Categories
AROUND CHIANG RAI NEWS UPDATE

ข้อมูลน้ำท่วมเชียงราย 9-28 ก.ย.67 เสียชีวิต 13 เจ็บ 3 สูญหาย 1 ราย

 
เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2567 สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย รายงานข้อมูลสะสมระหว่างวันที่ 9 -28 ก.ย. 2567 ทั้งสิ้น 13 อำเภอ 63 ตำบล 577 หมู่บ้าน 1 เทศบาลนคร (52 ชุมชน) โดยตลาดชุมชนเศรษฐกิจ ได้รับผลกระทบ 2 แห่ง ร้านค้า/สถานประกอบการ 92 แห่งราษฎรได้รับผลกระทบเบื้องต้น56,469 ครัวเรือน เสียชีวิต 13 ราย บาดเจ็บ 3 ราย สูญหาย 1 รายบ้านเรือนราษฎรได้รับผลกระทบ 33 หลัง พื้นที่เกษตรได้รับผลกระทบ 18,587 ไร่ปศุสัตว์ได้รับผลกระทบ 48,844 ตัว(ได้แก่ โค 1,110 ตัว กระบือ 166 ตัว สุกร66 ตัว แพะ/แกะ 25 ตัว สัตว์ปีก 47,477 ตัว) สัตว์เลี้ยง 299 ตัว(ได้แก่ สุนัข 145 ตัว และแมว 154 ตัว)ด้านสิ่งสาธารณประโยชน์ได้รับผลกระทบ ได้แก่ โรงเรียน37แห่ง ถนน10จุด คอสะพาน5จุด และรพ.สต. 1 แห่ง
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ผู้อำนวยการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าไปช่วยเหลือ ซึ่งได้เตรียมการมาเป็นอย่างดีทั้งเครื่องมือ อุปกรณ์เครื่องจักรกล ยุทโธปกรณ์ พร้อมกำลังพลในการเข้าไปช่วยเหลือ อย่างเร่งด่วน แต่เนื่องจากเกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง หลายวัน ทำให้วันนี้ (28 กันยายน 2567) ได้เกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะที่ ได้แก่ อ.เมืองเชียงราย, อ.เชียงแสน, อ.เชียงของ, อ.แม่จัน, อ.แม่ฟ้าหลวง, อ.แม่สาย, อ.ดอยหลวง, อ.เทิง อ.เวียงแก่น อ.เวียงป่าเป้า อ.แม่สรวย อ.เวียงชัย และอ.แม่ลาว เกิดน้ำท่วมหนักในรอบหลายปี อย่างไรก็ตาม นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจ และเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน หากประชาชนต้องการขอความช่วยเหลือ หรือแจ้งเหตุ แจ้งได้ตลอด 24 ช่วยโมง ที่สายด่วน 1784
 
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย รายงานสถานที่เกิดเหตุ/ความเสียหาย/การให้ความช่วยเหลือ (เหตุต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 8 ก.ย. 67 และสถานการณ์ในวันนี้ (28 ก.ย. 67) ดังนี้
การให้ความช่วยเหลือ
 
จังหวัดเชียงราย ได้จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ปี พ.ศ. 2567 เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ในการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย และจัดหาปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีพ ผ่านทางธนาคาร กรุงไทย สาขาเชียงราย เลขที่บัญชี 504-3-23-732-5 ชื่อบัญชี กองทุนช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ปี พ.ศ. 2567 โดยสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 1 เท่ายอดเงินบริจาคณ วันที่ 28 ก.ย. 67 เวลา 16.30 น. จำนวน 8,860,424.14บาท
 
การดำเนินการให้ความช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัย อ.เวียงป่าเป้า ตำบลบ้านโป่ง อบต.บ้านโป่ง อพยพประชาชนบ้านห้วยหินลาดใน และหย่อมบ้านห้วยทรายขาว (บ้านบริวาร) หมู่ที่ 7 ต.บ้านโป่ง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย มายังศูนย์พักพิง อบต.บ้านโป่ง จำนวน 39 คน
 
เหตุดินสไลด์ปิดเส้นทางเข้าออกบ้านห้วยหินลาดใน หมู่ที่ 7 ต.บ้านโป่ง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย อบต.บ้านโป่ง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อุทยานแห่งชาติขุนแจ และหน่วยงานสังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
 
นำเครื่องจักรกลปรับเกลี่ยกองดินเปิดเส้นใช้ทางแล้ว รถยนต์สามารถสัญจรผ่านได้ พร้อมทั้งได้ร่วมกันทำความสะอาดและฟื้นฟูบ้านเรือนราษฎรที่ได้รับผลกระทบ
 
ตำบลเวียง รพ.เวียงป่าเป้าพร้อมด้วยสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเวียงป่าเป้า เข้าตรวจรักษาผู้ป่วยและประเมินสุขภาพจิตราษฎรหมู่บ้านบ้านดงหล่ายหน้า (หย่อมบ้านห้วยไม้เดื่อ) หมู่ที่ 7 ต.เวียง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย
 
อบต.เวียง นำรถแบคโฮเปิดเส้นทางจราจร เส้นทางเข้าบ้านห้วยไม้เดื่อ (หย่อมบ้านดงหล่ายหน้า) สามารถสัญจรผ่านได้แล้ว
เหตุน้ำกัดเซาะคอสะพานบ้านแม่ปูนล่าง หมู่ที่ 9 ต.เวียง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย อบต.เวียงและฝ่ายปกครองอยู่ระหว่างเข้าสำรวจความเสียหายและดำเนินการซ่อมแซม
 
ที่ทำการปกครองอำเภอเวียงป่าเป้าร่วมกับ ตชด. 327 ลำเลียงถุงยังชีพ 60 ชุด น้ำดื่ม 850 แพ็ค นม 20 แพ็ค มาม่า 20 แพ็ค แจกจ่ายให้แก่ราษฎรในพื้นที่บ้านแม่ปูนหลวงและหย่อมบ้านสามกุลา หมู่ที่ 8 ต.เวียง
 
อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย สำหรับเหตุดินถล่มปิดทับเส้นทางบ้านแม่ปูนหลวง แขวงทางหลวงชนบทเชียงรายร่วมกับอบต.เวียง และราษฎรในพื้นที่ ตัดต้นไม้และกำจัดกองดิน สามารถเปิดใช้เส้นทางได้แล้ว
 
หมวดทางหลวงแม่สรวยพร้อมด้วยจิตอาสา และภาคประชาชน นำรถขุดหน้าตักหลังและรถแบคโฮขุดตักกองดินที่สไลด์ลงมาปิดทางขวางเส้นทางจราจรบนทางหลวงชนบทหมายเลข 1150 สายอำเภอพร้าว – อำเภอเวียงป่าเป้า ดำเนินการได้ 70% คาดว่าจะแล้วเสร็จในวันที่ 29 ก.ย. 67
 
มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย วันที่ 28 ก.ย. 67รถประกอบอาหารเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) จัดตั้งโรงครัวพระราชทาน ณ ที่ว่าการอำเภอแม่สายขยายระยะเวลาดำเนินการถึงวันที่ 5 ต.ค 2567 (เริ่มดำเนินการวันที่ 19 ก.ย. 67)
การสนับสนุนเครื่องจักรกลสาธารณภัยด้านปฏิบัติการ (อุทกภัย) และกำลังพล ของศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตประจำวันที่ 28 ก.ย. 67ดังนี้
 
ศูนย์ ปภ. เขต 8 กำแพงเพชร นำรถบรรทุกน้ำอเนกประสงค์ขนาด 12000 ลิตร ไปฉีดล้างทำความสะอาดถนนในพื้นที่ชุมชนเกาะลอย ต.เวียง อ.เมืองชร. จ.เชียงราย
 
ศูนย์ ปภ. เขต 4 ประจวบคีรีขันธ์ เขต 8 กำแพงเพชร เขต 9 พิษณุโลก เขต 10 ลำปาง เขต 11 สุราษฎร์ธานี และเขต15 เชียงราย เร่งทำการฟื้นฟูพื้นที่ภายหลังน้ำลด โดยนำรถขุดตักไฮดรอลิคยกสูง รถตักล้อยางเอนกประสงค์
 
รถขุดล้อยางกู้ภัยปรับฐานล้อ รถตีนตะขาบ รถบรรทุกเทท้าย รถขุดตักไฮดรอลิค แขนยาว ทำการขุดตักขนย้ายดินโคลน เศษวัสดุ สิ่งปรักหักพัง พร้อมทั้งปรับเกลี่ยถนน เส้นทางสัญจรในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลแม่สาย อ.แม่สาย จ.เชียงราย
 
ศูนย์ ปภ. เขต 15 เชียงราย นำรถบรรทุกน้ำช่วยดับเพลิง 10,000 ลิตร ฉีดล้างทำความสะอาดลานจอดรถ ถนน และบริเวณภายในพื้นที่ของศาลากลางจังหวัดเชียงราย อ.เมืองชร. จ.เชียงราย/ นำรถบรรทุกน้ำอเนกประสงค์ขนาด 12,000 ลิตร ฉีดล้าทำความสะอาดมัสยิดนูรูลอิสลาม (ชุมชนกกโท้ง) และบริเวณโดยรอบ ในเขตพื้นที่ ต.เวียง อ.เมืองชร. จ.เชียงราย
ศูนย์พักพิงที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวอยู่ ณ วันที่ 28 ก.ย. 67 รวมทั้งสิ้น7แห่ง
 
แบ่งตามขอบเขตการปกครอง ได้แก่ อ.เมืองเชียงราย 3 แห่ง/ อ.แม่สาย3แห่ง/ อ.เวียงป่าเป้า 1 แห่ง
ศูนย์พักพิงฯ ที่มีทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ เยียวยาจิตใจ แจกจ่ายยาและเวชภัณฑ์ จำนวน 4แห่ง
รายละเอียดดังนี้
 
อำเภอเมืองเชียงรายที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวจำนวน 3แห่ง
ในเขตเทศบาลนครเชียงราย ทน.เชียงราย จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวอยู่ ณ ปัจจุบันจำนวน1 แห่ง ได้แก่
 
จุดวัดสันป่าก่อไทยใหญ่* ต.รอบเวียง คงค้างจำนวน 5 ราย
หมายเหตุ: ศูนย์พักพิงในเขตเทศบาลนครเชียงรายทุกจุดมีทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ เยียวยาจิตใจ แจกจ่ายยาและเวชภัณฑ์ ประจำศูนย์ในระยะวิกฤติ / ในระยะฟื้นฟูปรับมาใช้ระบบตรวจเยี่ยมและให้บริการตามวงรอบ
 
ตำบลแม่ยาว ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่ยาว กำกับดูแลโดย ทต.แม่ยาว/ วันที่ 20 ส.ค. 67 ย้ายศูนย์พักพิงไปที่สำนักงานเทศบาลตำบลแม่ยาวคงค้างจำนวน 15 คน ประชาชนเริ่มกลับเข้าบ้าน
 
ตำบลดอยฮาง วันที่ 16 ก.ย. 67 เวลา 17.00 น. จัดตั้งศูนย์พักพิง ณ บ้านโป่งนาคำ* มีผู้พักพิงประมาณ 50 คน มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้นำเต็นท์นอนพระราชทาน ขนาด 2 คน จำนวน 50 หลัง มอบให้แก่ราษฎรผู้ประสบอุทกภัยฯ/ วันที่ 28 ก.ย. 67 ปรับสภาพเป็นศูนย์พักคอยและศูนย์รับบริจาค
 
อำเภอแม่สายที่ยังเปิดศูนย์ฯ ให้บริการที่พักพิงชั่วคราวอยู่ ณ ปัจจุบัน 3 แห่ง รวมทั้งสิ้น 237คน(โดยเป็นศูนย์พักพิงฯ ที่มีทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการ ทั้ง3แห่ง) ศูนย์พักพิงเทศบาลตำบลแม่สาย*คงค้างจำนวน 41 ราย(ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแลได้แก่ รพ.สต.ฮ่องแฮ่/ รพ.สต.บ้านด้าย) ศูนย์พักพิงวัดเหมืองแดง*คงค้างจำนวน 82 ราย ศูนย์พักพิงวัดถ้ำผาจม*คงค้างจำนวน 114 ราย(ทีมแพทย์และสาธารณสุขให้บริการด้านการแพทย์ในการดูแล ได้แก่ รพ.แม่จัน)
 
อำเภอเวียงป่าเป้า จัดตั้งศูนย์พักพิง 2 แห่ง* ได้แก่ ศูนย์พักพิง ทต.ป่างิ้ว(ศูนย์พักคอย)/วันที่ 25 ก.ย. 67 จัดตั้งศูนย์พักพิง อบต.บ้านโป่ง ขึ้นอีก 1 แห่ง คงค้างจำนวน 39 ราย
 
อำเภอแม่สรวยจัดตั้งศูนย์พักพิง*2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์พักพิง อบต.ท่าก๊อ(คงค้างจำนวน 3 คน) /วันที่ 26 ก.ย. 67 จัดตั้งศูนย์พักพิง ศูนย์ดูแลผู้ป่วย รพ.แม่สรวย ขึ้นอีก 1 แห่ง/ วันที่ 28 ก.ย. 67 ปิดศูนย์พักพิงทุกศูนย์ฯ
 
มูลนิธิสมาคมกู้ชีพกู้ภัย อาสาสมัคร จิตอาสาภาคประชาชน ร้านค้า/ผู้ประกอบการ สนับสนุนปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย ให้ที่พักพิงชั่วคราว มอบอาหารปรุงสำเร็จ และถุงยังชีพ
 
วิทยาลัยอาชีวศึกษาและโรงเรียนในเครือ ดำเนินโครงการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน FixItCenter ตั้งจุดบริการและจัดชุดเคลื่อนที่ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม โดยจะช่วยซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ รวมถึงยานพาหนะที่เสียหาย เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 14 ก.ย. เป็นต้นมา /วันที่ 17 ก.ย. 67 รมว.ศึกษาธิการ เน้นย้ำให้ดูแลโรงเรียนก่อนเป็นลำดับแรก
 
จุดบริการ FixItCenterประจำวันที่ 28 ก.ย. 67 จำนวน 4 แห่ง ดำเนินการโดยสถานศึกษา สอศ. จากทั่วประเทศ รายละเอียดจุดบริการฯ ดังนี้ จุดบริการ โรงเรียนบ้านใหม่ ดำเนินการโดย วท.เทิง จุดบริการ โรงเรียนเทิงวิทยา ดำเนินการโดย วท.เทิง จุดบริการ โรงเรียนขุนตาลวิทยาคม ดำเนินการโดย วท.เทิง จุดบริการ ชุมชนฮ่องลี่ – ป่างิ้ว ดำเนินการโดย วก.เนินขาม
วันที่ 17 ก.ย. 67 ทภ.3 จัดตั้ง ศบภ.ทภ.3 ส่วนหน้า ณ ที่ว่าการอำเภอแม่สาย เพื่ออำนวยการประสานงานการให้ความช่วยเหลือประชาชนของหน่วยทหารทุกหน่วย ในพื้นที่ อ.แม่สาย จนถึงปัจจุบัน
 
กองบัญชาการกองทัพไทย จัดตั้งศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองบัญชาการกองทัพไทย ณ โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย
 
อบจ.เชียงราย ให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วม ด้านดำรงชีพ ดังนี้ ค่าใช้จ่ายด้านดำรงชีพ ได้แก่ ค่าเครื่องนุ่งห่ม รายละไม่เกิน 1,100 บาท ค่าเครื่องมือประกอบอาชีพ เท่าที่จ่ายจริง ครอบครัวละไม่เกิน 11,400 บาท ค่าเครื่องครัวและอุปกรณ์ในการประกอบอาหาร เท่าที่จ่ายจริง ครอบครัวละไม่เกิน 3,500 บาท ค่าเครื่องนอน รายละไม่เกิน 1,000 บาท หลักฐานที่ต้องเตรียม ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนของเจ้าของบ้านที่ประสบภัย รูปภาพความเสียหายการขอรับความช่วยเหลือ ผ่าน อบต. หรือ ทต. ที่ประสบภัย ในวันและเวลาราชการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อบจ.เชียงราย ฝ่ายสงเคราะห์ผู้ประสบภัย โทร. 053175329 หรือ 053175333 ต่อ 1402 ในวันและเวลาราชการ ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 17 – 30 ก.ย. 2567
 
เทศบาลนครเชียงราย ให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วมเบื้องต้น ครอบครัวละ 2,500 บาท/ มอบแล้ว 6,183 ครัวเรือน ข้อมูล ณ วันที่ 27 ก.ย. 67 (วันที่ 9 ในการดำเนินการ) หลักฐานที่ต้องเตรียม ได้แก่
 
เจ้าบ้านนำบัตรประชาชน พร้อมทะเบียนบ้าน หากท่านใดมีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐนำมาแสดงด้วย สำหรับผู้ที่ไม่มีบัตรประชาชนสามารถติดต่อขอคัดสำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านได้ที่สำนักทะเบียนราษฎร เทศบาลนครเชียงราย
ชุมชนที่ประสบอุทกภัยทั้ง 52 ชุมชนสามารถติดตามข้อมูลได้ที่ประธานชุมชน หรือ สมาชิกสภาเทศบาลนครเชียงรายในเขตพื้นที่ประสบภัยที่ตนเองพำนักอยู่ จุดจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น : รอกำหนดการ
 
ปฏิบัติการดูดโคลนเลนที่อุดตันบริเวณท่อระบายน้ำ ตามตรอก ถนน และจุดต่าง ๆ ที่กีดขวางทางระบายน้ำพื้นที่ประสบอุทกภัยในเขตพื้นที่ในเขตพื้นที่เทศบาลนครเชียงรายโดยรถดูดโคลนของกรุงเทพมหานครเริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 20 ก.ย. 67 เป็นต้นไป
 
วันที่ 28 ก.ย. 67ดำเนินการดูดโคลนเลนจากท่อระบายน้ำชุมชนบ้านป่าแดง ท่อขนาด 0.60 เมตร และท่อขนาด 0.80 เมตร ดำเนินการได้ความยาว120 เมตร ดูดเลนได้จำนวน266 ลูกบาศก์เมตร/ รถดูดโคลนของจังหวัดนนทบุรี ปฏิบัติงานในชุมชนแควหวาย ดูดโคลนตามรางยู ดำเนินการได้ความยาว60 เมตร ดูดเลนได้จำนวน80 ลูกบาศก์เมตร
 
บริษัท วอชแอนด์โก CodeCleanให้บริการ ซัก อบ ผ้า น้ำยา ฟรี แก่ผู้ได้รับผลกระทบน้ำท่วมตลอด24 ชั่วโมง และเปิดให้บริการจนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติจำนวน 3 จุด ได้แก่ ณ ลานธรรมลานศิลป์ถิ่นพญามังรายหรือลานรัชกาลที่ 5 (ศาลากลางจังหวัดหลังแรก) ตั้งแต่วันที่ 18 ก.ย. 67 เป็นต้นไป ณ สถานีดับเพลิงเทศบาลนครเชียงราย หน้าวัดดงหนองเป็ด ตั้งแต่วันที่ 21 ก.ย. 67 เป็นต้นไป หน้ามูลนิธิสยามเชียงราย สำนักงานใหญ่ จุด 5 แยก พ่อขุนฯ ตั้งแต่วันที่ 24 ก.ย. 67 เป็นต้นไป
 
งานบริการถ่ายบัตรประชาชน กรมการปกครอง สนับสนุนหน่วยบริการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนเคลื่อนที่ (Mobile Unit) ให้บริการตั้งแต่วันที่ 20 – 27 กันยายน 2567 ตั้งแต่เวลา 08.30 – 21.00 น. ณ วัดเวียงหอม (สามารถถ่ายได้เพียงบัตรประชาชนเท่านั้น) ยกเว้นค่าธรรมเนียม 100 บาท
 
สำนักทะเบียนอำเภอแม่สาย ให้บริการงานถ่ายบัตรประชาชนทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ตั้งแต่วันที่ 19 – 30 กันยายน 2567 ตั้งแต่เวลา 08.30 – 17.00 น. ณ ห้องทะเบียนที่ว่าการอำเภอแม่สาย
 
กองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน ได้ส่งกำลังพล สมาชิก อส. จากส่วนกลาง และร้อย อส.จ. จาก 36 จังหวัดจำนวนไม่น้อยกว่า 1,500 นาย เพื่อร่วมปฏิบัติภารกิจฟื้นฟูบูรณะพื้นที่ประสบอุทกภัยจังหวัดเชียงราย ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2567 เป็นต้นไป จนกว่าจะสิ้นสุดภารกิจ
 
การอำนวยการ/สั่งการ
วันที่ 28 ก.ย. 2567 เวลา 13.00 น. ณ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 15 เชียงรายนายโชตินรินทร์ เกิดสม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย สั่งการในคราวประชุมติดตามสถานการณ์และเตรียมการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) ส่วนหน้า ดังนี้
 
มอบหมาย สนง.ประชาสัมพันธ์จังหวัด ประสานสถานีวิทยุทุกแห่ง (ทั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยและสถานีวิทยุชุมชน) เผยแพร่ช่องทางการขอรับความช่วยเหลือให้เป็นไปอย่างแพร่หลาย เข้าถึงประชาชนให้มากที่สุด เพื่อให้ประชาชนได้รับการช่วยเหลือโดยเร็วที่สุด ผ่านช่องทางสายด่วน 1567 ศูนย์ดำรงธรรม (โทรฟรี) และศูนย์บัญชาการอุทกภัยฯ จ.เชียงราย ทางหมายเลขโทรศัพท์ 093-1311784
 
มอบหมายนายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ (รอง ผวจ. 2) รับผิดชอบบริหารจัดการเครื่องจักรกล และกำลังพล จากหน่วยงานอื่นๆ ที่เข้ามาในพื้นที่ กำชับให้แบ่งมอบภารกิจให้ชัดเจน
 
มอบ สนง.ทสจ.ชร. ร่วมกับอ.เมืองชร. เทศบาลนครเชียงราย และอ.แม่สาย จัดพื้นที่รองรับขยะมูลฝอยชั่วคราว (จุดพักขยะมูลฝอย) และบ่อขยะ เพื่อรองรับขยะครัวเรือนหลังน้ำลดที่มีเป็นจำนวนมาก โดยให้ระมัดระวัง
 
เรื่องความเสี่ยงต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน และผลกระทบที่เกิดกับสิ่งแวดล้อม
ให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ทั้งแขวงทางหลวงเชียงรายที่ 1,2 แขวงทางหลวงชนบท และสำนักงานเจ้าท่าส่วนภูมิภาคสาขาเชียงราย เร่งรัดการสำรวจความเสียหายและจัดทำเอกสารขอรับการสนับสนุนงบประมาณโดยเร็ว เพื่อให้ซ่อมแซมถนนปรับปรุงเส้นทางหลังน้ำท่วม รวมทั้งตลิ่งและคันกั้นน้ำที่ได้รับความเสียหาย ให้กลับคืนสู่สภาพเดิมโดยเร็วที่สุด
 
ให้ สสจ.เชียงราย ดำเนินการตามมาตรการด้านการแพทย์และสาธารณสุข หลังเกิดน้ำท่วม ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ทั้งการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ การเยียวยาจิตใจผู้ประสบภัย สนับสนุนการปรับปรุงสุขาภิบาล และอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยให้เน้นหนัก “ด้านการดูแลผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง กลุ่มติดบ้านติดเตียง” เป็นพิเศษ
 
ระบบท่อระบายน้ำต่าง ๆ ให้วางแผนแก้ไขปัญหาท่อระบายน้ำอุดตันในระยะถัดไป รวมทั้งแผนกำจัดเศษขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และดินโคลนต่างๆ ออกจากท่อระบายน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายและป้องกันปัญหาการท่วมขังซ้ำ
 
มอบหมายนายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ (รอง ผวจ. 2) ,ปลัดจังหวัดเชียงราย, ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเขต 7 (เชียงใหม่), สนจ.ชร. และสนง.ปภ.จ.ชร. สถาปนาศูนย์ราชการให้มีความพร้อมในการจัดตั้ง War Room โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบสื่อสาร (ทั้งระบบสื่อสารหลัก สื่อสารรอง และระบบสื่อสารสำรอง) เพื่อเชื่อมโยงการทำงานระหว่างหน่วยงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและมีประสิทธิภาพสูงสุด
 
ให้กรม ปภ. ดูแลการให้ความช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์ ให้เร่งดำเนินการสำรวจความเสียหาย และจัดประชุม ก.ช.ภ.อ. และ ก.ช.ภ.จ. โดยเร็ว รวมถึงช่วยสนับสนุนดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ถือปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และหนังสือที่สั่งการโดยเคร่งครัด ระมัดระวังมิให้เกิดความซ้ำซ้อน
 
ให้สำนักงานคลังจังหวัดตรวจสอบการใช้จ่ายเงินทดรองราชการของสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
 
สำหรับหน่วยงานที่เข้ามาสนับสนุนปฏิบัติการฟื้นฟู ให้จังหวัดเชียงรายดูแลความเป็นอยู่ การส่งกำลังบำรุง การสุขาภิบาลและการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม
 
กรณีบ้านเรือนราษฎรที่ได้รับความเสียหาย ให้จังหวัดเชียงรายติดตามผลการให้ความช่วยเหลือ ซ่อมแซมได้หรือไม่ได้อย่างไร ค่าวัสดุซ่อมแซมที่อยู่อาศัยประจำ ซึ่งผู้ประสบภัยพิบัติเป็นเจ้าของที่ได้รับความเสียหาย เท่าที่จ่ายจริงหลังละไม่เกิน 49,500 บาท ภายใต้หลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2563 เพียงพอต่อการซ่อมแซมเพื่อการดำรงชีพขั้นพื้นฐานหรือไม่ ถ้าไม่เพียงพอมีแผนดำเนินการอย่างไรต่อไป กรณีบ้านเสียหายทั้งหลังและที่ดินถูกน้ำพัดหายไป ให้อปท. ร่วมกับชมรมช่างท้องถิ่น ประเมินความเสียหาย มอบหมายนายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ (รอง ผวจ. 2) ร่วมกับ สนง.ทสจ.ชร. สจป.ที่ 2 ชร. และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จัดหาที่อยู่อาศัยแห่งใหม่ เบื้องต้นหากจะจัดสรรพื้นที่ คทช. ให้ดำเนินการภายใต้ระเบียบกฎหมาย และเป็นไปด้วยความเท่าเทียม
 
การปรับปรุง ซ่อมแซมสิ่งสาธารณประโยชน์ทุกประเภทที่ได้รับความเสียหาย (เช่น วัด โรงเรียน อาคารส่วนราชการ ถนน คอสะพาน รางระบายน้ำ เป็นต้น) เพื่อให้สามารถใช้งานได้ตามปกติดังเดิม ให้หน่วยงานต้นสังกัดเร่งสำรวจและเสนอของบประมาณในคราวเดียว
 
วันที่ 30 ก.ย. 67 มท.4 และ รมช.กลาโหม จะลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงาน และปัญหา อุปสรรค ให้ที่ทำการปกครองจังหวัดและสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด จัดทำเอกสารสรุปผลการปฏิบัติและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องนำเสนอ และให้รายงานต่อเนื่องจนกว่าจะกลับคืนสู่สภาพเดิม
 
แนวโน้มสถานการณ์ ฝนฟ้าคะนองปานกลาง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ระดับน้ำสาย ทรงตัว(ไม่เกินระดับวิกฤติ)/ ระดับน้ำกก น้ำลาว แนวโน้มลดลง/น้ำโขงทรงตัว(ปกติ)
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
AROUND CHIANG RAI FEATURED NEWS

“จากใจคนใต้ ถึงใจพี่น้องคนเหนือ” ร่วมช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยเชียงราย

 

เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2567 เวลา 13.00 น. ที่อาคารปฏิบัติการไปรษณีย์เชียงราย โครงการ “จากใจคนใต้ ถึงใจพี่น้องคนเหนือ” ได้รับการสนับสนุนจากหลายภาคส่วนของชุมชนเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ / นครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในการส่งมอบสิ่งของบริจาคเพื่อนำไปช่วยเหลือพี่น้องผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยความร่วมมือจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย (อบจ.เชียงราย) นำโดยนางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ได้มอบหมายให้กองป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อบจ.เชียงราย เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์เชียงราย และกำลังพลจาก มณฑลทหารบกที่ 37 (มทบ.37) ร่วมกันรับของบริจาคเพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

การบริจาคที่เริ่มต้นจากใจคนใต้

โครงการนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 – 31 สิงหาคม 2567 โดยความร่วมมือของหลายหน่วยงานในจังหวัดสงขลา เช่น สมาคมชุมชนสร้างสรรค์, สมาคมชาวเหนืออีสานจังหวัดสงขลา, ศูนย์การค้าไดอาน่าคอมเพล็กซ์ , เคแอนด์เคชุปเปอร์สโตร์ , สงขลาโฟกัส, นครเชียงรายนิวส์ , พะเยาน่าอยู่ ,ไปรษณีย์เขต9 , มูลนิธิร่วมพัฒนาภาคใต้, โดยเป็นการเปิดโอกาสให้พี่น้องชาวใต้ร่วมบริจาคสิ่งของ ข้าวสาร อาหารแห้ง และสิ่งของจำเป็นต่างๆ การบริจาคครั้งนี้ไม่รับเงินบริจาค เพื่อให้มั่นใจว่าสิ่งของที่ได้รับจะส่งตรงไปยังผู้ที่ต้องการในทันที จุดรับบริจาคตั้งอยู่ที่ เคแอนด์เค ชุปเปอร์สโตร์ ถนนนวลแก้ว และ ลานจอดรถหน้าห้างไดอาน่า ถนนศรีภูวนารถ มีการรับบริจาคตั้งแต่เวลา 08.00 น. จนถึง 20.00 น.

การตอบรับจากชุมชนในสงขลาเป็นอย่างดี พี่น้องคนใต้ต่างนำสิ่งของมาร่วมบริจาคกันอย่างล้นหลาม ซึ่งของบริจาคเหล่านี้ได้ถูกจัดส่งมายังเชียงราย เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำอิง ซึ่งได้รับผลกระทบหนักจากน้ำท่วม น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนที่ทับถมในหลายหมู่บ้าน

สถานการณ์น้ำท่วมในเชียงราย

ในช่วงต้นเดือนกันยายน 2567 หลายพื้นที่ในจังหวัดเชียงราย เช่น อำเภอเทิง, อำเภอพญาเม็งราย, อำเภอขุนตาล, และ อำเภอเชียงของ ยังคงมีน้ำท่วมสูง แม้ระดับน้ำจะลดลงวันละประมาณ 10-15 เซนติเมตร แต่ก็ยังคงต้องเฝ้าระวังการมาของมวลน้ำรอบใหม่ที่คาดว่าจะถูกปล่อยมาจากกว๊านพะเยา ซึ่งเป็นต้นน้ำของแม่น้ำอิง มวลน้ำดังกล่าวอาจจะทำให้สถานการณ์กลับมารุนแรงอีกครั้งในไม่ช้า

เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำอิง ทางจังหวัดเชียงรายได้จัดการแจกถุงยังชีพและตั้งโรงครัวพระราชทานในหลายพื้นที่ พร้อมทั้งทำความสะอาดบ้านเรือนที่ถูกน้ำท่วม กรมชลประทานเองก็เร่งระบายน้ำจากแม่น้ำอิงลงสู่แม่น้ำโขงอย่างรวดเร็ว เพื่อคลี่คลายปัญหาที่ชาวบ้านประสบอยู่

การรับมอบสิ่งของบริจาคในเชียงราย

ทางด้านเชียงราย สิ่งของบริจาคจากโครงการ “จากใจคนใต้ ถึงใจพี่น้องคนเหนือ” ได้ถูกส่งมอบของบริจาคมายังทางจังหวัดเชียงราย โดยมีนายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย และนายครรชิต ชมภูแดง หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย เป็นผู้รับมอบสิ่งของและจัดสรรไปยังพื้นที่ที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน

นอกจากทางส่วนกลางจังหวัดเชียงรายแล้ว ยังได้รับสิ่งเพิ่มเติมอีกส่วนหนึ่ง มอบให้กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย โดยมีนายกนก อทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายก อบจ.เชียงราย พร้อมด้วยนายวิญญู ทองทัน เลขานุการนายก อบจ.เชียงราย เป็นผู้ดูแลการรับมอบ นอกจากนี้ นางวรินทร ยานะนวล หัวหน้าฝ่ายสงเคราะห์และฟื้นฟูผู้ประสบภัย กองป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมไปถึงนายจิราวุฒิ แก้วเขื่อน ที่ปรึกษานายก อบจ.เชียงราย และเจ้าหน้าที่การกองป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ร่วมกันประสานงานเพื่อส่งมอบของบริจาคไปยังพื้นที่ประสบภัยที่ยังต้องการความช่วยเหลือ

การร่วมแรงร่วมใจจากทุกภาคส่วน

กิจกรรมในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงานและภาคส่วนในจังหวัดเชียงราย ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์เชียงราย และกำลังพลจาก มณฑลทหารบกที่ 37 (มทบ.37) ทุกฝ่ายได้ร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ทั้งการแจกจ่ายถุงยังชีพ การจัดตั้งโรงครัวพระราชทาน และการประสานงานกับกรมชลประทานในการเร่งระบายน้ำเพื่อลดระดับน้ำท่วมในพื้นที่

การตอบสนองต่อวิกฤตน้ำท่วมในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือของคนไทยจากทุกภูมิภาค พี่น้องคนใต้ที่ร่วมบริจาคสิ่งของเพื่อช่วยเหลือพี่น้องภาคเหนือ และหน่วยงานต่างๆ ที่ทำงานอย่างเต็มที่เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ โครงการ “จากใจคนใต้ ถึงใจพี่น้องคนเหนือ” นับเป็นตัวอย่างที่ดีของความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนไทยในการเผชิญกับภัยพิบัติ

ขอขอบคุณพี่น้องคนใต้

ทางสำนักข่าว นครเชียงรายนิวส์ ในฐานะสื่อท้องถื่นในการประสานงานโครงการ ขอขอบคุณพี่น้องชาวใต้ที่ได้ร่วมบริจาคสิ่งของเพื่อช่วยเหลือพี่น้องภาคเหนือในครั้งนี้ โดยหวังว่าความร่วมมือเช่นนี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้คนไทยทั่วประเทศร่วมแรงร่วมใจกันในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในยามวิกฤต

โครงการ “จากใจคนใต้ ถึงใจพี่น้องคนเหนือ” จึงแสดงให้เห็นถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนไทยในการเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นจากภาคใต้หรือภาคเหนือ ล้วนมีส่วนช่วยให้การช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบภัยเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ ในภาวะที่ประเทศต้องเผชิญกับภัยพิบัติ ความสามัคคีจะทำให้เราสามารถผ่านพ้นวิกฤตไปได้อย่างเข้มแข็ง

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News