Categories
EDITORIAL

บทบาทของการตรวจสอบเพื่อดำรงไว้ซึ่งสัตยธรรม (Integrity)

 

[Eng below]

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของซีรีส์ “Guardians of Good” ถ่ายทอดเรื่องราวความมุ่งมั่นของคนทรูที่มุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางด้านความยั่งยืนของทรู คอร์ปอเรชั่น โดยเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2566 ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้คะแนนการประเมิน  CSA (Corporate Sustainability Assessment) สูงสุดจาก 166 บริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมโทรคมนาคมโลกที่ได้เข้าร่วมการประเมินของ S&P Global และติดอันดับดัชนีความยั่งยืนดาวน์โจนส์ DJSI ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 ปี ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.true.th/blog/djsi/

 

การเปลี่ยนผ่านดิจิทัลของประเทศไทยกำลังเกิดขึ้นอย่างเร็วเร่ง สะท้อนจากการพัฒนาโครงข่าย 5และปัญญาประดิษฐ์ โดย ทรู คอร์ปอเรชั่นถือเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน แพลตฟอร์ม ตลอดจนโซลูชั่นต่างๆ ที่มีความจำเป็นต่อนโยบายประเทศไทย 4.0

 

ด้วยภาระหน้าที่อันยิ่งใหญ่มาพร้อมกับความรับผิดชอบอันใหญ่ยิ่ง เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานต่างๆ สอดรับกับหลักธรรมาภิบาลที่ดี (Good Governance) ทรู คอร์ปอเรชั่น จึงตั้งฝ่ายตรวจสอบภายในและสืบสวนสอบสวน (Internal Audit & Investigation) นำโดย วรัญญา ชื่นพิทธยาธร ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบกระบวนการการควบคุมภายในต่างๆ ขององค์กร ให้เป็นตามนโยบายภายในองค์กร กฎเกณฑ์ภายนอก และมาตรฐานอุตสาหกรรม นอกจากนี้ เธอยังทำหน้าที่รับผิดชอบสืบสวนสอบสวนเหตุแห่งพฤติการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ การทุจริตภายในองค์กร ซึ่งเป็นการปกป้องคุ้มครองชื่อเสียงและทรัพย์สินขององค์กร

 

วรัญญา ได้ร่วมแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับบทบาทและความท้าทายของ ฝ่ายตรวจสอบภายในและสืบสวนสอบสวนซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยสร้างพื้นฐานที่สำคัญขององค์กร ในการสนับสนุนให้ ทรู คอร์ปอเรชั่น พิชิตเป้าหมายสู่การเป็นผู้นำ Telecom-Tech Company ของภูมิภาค

 

ผู้พิทักษ์ความเที่ยงธรรม

 

วรัญญากล่าวถึงความสนใจงานด้านการตรวจสอบของเธอว่า เกิดขึ้นจากความสงสัยใคร่รู้เกี่ยวกับการวิธีการในการดำเนินธุรกิจ การระบุความเสี่ยง และความโปร่งใสทางการเงิน นอกจากนี้ ด้วยธรรมชาติของการตรวจสอบที่เป็นพลวัตน์และโอกาสในการปรับปรุงธรรมาภิบาลองค์กร ตลอดจนการบริหารความเสี่ยงดึงดูดให้เธอทำหน้าที่นี้” กล่าว

 

เธอย้ำว่า การรักษาความเที่ยงธรรม และความเป็นอิสระถือเป็นหัวใจสำคัญของานตรวจสอบภายใน ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานสามารถรักษาสถานะดังกล่าวไว้ได้ ทางฝ่ายได้มีการร่าง “กฎบัตรของฝ่ายตรวจสอบภายในและสืบสวนสอบสวน” (Internal Audit & Investigation Charter) ซึ่งกำหนดบทบาท ความรับผิดชอบ และแนวทางการรายงานอย่างชัดเจน

 

ทั้งนี้ แผนการตรวจสอบภายใน มีความสอดรับกับเป้าหมาย คุณค่า และกลยุทธ์องกร  ทรู คอร์ปอเรชั่น ให้ความสำคัญต่องานตรวจสอบภายใน ฝ่ายตรวจสอบภายในและสืบสวนสอบสวน จำเป็นต้องมีการรายงานต่อคณะผู้บริหารระดับสูง และคณะกรรมการตรวจสอบ ตลอดจนคณะกรรมการบริษัทอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

 

“ความเที่ยงธรรมและความเป็นอิสระ ถือเป็นคุณค่าสำคัญที่คนทำสายงานตรวจสอบภายในต้องรักษาไว้อย่างเข้มงวด โดยสมาชิกในทีม จะมีการตรวจสอบและประเมินผลประโยชน์ทับซ้อนที่อาจเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการปกป้องคุ้มครองผู้เกี่ยวข้อง ทำให้องค์กรดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน ขณะเดียวกัน ยังคงรักษาไว้ซึ่งปราศจากอคติในการปฏิบัติงาน” เธออธิบาย

 

เฝ้าระวัง

 

วรัญญา ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การตรวจสอบภายในของ ทรู คอร์ปอเรชั่น ใช้วิธีการตรวจสอบตามฐานความเสี่ยงเป็นแนวทาง ซึ่งจะครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการประเมินกระบวนการออกแบบ และความมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ซึ่งพิจารณาทั้งด้านธรรมาภิบาลด้านไอที ความมั่นคงทางไซเบอร์ และการปกป้องข้อมูล

 

ทั้งนี้ การประเมินความเสี่ยงจะดำเนินงานตามแผนการตรวจสอบภายใน โดยจะมีการทำงานร่วมกันอย่างกับฝ่ายปฏิบัติการ (first line of defense) และฝ่ายบริหาร (second line of defense) ซึ่งการประเมินดังกล่าวเป็นไปตามกฎหมายและแนวปฏิบัติที่ดี

 

“เราพัฒนาช่องทางสื่อสารแบบเปิดให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกคนได้มีส่วนร่วม โดยจะมีการรายงานผลการตรวจสอบภายใน ต่อคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบยัง โดยการรายงาน มุ่งเน้นความครบถ้วนและกระชับรัดกุมของข้อมูล ระบุถึงประเด็น ผลกระทบ ตลอดจนข้อแนะนำ อย่างตรงเป้า ให้มุมมองต่อเคสต่างๆ ที่ค้นพบอย่างรอบด้าน” เธออธิบาย

 

ทั้งนี้ งานด้านตรวจสอบภายในของ ทรู คอร์ปอเรชั่น จะมีการติดตามผลการปรับปรุงตามข้อแนะนำในประเด็นที่ตรวจพบ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้บริหารดำเนินการตามแผนการปรับปรุงที่ให้ไว้ ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด และมีการสื่อสารกระบวนการดังกล่าวกับผู้บริหารผ่านช่องทางการประชุม Management Committee อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องในเป้าหมาย และการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ

 

โลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว

 

“เราอยู่ในโลกที่เทคโนโลยีถูกพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว รวมถึงบริการด้านโทรคมนาคม เพื่อให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว งานตรวจสอบภายในจึงให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี และกำหนดให้มีการพัฒนาความรู้ ความสามารถ ในการตรวจสอบภายใน โดยนำเอาเทคโนโลยีที่จำเป็นมาใช้ ผ่านการอบรมผู้เชี่ยวชาญ รวมไปถึงการนำเทคโนโลยี อาทิ RPA (Robotic Process Automation) ใช้ในงานตรวจสอบ  นอกจากนี้ เรายังมีการประเมินและปรับใช้เทคโนโลยีในแนวทางการตรวจสอบต่างๆ เพื่อให้เท่าทันและสามารถคุมความเสี่ยงที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น” วรัญญากล่าว

 

วรัญญาและทีม ยืนหยัดต่อการทำหน้าที่พิทักษ์ธรรมาภิบาลและความโปร่งใส ความทุ่มเทเพื่อรักษาไว้ซึ่งความเป็นกลาง ความเป็นอิสระ ความสอดประสานเชิงกลยุทธ์ ตลอดจนความตั้งมั่นและเด็ดเดี่ยวในการประเมิน การควบคุม และการบริหารความเสี่ยง แสดงให้เห็นถึงบทบาทที่สำคัญของงานตรวจสอบภายใน และสืบสวนสอบสวน ต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งธรรมาภิบาลองค์กรในยุคสมัยใหม่ ท่ามกลางพลวัตน์ของเทคโนโลยีที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย งานตรวจสอบภายในและสืบสวนสอบสวน พร้อมแล้วที่จะเดินไปพร้อมความสำเร็จขององค์กร ภายใต้หลักธรรมมาภิบาลที่ดี และพร้อมรับมือกับความท้าทายในโลกยุคดิจิทัลแห่งอนาคต เพื่อมุ่งไปสู่การเป็น Digital Internal Auditor และ Trusted Data & Tech Advisor ของ ทรู คอร์ปอเรชั่น

Good Governance in Tech: The Role of Audits in Safeguarding Integrity

This article is part of the “Guardians of Good” series, which celebrates the people who ensure True Corporation’s commitment to sustainability. As of December 8, 2023, True Corporation achieved the highest CSA score out of XX companies assessed in the telecommunications Industry in the S&P Global Corporate Sustainability Assessment and was listed in the DJSI indices for the sixth year in a row. Find out more here. https://www.true.th/blog/djsi/

Thailand’s digital transformation is picking up speed. From 5G to artificial intelligence, True Corporation plays a critical role in building the infrastructure, platforms and solutions needed for Thailand 4.0. With this outsize role comes equally great responsibilities towards Thai society. To ensure the quality and integrity of its operations, True Corporation relies on its Internal Audit & Investigation function, led by Warunya Chenpitayaton.

Ms. Warunya has been the head of Internal Audit & Investigation at True Corporation since the amalgamation of True and dtac in March 2023. She supervises the Internal Audit and Investigation functions across the company’s diverse business units, ensuring adherence to with internal policies, external regulations, and industry standards. She is also responsible for handling the investigation of fraud and misconduct cases, safeguarding the company’s reputation and assets.

Ms. Warunya shared with us her insights on the role and challenges of the Internal Audit & Investigation function to support and monitor True’s ambitions of becoming a telecom-tech leader in the region.

Guardians of Good

“My inclination towards the audit function developed from my fascination with understanding how business operates, identifying risks, and ensuring financial integrity. The dynamic nature of audits and the opportunity to contribute to improved corporate governance and risk management drew me to this profession,” she said.

Ms. Warunya emphasized that maintaining independence and objectivity is paramount in internal auditing. To achieve this, she said that her team established a robust Internal Audit Charter that clearly outlines their roles, responsibilities, and reporting lines.

Additionally, Ms. Warunya said that the internal audit plans are strategically aligned with the company’s objectives, values and strategies. This requires an ongoing dialogue with senior management and the company board.

“Maintaining independence and objectivity is paramount in internal auditing. We regularly evaluate potential conflicts of interest and implement safeguards. As a result, our audits contribute to the company’s strategic direction while remaining unbiased in our assessments,” she said.

Keeping Watch

Ms. Warunya said that the audit team employs a comprehensive risk-based audit approach. This entails evaluating the design and operating effectiveness of internal controls, including those related to IT Governance, cybersecurity, and data protection.

They evaluate the risks on the areas to be audited under their Internal Audit Plan and collaborate with first and second lines of defense. Their assessments are aligned with industry best practices and regulatory requirements.

“We maintain open channels of communication with our stakeholders. Regularly scheduled meetings with the board and audit committee allow us to present our findings and recommendations. The reports must be very concise, providing a clear overview of the issues identified, potential impact, and suggested actions,” she said.

Ms. Warunya said her function is benchmarked through periodic external and internal assessments in accordance with the Internal Audit Standards. The outcomes are then presented to the Audit Committee for further enhancement initiatives.

A Fast-Changing World

“We are in a fast-changing technology and telecommunications arena. To keep up, the audit function invests in ongoing training and development. We also establish partnerships with experts in emerging technologies, such as RPA [robotic process automation], and collaborate with them to understand potential audit implications. Additionally, we regularly assess and adapt their audit methodologies to incorporate new technology-related risks and controls as they emerge,” Ms. Warunya said.

Ms. Warunya Chenpitayaton and her team stand as guardians of financial integrity and governance. Their dedication to independence, objectivity, and strategic alignment, along with their unwavering focus on assessing internal controls and risk management, underscores the pivotal role of the internal audit function in modern corporate governance. By rigorously measuring their performance, benchmarking, and embracing the technological zeitgeist, they are impeccably poised to navigate the challenges of tomorrow.

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทรู คอร์ปอเรชั่น

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
FEATURED NEWS

ทรู คอร์ปอเรชั่น เปิดตัว Integrity Hotline เครื่องมือเสริมความเชื่อมั่น

 

จากผลสำรวจของบริษัทผู้ตรวจสอบบัญชีระดับโลกชี้ให้เห็นว่า ผู้นำทางธุรกิจกว่า 97% เล็งเห็นความสำคัญของการแสดงออกถึงจุดยืนด้านการดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล จริยธรรม และความรับผิดชอบ (integrity) ขององค์กร ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร คณะกรรมการบริษัท และพนักงานในทุกระดับ ล้วนมีบทบาทสำคัญในการจัดการความเสี่ยงอย่างทันท่วงทีและร่วมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง

ในโอกาสนี้ ขอเชิญไปรู้จักกับ ‘Integrity Hotline’ หรือ ‘สายด่วนธรรมาภิบาล’ เครื่องมือการดำเนินงานสำคัญที่ช่วยบริหารจัดการความเสี่ยงและยกระดับมาตรฐานด้านธรรมาภิบาลของทรู คอร์ปอเรชั่น

สร้างวัฒนธรรมการ Speak Up
การดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล นอกจากจะเป็นการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จที่สำคัญขององค์กรอีกด้วย ทั้งในด้านการรักษาชื่อเสียง การดึงดูดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ไปจนถึงการทำให้ลูกค้า พนักงาน คู่ค้า และสังคมโดยรวม เกิดความไว้วางใจในองค์กรและแบรนด์

 

อย่างไรก็ดี การดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาลต้องอาศัยการบังคับใช้กฎเกณฑ์ที่เข้มข้น โมเดลบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพและทันท่วงที และการกำหนดโครงสร้างองค์กรที่ส่งเสริมความเป็นอิสระและถ่วงดุลอำนาจ (check and balance) สูงสุด


ภายหลังการรวมธุรกิจ ทรูจึงเพิ่มระดับการดำเนินงานด้านธรรมาภิบาลให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น และได้พัฒนา Integrity Hotline เพื่อเป็นช่องทางในการรับเรื่องร้องเรียนความประพฤติหรือการกระทำของพนักงานที่อาจละเมิดต่อหลักธรรมาภิบาล (Code of Conduct) ของบริษัท ซึ่งเปิดให้ทั้งพนักงานและบุคคลภายนอกสามารถมีส่วนร่วมในการแจ้งเบาะแสได้

 

ช่องทาง Integrity Hotline นี้เอง เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถนำหลักธรรมาภิบาลมาปฏิบัติจริงในองค์กร (Governance in action) พร้อมทั้งขับเคลื่อนวัฒนธรรมที่ส่งเสริมให้พนักงานทุกระดับมั่นใจและใช้ช่องทาง ‘speak up’ หรือรายงานสถานการณ์ที่ไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม

 

Whistleblower หยุดยั้งวิกฤต

ก้าวสำคัญสู่การสร้างวัฒนธรรมการ speak up และธรรมาภิบาลที่ดีในองค์กรนั้น คือการให้ความมั่นใจแก่ผู้แจ้งเบาะแสหรือ ‘whistleblower’ ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยยับยั้งความเสี่ยง และจำกัดความรุนแรงที่อาจลุกลามเป็นวิกฤตได้อย่างทันท่วงที จากเหตุการณ์ทั้งในอดีตและปัจจุบันที่เกิดขึ้นในตลาดทุนล้วนเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงบทบาทของ whistleblower และความสำคัญของการมีช่องทางรายงานการละเมิดธรรมาภิบาลที่ไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแส

ปัจจุบัน ช่องทาง Integrity Hotline ของทรู มีผู้เชี่ยวชาญระดับโลกอย่าง EQS Group ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ชั้นนำของยุโรป เป็นผู้ให้บริการ ผ่านมาตรฐาน ISO 27001 ด้านความปลอดภัยของระบบสารสนเทศและข้อมูล มั่นใจได้ว่าข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแส หรือ whistleblower จะไม่ถูกเปิดเผยและได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม โดยผู้แจ้งเบาะแสสามารถเลือกได้ว่าจะเปิดเผยตัวตนหรือไม่ และระบบจะไม่เก็บข้อมูลผู้รายงาน ไม่ว่าจะเป็นรหัสพนักงาน รหัสของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการแจ้งเบาะแส หรืออีเมลก็ตาม


มั่นใจใน 4 ขั้นตอนค้นหาความจริง

ความเชื่อมั่น (trust) ยังถือเป็นแก่นสำคัญในการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายมั่นใจได้ ตั้งแต่ระบบต้นทาง กระบวนการ การตีความ ความสมเหตุสมผล ไปจนถึงปัจจัยแวดล้อม ทรูจึงได้กำหนดกรอบการทำงานที่เข้มข้น ชัดเจน เป็นอิสระสูงสุด สอดรับกับเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และมาตรฐานระดับโลกอย่างดัชนี Dow Jones Sustainability Index (DJSI) โดยในกรณีที่มีการรายงานสถานการณ์หรือพฤติกรรมที่อาจละเมิดต่อหลักธรรมาภิบาลผ่าน Integrity Hotline ทรูจะมีการดำเนินงานใน 4 ขั้นตอนใหญ่ๆ ได้แก่

 

  • ขั้นตอนที่ 1 Risk assessment เป็นการประเมินความน่าเชื่อถือของการรายงานนั้นๆ เพื่อป้องกันการใช้ช่องทาง Integrity Hotline เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้ง

 

  • ขั้นตอนที่ 2 Categorization เมื่อประเมินแล้วว่ารายงานที่ได้รับนั้นมีความน่าเชื่อถือเพียงพอ ทางทีม Investigation จะมีการจัดชั้นความเสี่ยงของรายงานข้อกังวลนั้นตามนโยบายของบริษัท เพื่อบริหารจัดการตามความเหมาะสม โดยมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญดำเนินการตามแต่ละประเภทของความเสี่ยง

 

  • ขั้นตอนที่ 3 Fact-finding การตรวจสอบข้อเท็จจริง จะมีการตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการและพิจารณาโดยเฉพาะ และมีผู้เกี่ยวข้องกับประเด็นนั้นๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบ โดยดำเนินงานภายใต้ความอิสระ รวมถึงในบางกรณีอาจมีผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกที่มีชื่อเสียงและเป็นอิสระมาดำเนินการ เพื่อป้องกันการเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน (conflict of interest) และเพิ่มความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน

 

  • ขั้นตอนที่ 4 Filing report เมื่อพิจารณาข้อร้องเรียนเรียบร้อยแล้ว คณะทำงานจะส่งเรื่องต่อให้คณะกรรมการ DAC (Disciplinary Action Committee) เพื่อพิจารณาหาแนวทางที่เหมาะสม ในการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการทำงานให้ดีขึ้น รวมถึงพิจารณาบทลงโทษทางวินัย กรณีที่รายงานข้อกังวลนั้นเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นไปตามนโยบายบริษัท  

 

มาร่วมกันเป็นหูเป็นตาเพื่อสร้างธรรมาภิบาลที่ดีในองค์กรและตลาดทุน หากผู้ใดพบเห็นสิ่งผิดปกติ สามารถแจ้งเบาะแสได้ที่ https://truecorp.integrityline.com/  

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทรู คอร์ปอเรชั่น

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News