Categories
CULTURE

สุดยอดเที่ยวชุมชน ยลวิถี “เมนูเมืองรวง ต้องมาลอง อร่อย ไม่ลวงตา

 
วันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม 2566 ณ ชุมชนคุณธรรมบ้านเมืองรวง ตำบลแม่กรณ์ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย โดยนายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้นางสาวกฤษยา จันแดง ผู้อำนวยการกลุ่มกิจการพิเศษ นางกัลยา แก้วประสงค์ และนางสุพรรณี เตชะตน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ ลงพื้นที่ขับเคลื่อนพัฒนาต่อยอดชุมชนคุณธรรมต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” บ้านเมืองรวง ตำบลแม่กรณ์ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย จัดกิจกรรมคิดค้น พัฒนาเมนูอาหาร/เครื่องดื่ม สำหรับต้อนรับนักท่องเที่ยว ภายใต้แนวคิด “อร่อยตา อร่อยรส อร่อยใจ” โดยเน้นการใช้วัตถุดิบ ท้องถิ่น กรรมวิธี และรสมือที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน ออกแบบเมนูอาหาร พัฒนาการจัดจาน
โดยในวันนี้เป็นการลงมือปฏิบัติพัฒนาเมนูอาหาร/เครื่องดื่ม โดยภูมิปัญญาด้านอาหารของชุมชนคุณธรรมบ้านเมืองรวง พร้อมดำเนินการถ่ายภาพ เพื่อจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เมนูอาหารและเครื่องดื่มในแนวคิด “เมนูเมืองรวง ต้องมาลอง อร่อย ไม่ลวงตา” ดังนี้
1. ข้าวผัดเมืองรวง (ส่วนผสมจากน้ำพริกตาแดง และจิ๊นส้ม)
2. ชุดเครื่องดื่ม น้ำแสนดอก และขนมสองเกลอ (ขนมต้ม ข้าวต้มมัดน้อย)
3. ชุดเครื่องดื่ม กาแฟ/ชาร้อน และสติ๊กข้าวปุ๊ก
4. ชุดออเดิฟ “เมืองรวง บ่ลวงใค๋”
5. เมนู “นารีหลงไพร”
6. เมนู “หงอนพญานาคราช”
7. เมนู “โอ๊บ โอ๊บ ท่องไพร”
8. เมนู “มัฉฉายืนยง”
9. เมนู “ลาบเสียบบ้านเมืองรวง”
10. เมนู “รากขาวสาวพันปี”
11. เมนู น้ำพริกบะเขือส้ม
ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างเมนูอาหารคนเมือง กับเมนูอาหารชาติพันธ์อาข่า อย่างลงตัว ไว้สำหรับต้อนรับนักท่องเที่ยวที่อยากมาชิมรสชาติอาหารวิถีเมืองรวง บ่ลวงใค๋ และบรรยากาศที่สวยงานของชุมชนต่อไป
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

กฤษยา จันแดง, กัลยา แก้วประสงค์, สุพรรณี เตชะตน : ภาพ/รายงาน
ChiangKhongTV : ภาพ
อภิชาต กันธิยะเขียว : บรรณาธิการ
 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

ขับเคลื่อนวัฒนธรรมบ้านศรีดอนชัย พัฒนาต่อยอด 10 สุดยอดเที่ยวชุมชนยลวิถี

 
วันอาทิตย์ที่ 6 สิงหาคม 2566ณ ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย โดยนายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้นางสาวกฤษยา จันแดง ผู้อำนวยการกลุ่มกิจการพิเศษ พร้อมด้วยนางกัลยา แก้วประสงค์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ รับผิดชอบงานขับเคลื่อนเที่ยวชุมชน ยลวิถี และงานพัฒนาผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย และนางสุพรรณี เตชะตน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการรับผิดชอบงานชุมชนวัฒนธรรมไทยสร้างเสริมเศรษฐกิจ (ตลาดวัฒนธรรม) ให้ลงพื้นที่ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านศรีดอนชัย ดำเนินการขับเคลื่อนงานวัฒนธรรม ดังนี้
 
ร่วมประชุมหารือแนวทางการดำเนินการจัด “กาดลื้อศรีดอนชัย” ภายใต้โครงการชุมชนวัฒนธรรมไทยสร้างเสริมเศรษฐกิจ ซึ่งได้รับสนับสนุนงบประมาณดำเนินการจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม โดยมีพระครูสุจิณวรคุณ เจ้าคณะตำบลศรีดอนชัย/เจ้าอาวาสวัดท่าข้ามศรีดอนชัย เป็นประธานปรึกษาหารือ ที่ประชุมเห็นพ้องกำหนดจัดกาดลื้อศรีดอนชัย ครั้งที่ 1 ในวันเสาร์ที่ 2 กันยายน 2566 ณ วัดท่าข้ามศรีดอนชัย
 
ปรึกษาหารือแนวทางการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมไทย ของชุมชนคุณธรรมฯ บ้านศรีดอนชัย ร่วมกับนางแว่นแก้ว ภิรมย์พลัด ประธานกลุ่มสตรีทอผ้าศรีดอนชัย และนางผดุง สุทธิประทีป ประธานกลุ่มสัมมาชีพ
และติดตามการถ่ายทำสื่อวีดิทัศน์ “ข้ามทุกข์ พบสุข ที่วัดท่าข้ามศรีดอนชัย” กิจกรรมการนำอัตลักษณ์ชุมชน มาสร้างเสน่ห์ด้านการท่องเที่ยวการนำทุนทางวัฒนธรรม (5F/5F+) มาพัฒนาต่อยอดเป็นสินค้าและบริการทางวัฒนธรรม โดยการคิดค้นหรือพัฒนาจุดแข็งวัฒนธรรมใหม่ๆ สร้างโอกาสด้านการท่องเที่ยว ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพและความพร้อมสุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” จังหวัดเชียงราย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

กฤษยา จันแดง, กัลยา แก้วประสงค์, สุพรรณี เตชะตน : รายงาน/ภาพ
อภิชาต กันธิยะเขียว : บรรณาธิการ
 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

โครงการกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ การใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น วันที่ 11

เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2566 (โครงการกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น วันที่ 11)

จังหวัดเชียงราย โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ลงพื้นที่จัดทำฐานข้อมูลชุมชน กลุ่มชาติพันธุ์ระดับตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 (โดยใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น) โดยลงพื้นที่ บ้านลังกา หมู่ที่ 4 โดยมีนางกัลยา วรรณธิกูล ผู้ใหญ่บ้านลังกา หมู่ 4 และนายวรโชติ รักชาติ บ้านเลขที่ 244 หมู่ 4 บ้านลังกา ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ร่วมให้ข้อมูลการปั้นผลิตภัณฑ์ดินเผาและลงพื้นที่จัดทำฐานข้อมูลชุมชนฯ
 
เพื่อจัดทำแผนข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ในการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ และเผยแพร่ข้อมูล ตลอดจนเป็นฐานข้อมูลชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ระดับตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ภายใต้โครงการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ต่อไป
 
ในการนี้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย โดยนายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้นายยุทธนา สุทธสม นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ และนายอภิชาต กันธิยะเขียว นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ ลงพื้นที่ จัดทำข้อมูลดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

เชียงราย เลือกวัดพระธาตุผาเงา สู่ 10 สุดยอด ชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ระดับประเทศ

 

เมื่อ 22 มิถุนายน 2566 ที่ห้องประชุมพวงแสด ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดเชียงราย นางสุภาพรรณ หมั่นเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการการคัดเลือกสุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ระดับจังหวัด ประจำปี 2566 โดยมีนายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย นางสาวนันทวรรณ กันคำ ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

กระทรวงวัฒนธรรม ดำเนินโครงการคัดเลือก 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ เพื่อคัดเลือกชุมชนคุณธรรมที่น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขับเคลื่อนพลังบวร จากทั่วประเทศที่มีศักยภาพและความพร้อมด้านการท่องเที่ยวในทุกมิติ เพื่อประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ สร้างขวัญกำลังใจแก่ชุมชน รวมถึงเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในวงกว้าง เกิดการต่อยอด ขยายผลสำเร็จไปยังชุมชนอื่นๆ ปลุกกระแสการท่องเที่ยววิถีชุมชน สร้างโอกาส สร้างรายได้ เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข็มแข็งอย่างยั่งยืน
 
 
นางสุภาพรรณ หมั่นเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า จังหวัดเชียงรายมีต้นทุนสูงทั้งด้านโบราณสถานโบราณวัตถุ สถานที่สำคัญๆ มีวิถีชีวิตชุมชนที่เข้มแข็ง โดยเฉพาะมีชุมชนคุณธรรมที่น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การขับเคลื่อนโดยพลังบวร หลายชุมชนกระจายอยู่ในหลายอำเภอ และเห็นด้วยที่ปีนี้จะเสนอให้วัดพระธาตุผาเงา (บ้านสบคำ) เป็นสุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ระดับจังหวัด ประจำปี 2566 เพราะชุมชนมีความโดดเด่นการใช้ชีวิตแบบวิถีชาวบ้าน รวมถึงสถานที่โบราณสถานต่างๆ มีประเพณีที่ศักดิ์สิทธิที่ชาวบ้านทำกันมาอย่างยาวนาน จึงทำให้มีนักท่องเที่ยวจากหลายพื้นที่ ที่เชื่อในเรื่องสายศรัทธา (สายมู) หลั่งไหลเข้ามากราบไหว้บูชา อีกทั้งรัฐบาลยังเน้นการท่องเที่ยวแบบวิถีชาวบ้าน ซึ่งวัดพระธาตุผาเงา (บ้านสบคำ) ถือว่าตอบโจทย์ที่รัฐบาลคาดหวังไว้ และเชื่อว่าจังหวัดเชียงรายจะสามารถคว้า 1 ใน 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
 
 
ด้านนายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ได้แจ้งไปยังทุกอำเภอ เพื่อขอความร่วมมือคัดเลือกชุมชนคุณธรรมฯ ที่มีศักยภาพและความพร้อมด้านการท่องเที่ยวในทุกมิติ อำเภอละ 1 แห่ง เพื่อพิจารณาคัดเลือกในระดับจังหวัด ให้เหลือเพียง จำนวน 1 แห่ง เพื่อส่งเข้ารับการคัดเลือกในระดับประเทศ และชุมชนคุณธรรมฯ วัดพระธาตุผาเงา (บ้านสบคำ) ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกในระดับจังหวัด และกล่าวต่อไปว่า วัดพระธาตุผาเงา เป็นวัดที่อยู่ร่วมกับชุมชนบ้านสบคำ และอำเภอเชียงแสนมาอย่างยาวนาน มีประวัติศาสตร์ สิ่งก่อสร้าง สถาปัตยกรรม ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว อีกทั้งยังมีสกายวอล์ค ผาเงา สามแผ่นที่สามารถมองเห็นมุมวิวสวย ของทั้งสามประเทศ ได้แก่ ไทย สปป.ลาว และเมียนมา อีกด้วย
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

สวจ.เชียงราย ลงพื้นที่ขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมเสริมสร้างเศรษฐกิจและสังคมสู่ความมั่นคงและยั่งยืน

 

เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 66 นายพิสันต์ จันทรศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้นางสาวกฤษยา จันแดง ผู้อำนวยการกลุ่มกิจการพิเศษ และนางสุพรรณี เตชะตน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ ลงพื้นที่ขับเคลื่อนงานวัฒนธรรม ดังนี้

เวลา 19.00 น. ลงพื้นที่ประสานการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม Cpot ณ ไร่สิงห์ปาร์ค อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
 
เวลา 11.00 น. มอบหนังสือตามรอยเส้นทางธรรมแห่งศรัทธา ตามโครงการจาริกเส้นทางบุญในมิติศาสนา ประจำปี 2566 ณ เทศบาลตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
 
เวลา 13.00 น. ร่วมประชุมอภิปรายกลุ่มเพื่อระดมความคิดเห็นต่อต้นแบบโมเดลธุรกิจยั่งยืนและระบบนิเวศธุรกิจของวิสาหกิจชุมชน และวิพากษ์แนวความคิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ณ โรงแรมฟอร์จูน รีเวอร์วิว เชียงของ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
 
เวลา 16.30 น. ลงพื้นที่ตรวจติดตามประเมินผลชุมชนคุณธรรมต้นแบบโดดเด่น ตามโครงการพลังบวรในมิติศาสนา ประจำปี 2565 ณ ชุมชนคุณธรรมวัดท่าข้ามศรีดอนชัย ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
 

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

งานเปิดนิทรรศการเคลื่อนที่”มองสยามตามรอยพระปกเกล้า”

 

เมื่อวันนศุกร์ที่ 9 มิถุนายน 2566 เวลา 09.30 น. ณ ฐานเจ้าแม่กวนอิม วัดห้วยปลากั้ง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย นายสมหวัง บุญระยอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานเปิดนิทรรศการเคลื่อนที่ “มองสยามตามรอยพระปกเกล้า” โดยมี พระไพศาลประชาทร วิ. เจ้าอาวาสวัดห้วยปลากั้ง กล่าวสัมโมทนียกถา พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนหน่วยงาน ครูจากโรงเรียนต่าง ๆ และผู้สนใจในจังหวัดเชียงรายเข้าร่วมงานเปิดนิทรรศการฯ ดังกล่าว จัดโดย สถาบันพระปกเกล้าร่วมกับวัดห้วยปลากั้ง


นิทรรศการเคลื่อนที่ “มองสยามตามรอยพระปกเกล้า” จัดแสดงระหว่างวันที่ 9 มิถุนายน – 15 กันยายน 2566 เรียนรู้พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นตลอดรัชสมัย อีกทั้งยังได้เรียนรู้เรื่องราวการเสด็จฯ เลียบมณฑลฝ่ายเหนือและมณฑลพายัพจังหวัดเชียงราย และการเสด็จประพาสเมืองเชียงแสนอีกด้วย
 

ในการนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้ นางพรทิวา ขันธมาลา ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม เข้าร่วมงานเปิดนิทรรศการเคลื่อนที่ “มองสยามตามรอยพระปกเกล้า” ในครั้งนี้
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

กระทรวงวัฒนธรรม ยกระดับผลิตภัณฑ์ บ้านศรีดอนชัย และบ้านเมืองรวง เชียงราย

เมื่อวันที่ 5-8 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรม เอส รัชดา เลเชอร์ กรุงเทพมหานคร

กระทรวงวัฒนธรรม จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (Cultural Product of Thailand : CPOT) ประจำปี พ.ศ. 2566 ระหว่างวันที่ 5- 8 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรม เอส รัชดา เลเชอร กรุงเทพมหานคร เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ในด้านการออกแบบ ประโยชน์ใช้สอย รวมถึงการขยายช่องทางการตลาดให้ตอบโจทย์ความต้องการของนักท่องเที่ยว เตรียมพร้อมรองรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่จะเข้ามาท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง
 
วันที่ 6 มิถุนายน 2566 นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายให้ นางโชติกา อัครกิจโสภากุล รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานเปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (Cultural Product of Thailand : CPOT) ประจำปี พ.ศ. 2566 โดยมีนางสาวฐิต์ณัฐ สมบัติศิริ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นางสุภัทร กิจเวช ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม วิทยากร ผู้ประกอบการ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เข้าร่วม จำนวน 70 คน
 
การอบรมฯ ในวันนี้มุ่งเน้นการเรียนรู้การนำทุนทางวัฒนธรรมมาพัฒนาต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าทางวัฒนธรรม การพัฒนาต่อยอดสินค้าทางวัฒนธรรม การยื่นคำขอจดลิขสิทธิ์ การขยายช่องทางการจำหน่ายและสร้างเครือข่ายทางการค้า
 
วันที่ 7 มิถุนายน 2566 กิจกรรม Workshop เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ไทย นำเสนอแบบแนวคิดในการพัฒนาสินค้า
 
วันที่ 8 มิถุนายน 2566 ศึกษาดูงาน ณ ชุมชนคุณธรรมฯ วัดเจ็ดเสมียน จังหวัดราชบุรี และชุมชนคุณธรรมฯ บ้านจอมปลวก จังหวัดสมุทรสงคราม
 
ในการนี้ จังหวัดเชียงราย มีผู้ประกอบการเข้าร่วมประชุม จำนวน 2 แห่ง คือ
1. ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย สุดยอดเที่ยวชุมชน ยลวิถี ปี 2564 ผู้ประกอบการ จำนวน 2 ราย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ผ้าทอไทลื้อศรีดอนชัย และผลิตภัณฑ์ กระเป๋าและตุ๊กตาไทลื้อศรีดอนชัย
 
2. ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านเมืองรวง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย สุดยอดเที่ยวชุมชน ยลวิถี ปี 2565 ผู้ประกอบการ จำนวน 2 ราย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ กาแฟอาข่ามิโน และผลิตภัณฑ์ ผ้าปักเมืองรวง
 
ในการนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้นางกัลยา แก้วประสงค์ และนายจิรัฏฐ์ ยุทธ์ธนประวิช นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ กลุ่มกิจการพิเศษ เข้าร่วมอบรมและอำนวยความสะดวกเครือข่ายวัฒนธรรมตลอดการจัดกิจกรรมนี้

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

กฤษยา จันแดง,กัลยา แก้วประสงค์ : รายงาน
จิรัฏฐ์ ยุทธ์ธนประวิช : ภาพ
อภิชาต กันธิยะเขียว : บรรณาธิการข่าว
 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

เชียงราย ส่งเสริมการออกแบบระดับนานาชาติ ร่วมเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก

วันที่ 6-7 มิถุนายน 2566 อพท. ร่วมกับมหาวิทยาลัยพะเยา จัดกิจกรรมส่งเสริมการออกแบบระดับนานาชาติ ร่วมกับเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก ภายใต้แผนที่นำทาง Roadmap เมืองเชียงรายสู่เมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
 
วันที่ 6 มิถุนายน 2566 ณ ห้องประชุมโรงแรมแสน อำเภอเมืองเชียงราย นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยบุคลากรสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ร่วมพิธีเปิดกิจกรรมและรับฟังเสวนาด้านการออกแบบระดับนานาชาติ ในประเด็นเกี่ยวข้องกับการพัฒนาผู้ประกอบการ การพัฒนานวัตกรรม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ หรือกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกด้านการออกแบบ 

โดยให้มีการร่วมแบ่งปันองค์ความรู้ ให้เกิดเป็นรูปธรรมที่สามารถนำมาสร้างผลงานด้านการออกแบบได้จริง โดยมีการเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้แทนสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ การบริหารจัดการแลกเปลี่ยน องค์ความรู้สร้างสรรค์สู่สากล เพื่อการพัฒนาเมือง สร้างสรรค์อย่างยั่งยืน โดยจุดเด่นของการจัดกิจกรรมในปีนี้ คือ Design Together for Chiangrai ภายใต้การนำแนวคิด “เปิดโลก หรือ The Open World ” ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการเชื่อมโยงานขับเคลื่อน UCCN กับ การจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale Chiangrai 2023 ณ จังหวัดเชียงรายระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2566 ถึง 30 เมษายน 2567

วันที่ 7 มิถุนายน 2566 ณ ขัวศิลปะ อำเภอเมืองเชียงราย นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ร่วมเสวนาด้านการออกแบบระดับนานาชาติ ในประเด็น ” เปิดโลก : เมืองสร้างสรรค์สู่ความยั่งยืน” The Open World of Creative Cities towards Sustainability เปิดบทสนทนาว่าด้วยแนวทางการขับเคลื่อน พัฒนาการเป็นเมืองสร้างสรรค์ โดยวิทยากรพิเศษ จากผู้ขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ ร่วมค้นหาแรงบันดาลใจในการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ เพื่อแลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาและยกระดับเชียงรายสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ และมีแผนในการดำเนินการร่วมกับกลุ่มศิลปิน กลุ่มผู้หญิง กลุ่มชาติพันธุ์ และกลุ่มเยาวชนคืนถิ่น

ในการนี้ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย โดยมีนางสาวกฤษยา จันแดง ผู้อำนวยการกลุ่มกอจการพิเศษ นางสุพรรณี เตชะตน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ และนางสาววลัยพร บุญมาก เจ้าหน้าที่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวด้วย

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

วัฒนธรรมเชียงราย อบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น

เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2566 โครงการกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น วันที่ 4 จังหวัดเชียงราย โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ลงพื้นที่จัดทำฐานข้อมูลชุมชน กลุ่มชาติพันธุ์ระดับตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (โดยใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น) โดยลงพื้นที่ จำนวน 2 แห่ง ดังนี้

1. บ้านสันต๋อ หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงรายโดยมี นายประดิษฐ์ สาคำ ผู้ใหญ่บ้านสันต๋อ ร่วมลงพื้นที่และจัดทำฐานข้อมูลประวัติ นายวงค์ ดวงแก้ว ปราชญ์ชุมชนบ้านสันต๋อ
 
2. บ้านเฟือยไฮ หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย โดยมีนายพงษ์พันธ์ นวลคำมา ผู้ใหญ่บ้านเฟือยไฮ พร้อมด้วย ปราชญ์ชุมชน และประชาชนในพื้นที่ จัดทำฐานข้อมูลชุมชน
 
เพื่อจัดทำแผนข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ในการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ และเผยแพร่ข้อมูล ตลอดจนเป็นฐานข้อมูลชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ระดับตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ภายใต้โครงการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ต่อไป
 
ในการนี้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย โดยนายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้นายยุทธนา สุทธสม นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ และนายอภิชาต กันธิยะเขียว นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ ลงพื้นที่ จัดทำข้อมูลดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
VIDEO

สัมภาษณ์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย กิจกรรม “ละอ่อนม่วน Road”

สัมภาษณ์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย กิจกรรม “ละอ่อนม่วน Road”

Facebook
Twitter
Email
Print

นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ที่ปรึกษากิจกรรม ละอ่อนม่วน Road กล่าวว่า “พื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่สาธารณะ ซึ่งทางผู้จัดงานนครเชียงรายนิวส์ร่วมกับทาง MY Dance Academy และอีกหลาย ภาคส่วน ทั้งสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ขัวศิลปะ และเทศบาลนครเชียงราย เห็นตรงการว่าพื้นที่สาธารณะตรงนี้ ซึ่งเป็นบริเวณถนนคนเดิน ทุก ๆ เย็นวันเสาร์ก็จะเป็นพื้นที่เปิดกว้างสำหรับเด็ก ๆ น้อง ๆ เยาวชนของเชียงรายได้มารวมตัวกัน มาแสดงความสามารถเป็นชุมชนของพวกเขา เป็นถนน “ละอ่อนม่วน Road” ก็คือมาปล่อยของ มีความสามารถอะไร ทั้งด้านดนตรี ด้านเต้นรำ ด้านเพลงต่าง ๆ มาแสดงกัน มาสนุกกัน มาม่วนกัน” 

“ตั้งแต่ตอนเย็นแล้ว เราเห็นน้อง ๆ คอสเพลย์กลุ่มหมวกฟางมาแต่งตัวเป็นคอสเพลย์ต่าง ๆ และมีน้อง ๆ ที่รักการเต้น ทั้งเต้นฮิปฮอป เต้นสตรีทแดนซ์ มาประชันกัน และมีน้อง ๆ มาร้องเพลงแร๊พ เพลงป๊อบต่าง ๆ ได้มาแสดง มาแต่งตัว มาพูดคุยกัน มาชื่นชมกัน นี่คือสัฃคมของน้อง ๆ เด็ก ๆ ที่มาปล่อยของกัน แล้วก็มารวมตัวทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ ก็อยากเห็นกิจกรรมแบบนี้ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ทำให้เมืองเชียงรายของเราเป็นเมืองสร้างสรรค์ ครีเอทีฟซิตี้ได้”

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

Facebook
Twitter
Email
Print
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News