ข้อมูลนี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ได้นำมาเปิดเผยในเวทีสัมมนา “วันตรวจสอบข่าวลวงโลก ปี 2567” เพื่อสร้างความตระหนักให้กับประชาชน ที่อาจตกเป็นเหยื่อกลุ่มมิจฉาชีพได้ง่าย พร้อมร่วมมือกับภาคีโคแฟค (Cofact) และ กรุงเทพมหานคร เปิดช่องทางสร้างการรับรู้ และให้การช่วยเหลือประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อ
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ให้ความสำคัญกับภัยคุกคามออนไลน์ทุกรูปแบบ จึงร่วมโครงการครั้งนี้ เพื่อเร่งสร้างการรับรู้ และแนวทางป้องกันให้ประชาชน ขณะที่เครือข่ายโคแฟค ที่ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงผ่านสื่อออนไลน์ตั้งแต่ปี 2563 ช่วยเหลือประชาชนไม่ให้ถูกหลอกกว่า 5,000 คน โดยให้คำแนะนำผ่านเว็บไซต์ Cofact.org เปิดเผยว่า
การหลอกลวงผ่านสื่อออนไลน์เปลี่ยนแปลงไปรวดเร็ว จากเดิมที่เป็นการหลอกลวงผ่านข่าวปลอม เป็นการหลอกลวงด้วยการโทร และส่งข้อความหลอกโอนเงินเพิ่มมากขึ้น โดยข้อมูลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่า ประชาชนมักถูกหลอกให้ซื้อสินค้าหรือบริการ หลอกโอนเงินเพื่อทำงาน และหลอกให้กู้เงิน ซึ่งเป็นตัวเลขการถูกหลอกที่สูงเป็นอันดับ 1 ของเอเชีย ส่วนอันดับ 2 คือ ฟิลิปปินส์ และ อันดับ 3 คือ ฮ่องกง
ปีนี้ โคแฟค ยังเตรียมที่จะบูรณาการกับภาครัฐและเอกชนอบรมสร้างทักษะการตรวจสอบข้อมูลในยุค AI ทั่วประเทศ พร้อมสร้างคอนเทนต์ในอินฟลูเอนเซอร์สายตรวจสอบข่าว พัฒนาให้เกิดศูนย์ตรวจสอบข่าวลวงภูมิภาคกว่า 7 แห่ง และเปิดรับภาคีใหม่มาทำกิจกรรมตรวจสอบข่าวและสร้างพลเมืองทุกคนให้เป็น fact-checker ต่อไป
เครดิตภาพและข้อมูลจาก : Whoscall