโครงการที่ผ่านมาเป็นการร่วมมือของชุมชุนลุ่มแม่น้ำโขง ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งความเป็นมาของโครงการ คือ การเกิดปัญหาจากการพัฒนาในแม่น้ำโขง ในทั้งภาคเหนือและภาคอีสานของไทย ซึ่งเกิดปัญหามาอย่างยาวนานกว่า 30 ปี ที่ผ่านมา การแก้ไขปัญหาที่ผ่านมาเป็นการแก้ไขโดยคนลุ่มน้ำโขงเอง และยังไม่มีภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือ ทำให้เกิดการหาข้อมูลเพื่อให้ภาครัฐ และองค์กรต่างๆ ได้รับทราบถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับแม่น้ำโขง ทั้งเรื่องการขึ้นลงที่ผิดปกติ ระบบนิเวศ และการหาอยู่หากินกับแม่น้ำโขงลำบากมากขึ้น ซึ่งโครงการนี้เป็นการเริ่มต้นเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหากับแม่น้ำโขงอย่างแท้จริง เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภและฟื้นฟูแม่น้ำโขงให้กลับมาเป็นแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ โดยเริ่มจากเรื่องปากท้องของคนลุ่มแม่น้ำโขง นอกเหนือจากการเก็บข้อมูลงานวิจัย  ในระยะยาวจะทำให้เกิดเครือข่ายคนลุ่มแม่น้ำโขง ในการเคลื่อนไหวด้านข้อมูล โดยมีแผนงานคือ 1  เก็บข้อมูลคนลุ่มแม่น้ำโขง ว่ามีความเป็นอยู่อย่างไรบ้าง มีกี่หมู่บ้าน สาขาอาชีพ ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับแต่ละชุมชน 2 การเก็บข้อมูลผลกระทบ การทำวิจัย เรื่องพืช การหาปลา การหาอยู่หากินของแมญิงลุ่มแม่น้ำโขง 3 การแก้ไขปัญหาระยะสั้น ในการทำวิจัย เพื่อให้หน่วยงานและองค์การที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเหลือและแก้ปัญหาให้กับคนลุ่มแม่นน้ำโขง 
 

       ผศ.ดร.สหัทยา กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขง ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต และสถาบันชุมชนลุ่มน้ำโขง โดยได้รับฟังข้อมูลจากประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขง โดยลงพื้นที่สำรวจ โดยเก็บข้อมูลจาก 305 คน จาก 38 ชุมชน ริมแม่น้ำโขง อ.เชียงแสน อ.เชียงของ อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย กลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มที่ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขงโดยตรงและทางอ้อม เช่นชาวประมง ผู้อาศัยริมแม่น้ำโขง  และกลุ่มหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำโขง ภาครัฐ เอกชน องค์กรอิสระ
 

       จากนั้นได้มีการจัดเวทีเสวนาในหัวข้อ ข้อค้นพบจากงานวิจัยไทบ้าน และแนวทางแก้ไขปัญหาของภาคประชาชนต่อกรเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขงจากการโครงการพัฒนาโดย เครือข่ายฮักแม่น้ำโขง 
 

        นางสาวจรรยา จันทร์ทิพย์ กล่าวว่า พืชริมน้ำหายไปหลังจากการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขง ที่เกิดจากการสร้างเขือ่นในแม่น้ำโขงพื้นที่ที่ผักเคยงอกขึ้นได้ ก็ไม่สามารถขึ้นได้เพราะน้ำขึ้นลงไม่เป็นไปตามธรรมชาติ พี่น้องเราริมแม่น้ำโขงก็ต้องปรับตัวโดยการปลูกพืชริมแม่น้ำ โดยการปลูกพืชอายุสั้นที่เก็บเกี่ยวได้เร็ว เพราะไม่สามารถคาดเดาได้ว่าน้ำจะมาเมื่อไหร่ ปัจจุบัน วิถีชีวิตเปลี่ยนไปจากเดิมเพราะแม่น้ำไม่สามารถเลี้ยงชีพได้ก็ต้องหาทางออกอย่างอื่นเช่นการเลี้ยงปลา และปลูกผัก ที่ต้องปรับตัว 
 

       นายมานพ มณีรัตน์ ผู้ใหญ่บ้านปากอิง  กล่าวว่า ชุมชนปากอิงได้ได้รับผกระทบจากที่ดิน ริมแม่น้ำที่หายจากการสร้างเขื่อนป้องกันริมตลิ่ง ทำให้พื้นที่ทำการเกษตรหายไป ที่ดินทำการเกษตรไม่มีแล้ว ปัจจุบัน รณรงค์ให้ชาวบ้านปลูกผักไว้เพื่อบริโภค ในครัวเรือน แต่ก็เป็นไปได้ยากเพราะพื้นที่มีไม่เพียงพอ ซึ่งก็เป็นเรื่องยากของชุมชน อาชีพกรประมงของชาวบ้านในพื้นที่ปากอิงก็ได้รับผลกระทบเพราะการหาปลาก็หาไม่ได้ ปัจจุบันเราไม่สามารถพึ่งพาและคาดเดาได้กับแม่น้ำโขง คนรุ่นใหม่เริ่มออกไปทำงานนอกหมู่บ้าน เหลือเพียงผู้สูงอายุอยู่ ซึ่งกังวลว่าในอนาคตวัฒนธรรมท้องถิ่นก็จะหายไปด้วย ซึ่งจะเป็นผลกระทบจากแม่น้ำโขงที่ทำให้คนรุ่นใหม่ไม่สามารถดำรงค์ชีพได้ในชุมชน 
 

       นายอภิเชษ คำมะวงซ์ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงในแม่น้ำโขงให้การประมงในพื้นที่ริมแม่น้ำโขงเริ่มหายไป คนที่หากินกับแม่น้ำโขงต้องเพาะพันธุ์ปลาเพื่อเลี้ยงชีพ แทนการหาปลาในแม่น้ำโขงเพราะปลาตามธรรมชาติน้อยลง ซึ่งคนริมแม่น้ำโขงต้องหาทางออกโดยการปรับตัวเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ โดยการสร้างอาชีพจากการเลี้ยงปลากดคัง ปลาน้ำโขง เพื่อให้สามรถนำมาจำหน่ายเพื่อเลี้ยงครอบครัว 
 

        นางสมจิตร ทิศา กล่าวว่า แม่น้ำโขงเปลี่ยนไปมาก เมื่อก่อนสามารถปลูกผัก ทำเกษตรริมแม่น้ำโขง จนสามารถส่งลูกเรียนหนังสือได้จนจบปริญญาตรี แต่ปัจจุบัน แม่น้ำโขงน้ำขึ้นลงไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ทำให้การทำเกษตรคาดเดาไม่ได้ ไร่ข้าวโพดริมแม่น้ำโขงที่เคยปลูกได้จำนวนมาก ก็เหลือพื้นที่น้อยลง เพราะระดับน้ำขึ้นมาสูงกินพื้นที่เพาะปลูก พืชสวนที่ปลูกไว้เพื่อขายก็ไม่สามารถทำได้ เพราะคาดเดาไม่ได้ว่าน้ำจะมาเมื่อไหร่ ลงทุนปลูกไปก็กลัวว่าน้ำจะพัดเสียหาย การหาปลาในแม่น้ำโขงเมื่อก่อนถึงเวลามื้ออาหาร ลงน้ำโขงหาปลา สามารถทานได้ทั้งครอบครัว ปัจจุบันลงน้ำหาปลาทั้งวันไม่ได้สักตัวเลยก็มี 
 

        ในช่วงบ่ายเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลของเครือข่ายคนฮักแม่น้ำโขง ครั้งที่  3  โดยมีการสรุปแนวทางความร่วมมือในการัดการแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน การแลกเปลี่ยนสถานการณ์ และแนวทางการแก้ไขจากชุมชน รวมไปถึงการทำงานภายใต้เครือข่ายฮักแม่น้ำโขง  เพื่อเป็นแนวทางในการทำงานร่วมกันกับเครือข่ายแม่น้ำโขงภาคเหนือและภาคอีสาน
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME