Categories
AROUND CHIANG RAI SOCIETY & POLITICS

‘สส.โฮม ปิยะรัฐชย์’ หนุนร่างพระราชบัญญัติยุทธศาสตร์ลำไย

 

เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานจากที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีสส.โฮม ปิยะรัฐชย์’ หนุนร่างพระราชบัญญัติยุทธศาสตร์ลำไยเชื่อจะช่วยยกระดับและส่งเสริมเกษตรกรผู้ปลูกให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แนะต้องสร้างการเพิ่มมูลค่าให้สินค้า ยกในอดีตรัฐบาล “ทักษิณ” เคยเดินหน้าเรื่องนี้แล้ว(31 กค.67)นางสาวปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช สส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย กล่าวในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติลำไย ว่าในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ก็เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่มีการปลูกลำไยและอยากจะหาทางออกให้กับเกษตรกรผู้ปลูกลำไย

โดยใน อดีตลำไย ถือเป็นพืชเศรษฐกิจของเกษตรกรภาคเหนือ แต่ที่ผ่านมามีพ่อค้าชาวจีนนำเอา พันธุ์ลำไยไปแพร่ขยายและ ปลูกในหลายพื้นที่ของประเทศเมื่อมาดูตัวเลขการส่งออกลำไย สดอันดับ 1 ที่ไทยส่งออกคือ จีน อินโดนีเซีย และ เวียดนาม โดยตัวเลขการส่งออกใน ปี 2565 มี ยอดส่งออกกว่า 12,000 ล้านบาท แต่ในปี 2566 กลับมียอดส่งออกลดลง ซึ่งในปีนี้เพื่อประโยชน์ของประชาชนผู้ปลูกลำไยก็หวังว่าตัวเลขการส่งออกจะพุ่งสูงขึ้น โดยเชื่อมั่น ในการบริหารงานของรัฐบาล

พร้อมกันนี้ขอบคุณรัฐบาลที่ออกมาตรการในการจัดการผลไม้ในปี 2567 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ทั้งการรณรงค์บริโภคผลไม้ การส่งเสริมการแปรรูป การจัดทำเกษตรพันธสัญญา รวมทั้งการหาตลาดการขายผลไม้ในต่างประเทศทั้งนี้ ที่ผ่านมาเรามักจะเน้นย้ำในเรื่องของการรับซื้อ การตลาด การช่วยเหลือด้านราคา แต่ปัญหาใหญ่ก็คือปัญหาล้งที่เกิดขึ้นโดยมีประเทศเพื่อนบ้านอยู่เบื้องหลัง ซึ่งปัญหาเหล่านี้เราพยายามแก้ปัญหา แต่อาจจะไม่มีความยั่งยืนให้กับพี่น้องเกษตรกร

“วันนี้ตนมองว่าเรายังขาดการสร้างการเพิ่มมูลค่าของสินค้า ที่ผ่านมารัฐบาลของอดีตนายกฯทักษิณ ได้มีการส่งเสริมการทำลำไยกระป๋องในน้ำเชื่อม ซึ่งระยะหลังได้เงียบหายไป อาจเป็นเพราะไม่ได้มีการขยายตลาดและไม่มีการสร้างแบรนด์ให้มีความเข้มแข็ง จึงหวังว่าร่างพระราชบัญญัติยุทธศาสตร์ลำไยฉบับนี้ จะออกมาเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร”

นางสาวปิยะรัฐชย์ ย้ำว่าการรับฟังเสียงของพี่น้อง ถือเป็นส่วนสำคัญซึ่งตนเองได้ลงพื้นที่ไปรับฟังความคิดเห็น โดยประชาชนสะท้อน โดยเน้นย้ำในเรื่องของ ความเสถียรของราคาลำไย ซึ่งเกษตรกรไม่สามารถรู้ล่วงหน้า โดยเป็นการกำหนดราคาเองจากโรงงาน รวมทั้งเครื่องคัดเกรดที่อาจจะไม่มีมาตรฐานจึงควรมีหน่วยงานกลางในการที่จะเข้ามากำกับดูแล รวมทั้งอยากให้ภาครัฐได้มีการวิจัยและพัฒนาผู้ปลูกลำไยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าร่างกฎหมายดังกล่าวจะทำให้เกษตรได้รับประโยชน์ทั้งจากการส่งเสริมด้านเทคโนโลยี การช่วยเหลือจากภาครัฐหากเกิดภัยธรรมชาติ รวมถึงการเปิดตลาดเส้นทางในต่างประเทศทั้งยุโรปอินเดียหรือตะวันออกกลางซึ่งกฎหมายฉบับนี้จะเป็นการอำนวยการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดการบิดเบือนในทุกช่องทางเพื่อให้พี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกลำไยได้รับประโยชน์สูงสุด

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
AROUND CHIANG RAI TOP STORIES

คาด ร่างพ.ร.บ.ชาติพันธุ์ จบเดือนนี้ ใช้เวลาพิสูจน์สัญชาติ 180 วัน เหลือ 5 วัน

 

เมื่อวันที่ 14 ก.ค. 67  นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นางสาวจิราพร  สินธุไพร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  นายจุลพันธ์  อมรวิวัฒน์  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง  พร้อมคณะ และน.ส.ปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช สส.เชียงราย ลงพื้นที่ บ้านโป่งป่าแขม อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย โดยทันทีที่มาถึงตัวแทนชนเผ่าได้มอบเสื้อชนเผ่าอิ้วเมี่ยน หรือ เย้า ให้กับนายกฯ ซึ่งนายกฯได้สวมเสื้อดังกล่าวทันที จากนั้น ผู้นำชุมชนได้ต้อนรับตามประเพณีของชนเผ่า พร้อมเชิญนายกฯ และคณะ เข้าบ้านเพื่อจิบชาต้อนรับตามประเพณี ซึ่งอาหารที่ต้อนรับประกอบด้วยข้าวปุกงาหรือโมจิดอยซึ่งถือเป็นขนมจากสวรรค์ โดยผู้นำชุมชนหรือพ่อหลวง กล่าวว่า เป็นเกียรติซึ่งหมู่บ้านนี้อยู่มา 70 ปี เพิ่งมีผู้นำมาเยี่ยมถึงหมู่บ้าน และขออวยพรให้เป็นนายกฯไปนานๆ อยู่กับพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ไปนานๆ และขอให้เดินทางปลอดภัยมีสวัสดิภาพ ขณะที่นายกฯ ระบุว่า เป็นเกียรติที่ได้รับการต้อนรับ โดยบอกว่ามาในฐานะคนไทยไม่ได้มาในฐานะนายกฯ หรือคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้พร้อมรับฟังปัญหา เพื่อนำไปสู่การแก้ไข 

 

     จากนั้น นายกฯ ได้พบปะแลกเปลี่ยนปัญหาในพื้นที่ โดย ผู้นำชุมชนได้สะท้อนถึงปัญหาว่าชนเผ่าชาติพันธุ์ในพื้นที่ 77,729 ราย มี 19,432 ราย ไม่มีสัญชาติทำให้ถูกจำกัดสิทธิ์ ขณะที่เรื่องของสาธารณูปโภคพบว่าบางหมู่บ้านยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ส่วนระบบสาธารณสุข ในส่วนของโรงพยาบาลแม่ฟ้าหลวง อยากให้มีการเพิ่มบุคลากรโรงพยาบาลแม่ฟ้าหลวง เพราะไม่เพียงพอต่อการบริการประชาชน 

 

ด้าน นายกรัฐมนตรี กล่าวกับชาวบ้านว่า เป็นครั้งแรกที่ได้มาเยือน ซึ่งได้การต้อนรับที่อบอุ่นได้เข้าบ้านของผู้นำชุมชน ประเพณีไทยถือว่าการต้อนรับให้เข้ามาอยู่ในบ้านถือเป็นเกียรติสูงสุด และถือว่าเราเป็นพวกเดียวกัน สำหรับปัญหาหลักเรื่องความไม่เสมอภาคเท่าเทียมที่พี่น้องชาติพันธุ์ถูกดูแลอย่างไม่ทั่วถึงมาโดยตลอด แต่ภายใต้การผลักดันของสส.ปิยะรัฐชย์ ที่มีความมุ่งมั่นในการผลักดันร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ชาติพันธุ์ที่ให้ความสำคัญเรื่องของสิทธิขั้นพื้นฐานเรื่องของสัญชาติ เพราะหากได้สัญชาติแล้วก็จะได้รับการดูแลที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุข การศึกษา และเรื่องต่างๆ ซึ่งรัฐบาลสัญญาว่าจะให้การพิสูจน์ทราบสัญชาติให้จบภายใน 5 วัน ไม่ใช่ 180 วัน แต่ขอเวลาอีกสักระยะและคาดว่าจะพิจารณาจบได้ภายในเดือน ก.ค.นี้ 

 

    นายกฯ กล่าวต่อว่า ส่วนโรงพยาบาลที่ไม่เพียงพอแน่นอนว่าทุกที่ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือภาคใต้หรืออีสาน โรงพยาบาลก็ไม่พออยู่แล้ว รัฐบาลพยายามจัดสรรงบประมาณดูแลให้ทั่วถึง ส่วนเรื่องของไฟฟ้าสามารถยืนยันได้เลยว่าจะจัดการให้ เพราะถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ทุกคนพึงจะได้รับ เรื่องของการบริหารจัดการน้ำเป็นเรื่องสำคัญ เพราะการเกษตรเป็นเรื่องปัจจัยปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ทั้งจากการบริโภคและการค้าขาย วันนี้มีหน่วยงานราชการมาเยอะก็ขอฝากให้ดูแลพี่น้องชาติพันธุ์ให้มีความเสมอภาค และเท่าเทียมกับพี่น้องคนไทยทุกคน ขอย้ำว่าเป็นเกียรติอย่างยิ่ง และคิดว่าคงไม่ใช่ครั้งสุดท้ายที่จะได้มา หวังว่าในระยะเวลาอันสมควรจะได้กลับมาอีกเพื่อมาดูความก้าวหน้า แต่ตอนนี้ให้พี่น้องข้าราชการปฏิบัติงานกันไปก่อน และหวังว่าจะได้รับการต้อนรับอย่างดีเหมือนที่เคยมา 

 

จากนั้น นายกรัฐมนตรีและคณะ รับฟังปัญหาในพื้นที่อำเภอแม่จัน และพบปะประชาชน ณ บ่อน้ำพุร้อนธรรมชาติป่าตึง อ.แม่จัน จ.เชียงราย พร้อมเน้นย้ำให้ดูแลกลุ่มชาติพันธุ์อย่างเท่าเทียม 

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News