Categories
SOCIETY & POLITICS

รัฐมนตรีเกษตรฯ นำทีม “พญานาคราช” ตรวจด่านนำเข้า ยืนยันโปร่งใส ตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน

 

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังนำทีมพญานาคราชลงพื้นที่ติดตามการตรวจสอบสินค้าเกษตรนำเข้า ทั้งด้านพืช ประมง และปศุสัตว์ โดยมีนายสมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ ศูนย์เอกซเรย์และเทคโนโลยีศุลกากร สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ว่า ในวันนี้กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมปศุสัตว์ กรมวิชาการเกษตร กรมประมง ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี นายอำเภอแหลมฉบัง และกรมศุลกากร บูรณาการเข้าสุ่มตรวจตู้คอนเทนเนอร์สินค้าเกษตรที่คงค้าง ณ หน้าด่านเกินกว่า 45 วัน หลังจากที่กรมศุลกากรได้แจ้งผู้ประกอบการให้เข้ามายื่นเอกสารการเสียภาษีและสำแดงรายการสินค้าภายในตู้ จำนวน 25 ตู้ จากทั้งหมด 95 ตู้ 

 

ซึ่งก่อนหน้านี้ดำเนินการตรวจไปแล้ว 70 ตู้ โดยได้รับรายงานจากกรมศุลกากรว่าเป็นตู้ตกค้างและสำแดงรายการไม่ตรงตามความเป็นจริง ซึ่งเบื้องต้นสามารถเข้าตรวจสอบได้ 5 ตู้ มีสินค้าเกษตรอยู่ภายในทั้งสิ้น และจากนี้กรมศุลกากรจะดำเนินการส่งหนังสือไปยังหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่เกี่ยวข้องตามประเภทสินค้าที่ตรวจพบเพื่อรับมอบตู้ดังกล่าวไปทำลาย สำหรับ 20 ตู้ที่ไม่สามารถเปิดตรวจได้ในวันนี้เนื่องจากต้องขนย้ายลงมาจากที่สูง ได้มอบหมายให้อธิบดีทั้ง 3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเปิดตู้ตรวจสอบ และรายงานความคืบหน้ามายังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรต่อไป สำหรับ 161 ตู้คอนเทนเนอร์ที่ตรวจพบว่าเป็นหมูเถื่อนก่อนหน้านี้ 

 

ได้ดำเนินการทำลายตามกระบวนการจนหมดสิ้นแล้ว พร้อมทั้งมีหลักฐานการทำลายทุกตู้ สามารถตรวจสอบได้ และเตรียมแถลงผลการดำเนินงานในเร็ว ๆ นี้ นอกจากนี้ รัฐมนตรีเกษตรฯ กล่าวทิ้งท้ายว่า “มาตรการต่อจากนี้ ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าเกษตรทั้งหมด จะร่วมกันบูรณาการการดำเนินงานร่วมกัน โดยจะมีการลงนาม MOU เพื่อให้เกิดการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ปิดช่องโหว่และขจัดขบวนการนำเข้าสินค้าเกษตรผิดกฎหมายให้สิ้นซาก ขณะเดียวกัน ได้ประสานความร่วมมือกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ดำเนินการขยายผลไปจนถึงต้นตอของขบวนการ ทั้งหมดนี้เป็นไปตามนโยบายรัฐบาลที่มุ่งหวังจะแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน รวมทั้งเป็นการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ เกษตรกรมีรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นนั่นเอง”

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME
Categories
SOCIETY & POLITICS

ยกระดับ Soft Power ไหมไทย “14 ปี กรมหม่อนไหม สืบสานภูมิปัญญา พัฒนาสู่ความยั่งยืน”

 
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงาน
วันคล้ายวันสถาปนากรมหม่อนไหม เนื่องในโอกาสครบรอบ 14 ปี “14 ปี กรมหม่อนไหม สืบสานภูมิปัญญา พัฒนาสู่ความยั่งยืน” ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 4 – 6 ธันวาคม 2566 โดยมี นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ กรมหม่อนไหม ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมหม่อนไหม จัดตั้งขึ้นตามพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ด้วยพระองค์ทรงมีพระราชปณิธานที่จะส่งเสริมอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เพื่อสร้างรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร อันนำมาสู่การสถาปนา กรมหม่อนไหมขึ้น เพื่อเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบด้านการส่งเสริม วิจัย และพัฒนาหม่อนไหมทั้งระบบ รวมถึงการอนุรักษ์สืบสานศิลปหัตถกรรมภูมิปัญญาไหม ให้คงอยู่คู่ประเทศไทย
 

     รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการจัดงานวันคล้ายวันสถาปนากรมหม่อนไหม ครบรอบ 14 ปี ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ รวมถึงผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและภารกิจสำคัญของกรมหม่อนไหมที่ดำเนินงานต่อไปในอนาคต ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมหม่อนไหมได้ดำเนินงานภายใต้ภารกิจสำคัญเพื่อทำให้เกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมีอาชีพและสามารถสร้างรายได้ที่มั่นคง สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ 20 ปี และนโยบายสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร เสริมสร้างความมั่นคงในอาชีพเกษตรกรรม โดยใช้การตลาดนำการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ยกระดับมาตรฐานสินค้า เพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนพัฒนาสินค้าผ้าไหมไทยให้เป็นที่ยอมรับมุ่งสู่ Soft Power ของไทย
 

      ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบโล่รางวัลและใบประกาศเกียรติคุณแก่นักวิจัยด้านหม่อนไหม พร้อมแสดงความยินดีถึงต้นแบบในการดำเนินการพัฒนางานด้านหม่อนไหม รวมทั้งมีส่วนช่วยเหลืองานด้านหม่อนไหมทั้งในระดับดับจังหวัด ระดับเขต และระดับประเทศ
 

      นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการจัดนิทรรศการนำเสนอผลงานของกรมหม่อนไหม แนวทางการยกระดับ “หม่อนไหมพะเยา” สู่ความยั่งยืน การยกระดับผลิตภัณฑ์หม่อนไหมรองรับ BCG Model ผ้าอัตลักษณ์จังหวัดหนองบัวลำภู (ผ้าหมี่สลับขิด) การพัฒนาผ้าไหมยกดอกลำพูน ด้วยภูมิปัญญาโดยใช้เส้นไหมไทย เทคโนโลยีพันธุ์ไหมที่เหมาะสมแก่การผลิตผ้าห่มใยไหมการผลิตเส้นไหมไทยสาวมือ มกษ.5900-2565 Buriram Model และการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตหม่อนไหมระบบแปลงใหญ่ เป็นต้น รวมถึงภายในงานมีการจัดจำหน่ายผ้าไหม ผลิตภัณฑ์หม่อนไหมจากเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และผู้ประกอบการ เพื่อเป็นช่องทางการตลาดให้กับเกษตรกรอีกด้วย
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
SOCIETY & POLITICS

รมว.เกษตรฯ เน้น 3 นโยบายหลัก สร้างเสถียรภาพยางพารา

 

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบนโยบายขับเคลื่อนการบริหารยางพารา โดยมีนายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้บริหารระดับสูงของการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) นำโดย นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการ กยท. คณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย พนักงานในสังกัด ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค เข้าร่วม ณ ห้องประชุมกันตัง กยท. สำนักงานใหญ่


           รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ต้องการมาพบปะและหาแนวทางการขับเคลื่อนงานร่วมกัน ซึ่งต้องการให้ทุกภาคส่วนร่วมบูรณาการการทำงานไปพร้อมกัน โดยมุ่งเน้น 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การปรับสมดุลปริมาณยางพาราในประเทศ ได้มอบหมายให้ กยท. ร่วมกับกรมวิชาการเกษตร ตรวจสอบสต็อกยางพาราให้ตรงกัน รวมถึงให้ตรวจสอบจำนวนสวนยางที่ขึ้นทะเบียนและไม่ขึ้นทะเบียน เพื่อจัดทำเป็น Big data ใช้ในการบริหารจัดการยางให้เกิดเสถียรภาพ 2) การปราบปรามการนำเข้าสินค้าภาคการเกษตรมาสู่ราชอาณาจักรแบบผิดกฎหมาย จะต้องเอาจริงเอาจัง และมีบทลงโทษอย่างเด็ดขาดสำหรับผู้กระทำผิด และ 3) ดึงภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุนกับ กยท. โดยมีแนวทางในการสร้างโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์จากยางพารา เช่น ยางล้อรถยนต์ เป็นต้น เพื่อใช้ในส่วนราชการ และใช้ภายในประเทศ รวมทั้งส่งเสริมการส่งยางออกนอกราชอาณาจักรด้วย


        “อย่างไรก็ตาม เชื่อมั่นว่าภายใต้การกำกับดูแลของผู้บริหาร กยท. จะสามารถเดินหน้าหามาตรการต่าง ๆ มาขับเคลื่อนให้ราคายางดียิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาราคาจะขยับขึ้น แต่จะต้องดีกว่านี้ เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยางอยู่ดีกินดี และสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องชาวสวนยางให้ดียิ่งขึ้นต่อไป” ร้อยเอก ธรรมนัส กล่าว

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
NEWS UPDATE

“รมว.ธรรมนัส” เผย คปก. เคาะชื่อ “โฉนดเพื่อเกษตรกรรม”

 
 ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คปก.) ครั้งที่ 6/2566 ณ ห้องประชุมไชยยงค์ ชูชาติ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ ว่า การประชุมในครั้งนี้ เพื่อติดตามความคืบหน้าการยกระดับเอกสารสิทธิเป็นโฉนดที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตามที่ประชุม คปก. ครั้งที่ 5/2566 เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2566 ได้มีมติเห็นชอบหลักการปรับปรุงเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 เพื่อยกระดับเป็นโฉนดที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม 11 ข้อ พร้อมแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณากฎหมายและระเบียบ คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อปรับปรุงสิทธิการถือครองที่ดิน ส.ป.ก. เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการดังกล่าว ซึ่งคณะอนุกรรมการได้ประชุมพิจารณาแก้ไขระเบียบ คปก. ที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2566 เพื่อเสนอ คปก. พิจารณาในวันนี้ 
 

        โดยที่ประชุม คปก. ในวันนี้ ได้มีมติรับทราบความก้าวหน้าในการแก้ไขระเบียบ คปก. ทั้ง 3 ฉบับ ตามที่คณะอนุกรรมการเสนอ ซึ่งถือว่าเป็นความคืบหน้าตาม Roadmap ที่ได้วางไว้ในการยกระดับเอกสารสิทธิเป็น “โฉนดเพื่อเกษตรกรรม” ซึ่งหลังจากนี้ ส.ป.ก. จะได้นำร่างระเบียบ คปก. ทั้ง 3 ฉบับ ไปดำเนินการทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากเกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายต่อไป และจะนำกลับมาให้ คปก. เห็นชอบร่างฉบับสุดท้าย เพื่อให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ลงนามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลบังคับใช้ทันภายในวันที่ 15 ธันวาคม 2566 และจะเริ่มแจกโฉนดเพื่อเกษตรกรรมฉบับแรกได้ทันวันที่ 15 มกราคม 2567 อย่างแน่นอน
 

        ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการได้ดำเนินการปรับปรุงระเบียบ คปก. ภายใต้กรอบแนวทางจำนวน 4 ข้อ ดังนี้
        1) เห็นควรกำหนดชื่อเอกสารว่า “โฉนดเพื่อเกษตรกรรม 2) กำหนดแนวทางในการเปลี่ยนมือไว้ 2 วิธี คือ การตกทอดทางมรดก และการซื้อขายหรือการจำนองแบบมีเงื่อนไข โดยไม่ใช่การซื้อขายหรือจำนองกับนายทุน 3) กำหนดให้มีการตรวจสอบติดตามการใช้ประโยชน์ในที่ดิน โดยกำหนดโครงสร้างการตรวจสอบที่มีทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยอาจแต่งตั้งคณะทำงานหรือคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบติดตามทุก 5 ปี โดยมีคณะกรรมการจังหวัดซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน และปฏิรูปที่ดินจังหวัด เป็นฝ่ายเลขานุการ และ 4) กำหนดให้มีการบูรณาการโดยนำสหกรณ์การเกษตร กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้การปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น โดยไม่เป็นการสร้างองค์กรใหม่
 

        “ สำหรับการเปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นโฉนดเพื่อเกษตรกรรมต้องมีเงื่อนไขว่า จะต้องเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสหกรณ์ และถือครองทำประโยชน์เกิน 5 ปี ขึ้นไป โดยมอบหมายให้ ส.ป.ก. ทุกจังหวัด เร่งสำรวจตัวเลขว่ามีกี่ราย ทั้งนี้ จะต้องมีแนวทางป้องกันไม่ให้โฉนดตกไปอยู่ในมือของกลุ่มนายทุน โดยจะต้องมีการตรวจสอบทุก 5 ปี ว่าเกษตรกรนำที่ดินไปใช้ประโยชน์จริงหรือไม่ ยืนยันว่าไม่ได้มีการแก้กฎหมาย แต่เป็นการใช้ระเบียบของ ส.ป.ก. อย่างไรก็ตาม จะมีการประชุม คปก. อีกครั้ง ในวันที่ 23 พ.ย.66 นี้” ร้อยเอก ธรรมนัส กล่าว
 

        รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กล่าวย้ำว่า พี่น้องเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินทุกคนจะได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้และจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน และโฉนดเพื่อเกษตรกรรมนั้นมีสิทธิไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่าโฉนดที่ดินของกระทรวงมหาดไทย เพราะนอกจากพี่น้องเกษตรกรจะได้รับที่ดินทำกินแล้ว ส.ป.ก. ยังเข้าไปพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จำเป็นทั้งถนน แหล่งน้ำ ระบบกระจายน้ำ ระบบไฟฟ้า ที่อยู่อาศัย เป็นต้น รวมถึงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ การสนับสนุนเงินทุนในการประกอบอาชีพ และขอฝากทิ้งท้าย เชิญชวนให้เกษตรกรเข้ามาทำประชาพิจารณ์ด้วย
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
SOCIETY & POLITICS

รมว.เกษตรฯ เยี่ยมชมการเลี้ยงควายปลัก มรดกโลกแห่งแรกของไทย

 

 ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เยี่ยมชมการเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย พื้นที่มรดกทางการเกษตรโลก (Globally Important Agricultural Heritage System : GIAHS) แห่งแรกของประเทศไทย ณ จุดชมวิว (บ้านแฝด) ต.พนางตุง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ซึ่งการเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย” เป็นระบบการทำการเกษตร (ปศุสัตว์) ที่สืบทอดมายาวนานมากกว่า 250 ปี มีเอกลักษณ์โดดเด่นอยู่ที่การอยู่ร่วมกันของชุมชนกับธรรมชาติ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ วิวัฒนาการของทำการเกษตรอย่างยั่งยืน และการอนุรักษ์ระบบนิเวศให้สมดุล โดยเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565 องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization: FAO) ได้ประกาศรับรองพื้นที่ดังกล่าวเป็นมรดกทางการเกษตรโลก

 


        สำหรับพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย ตั้งอยู่บริเวณทิศเหนือของทะเลสาบสงขลา เป็นทะเลสาบแบบลากูน เชื่อมลุ่มน้ำปากพนังและลุ่มน้ำสงขลาเข้าด้วยกัน ซึ่งภายในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยประกอบไปด้วยระบบนิเวศย่อยมากมาย อาทิ ป่าพรุ ทุ่งหญ้า เนินสูง และบึงน้ำ ส่งผลให้มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง โดยเฉพาะการเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกน้ำมากกว่า 200 สายพันธุ์ และเป็นจุดพักของนกอพยพตามเส้นทางการบินของเอเชียตะวันออกถึงออสเตรเลีย นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าที่มีสถานะอนุรักษ์และเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ส่งผลให้พื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยได้รับการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าและพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar site) แห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งบทบาทสำคัญในระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยยังทำหน้าที่นิเวศบริการหล่อเลี้ยงผู้คนกว่า 50,000 คน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 3 จังหวัดทางภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช (ตำบลเคร็งและตำบลแหลม) จังหวัดพัทลุง (ตำบลทะเลน้อยและตำบลพนางตุง) จังหวัดสงขลา (ตำบลบ้านขาว) ที่พึ่งพิงอาศัยทรัพยากรจากพื้นที่ชุ่มน้ำโดยตรง ก่อให้เกิดวิถีการทำการเกษตรที่หลากหลายและมีอัตลักษณ์โดดเด่น เช่น วิถีการเลี้ยงควายปลัก การทำหัตถกรรมกระจูด การปลูกข้าว “นาริมเล” และการทำประมงโดยใช้ยอยักษ์เป็นเครื่องมือทำการประมง เป็นต้น

 


        ทั้งนี้ การเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย สะท้อนสมดุลระหว่างวิถีชีวิตคนกับระบบนิเวศและการปรับตัวเพื่อให้สามารถทำกินในพื้นที่อนุรักษ์ได้อย่างเหมาะสม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร กระจายรายได้สู่ชุมชนท้องถิ่น ช่วยยกระดับการท่องเที่ยวของจังหวัดให้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ระบบเกษตรที่สำคัญของโลก และจะนำไปสู่การแผนจัดการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนที่สร้างสมดุลทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์มาตรฐานสากลต่อไปให้อนาคต โดยพื้นที่ดังกล่าว มีเกษตรกรผู้เลี้ยงควาย 228 ราย จํานวนควาย 4,480 ตัว และมีกลุ่มผู้เลี้ยงควาย 17 กลุ่ม

 


        อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ ได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ในการจัดการทรัพยากรทางการเกษตร เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านอาหาร รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพให้เกิดความยั่งยืน ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชน นอกจากนี้ ยังมอบหมายกรมชลประทาน บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมเจ้าท่า โยธาธิการจังหวัด และหน่วยพัฒนาเคลื่อนที่ นำเครื่องจักรเครื่องมือมาดำเนินการขุดลอกคลอง เพื่อเก็บกักวัชพืชที่ทำลายระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย

 


        นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังได้เยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมกระจูดวรรณี (Varni) ซึ่งเป็นหนึ่งในวิสาหกิจชุมชนต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ สร้างความมั่นคงในอาชีพ ก่อตั้งขึ้นโดย นางวรรณี เซ่งฮวด ภายใต้การส่งเสริมของสำนักงานเกษตรอำเภอควนขนุน และสำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง มีผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น คือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกระจูด ผ่านแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่ผสมผสานระหว่างภูมิปัญญา เทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมถึงการนำวัสดุอื่น ๆ จนได้ผลิตภัณฑ์ที่สวยงาม แปลกใหม่ และมีคุณภาพ นำมาสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กระจูด และสร้างงานให้คนในชุมชนกว่า 200 คน นำรายได้เข้าสู่ชุมชนกว่าปีละ 4 ล้านบาท

 

 

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
SOCIETY & POLITICS

‘ธรรมนัส’ ร่วมงานครบรอบ 51 ปี พร้อมมอบนโยบายกรมวิชาการเกษตร

 

 ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในโอกาสเป็นประธานพิธีอ่านสารแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสวันสถาปนากรมวิชาการเกษตร ครบรอบ 51 ปี โดยมี นายอภัย สุทธิสังข์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 314 ตึกกสิกรรม กรมวิชาการเกษตร ว่า นโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในปี 2566 นี้ มุ่งมั่นที่จะเดินหน้าในการการสร้างรายได้ สร้างโอกาสและสร้างคุณภาพชีวิตโดยใช้หลักการ “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี 

 

โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการภาคเกษตรที่ครบถ้วนทุกด้าน ตั้งแต่ดิน น้ำ พันธุ์พืช นวัตกรรม ด้วยการ สนับสนุนให้ปลูกพืช ให้เหมาะสมกับพื้นที่พัฒนาพันธุ์พืชที่ตอบโจทย์ความต้องการของเกษตรกร การใช้สารชีวภัณฑ์ลดการใช้สารเคมี รวมถึง การประกาศสงครามกับปุ๋ย และเคมีเกษตรปลอม ตลอดจนทำสงครามกับศัตรูพืช


      รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ในโอกาสที่กรมวิชาการเกษตรก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 6 กรมวิชาการเกษตร ต้องมีอุปกรณ์ห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย สามารถให้บริการตรวจสอบรับรองที่ฉับไว ห้องปฏิบัติการแห่งอนาคต “DOA Future Lab” จึงเป็นการยกระดับเทคโนโลยีนวัตกรรม ห้องปฏิบัติการที่ล้ำสมัยของกรมวิชาการเกษตรทั่วประเทศ เพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขัน ลดปัญหาและอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ ด้วยการยกระดับห้องปฏิบัติการส่วนภูมิภาคให้ได้ มาตรฐานระดับสากล ที่เป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงระดับประเทศ และระดับนานาชาติ 

 

รวมทั้ง การพัฒนาผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมสมัยใหม่ ที่สามารถนำไปต่อยอดใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง สร้างคุณค่าให้กับองค์กรให้เติบโต เข้มแข็งขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ให้กับการพัฒนาการเกษตรของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ และยั่งยืน


        สำหรับแนวทางในการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ  มาเป็นแนวทางปฏิบัติภายใต้ภารกิจของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งมีโครงการที่กรมวิชาการเกษตรที่สามารถดำเนินการตามได้ทันที ได้แก่ การประกาศสงครามกับศัตรูพืช เช่น หนอนเจาะผลทุเรียน  โรคใบด่างมันสำปะหลัง เข้มงวดการตรวจสินค้านำเข้าเพื่อป้องกันการลักลอบนำเข้าสินค้าผิดกฎหมาย เร่งการวิจัยพัฒนาพืชที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงเพื่อยกระดับสินค้าเกษตร  และเสริมศักยภาพเกษตรกร Plant Base Food  ส่งเสริมการจัดการ Carbon Credit ในพืชเศรษฐกิจที่สำคัญเพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกร  

 

การแก้ปัญหาฝุ่น ควัน PM 2.5 ภาคการเกษตร  และการเตรียมการเพื่อรองรับการแก้ไขปัญหา Climate Change รวมถึง การพัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญและยกระดับให้เป็น MR พืช ผลักดันในการส่งออกผัก และผลไม้ไทยโดยเฉพาะทุเรียนให้มีมูลค่าการส่งออกปีละกว่า 2 แสนล้านบาท  โดยจัดทำ ”จันทบุรี โมเดล” ให้เป็นต้นแบบการขยายผลทุเรียนคุณภาพไปทั่วทุกภูมิภาค

 

       ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมวิชาการเกษตร ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2515 โดยตลอดระยะเวลา 50 ปีมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทางด้านการเกษตรที่สำคัญอย่างต่อเนื่อง ผลิตผลงานวิจัยที่สำคัญและนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่มีประโยชน์สำหรับเกษตรกร  รวมถึงการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตให้แก่เกษตรกร  สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรไทย และยังมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำสร้างนวัตกรรม งานวิจัย เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในภาคการเกษตรของประเทศไทย 

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
FEATURED NEWS

‘ธรรมนัส’ ลุย 3 จังหวัด ‘ลำปาง แพร่ สุโขทัย’

 
   ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่รับฟังปัญหาและร่วมหาแนวทางแก้ไขปัญหาสถานการณ์น้ำ พร้อมทั้งแจกถุงยังชีพแก่พี่น้องประชาชนที่เดือดร้อนจากอุทกภัย ณ เทศบาลตำบลแม่ปุ อ.แม่พริก และบ้านต้นธง อ.เมือง จ.ลำปาง

        สำหรับจังหวัดลำปาง มีพื้นที่ 7,833,726 ไร่ เป็นพื้นที่เกษตรกรรม 1,036,512 ไร่ หรือร้อยละ 13.23 พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง สับปะรด ส้มเกลี้ยง และยางพารา ซึ่งในช่วง 27 – 30 ก.ย. 66 ที่ผ่านมา เกิดในตกหนัก น้ำล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนและพื้นที่เกษตร จำนวน 8 อำเภอ 35 ตำบล 144 หมู่บ้าน ปัจจุบันมีการประการเขตภัยพิบัติ จำนวน 5 อำเภอ

        “สิ่งสำคัญที่ต้องกลับมาคิดคือการแปรรปรวนของสภาพภูมิอากาศ ที่ต้องเร่งหาแนวทางแก้ไขปัญหา ทั้งในเรื่องภัยแล้งและน้ำท่วม อย่างไรก็ตาม สำหรับสถานการณ์อุทกภัยในครั้งนี้ ได้มอบหมายกรมชลประทานจัดเตรียมเครื่องจักร-เครื่องมือ พร้อมเจ้าหน้าที่คอยให้ความช่วยเหลือราษฎรแต่ละพื้นที่ และบูรณาร่วมกับส่วนท้องถิ่น และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เข้าช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน พร้อมสั่งให้จัดทำแผนการดำเนินงานในแต่ละพื้นที่ และในภาพรวมของจังหวัด ตรงไหนที่สามารถเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำได้ให้ดำเนินการทันที” ร้อยเอก ธรรมนัส กล่าว

         ทั้งนี้ ในปี 2567 กรมชลประทานมีแผนดำเนินการในการสร้างอ่างเก็บน้ำ จำนวน 2 แห่ง และแก้มลิ้ง 2 แห่ง เพื่อเก็บกักน้ำในพื้นที่ต้นน้ำและลุ่มน้ำสาขา อีกทั้งยังเป็นการช่วยเหลือทางด้านการเกษตรและบรรเทาอุทกภัย
        นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังได้ลงพื้นที่เพื่อรับฟังปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและแจกถุงยังชีพ ณ อ่างเก็บน้ำแม่แย้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.แพร่ และประตูระบายน้ำ หาดสะพานจันทร์ จ.สุโขทัย ด้วย
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
SOCIETY & POLITICS

ธรรมนัส ย้ำชัด! ต้องขับเคลื่อนนโยบาย ของรัฐบาลด้านการเกษตร

 

 เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบนโยบายขับเคลื่อนงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีนายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวรายงาน มีคณะผู้บริหารระดับสูงทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เข้าร่วม ณ ห้องประชุมธารทิพย์ 01 ชั้น 4 อาคาร 99 ปี หม่อมหลวงชูชาติ กำภู กรมชลประทานสามเสน พร้อมนี้ ได้เปิดการประชุมผ่านระบบการประชุมทางไกลออนไลน์ Application Zoom และทาง Facebook Live กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้เจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และทุกหน่วยงานทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และต่างประเทศ รวมกว่า 7,300 คน ตลอดจนสื่อมวลชนรับฟังอย่างทั่วถึง


                  โอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ภารกิจของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความสำคัญอย่างมากในการดูแลพี่น้องเกษตรกร สถาบันเกษตรกร ให้อยู่ดีมีสุข มีรายได้อย่างมั่นคง ภาคเกษตรไทย จะต้องแข็งแกร่ง มีศักยภาพการแข่งขันที่ทัดเทียมหรือดีกว่าสินค้าเกษตรต่างประเทศ โดยมีนโยบายและงานหลักสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประการแรกคือ การขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลด้านการเกษตร ที่นายกรัฐมนตรีได้แถลงเมื่อวันที่ 11-12 กันยายน 2566 ไปสู่การปฏิบัติให้เป็นผลสำเร็จ


                   นอกจากนี้ ยังมีนโยบายและงานสำคัญที่จะเร่งผลักดันดำเนินการในประเด็นต่างๆ ดังนี้
                 เน้นการสร้างวิธีการทำงานสู่การปฏิบัติ ได้แก่ 1)การจัดตั้งศูนย์บริการประชาชนภาคการเกษตรโดยเป็นศูนย์บริการร่วม เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน และพี่น้องเกษตรกร เพื่อให้สามารถติดต่อสอบถาม ขอทราบข้อมูล และรับเรื่องร้องเรียน คลายทุกข์ให้แก่พี่น้องเกษตรกร ณ ศูนย์บริการร่วมเพียงแห่งเดียว 2) สร้างครอบครัวเกษตร บูรณาการงานเข้มแข็งเน้นการทำงานของทุกคนทุกหน่วยงาน ต้องทำงานเป็น Team Work ให้มีศักยภาพเพื่อการทำงานระบบทีมมีประสิทธิภาพ มุ่งมั่น ร่วมแรงร่วมใจบรรลุเป้าหมายให้สำเร็จ3) ขับเคลื่อนภารกิจ ยกระดับ MR. สินค้าเกษตรโดยฟื้นฟู ยกระดับการทำงานของ MR. สินค้าเกษตร อีกครั้ง สินค้าเกษตรทุกชนิดต้องมีผู้รับผิดชอบ เน้นทำงานเชิงรุก สร้างกลไกการทำงานร่วมกันในทุกสินค้า แก้ปัญหาถูกจุด ทั้งด้านสินค้าล้นตลาด ราคาตกต่ำ การลักลอบนำเข้าแบบครบวงจรตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง


                การรับมือภัยธรรมชาติจะต้องวางแผนมาตรการต่างๆ อย่างชัดเจน รับมือตั้งแต่การป้องกัน การแก้ไข และการฟื้นฟู เมื่อประสบเหตุภัยแล้ง หรือภัยพิบัติทางธรรมชาติทุกชนิด


                ปราบปรามการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรผิดกฎหมาโดยถือเป็นการประกาศสงครามสินค้าเกษตรเถื่อนอย่างจริงจัง เข้มงวดยิ่งขึ้น เพื่อไม่ให้กระทบต่อราคาผลผลิตในประเทศ เข้มงวดในการตรวจสอบสต็อกในประเทศเพื่อควบคุมในการนำเข้า การกักตุน และเก็งกำไร โดยเฉพาะช่วงก่อนที่ผลผลิตออกสู่ตลาด


                ยกระดับสินค้าเกษตร เสริมศักยภาพเกษตรกรได้แก่ 1) ผลักดันส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรสร้าง 1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง เนื่องจากภาคเกษตรเป็นภาคเศรษฐกิจหลักสำคัญ มีประชากรอยู่ในภาคเกษตรจำนวนมาก แต่ยังขาดการพัฒนาที่เหมาะสม เกษตรกรบางส่วนยังทำเกษตรแบบดั้งเดิมที่จึงมีรายได้น้อย จึงเน้นแนวทางในการปรับเปลี่ยนไปสู่การปลูกพืชที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงขึ้น


2) ส่งเสริมเกษตรกร/สถาบันเกษตรกรเป็นผู้ให้บริการทางการเกษตรครบวงจร (Agricultural Service Provider) โดยเกษตรกร สถาบันเกษตรกรสามารถเป็นเจ้าของเครื่องมือเครื่องจักรกลของตนเองพร้อมเป็นผู้ให้บริการด้านธุรกิจเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย ซึ่งตอบโจทย์กลุ่มประชากรภาคเกษตรยุคใหม่


            การจัดการทรัพยากรทางการเกษตรทำการเกษตรที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม (Go Green)  ด้วย BCG / Carbon Credit จะต้องทำการเกษตรที่ลดภาระต่อสิ่งแวดล้อม เกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การใส่ปุ๋ยที่เหมาะสม การกำจัดแมลงศัตรูพืชที่ถูกต้อง การลดปริมาณปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง มีการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัย


             การอำนวยความสะดวกด้านการเกษตร  ได้แก่ 1)พัฒนาระบบการประกันภัยภาคการเกษตรซึ่งเป็นอีกหนึ่งในนโยบายสำคัญของการพัฒนาภาคการเกษตรอย่างยั่งยืน บริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ที่แน่นอน โดยจะเดินหน้าต่อยอด พัฒนาสร้างระบบประกันภัยให้แก่พี่น้องเกษตรกรไทย และ2) อำนวยความสะดวก สนับสนุนให้บริการเครื่องมือทางการเกษตรที่ให้เกษตรกรสามารถเช่า/ยืม เครื่องมือเครื่องจักรกลด้านการเกษตรที่เหมาะสมต่อการการผลิต


                “ผมมีความภาคภูมิใจ ที่ได้กลับมาทำงาน และรับใช้พี่น้องเกษตรกรอีกครั้ง ซึ่งแนวทางการทำงาน และนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ผมจะขับเคลื่อนและผลักดันนั้น จะไม่ใช่มีเพียงนโยบายที่กล่าวไปข้างต้น ยังมีอีกหลายนโยบายและแนวทางปฏิบัติต่างๆ ที่จะครอบคลุม เพื่อช่วยเหลือ ช่วยแก้ปัญหาพี่น้องเกษตรกร และพัฒนาภาคเกษตรซึ่งทุกนโยบายและทุกการทำงานจะเป็นไปอย่างจริงจัง เกิดผลเป็นรูปธรรมชัดเจนและต้องเกิดจากความร่วมมือร่วมใจทำงานอย่างบูรณาการทีมเวิร์ค แบบครอบครัวไปด้วยกัน เพื่อพี่น้องเกษตรกรกินดี อยู่ดี มีรายได้ มีอาชีพที่มั่นคง สินค้าเกษตรมูลค่าสูง ทรัพยากรเกษตรยั่งยืน และภาคเกษตรไทยคือผู้นำสินค้าเกษตรในตลาดโลก” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ กล่าว


             ด้านนายไชยาพรหมารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่าจากที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบนโยบายนั้นครบถ้วนทุกประการการทำงานของพวกเราทุกคนคงสบายใจที่เราถึงแม้จะมาจากต่างพรรคแต่พวกเราก็มีเป้าหมายเดียวกันจะทำงานร่วมกันแบบบูรณาการมีเป้าหมายในการให้บริการประชาชนให้ขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จแต่ถ้าปราศจากฟันเฟืองในการขับเคลื่อนของกระทรวงก็จะไม่สามารถบรรลุได้จึงขอให้ทุกท่านทำงานร่วมกันด้วยความสบายใจ


    นายอนุชานาคาศัยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณกล่าวว่าพร้อมปฏิบัติหน้าที่ตามนโยบายต่างๆที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายซึ่งนับว่าเป็นนโยบายที่ดีครอบคลุมสนองงานนโยบายรัฐบาลสำหรับนโยบายการทำงานแบบบูรณาการในหน่วยงานให้เป็นครอบครัวเกษตรนั้นถือเป็นการสร้างมิติใหม่ที่จะขับเคลื่อนพัฒนาภาคเกษตรให้พี่น้องเกษตรกรมีชีวิคความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นรายได้เพิ่มขึ้นทั้งนี้ยินดีที่จะได้ร่วมงานกันสนองงานนโยบายรัฐบาลและขอขอบคุณทุกท่านไว้ล่วงหน้าที่จะร่วมมือกับขับเคลื่อนงายไปสู่เป้าหมาย

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
SOCIETY & POLITICS

ลงนาม MOU ส่งเสริมการปลูกกาแฟ ภายใต้นโยบาย “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้”

 

 นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) เรื่อง การส่งเสริมการปลูกกาแฟ ภายใต้นโยบายตลาดนำการผลิต ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) โดยมี นายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) ร่วมลงนามพร้อมด้วย นายอภัย สุทธิสังข์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายสุชาติ ระมาศ ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุม 115 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า 

 

“การลงนาม MOU ในวันนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และขยายพื้นที่การปลูกกาแฟให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน โดยมีการสนับสนุน การศึกษา และพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตกาแฟให้มีปริมาณผลผลิตและมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล รวมทั้งให้เกษตรกรได้ปรับเปลี่ยนการปลูกพืชจากแบบเชิงเดี่ยวมาเป็นการปลูกพืชแบบผสมผสานร่วมกับกาแฟ ซึ่งถือเป็นเกษตรกรรมแบบยั่งยืน สามารถช่วยลดปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า การบุกรุกป่า และลดปัญหาสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดความร่วมมือด้านการตลาดในการรับซื้อผลผลิตกาแฟที่มีคุณภาพของเกษตรกรที่ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนการปลูกกาแฟอย่างครบวงจร ตามนโยบาย “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” ซึ่งร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบแนวทางการดำเนินงานไว้ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างรายได้ สร้างโอกาส และยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน”

 


     ด้าน นายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) กล่าวเพิ่มเติมว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ เกิดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการส่งเสริมและสนับสนุนการขยายพื้นที่ปลูกกาแฟ โดยปรับเปลี่ยนเป็นการเกษตรแบบผสมผสานร่วมกับกาแฟ เพื่อให้เกษตรกรมีผลผลิตและรายได้เพิ่มขึ้นจากการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน ซึ่งจะช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตกาแฟให้มีปริมาณผลผลิตและมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลผลิตกาแฟที่เป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่น ซึ่งสามารถเพิ่มมูลค่าของสินค้ากาแฟได้มากขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าและปัญหาสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมือด้านการตลาด โดย คาเฟ่ อเมซอน (Café Amazon) จะสนับสนุนการรับซื้อผลผลิตกาแฟที่มีคุณภาพตามมาตรฐานจากเกษตรกรที่ได้รับการส่งเสริมสนับสนุน การปลูกกาแฟ ซึ่งเป็นไปตามแนวทางของ OR ที่มุ่งให้ความสำคัญกับการสร้างโอกาสและสร้างคุณค่าแก่ผู้คนโดยไม่ทิ้งใครไว้ ข้างหลังตลอดห่วงโซ่การดำเนินธุรกิจ

 

     รวมทั้งยังสอดคล้องกับแนวทางการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนผ่าน OR SDG ทั้งในด้าน “S” หรือ “SMALL” ที่มุ่งเน้น การให้โอกาสเพื่อคนตัวเล็ก ด้วยการส่งเสริมพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ ด้าน “D” หรือ “DIVERSIFIED” เพิ่มโอกาสเพื่อการเติบโตทุกรูปแบบ (More Partners, Products and Services) ผ่านศักยภาพของ OR ที่จะเป็น Platform ในการกระจายโอกาสทางธุรกิจที่หลากหลายและครอบคลุม พร้อมเติบโตไปด้วยกัน รวมทั้งในด้าน “G” หรือ “GREEN” ที่มุ่งสร้างสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ (Healthy Environment) ตามเป้าหมาย OR 2030 Goals ซึ่งตอกย้ำวิสัยทัศน์ “Empowering All Toward Inclusive Growth” เติมเต็มโอกาส เพื่อทุกการเติบโตร่วมกันอย่างแท้จริง

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
SOCIETY & POLITICS

“ธรรมนัส” ลงพื้นที่จ.พะเยา ระดมครอบครัวเกษตรฯ ปฏิบัติงานทันที

 

เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2566 เวลา 16.00 ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่จังหวัดพะเยา เป็นประธานการประชุมแนวทางขับเคลื่อนการพัฒนาและบริหารจัดการกว๊านพะเยา  ลานอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา โดยมี ว่าที่ร้อยตรี ณรงค์ โรจนโสทร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา กล่าวต้อนรับ รวมทั้ง นายอัครา พรหมเผ่า นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา นางสุมิตรา กัณฑมิตร นายกเทศมนตรีเมืองพะเยา ผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนให้การต้อนรับกว่า 1,300 คน และร่วมมอบดอกไม้แสดงความยินดีในโอกาสได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

         “การลงพื้นที่จังหวัดพะเยาในวันนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่ได้กลับมาในจังหวัดพะเยา หลังจากที่ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และขอขอบคุณพี่น้องประชาชน เกษตรกร ที่ได้ให้กำลังใจ ทั้งนี้ ผมจะแถลงและมอบนโยบายที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทันที ภายหลังจากที่นายกรัฐมนตรี (นายเศรษฐาทวีสินแถลงนโยบายในวันที่ 11 – 12 .นี้ และเตรียมพร้อมปฏิบัติหน้าที่ทันที เพราะปัญหาของพี่น้องเกษตรกรสะสมมานาน จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข โดยนโยบายที่จะขับเคลื่อนเร่งด่วน อาทิ การพักหนี้เกษตรกร การยกระดับแปลงใหญ่ การแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายฯ (IUU) การแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดิน(...) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หลังการแถลงนโยบายของรัฐบาลแล้ว จะลงพื้นที่จังหวัดพะเยาอีกครั้ง โดยจะประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อมอบนโยบายและหารือแนวทางการพัฒนาจังหวัดพะเยาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงในพื้นที่จังหวัดอื่นๆ อีกด้วย” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ กล่าว

         สำหรับในพื้นที่จังหวัดพะเยา มีประเด็นปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไขและพัฒนา คือ การให้ความช่วยเหลือเร่งรัดการพัฒนาพื้นที่หนองเล็งทราย การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง ของกว๊านพะเยา การติดตามและขับเคลื่อนโครงการอ่างเก็บน้ำน้ำปี้อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯรวมถึงการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และเพิ่มการกักเก็บน้ำให้มากขึ้น

           โอกาสนี้ รมว.เกษตรฯ ได้นำมังคุดมาแจกจ่ายให้กับประชาชนชาวพะเยา ซึ่งเป็นมังคุดที่รับซื้อจากเกษตรกรจังหวัดนครศรีธรรมราชจำนวน 5 ตัน แบ่งเป็น 4 ตันสำหรับแจกจ่าย  และอีก 1 ตัน ที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่เหมาะกับการบริโภคมาแจกจ่ายให้กับเกษตรกรเพื่อใช้ทำเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ ต่อไป

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News