Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE VIDEO

(มีคลิป) การแสดงชุดพิเศษ “ฟ้อนเจิงสาวไหม – ตบมะผาบ”

 
ฟ้อนเจิง ลายสาวไหม เชิง หรือ เจิง เป็นศิลปะลีลาท่าฟ้อนมือเปล่าของชายหนุ่มชาวล้านนา มีท่วงท่าหลากหลาย ได้แรงบันดาลใจจากธรรมชาติรอบตัว เช่น ท่าเสือ เสือเล่นฮอก(กะรอก) เสือลากหาง ท่าช้าง ช้างงาบานเดินอาจหรือท่าทางในการทำงานประจำวัน เช่น สาวไหม ปั่นฝ้าย ผ่าฟืน ฯลฯ
 
 
นอกจากนี้ ยังมีแม่ท่า “ตบมะผาบ” (มะผาบ = ประทัด) ด้วยการใช้ฝ่ามือตบไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกายผู้ฟ้อนให้เกิดเสียงดังคล้ายเสียงจุดประทัด ดูแล้วเกิดความรู้สึกตื่นเต้นเร้าใจ
เพลงที่ใช้ประกอบในครั้งนี้ บรรเลงโดยปี่พาทย์พื้นเมือง ชื่อ เพลงมวย ต้นเพลงจะเนิบช้า ฟ้อนแม่ท่าสาวไหม แล้วเปลี่ยนเป็นจังหวะเร็ว ผู้ฟ้อนก็จะใช้แม่ท่าตบมะผาบ
 
.
ซึ่งชุดการแสดงนี้ได้รับเกียรติจาก พิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ฟ้อนเจิงสาวไหม โดย นิสิตระดับมหาบัณฑิต พัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย เชียงราย (มจร.เชียงราย) ประกอบ “เพลงมวย” บรรเลงโดย วงปี่พาทย์พื้นเมืองเชียงราย วัดท่าไคร้ บ้านเมืองรวง ต.แม่กรณ์ อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย ในงานถวายสลากภัต (ตานก๋วยสลาก) ในวันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม 2566 ณ วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย (ส่วนแยกบ้านน้ำลัด) มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

เจ้าอาวาสวัดพระธาตุผาเงา อ.เชียงแสน เป็นประธานพิธีถวายสลากภัต (ตานก๋วยสลาก)

 

วันที่ 1 ตุลาคม 2566 ดังนี้ พระเดชพระคุณพระพุทธิญาณมุนี (ประเสริฐ ปญฺญาวชิโร) เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เจ้าอาวาสวัดพระธาตุผาเงา อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นประธานพิธีถวายสลากภัต (ตานก๋วยสลาก) ในวันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม 2566 ณ วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย (ส่วนแยกบ้านน้ำลัด) มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

    จัดโดย วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย งานถวายสลากภัต (ตานก๋วยสลาก) เป็นประเพณีที่จะเริ่มในเดือน 12 เหนือ หลังเข้าพรรษาได้ 2 เดือน ซึ่งเป็นโอกาสทำบุญอุทิศให้ผู้ล่วงลับ โดยการถวายสลากภัตนั้นเป็นการถวายที่ไม่ได้เฉพาะเจาะจงรูปใดรูปหนึ่งเป็นการเฉพาะ ซึ่งจะเป็นการถวายที่มีอานิสงส์มาก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและเป็นการส่งเสริมให้นิสิตตระหนักในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมซึ่งสอดคล้องตามคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ คือ มีความรู้ คู่คุณธรรม นำสันติสุข โดยมีกิจกรรมสำคัญ ดังนี้

  1. ขบวนแห่สลากที่วัดน้ำลัด แห่เข้ามาที่วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย
  2. การแสดงชุดพิเศษ “ฟ้อนเจิงสาวไหม – ตบมะผาบ” โดย นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรม ฟ้อนเจิงสาวไหม

โดย คุณพิสันต์ จันทร์ศิลป์ นิสิตระดับมหาบัณฑิต พัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย เชียงราย (มจร.เชียงราย)

ประกอบ “เพลงมวย”

บรรเลงโดย วงปี่พาทย์พื้นเมืองเชียงราย

วัดท่าไคร้ บ้านเมืองรวง ต.แม่กรณ์ อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย

  1. การแสดงศิลปวัฒนธรรมฟ้อนต่าง ๆ ของนิสิต และพุทธศาสนิกชน
  2. ดนตรีปี่พาทย์พื้นเมืองเชียงราย คณะวัดท่าไคร้ ชุมชนคุณธรรมต้นแบบ 10 สุดยอดเที่ยวชุมชนยลวิถี บ้านเมืองรวง ตำบลแม่กรณ์ อำเภอเมืองเชียงราย
  3. การถวายภัตตาหารเพล
  4. พิธีถวายทานสลากภัต (ตานก๋วยสลากภัต)
  5. การนำกัณฑ์สลากภัตที่เหลือบำรุงมหาวิทยาลัยเข้ามาถวาย
  6. การออกโรงทานเพื่อบริการอาหารและเครื่องดื่มให้แก่พุทธศาสนิกชน

   ในโอกาสนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นางสาวสุพิชชา ชุ่มมะโน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นิสิต ป.โท พัฒนาสังคมรุ่นที่ 4 นายสุพจน์ ทนทาน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ ผู้ประสานงานวัฒนธรรม อ.เมืองเชียงราย และนายพร้อมพงษ์ ทาสิทธิ์ ข้าราชการและบุคลากรสำนักวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เข้าร่วมงาน อำนวยความสะดวกให้แด่พระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนที่เข้ามาร่วมง

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News