Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

วัฒนธรรมเชียงราย ร่วมประชุมไทยแลนด์ เบียนนาเล่ 2023 เหนือสุดของประเทศไทย

 

วันนี้(23 ต.ค.) การประชุมคณะกรรมการอำนวยโครงการการจัดมหกรรมศิลปร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale ,Chiang Rai 2023 ครั้งที่ 1/2566

 

        รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ครั้งที่ 1/2566 วันที่ 24 ตุลาคม 2566 เวลา 14.30 น. นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ครั้งที่ 1/2566 โดยมี นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย นายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ศาสตรเมธี ดร.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปี พ.ศ. 2554 นางสาวเพ็ญพิสุทธิ์ จินตโสภณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม คณะกรรมการอำนวยการโครงการจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ ศูนย์ประชุมกระทรวงวัฒนธรรม ชั้น 8 อาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ กระทรวงวัฒนธรรม และผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting

 

      ในการนี้ นายพิสันต์  จันทร์ วัฒนธรรมจังหวัด นางสาวนันทวรรณ กันคำ ประชาสัมพันธ์จังหวัด นางวรางคณา อุ่นบ้าน ผอ. สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย นายสถินะ เพ็ชรจู หัวหน้างานพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว แทนนายเทศมนตรีนครเชียงรายพร้อมเจ้าหน้าที่ร่วมประชุมผ่านระบบซูม ณ ห้องประชุมอูหลง ศาลากลางจังหวัดเชียงราย

 

         ที่ประชุมร่วมปรึกษา หรือเพื่อเตรียมการจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ดังนี้

     1.รับทราบความคืบหน้าการดำเนินโครงการการจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023

     2.ร่วมหารือการเตรียมความพร้อมของพิธีการและขั้นตอนต่างๆ ในพิธีเปิดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023    

     3.นายพุฒิพงษ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้แจ้งต่อที่ประชุมในประเด็นหารือที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณในพิธีเปิดงานฯ และการจัดงานมหกรรมฯ รวมถึงประเด็นข้อเสนอแนะอื่นที่มีเกี่ยวข้องการจัดงานฯ

  1. นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ได้แจ้งต่อที่ประชุมในประเด็นหารือแผนด้านขนส่งสาธารณะบริการตลอดการจัดมหกรรมฯ

     5.ร่วมหารือและขอความร่วมมือบูรณาการหน่วยงานต่างๆในการดำเนินงานโครงการมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023

     6.รับทราบแผนการประชาสัมพันธ์งานมหกรรมศิลปะร่วมสมัย Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 และทิศทางการดำเนินงานต่อไป

 

ในการนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมาย นางพัชรนันท์ แก้วจินดา ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม และข้าราชการสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ร่วมประชุมดังกล่าว มหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ ครั้งที่ 3 ไทยแลนด์เบียนนาเล่ เชียงราย 2023 กำหนดจัดในพื้นที่เหนือสุดของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดเชียงราย ภายใต้แนวคิด “เปิดโลก (The Open World)” ระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2566 – 30 เมษายน พ.ศ. 2567

 

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

พัชรนันท์ แก้วจินดา,นิติกร ปันแก้ว : รายงาน

นิติกร ปันแก้ว วรพล จันทร์คง  : ภาพ

อภิชาติ กันธิยะเขียว : บรรณาธิการข่าว

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

พิธีสืบชะตาแบบล้านนา อายุวัฒนะมงคล พระครูบากษิพัฑฒิ สิริภทโท

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม  พฺ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา เวลา 09.19 น.  พุทธสมาคมแห่งจังหวัดเชียงราย นำโดยนายนิรันดร์ ภิระบรรณ์ นายกพุทธสมาคม และกรรมการพุทธสมาคม นายธีระพนธ์  ภักดีพงษ์ อุปนายก ,ดร.เกียรติคุณ จันแก่น  อุปนายก ,นางจิตรา สิทธนานุวัฒน์   นโยบายและแผน ,ดร. ปรีด จันทร์แจ่มศรี  เลขาธิการ คณะกรรมการ

ได้เข้าร่วมพิธีสืบชะตาแบบล้านนา  อายุวัฒนะมงคลพระครูบากษิพัฑฒิ สิริภทโท  รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดป่ายางสบยาบ ณ อุโบสถ วัดป่าบางสบยาบ ตำบลแม่เงิน อำเภอเชียงแสน  โดย ดร.พิชาญ  พรหมเมฆประธาน  ที่ปรึกษา

 

ในงานนี้ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 เป็นประธานในพิธีพระสงฆ์ โดยมีจำนวน 19 รูป เจริญพระพุทธมนต์ และพิธีขอขมากรรม ปล่อยปลา 108 ตัว ลงสู่แม่น้ำโขง ถวายองค์พญาอนันตนาคราช บูรพกษัตริย์ เทวดา พญานาค และเจ้ากรรมนายเวร

 

งานสืบชะตานี้มีผู้เข้าร่วมมากกว่า 200 กว่าคน และได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากคณะสงฆ์ ตลอดจนคณะศรัทธาประชาชน จำนวน100 ครัวเรือน เป็นอย่างดี

 

พิธีสืบชะตาแบบล้านนา  ของเชียงรายถือเป็นตัวอย่างของมรดกทางวัฒนธรรมและศาสนาที่อุดมไปด้วยความหลากหลายในภูมิภาค. งานนี้ไม่เพียงเสริมเสริมสร้างความสามัคคีในชุมชนท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังเสริมค่านิยมในการมีน้ำใจ การทำบุญต่อพระพุทธศาสนา. มันเป็นหลักฐานของประเพณีที่ยังคงมีบทบาทสำคัญในการกำหนดอัตลักษณ์ของจังหวัดเชียงราย.

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : พุทธสมาคมแห่งจังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE VIDEO

(มีคลิป) ฝึกซ้อมฟ้อนเมืองไหว้สาปูจาพญามังราย

 

วันที่ 19 ตุลาคม 2566 เวลา 15.00 น. บุคลากรในสังกัดสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงรายร่วมใจกันฝึกซ้อมฟ้อนเมืองไหว้สาปูจาพญามังราย

 

     ในโอกาสนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย นายจิรัฏฐ์ ยุทธ์ธนประวิช นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ ได้เป็นแกนนำและถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับศิลปะการฟ้อนฯ ให้กับข้าราชการและเจ้าหน้าที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย

 

 

   ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าว กำหนดจัดทุกวันพฤหัสบดี เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป เพื่อร่วมกิจกรรมของจังหวัดเชียงราย นำโดย แม่ครูบัวเรียว รัตนมณีภรณ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน-ช่างฟ้อน) พ.ศ.2559, เหล่ากาชาดจังหวัดเชียงราย, สภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย, คณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดเชียงราย, หน่วยงาน องค์กร และประชาชนชาวเชียงราย “ฟ้อนไหว้สาพญามังราย” ในวันที่ 26 มกราคม 2567 ณ บริเวณพระราชานุสาวรีย์พญามังรายมหาราช จังหวัดเชียงราย

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

30 หน่วยงาน คลอด 12 แนวทาง ชวนแต่งผ้าไทย-ชุดท้องถิ่นลอยกระทง

 

30 หน่วยงานร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทงปี 2566 ยิ่งใหญ่ คลอด 12 แนวทาง ขอความร่วมมืออนุรักษ์คุณค่าวัฒนธรรมอันดีงาม เน้นปลอดภัย ไม่ดื่ม ชวนแต่งผ้าไทย-ชุดท้องถิ่นลอยกระทง เผยแพร่ความรู้ ดึงชาวต่างชาติเที่ยวไทย สร้างรายได้เข้าประเทศหนุนนโยบาย THACCA  เตรียมเสนอยูเนสโกขึ้นทะเบียน “ประเพณีลอยกระทง”มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติปี 67

 

                นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ได้มีการประชุมคณะกรรมการการบูรณาการการกำหนดแนวทางการจัดงานประเพณีลอยกระทง พุทธศักราช 2566 ครั้งที่ 1/2566 เป็นที่น่ายินดีว่า ปีนี้มีผู้แทนหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง 30 หน่วยงาน เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์  โดยที่ประชุมได้รับทราบนโยบายของกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ในการขับเคลื่อนงานประเพณีที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล(Thailand Creative Content Agency -THACCA) ในการสร้างการรับรู้งานเฟสติวัลของไทยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศ  และนโยบายของ วธ. ในการส่งเสริมคุณค่าเทศกาลประเพณีของชาติและเทศกาลอื่นๆด้านวัฒนธรรมให้เป็นหมุดหมายของนักท่องเที่ยวทั่วโลก ปีนี้ขอความร่วมมือทุกหน่วยงานทั่วประเทศร่วมเป็นเจ้าภาพที่ดี สร้างความประทับใจ อำนวยความสะดวก ความปลอดภัยให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ให้เกิดความประทับใจกลับมาท่องเที่ยวไทยอีก

 

นายเสริมศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับปีนี้มีสถานที่จัดงานทั้งในกรุงเทพฯ เช่น วัดอรุณราชวราราม คลองผดุงกรุงเกษม คลองโอ่งอ่างและต่างจังหวัด เช่น เชียงใหม่ สุโขทัย เชียงราย พระนครศรีอยุธยา ร้อยเอ็ด นครศรีธรรมราช สมุทรสงคราม เป็นต้น ที่ประชุมเห็นด้วยในการขอความร่วมมือไม่เล่นพลุ ดอกไม้ไฟ ประทัดยักษ์  รณรงค์ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่จัดงานประเพณีลอยกระทงและขณะขับขี่ยานพาหนะ การควบคุมป้องกันโรคติดต่อ  การประดิษฐ์กระทงด้วยวัสดุในท้องถิ่นหรือวัสดุที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เชิญชวนคนไทยแต่งไทยหรือชุดท้องถิ่นมาร่วมงานประเพณีลอยกระทงและการประชาสัมพันธ์งานทั้งในกรุงเทพฯและจังหวัดต่างๆ 

 

นายเสริมศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า  ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแนวทางการส่งเสริมประเพณีลอยกระทง   ในปี 2566 ครอบคลุมในประเด็นคุณค่าสาระของวัฒนธรรมประเพณี วิถีอัตลักษณ์ท้องถิ่น การท่องเที่ยวและสุขภาพ ตลอดจนความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ดังนี้ 1. จัดกิจกรรมเน้นคุณค่าและสาระของวัฒนธรรม ประเพณี การท่องเที่ยวและสุขภาพ โดยคำนึงถึงความเหมาะสม ความหลากหลายของแต่ละท้องถิ่น  2. ส่งเสริมให้จังหวัดต่างๆ ร่วมจัดกิจกรรมทางศาสนา ความเชื่อ ในประเพณีลอยกระทงอย่างเหมาะสม 3. รณรงค์ให้ประชาชนสืบสานคุณค่าสาระและสิ่งที่ควรทำของประเพณีลอยกระทง รักษาความสะอาดแม่น้ำ ลำคลอง ประดิษฐ์กระทงด้วยวัสดุในท้องถิ่นหรือวัสดุที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาหรือความเชื่อที่นับถือ 4. สนับสนุนศิลปินพื้นบ้านในการจัดกิจกรรมการละเล่น และการแสดงทางวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น และการแสดงออกถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น 5. ผู้เข้าร่วมงาน ควรคำนึงถึงหลักสิทธิ มนุษยชน เช่น การไม่คุกคามทางเพศ การไม่เล่นประทัด พลุ ดอกไม้ไฟในที่สาธารณะ และการไม่สร้าง ความวุ่นวายหรือความเดือดร้อนต่อผู้อื่นในที่สาธารณะ เป็นต้น 6. ขับขี่ยานพาหนะและใช้ถนนหนทางให้ปฏิบัติตาม กฎหมาย กฎจราจรอย่างเคร่งครัด รวมถึงช่วยสอดส่อง หรือแจ้งเจ้าหน้าที่ในกรณีพบเห็นผู้ที่ปฏิบัติตนไม่เหมาะสม 7. การดำเนินการจัดงานตามคำแนะนำในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด โรคติดเชื้อของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด และการรักษาความปลอดภัยในด้านอื่น ๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 8. ส่งเสริมภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเพณีลอยกระทงทั้งในระดับท้องถิ่น ประเทศ และระหว่างประเทศ 9. ส่งเสริมภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน ในการเผยแพร่คุณค่าสาระของประเพณีลอยกระทงที่แท้จริงของต่อชาวต่างชาติ 10.ส่งเสริมในการสร้างความตระหนักรู้ ต่อประชาชนเกี่ยวกับประเพณีลอยกระทงในประเทศไทยในฐานะที่เป็นมรดกภูมิปัญญาของชาติ สร้างความภาคภูมิใจและหวงแหนในประเพณีลอยกระทงต่อประชาชน 11. รณรงค์ให้ประชาชนสร้างอัตลักษณ์ความเป็นไทยในการเข้าร่วมกิจกรรม ประเพณีลอยกระทง เช่น แต่งกายด้วยชุดสุภาพผ้าไทย ผ้าท้องถิ่น หรือชุดไทยที่เป็นอัตลักษณ์ของแต่ละ ท้องถิ่น เป็นต้น 12. ส่งเสริมกิจกรรมที่มีความสร้างสรรค์ที่สามารถพัฒนาต่อยอดคุณค่าสาระลอยกระทง เพื่อเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจของชุมชนและของประเทศ โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ในชุมชน และยังคงอัตลักษณ์ของความเป็นท้องถิ่น

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ วธ. จะมีการเก็บข้อมูลเทศกาลประเพณีลอยกระทงในประเทศไทยเตรียมเสนอขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ  (ยูเนสโก)  ในปี 2567 ด้วย

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงวัฒนธรรม

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
CULTURE

เริ่มแล้ว 9 ประเทศอาเซียนร่วมเทศกาล อาเซียนปันหยี ที่อินโดนีเซีย

 

เริ่มแล้ว 9 ประเทศอาเซียนร่วมเทศกาลอาเซียนปันหยี หรือ “อิเหนา” ที่อินโดนีเซีย วธ.ขับเคลื่อนงานด้านการต่างประเทศ ส่งเสริมบทบาททางวัฒนธรรมของไทยในเวทีอาเซียนใน ASEAN Panji Festival 2023 วันที่ 7 – 28 ตุลาคมนี้ ณ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ฉลองในวาระครบรอบ 6 ปี ในการขึ้นทะเบียนปันหยีเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก (Memory of the World: MOW)

 

นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายกรมศิลปากรในการส่งคณะศิลปินนักแสดงเข้าร่วมจัดการแสดงปันหยี หรืออิเหนา ในงานเทศกาลอาเซียนปันหยี 2023  ระหว่างวันที่ 7 – 28 ตุลาคม 2566 ณ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย) ซึ่งจัดขึ้นโดยกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม การวิจัย และเทคโนโลยี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 6 ปี ในการขึ้นทะเบียนปันหยีเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก (Memory of the World: MOW) อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมความรู้และความเข้าใจในฐานะมรดกทางวัฒนธรรมร่วมของภูมิภาค ทั้งด้านประวัติศาสตร์ ความสำคัญทางวัฒนธรรม รูปแบบการนำเสนอและเทคนิคการแสดง การแต่งกายและดนตรี รวมถึงพัฒนาการและความท้าทายร่วมของวรรณกรรมปันหยีโดยผู้เข้าร่วมเทศกาล ประกอบด้วย ประเทศสมาชิกอาเซียนจาก 9 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม 

 

ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า อิเหนา เป็นวรรณกรรมที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และยังคงเป็นวรรณกรรมสำคัญที่ใช้สำหรับจัดทำการแสดงมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และยังเป็นวรรณกรรมร่วมที่แพร่หลายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถสะท้อนคติ ความคิดความเชื่อ ค่านิยมของสังคม ขนบประเพณีของแต่ละประเทศ การส่งศิลปินนักแสดงเข้าร่วมเทศกาลดังกล่าวจึงเป็นโอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้และความเข้าใจในการนำเสนอปันหยีหรืออิเหนาผ่านการแสดงและการตีความตามบริบทของแต่ละประเทศ รวมถึงจะเป็นการสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการด้านงานสร้างสรรค์ศิลปะการแสดงในอนาคต ตามแนวนโยบายของกระทรวงวัฒนธรรมในการมุ่งพัฒนาและเสริมสร้างความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมกับต่างประเทศ และการส่งเสริมบทบาททางวัฒนธรรมของไทยในเวทีโลก

 

ในโอกาสนี้ นายลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต กรมศิลปากร ได้เข้าร่วมพิธีเปิดและรับชมการแสดงอาเซียนปันหยี ในวันที่ 13 ตุลาคม 2566 ณ เมืองยอกยาการ์ตา โดยกล่าวว่า สำนักการสังคีต กรมศิลปากรได้ร่วมส่งศิลปินนักแสดงหญิง จำนวน 6 คน ร่วมจัดการแสดงในเทศกาลอาเซียนปันหยี 2023 โดยการแสดงแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การแสดงรายประเทศ และการแสดงรวมประเทศ (Finale) โดยประเทศไทยได้รับมอบหมายให้จัดการแสดงในตอน พิธีมงคลสมรสของปันจี อีนูเกอร์ตาปาตี (Panji Inukertapati) กับกาลุห์อาเยง (Galuh Ajeng) ซึ่งเป็นเนื้อเรื่องตอนที่ไม่ปรากฏในวรรณกรรมอิเหนาของประเทศไทย จึงเป็นการประดิษฐ์ท่ารำตีบทตามเนื้อเรื่องของประเทศอินโดนีเซีย และใช้เสียงเพลงจากวงปี่พาทย์บรรเลงประกอบการรำตีบทเพื่อสื่อความหมายในการดำเนินเรื่องในรูปแบบละครใน โดยในส่วนของการแสดงรวมประเทศ (Finale) นางสาวศรีสุคนธ์ บัวเอี่ยม นาฏศิลปินอาวุโส สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ได้รับคัดเลือกจากผู้กำกับการแสดงให้รับบท ปันจี อีนูเกอร์ตาปาตี หรือ อิเหนา ซึ่งเป็นตัวละครเอกของเรื่อง นับเป็นเกียรติสำหรับประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง การแสดงอาเซียนปันหยีจะดำเนินการจัดการแสดงไปยังอีก 4 เมือง ได้แก่ เกดิรี สุราบายา มาลัง และสุราการ์ตา (โซโล) รวมถึงกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Workshop) ระหว่างศิลปินนักแสดงอาเซียนร่วมกับนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ตลอดทั้งเดือนตุลาคมนี้

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : กระทรวงวัฒนธรรม

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

Thailand Biennale ปักหมุด 19 พ.ย. 66 เปิดพาเหรดและประติมากรรม 18 อำเภอ

 

จังหวัดเชียงราย ร่วมกับสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย จัดการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานโครงการการจัดมหกรรมศิลปร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale,Chiang Rai 2023 และการประชุมคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์โครงการการจัดมหกรรมศิลปร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale,Chiang Rai 2023 ในวันพฤหัสบดีที่ 12 ตุลาคม  2566 เวลา 13.30 น.

ณ ห้องประชุมสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ผ่านระบบซูม นายประสพ เรียงเงิน ประธานการประชุม พร้อมด้วยคณะกรรมการดำเนินงานฯ ,คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ฯ  จังหวัดเชียงราย นายพุฒิพงษ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้นางสุภาพรรณ หมั่นเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย  พร้อมด้วย นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย นางสาวนันทวรรณ กันคำ ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย นายสรรเสริญ ศีติสาร รองผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเชียงราย  นางสาวพลอยไพรินทร์ คุณมาก แทนผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย นายโชติศิริ ดารายน นายกสมาคมผู้สื่อข่าวและนักประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย นายสุวิทย์ ใจป้อม นายกสมาคมขัวศิลปะ นางสาววัจนีย์ บุญเจ็น ผู้จัดการขัวศิลปะ นายนิพนธ์ ตาตน รองผู้จัดการขัวศิลปะ พร้อมด้วยผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุมฯ

          ที่ประชุมร่วมปรึกษา หรือเพื่อเตรียมการจัดงานและการประชาสัมพันธ์งานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ดังนี้

     1.รับทราบความคืบหน้าการลงพื้นที่ของศิลปิน และการดำเนินโครงการการจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023

     2.ร่วมหารือการเตรียมความพร้อมกิจกรรม และการเตรียมความพร้อมรับรองแขกคนสำคัญ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ และศิลปิน     

     3.รับทราบรายงานการดำเนินงานด้านประชาสัมพันธ์ที่ผ่านมา โดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ในการนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย และนางสาวนันทวรรณ กันคำ ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย ได้รายงานต่อที่ประชุมถึงการดำเนินงานของจังหวัดเชียงราย ด้านประชาสัมพันธ์การจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัย Thailand Biennale, Chiang Rai  2023

     4.นายสุวิทย์ ใจป้อม นายกสมาคมขัวศิลปะ ได้แจ้งถึงความก้าวหน้าการ

เตรียมในการจัดขบวนพาเหรดและประติมากรรมของ 18 อำเภอ และแผนการเตรียมงานวันพิธีเปิดขบวนพาเหรดและประติมากรรม 18 อำเภอ ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2566

     5.ที่ประชุมร่วมกันหารือแผนการและแนวทางการประชาสัมพันธ์ในก้าวต่อไปของการจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัย Thailand Biennale, Chiang Rai  2023 

โดนนายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมาย นางพัชรนันท์ แก้วจินดา ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ในฐานะคณะกรรมการดำเนินงานฯ และข้าราชการสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ร่วมประชุมดังกล่าว

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สนง.วัฒนธรรม เชียงราย

พัชรนันท์ แก้วจินดา,นิติกร ปันแก้ว : รายงาน 
อภิชาต กันธิยะเขียว วรพล จันทร์คง สุทธิดา ตราชื่นต้อง : ภาพ 
อภิชาต กันธิยะเขียว : บรรณาธิการข่าว
 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

“กาดไตลื้อ” นัดที่ 2 คึกคักด้วยมนต์เสน่ห์ชาวไตลื้อ

 

วันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม 2566 เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป ณ วัดท่าข้ามศรีดอนชัย ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ร่วมกับชุมชนศรีดอนชัยไทลื้อ จัดตลาดวัฒนธรรมชุมชน “กาดไตลื้อ ศรีดอนชัย” นัดที่ 2 ภายใต้โครงการชุมชนวัฒนธรรมไทยสร้างเสริมเศรษฐกิจ

ชุมชนศรีดอนชัยไทลื้อ เป็นพื้นที่ชุมชนและท้องถิ่นที่มีศักยภาพ มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม “ไทลื้อ” ที่เด่นชัด จึงจัดพื้นที่ตลาดใหม่เพื่อเพิ่มช่องทางให้ประชาชนมีพื้นที่ในการจำหน่ายสินค้าทางวัฒนธรรม กิจกรรมการแสดง บริการ ที่แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ผ่านการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน  สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยว และเกิดความประทับใจ ซึ่งจะนำมาสู่ความภาคภูมิใจ รวมถึงเป็นการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ชุมชน กาดไตลื้อ ศรีดอนชัย  นัดที่ 2 ของเรามีแนวคิดในการพัฒนาเป็นตลาดวัฒนธรรม ชิม ช๊อป ชม สินค้า สาธิตผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม CPOT อาหารพื้นถิ่น พืชผัก ผลไม้ ของชาวศรีดอนชัย  ภายในงานมีการแสดงแฟชั่นโชว์ “สีสันเส้นด้าย ลายผ้างาม นามศรีดอนชัย” และการแสดงทางศิลปวัฒนธรรม ม่วนจอยกับการรำวงย้อนยุค พร้อมนี้พ่อค้าแม่ขาย ผู้ประกอบการ ผู้ร่วมงาน และนักท่องเที่ยว ร่วมกันแต่งกายด้วยชุดไทลื้อ ชุดพื้นถิ่น พร้อมหิ้วตะกร้ามาร่วมกิจกรรมเป็นการสร้างบรรยากาศเสน่ห์ที่ยังมีมนต์ขลังของชาวไทลื้อศรีดอนชัย

ในการนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มอบหมาย นางกัลยา แก้วประสงค์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นางสุพรรณี เตชะตน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ และนายยุทธนา สุทธสม นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ (ผู้ประสานงานวัฒนธรรมอำเภอเชียงของ) เข้าร่วมกิจกรรมฯ

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE VIDEO

(มีคลิป) การแสดงชุดพิเศษ “ฟ้อนเจิงสาวไหม – ตบมะผาบ”

 
ฟ้อนเจิง ลายสาวไหม เชิง หรือ เจิง เป็นศิลปะลีลาท่าฟ้อนมือเปล่าของชายหนุ่มชาวล้านนา มีท่วงท่าหลากหลาย ได้แรงบันดาลใจจากธรรมชาติรอบตัว เช่น ท่าเสือ เสือเล่นฮอก(กะรอก) เสือลากหาง ท่าช้าง ช้างงาบานเดินอาจหรือท่าทางในการทำงานประจำวัน เช่น สาวไหม ปั่นฝ้าย ผ่าฟืน ฯลฯ
 
 
นอกจากนี้ ยังมีแม่ท่า “ตบมะผาบ” (มะผาบ = ประทัด) ด้วยการใช้ฝ่ามือตบไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกายผู้ฟ้อนให้เกิดเสียงดังคล้ายเสียงจุดประทัด ดูแล้วเกิดความรู้สึกตื่นเต้นเร้าใจ
เพลงที่ใช้ประกอบในครั้งนี้ บรรเลงโดยปี่พาทย์พื้นเมือง ชื่อ เพลงมวย ต้นเพลงจะเนิบช้า ฟ้อนแม่ท่าสาวไหม แล้วเปลี่ยนเป็นจังหวะเร็ว ผู้ฟ้อนก็จะใช้แม่ท่าตบมะผาบ
 
.
ซึ่งชุดการแสดงนี้ได้รับเกียรติจาก พิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ฟ้อนเจิงสาวไหม โดย นิสิตระดับมหาบัณฑิต พัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย เชียงราย (มจร.เชียงราย) ประกอบ “เพลงมวย” บรรเลงโดย วงปี่พาทย์พื้นเมืองเชียงราย วัดท่าไคร้ บ้านเมืองรวง ต.แม่กรณ์ อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย ในงานถวายสลากภัต (ตานก๋วยสลาก) ในวันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม 2566 ณ วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย (ส่วนแยกบ้านน้ำลัด) มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดบำเพ็ญพระราชกุศล 7 วัน พระราชทานศพ พระพรหมวชิรคุณ (ไพบูลย์ สุมงฺคโล)

วันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2566 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดบำเพ็ญพระราชกุศล 7 วัน พระราชทานศพ พระพรหมวชิรคุณ (ไพบูลย์ สุมงฺคโล) อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 4,5,6,7 ธรรมยุต และเจ้าอาวาสวัดเทพนิมิตสุดเขตสยาม

 เวลา 18.00 น.พระพิธีธรรมหลวง พระพรหมวชิรคุณ (หลวงปู่ไพบูลย์ สุมังคโล) โดยมี พระครูอุดมภาวนาจารย์ (หลวงปู่ทองสุก อตฺตรปญฺโญ) วัดอนาลโยทิพยาราม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นายจิรชัย มูลทองโร่ย กรรมาธิการ การเศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง, วุฒิสภา เป็นประธานฝ่ายฆราวาส พร้อมด้วย นายปิยพันธุ์  นิมมานเหมินท์ สมาชิกวุฒิสภา นายดุสิต เขมะศักดิ์ชัย สมาชิกวุฒิสภา ศาสตราจารย์ ดร.สุจิตรา วงศ์เกษมจิตต์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาณุพงษ์ ใจวุฒิ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง นายวิรุฬห์ สิทธิวงศ์ นายอำเภอเชียงของ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พ.ต.อ.เกรียงศักดิ์ ตงศิริ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรเชียงของ พ.ต.ท.ชัยวัฒน์ มีมุ่งธรรม สารวัตรป้องกันปราบปราม สถานีตำรวจภูธรเชียงของ นายวีระชาติ สุวรรณา ผู้อำนวยการกลุ่มงานอำนวยการ สำนักงานจังหวัดเชียงราย นายธันวา เหลี่ยมพันธุ์ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอเชียงของ หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ ผู้บริหารและข้าราชการองค์กรครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ผู้นำชุมชน และศรัทธาสาธุชนศิษยานุศิษย์ เข้าร่วมพิธี ณ ศาลาปฏิบัติธรรม วัดเทพนิมิตสุดเขตสยาม ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

 

    โดยพระพิธีธรรม สำรับ วัดเจ็ดยอด พระอารามหลวง จังหวัดเชียงราย จำนวน 4 รูป ดังนี้

  1. พระใบฎีกาแสงธรรม สุปญฺโญ
  2. พระธนากร ธนกโร
  3. พระมนู อานนฺโท
  4. พระสมชาย ธมฺมปิโย

 และเจ้าหน้าที่กลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติพิธี

ในการนี้ นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นางพัชรนันท์ แก้วจินดา ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม นางสายรุ้ง สันทะบุตร นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายภัทรพงษ์ มะโนวัน หัวหน้ากลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน นายสุพจน์ ทนทาน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ นายวิชชากรณ์ กาศโอสถ นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ นายนิติกร ปันแก้ว นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ นายสานุพงศ์ สันทราย นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ นายจิราวัฒน์ พรมศิริ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธี นายเขต ของเทิง เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธี นายกรวิทย์  โกเสนตอ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธี นายธนากร สุวรรณสังข์ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธี สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เข้าร่วมพิธี สนับสนุน อำนวยความสะดวกแด่คณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนที่เจ้ามาร่วมงาน รวมทั้งปฏิบัติงานพิธีดังกล่าว

 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : ทีมข่าวนครเชียงรายนิวส์

พัชรนันท์ แก้วจินดา, นิติกร ปันแก้ว, สุพจน์ ทนทาน : รายงาน 

วิชชากรณ์ กาศโอสถ, นิติกร ปันแก้ว, สานุพงศ์ สันทราย : ภาพ 

อภิชาต กันธิยะเขียว : บรรณาธิการ

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News
Categories
AROUND CHIANG RAI CULTURE

อ.เฉลิมชัย รีเทิร์นช่วยงาน เบียนนาเล่ จ.เชียงราย

 
วันนี้ (4 ต.ค.) ที่ศาลาธรรม วัดร่องขุ่น ต.ป่าอ้อดอนชัย อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย นายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) นางสุภาพรรณ หมั่นเจริญ รองผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย เป็นตัวแทนหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ ไทยแลนด์เบียนนาเล่ เชียงราย 2023 ซึ่งประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดที่ จ.เชียงราย ระหว่างเดือน ธ.ค.2566-เม.ย.2567 ได้เข้าพบกับอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิติพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติชาวเชียงราย อาจารย์สุวิทย์ ใจป้อม นายกสมาคมขัวศิลปะ จ.เชีงราย เพื่อขอให้อาจารย์เฉลิมชัยได้กลับมาร่วมเตรียมความพร้อมและจัดงานดังกล่าวให้สำเร็จ
 
 
นายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย แจ้งว่าทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และผู้ที่เกี่ยวข้องล้วนขอให้อาจารย์เฉลิมชัยกลับมาด้วย ซึ่งทางอาจารย์เฉลิมชัยได้ตอบรับด้วยดีและรับพวงมาลัยดอกไม้พร้อมระบุว่าเป็นความตั้งใจของตนที่จะกลับมาช่วยหลังจากที่มีเรื่องการเมืองจนทำให้มีการเปลี่ยนแปลง และเห็นว่าถึงเวลาที่จะกลับมา
 
 
อาจารย์เฉลิมชัย กล่าวว่า ผู้คนอาจจะคิดว่าศิลปะก็เหมือนๆ กันทั่วไป แต่ตนอยากบอกว่าศิลปะก็เหมือนกับแฟชั่นที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาแล้วแต่ยุคสมัยและมีระดับ เช่น แฟชั่นชั้นนำ ฯลฯ ซึ่งการจัดงานเบียนนาเล่คือการนำศิลปะแฟชั่นชั้นนำ และล่าสุด รวมทั้งคัดสรรที่สุดยอดที่สุดของโลกมาจัดแสดง โดยมีศิลปะชั้นยอดจากประเทศไทยจากศิลปินในประเทศมาจัดแสดง 20 คน และศิลปินชั้นนำจากทั่วโลกอีก 40 คน ซึ่งตนยืนยันแต่ละคนล้วนมีความสุดยอด ล้ำยุค และล้ำหน้า จึงขอเชิญชวนไปงานกันได้ตั้งแต่วันที่ 9 ธ.ค.2566-เม.ย.2567
 
 
“มาเชียงรายแล้วได้ความรู้สึกดีๆ บรรยากาศดีๆ ได้เสพงานศิลปะชั้นสูงสุดยอดระดับโลกที่นี่ โดยที่วัดร่องขุ่นจะมี 2 ชิ้น และที่หอศิลป์ที่ผมสร้างอย่างใหญ่โตจะมีงานศิลปะเยอะมากรวมทั้งยังมีตามอำเภอต่างๆ อีก ดังนั้นงานนี้หายห่วงแน่นอน ผมมาช่วยอย่างเต็มตัวแล้วอุตส่าห์มาเชิญกัน หลังจากผมเครียดจนผมไม่เอาด้วยแต่แท้ที่จริงอยู่เบื้องหลังตลอด พอผมดูแล้วว่าอยู่เบื้องหลังมันไปไม่รอดแน่ก็ขอมาอยู่เบื้องหน้าก็แล้วกัน 
 
ผมเป็นคนรักเชียงรายอยู่แล้ว ผมคิดว่ายังไม่สายเกินไป” อาจารย์เฉลิมชัย กล่าวและว่าผู้ที่มีความรู้ของศิลปินในโลกจะคัดสรรศิลปินที่สุดยอดจากหลากหลายที่ในโลก เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน อาร์เจนติน่า บังกาเลีย คาซัคสถาน สหรัฐอเมริกา บราซิล ฯลฯ แต่ละคนจะจัดแสดงผลงานศิลปะที่แปลกใหม่ทุกแนว เกิดจากความคิด งดงาม หลากหลาย ปรัชญา เนื้อหา แปลกใหม่ ฯลฯ อย่างที่ไม่เคยเห็นกันมาก่อน
 
อาจารย์เฉลิมชัย กล่าวอีกว่า รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณเพื่อการจัดงานครั้งนี้มากถึง 100 กว่าล้านบาท และจะมีผู้ชื่นชอบงานศิลปะทั่วโลกไปเยือนเพื่อดูผลงานศิลปินที่ตนชื่นชอบซึ่งจะทำให้เกิดเงินสะพัดอย่างมหาศาล แม่แต่ศิลปิน 40 คน ก็ล้วนมีผู้ติดตามที่ร่ำรวย การจัดงานจึงกลายเป็นซอร์ฟพาวเวอร์อย่างแท้จริง ส่วนคนไทยสามารถดูเพื่อภูมิรู้ การศึกษา ความสุนทรยภาพ ยกระดับความรู้สึก นำพาไปสู่การตื่นตัวทางศิลปะ ฯลฯ เพื่อให้ทัดเทียมกับอารยประเทศต่อไป
 
 

เครดิตภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

 
NAKORN CHIANG RAI NEWS TEAM
กองบรรณาธิการ นครเชียงรายนิวส์ – Nakorn Chiang Rai News