Categories
TOP STORIES

สว. ยื่นเชือด “ทวี” กล่าวหาฮั้วเลือก ผิดอั้งยี่

มงคล” ยื่น ป.ป.ช. สอบ “ทวี-อธิบดีดีเอสไอ” ฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรง กรณีฮั้วเลือก ส.ว.

รัฐสภา, 28 กุมภาพันธ์ 2568 – นาย มงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา ได้ทำหนังสืออย่างเป็นทางการถึง ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อขอให้พิจารณาไต่สวน พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และ พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กรณี ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง โดยเกี่ยวข้องกับข้อกล่าวหา ฮั้วเลือก ส.ว.” ซึ่งอาจเข้าข่ายความผิด อั้งยี่และฟอกเงิน

การยื่นเรื่องนี้เป็นไปตาม ความประสงค์ของสมาชิกวุฒิสภา ที่ต้องการให้ ป.ป.ช. พิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่

ที่มาของการร้องเรียน: ข้อกล่าวหาเรื่อง “ฮั้วเลือก ส.ว.”

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2568 พล.ต.ต.ฉัตรวรรษ แสงเพชร สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) พร้อมคณะ ได้เข้ายื่นหนังสือต่อนายมงคล สุระสัจจะ ขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของ พ.ต.อ.ทวี และ พ.ต.ต.ยุทธนา โดยระบุว่าทั้งสองบุคคลมีพฤติกรรมเข้าข่าย

  • กระทำผิดมาตรา 157 ของประมวลกฎหมายอาญา ฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
  • ฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรง ตามมาตรฐานจริยธรรมของเจ้าหน้าที่รัฐ
  • อาจเข้าข่ายความผิดฐานอั้งยี่และฟอกเงิน จากกรณีข้อกล่าวหาการฮั้วเลือกสมาชิกวุฒิสภา

โดยหนังสือที่ยื่นถึงประธานวุฒิสภาเมื่อวันที่ 27 ก.พ. ได้รับการพิจารณา และ ดำเนินการส่งเรื่องไปยัง ป.ป.ช. ในวันที่ 28 ก.พ. อย่างเร่งด่วน

พ.ต.อ.ทวี – พ.ต.ต.ยุทธนา อาจถูกสอบสวนอย่างละเอียด

กรณีนี้ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง และ พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ ต้องเผชิญกับการพิจารณาจาก คณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งอาจนำไปสู่การไต่สวนในรายละเอียด และหากพบว่ามีมูลความผิดจริง อาจส่งผลให้ทั้งสองคนต้องรับโทษตามกฎหมายและมาตรฐานทางจริยธรรมของเจ้าหน้าที่รัฐ

มาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ระบุว่า เจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ อาจมีโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท

มาตรฐานจริยธรรมร้ายแรงของเจ้าหน้าที่รัฐ หากพิสูจน์ได้ว่า ฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรม อาจนำไปสู่โทษสูงสุดคือ ถูกถอดถอนจากตำแหน่ง และเพิกถอนสิทธิทางการเมือง

ปฏิกิริยาทางการเมืองและผลกระทบต่อการทำงานของรัฐบาล

การยื่นเรื่องสอบสวนในครั้งนี้ ส่งผลให้เกิดแรงสั่นสะเทือนในแวดวงการเมือง โดยเฉพาะในกระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสรรหา ส.ว.

นักวิเคราะห์การเมืองมองว่า กรณีนี้อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดแรงกดดันต่อรัฐบาลและฝ่ายบริหาร เพราะเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับบุคคลระดับสูงในหน่วยงานสำคัญ และหากมีการดำเนินคดี อาจกระทบต่อภาพลักษณ์ของกระบวนการยุติธรรมของไทย

ขณะที่ สภาวุฒิสภา (ส.ว.) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ อาจมีท่าทีแข็งกร้าวมากขึ้น หากพบว่าข้อกล่าวหานี้มีมูลจริง

แนวโน้มการพิจารณาของ ป.ป.ช. และกระบวนการต่อไป

หลังจากการรับเรื่องจากประธานวุฒิสภา ป.ป.ช. มีอำนาจในการ

  • แต่งตั้งคณะกรรมการไต่สวน เพื่อสืบสวนข้อเท็จจริง
  • เรียกพยานบุคคลและเอกสารหลักฐาน ที่เกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าว
  • ตรวจสอบเส้นทางการเงิน หากพบว่ามีการกระทำที่เข้าข่ายฟอกเงิน
  • เสนอมาตรการลงโทษทางกฎหมายและทางจริยธรรม

กระบวนการไต่สวนของ ป.ป.ช. อาจใช้เวลาหลายเดือนหรือเป็นปี ขึ้นอยู่กับปริมาณหลักฐานและความซับซ้อนของคดี

สถิติที่เกี่ยวข้องกับคดีทุจริตในไทย

  • จำนวนคดีทุจริตที่ ป.ป.ช. รับเรื่องในปี 2567: 6,842 คดี (ที่มา: ป.ป.ช.)
  • จำนวนคดีที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง: 1,253 คดี (ที่มา: ป.ป.ช.)
  • จำนวนคดีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเลือกตั้ง ส.ว. และ ส.ส.: 187 คดี (ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง – กกต.)
  • คดีที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 157 ที่ ป.ป.ช. ส่งฟ้องในศาลอาญาคดีทุจริต: 82 คดี (ที่มา: ป.ป.ช.)

บทสรุป

กรณีนี้ถือเป็น ประเด็นร้อนทางการเมืองและกระบวนการยุติธรรม ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อ ภาพลักษณ์ของรัฐบาล และ ระบบการตรวจสอบภาครัฐ หาก ป.ป.ช. มีมติรับไต่สวน คดีนี้อาจนำไปสู่ การเปิดโปงขบวนการทุจริตในวงการเมืองระดับสูง อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

รัฐบาลและวุฒิสภาจะต้องจับตา ผลสรุปของ ป.ป.ช. อย่างใกล้ชิด และคาดว่าการพิจารณาคดีนี้ จะเป็นที่จับตามองจากประชาชน และองค์กรต่างประเทศที่ให้ความสำคัญกับความโปร่งใสทางการเมืองของไทย

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : รัฐสภา

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI NEWS UPDATE

เปิด 40 รายชื่อ สว. ผู้ได้รับเลือกระดับจังหวัดเชียงราย

 
เมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 67 ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ในฐานะประธานคณะกรรมการระดับจังหวัด จังหวัดเชียงราย นำคณะกรรมการฯ ร่วมสังเกตุการณ์พร้อมตรวจสอบความเรียบร้อยในการเลือกสมาชิกวุฒิสภาระดับจังหวัด ภาพรวมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และคึกคัก โดยมีคณะกรรมการประกอบด้วย ผศ.ดร. ศรชัย มุ่งไธสงค์มุ่งไธสง อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย น.ส.กาญจนา อุปะละ อัยการจังหวัดเชียงราย นายบัลลังก์ ไวทย์ศิริ ปลัดจังหวัดเชียงราย นายอาคม สุขพันธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ นายปรพล พูตระกูล ผู้ทรงคุณวุฒิ และนายชูชาติ สุขสงวน ผอ.กกต.จังหวัดเชียงราย ทำหน้าที่ผู้อำนวยการการเลือกระดับจังหวัด และสิบตำรวจเอก ถนอม วุฒิ ทำหน้าที่ประธานกรรมการประจำสถานที่เลือก พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ประจำสถานที่เลือก ดูแลบริหารจัดการการเลือกสมาชิกวุฒิสภาให้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว และถูกต้องตามกฎหมาย บรรยากาศโดยทั่วไปเป็นไปด้วยความคึกคัก
 
           สำหรับจังหวัดเชียงราย มีผู้ได้รับเลือกในระดับอำเภอทั้งหมด 457 คน และมารายงานตัวก่อนการลงคะแนนเลือกสมาชิกวุฒิสภาระดับจังหวัด 454 คน ขาด 3 คน จากกลุ่มที่ 3 กลุ่มการศึกษา กลุ่มที่ 7 กลุ่มพนักงานหรือลูกจ้างของบุคคลซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ผู้ใช้แรงงาน และกลุ่มที่ 19 กลุ่มผู้ประกอบการวิชาชีพ ผู้ประกอบการอาชีพอิสระ โดยมีกลุ่มที่ไม่ต้องเลือกในรอบแรกเนื่องจากมีผู้สมัครเพียง 4 คน มีจำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มที่ 12 กลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรม และกลุ่มที่ 13 กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร การพัฒนานวัตกรรม จังหวัดเชียงราย มียอดผู้สมัครดังนี้
 
กลุ่มที่ 1 ผู้สมัคร 27 คน กลุ่ม 2 ผู้สมัคร 14 คน กลุ่ม 3 ผู้สมัคร 38 คน ไม่มารายงานตัว 1 คน กลุ่ม 4 ผู้สมัคร 11 คน กลุ่ม 5 ผู้สมัคร 39 คน กลุ่ม 6 ผู้สมัคร 33 คน กลุ่ม 7 ผู้สมัคร 26 คน ไม่มารายงานตัว 1 คนทกลุ่ม 8 ผู้สมัคร 8 คน กลุ่ม 9 ผู้สมัคร 18 คน กลุ่ม 10 ผู้สมัคร 17 คน กลุ่ม 11 ผู้สมัคร 8 คน กลุ่ม 14 ผู้สมัคร 42 คน กลุ่ม 15 ผู้สมัคร 49 คน กลุ่ม 16 ผู้สมัคร 32 คน กลุ่ม 17 มีผู้สมัคร 39 คน กลุ่ม 18 ผู้สมัคร 7 คน กลุ่ม 19 ผู้สมัคร 31 คน ไม่มารายงานตัว 1 คน และกลุ่ม 20 มีผู้สมัคร 17 คน รวมผู้สมัครทั้งหมด 457 คน มีคนที่ไม่มารายงานตัว 3 คน มารายงานตัวทั้งหมด 454 คน
 
 
1.กลุ่มการบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง อันได้แก่ผู้เคยเป็นข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรืออื่น ๆในทำนองเดียวกัน

1.นายพินิจ หาญพาณิชย์

2.นายควร คำเหล็ก

 

2.กลุ่มกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมอันได้แก่ผู้เป็นหรือเคยเป็นผู้พิพากษา ตุลาการ อัยการ ตำรวจ ผู้ประกอบวิชาชีพต้านกฎหมาย หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

1.นายอาสา เม่นแย้ม

2.นายอุทิศ มณีจันสุข

 

3.กลุ่มการศึกษา อันได้แก่ผู้เป็นหรือเคยเป็นครู อาจารย์ นักวิจัย ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษา หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

1.นายปรีชา พัวนุกุลนนท์

2.นายศักดิ์ชัย คลี่ใบ

 

4.กลุ่มการสาธารณสุข อันได้แก่ผู้เป็นหรือเคยเป็นแพทย์ทุกประเภท เทคนิคการแพทย์ สาธารณสุข พยาบาล

เภสัชกร หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

1.น.ส.อนันทิตา บุตรตา

2.นายปลื้ม ศุภปัญญา

 

5.กลุ่มอาชีพทำนา ปลูกพืชล้มลุก หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

1.นายยงยุทธ์ อินทะรังษี

2.นายวิวัฒน์ สมวรรณ์

 

 

6.กลุ่มอาชีพทำสวน ปาไม้ ปศุสัตว์ ประมง หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

1.น.ส.กาญจนา คำพุฒ

2.นายกฤตย์ อินทรพรอุดม

 

7.กลุ่มพนักงานหรือลูกจ้างของบุคคลซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ผู้ใช้แรงงาน หรืออื่น ๆ

ในทำนองเดียวกัน

1.นางภัคชัญญา มะโนวัง

2.น.ส.เพลินทิพย์ คิดดี

 

8.กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาริมทรัพย์และสาธารณูปโภค ทรัพยากรธรรมชาติพลังงาน หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

1.นายสรณัฏฐ์ สาระสมบัติ

2.น.ส.กิ่งแก้ว ผสมทรัพย์

 

9.กลุ่มผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อมตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน

1.น.ส.มณีรัฐ เขมะวงศ์

2.นายเจริญ เหล่ารุ่งโรจน์

 

10. กลุ่มผู้ประกอบกิจการอื่นนอกจากกิจการตาม ข้อ 9

1.นางวาสนา ฮิลล์

2.ด.ต. เกตุ กลิ่นจันทร์

 

 

11.กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจหรืออาชีพด้านการท่องเที่ยว อันได้แก่ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว มัคคุเทศก์ ผู้ประกอบกิจการหรือพนักงานโรงแรม หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

1.น.ส.รัตนา บุญเลิศ

2.นางสุจิตตา วงศ์ไซยา

 

12.กลุ่มผู้ประกอบอุตสาหกรรม หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

1.นายพละวัต ตันศิริ

2.นายนพกร สุวรรณเตมีย์

 

13.กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร การพัฒนานวัตกรรม หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

1.นายเลิศวิทย์ วรพงศธร

2.นายเมธาพัฒน์ ศรีมนัส

 

14.กลุ่มสตรี

1.นางนิราภร มิยาซากิ

2.นางแววตา แสงบุญ

 

15.กลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

1.นายสมเกียรติ ปูกา

2.น.ส.จริยา กงจักร์

 

16.กลุ่มศิลปะ วัฒนธรรม นตรี การแสดงและบันเทิง นักกีฬา หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

1.นายณพลเดช มณีลังกา

2.นายเริงพล มุกดาสนิท

 

17.กลุ่มประชาสังคม กลุ่มองค์กรสาธารณประโยชน์ หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

1.น.ส.ศิขริน สิงห์สาคร

2.นายซาตรี ภิระบรรณ์

 

18.กลุ่มสื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

1.นายอภิชิต ศิริชัย

2.นายภูษิต กัลยา

 

19.กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

1.นายชีระศักดิ์ อรัญพิทักษ์

2.ร.ต.อ. สิงห์ทอง อุดม

 

 

20.กลุ่มอื่น ๆ

1.นายปรีดา จันทร์แจ่มศรี

2.น.ส.อลิสา เขื่อนขัน

 
 
         ทั้งนี้ กกต.เชียงราย ขอเชิญชวนร่วมติดตามและตรวจสอบประวัติ พฤติการณ์ ของผู้ได้รับเลือกในระดับจังหวัด หากคนใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม สามารถแจ้งได้ที่ ผู้อำนวยการการเลือกระดับจังหวัด ผู้ตรวจการเลือกตั้งประจำจังหวัด สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด หรือ application ตาสับปะรด
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI NEWS UPDATE

กกต.เชียงราย เผยเปิดรับสมัคร สว. 20-24 พ.ค. 67 ไม่เว้นวันหยุดราชการ

 

เมื่อวันที่พฤหัสบดี ที่ 16 พฤษภาคม 2567 ที่ห้องประชุมคชสาร ศูนย์การเรียนรู้และนันทนาการ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดเชียงราย จัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้การดำเนินการให้ได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา โดยมีนายชูชาติ สุขสงวน ผู้อำนวยการสำนักงาน กกต.จังหวัดเชียงราย กล่าวเปิดงาน และบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกสมาชิกวุฒิสภา โดยมีประชาชนที่สนใจ ผู้ทรงคุณวุฒิจากกลุ่มสาขาอาชีพต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เข้าร่วมรับฟังกว่า 100 คน

 

         โดยการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เพื่อเป็นการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ที่สนใจในการดำเนินการของการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ก่อนที่จะมีการสมัครรับเลือก ซึ่งในกิจกรรมมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกการดำเนินการให้ได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และกระบวนการรับสมัคร ขั้นตอนการเลือกสมาชิกวุฒิสภา รวมถึงหลักเกณฑ์วิธีการแนะนำตัว ข้อห้าม ความผิดและแนวทางวินิจฉัยคุณสมบัติ ก่อนที่จะมีการรับสมัคร ในวันที่ 20 ถึง 24 พฤษภาคม 2567 นี้ 

 

           นายชูชาติ สุขสงวน ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกาศกำหนดวันเลือกตั้งและวันสมัครรับเลือกสมาชิกวุฒิสภา ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 โดยกำหนดให้มีการเลือก 3 ระดับ คือ ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และ ระดับประเทศ

 

          โดยจะมีการรับสมัครในวันที่ 20-24 พฤษภาคม 2567 ณ สำนักทะเบียน ที่ว่าการอำเภอทุกแห่ง  ตั้งแต่เวลา 8.30 น. ถึง 16.30 น. ณ สถานที่ที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งระดับอำเภอกำหนด ไม่เว้นวันหยุดราชการ และสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งได้กำหนดวันเลือกสมาชิกวุฒิสภาระดับอำเภอขึ้นในวันที่ 9 มิถุนายน 2567 ระดับจังหวัดในวันที่ 16 มิถุนายน 2567 และวันเลือกระดับประเทศ วันที่ 26 มิถุนายน 2567 ซึ่งจะเป็นการเลือกกันเองของผู้สมัครรับเลือก สว. ที่มาจากกลุ่มอาชีพ 20 กลุ่ม ตามที่กฎหมายกำหนด สำหรับผู้ที่ประสงค์สมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาจะสมัครได้เพียงกลุ่มเดียว อำเภอเดียว และจะถอนการสมัครไม่ ได้โดยสามารถติดต่อขอรับใบสมัคร (สว.2) พร้อมแบบข้อมูลแนะนำตัว (สว.3) และแบบหนังสือรับรองความรู้ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ หรือทำงานในกลุ่มที่สมัคร (สว.4)ด้วยตนเอง ได้ที่สำนักทะเบียนอำเภอ ที่ว่าการอำเภอทุกแห่ง

 

       สำหรับการสมัครรับเลือก สว. จะเสียค่าสมัครคนละ 2,500 บาท โดยต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี ในวันสมัคร มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ หรือทำงานในด้านที่สมัครไม่น้อยกว่า 10 ปี เป็นผู้มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ เกิดในอำเภอที่สมัคร มีชื่อหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือก ทำงานหรือเคยทำงานในอำเภอที่สมัครติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือก เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในอำเภอที่สมัครติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี การศึกษา

 

      ผู้สมัครรับเลือก สว.ไม่สามารถหาเสียงได้ แต่สามารถแนะนำตัวตามแบบข้อมูลแนะนำตัวของผู้สมัคร โดยระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 กำหนด ให้มีข้อความและข้อมูลดังนี้ ข้อมูลส่วนตัวของผู้สมัคร ประวัติการศึกษาของผู้สมัคร ประวัติการทำงาน หรือประสบการณ์ในการทำงานในกลุ่มที่สมัคร ไม่เกิน 5 บรรทัด ทั้งนี้ผู้สมัครอาจแนะนำตัวได้ตามวิธีการและเงื่อนไขที่ กกต. กำหนด  

 

ทั้งนี้ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการเลือก สว. เพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง www.ect.go.th หรือสายด่วน 1444

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI NEWS UPDATE

ผู้ว่าฯเชียงราย พร้อมการเลือก สว. สนามกีฬากลางจังหวัดเป็นที่สมัคร

 

เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นายบัลลังก์ ไวทย์ศิริ ปลัดจังหวัด นายอาคม สุขพันธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กกต.เชียงราย และ คณะกรรมการระดับจังหวัด นายชูชาติ สุขสงวน ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดเชียงราย หัวหน้ากลุ่มงาน พร้อมด้วยพนักงานของสำนักงานเป็นคณะทำงาน กกต.เชียงราย ร่วมแถลงข่าว การจัดการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 ที่ชั้น 3 สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดเชียงราย ศูนย์ราชการ ต.ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย

 

ทั้งนี้ นางสาวนันทวรรณ กันคำ ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย นายโชติศิริ ดารายน นายกสมาคมสื่อมวลชนและนักประชาสัมพันธ์เชียงราย พร้อมด้วยสื่อมวลชนทุกแขนง ร่วมรับฟังในการแถลงข่าว การจัดการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ส่วนของจังหวัดเชียงราย

 

โดยนายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า การเลือก สว. ในครั้งนี้เป็นการเลือกกันเองของผู้สมัครในระดับผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่ได้เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งเป็นไปตามกฏหมายรัฐธรรมนูญ และมีการเลือกตั้งแต่ระดับ อำเภอ จังหวัด และระดับประเทศ ซึ่งรายละเอียดอื่นๆ ต้องศึกษาอย่างละเอียดเพราะถือว่าเป็นสิ่งใหม่ของประเทศไทย ก่อนการรับสมัคร สว. จะเริ่มขึ้น
 
 

ด้าน นายชูชาติ สุขสงวน ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า การเลือก สว. ในครั้งนี้เป็นการเลือกแบบทั่วไป ตามกฏหมายกำหนด ซึ่งการเลือกมีการเลือก 3 ระดับ คือ อำเภอ จังหวัด และ ประเทศ โดยการสมัครจะรับสมัครในวันที่ 20-24 พฤษภาคม 2567 ณ สำนักทะเบียน ที่ว่าการอำเภอทุกแห่ง โดยจังหวัดเชียงรายมี 18 อำเภอ และขณะนี้มีผู้ที่สนใจสมัครรับเลือก สว. ไปขอรับเอกสารแล้วรวม 108 ราย ตั้งแต่วันที่ 10-14 พ.ค.2567 และหลังจากนี้จะมีการประชุมผู้สนใจสมัครรับเลือกฯ ในวันที่ 16 พ.ค.นี้ ซึ่งจะใช้ห้องประชุมอาคารคชสาร ภายในสนามกีฬากลางจังหวัดเชียงราย และเชื่อว่าจะมีผู้ที่สนใจสมัครมารับฟังประมาณ 200 คน

 

“ทั้งนี้ในการเลือก สว. ครั้งนี้จะมีด้วยกัน 2 รอบ ในทุกระดับ ทั้งในระดับ อำเภอ จังหวัด และประเทศ ซึ่งจะเป็นการเลือกกันเองของผู้สมัครรับเลือก สว. ที่มาจาก กลุ่มอาชีพ 20 กลุ่มตามที่กฏหมายกำหนด ซึ่งผู้สมัครรับเลือก สว. จะต้องศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดก่อนสมัคร รวมทั้งการได้มาซึ่งคะแนน” นายชูชาติ กล่าว

 

ส่วนการสมัครับเลือก สว. จะเสียค่าสมัครคนละ 2,500 บาท โดยต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี ในวันสมัคร มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ หรือทำงานในด้านที่สมัครไม่น้อยกว่า 10 ปี เป็นผู้มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ เกิดในอำเภอที่สมัคร มีชื่อหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือก ทำงานหรือเคยทำงานในอำเภอที่สมัครติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปีนับถึงวันสมัครรับเลือก เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในอำเภอที่สมัครติดต่อกันไม่น้อยกว่า2 ปีการศึกษา

 

ผู้สมัครรับเลือก สว. ไม่สามารถหาเสียงได้ แต่สามารถแนะนำตัวตามแบบข้อมูลแนะนำตัวของผู้สมัคร โดยระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 กำหนด ให้มีข้อความและข้อมูลดังนี้ ข้อมูลส่วนตัวของผู้สมัคร ประวัติการศึกษาของผู้สมัคร ประวัติการทำงาน หรือประสบการณ์ในการทำงานในกลุ่มที่สมัคร ไม่เกิน 5 บรรทัด ทั้งนี้ผู้สมัครอาจแนะนำตัวได้ ตามวิธีการและเงื่อนไขที่ กกต. กำหนด.

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News