Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

เพิ่มมูลค่าทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน โครงการสืบทอดภูมิปัญญาพื้นบ้าน

 

วันอังคารที่ 26 ธันวาคม  2566 เวลา 09.00 เป็นต้นไป ณ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย สภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงรายบูรณาการร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงรายและเครือข่ายสภาวัฒนธรรมอำเภอ 18 อำเภอ จัดกิจกรรมภายใต้โครงการสืบทอดภูมิปัญญาพื้นบ้าน สู่การเพิ่มมูลค่าทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

  โดยมี ผศ. ยิ่งศักดิ์ เพชรนิล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการฯ  อาจารย์ ดร.อดิเทพ วงศ์ทอง ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย กล่าวต้อนรับ และ นางสลักจฤฎดิ์ ติยะไพรัช ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย กล่าวรายงาน

   โครงการสืบทอดภูมิปัญญาพื้นบ้าน สู่การเพิ่มมูลค่าทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ 2566 สภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมจังหวัดเชียงราย กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อดำเนินโครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างองค์ความรู้ และกระตุ้นให้บุคคลในท้องถิ่นตลอดจนเด็กและเยาวชน ตระหนักถึงคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยนำหลักคุณธรรมมาใช้ในการดำรงชีวิตบนพื้นฐานความพอเพียงได้ รวมถึงการอนุรักษ์ สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ถูกต้องตามแบบฉบับให้คงอยู่สู่เด็ก เยาวชนและประชาชนตลอดไป เพื่อสร้างทัศนคติ ค่านิยม ให้บุคคลในท้องถิ่นเกิดความรักถิ่นฐาน หวงแหนมรดกทางวัฒนธรรม อันดีงามให้อยู่คู่สังคมไทย

 

มีกิจกรรมภายใต้โครงการฯ ประกอบด้วย

  1. การเสวนา “ภูมิปัญญาพื้นบ้าน สู่การเพิ่มมูลค่าทางวัฒนธรรม” ผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย

      1.1 พระครูปิยวรรณพิพัฒน์ ,ดร. ประธานคลังปัญญาจังหวัดเชียงราย เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการคลังปัญญาผู้สูงอายุจังหวัดเชียงราย

      1.2 ร.ศ. มาลี หมวกกุล ประธานสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ประยุกต์ มร.ชร. เรื่อง อาหารภูมิ อาหารถิ่น กับการยกระดับสู่สากล

      1.3 อาจารย์ ดร.อดิเทพ วงศ์ทอง ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มร.ชร. เรื่อง ประเพณีท้องถิ่นล้านนา

     1.4 นายอนุสรณ์ บุญเรือง ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรม สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มร.ชร. เรื่อง ความเชื่อ วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษาอักขระล้านนา

      1.5 นายธันวา เหลี่ยมพันธุ์ รองประธานสภาวัฒนธรรมเชียงราย เรื่อง การส่งเสริม รักษา และต่อยอดมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่น

     …ผู้ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.รณิดา ปิงเมือง ที่ปรึกษาอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

  1. การแสดงมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ด้านการละเล่นพื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว “การแสดงชุดจายเจิงหาญ”
  2. การขับซอพื้นบ้าน โดย นางบัวลอย โชติสิริพัชญ์ คนดีศรีเชียงราย สาขาศิลปะการแสดง ประจำปี 2566
  3. การสาธิตมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม จากเครือข่ายสภาวัฒนธรรมทั้ง 18 อำเภอ
  4. การสาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม (CPOT) และภูมิปัญญาพื้นบ้าน

ในการนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ได้มอบหมายให้นักวิชาการวัฒนธรรม ผู้ประสานงานวัฒนธรรมอำเภอ และเจ้าหน้าที่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ร่วมจัดกิจกรรมและอำนวยความสะดวกแก่เครือข่ายทางวัฒนธรรมและผู้มาร่วมงาน และการดำเนินการดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
MOST POPULAR
FOLLOW ME